เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
อ่าน: 31286 ชื่ออำเภอที่เปลี่ยนไป
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


 เมื่อ 05 ก.ค. 10, 16:10

ชื่ออำเภอหลายอำเภอที่เราได้ยินได้เรียกกันในปัจจุบันนี้   
อาจจะมีชื่ออำเภอบางอำเภอที่ถูกเปลี่ยนจากชื่อเดิม
ซึ่งกระทู้นี้จะได้นำเสนอชื่ออำเภอต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนในช่วงรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 05 ก.ค. 10, 16:27

ในปี  ร.ศ.121

มีการเปลี่ยนชื่ออำเภอ ในมณฑลนครศรีธรรมราช  ๓  อำเภอ คือ

อำเภออุดร  แขวงเมืองพัทลุง  เปลี่ยนเป็น   อำเภอ ปากประ
อำเภอทักษิณ  แขวงเมืองพัทลุง  เปลี่ยนเป็น   อำเภอ ปากพยูน
อำเภอเบี้ยซัด  แขวงเมืองนครศรีธรรมราช  เปลี่ยนเป็น  อำเภอ ปากพนัง
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 05 ก.ค. 10, 16:31

ปี ร.ศ.122

อำเภอพันลาน  แขวงเมืองนครสวรรค์  เปลี่ยนเป็น  อำเภอ เกยไชย
อำเภอนาเกลือ  แขวงเมืองชลบุรี  เปลี่ยนเป็น   อำเภอ บางละมุง
อำเภอท่าช้าง  แขวงเมืองนครนายก  เปลี่ยนเป็น   อำเภอ  บ้านนา
อำเภอห้วยหลวง  แขวงเมืองเพชรบุรี  เปลี่ยนเป็น  อำเภอ  เขาย้อย
บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 05 ก.ค. 10, 16:48

จังหวัดสุโขทัย
อำเภอเมืองสุโขทัยได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙ ชื่อ “อำเภอในเมืองสุโขทัย” ตั้งที่ทำการ ณ บ้านหลวงรักษ์นาวา ตำบลธานี โดยหลวงพิชัยมนตรีเป็นนายอำเภอคนแรก ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๑ ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งในที่ดินบริเวณบ้านพักผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน ใช้ชื่อ “อำเภอในเมืองสุโขทัย” พอมาอยู่ในที่ดินของหลวงก็ได้ชื่อใหม่ว่า “อำเภอเมืองสุโขทัย” เหมือนกับชื่ออำเภอในปัจจุบัน แต่ใช้ชื่อนี้อยู่ได้ไม่นานก็ต้องเปลี่ยนเป็น “อำเภอธานี” ในราวปี พ.ศ.๒๔๕๙ เพราะกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศให้เปลี่ยนชื่ออำเภอต่าง ๆ ตามชื่อตำบลที่ตั้งอำเภอนั้นตั้งอยู่

อำเภอสวรรคโลก เดิมมีชื่อว่าอำเภอวังไม้ขอน แต่เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอเมืองสวรรคโลก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ และเปลี่ยนเป็นอำเภอสวรรคโลก เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ เมื่อได้ยุบเลิกจังหวัดสวรรคโลกมาอยู่ภายใต้การปกครองจังหวัดสุโขทัย   

อำเภอศรีสัชนาลัย เดิมเป็น “อำเภอหาดเสี้ยว” จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๖ หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้ว คณะรัฐบาลสมัยพระยาพหลพลพยุหเสนาพิจารราเห็นว่า ควรจะนำปูชนียสถาน หรือสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งเป็นชื่ออำเภอ/จังหวัด จึงได้มีการเปลี่ยนชื่ออำเภอหาดเสี้ยวใหม่เป็น “อำเภอศรีสัชนาลัย”

อำเภอกงไกรลาศ เดิมชื่อชื่ออำเภอบ้านไกร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ในสมัย นายเปลี่ยน สิทธิเวช ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอกงไกรลาศ

อำเภอสวรรคโลก  เดิมชื่ออำเภอวังไม้ของ และได้เปลี่ยนชื่อเมื่อพ.ศ. ๒๔๘๒ จังหวัดสวรรคโลกได้เปลี่ยนเป็นจังหวัดสุโขทัย อำเภอวังไม้ของ ได้เปลี่ยนเป็นอำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย


บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 05 ก.ค. 10, 17:30

จังหวัดชัยภูมิ
ในปี พ.ศ. 2460 ขุนสารกิจคณิตดำรงตำแหน่งนายอำเภอภูเขียว ทางราชการได้เปลี่ยนชื่ออำเภอภูเขียวเป็น “อำเภอผักปัง” เพื่อให้ตรงกับสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอและได้เปลี่ยนใช้ชื่ออำเภอภูเขียวอีกครั้ง เมื่อ พ.ศ. 2482

จังหวัดกาญจนบุรี
อำเภอท่าม่วง จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2441 ที่บ้านท่าไม้รวก ตำบลม่วงชุมในปัจจุบัน โดยเริ่มแรกเนื่องจากอำเภอที่ตั้งขึ้นมีอาณาเขตติดต่อกับ "วัดใต้" (วัดมโนธรรมารามในปัจจุบัน) จึงตั้งชื่ออำเภอว่า อำเภอใต้ ต่อมาความเจริญของลำน้ำเปลี่ยนไป ประชาชนอพยพลงมาทางใต้ เพราะบริเวณท่าไม้รวกเดิมเป็นลำน้ำคด ไม่สะดวกในการสัญจรของเรือ แพ จึงย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งใหม่บริเวณใกล้กับวัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง และตั้งชื่ออำเภอใหม่ว่า อำเภอวังขนาย ต่อมาปี พ.ศ. 2484 พระวรภักดิ์พิบูลย์ นายอำเภอสมัยนั้นเห็นว่าอำเภอนี้ควรตั้งชื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริง เพราะอำเภอตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลท่าม่วง และอยู่ท้ายตลาดท่าม่วงซึ่งเป็นตลาดใหญ่ จึงขออนุญาตเปลี่ยนชื่อจากอำเภอวังขนายเป็น อำเภอท่าม่วง ตามชื่อตำบลที่ตั้ง

จังหวัดร้อยเอ็ด
เมื่อวันที่  27  มิถุนายน  พ.ศ.  2455  หม่อมเจ้าธำรงศิริ  มาเป็นสมุหเทศาภิบาล  ได้เปลี่ยนชื่ออำเภอใหม่ดังนี้
อำเภอปัจจิมร้อยเอ็ด  เป็นอำเภอเมืองร้อยเอ็ด
อำเภออุทัยร้อยเอ็ด   เป็นอำเภอเมืองร้อยเอ็ด
อำเภอสระบุศย์         เป็นอำเภออาจสามารถ
และเมื่อพ.ศ.  2458
อำเภอธวัชบุรี  เป็นอำเภอดินแดง
อำเภอพนมไพรแดนมฤค  เป็นอำเภอพนมไพร
และในปี  พ.ศ.  2483  สมัย  นายวาสนา  วงศ์สุวรรณ  มาเป็นนายอำเภอแซงบาดาล
ได้เปลี่ยนชื่อ อำเภอแซงบาดาล  เป็นอำเภอธวัชบุรี 

จังหวัดสิงห์บุรี
ปี พ.ศ. 2444 อำเภอเมืองสิงห์บุรีเปลี่ยนเป็นอำเภอบางพุทรา และ ในปี พ.ศ. 2481 ทางราชการสั่งให้เปลี่ยนชื่อที่ว่าการอำเภอ ที่ตั้งอยู่ในเมืองให้เป็นชื่อของจังหวัดนั้น ๆ
อำเภอบางพุทราจึงได้กลับไปใช้ชื่ออำเภอเมืองสิงห์บุรี

พรุ่งนี้มาต่ออีกนะครับ


บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 05 ก.ค. 10, 20:26

ขอบคุณคุณหลวงเล็กที่ตั้งกระทู้หาอ่านได้ยากอีกแล้ว และขอบคุณคุณวีระชัยที่มาขยายความเพิ่มเติม
อยากได้ประวัติการเปลี่ยนชื่อ อำเภอพิบูลมังสาหาร    แล้วก็การเปลี่ยนชื่อดงพญาไฟ เป็นดงพญาเย็น  ค่ะ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 06 ก.ค. 10, 08:01

ขอบคุณคุณ werachaisubhong  ที่เข้ามาร่วมแสดงข้อมูล  ดีครับ
ผมจะได้ไม่ต้องเขียนกระทู้อยู่คนเดียว

