เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 31285 ชื่ออำเภอที่เปลี่ยนไป
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 07 ก.ค. 10, 13:24

หาคำตอบมาให้อาจารย์เทาชมพู ครับ
อำเภอวารินชำราบ ตามความหมายของชื่อบ้านคำน้ำแซบ    ซึ่งหมายความว่า  หมู่บ้านที่มีน้ำซับน้ำซึม   ที่มีรสอร่อย  และไหลรินอยู่ตลอดเวลา


เมืองฟ้าแดดสูงยาง ตั้งอยู่ในเขตอำเภอกมลาไสย ฟ้าแดดสงยาง หรือเรียกเพี้ยนไปเป็นฟ้าแดดสูงยาง
เมืองฟ้าแดดสูงยาง นั้นเป็นชื่อของเมืองโบราณที่มีอายุระหว่าง พ.ศ. 1300-1600 ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านเสมา ตำบลหนองแปน เขตอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 07 ก.ค. 10, 13:32

วารินชำราบ แปลว่าอะไรคะ

มีอำเภอหรือตำบลชื่อฟ้าแดดสูงยางหรือเปล่า   เปลี่ยนชื่อแล้วหรือยังคะ

เสริมคุณวีรชัย

(๑) อำเภอวารินชำราบ : แต่เดิมเป็นหมู่บ้านขึ้นกับเมืองจำปาศักดิ์ ชื่อ "บ้านนากอนจอ" ได้ขอตั้งเป็นเมือง "วารินชำราบ" ปี พ.ศ. ๒๔๒๓ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๔๓-๒๔๔๕ ได้ลดฐานะลงเป็นอำเภอหนึ่งของเมืองเขมราฐ จนมาถึง พ.ศ. ๒๔๕๖ ทางราชการได้รวมอำเภอทักษิณอุบลกับอำเภอวารินชำรายเข้าด้วยกัน เรียกชื่อว่า "อำเภอวารินชำราบ" จนถึงปัจจุบัน
 
ที่มาของชื่ออำเภอ : พื้นที่ของตัวอำเภอเป็นที่ราบเกือบ ๑๐๐% มีลำน้ำไหลผ่านหลายสาย รวมทั้งห้วย หนอง คลองบึง ที่มีน้ำใต้ดินไหลซึม ซับดินให้ชุ่มชื่น มีพันธุ์ไม้ขึ้นเขียวชะอุ่มอยู่ตลอดปี (วาริน = น้ำ, ชำ = ชำ, คำ = น้ำที่ไหลขึ้นมาจากใต้ดินโดยธรรมชาติอย่างไม่ขาดสาย, ราบ = ที่ราบ) (ที่มา : นามานุกรมภูมิศาสตร์จังหวัดอุบลราชธานี สำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี)

http://www.lib.ubu.ac.th/html/ub_info/other/name/warin.html


(๒) ฟ้าแดดสูงยาง เป็นชื่อเืมืองโบราณ ระหว่าง พ.ศ. ๑๓๐๐ - ๑๖๐๐ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย  จังหวัดกาฬสินธุ์  ชื่อเมืองนี้บางทีเรียกเพี้ยนไปเป็นฟ้าแดดสูงยาง บางแห่งเรียกว่า เมืองเสมา เนื่องจากมีผังเมืองรูปร่างคล้ายใบเสมา มีซากอิฐปนดิน คูเมืองสองชั้นมีลักษณะเป็นท้องน้ำที่พอมองเห็น คือพระธาตุยาคู ผังเมืองรูปไข่แบบทวาราวดีแต่มีตัวเมืองสองชั้น เชื่อว่าเกิดจากการขยายตัวเมือง ชาวนามักขุดพบใบเสมาหินทรายมีลวดลายบ้าง ไม่มีบ้าง ที่ขึ้นทะเบียนไว้ทางกรมศิลปากร ๑๓๐ แผ่น พระพิมพ์ดินเผามีลักษณะเป็นอิทธิพลของสกุลช่างคุปตะรุ่นหลัง อายุประมาณ ๑,๐๐๐-๒,๐๐๐ ปี มีอยู่ทั่วไป นอกจากนี้ยังพบกล้องยาสูบดินเผาลวดลายอมราวดี ก้านขดเป็นรูปตัวมังกร อายุ ๗,๐๐๐ ปี ที่น่าสนใจคือกล้องยาสูบชนิดเดียวกันแต่ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ อายุประมาณ ๕,๐๐๐ - ๖,๐๐๐ ปี ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่ายุคโลหะของสุวรรณภูมิได้เริ่มมาก่อนทุก ๆ แห่งในโลกนี้

http://www.thai-tour.com/thai-tour/northeast/kalasin/data/place/kamalasai.htm


บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 07 ก.ค. 10, 13:36

ภาคตะวันตก
จังหวัดเพชรบุรี
อำเภอเมืองเพชรบุรี เดิมชื่อว่า อำเภอคลองกระแชง ได้รับการจัดตั้งให้เป็นอำเภอเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2446 เนื่องจากสถานที่ตั้งของศูนย์ราชการอยู่ในเขตตำบลคลองกระแชง ในอดีตใช้พื้นที่ของวัดพลับพลาชัยเป็นศูนย์ราชการของอำเภอคลองกระแชง ภายหลังจึงได้มีการย้ายออกจากวัดพลับพลาชัยเนื่องจากพื้นที่ของวัดคับแคบ แต่ก็ไม่ไกลสถานที่เดิมยังในเขตตำบลคลองกระแชงเหมือนเดิม ซึ่งอยู่ตอนกลางของอำเภอเมืองเพชรบุรี ด้านทิศตะวันออกของตำบลติดกับแม่น้ำเพชรบุรี ซึ่งเป็นสายน้ำที่สำคัญที่หล่อเลี้ยงวิถีชีวิตชาวเมืองเพชรมายาวนาน การที่อำเภอคลองกระแชงเป็นที่ตั่งศูนย์ราชการของจังหวัดเพชรบุรีจึงได้เปลี ยนชื่อเป็น อำเภอเมืองเพชรบุรี

