เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 21113 สงสัยเรื่องบันไดนาค ครับ
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
 เมื่อ 30 มิ.ย. 10, 15:51

ผมสงสัยมานานมากแล้วครับเกี่ยวกับพญานาคที่อยู่ตรงบันไดขึ้นพระธาตุหรือบันไดขึ้นพระวิหารเหมือนกับว่าพญานาคจะโผล่ออกมาจากปากตัวอะไรสักอย่างสัตว์ตัวนี้จะมีฟันยาว มีเท้าหน้าอยากทราบว่าคือตัวอะไรครับใครพอทราบช่วยบอกทีครับ
ผมมีรูปมาให้ดูด้วยนะครับ
รูปแรกวัดวังหงส์เหนือบ้านผมเองครับ บ้านวังหงส์ จ.แพร่ ครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ



บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
luck-rama
ชมพูพาน
***
ตอบ: 188


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 30 มิ.ย. 10, 16:17

 ยิงฟันยิ้ม สวัสดีครับ สัตว์สี่เท้าที่อ้าปากคายนาค เรียกว่าตัว  มกร  ครับ เป็นความนิยมทางงานช่าง มีทั้งงานศิลปะไทย เขมร ครับ (งานศิลปะเขมร ดูได้จากงาน ปราสาทหินทั้งในบ้านเราและของในประเทศเขมรเอง)
เดี๋ยวหารูปก่อนจะส่งมาให้ดูนะครับ
บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 30 มิ.ย. 10, 16:33

เป็นคนตั้งคำถามเองเพราะว่าอยากรู้เลยหาคำตอบเท่าที่หาเจอในเน็ตมาแบ่งปันอีกที
มกรคายนาค (พญานาค)       
มีสัตว์ในจินตนาการชนิดหนึ่งที่ค่อนข้างแปลก เนื่องจากเราจะพบเป็นปูนปั้นหรือภาพจำหลัก ตลอดจนในงานจิตรกรรม พบมากทางแถบภาคเหนือของประเทศไทยปัจจุบัน เราอ่านว่า มะ-กะ-ระ หรือ มะ-กอน ก็ได้ครับ

"มกร" นี้เป็นสัตว์ที่อยู่ในจินตนาการ นัยว่า เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์เชิงเขาพระสุเมรุ ลักษณะจะผสมกันระหว่างจระเข้กับพญานาค กล่าวคือ มีลำตัวยาวเหยียดคล้ายกับพญานาค แต่มีขายื่นออกมาจากลำตัว และส่วนหัวที่คายพญานาค ออกมานั้นเป็นปากจระเข้ คนโบราณจึงมักนำไปเฝ้าอยู่ตามเชิงบันไดวัด สำหรับวัดในแถบภาคกลางจะเป็นราวบันไดนาค แต่ทางภาคเหนือส่วนใหญ่จะเป็นราวบันไดรูป "มกรคายนาค"
มีผู้คนถามกันมามากมายว่า แล้วตกลงมันคือตัวอะไรแน่ แล้วทำไมจึงต้องคายนาค ไม่คายอย่างอื่น จริงๆ แล้วสัตว์ตัวนี้ไม่ได้มีเฉพาะบ้านเรานะครับ ในเขมร ลาว พม่า ก็มี เขาเรียกว่า "ตัวสำรอก" ก็คือ ตัวที่คายอะไรต่อมิอะไรออกมา ดังนั้น เวลาไปเที่ยววัดให้สังเกตบันไดพญานาคให้ดีว่าเป็นบันไดนาคหรือเป็นบันไดมกรคายนาคกันแน่ วิธีสังเกตก็ให้ดูที่ "คอพญานาค" ว่ามีหน้าสัตว์คล้ายๆ จระเข้อ้าปากอยู่หรือเปล่า ถ้ามีก็ใช่เลย แล้วจะเห็นขาของเจ้าตัวมกรซ่อนอยู่ตามเกล็ดพญานาคด้วย
 
ในความเป็นจริงแล้ว "มกร" มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งซึ่งมีมาแต่โบราณว่า "เหรา" อ่านว่า เห-รา นะครับ
เหรา นี่ไม่ใช่หมายถึง แมงดาทะเล แต่เป็นสัตว์ในจินตนาการ มีหน้าที่เฝ้าสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ อาทิ พระธาตุ โบสถ์ วิหาร ที่สื่อว่าเป็นเขาพระสุเมรุ ตามคติจักรวาลวิทยาแบบไตรภูมิ ดังนั้น จึงต้องมีสัตว์ในป่าหิมพานต์เฝ้าอยู่เชิงเขาพระสุเมรุ ไม่ให้คนขึ้นไปรบกวนทวยเทพและสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนสวรรค์
ส่วนคำว่า "มกร" นั้น เข้าใจว่าคงได้รับอิทธิพลมาจาก "มังกร" ของจีน เพราะเราเคยเห็นแต่พญานาคที่ไม่มีขา พอมาเห็นตัวที่มีหัวเป็นพญานาคหรือสำรอกพญานาค และมีขาด้วยก็เลยเรียกตามจีนไป
ต่อข้อถามว่า ทำไม? มกรต้องคายนาค ในลักษณะของการสำรอก นั้น อาจวิเคราะห์ได้ในแง่ของประวัติศาสตร์ศิลปะคือ "พญานาค" จะเป็นตัวแทนของกลุ่มเมือง หรือชนเผ่าทางตอนเหนือของประเทศไทย ที่เรียกสืบทอดมาถึงปัจจุบันว่า "โยนก" เมืองโยนกเชียงแสนเดิมของพระเจ้าสิงหนวัติกุมาร ต้นตระกูลของพระเจ้าพรหมมหาราช ก็มีตำนานเกี่ยวพันกับพญานาค เรียกว่ามีพญานาคมาสร้างเมืองชื่อโยนกนาคพันธ์สิงหนวัติ หรือโยนกนาคนคร และเมื่อเมืองนี้ล่มจมหายก็เพราะผู้คนพากันกินปลาไหลเผือก ซึ่งเชื่อว่าเป็นตัวแทนของพญานาคนั่นเอง ส่วนสัตว์น่ากลัวเช่น "จระเข้ เหรา" จะเป็นตัวแทนของพวก "พยู" หรือพุกามอันได้แก่พม่า การที่พบศิลปะแบบมกรคายนาคในแถบภาคเหนือ พอจะอนุมานได้ว่า เป็นการแสดงออกถึงการหลุดพ้นจากอิทธิพลของงานศิลปะและการเมืองของพุกามหรือพม่าที่ครอบงำล้านนาอยู่ถึง 200 ปีนั่นเอง