เรียนคุณเทาชมพู 
กระทู้นี้อาจจะไม่ยาวเท่าไรนัก   แต่น่าจะเป็นประโยชน์แก่คนที่เข้ามาอ่านบ้าง
หลังจากตั้งกระทู้นี้แล้ว  มีสหายท่านหนึ่งมาบอกว่า  อ้า ตั้งกระทู้เรื่องอ่านยากอีกแล้ว
แต่ก็ดีเหมือนกัน   เพราะเคยอ่านหนังสือนิยายเก่าๆ
หรืออ่านหนังสืออื่นที่แต่งสมัยคุณตาคุณยายยังเด็ก 
เห็นชื่ออำเภอบางอำเภอแปลกไม่คุ้นหูอยู่หลายแห่งหลายครั้ง
นึกสงสัยว่าอำเภอนี้อยู่ตรงไหน  ปัจจุบันชื่ออำเภออะไร
ก็เลยแนะว่า  กรุณาติดตามกระทู้นี้ต่อไปนะครับ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 06 ก.ค. 10, 09:12

การเปลี่ยนชื่อดงพญาไฟ เป็นดงพญาเย็น 
ตำนานดงพญาไฟ
ย้อนหลังไปในอดีต  มากกว่า  120  ปีมาแล้ว
ป่าดงดิบอันกว้างใหญ่ไพศาลคั่นกลางระหว่างที่ราบลุ่มภาคกลาง
กับที่ราบสูงภาคอีสาน นั่นคือ  เทือกเขาพนมดงรัก  เต็มไปด้วยภยันตราย
นานัปการ ทั้งจาก สัตว์ป่า ไข้ป่า  ตลอดจนภูติผีปีศาจ และอาถรรพณ์ลึกลับ
มากมาย   ผืนป่าแห่งนี้ผู้คนจึงขนามนามว่า  "ดงพญาไฟ"  ผู้ใดเข้าไปใน
ป่าผืนนี้แล้ว  น้อยคนนักที่จะได้กลับออกมา  จนเป็นที่ร่ำลือเล่าขานกันมา
อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย
การเดินทางจากเมืองสระบุรีกับมณฑลนครราชสีมา ก็ต้องผ่านดงพญาไฟ
แห่งนี้  และจะใช้เกวียนก็ไม่ได้ ต้องอาศัยการเดินเท้าอย่างเดียว ต้อง
เดินตามสันเขาบ้าง ไหล่เขาบ้าง  ลำธารบ้าง  คนเดินตามปกตินั้นตั้งแต่
ตำบลแก่งคอย  สระบุรี  ต้องค้างคืนในป่านี้ถึง 2 คืน  จึงจะผ่านพ้นไปได้
ในระยะต่อมา  สถานการณ์ต่าง ๆ เริ่มดีขึ้น  ในปี 2434  เมื่อพระบาท
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง
ทางรถไฟเชื่อมภาคกลางกับภาคอีสาน  โดยตัดผ่านดงพญาไฟ
ช่วงนี้ ทำให้วิศวกร นายช่าง และแรงงาน จำนวนมาก ทั้งชาวไทย
และชาวต่างชาติ ต่างก็พาชีวิตมาสังเวยกับไข้ป่ากันเป็นจำนวนมาก
ศพกองกันเป็นภูเขาเลากา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสลดพระทัยยิ่งนัก  ทรง
โปรดเกล้าฯ ให้มีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้โดยทั่วกัน  พร้อมกับให้
ยุติการสร้างทางรถไฟไว้เพียงเท่านี้ 

เปลี่ยนมาเป็นดงพญาเย็น

เมื่อพระองค์เสด็จมาทำพิธีเปิดทางรถไฟ ขณะเสด็จกลับได้ผ่านป่าใหญ่
ดงดิบ  (ปัจจุบันคือบริเวณเขื่อนลำตะครอง)  ถึงสถานีรถไฟปากช่อง
ก็ได้ทรงรับสั่งถามว่า  "ป่านี้ชื่อว่าอะไร"  ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้กราบ
บังคมทูลว่าชื่อ "ป่าดงพญาไฟ"  พระองค์ทรงรับสั่งว่า  "ป่านี้ชื่อฟังดู
น่ากลัว"  จึงตรัสว่า  "ให้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น  ดงพญาเย็น  เพื่อ
ความเป็นสิริมงคลและความร่มเย็นเป็นสุขของอาณาประชาราษฎร์
ในวันข้างหน้า"
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 06 ก.ค. 10, 09:23