อำเภอเขาย้อย เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2440 โดยมีหลวงพรหมสารเป็นนายอำเภอคนแรก เดิมที่ว่าการอำเภอตั่งอยู่ที่ตำบลห้วยท่าช้าง จึงได้ชื่ออำเภอว่า อำเภอห้วยท่าช้าง ต่อมาได้ทำการย้ายที่ว่าการอำเภอห้วยท่าช้างไปตั้งอยู่ ณ ตำบลหัวสะพาน จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอหัวสะพาน ต่อมาได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั่งอยู่ ณ หมู่บ้านน้อย จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอบ้านน้อย และภายหลังได้เปลี่ยนเป็น อำเภอเขาย้อย จนถึงปัจุจบัน

อำเภอชะอำ นั้นตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2440 ที่บ้านนายาง หมู่ที่ 3 ตำบลนายาง เดิมใช้ชื่อว่า อำเภอนายาง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2457 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอนายางไปตั้งที่บ้านหนองจอกและเปลี่ยนชื่อเป็นเป็น อำเภอหนองจอก (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอท่ายาง) จนกระทั่งหลังสงครามมหาเอเชียบูรพา กระทรวงมหาดไทยได้ย้ายที่ว่าการอำเภอหนองจอกมาตั้งที่ตำบลชะอำเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่สะดวกแก่การปกครองและได้เปลี่ยนชื่อเป็น
อำเภอชะอำ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2487 มีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก

อำเภอท่ายาง ในปี พ.ศ. 2436 ทางราชการได้ตั้งอำเภอขึ้นที่หมู่บ้านวังไคร้ ริมแม่น้ำแม่ประจันต์ ตำบลวังไคร้ เรียกว่า อำเภอแม่ประจันต์ ตั้งอยู่ได้ประมาณ 20 ปี ทางการเห็นว่าอยู่ไกลจากย่านชุมชนจึงได้ย้ายมาตั้งที่ว่าการอำเภอแห่งใหม่ ที่หมู่ที่ 2 ตำบลยางหย่อง (ปัจจุบันเป็นหมู่ที่ 2 ตำบลท่าแลง) และเรียกชื่อว่า อำเภอยางหย่อง ตั้งอยู่ได้นานประมาณ 2 ปี จึงได้ย้ายมาตั้งที่หมู่ที่ 1 บ้านท่ายาง ริมฝั่งแม่น้ำเพชรบุรีเมื่อราวปี พ.ศ. 2460 แต่ยังเรียกอำเภอยางหย่องตามเดิม จนกระทั่งในราวปี พ.ศ. 2480 จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เรียกว่า อำเภอท่ายาง เพื่อให้ตรงกับหมู่บ้านอันเป็นที่ตั้งจนกระทั่งทุกวันนี้

จังหวัดราชบุรี
อำเภอบ้านโป่ง เป็นอำเภอสำคัญอำเภอหนึ่งในจังหวัดราชบุรี เดิมชื่อ อำเภอท่าผา ต่อมาได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปยังตำบลบ้านโป่งเพื่อให้ใกล้สถานีรถไฟบ้านโป่งมากขึ้น จึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอบ้านโป่ง

บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 07 ก.ค. 10, 13:55

แทรกระหว่างพัก ครับ

ชื่ออำเภอที่อาจจะเปลี่ยนไป คือ อ. ปัว จ.น่าน จากเว็บน่านทูเดย์

         จากความคิด นอภ.ปัว(นายกำธร   สุอรุณ) .....ด้วยอำเภอปัวมีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลง
                 ชื่ออำเภอปัว  เป็นชื่อ วรนคร   เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นมากับประวัติศาสตร์ดั้งเดิม
ราวพุทธศตวรรษที่ 18  หรือ พ.ศ.1825  ตามตำนานพระญาภูคาครองเมืองย่างได้ขยายอาณาเขตการปกครอง
โดยเลือกพื้นที่ไชยภูมิที่เหมาะสมให้ ขุนฟองที่เป็นโอรสสร้างเมืองใหม่ เมื่อสร้างเสร็จขุนฟองขนานนาม
ว่า"วรนคร"  หมายถึง"เมืองดี"  และความหมายดีกว่าอำเภอปัวที่ยังไม่มีความหมายชัดเจนว่าหมายถึงอะไร...