ศิลปะมกรคายนาคแพร่หลายในบ้านเรา ที่น่าสนใจ เช่น ซุ้มเรือนแก้วองค์พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก ก็จำหลักเป็นรูปมกรคายพวงอุบะ และทำเป็นลำตัวนาคเลื้อยลงมาแต่ตอนปลายไม่ยักเป็นเศียรนาค แต่ทำเป็นสัตว์ที่คล้ายคชสีห์แต่ตัวเล็กกว่าแทน ตัวนี้เราเรียกว่า "ทักทอ" อ่านว่า ทัก-กะ-ทอ ครับผม

 
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
Rangson Boontham
มัจฉานุ
**
ตอบ: 50



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 30 มิ.ย. 10, 19:47

ขอบคุณสำหรับภาพสวยๆและเกร็ดความรู้ที่มาของตัว "มกร" เห็นด้วยกับความคิดเห็นเกี่ยวกับการ"ข่ม" กันด้วยเชิงศิลปะ ในหมู่ชาติพันธุ์เอเชีย เช่นกันกับนิกายศาสนาฮินดูที่ต่างยกพระเจ้าของตนเหนือพระเจ้าของนิกายอื่นๆ  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
bank
อสุรผัด
*
ตอบ: 1



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 03 ก.ค. 10, 15:57

ผมขอเสริมในเรื่องของความหมายของมกรและนาค บริเวณทางขึ้นของโบสถ์เนื่องจากผมได้เคยไปฟังการสัมมนาครั้งหนึ่งแล้วท่านอาจารย์ จุลทัศน์ พยาฆรานนท์ ได้กล่าวถึงแนวคิดของมกรคายนาคบริเวณบันไดวัดไว้น่าสนใจ ว่ามกรเป็นสัญลักษณ์ของอวิชชาคือความไม่รู้ซึ่งเป็นสิ่งห่อหุ้มขันธ์ 5 คือนาค ในบางที่ก็จะทำเป็น นาค5เศียรเพื่อแสดงแนวคิดนี้ โดยนัยยะของการสร้างก็เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้กับผู้ที่มาวัดเข้าโบสถ์ว่าเรามาเพื่อกำจัดอวิชชาที่ห่อหุ้มขันธ์5ของเราอยู่ นั่นเอง
บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 12 ก.ค. 10, 17:25

ผมเอารูปบันไดนาคแบบไม่มีมกรมาฝากครับ




บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 12 ก.ค. 10, 17:29

อีกรูปเป็นกิเลนคายนาค ครับ




บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 14 ก.ค. 10, 14:30

คำว่า มังกร มีที่มาจาก มกร ครับ จีนเรียก หลง (จีนกลาง) หรือ เล้ง (แต้จิ๋ว) ไทยเรียกว่ามังกร นัยว่าคงเห็นว่ามีอะไรหลายๆอย่างที่คล้ายมกรอยู่

ผมสงสัยเรื่องที่มาของมกรคายนาค แนวคิดที่ว่านาคคือคนเถื่อนคนเปลือยแห่งอุษาคเนย์นั้นมันมีอะไรบางอย่างที่ไม่สมเหตุสมผลอยู่ เพราะมีร่องรอยของนาคปรากฏอยู่ในอินเดียและศรีลังกา อายุเก่าแก่กว่าที่พบในอุษาคเนย์มากนัก

ศรีลังกามีตำนานเรื่องคนพื้นเมืองที่เรียกว่านาค (naga) ซึ่งมีตำนานเชื่อกันว่าเป็นงูที่สามารถกลายร่างเป็นคนได้ ลองค้นรูปในเน็ตจะพบว่ามกรคายนาคนั้น พบได้ในอินเดียและศรีลังกาด้วย แต่น่าสนใจว่านาคที่มกรคายออกมานั้นอยู่ในรูปมนุษย์ครับ เรื่องนี้น่าจะมีตำนานอะไรสักอย่างรองรับอยู่ แต่ผมยังหาไม่เจอครับว่าเรื่องราวเป็นอย่างไร

มกรคายนาคที่มีรูปเป็นงูนั้น ดูเหมือนว่าจะเป็นประดิษฐกรรมในอุษาคเนย์นี่เอง เป็นการกลายของความเชื่อที่น่าสนใจทีเดียว
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.052 วินาที กับ 19 คำสั่ง