ขอบคุณคุณหลวงเล็กที่ตั้งกระทู้หาอ่านได้ยากอีกแล้ว และ
อยากได้ประวัติการเปลี่ยนชื่อ อำเภอพิบูลมังสาหาร    แล้วก็การเปลี่ยนชื่อดงพญาไฟ เป็นดงพญาเย็น  ค่ะ

(๑) อำเภอพิบูลมังสาหาร เดิมชื่อ"บ้านกว้างลำชะโด" พระพรหมราชวงษา เจ้าเมืองอุบลราชธานี ขอตั้งเป็นเมืองพิบูลมังสาหาร เจ้าพระยากำแหงสงครามเห็นชอบ จึงกราบบังคมทูลพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ได้ตั้งเป็นเมืองพิบูลมังสาหาร เมื่อวันอาทิตย์ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๒  ปีกุน พ.ศ. ๒๔๐๖ และตั้งท้าวธรรมกิติยา(จูมมณี) เป็นพระยาบำรุงราษฎร์ เป็นเจ้าเมืองคนแรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๓  ลดฐานะเป็นอำเภอ ขึ้นกับเมืองอุบลราชธานี และในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ เปลี่ยนเมืองอุบลราชธานี เป็นจังหวัดอุบลราชธานี

http://www.phibun.com/place_name_phiboon_mungsaharn/place_name=about-phiboon/

(๒) ชื่อ ดงพญาเย็น ถูกกล่าวขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าถึงเรื่องนี้ในพระนิพนธ์เรื่อง เที่ยวตามทางรถไฟ  ว่า

"ดงพญาไฟนี้ เป็นช่องสำหรับข้ามไปมา ระหว่างเมืองสระบุรีกับมณฑลนครราชสีมาแต่โบราณ ไปได้แต่โดยเดินเท้า จะใช้ล้อเกวียนหาได้ไม่ ด้วยทางต้องเดินตามสันเขาบ้าง ตามไหล่เขาบ้าง คนเดินตามปกตินั้นตั้งแต่ตำบลแก่งคอย ต้องค้างคืนในป่านี้ถึง ๒ คืน ถึงจะพ้น...

สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเคยพระราชดำริไว้ว่า ไม่ควรเรียกดงพญาไฟเพราะให้คนครั่นคร้าม จึงทรงกราบทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอให้เปลี่ยนชื่อจาก ดงพญาไฟ เป็นดงพญาเย็น แต่คนหลาย ๆ คนก็ยังคงเรียกว่า ป่าดงพญาไฟอยู่ดั่งเดิม"

บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 06 ก.ค. 10, 09:27

ประวัติ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
     อำเภอพิบูลมังสาหาร เดิมชื่อ "บ้านกว้างลำชะโด" พระพรหมราชวงษา เจ้าเมืองอุบลราชธานี ข อตั้งเป็นเมืองพิบูลมังสาหาร เจ้าพระยากำแหงสงครามเห็นชอบ จึงกราบบังคมทูลพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระจ อมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 4 และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ได้ตั้งเป็นเมืองพิบูลมังสาหาร เมื ่อวันอาทิตย์ แรม 11 ค่ำ เดือน 12 ปีกุน พ.ศ.2406 และตั้งท้าวธรรมกิติยา (จูมมณี) เป็นพระยาบำรุง ราษฎร์ เป็นเจ้าเมืองคนแรก เมื่อปี พ.ศ.2443 ลดฐานะเป็นอำเภอ ขึ้นกับเมืองอุบลราชธานี และในปี พ.ศ.2495 เปลี่ยนเมืองอุบลราชธานี เป็นจังหวัดอุบลราชธานี
   1.  มูลเหตุก ารตั้งเมืองพิบูลสังหาร
   ปีพุทธศักราช 2402 พระพรหมราชวงศา(กุทอง) เจ้าเมืองอุบลราชธานี คนที่ 3 มีภรรยา (หม่อม) 7 คน มีบุตร-ธิดา รวมทั้งหมด 31 คน และในจำนวนบุตรท ั้งหมด มีหลายคน ซึ่งพอจะเป็นเจ้าเมือง อุปฮาด (อุปราช) ราชวงศ์ราชบุตร ทำราชการให้แก่บ้านเมืองได้ จึงปรึกษาคณะกรรมการเมืองต่างมีความเห็นพ้องกันว่า ท้าวธรรมกิตติกา (จูมมณี) , ท้าวโพธิสาราช (เสือ) , ท้าวสีฐาน (สาง) ซึ่งทั้งสามคนนี้เป็นบุตรที่เกิดจากภรรยาคนที่ 2 ของพระพรหมราชวงศา (กุทอง) ชื่อ (นาง) หม่อมหมาแพง ท้าวขัติยะ (ผู) และเป็นน้อยต่างมารดาของท้าวธรรมกิตติกา(จูมมณี) เมื่อปรึก ษาเป็นที่ตกลงแล้ว จึงสั่งให้จัดเรือสามลำและคนชำนาญร่องน้ำเพื่อหาสถานที่สร้างเมืองใหม่ โดยล่องเร ือไปตามลำน้ำมูล จนถึงบ้านสะพือ (บ้านสะพือท่าค้อ-ปัจจุบัน) ได้จอดเรือและข้ามไปสำรวจภูมิประเทศฝั่ งขวาแม่น้ำมูลทิศตะวันตกแก่งสะพือ เห็นภูมิสถานเหมาะแก่การตั้งเมืองได้ จึงทำการบุกเบิกป่า ตั้ง แต่หัวแก่งสะพือไปถึงห้วยบุ่งโง้ง (คุ้มวัดเหนือกลาง-ปัจจุบัน) พอที่จะตั้งบ้านเรือนได้ 30-80 ครอบ ครัว พระพรหมราชวงศาเมืองอุบลฯ ได้จัดราษฎรเข้าไปอยู่หลายครอบครัว พร้อมทั้งให้ท้าวไชยมงคลและท ้าวอุทุมพร (ญาติเจ้าเมืองอุบลฯ) ลงไปอยู่ด้วยแล้วตั้งชื่อว่า " บ้านกว้างลำชะโด " เนื่อ งจากบ้านนี้ตั้งอยู่ย่านกลางของ 2 ห้วย คือ ห้วยกว้างอยู่ทางทิศตะวันออกและห้วยชะโดอยู่ทางท ิศตะวันตก ห้วยกว้างห่างจากที่ตั้งอำเภอไปทางตะวันออก 4 กิโลเมตร ห้วยชะโดห่างจากที่ตั้งอำเภอไปทาง ทิศตะวันตก 4 กิโลเมตร
     2.  ปัจจัยที่เอื้อต่อการสร้างเมืองพ ิบูลมังสาหาร
     2.1  พระราโชบายของพระมหากษัตริย์ หลังจากพ ระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจูฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงเห็นว่าบ้านเมือง อยู่ในสภาพแตกกระจายเป็นก๊ก เป็นเหล่า จึงมีพระราชประสงค์จะรวบรวมไพร่พลให้เป็นกลุ่มก้อนหรือเป็นเม ือง จึงมีราโชบายให้จัดตั้งเมืองขึ้นและให้ถือเป็นแนวปฏิบัติของพระมหากษัตริย์ในรัชกาลต่อๆมา ดัง นั้น เมื่อมีเจ้าเมืองใดขอตึ้งเมืองใหม่ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองได้ตามประสงค์
    2.2  การปกครอง พระพรหมราชวงศา (กุทอง) เจ้าเมืองอุบลราชธานี คนที่ 3  (พ.ศ.2388-2409) มีบุตรหลายคน เห็นว่า ท้าวธรรมกิตติกา (จูมมณี) เป็นบุตรคนหนึ่งที่มีค วามรู้ความสามารถ มีสติปัญญาเฉียบแหลมและกล้าหาญ เมื่อตั้งเป็นเจ้าเมืองแล้วปกครองอาณาประชาราษฎร์ ให้มีความร่มเย็นสงบสุขได้และเป็นการขยายเขตการปกครองเพิ่มขึ้นด้วย