        เมื่อนานมากนับสิบๆ ปี ครั้งที่จ.น่าน ยังเงียบสงบยิ่ง ชมพูภูคายังไม่เป็นที่ได้ยินยลกัน มีเพื่อนไปรับราชการ
ที่อ.ปัว จ.น่าน ซึ่งสมัยนั้นนับว่าห่างไกลความเจริญมาก
          เพื่อนเล่าว่าคำว่า ปัว นี้มีบางคนสงสัยว่าจะอาจจะมาจากคำภาษาอังกฤษว่า poor
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 07 ก.ค. 10, 14:11

เพื่อนเล่าว่าคำว่า ปัว นี้มีบางคนสงสัยว่าจะอาจจะมาจากคำภาษาอังกฤษว่า poor

หากจะต้องการความหมายของคำว่า “พัว” หรือ “ปัว” แล้วนั้น จะกล่าวไว้อยู่สองประการ คือ

ประการที่หนึ่ง เมื่อยึดตามตัวอักษรแล้ว คือ เมื่อเทียบเคียงกับอักษรไทย คือ พัว โดยที่ออกเสียงเป็น ปัว ตามเสียงไทยวน และภาษาไทดำ ก็ออกเสียงคล้ายปัว เพียงแต่ต่างกันที่โทนเสียงวรรณยุกต์ที่จะผิดแผกกันไปบ้าง ก็คือคำว่า พัว ในภาษาไทย อันแปลว่า ติดกัน ส่วนมากจะพบเป็น พัวพัน อันแปลคล้าย ๆ กันคือ ต่อเนื่องกัน

ฉะนั้นเมืองปัว ใน ณ ที่นี้ก็แปลได้ว่า เมืองที่ติดกัน หรือเกี่ยวเนื่องกัน หากจะพิจารณาตามตำแหน่งของเมืองแล้ว ก็อาจจะตีความว่า เป็นเมืองที่ติดกันกับเมืองย่างก็ได้อีกทางหนึ่ง ด้วยคราวทางไม่ห่างกันมากนัก ดังปรากฏในหนังสือคราวทางเมืองน่านว่า “...ย่างไปฅว่าง ๕๐๐๐ ฅว่างไปพัว ๓๐๐๐...”  โดยที่เมือง ฅว่างนั้นสร้างในสมัยพระญาผานองที่สร้างให้กับเจ้าอามป้อม

ประการที่สอง คือเป็นคำเก่าแก่ของดินแดนแห่งนี้ ทั้งเป็นชื่อแม่น้ำ และเป็นชื่อเมืองในภาษาตระกูลไทแล้ว อาจยังเป็นคำของ กลุ่มไทกาว ก็เป็นได้ ด้วยกลุ่มไทกาว นั้นเป็นชนพื้นเมืองของเมืองน่านไปตลอดถึงหลวงพระบาง โดยตำนานต่างเมืองก็มักจะเรียกผู้ปกครองเมืองปัวตลอดถึงเมืองน่านว่าพระญา กาว อันกลุ่มไทกาวนี้ในเมืองน่านได้สูญหายและผสมกลมกลืนไปกับกลุ่มชาวไทยวนไป ทั้งหมดทั้งสิ้น อันจะเหลือแต่ท่วงทำนองซอล่องน่านที่สืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน และอาจจะรวมถึงคำว่า “ปัว” อีกคำหนึ่งก็เป็นได้ ถ้าหากเป็นคำในกลุ่มไทกาวแล้ว ก็นับว่าควรจะรักษาไว้เป็นอย่างยิ่งเพราะทุกวันนี้นอกจากที่กล่าวมาแล้วนั้น ก็ไม่มีอะไรจะสืบไปถึงไทกาวน่านแต่ดั้งเดิมได้อีกแล้ว

เมืองปัวนี้เป็นเมืองดี โดย สลุงเงิน
http://www.pua108.com/smf/index.php?topic=1022.0

บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 07 ก.ค. 10, 14:37

ขอบพระคุณอาจารย์เทาชมพูที่เข้ามาช่วยเสริมครับ ถ้าผมตกในส่วนใหนขออาจารย์ช่วยเสริมด้วยนะครับ

ขอต่อภาคใต้ครับ
จังหวัดกระบี่
อำเภอเกาะลันตา เมื่อปีพ.ศ. 2444 ได้ยกฐานะเป็นอำเภอเกาะลันตา ต่อมา พ.ศ. 2460 เปลื่ยนชื่อเป็น อำเภอเกาะลานตา ซึ่งทำเนียบกระทรวงมหาดไทย หมายถึง มองดูยาวเป็นพืดดูลานตา และปี พ.ศ. 2480 เปลี่ยนเป็น อำเภอเกาะลันตา ดังเดิม

จังหวัดตรัง
อำเภอเมืองตรัง ในสมัยรัชกาลที่ 6 พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (สินธุ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ได้ทูลขอย้ายเมืองมาตั้งอยู่ ณ ตำบลทับเที่ยง โดยให้ชื่อว่า อำเภอบางรัก และต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอทับเที่ยง ในปี พ.ศ. 2459

