เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
อ่าน: 31329 ชื่ออำเภอที่เปลี่ยนไป
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 10 ก.ค. 10, 16:24

คุณเทาชมพูลองแกะความหมาย "ชะอำ" จาก โคลงนิราศชะอำ พระนิพนธ์ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ดูที

๑๑๐

๏ โคกเมืองเนื่องโคกบ้าน     ปานเมือง  
เดินทัพรับพม่าเคือง           เข่ญแกล้ว  
พักแรมแถบแง้มเหมือง       เหมาะมาร์ค  
ศึกเลิกเมืองเลิกแล้ว          กระหลับบ้านนานหนอ ฯ  
 
 
๑๑๑  
๏ ชื่อชะอำพอเชื่อได้         โดยหมาย  
ชื่นฉระอ่ำน้ำฉ่ำทราย         เหน่งผล้าน
 
คุ้ยขุดก็หยุดกระหาย         น้ำจืด ซึมแฮ  
กระนี้พี่หวังตั้งบ้าน            พักมื้อหมองชรา  

http://www.reurnthai.com/wiki/โคลงนิราศชะอำ

 

 
บันทึกการเข้า
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 10 ก.ค. 10, 23:16

เพื่อนเล่าว่าคำว่า ปัว นี้มีบางคนสงสัยว่าจะอาจจะมาจากคำภาษาอังกฤษว่า poor

หากจะต้องการความหมายของคำว่า “พัว” หรือ “ปัว” แล้วนั้น จะกล่าวไว้อยู่สองประการ คือ

ประการที่หนึ่ง เมื่อยึดตามตัวอักษรแล้ว คือ เมื่อเทียบเคียงกับอักษรไทย คือ พัว โดยที่ออกเสียงเป็น ปัว ตามเสียงไทยวน และภาษาไทดำ ก็ออกเสียงคล้ายปัว เพียงแต่ต่างกันที่โทนเสียงวรรณยุกต์ที่จะผิดแผกกันไปบ้าง ก็คือคำว่า พัว ในภาษาไทย อันแปลว่า ติดกัน ส่วนมากจะพบเป็น พัวพัน อันแปลคล้าย ๆ กันคือ ต่อเนื่องกัน

ฉะนั้นเมืองปัว ใน ณ ที่นี้ก็แปลได้ว่า เมืองที่ติดกัน หรือเกี่ยวเนื่องกัน หากจะพิจารณาตามตำแหน่งของเมืองแล้ว ก็อาจจะตีความว่า เป็นเมืองที่ติดกันกับเมืองย่างก็ได้อีกทางหนึ่ง ด้วยคราวทางไม่ห่างกันมากนัก ดังปรากฏในหนังสือคราวทางเมืองน่านว่า “...ย่างไปฅว่าง ๕๐๐๐ ฅว่างไปพัว ๓๐๐๐...”  โดยที่เมือง ฅว่างนั้นสร้างในสมัยพระญาผานองที่สร้างให้กับเจ้าอามป้อม

ประการที่สอง คือเป็นคำเก่าแก่ของดินแดนแห่งนี้ ทั้งเป็นชื่อแม่น้ำ และเป็นชื่อเมืองในภาษาตระกูลไทแล้ว อาจยังเป็นคำของ กลุ่มไทกาว ก็เป็นได้ ด้วยกลุ่มไทกาว นั้นเป็นชนพื้นเมืองของเมืองน่านไปตลอดถึงหลวงพระบาง โดยตำนานต่างเมืองก็มักจะเรียกผู้ปกครองเมืองปัวตลอดถึงเมืองน่านว่าพระญา กาว อันกลุ่มไทกาวนี้ในเมืองน่านได้สูญหายและผสมกลมกลืนไปกับกลุ่มชาวไทยวนไป ทั้งหมดทั้งสิ้น อันจะเหลือแต่ท่วงทำนองซอล่องน่านที่สืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน และอาจจะรวมถึงคำว่า “ปัว” อีกคำหนึ่งก็เป็นได้ ถ้าหากเป็นคำในกลุ่มไทกาวแล้ว ก็นับว่าควรจะรักษาไว้เป็นอย่างยิ่งเพราะทุกวันนี้นอกจากที่กล่าวมาแล้วนั้น ก็ไม่มีอะไรจะสืบไปถึงไทกาวน่านแต่ดั้งเดิมได้อีกแล้ว

เมืองปัวนี้เป็นเมืองดี โดย สลุงเงิน
http://www.pua108.com/smf/index.php?topic=1022.0



 ยิงฟันยิ้ม ก่อนที่จะมีบทความเรื่องนี้ ก็ทำเอาผมจี้ดขี้นมาเหมือนกันครับ เมื่อได้ข่าวว่า จะเปลี่ยนชื่ออำเภอของผม .... แต่ก็มีกระแสต่อต้านเยอะมาก ...

