เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 9508 พระพี่เลี้ยง และ พี่เลี้ยง คนสำคัญในวรรณคดี
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


 เมื่อ 07 ก.ค. 10, 23:17



       ขอเชิญอาคันตุกะผู้ผ่านทาง แวะสนทนาปราศรัยปลูกไมตรีในหน้าฝนตกชุก


       ขอเริ่มด้วยสี่พี่เลี้ยงของนางเกษราแห่งเมืองรมจักรที่เป็นที่รู้จักกันดีว่าคือนาง อุบล  ประภาวดี  จงกล  และศรีสุดา   

เมื่อศรีสุวรรณผ่านมากับพราหมณ์ทั้ง ๓     พระพี่เลี้ยงก็เป็นสื่อให้นางเกษราที่ตอนนั้นอายุเพียง ๑๔       พราหมณ์สามคนก็

จับคู่กับนางพี่เลี้ยง     เหลือศรีสุดาที่ศรีสุวรรณรับเซ้งไว้เป็นพระสนม

       ศรีสุวรรณนั้นส่งสารที่เขียนลงบนใบตองอ่อน   ประดับด้วยดอกโศก  ดอกรัก  กลัดด้วยหนามฝากไป  และขอผ้าที่ทรงมาลงสวนต่างผ้าห่ม

นางทั้งสี่ก็เล่นเป็นแม่สื่อแม่ชัก  แถมนำตัวไปพันหลักไว้ก่อนเป็นการยึดพื้นที่   

       ถามสหายว่า ศรีสุวรรณใช้อะไรเขียนหนังสือลงบนใบตองอ่อน       สหายตอบว่าเล็บนิ้วก้อยซิ

       ถ้าพระพี่เลี้ยงทั้งสี่ดูแลนางเกษราตามสมควร  ไม่ชักนำให้ไปเจอผู้ชายแปลกหน้า เพื่อตนจะได้จับคู่ก่อน        นางเกษราอาจจะสบายกว่านี้
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 07 ก.ค. 10, 23:44


       สายทองอายุแก่กว่านางพิม ๖ ปี  เป็นกึ่งญาติกึ่งบ่าว    มีห้องนอนในเรือนเป็นส่วนตัว

เมื่อพิมพิลาไลยอายุได้ ๑๖ ปี  สายทองเป็นสาวใหญ่แล้ว     เป็นพี่เลี้ยงของนางพิม

ได้รู้เห็นเป็นใจติดต่อกับเณรแก้วจนรับขึ้นเรือน  และรับเข้าห้องไปภายหลัง จนเกิดพายุลมว่าว สำเภาลำเล็กออกอ่าวก็ล่มไป

ไว้ใจไม่ได้เลยพี่เลี้ยงขอส่วนแบ่งความรัก


       สายทองรักนางพิมมากได้เขียนจดหมายไปเล่าเรื่องราวให้ขุนแผนทราบว่านางพิมโดนบังคับให้แต่งกับขุนช้าง

จนวาระสุดท้ายของวันทอง  สายทองก็ติดตามมาดูใจ



       ตัวอย่างสองรายที่ยกมาคุยนี้   คงทำให้ท่านผู้อ่านอยากแบ่งปันความคิดให้กับนักอ่านวรรณคดี  เป็นการรื่นเริงและละเลงวรรณคดีพอหอมปากหอมคอ

คงไม่จำเป็นที่จะใช้ตัวละครซ้ำกันเพราะเราก็มีหนังสืออ่านกันไม่หวาดไหว
บันทึกการเข้า
watanachai4042
อสุรผัด
*
ตอบ: 42