อำเภอปะเหลียน ยกฐานะขึ้นเป็นเมือง เมื่อ พ.ศ. 2341 เรียกว่า เมืองปะเหลียน เจ้าเมืองปะเหลียนคนสุดท้ายคือพระปริยันต์เกษตรานุรักษ์ เท่าที่มีหลักฐานปรากฏตัวเมืองครั้งแรกตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 3 ตำบลปะเหลียนในปัจจุบัน ต่อมาได้ย้ายไปตั้งบริเวณหมู่ที่ 1 ตำบลท่าพญาในปัจจุบันเมื่อประมาณ พ.ศ. 2430 ในปี พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่า เมืองปะเหลียนทรุดโทรมมาก จึงยุบให้เป็นแขวงขึ้นตรงกับเมืองตรัง และในปี พ.ศ. 2438 ได้จัดตั้งที่ว่าการอำเภอเป็นครั้งแรกที่ตำบลท่าพญา ใช้ชื่อว่า อำเภอท่าพญา ครั้นได้จัดรูปแบบอำเภอขึ้นตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ เมื่อ พ.ศ. 2440 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่บ้านหยงสตาร์ ตำบลท่าข้าม ในปี พ.ศ. 2460 และได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอหยงสตาร์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2482 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอปะเหลียน ตามชื่อเดิมจวบจนปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อรักษาประวัติศาสตร์อันยาวนานของเมืองปะเหลียนไว้ ขณะนี้อำเภอปะเหลียนได้ก่อตั้งมาครบ108 ปี นับว่าเป็นอำเภอเก่าแก่อำเภอหนึ่งในจังหวัดตรัง

อำเภอห้วยยอด  ปี พ.ศ. 2430 ได้รวมท้องที่บ้างส่วนของเมืองนครศรีธรรมราชทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำตรังเป็น อำเภอเขาขาว ขึ้น โดยตั้งที่ว่าการอำเภอที่ตำบลเขาขาว ต่อมาจึงได้ย้ายที่ทำการอำเภอมาตั้งอยู่ที่ตำบลน้ำพราย ซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอในปัจจุบันนี้ แต่ยังเป็นชื่ออำเภอเขาขาว ต่อมาได้แยกพื้นที่ตำบลน้ำพรายบริเวณที่ตั้งที่ว่าการอำเภอออกมาตั้งเป็น ตำบลใหม่ ให้ชื่อว่า "ตำบลห้วยยอด" ดังนั้นในปี พ.ศ. 2455 จึงเปลี่ยนชื่ออำเภอเป็น อำเภอห้วยยอด เพื่อให้ตรงกับชื่อตำบลที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ ในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอเขาขาวอีกครั้ง และในปี พ.ศ. 2482 จึงได้เปลี่ยนมาเป็นอำเภอห้วยยอดจนกระทั่งปัจจุบัน

จังหวัดนครศรีธรรมราช
อำเภอท่าศาลา มีนายเจริญเป็นนายอำเภอคนแรกเมื่อ ร.ศ. 116 จนถึง พ.ศ. 2459 จึงได้เปลี่ยนชื่อเดิมจาก "อำเภอกลาย" มาเป็น อำเภอท่าศาลา จนถึงปัจจุบัน

อำเภอทุ่งใหญ่ เดิมมีฐานะเป็นกิ่งอำเภอขึ้นกับอำเภอทุ่งสง ชื่อ " กิ่งอำเภอกุแหระ" ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.2449 ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่บ้านบางปรนหมู่ที่ 2 ต.กุแหระ (ปัจจุบันเป็นหมู่ 1 ตำบลกรุงหยัน) ต่อมาปี พ.ศ.2452 ได้ย้ายที่ว่าการกิ่งอำเภอมาตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 2 ต.ท่ายาง และได้เปลี่ยนชื่อจากกิ่งอำเภอกุแหระ เป็นกิ่งอำเภอท่ายางตามชื่อของ ตำบลท่ายาง ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอใหม่ และมีฐานะเป็นกิ่งอำเภอมาเป็นเวลา 53 ปี เมื่อยกฐานะเป็นอำเภอก็ใช้ชื่อว่า " อำเภอท่ายาง " ตามชื่อของกิ่งอำเภอเดิม แต่ปรากฎว่าชื่อนี้ไปพ้องกับชื่อของอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งตั้งเป็นอำเภอมาก่อน ต่อมาทางราชการไปเปลี่ยนชื่ออำเภอใหม่ จากอำเภอท่ายาง มาเป็น " อำเภอทุ่งใหญ่" เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2504 ซึ่งชื่อที่เปลี่ยนนี้เป็นชื่อของตำบลหนึ่งในเขตการปกครองของอำเภอทุ่งใหญ่ คือตำบลทุ่งใหญ่ ต่อมาได้ย้ายที่ทำการใหม่ มาตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 6 ต.ท่ายาง คือ สถานที่ปัจจุบัน รวมเวลาที่เป็นกิ่งอำเภอและอำเภอถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 100 ปี

อำเภอปากพนัง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดปกครองท้องที่ให้มีมณฑลเทศาภิบาลใน ร.ศ. 114 อำเภอปากพนังมีชื่อว่า อำเภอเบี้ยซัด หมายถึง ที่คลื่นซัดเอาหอยเบี้ยจากทะเล ซึ่งสมัยโบราณใช้หอยเบี้ยเป็นเงินตราแลกเปลี่ยนสินค้า และในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2445 ได้มีพระบรมราชโองการให้เปลี่ยนชื่ออำเภอเบี้ยซัดเป็น อำเภอปากพนัง

เดียวมาต่อนะครับ
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
proudtobethai
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 07 ก.ค. 10, 14:46

แวะมาให้กำลังใจค่ะ ขอบคุณค่ะสำหรับเกร็ดความรู้ดีๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 07 ก.ค. 10, 15:05

