เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 12
  พิมพ์  
อ่าน: 78289 นิยายเก่าเล่าใหม่
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 02 ก.ค. 10, 14:28


     มี "สงครามชีวิต" อีกเล่ม  ห่อปกด้วยกระดาษแก้วขุ่นๆ    พี่สาวได้รับรางวัลขยันเรียนมาจากคุณครู

ท่านคงไม่ทราบหรอกว่า ด.ญ. วันดี ได้แอบหยิบหนังสือเล่มนี้อ่านไปกี่เที่ยว


พอย้ายบ้านแล้ว ผู้ปกครองซื้อ วรรณคดีให้ ๓ เล่มหนา  ก็นั่งอ่านไปเรื่อยๆ   กองหนังสือไว้รวมกัน  อ่านสลับกันด้วยความชำนาญ


ผู้ชนะสิบทิศ ซื้อตอนเล่มละ ๕ บาทค่ะ      ชุดขุนศึกไม่มี  แก่แล้วจึงแน่ใจว่า ขุนศึกตรงกับกฎหมายตราสามดวงและ พิชัยสงคราม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 02 ก.ค. 10, 14:41

ไม่รู้จักคุณสมัคร เสาวรส   ถ้าเผื่อมีรายละเอียดเพิ่มก็ยินดีค่ะ    
เป็นคนแปลหนังสือสำนวนลื่น และเนียน  เสียจนดิฉันนึกว่าเขาแต่งเรื่อง ผู้ร้ายผู้ดี   ขึ้นมาจากหนังฝรั่งที่ได้ดูเสียอีก  

ผู้ร้ายผู้ดี แปลจาก The Ringer ของ Edgar  Wallace     คุณมาคสิระ บอกไว้ท้ายเรื่องว่าแปลจากของเอดการ์ วอลเลซ  แต่ไม่ได้บอกชื่อหนังสือ  
เคราะห์ดีว่าในโลกไซเบอร์ หาอะไรง่ายกว่าในห้องสมุด     ก็เลยหาเจอ ว่าเป็นผลงานเด่นที่สุดของนักเขียนเรื่องลึกลับสืบสวนคนนี้
เรื่องก็แบบอาแซน ลูแปงแต่สนุกกว่า   พระเอกเป็นผู้ปราบอธรรม   ถูกตามล่าทั้งจากตำรวจและเหล่าร้าย  แต่เก่งเรื่องปลอมตัว เลยรอดได้ทุกครั้ง   นางเอกสวยเหมือนดาราหนังเสียด้วย

จำพระนิพนธ์ของพระนางลักษมีไม่ได้เลย   ที่บ้านไม่มี  แม่เคยเล่าว่าท่านเขียนหนังสือเก่ง
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 02 ก.ค. 10, 14:55


     ต้องจำไว้ถามสหายที่อ่านและเก็บหนังสือรุ่นนี้ค่ะ

     เรายังขาดการบันทึกอีกมาก    คนที่พยายามทำงานก็ยังมีภาระที่ต้อง ซื้อหนังสือและขายหนังสือ

     ขนาดเรื่องครูแจ้ง  และ นายมี  เรายังมีข้อมูลกันนิดเดียว

     ไปเจออะไรที่ไหนก็ต้องเก็บมาฝากกัน    ไม่มีการหวงแหนข้อมูลค่ะ ถ้าไม่ใช่แนวที่ต่างคนต่างทำ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 02 ก.ค. 10, 15:10

             สงครามชีวิต ตอนเด็กยืมห้องสมุดมาแล้วอ่านไม่จบ ครับ
          จนโตแล้วถึงได้อ่านรวดจนจบอย่างเจ็บปนอึ้งกับการตัดสินใจเลือกทางเดินของนางเอก(เพลิน)
         ประทับใจกับประโยครำพันความเจ็บปวดของพระเอก (ระพินทร์) ที่เปรียบดังนกต้องธนู มากกว่า
ประโยคข้างหลังภาพของคุณหญิงกีรติ

           ประโยคเหล่านี้ คุณชาลีนำไปแต่งเป็นเพลง อาลัยรัก 

จากกระทู้เก่า   http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2667.10;wap2

           คุณชาลีเป็นนักแสดง นักร้องเพลงสลับฉากละครเวที จนวันหนึ่ง รพีพร ยื่นหนังสือสงครามชีวิต
มาให้อ่าน ต่อมาคุณชาลีมีโอกาสแต่งเพลงแทนนักแต่งเพลงที่เสียชีวิต คุณชาลีจึงแต่งเพลงนี้
(ร้องโดยคุณชรินทร์) แล้วประสบความสำเร็จได้แผ่นเสียงทองคำพระราชทาน และกลายเป็นนักแต่งเพลงชั้นครูสืบมา