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 08 ก.ค. 10, 08:02

ในวรรณคดีไทยมีอยู่เรื่องหนึ่งที่สรรเสริญเกียรติคุณของพี่เลี้ยงตัวละครเอกไว้ในตอนท้ายเรื่อง  คือ ลิลิตพระลอ คงหมายถึงทั้งนายแก้วนายขวัญ พี่เลี้ยงพระลอ และนางรื่นนางโรยพี่เลี้ยงพระเพื่อนพระแพง ดังนี้
  จบเสร็จมหาราชเจ้า      นิพนธ์
ยอยศพระลอคน           หนึ่งแท้
พี่เลี้ยงอาจเอาตน     ตายก่อน  พระนา
ในโลกนี้สุดแล้         เลิศล้ำ  คุ้งสวรรค์
ในตอนที่พระลอเดินทางข้ามแม่น้ำกาหลงมากับนายแก้วนายขวัญ  มีบทบาทของพี่เลี้ยงคนหนึ่ง(หรืออาจจะทั้งสองคน)ที่น่าสนใจ  ดังนี้
           พระลอตรัสกับพี่เลี้ยงว่า
  เห็นบ้านบ่ดุจบ้าน         เมืองเรา  พี่เอย
เรือนโรงรุกรุยเขา          รูปร้าย
บ่เห็นที่จักเอา               สักหยาด  เลยพี่
เห็นดั่งนี้สู้หม้าย            อยู่แล้ฤาแล
          พี่เลี้ยงปลอบพระทัยพระลอว่า
  พระเอยอาบน้ำขุ่น       เอาเย็น
ปลาผอกหมดเหม็นยาม  อยากเคี้ยว
รุกรุยราคจำเป็น            ปางเมื่อ   แคลนนา
อดอยู่เยียวดิ้วเดี้ยว        อยู่ได้  ฉันใด
          แล้วพี่เลี้ยงก็ให้ข้อแนะนำว่า
  ยามไร้เด็ดดอกหญ้า    แซมผม
หอมบ่หอมทัดดม         ดั่งบ้า
สุกรมลำดวนชวนชม     เชยกลิ่น  พระเอย
หอมกลิ่นเรียมโออ้า      กลิ่นแก้ว  ติดใจ อายจัง
ท่านเจ้าของกระทู้และท่านอื่นๆอ่านแล้วตีความบทบาทนายแก้วนายขวัญที่มีต่อพระลอในตอนนี้  อย่างไร ฮืม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 08 ก.ค. 10, 09:07


       เชิญคุณ watanachai4042  ลุยหน้าหนังสือไปจนถึงนางรื่นนางโรย ด้วยดีไหมคะ   
บันทึกการเข้า
watanachai4042
อสุรผัด
*
ตอบ: 42


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 08 ก.ค. 10, 11:02

บทบาทของนางรื่นนางโรยต่อพระเพื่อนพระแพงก็สำคัญมาก  นับตั้งแต่ติดต่อหาหมอทำเสน่ห์ให้พระลอหลงรักสองนาง   จนถึงยอมตายไปด้วยกันกับพระเพื่อนพระแพง  แต่บางบทบาทอ่านแล้วตีความว่าเป็นความพึงพอใจของนางพี่เลี้ยงทั้งสองเอง  เช่นในตอนที่มีบทอัศจรรย์กับนายแก้วนายขวัญตั้งแต่ในสระน้ำ  ขึ้นบนฝั่ง  พากันย้ายเข้าไปในเรือนสวน...เมื่อแล้ว....จึงค่อยถามชื่อชายสองคนว่าเป็นใคร

ว่าแต่คุณwandeeและท่านอื่นไม่ลองช่วยกันตีความบทบาทของพี่เลี้ยงพระลอหน่อยหรือฮะว่าคิดเห็นอย่างไร  จะคิดเหมือนกันไหมหนอ
บันทึกการเข้า
Bhanumet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 199


Sleeping Red Lion


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 08 ก.ค. 10, 11:15

         แล้วพี่เลี้ยงก็ให้ข้อแนะนำว่า
  ยามไร้เด็ดดอกหญ้า    แซมผม
หอมบ่หอมทัดดม         ดั่งบ้า
สุกรมลำดวนชวนชม     เชยกลิ่น  พระเอย
หอมกลิ่นเรียมโออ้า      กลิ่นแก้ว  ติดใจ อายจัง
ท่านเจ้าของกระทู้และท่านอื่นๆอ่านแล้วตีความบทบาทนายแก้วนายขวัญที่มีต่อพระลอในตอนนี้  อย่างไร ฮืม