ชื่ออำเภอต่างๆนี้น่าเพลิดเพลินอยู่อีกอย่างคือหาคำแปล   เป็นงานอดิเรกที่พวกทำงานด้านภาษาชอบเล่นกัน
ขอบคุณทุกท่านสำหรับคำตอบค่ะ   เดี๋ยวจะหามาให้อีก
บางชื่อก็รู้ว่ามาจากภาษาอื่น  ถ้าพอรู้ศัพท์ในภาษานั้นก็พอเดาความหมายได้   บางชื่อเปลี่ยนแล้วรู้ความหมาย บางชื่อเปลี่ยนแล้วยิ่งไม่รู้หนักเข้าไปอีก  เช่นเบี้ยซัด เปลี่ยนเป็นปากพนัง    พนัง แปลว่าอะไร
ชอบไปพักที่ชะอำ   แต่ไม่เคยรู้เลยว่าชะอำแปลว่าอะไร
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 07 ก.ค. 10, 15:19

คุณวิกกี้บอกว่า ชะอำ มาจากคำว่า ชะอาน (ม้า) http://th.wikipedia.org/wiki/เทศบาลเมืองชะอำ

เชื่อหรือไม่ ?

 ฮืม
บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 07 ก.ค. 10, 17:22

มาต่อครับ

จังหวัดนราธิวาส
อำเภอแว้ง เดิมชื่อ อำเภอโต๊ะโมะ ตั้งเมื่อประมาณ พ.ศ. 2445 ตั้งที่ว่าการอยู่ที่หมู่ที่ 3 บ้านโต๊ะโมะ ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน แต่เดิมเป็นถิ่นทุรกันดาร การคมนาคมต้องใช้ช้างและเท้า ราษฎรไทยและต่างประเทศมาตั้งบ้านเรือนเพื่อขุดแร่ทองคำจำนวนมาก คำว่า "โต๊ะโมะ" เป็นคำในภาษามลายู แปลว่า ตำ ทิ่ม หรือกระแทก

อำเภอสุคิริน เดิมเคยเป็นกิ่งอำเภอหนึ่งที่ได้จัดตั้งขึ้น พ.ศ. 2474 ชื่อ "กิ่งอำเภอปาโจ" ขึ้นกับอำเภอโต๊ะโมะ (อำเภอแว้งในปัจจุบัน) กิ่งอำเภอนี้จัดตั้งเพราะมีชาวฝรั่งเศสได้เข้ามาขอสัมปทานทำเหมืองแร่ทองคำ บริเวณเทือกเขาลีซอ ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลโต๊ะโมะ มีราษฎรอพยพเข้ามาอยู่เป็นจำนวนมาก ทางราชการจึงได้พิจารณาจัดตั้งกิ่งอำเภอนี้ขึ้นมาเพื่อสะดวกในการปกครอง ดูแลผลประโยชน์ของทางราชการในการจัดเก็บภาษีอากรและให้บริการประชาชน โดยแบ่งเขตการปกครองเป็น 2ตำบล คือ ตำบลโต๊ะโมะ และตำบลมาโมง และเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2529 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกฐานะกิ่งอำเภอสุคิริน เป็นอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส จนถึงปัจจุบัน

จังหวัดปัตตานี
อำเภอโคกโพธิ์ ยกฐานะเป็นอำเภอแยกจากอำเภอหนองจิกเป็นอำเภอใหม่ มีชื่อว่า อำเภอเมืองเก่า ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 บ้านนาเกตุ ตำบลมะกรูด ต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอมะกรูด ตามชื่อตำบลที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ
และปี พ.ศ. 2482 ได้เปลื่ยนชื่อจากอำเภอมะกรูดมาเป็น อำเภอโคกโพธิ์ ตามชื่อของตำบลของอำเภอโคกโพธิ์จนปัจจุบันมีอายุถึง 97 ปี

จังหวัดพัทลุง
อำเภอควนขนุน  เดิมเรียกว่า อำเภออุดร จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2439 หรือ ร.ศ. 115 มีพระพลสงคราม (โต ศิริธร) เป็นนายอำเภอคนแรก ต่อมาภายหลังเป็นพระยาศิริธรเทพสัมพันธ์ เจ้ากรมเสมียนตรา อำเภอตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 5 ตำบลควนขนุน และได้ย้ายที่ตั้งอีกจำนวน 4 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2442 ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่บ้านมะกอกใต้ เรียกว่า อำเภอมะกอกใต้ ครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2450 ย้ายไปที่บ้านทะเลน้อย เรียก อำเภอทะเลน้อย ครั้งที่ 3 ไม่ปรากฏปี พ.ศ. ย้ายไปที่บ้านพนางตุง เรียก อำเภอพนางตุง และครั้งสุดท้าย เมื่อปี พ.ศ. 2466 ย้ายกลับมาตั้งที่เดิมคือที่บ้านควนขนุน เรียกว่า อำเภอควนขนุน มาจนถึงปัจจุบัน

อำเภอศรีนครินทร์ ท้องที่อำเภอศรีนครินทร์เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเมืองพัทลุง ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอชุมพล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2539 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม ปีเดียวกั
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 08 ก.ค. 10, 08:11

มาต่อครับ

จังหวัดนราธิวาส
อำเภอแว้ง เดิมชื่อ อำเภอโต๊ะโมะ ตั้งเมื่อประมาณ พ.ศ. 2445 ตั้งที่ว่าการอยู่ที่หมู่ที่ 3 บ้านโต๊ะโมะ ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน แต่เดิมเป็นถิ่นทุรกันดาร การคมนาคมต้องใช้ช้างและเท้า ราษฎรไทยและต่างประเทศมาตั้งบ้านเรือนเพื่อขุดแร่ทองคำจำนวนมาก คำว่า "โต๊ะโมะ" เป็นคำในภาษามลายู แปลว่า ตำ ทิ่ม หรือกระแทก