             ส่วนคุณชรินทร์เล่าว่า ขับรถผ่านบ้านสุภาพบุรุษท่านหนึ่งแล้วท่านเรียกเข้าไปคุยในบ้าน
โดยที่ไม่ทราบว่าท่านเป็นใคร ก่อนจากยังได้รับห่อของขวัญที่เมื่อกลับบ้านเปิดดูเป็นหนังสือ สงครามชีวิต
พร้อมกับข้อความเขียนว่า ให้คุณชรินทร์ไว้ด้วยความรัก - ศรีบูรพา
             คุณชรินทร์รีบขับรถกลับไปกราบท่าน

                      "ถ้าฉันเป็นนก ฉันจะบินติดตามเธอไปทุกหนทุกแห่ง
               แม้ว่าระหว่างทางจะต้องศรเสียบทรวงอก
               ฉันก็จะอุตส่าห์พยุงกาย บินไปตกที่หน้าตักของเธอ
               เพื่อที่จะให้ยอดรักได้เช็ดเลือดและซับน้ำตาสักหยดหนึ่ง
               ฉันก็จะหลับตาตายอย่างเป็นสุข
               แต่นี่ฉันบินไม่ได้อย่างนก ขอแม่ยอดหญิงอย่าทอดทิ้งฉันไปเลย"

ส่วนตัวแล้วงานของศรีบูรพา ชอบ แลไปข้างหน้า ที่สุด ครับ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 02 ก.ค. 10, 15:13

อีกหนึ่งนก ครับ

           ย้อนคิดดูแล้ว นิยาย(ขนาดสั้น)เรื่องแรกของเด็กนักเรียนใน "ยุคนั้น" น่าะเป็นเรื่องเดียวกัน
คือ นกกางเขน ครับ

             เช้าวันหนึ่ง นกกางเขนตัวผู้ตัวหนึ่ง เกาะอยู่บนกิ่งมะม่วงในสวน

             แบบเรียนสำหรับชั้นประถมสอง ที่มีเนื้อเรื่องกินใจ
             พิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๔๘๓  โดยกระทรวงธรรมการในสมัยนั้น ผู้เขียนคือ กี่ กีรติ วิทโยฬาร
(บางที่สะกดว่า วิทย์โอฬาร วิทโยลาร วิทโยสาร ก็มี)


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 02 ก.ค. 10, 15:41

จำพวกนวนิยายก็มีที่ลงพิมพ์ในนิตยสาร   เช่น มีนัดไว้กับหัวใจ  ลงพิมพ์ในฟ้าเมืองไทย  ไม่รู้เรื่องหรอกแต่ก็อ่านไป  เพราะชื่อเรื่องดูวาบหวิว

อ่าน "ฟ้าเมืองไทย" ของคุณอาจินต์ เป็นประจำ ที่ชอบก็เรื่อง "ไกด์บางกอก" ของ ต๊ะ ท่้าอิฐ

เคยเขียนกลอนไปประกวด คำบรรยายภาพ "ช้าง"

กำเนิดช้างแต่ดั้งเดิมเริ่มที่ป่า
ถูกจับมาฝึกหัดดัดนิสัย
จนเก่งกล้าสามารถอาจเกรียงไกร
สัีนดานไพรยังมีเหลือเมื่อ "ตกมัน"

เขียนไว้ประมาณมัธยมปลาย

 ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 02 ก.ค. 10, 15:42

ที่บ้าน ไม่มีหนังสือของยาขอบ และไม้ เมืองเดิม    ก็เลยไม่ได้อ่านตอนเด็ก   ต้องขวนขวายหามาอ่านเองเมื่อโตขึ้น     แต่คงโตเกินวัยประทับใจกับหนังสือแล้ว ก็เฉยๆมาจนบัดนี้
ผลงานของยาขอบ เรื่องที่ชอบมีเรื่องเดียวคือ สามก๊กฉบับวณิพก  
นักเขียนชายที่ชอบมีคนเดียวคือม.จ.อากาศดำเกิง ในเรื่อง ละครแห่งชีวิต   อ่านชีวิตตอนเด็กของวิสูตร ศุภลักษณ์  เป็นเด็กผู้ชายตัวเล็กๆที่ขมขื่นเกินวัย     มองเห็นความยากไร้ทางใจของเขา  เป็นสีดำขาวตัดกันตรงกันข้ามในความโอ่อ่ามั่งมี ของบ้านเจ้าคุณพ่อ
ขอออกนอกซอยตามเคย ว่า ความประทับใจข้อนี้ นำมาเป็นภูมิหลังชีวิตของ ตาแหยม  ม.ร.ว. ทินภาค  ใน "คุณชาย"  

