เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 4920 ปืนปากปลา
soranai
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


 เมื่อ 06 ก.ค. 10, 21:09

เห็นมีปรากฏ

ยิงปืนปากปลาเสียง ปะพางพึงตึงตัง   คนงานยืนสะพร่างพร้อมเพรียงสะบัดสำเนียงเสียงโห  โอ  โห  เห  โล  และ  เห  ลา  เข้าฉุดเคร่าสายสมอตีมะลออยู่เฉ่งฉาง  เฉ่งฉาง  โบกธงอยู่ขว้าง  ๆ  แล้วก็เกวง  กวัด   พอพระพาย  เจ้าเอ๋ย  ชายพัดติดใบบนลาดตาลและต้นหนกะมุงมองตั้งเข้มส่องกล้อมสลัด  โดยกำหนดขนาดคะเนหมายนายท้ายก็ยักย้ายบ่ายเบี่ยง  เฉลี่ยงแลออกทะเลลึกแล้วไม่ เห็นฝั่ง  ครั้นบังเกิดลมสลาตัน  ตั้งตีตีเป็นลูกคลื่น  ๆ  อยู่คลื่นเคลงสำเภาก็โคลงเคลงไปตามคลื่นตื่นแต้….

ผมลองหาข้อมูลแล้ว หาไม่ค่อยได้เลยครับ พอจะชี้แนวทางหรือ หนังสือหรือสถานที่ที่มี ข้อมูลปืนปากปลา บ้างไหมครับ ขอบคุณมากครับ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 06 ก.ค. 10, 21:35

แยก ปืน กับ ปากปลา เป็นสองคำสิครับ แล้วลองค้นดู น่าจะกระจ่างนะครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
soranai
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 06 ก.ค. 10, 21:38

    
ปากปลา
ปากปลา
ความหมาย

น. ส่วนหัวของสําเภาที่ว่างอยู่ ไม่ได้อุดกระดาน.

รึครับ 
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 06 ก.ค. 10, 21:54

ลองค้นจาก เรือปากปลา นะคะ
บันทึกการเข้า
surapong__
อสุรผัด
*
ตอบ: 12


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 08 ส.ค. 10, 21:28

ไม่แน่ใจนะครับ เห็นมีคนบอกมาว่า ปืนปากปลาไม่เคยได้ยิน จะได้ยินก็แต่ปืนปากกา ปืนปากกาเป็นปืนที่มีลักษณะคล้ายกับปากกา มีขนาดเล็กมาก สามารถจุลูกกระสุนได้ 1-3 ลูก เท่านั้น
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 09 ส.ค. 10, 01:46

       ขอต้อนรับคุณ Surapong  สู่เรือนไทยนะคะ หวังว่าจะแวะอ่านให้ทั่วๆ และอยู่เป็นเพื่อนกัน



       ปืนปากปลามีค่ะ   อ้างอิงเอกสารที่พอจะหาได้นะคะ  คือ กวีโวหารและโบราณคดี ของ ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์

จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ก้าวหน้า  ๒๕๐๓  ราคาเล่มละ ๓๐ บาท หน้า ๑๓  หรือไม่ก็ดูประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๖ นะคะ

เจ้าพระยานครศรีธรรมราชเป็นผู้ต่อเรือปากปลา ตามพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. ๒๓๗๔


"เจ้าพระยานครจึงคิดต่อเรือเป็นปากปลา  ท้านกำปั่นแปลง มีพลแจวได้ ๒ ข้างตลอดลำ  ปากกว้าง ๘​ ศอก ๑ คืบ ยาว ๑๑ วา

ครั้นถวายตัวอย่างโปรดแล้ว  เจ้าพระยานครก็ต่อขึ้นที่หน้าบ้านลำหนึ่ง  พระราชทานชื่อ  มหาพิไชยฤกษ์    ครั้งนั้นได้ต่อเรือปากปลาถึง ๓๐ ลำ

ด้วยเหตุที่เรือชนิดนี้ทำหัวเรือเป็นปากปลา  ตั้งปืนใหญ่ยิงออกทางปากนั้นได้  เรียกว่าปืนปากปลา  เป็นอาวุธติดบนเรือ