    2.3  แหล่งอุดมสมบูรณ์ บริเวณที่ตั้งเมืองเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำมูลที่อุดมสมบูรณ์ดินดี มีแม่น้ำสาขาหลายสายไหลลงสู่แม่น้ำมูล จึงทำให้บริเวณนี้อุดมไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร และสัตว์น้ำนานาชนิดเหมาะแก่การทำไร่ ไถนา ปลูกข้าว ซึ่งสามารถเป็นแหล่งเสบียงอาหาร กำลังคนทั้ง ในยามสงบและเมื่อมีศึกสงคราม
    2.4  เมืองหน้าด่าน ในขณะนั้นประเทศ ฝรั่งเศส ได้แผ่ขยายล่าอาณานิคมเพื่อหาเมืองขึ้นในประเทศเวียตนามและเขมรได้ขยายเข ้ามาในลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนและมีทีท่าจะรุกล้ำเข้ามาตามลำน้ำมูล ซึ่งหากมีการรุกล้ำดินแดนเกิดขึ้นจริง เมืองพิบูลมังสาหารจะเป็นเมืองหน้าด่านที่สามารถต่อต้านเข้าศึกสกัดกั้นไม่ให้ศัตรูเข้ามาถึงเมือง อุบลราชธานีโดยง่าย
     3.  โปรดเกล้าฯ ตั้งเมืองพิบูลมังสาหาร
     เมื่อตั้งเป็นบ้านกว้างลำชะโดแล้ว ต่อมามีราษฎรเข ้ามาอาศัยอยู่หนาแน่นขึ้นพอที่จะตั้งเป็นเมืองได้ จึงจัดสร้างศาลาว่าการขึ้นริมฝั่ง แม่น้ำมูลแล้วรายงานไปยังพระพรหมราชวงศา (กุทอง) เจ้าเมืองอุบลฯ ซึ่งเจ้าเมืองอุบลฯ ก็เห็นชอบด้วย จึงมีใบบอกกราบเรียนเจ้าพระยากำแหงสงครามเจ้าเมืองนครราชสีมาเพื่อนำความกราบบังคมทูลฯ ขอตั้ง บ้านลำชะโด เป็น " เมืองพิบูลมังษาหาร " เมื่อวันอาทิตย์ แรม 11 ค่ำ เดือน 12 ปีกุน เบญจ ศก จุลศักราช 1225 ตรงกับวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2406 และโปรดเกล้าตั้งท้าวธรรมกิตติกา (จูมมณี) เป็น พระบำรุงราษฎร์-เจ้าเมือง ให้ท้าวโพธิสาราช (เสือ) เป็นอุปฮาด (อุปราช) ให้ท้าวสีฐาน (สาง) เป็นราชวงศ์ ให้ท้าวขัติยะ (ผู) เป็นราชบุตรขึ้นกับเมืองอุบลราชธานี ตามที่ทรงพระราชกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านกว้างลำชะโด เป็น " เมืองพิมูลมังษาหาร " นั้น เห็นจะให้ตรงกับลำน้ำซึ่งให้แต่เ ดิม เรียกว่า ลำน้ำมูล  และเพื่อให้เมืองพิบูลฯ เป็นคู่กับเมืองพิมายซึ่งตั้งอยู่เหนื อลำน้ำมูลขึ้นไป
     4.  เจ้าเมืองและคณะอาญาสี่เมืองพิบูลมังสาหาร
     เมืองพิบูลมังสาหาร ที่พระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงพระก รุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองและคณะอาญาสี่หรือคณะอาชญาสี่ที่ปกครองเมือง ก่อนการปฏิรูปก ารปกครอง ดังนี้
     4.1 เจ้าเมือง พระบำรุงราษฎร์ นามเดิมท้าว ธรรมกิตติกา (จูมมณี) ครองเมือง พ.ศ.2406-2430
         อุปฮาด ท้าวโพธิสาราช (เสือ)
         ราชวงศ์ ท้าวสีฐาน (สาง)
         ราชบุตร ท้าวขัติยะ (ผู)
     4.2 เจ้าเมือง พระบำรุงราษฎร์ นามเดิม ขัติยะ (ผู) ครองเมือง พ.ศ.2430-2455
         อุปฮาด ท้าวลอด เป็นบุตรของพระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี)
         ราชวงศ์ ท้าวมิน เป็นบุตรพระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี)
         ราชบุตร ท้าวแสง เป็นบุตรพระบำรุง ราษฎร์ (ผู)
     ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2455 เป็นต้นมา ทางราชการได ้แต่งตั้งข้าราชการส่วนกลางมาดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการปฏิรูปการปกครองแบบค่อยเป็นค่อยไป และได้พัฒนาจนมาเป็นแบบในปัจจุบัน

