เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 150 เมื่อ 06 ก.ค. 10, 21:05
|
|
นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ที่อ่านอยู่หลายเรื่องคือ Ray Bradbury จำได้แต่ The Wonderful Icecream Suit เป็นเรื่องที่เคยเรียนในชั้น ส่วนอาซิมอฟและอาเธอร์ ซี. คล้าคนั้น อ่านเหมือนกันแต่เข้าไม่ถึง อ่านมิติที่ ๔ เป็นแฟนบทความของอ.ดนต์ รัตนทัศนีย์ค่ะ แต่พอหนังสือเปลี่ยนชื่อ เป็นแนววิทยาศาสตร์ก็เลยเลิกอ่านไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 151 เมื่อ 06 ก.ค. 10, 21:38
|
|
จำได้ว่าคุณดนต์แปลบทความดาราศาสตร์เนื้อหาค่อนข้างจะหนักพอควร นักเรียนสายศิลป์อย่างอาจารย์อ่านสนุกได้ ถือว่าไม่ธรรมดาครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 152 เมื่อ 06 ก.ค. 10, 21:55
|
|
คุณดนต์แปลภาษาดีมากนะคะ อ่านเข้าใจ แม้ว่าเนื้อหาเป็นดาราศาสตร์ หรืออะไรที่พวกสายศิลป์ไม่ได้เรียนก็ตาม ดิฉันชอบมิติที่ ๔ ขนาดเก็บเรียงไว้บนชั้นหนังสือทั้งหมด รวมทั้ง "โนว่า" ในยุคต้นๆด้วย แต่พอเนื้อหาชักวิทยาศาสตร์มากขึ้น ก็เลยจำใจต้องถอย หลีกทางให้สายวิทย์เขาอ่านกันฝ่ายเดียว
เลยไม่ได้่อ่านทางด้านนี้อีกจนบัดนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 153 เมื่อ 07 ก.ค. 10, 10:22
|
|
จากนิยายวิทยาศาสตร์ ขอกลับขั้วเป็นตรงข้าม คือเรื่องผี จำไม่ได้ว่าเรื่องผีเรื่องแรกที่อ่านคือของใคร แต่จำได้ว่าอ่านนิยายผีทีไร กลางคืนต้องเอาหนังสือไปวางไว้นอกห้องนอน จะได้หลับอย่างอุ่นใจขึ้นมาบ้าง เรื่องที่ประดับอยู่ในห้องนั่งเล่นเป็นประจำตอนกลางคืน คือ แดรคคิวล่าจอมผีดิบ แปลโดย อ.สายสุวรรณ ต่อมาคือเรื่องผีของเหม เวชกร คุณเหมไม่ได้มีฝีมือเฉพาะวาดรูปขุนช้างขุนแผน แต่เขียนเรื่องผีก็ระทึกใจ อีกคนต่อมาคือใบหนาด หรือ คุณณรงค์ จันทร์เรือง
พออยู่มหาวิทยาลัย ความกลัวผีน้อยลงบ้าง ก็ไปติดนิยายของตรี อภิรุม อ่านเรื่องเทวดาผีสางในมิติต่างๆด้วยความเพลิดเพลิน
อีกคนที่เป็นนักเขียนคนโปรด คือจินตวีร์ วิวัธน์ ก่อนหน้านี้เคยอ่านฝีมือกลอนของจินตนา ปิ่นเฉลียว เธอเขียนกลอนคม และสะท้อนสังคมอย่างแข็งแกร่ง ไม่ได้หวานหยดอย่างนักกลอนหญิงชาวเทวาลัย พอเธอพลิกมาเขียนเรื่องลึกลับตื่นเต้น อย่าง "อมฤตาลัย" ดิฉันก็เลยติดหนังสือเธอ ไม่ว่าจะเป็นสาปนรสิงห์ กึ่งหล้าบาดาล ขุมทรัพย์โสมประภา มาแต่หิมพานต์ อาศรมสาง บ้านศิลาทราย ภูตพระจันทร์ ตามอ่านมาเรื่อยจนเธอล่วงลับไปก่อนวัยอันควร เสียดายเป็นล้นพ้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
watanachai4042
อสุรผัด

ตอบ: 42
|
ความคิดเห็นที่ 154 เมื่อ 07 ก.ค. 10, 14:21
|
|