อำเภอสุคิริน เดิมเคยเป็นกิ่งอำเภอหนึ่งที่ได้จัดตั้งขึ้น พ.ศ. 2474 ชื่อ "กิ่งอำเภอปาโจ" ขึ้นกับอำเภอโต๊ะโมะ (อำเภอแว้งในปัจจุบัน) กิ่งอำเภอนี้จัดตั้งเพราะมีชาวฝรั่งเศสได้เข้ามาขอสัมปทานทำเหมืองแร่ทองคำ บริเวณเทือกเขาลีซอ ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลโต๊ะโมะ มีราษฎรอพยพเข้ามาอยู่เป็นจำนวนมาก ทางราชการจึงได้พิจารณาจัดตั้งกิ่งอำเภอนี้ขึ้นมาเพื่อสะดวกในการปกครอง ดูแลผลประโยชน์ของทางราชการในการจัดเก็บภาษีอากรและให้บริการประชาชน โดยแบ่งเขตการปกครองเป็น 2ตำบล คือ ตำบลโต๊ะโมะ และตำบลมาโมง และเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2529 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกฐานะกิ่งอำเภอสุคิริน เป็นอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส จนถึงปัจจุบัน
จังหวัดปัตตานี
อำเภอโคกโพธิ์ ยกฐานะเป็นอำเภอแยกจากอำเภอหนองจิกเป็นอำเภอใหม่ มีชื่อว่า อำเภอเมืองเก่า ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 บ้านนาเกตุ ตำบลมะกรูด ต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอมะกรูด ตามชื่อตำบลที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ
และปี พ.ศ. 2482 ได้เปลื่ยนชื่อจากอำเภอมะกรูดมาเป็น อำเภอโคกโพธิ์ ตามชื่อของตำบลของอำเภอโคกโพธิ์จนปัจจุบันมีอายุถึง 97 ปี

จังหวัดพัทลุง
อำเภอควนขนุน  เดิมเรียกว่า อำเภออุดร จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2439 หรือ ร.ศ. 115 มีพระพลสงคราม (โต ศิริธร) เป็นนายอำเภอคนแรก ต่อมาภายหลังเป็นพระยาศิริธรเทพสัมพันธ์ เจ้ากรมเสมียนตรา อำเภอตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 5 ตำบลควนขนุน และได้ย้ายที่ตั้งอีกจำนวน 4 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2442 ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่บ้านมะกอกใต้ เรียกว่า อำเภอมะกอกใต้ ครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2450 ย้ายไปที่บ้านทะเลน้อย เรียก อำเภอทะเลน้อย ครั้งที่ 3 ไม่ปรากฏปี พ.ศ. ย้ายไปที่บ้านพนางตุง เรียก อำเภอพนางตุง และครั้งสุดท้าย เมื่อปี พ.ศ. 2466 ย้ายกลับมาตั้งที่เดิมคือที่บ้านควนขนุน เรียกว่า อำเภอควนขนุน มาจนถึงปัจจุบัน

อำเภอศรีนครินทร์ ท้องที่อำเภอศรีนครินทร์เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเมืองพัทลุง ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอชุมพล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2539 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม ปีเดียวกั
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 08 ก.ค. 10, 08:20

จังหวัดภูเก็ต
อำเภอเมืองภูเก็ต เดิมอำเภอเมืองภูเก็ตนั้นมีชื่อว่า อำเภอทุ่งคา แต่ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น อำเภอเมืองภูเก็ต เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481

จังหวัดสงขลา
อำเภอนาทวี  เป็นอำเภอในจังหวัดสงขลา แยกมาเป็นกิ่งอำเภอจากหัวเมืองจะนะ และตั้งเป็นอำเภอนาทวี เมื่อปี พ.ศ. 2499 เป็นที่ตั้งของศาลจังหวัดนาทวีที่มีพื้นที่อำนาจศาลคลอบคลุมอำเภอนาทวี สะเดา สะบ้าย้อย เทพา และจะนะ

จังหวัดสงขลา
อำเภอหาดใหญ่   ชุมชนหาดใหญ่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทางราชการต้องยกฐานะให้บ้านหาดใหญ่เป็นอำเภอ มีชื่อว่า อำเภอเหนือ ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อจากอำเภอเหนือเป็น อำเภอหาดใหญ่ และได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอชั้นเอก

จังหวัดสุราษฎร์ธานี
อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี  อำเภอบ้านดอน เป็นอีกชื่อหนึ่งของอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี

อำเภอคีรีรัฐนิคม พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมณฑลปักษ์ใต้ ประทับแรมที่ตำหนักสวนสราญรมย์ควนท่าข้าม อำเภอพุนพิน ทอดพระเนตรเห็นประชาชนพลเมืองมีกิริยามารยาทเรียบร้อย ประกอบกับได้ทรงทราบจากผู้ปกครองบ้านเมืองว่าประชาชนตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม เคารพหนักแน่นในพระพุทธศาสนา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองไชยาเป็น "เมืองสุราษฎร์ธานี" อันแปลว่า "เมืองคนดี" เปลี่ยนชื่อมณฑลชุมพรเป็น "มณฑลสุราษฎร์" และเปลี่ยนชื่ออำเภอคีรีรัฐนิคมเป็น อำเภอท่าขนอน เพื่อให้ตรงกับตำบลที่ตั้งอำเภอซึ่งเป็นด่านเก็บภาษี ด่านนี้เก็บภาษีจากสินค้าซึ่งเข้ามาทางจังหวัดพังงา ตะกั่วป่า และภูเก็ต ผ่านมาทางภูเขาแล้วล่องมาตามลำน้ำคลองพุมดวงเข้าไปยังอำเภอต่าง ๆ ตามชายฝั่งทะเลหรือริมทางรถไฟ ชื่อของอำเภอจึงใช้ "ท่าขนอน" ตั้งแต่นั้นมา  จนถึง พ.ศ. 2504 รัฐบาลสมัยนั้นเห็นว่า ชื่ออำเภอที่ใช้อยู่นี้ไม่ถูกต้องตามสภาพพื้นที่ เพื่อให้ถูกต้องตามความเหมาะสมกับสภาพท้องที่และเพื่อรักษาไว้ซึ่งประวัติ แห่งท้องที่จึงประกาศใช้ชื่ออำเภอว่า อำเภอคีรีรัฐนิคม ในรัชสมัยสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ยุบมณฑลสุราษฎร์และให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดอื่น ๆ ที่เคยขึ้นกับมณฑลสุราษฎร์ไปขึ้นกับมณฑลนครศรีธรรมราช ต่อมาราชการได้ยุบมณฑลทั่วราชอาณาจักร จังหวัดสุราษฎร์ธานีนี้ขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย อำเภอคีรีรัฐนิคมจึงขึ้นต่อจังหวัดสุราษฎร์ธานีจนถึงปัจจุบัน

อำเภอพนม  แต่เดิมอำเภอพนมมีชื่อเรียกว่า อำเภอชะอุ่น เป็นอำเภอตั้งแต่ปี พ.ศ. 2433 ตั้งอยู่ฝั่งขวาของคลองชะอุ่น การปกครองขึ้นตรงต่อเมืองนครศรีธรรมราช โดยมีหลวงปราบประทุษราษฎร์เป็นนายอำเภอคนแรก ตามประวัติกล่าวไว้ว่าเหตุที่ตั้งเมืองนั้น เพราะบริเวณหัวแคว้นด้านนี้ชุกชุมไปด้วยอันธพาล ทางการจึงก่อตั้งเป็นอำเภอเพื่อปราบอันธพาลนั่นเอง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2441 ทางราชการได้แบ่งการปกครองเป็นมณฑล จึงย้ายอำเภอชะอุ่นมาขึ้นกับมณฑลชุมพร ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2453 อำเภอชะอุ่นได้ถูกลดฐานะเป็นกิ่งอำเภอชื่อว่า กิ่งอำเภอปากพนม โดยมีขุนพนมธนารักษ์ ดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอคนแรก ในที่สุดคำว่า "ปาก" ได้หายไปเหลือเพียงชื่อว่า กิ่งอำเภอพนม แล้วได้ยกฐานะเป็น อำเภอพนม อีกครั้งเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514

อำเภอบ้านนาสาร มื่อ ร.ศ. 118 ทางราชการได้รวมตำบลพ่วงพรหมคร ตำบลทุ่งหลวง ตำบลท่าชี ตำบลนาสาร ตำบลบ้านนา และตำบลลำพูน ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ เรียกว่า “อำเภอลำพูน” ตั้งที่ว่าการอำเภอที่ตำบลบ้านนา (ปัจจุบันอำเภอบ้านนาเดิม) การปกครองขึ้นตรงต่อมณฑลนครศรีธรรมราช ต่อมาทางราชการได้ย้ายศาลาที่ว่ามณฑลชุมพร มาตั้งที่เมืองสุราษฏร์ธานีและพิจารณาเห็นว่า อำเภอลำพูนตั้งอยู่ห่างไกลจากมณฑลนครศรีธรรมราช ไม่สะดวกแก่การปกครอง จึงได้โอนมาขึ้นกับเมืองสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2461 ได้เปลี่ยนชื่อ “อำเภอลำพูน” เป็น “อำเภอบ้านนา” ให้ตรงกับชื่อตำบลที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ และในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2465 โอนตำบลกรูดจากอำเภอท่าโรงช้าง ตำบลพ่วงพรหมคร และตำบลเคียนซา จากอำเภอพระแสงมาขึ้นกับอำเภอบ้านนาในปี พ.ศ. 2494 ได้โอนตำบลกรูดไปขึ้นกับอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอบ้านนามาตั้งที่ตำบลนาสาร เนื่องจากที่ตั้งที่ว่าการอำเภอไม่อยู่ในศูนย์กลางของพื้นที่การปกครอง ประชาชนไม่สะดวกในการติดต่อราชการและได้เปลี่ยน “อำเภอบ้านนา” ให้สอดคล้องกับตำบลที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ “อำเภอบ้านนาสาร” จนกระทั่งปัจจุบัน