อ่านเจอที่เวปนี้ครับ อาจารย์เทาชมพู
http://www.amphoephiboon.com/index-history1.html
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 06 ก.ค. 10, 09:36

ขอบคุณทุกท่านในความอุตสาหะ เข้ามาตอบคำถามค่ะ
ว่าแต่ดงพญาเย็น ได้ชื่อใหม่สมัยไหนกันแน่?


บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 06 ก.ค. 10, 09:54

จังหวัดนครราชสีมา
อำเภอบัวใหญ่
อำเภอบัวใหญ่มีที่ตั้งอยู่เขตแดนของจังหวัดนครราชสีมา จึงมีฐานะเป็นด่านเรียก ด่านนอก มีที่ทำการที่บ้านหนองหลางใหญ่ พ.ศ. 2411ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอ ซึ่งยังคงเรียกชื่ออำเภอตามชื่อของด่านว่า อำเภอนอก แต่ย้ายที่ทำการ มาอยู่ที่บ้านหนองหลางน้อย พ.ศ. 2448 ย้ายที่ทำการอีกครั้งกนึ่งมาอยู่ที่บ้านบัวใหญ่ จึงเปลี่ยนชื่ออำเภอเป็น อำเภอบัวใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากสถานีรถไฟประมาณ 3 กิโลเมตร ทำให้บริเวณบ้านพัดเฟื้อย ซึ่งอยู่ที่สถานีรถไฟมีความเจริญมากกว่า จึงได้ย้ายที่ทำการ อีกครั้งหนึ่ง มาอยู่ที่บ้านพัดเฟื้อย เมื่อ พ.ศ. 2494

อำเภอโนนสูง
ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2440 ใช้ชื่อว่า อำเภอกลาง เพราะตั้งอยู่ตอนกลางระหว่าง อำเภอเมืองนครราชสีมา และอำเภอบัวใหญ่ซึ่งอยู่ชายแดนของจังหวัด ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2456 - 2459 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอโนนวัด เพราะบริเวณที่ตั้งอำเภอ เคยเป็นวัดร้างมาก่อน อีกประมาณ 30 ปีต่อมา กระทรวงมหาดไทย จึงเปลี่ยนชื่อเรียก ตามสภาพภูมิประเทศว่าอำเภอโนนสูง

อำเภอสีคิ้ว
อำเภอสีคิ้ว เดิมมีชื่อว่า เมืองนครจันทึก เป็นเมืองอิสระขึ้นตรงต่อเมืองหลวง ต่อมาถูกตั้งเป็นเมืองหน้าด่าน เรียกว่า ด่านจันทึก ปี พ.ศ. 2440 ได้จัดตั้งเป็นองค์กรมีชื่อว่า อำเภอเมืองจันทึก ตั้งอยู่ในเขตตำบลจันทึก อำเภอปากช่อง ในปัจจุบัน พ.ศ. 2444 ย้ายมาตั้ง ณ ตำบลสีคิ้วในปัจจุบัน และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นอำเภอสีคิ้ว ซึ่งในภายหลังถูกแยกพื้นที่ทางตะวันตก ตั้งเป็นอำเภอปากช่อง
 
อำเภอโนนไทย
พ.ศ. 2443 แขวงสันเทียะได้ยกฐานะเป็นอำเภอสันเทียะ แต่ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอโนนลาว ตามชื่อตำบลที่ได้ตั้งอำเภอ พ.ศ. 2444ได้กลับมาใช้ชื่ออำเภอสันเทียะตามเดิม เพราะเห็นว่าที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่บ้านสันเทียะ พ.ศ. 2562 ได้เปลี่ยนมาใช้ชื่ออำเภอโนนลาว เพราะประชาชนไม่ยอมเรียกชื่ออำเภอสันเทียะ เนื่องจากเป็นภาษาเขมร พ.ศ. 2484 เปลี่ยนมาใช้ชื่ออำเภอโนนไทย เพราะชื่ออำเภอโนนลาวไม่ถูกต้องตามรัฐนิยมและใช้ ชื่ออำเภอโนนไทยมาจนถึงปัจจุบัน

อำเภอด่านขุนทด
เดิมอำเภอด่านขุนทดเป็นแขวงเมืองหนึ่งของอำเภอสันเทียะ (โนนไทย) และมีฐานะเป็นเพียงตำแหน่งหนึ่ง โดยมีพระเสมารักษาเขต เป็นผู้ปกครองดูแล คอยเก็บส่วยอากร ส่งไปยังอำเภอสันเทียะการปกครองหน้าด่าน ใช้วิธีปกครองกันเองและเลือกผู้ปกครองเอง พ.ศ. 2451 รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าสถาปนาด่านขุนทด ขึ้นเป็นอำเภอด่านขุนทด ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบ้านหาญ และเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอ พันชนะ จนถึง พ.ศ. 2456 จึงเปลี่ยนมาเป็นอำเภอด่านขุนทดอีกครั้งหนึ่ง