ได้เจอเรื่องชอบแล้วคือเรื่องผี อ่านของเหม เวชกร "ผู้ไม่มีร่างกาย" "ผู้อยู่ในอากาศ" ฯ ฉากในเรื่องเป็นฉากชนบทเหมือนฉากเดียวกับเรื่องแผลเก่า แสนแสบ ฯ ของ ไม้ เมืองเดิม แต่เปลี่ยนเป็นตอนกลางคืนที่มีผีเต็มทุ่งนา เหม เวชกรวาดรูปผีทั้งหญิงและชายได้น่ากลัวที่สุด ดูจางๆอยู่ในรูปแต่ก็รู้ว่าหน้าตาขาแขนไม่ใช่คน อ่าน"แจ๋วเจอผี" ของ สง่า อารัมภีร์ เหมือนลงพิมพ์ในนิตยสาร ฟ้าเมืองไทย ตรี อภิรุมชอบเรื่อง "นาคี" จินตวีร์ วิวัธน์อ่านแทบทุกเรื่องของท่าน เรื่องอมฤตาลัยนี่ตอนเป็นละครเวอร์ชั่นแรกสุด เพลงเพราะมาก จำได้แว่วๆว่า "อมฤตาลัย เตรียมไว้เขาเป็นราชา บัลลังก์รักรอรักนานมา ปรารถนาขอเป็นจอมใจ ... เรือนแก้วบัลลังก์ทอง รอสองรักร่วมชีวี มาเถิดสู่แดนสุขาวดี ที่มีอมฤตาลัย..." แดรกคิวล่าจอมผีดิบมาอ่านเมื่อเรียนที่ทับแก้ว อาจารย์เทาชมพูสั่งให้ไปสัมภาษณ์ผู้แปลและทำรายงานโดยเปรียบเทียบกับแก้วขนเหล็ก (ของตรี อภิรุม)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 155 เมื่อ 07 ก.ค. 10, 14:36
|
|
บรรทัดสุดท้าย เอามาขายกันหรือเปล่า อาจารย์ป้อม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
watanachai4042
อสุรผัด

ตอบ: 42
|
ความคิดเห็นที่ 156 เมื่อ 07 ก.ค. 10, 16:04
|
|
ไม่ขายฮะอาจารย์ ใครซื้อก็ไม่ขาย  นึกได้อีกเรื่อง คือ กระสือสาว เป็นนิยายภาพเรื่องยาวลงพิมพ์ในหนังสือการ์ตูนหนูจ๋า จุ๋มจิ๋มเป็นคนวาด ตอนนั้นยังเด็กนึกว่าผีกระสือมีจริงอุตส่าห์ให้ยายพาไปดูส้วมหลุมในสวนลึกกลางกรุงเทพ เผื่อจะได้เจอ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 157 เมื่อ 07 ก.ค. 10, 16:16
|
|
ไม่ขายครูก็ดีแล้ว (ไม่ได้หมายถึงขายรายงานนะจ๊ะ) ขออวยพรให้สมปรารถนา ได้เจอกระสือเป็นๆ ในวันหน้า ระหว่างนี้ ดูคลิปเซิฟๆ ไปก่อนนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 158 เมื่อ 07 ก.ค. 10, 17:52
|
|
ครูเหมวาดรูปประกอบไว้มากมาย ทันได้ชมงานหลังๆ ของท่านที่วาดประกอบเรื่อง กากี ซึ่ง อ.เปลื้อง ณ นคร แต่งต่อจากของเดิมที่นางถูกจับลอยแพ ลงนิตยสาร วิทยาสาร ของ สนพ.ไทยวัฒนาฯ ซึ่งได้รวมงานของทั้งสองท่านออกมาเป็นหนังสือภาพวิจิตรวรรณคดีหลายเล่ม เช่น ประวัติสุนทรภู่ พระลอ นางงามในวรรณคดี ราชาธิราช กากี
งานสุดท้ายของครูเหมคือเรื่องจากย่ามความทรงจำ เล่าชีวิตนักประพันธ์ที่ท่านรู้จักดี ประเดิมด้วยเรื่อง ของไม้ เมืองเดิม ลงนิตยสาร ฟ้าเมืองไทย เขียนและวาดภาพประกอบไว้ไม่กี่ฉบับก็ถึงแก่กรรม
เรื่องผี เป็นงานเขียนที่ประสบความสำเร็จด้วยดี
จากหนังสือสารคดี ฉบับ เหม เวชกร
ผลงานที่สร้างชื่อเสียงอีกด้านหนึ่งให้แก่เหม ก็คืองานเขียนชุด "ผีไทย" ที่เขาเขียนเองทั้งเรื่อง และภาพ เหมเริ่มจับเขียนเรื่องผี มาตั้งแต่สมัยอยู่เพลินจิตต์ เรื่องแรกของเขาคือ เรื่องผี ซึ่งใช้ฉากสมัยที่เหม ยังทำงานกรมทดน้ำ ที่ท่าหลวง สระบุรี เหมเขียนเรื่องผีสืบต่อมาจนถึงช่วง พ.ศ. ๒๕๑๐ ถ้าคิดเป็นจำนวนก็น่าจะมีร่วมร้อยเรื่อง เฉพาะที่เคยเห็น พิมพ์รวมเป็นเล่มใหญ่ๆ ก็มี เช่น ผู้ที่ไม่มีร่างกาย, ปีศาจของไทย, ใครอยู่ในอากาศ, วิญญาณเร่ร่อน...