อำเภอบ้านนาเดิม นั้นเดิมชื่ออำเภอลำพูน มี 7 ตำบล คือ บ้านนา ท่าเรือ กอบแกบ ทุ่งเตา อิปัน พระแสง และพนม ตั้งขึ้นจากการจัดระเบียบการปกครองแผ่นดินในส่วนภูมิภาค ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.ศ. 118 (พ.ศ. 2442) ได้แยกตำบลอิปัน พนม และพระแสง ไปตั้งเป็นอำเภอพระแสง และกิ่งอำเภอพนม แล้วโอนตำบลเวียงสระ ทุ่งหลวง ท่าชี และนาสารมาขึ้นกับอำเภอลำพูน เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2460 ทางราชการได้เปลี่ยนชื่ออำเภอลำพูนเป็นอำเภอบ้านนา โดยเห็นว่าตัวที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านนา วันที่ 1 กรกฎาคม 2481 ทางราชการได้ย้ายตัวที่ว่าการอำเภอบ้านนาไปตั้งที่ตำบลนาสารแล้วตั้งชื่อ ใหม่ว่าอำเภอบ้านนาสาร ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2482 เป็นต้นมา วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2519 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอบ้านนาเดิมขึ้น มา โดยแยกท้องที่อำเภอบ้านนาสารมา 2 ตำบล คือ ตำบลบ้านนา และตำบลท่าเรือ โดยใช้สถานที่วัดทองประธานเป็นที่ตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอชั่วคราว ต่อมาได้มีการแบ่งเขตการปกครองออกอีก 2 ตำบล คือ ตำบลทรัพย์ทวี แยกมาจากตำบลท่าเรือ เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2525 ตำบลนาใต้ แยกมาจากตำบลบ้านนา เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2526 วันที่ 21 พฤษภาคม 2533 ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ หน้า 1 เล่ม 107 ตอน 83 ยกฐานะกิ่งอำเภอบ้านนาเดิม
เป็นอำเภอบ้านนาเดิม

จังหวัดยะลา
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 08 ก.ค. 10, 08:23

อำเภอเบตง  เดิมพื้นที่ที่เป็นอำเภอเบตงขึ้นอยู่กับเมืองรามันซึ่งเป็น 1 ใน 7 หัวเมืองของมณฑลปัตตานี ต่อมาในปี พ.ศ. 2411 ได้ตั้งขึ้นเป็นอำเภอ ชื่อว่า อำเภอยะรม (ตั้งอยู่บ้านฮางุส หมู่ที่ 1 ตำบลเบตง) แบ่งการปกครองออกเป็น 6 ตำบล คือ ตำบลเบตง ตำบลยะรม ตำบลอิตำ ตำบลโกรเน ตำบลบาโลน และตำบลเซะ (โกร๊ะ) ต่อมาอีก 21 ปี ในปี พ.ศ. 2473 สมัยที่พระพิชิตบัญชาการเป็นนายอำเภอ ได้ย้ายที่ตั้งที่ว่าการอำเภอจากบ้านฮางุส หมู่ที่ 1 ตำบลเบตง มาตั้งอยู่ที่บ้านกำปงมัสยิด หมู่ที่ 6 ตำบลเบตง พร้อมกับได้เปลี่ยนชื่อจาก "อำเภอยะรม" เป็น อำเภอเบตง ซึ่งเป็นภาษามาเลย์ มีความหมายว่า "ไม้ไผ่" (ที่ว่าการอำเภอหลังเก่าตั้งอยู่ใกล้กับสถานีตำรวจภูธรเบตงปัจจุบัน) และในปี พ.ศ. 2481 ได้ตั้งตำบลตาเนาะแมเราะ ปี พ.ศ. 2482 ได้ยุบตำบลฮาลาไปรวมกับตำบลอัยเยอร์เวง รวมทั้งได้ประกาศตั้งเทศบาลตำบลเบตงโดยครอบคลุมพื้นที่ตำบลเบตงทั้งหมด

อำเภอบันนังสตาเดิมชื่อว่า อำเภอบาเจาะ

ผมว่าน่าจะหมดแล้วนะครับ
ข้อมูลทั้งหมดทั้งปวงนี้ผมหาและอ่านจาก http://th.wikipedia.org/wiki/จังหวัดในประเทศไทย
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
proudtobethai
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 08 ก.ค. 10, 19:03

ได้อ่านของภาคใต้สมใจแล้ว ขอบคุณมากค่ะ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 10 ก.ค. 10, 08:38

ตามลิ้งค์ที่คุณเพ็ญชมพูให้มา  ไปดูที่มาของชื่อชะอำ

ชะอำเดิมมีชื่อว่า “ชะอาน” เล่ากันว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถ ยกทัพมาทางใต้ ทรงนำทัพมาทางใต้ ทรงนำทัพมาที่เมืองนี้เพื่อไพร่พล ช้าง ม้า และล้างอานม้า จึงได้ชื่อว่า “ชะอาน” ต่อมาชื่อนี้จึงเพี้ยนมาเป็น “ชะอำ”
คงจะมีอะไรตกไปสักคำ ในประโยคตัวแดง      อ่านแล้วก็ยังไม่เข้าใจว่าชะอำแปลว่า อานม้า  หรือแปลว่าชะ(ล้าง) อำ(หรืออาน (ม้า))
อย่างไรก็ตาม น่าจะไม่ใช่ความหมายแท้จริง  ชะอำน่าจะเป็นภาษาถิ่นหรือภาษาอะไรสักอย่าง ที่บ่งถึงสภาพภูมิประเทศแถวนี้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.083 วินาที กับ 20 คำสั่ง