พูดถึงอีกอำเภอหนึ่ง ... ที่เขียนแล้วอ่านตลกๆ คืำอ อำเภอบ้านโฮ่ง ... ดูแล้วเหมือนกับว่า อำเภอนี้มีแต่เสียงหมาเห่า

ทั้งนี้เพราะ คำว่า โฮ่ง และ โห้ง ในภาษาไทยมาตรฐานออกเสียงเหมือนกัน และคำว่า โห้ง ไม่มีความหมายในภาษาไทยมาตรฐาน

แต่พอมองในของท้องถิ่น สองคำนี้ ออกเสียงคนละเสียง ความหมายคนละอย่าง

คำว่า โห้ง แปลว่า ที่ลุ่มต่ำ พื้นที่ที่เป็นแอ่ง ตามลักษณะภูมิประเทศของอำเภอนี้

ผมก็หวังว่า ความถูกต้องจะกลับคืนมาสู่อำเภอนี้เป็น อำเภอบ้านโห้ง แต่ก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 23 ก.ค. 12, 14:08

ตามลิ้งค์นี้จะเป็น "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒"
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2482/A/354.PDF
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 23 ก.ค. 12, 14:48

พระราชกฤษฎีกาต่อจากฉบับข้างบนอีก ๒ ฉบับคือ พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒ (อีกฉบับหนึ่ง) และ พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๓ เปลี่ยนชื่อตำบลและอำเภอกันอุตลุดเพื่อสนองรัฐนิยมของท่านผู้นำ

ตำบลไหน อำเภอไหน มีคำว่า ญวน ลาว ขอม เขมร กัมพุช พม่า ลังกา จีน  ถูกเปลี่ยนหมด

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 23 ก.ค. 12, 23:01

สมัยเป็นนักเรียน นุ่งขาสั้น ที่ห้องสมุดมีหนังสืออยู่ ๑ เล่ม ว่าด้วย การเปลี่ยนชื่อ ตำบล อำเภอ เขียนโดย พระยาอนุมานราชธน  มีประมาณ ๑๐๐ หน้าเศษ โดยท่านได้แปลง ชื่อเมือง ชื่อตำบล อำเภอต่างๆ เป็น "ภาษาที่เหมาะสม" ในขณะนั้น (น่าจะประมาณก่อน พ.ศ. ๒๕๐๐) ที่จำได้ คือ ตำบลที่มีคำว่า "ควาย" ท่านเปลี่ยนเป็น "กระบือ" ทั้งหมด  ตำบลใด ชื่อไม่ไพเราะ ท่านก็ตั้งเป็นภาษาสละสรวยให้ใหม่

นึกว่าจะหาแต่ก็ไม่ทราบชื่อหนังสือ คงหาได้ยาก, เคยอ่านเมื่อหลายสิบปีมาแล้ว ท่านใดเคยได้เห็นหนังสือ เปลี่ยนนามตำบล อำเภอ ของพระยาอนุมานราชธน บ้างครับ ?

บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 24 ก.ค. 12, 14:17

ในกรุงเทพฯ ก็มีอำเภอบ้านทวาย เปลี่ยนมาเป็นยานนาวาครับ
บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 24 ก.ค. 12, 14:40

พ.ศ. ๒๔๕๙ เปลี่ยนนามอำเภอ
อำเภออมรินทร์  เป็น บางกอกน้อย
อำเภอหงษาราม เป็น บางกอกใหญ่
อำเภอราชคฤห์   เป็น บางยี่เรือ
อำเภอบุปผาราม  เป็น คลองสาร  หรือคลองสาน ในปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 24 ก.ค. 12, 20:40

^
^


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 24 ก.ค. 12, 20:49

ในกรุงเทพฯ ก็มีอำเภอบ้านทวาย เปลี่ยนมาเป็นยานนาวาครับ

http://www.youtube.com/watch?v=GsnbmoJWfYQ&feature=player_embedded#at=87


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 26 ก.ค. 12, 21:44

บางกระสัน กลายเป็น มักกะสัน

อ้างจาก - จดหมายเหตุ เรื่องเปิดรถไฟสายตะวันออกและสายเหนือและเสด็จพระราชดำเนินประพาสเมืองฉะเชิงเทรา ร.ศ. ๑๒๖

".. ส่วนรถไฟพิเศษสายตะวันออกซึ่งเสด็จพระราชดำเนินนั้นแยกไปทงตะวันออก ผ่านสะเตชั่นบางกระสัน สะเตชั่นคลองแสนแสบ ... ผ่านสะเตชั่นบ้านหัวหมาก บ้านทับช้าง ..."




บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 27 ก.ค. 12, 10:30

บางกระสัน กลายเป็น มักกะสัน

สงสัยว่า "บางกระสัน" กับ "มักกะสัน" คำไหนเกิดก่อนกัน

พวก แขกมักกะสัน เข้ามาไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว

เป็นไปได้ไหมว่า

มักกะสัน (ชื่อแขกมะกัสซาร์จากอินโดนีเซีย)  ---> บางมักกะสัน  ---> บางกระสัน (ชื่อคลองเดิมก่อนที่จะถมเป็นโรงงานซ่อมรถไฟ) ---> มักกะสัน (ตำบล --> แขวง)

 ฮืม
บันทึกการเข้า
nongluk
อสุรผัด
*
ตอบ: 0



ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 14 ก.พ. 22, 14:06

แทรกระหว่างพัก ครับ

ชื่ออำเภอที่อาจจะเปลี่ยนไป คือ อ. ปัว จ.น่าน จากเว็บน่านทูเดย์

         จากความคิด นอภ.ปัว(นายกำธร   สุอรุณ) .....ด้วยอำเภอปัวมีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลง
                 ชื่ออำเภอปัว  เป็นชื่อ วรนคร   เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นมากับประวัติศาสตร์ดั้งเดิม
ราวพุทธศตวรรษที่ 18  หรือ พ.ศ.1825  ตามตำนานพระญาภูคาครองเมืองย่างได้ขยายอาณาเขตการปกครอง
โดยเลือกพื้นที่ไชยภูมิที่เหมาะสมให้ ขุนฟองที่เป็นโอรสสร้างเมืองใหม่ เมื่อสร้างเสร็จขุนฟองขนานนาม
ว่า"วรนคร"  หมายถึง"เมืองดี"  และความหมายดีกว่าอำเภอปัวที่ยังไม่มีความหมายชัดเจนว่าหมายถึงอะไร...

        เมื่อนานมากนับสิบๆ ปี ครั้งที่จ.น่าน ยังเงียบสงบยิ่ง ชมพูภูคายังไม่เป็นที่ได้ยินยลกัน มีเพื่อนไปรับราชการ
ที่อ.ปัว จ.น่าน ซึ่งสมัยนั้นนับว่าห่างไกลความเจริญมาก
          เพื่อนเล่าว่าคำว่า ปัว นี้มีบางคนสงสัยว่าจะอาจจะมาจากคำภาษาอังกฤษว่า poor

สวัสดีค่ะ ดิฉันพยายามค้นในราชกิจจา เรื่องการย้ายอำเภอนายางมาตั้งที่บ้านหนองจอก และเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอหนองจอก (เพ็ชรบุรี) ปี ๒๔๕๗
แต่ค้นเท่าไหร่ก็ไม่พบ มีการข้ามหน้าไป เข้าใจว่าลิงก์เสียหรืออย่างไร
เคยอ่านพบอยู่นะคะ แต่ตอนนี้ไม่ได้เซฟไฟล์ไว้อ้างอิงค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 14 ก.พ. 22, 15:34

จาก ราชกิจจานุเบกษา


บันทึกการเข้า
nongluk
อสุรผัด
*
ตอบ: 0



ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 14 ก.พ. 22, 15:45

ขอบคุณมากค่ะ
แต่ของปี 2460 นี่เจอแล้วค่ะ

ที่ไม่เจอคือหัวเรื่อง การย้ายอำเภอนายางมาตั้งที่บ้านหนองจอก แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอหนองจอก ปี 2457 ค่ะ
(ซึ่งเคยเจอค่ะ - แต่ตอนนี้ไปค้นไม่เจอ)



บันทึกการเข้า
nongluk
อสุรผัด
*
ตอบ: 0



ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 14 ก.พ. 22, 16:01

คุณเทาชมพูลองแกะความหมาย "ชะอำ" จาก โคลงนิราศชะอำ พระนิพนธ์ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ดูที

๑๑๐

๏ โคกเมืองเนื่องโคกบ้าน     ปานเมือง  
เดินทัพรับพม่าเคือง           เข่ญแกล้ว  
พักแรมแถบแง้มเหมือง       เหมาะมาร์ค  
ศึกเลิกเมืองเลิกแล้ว          กระหลับบ้านนานหนอ ฯ  
 
 
๑๑๑  
๏ ชื่อชะอำพอเชื่อได้         โดยหมาย  
ชื่นฉระอ่ำน้ำฉ่ำทราย         เหน่งผล้าน
 
คุ้ยขุดก็หยุดกระหาย         น้ำจืด ซึมแฮ  
กระนี้พี่หวังตั้งบ้าน            พักมื้อหมองชรา  

http://www.reurnthai.com/wiki/โคลงนิราศชะอำ

 

 

ปัจจุบัน แนวคิดว่าชื่อชะอำ มาจากชะอาน (อานม้าของพระนเรศวร) ค่อนข้างมาก
แต่จากการค้นประวัติศาสตร์ชุมชน อำเภอเก่าหนองจอกของดิฉัน
ก็ไปพบการเรียกชะอำ ว่าฉอ่ำ มาก่อนค่ะ ยุคที่ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ต่อไปจะเป็นผู้ใหญ่บ้านฉอ่ำ นี่แหละค่ะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.105 วินาที กับ 20 คำสั่ง