       สุนทรภู่ยังแต่งให้ทัพเรือของศรีสุวรรณมีเรือปืนปากปลาด้วยค่ะ

       พอกองนำลำทรงศรีสุวรรณ
ขึ้นมาทันนัดดาจึงพาที
เขาแล่นมาถ้าเราแล่นไปมั่ง
จะคับคั่งเคืองใจไม่พอที่
ทอดสมอรอเรียงอยู่เพียงนี้
ดูท่วงทีท่าทางจะอย่างไร
แล้วยิงปืน "ปากปลา"  สัญญาหยุด
อุตลุดหลีกกันเสียงหวั่นไหว
ทอดสมอรอหมดแล้วลดใบ
กำปั่นใหญ่อยู่กลางขวางคงคา"


(หนังสือเล่มที่ใช้อยู่นี้ มีตัวอักษรนูน  ของ Dr" Jitkasem Sibunruang" ประทับอยู่ขวามือบน)


   มีท่านที่นับถืออยู่แถว ๆ นี้  ชำนาญเรื่องเรือ และ ปืนใหญ่   ถ้าท่านว่างเราคงสนุกกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 09 ส.ค. 10, 08:04

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
surapong__
อสุรผัด
*
ตอบ: 12


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 11 ส.ค. 10, 22:23

เย่ มีคนเก่ง ความเห็นที่ 5 เก่งมากเลย ได้ความรู้เพิ่มอีกแล้ว
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 11 ส.ค. 10, 22:57

     
       ปลื้มที่ คุณ surapong  ชอบค่ะ    ลองอ่านพระอภัยมณี  ขุนช้างขุนแผนของเรือนไทยบ้างซิคะ   คุยกันจ้อ



       ประวัติศาสตร์ของเรายังขาดตกบกพร่องอีกมาก      พิมพ์กันจริง ๆ ก็ต้นรัชกาลที่ ๔   

หนังสือพิมพ์กันจำนวนน้อย  เมืองร้อนอากาศชื้น  เก็บหนังสือได้ยาก    มาอ่านกันให้สบายใจ 

สงสัยอะไรก็นำมาคุยกัน  ถามกัน     ไม่มีใครจะทราบอะไรไปได้หมด

แล้วช่วยกันค้นหาเอกสาร

ยังมีเรื่องสนุก ๆ ที่น่าสนใจอีกมาก     

ประวัติของสกุลมหาศาลที่ลูกหลานพิมพ์ขึ้นก็น่าชื่นชม  พิมพ์กันเล่มใหญ่มหึมา       

ตระกูลจีนที่ค้าสำเภาก็น่าศึกษา   มีหลายตระกูลที่สืบเชื้อสายมาตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์

บางสกุลวงศ์ไม่ได้คาบแค่ช้อนเงินนะคะ    ช้อนทองท่านก็มีตั้งโต๊ะ     ชีวิตก็หมุนวนไปตามกฎแห่งกรรม

ขุนนางผู้ใหญ่ในประวัติศาสตร์ของเราก็อาศัยวัดเรียนหนังสือ  จนได้เป็นใหญ่เป็นโต

นักเรียนทุนที่เป็นลูกชาวบ้าน    หรือบิดาเป็นหม่อมราชวงศ์อาศัยบ้านเจ้าพระยาอยู่ มีหน้าที่รับใช้เสนาบดี  แล้วสอบชิงทุนไปนอกด้วยสมองอันเลอเลิศก็มี


     ชีวิตจริงนั้น  ยิ่งกว่านวนิยาย
       
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 12 ส.ค. 10, 13:38

เชิญคุณวันดีขึ้นเวทีปราศรัยในเรื่องนี้ค่ะ  จะเข้ามานั่งแถวหน้า
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 12 ส.ค. 10, 18:25


       เคยถามคุณหลวงเล็กว่าเมื่อพลาดหนังสือเล่มที่อยากได้มาก  คุณหลวงรู้สึกอย่างไร

คุณหลวงตอบว่า  "ดั่งดวงแก้วตกต้องแผ่นผา"

ฮือออ!!!


       ดิฉันฮัมเพลง เสียแรงชื่ออุสานารี เบา ๆ  เพราะเมือคืนรู้สึกว่า  โอ้ว่าดวงใจอยู่ไกลลิบ  เหลือจะหยิบมาชมภิรมย์ขวัญ

ไปอ่านนิราศลอนดอนเล่มแรกเข้าค่ะ       เสียดายแทบลมจับ     
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 19 คำสั่ง