อำเภอโชคชัย
เดิมชื่ออำเภอกระโทก แต่ทางราชการพิจารณาเห็นว่า สำเนียงและความหมาย ไม่ไพเราะ จึงได้เปลี่ยนชื่อโดยได้ยึดเอาวีรกรรมของพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อคราวยกมาปราบเจ้าเมืองพิมาย และทรงได้ชัยชนะ พ.ศ. 2488 ทางราชการจึงพิจารณาเปลี่ยนชื่อ อำเภอนี้ไหม่ว่าอำเภอโชคชัย

อำเภอจักราช (ออกเสียงว่า จัก-กะ-หลาด)
อำเภอจักราชมีชื่อเดิมว่าอำเภอท่าช้าง ที่ได้รับชื่อเช่นนี้ อาจเป็นเพราะมีแม่น้ำมูลไหลผ่านตลอดปี ใช้เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งสำคัญและ เป็นด่านช้าง มาแต่เดิมจึงได้ชื่อว่าบ้านท่าช้าง หรืออำเภอท่าช้าง พ.ศ. 2470 บ้านท่าช้างได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอท่าช้าง  พ.ศ. 2496 จึงได้ยกฐานะเป็นอำเภอ เรียกว่า อำเภอจักราช


บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 06 ก.ค. 10, 11:16

จังหวัดแพร่
อำเภอสอง พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้จัดการปกครอง หัวเมืองฝ่ายเหนือแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองสองจึงถูกลดฐานะลงเป็นอำเภอ เรียกว่า อำเภอยมเหนือ
ปี พ.ศ. 2449 ทางราชการได้เปลี่ยนชื่อจาก อำเภอยมเหนือ   เป็นอำเภอสอง ตามความนิยมของชาวบ้านใกล้ไกล
ปี พ.ศ. 2470 ทางราชการได้เปลี่ยนชื่อจาก อำเภอสอง        เป็นอำเภอบ้านกลาง แต่ไม่มีใครเรียกและไม่เป็นที่รู้จัก
ปี พ.ศ.2480 ทางราชการจึงได้เปลี่ยนชื่อกลับไปใช้ชื่อตามเมืองโบราณ คือ เมืองสอง ดังนั้นจึงเปลี่ยนจากอำเภอบ้านกลางเป็นอำเภอสอง มาจนถึงปัจจุบัน

อำเภอสูงเม่น
พ.ศ.2446 อ.สูงเม่นเดิมเรียกว่า อ.แม่พวก ตั้งอยู่บ้านสูงเม่น ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2460  ทางราชการได้เปลี่ยนชื่อจาก อ.แม่พวก เป็น อ.สูงเม่น

บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 06 ก.ค. 10, 11:40

จังหวัดน่าน
อำเภอนาน้อย
เดิมชื่ออำเภอศีรษะเกษ เมื่อปี พ.ศ. 2460 อำเภอศีรษะเกษจึงได้เปลี่ยนชื่อเสียใหม่เป็น อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 06 ก.ค. 10, 11:57

จังหวัดเชียงใหม่
อำเภอสันป่าตอง
ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2495 เดิมเป็นการเขตการปกครองของสองอำเภอ คือ อำเภอแม่วาง และอำเภอบ้านแม
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2477 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยุบอำเภอแม่วางและอำเภอบ้านแม รวมเป็นอำเภอเดียวกันให้ชื่อว่า "อำเภอบ้านแม"
ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 ได้มีการย้ายที่ว่า การอำเภอบ้านแม มาตั้ง ณ ที่บ้านสันป่าตอง หมู่ที่ 10 ตำบลยุหว่า ซึ่งเป็นที่ตั้งปัจจุบันและเปลี่ยนชื่ออำเภอเป็น "อำเภอสันป่าตอง"

อำเภอสารภี
เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ เดิมชื่อ "อำเภอยางเนิ้ง" ตั้งเป็นอำเภอเมื่อ ปี พ.ศ. 2434 คำว่ายางเนิ้งมาจาก "ต้นยาง" กับ "เนิ้ง" ซึ่งเป็นภาษาคำเมืองแปลว่า โน้มเอน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2470 ท้าวพระยาขุน พร้อมด้วยราษฎรได้เสนอต่ออำมาตย์ตรีพันธุราษฎร นายอำเภอในสมัยนั้น เสนอให้เปลี่ยนชื่ออำเภอเสียใหม่เนื่องจากไม่ไพเราะ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอสารภี"
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 19 คำสั่ง