อืม  นี่มันทำนอง ชอบกินแม่ไก่แต่ไม่มีแม่ไก่ ก็ให้กินพ่อหมูหนุ่มไปก่อนรึเปล่าครับ
 
"  หอมกลิ่นเรียมโออ้า      กลิ่นแก้วติดใจ "
วรรคนี้ชวนคิดจริง ๆ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 08 ก.ค. 10, 11:49

       พี่เลี้ยงของเจ้านายฝ่ายเหนือนั้น   โดนคัดเลือกมาตั้งแต่อายุยังน้อย  เลี้ยงมาด้วยกัน

ไม่มีความแตกต่างทางฐานะมากนัก         หน้าที่ของราชเสวกก็ไม่มีข้อบังคับ  บิดามารดาก็เพียงจะเตือนว่าดูแลเพิ่นดี ๆ

คือให้เป็นเพื่อนเล่น           การทำหน้าที่ก็เพียงเอาใจพระยุพราช   ซึ่งผู้ที่มีอาวุโสกว่า  โตมาในบริเวณเรือนหลวง พบปะกับผู้คนมากหน้าหลายฐานะย่อมเข้าใจได้ดี


       การที่จะระวังป้องกันเจ้านายนั้น  พี่เลี้ยงย่อมทราบดีว่าเป็นหน้าที่เบื้องต้นของตน          เมื่อเป็นหน้าที่แม้นว่าจะเอาชีวิตเข้าแลกแล้วก็ไม่จำเป็นต้องมาคุยโอ้อวดประการใด

สิ่งที่ขาดไปนั้นคือพี่เลี้ยงไม่อยู่ในฐานะที่ให้คำปรึกษาที่เหมาะสมได้   เพราะไม่ใช่หน้าที่ของตน  ตนไม่มีความรู้


       การสร้างความพอใจให้เจ้านายหนุ่มนั้นไม่มีอะไรนอกจากชมธรรมชาติ   ชวนให้ชมหญิงที่ผ่านเข้ามา  โดยถือว่ายามยากก็เด็ดดอกหญ้าแซมผมเทอญ    ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เป็นเรื่องควรอวดแต่ประการใด

มงคลหนึ่งนั้นคือรักษาความสะอาดให้เส้นผม  ต้องเกล้าและประดับด้วยไม้มงคล  ซึ่งก็เป็นไม้หอมธรรมดา  เรียกว่าเทวดาชอบ

จะมุ่งแต่ลุยดอกไม้ป่า  เห็นดอกหญ้าข้างทาง  เจอที่ไหนฟันดะเพื่อเก็บคะแนน        ดั่งนี้มงคล หรือสติ จึงอยู่ไม่ได้  ต้องปลาศไป

เรื่องเพศนั้นเป็นเรื่องธรรมดาระหว่างหญิงชาย  เป็นธรรมชาติ  เป็นสายลมและแสงแดด


       แต่เมื่อเดินทางเข้าไปในดินแดนของอริราชศัตรู    ไม่เลือกวันเวลาสถานที่     เสพเพศรสกับหญิงที่ไม่รู้จักแม้นแต่ชื่อ  หญิงนั้นจะมีผู้ปกครองหรือไม่ก็ไม่ทราบ   เป็นหญิงในเรือนผู้ใดก็ไม่สนใจ

นายแก้ว  นายขวัญ ถึงแก่ความประมาท   ไม่ได้ทำหน้าที่ของตน    หลงในกาม    ไม่สามารถให้ความปลอดภัยแก่พระลอได้


       พระลอรักสองนางจนยอมตายเชียวหรือ    

ถ้าพระลอจะหยุดคิดว่าเข้าไปในแดนศัตรูู  เพื่อตามไปดู เสียงลือเสียงเล่าอ้างอันใด   แล้วต้องตาย  ทิ้งแม่  ทิ้งเมีย  สร้างความทุกข์แก่คนทั้งสองปานใด  เพื่อกามกรีฑากับเด็กผู้หญิงสองคนที่ไม่ทันโตเลย