จักรพันธ์ โปษยกฤต ก็เคยเป็นแฟนของเรื่องชุดนี้ "...ภาพประกอบเรื่อง 'ผี' ซึ่งเป็นเรื่องที่ครูเหมเป็นทั้งผู้แต่ง และผู้เขียนขึ้นเองนั้น ให้ความรู้สึก น่ากลัวมาก แค่เพียงอ่านเรื่องก็กลัวอยู่แล้ว ยิ่งเห็นรูปยิ่งน่ากลัวใหญ่ บางครั้งยังไม่กล้าดู เพราะตอนนั้นเป็นเด็กอยู่ พอเปิดเจอก็รีบพลิกผ่านๆ ไป..." แต่เมื่อผลงานเรื่องผีของเหม กำลังเป็นที่ฮือฮานั้น ภาพวาดของเขากลับแปลกเปลี่ยน ลูกศิษย์ส่วนใหญ่ ของครูเหมที่ผมมีโอกาสพูดคุยด้วย ยอมรับว่าครูเริ่ม "มือตก" รูปคนของเหม มักยืดยาวขึ้นจนผิดส่วน นี่คงเป็นผลมาจากการที่เหมยังต้องทำงานหนัก ในขณะที่สังขารเสื่อมถอยลงทุกขณะ เพราะนอกจากอายุ ที่ล่วงเลยวัยกลางคนมาแล้ว ครูเหมยังมีอาการทั้งโรคหัวใจ และโรคปอด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CVT
|
ความคิดเห็นที่ 159 เมื่อ 12 ก.ค. 10, 07:57
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 160 เมื่อ 12 ก.ค. 10, 11:50
|
|
คุณพ่อคุณม้าคงเป็นแฟนพันธุ์แท้ของ "ยาขอบ" สุกัญญา เป็นนามปากกาของคุณเลียว ศรีเสวก (อ่านว่าเส-วก) หรือ อรวรรณ จำได้แค่ "ค่าแห่งความรัก"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CVT
|
ความคิดเห็นที่ 161 เมื่อ 12 ก.ค. 10, 15:34
|
|
คุณพ่อคุณม้าคงเป็นแฟนพันธุ์แท้ของ "ยาขอบ" สุกัญญา เป็นนามปากกาของคุณเลียว ศรีเสวก (อ่านว่าเส-วก) หรือ อรวรรณ จำได้แค่ "ค่าแห่งความรัก"
อาจารย์ครับ ผมไม่ใช่ คุณม้า นะครับ  หนังสือในตู้เป็นสมบัติของย่า ที่เป็นนักอ่านตัวยงครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 162 เมื่อ 12 ก.ค. 10, 15:42
|
|
 ขออภัยค่ะ วันนี้ตาลายมา ๒ รอบ เมื่อเช้าอ่านชื่อคุณสมัน ๐๐๗ เป็นคุณนวรัตน ต้องรีบกลับไปแก้ไข บ่ายอ่านชื่อคุณ CVT เป็น CrazyHOrse นี่คือโทษขั้นแรกของการปั่นกระทู้พระยาทรงฯ จนไม่ลืมหูลืมตา ต้องพักบ้างแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 163 เมื่อ 12 ก.ค. 10, 16:36
|
|
ตู้หนังสือคุณพ่อคุณหมอต่างจากตู้หนังสือคุณพ่อผมมากครับ ตู้หนังสือคุณพ่อผมมีแต่หนังสือจีนเป็นส่วนใหญ่
คุณแม่เป็นแฟนยาขอบ แต่ไม่ได้สะสมหนังสือครับ
พูดถึงคุณแม่ นึกได้ว่าคุณแม่จะพูดถึงหนังสือที่แม่ชอบอ่านตอนเด็กๆคือ เมาคลีลูกหมาป่า ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
srisiam
|
ความคิดเห็นที่ 164 เมื่อ 12 ก.ค. 10, 21:56
|
|
แต่ที่ยังติดใจ....และตามหาอยู่คือ..เจ้าชายผมทอง(การ์ตูน).... ...นิทานพื้นบ้านไทย(การ์ตูน) เรื่องสี่สหายผจญภัย(ถ้าจำไม่ผิด) หูกาง/มือปาล์ม/ขี้มูกมาก/ตูดแหลม  ; ขออนุญาตย้อนกลับไปหาเจ้าชายผมทองอีกครั้ง....... ได้ภาพนี้จาก-ศิลปวัฒนธรรม- ก.พ. 2550 จุก เบี้ยวสกุล(เจ้าชายแห่งนิยายภาพไทย) เป็นผู้วาด โดยเอาเค้าหน้าของเอลวิส ราชาร็อคเป็นต้นแบบ เมื่อปี 2501 ขณะผู้วาดอายุเพียง 16 ขวบ และผู้อ่าน(ศรี)อายุ 8 ขวบ ติดงอมแงม
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|