พระเพื่อน กับ พระแพง เพราะมีพี่เลี้ยงที่ไวไฟปานนี้    ถึงนำกลับบ้านเมืองมาเลี้ยงไว้  น่าจะยุ่ง
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 08 ก.ค. 10, 13:28



นึกไม่ออกว่าพระลอหวิดจะเป็นพระเจ้าปะกิ่งไปตอนใด   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 08 ก.ค. 10, 14:29

เรื่องพระลอ  เป็นเรื่องที่มีค่านิยมแตกต่างจากวรรณคดีอยุธยาเรื่องอื่นๆมาก     ถ้าถอดออกมาเป็นร้อยแก้วก็เรทอาร์   
ดิฉันเชื่อว่ากวีแต่งเป็นลิลิตแบบกวีนิพนธ์ภาคกลาง แต่งถวายพระเจ้าแผ่นดินอยุธยา จึงใช้ขนบการประพันธ์ของอยุธยาตามที่ปรากฏในจินดามณี   แต่ตัวคนเขียนคุ้นกับธรรมเนียมและแนวคิดอื่นที่ไม่ใช่อยุธยา  อาจจะเป็นภาคเหนือหรืออีสานยังบอกไม่ถูก  ภาษาคาบเกี่ยวกันมาก
ส่วนพระลอจะดำเนินรอยตามเจ้าปักกิ่งหลานพระเจ้ากรุงธนหรือไม่  เชื่อว่ายังไม่ถึงขนาดนั้น    แต่ถ้าตีความโคลงบทนี้อย่างอาจารย์วัฒนชัยแกะรอยมาละก็    พระลอเป็นไบ..
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 08 ก.ค. 10, 14:29

       นางอุษามีพี่เลี้ยงดี  คือนางศุภลักษณ์  ผู้วาดรูปพระอุณรุทมาให้และแวะไปอุ้มมาให้ด้วยเสร็จสรรพ

ในการนี้พี่เลี้ยง ๔ คนของพระอุณรุท เหลือสาม  เพราะพระบิดาคือท้าวไกรสุทสังหารเสียเพราะบกพร่องในหน้าที่

โชคดีที่พระบรมจักรกฤษณ์เด็จปู่ของพระอุณรุทสั่งให้หาทางชุบพี่เลี้ยงขึ้นมา   พระนารอทมาช่วยชุบชีวิตไว่ได้

เรื่องนี้เพิ่งเห็นพระพี่เลี้ยงขาดทุน
บันทึกการเข้า
watanachai4042
อสุรผัด
*
ตอบ: 42


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 08 ก.ค. 10, 16:41

เรื่องพระลอ  เป็นเรื่องที่มีค่านิยมแตกต่างจากวรรณคดีอยุธยาเรื่องอื่นๆมาก     ถ้าถอดออกมาเป็นร้อยแก้วก็เรทอาร์   
ดิฉันเชื่อว่ากวีแต่งเป็นลิลิตแบบกวีนิพนธ์ภาคกลาง แต่งถวายพระเจ้าแผ่นดินอยุธยา จึงใช้ขนบการประพันธ์ของอยุธยาตามที่ปรากฏในจินดามณี   แต่ตัวคนเขียนคุ้นกับธรรมเนียมและแนวคิดอื่นที่ไม่ใช่อยุธยา  อาจจะเป็นภาคเหนือหรืออีสานยังบอกไม่ถูก  ภาษาคาบเกี่ยวกันมาก
ส่วนพระลอจะดำเนินรอยตามเจ้าปักกิ่งหลานพระเจ้ากรุงธนหรือไม่  เชื่อว่ายังไม่ถึงขนาดนั้น    แต่ถ้าตีความโคลงบทนี้อย่างอาจารย์วัฒนชัยแกะรอยมาละก็    พระลอเป็นไบ..
มีความเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมของพี่เลี้ยงกับพระลอเหมือนคุณภานุมาศและอาจารย์เทาชมพู

ว่าถึงประเด็นทางภาษาว่าเป็นเหนือหรืออีสาน 
ในตอนที่พระลอเสด็จออกจากเมืองเพื่อไปหาพระเพื่อนพระแพงนั้น  มีการบรรยายสัตว์และต้นไม้ที่พบระหว่างทาง  ดังนี้ " พระลอเสด็จลีลา ชมพฤกษาหลายหลาก สองปลากข้างแถวทาง ยางจับยางชมฝูง ยูงจับยูงยั่วเย้า เปล้าจับเปล้าแปลกหมู่....ไผ่จับไผ่คู่คลอ ตอดตอจับไม้ตอด"
ไปเก็บข้อมูลภาษาถิ่นที่สุโขทัยจึงได้ทราบว่าตอดตอ  หมายถึง ตุ๊กแก  พบคำนี้ในภาษาถิ่นที่เดียว คือ ถิ่นสุโขทัย  นอกนั้นไม่พบที่ไหน  ทางเหนือถิ่นล้านนาเรียกตุ๊กแกว่า โต๊กโต๋ ทางอีสาน ทางหล่มสักเรียกตุ๊กแกว่า กั๊บแก้  คำเพียงคำเดียวอาจจะยังไม่สามารถระบุหรือยืนยันที่มาได้  แต่ก็เป็นหลักฐาน(ชิ้นเล็กๆ)สนับสนุนว่าน่าจะเป็นกวีทางเหนืออาจจะแถวสุโขทัย (พูดแล้วก็อาย ตอนเรียนป.ตรี  เคยแปลคำนี้กับเพื่อนๆด้วยความมั่นใจมาก  ว่าต้องเป็นนกชนิดหนึ่ง  เพราะเห็นว่ากวีจัดกลุ่มไว้กับนก  ถามเพื่อนที่มาจากภาคอื่นๆก็ไม่มีใครทราบความหมาย  )
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 08 ก.ค. 10, 20:09


       พระพี่เลี้ยงทั้งสี่ของพระไชยเชษฐ์  ไม่มีบทบาทมากนัก  แต่ก็ได้ทำหน้าที่ของตนเตือนไม่ให้ประหารนางสุวิญชา

เพราะรู้ดีว่าพระบิดาบุญธรรมของนางเป็นยักษ์


       ครั้นถึงจึงคลานเข้าไปเฝ้า                             ก้มเกล้าประณตบทศรี

กราบทูลไปพลันทันที                                         พระภูมีเป็นไฉนจึงใจเบา



       เมื่อนั้น                                                  พระไชยเชษฐ์ได้ฟังก็เห็นด้วย

จริงอยู่พี่ว่าข้างงงวย                                           เพราะใครใครไม่ช่วยห้ามปราม

มีแต่จะเติมเสริมซ้ำ                                            จึงพลอยพล้ำเผลอไปไม่ไต่ถาม

น้องนี้โฉดเฉาเบาความ                                        นี่หากว่าพี่ห้ามจึงได้คิด

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 09 ก.ค. 10, 20:03

บาหยัน พี่เลี้ยงของบุษบา  ถูกลมหอบไปกับบุษบาด้วย เลยตกบันไดพลอยโจนกลายเป็นพี่สาวของอุณากรรณ   
ก็คอยช่วยเหลือดูแลเลี้ยงดูเหมือนพี่เลี้ยงจริงๆ  ไม่ค่อยมีบทบาทร้ายดีอะไรมากนัก
บันทึกการเข้า
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 10 ก.ค. 10, 23:32

เอาเพลง "เตียวดง" มาฝากครับผม

เป็นตอนที่ นางรื่นนางโรย เดินป่าไปหาปู่เจ้าสมิงพราย

ในทวงทำนองซอล่องน่าน หรือที่เรียกตามปัจจุบันว่า ทำนองซอพระลอ

จากบทซอ ในสมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมี

http://library.cmu.ac.th/ntic/onlinemusic_show.php?musicid=239
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
watanachai4042
อสุรผัด
*
ตอบ: 42


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 12 ก.ค. 10, 07:52

ขอบคุณเพลงเตียวดงของคุณศศิศ (ยังโสด) มาก  เพราะฮะ 
 
ชื่อเพลงหมายถึง "เที่ยวป่า" ใช่ไหม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.039 วินาที กับ 19 คำสั่ง