คุณโทนี่ ฮุยบอกว่าจะหาภาพหนังสือมาประกอบ  กระทู้วิ่งเร็วมาก ป่านนี้คงค้นหนังสือจนเหนื่อย

เรื่องแปลในดวงใจเมื่อวัยเยาว์  ไม่มีเรื่องไหนเทียบ "บ้านเล็กในป่าใหญ่" ได้   อ่านครั้งแรกลงเป็นตอนๆในศรีสัปดาห์   แม่ซื้อให้ครบชุด ๘ เล่ม อ่านจนขาด   ต่อมาไปหาซื้อเองเป็นชุดที่สอง  ฝีมือแปลของคุณสุคนธรส
ไปได้ Little Houses  อังกฤษครบชุดมาจากเอเชียบุ๊ค ที่สยามดิสคัฟเวอรี่     ต่อมาไปอเมริกา  หาหนังสือที่เขียนถึงยุคพ่อแม่ของลอรามาได้อีก แต่อ่านแล้วไม่สนุกเท่าที่ลอร่าเขียนเอง ก็เลยทิ้งไว้ไม่ได้แตะต้องอีก


บันทึกการเข้า
watanachai4042
อสุรผัด
*
ตอบ: 42


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 02 ก.ค. 10, 15:49

คุณsila  เรื่องนกกางเขนนี้เศร้า  เมื่อประถมสองอ่านแล้วน้ำตาไหล  แต่พอโตมาก็สังเกตว่านกกางเขนไม่ทำรังบนต้นไม้เหมือนในเรื่องนี้  แต่ชอบทำรังตามซอกมุมของอาคารสิ่งก่อสร้าง

นึกออกอีกเรื่องหนึ่ง  คือเพชรพระอุมาสมัยพิมพ์เป็นพอคเกตบุ๊คบางๆ  พี่ชายเป็นนักเลงซื้อมาอ่าน  ภาพวาดหน้าปกเป็นรพินทร์บ้าง  ดารินบ้าง  มาเรียบ้างใสชุดเดินป่ารัดรูปปลดกระดุมบนสองสามเม็ด  กำลังเล็งปืนเข้าใส่สัตว์ร้าย  ตอนนั้นอ่านเพราะนึกว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตสัตว์ป่า  
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 02 ก.ค. 10, 15:52


คุณโทนี่ ฮุย    คงขี่จักรยานลุยน้ำไปโกดังกระมังคะ  อยู่แถวราบ ๑๑        

ไม่ไว้ใจใคร  ไม่ให้ไปโกดังค่ะ        ไม่อยากขายหนังสือ   ประหลาดจริงๆ

ใครๆฝากชมเขากันระนาวเลยค่ะ       เขามีหนังสือโชว์เยอะ  แต่ไม่ขายเก็บไว้อ่านก่อน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 02 ก.ค. 10, 15:59

"ปีศาจ" ของ เสนีย์ เสาวพงศ์ ก็สนุก

เคยอ่านพบว่า ร้านหนังสือบางแห่งจัดเอาไว้ในหมวดหมู่นิยายผี  ยิงฟันยิ้ม



ไฮไลท์ของเรื่อง คงอยู่ที่วาทะของ "ปีศาจ" สาย สีมา ลูกชาวนาที่มาเรียนกรุงเทพ ตอบโต้การดูแคลนของท่านเจ้าคุณ บิดาของสาวคนรัก

"ความคิดผิดแผกแตกต่างกันในสมัยและเวลา ทำให้คนเรามีความคิดผิดแผกแตกต่างกันด้วย ผมเป็นปีศาจที่กาลเวลาได้สร้างขึ้นมาหลอกหลอนคนที่อยู่ในโลกเก่า ความคิดเก่า ทำให้เกิดความละเมอหวาดกลัว และไม่มีอะไรที่จะเป็นเครื่องปลอบใจท่านเหล่านี้ได้  เท่ากับไม่มีอะไรหยุดยั้งความรุดหน้าของกาลเวลา ที่จะสร้างปีศาจเหล่านี้ให้มากขึ้นทุกที ท่านคิดจะทำลายปีศาจตัวนี้ในคืนวันนี้ต่อหน้าสมาคมชั้นสูงเช่นนี้ แต่ไม่มีทางจะเป็นไปได้.... เพราะเขาอยู่ในเกราะกำบังแห่งกาลเวลา ท่านอาจจะเหนี่ยวรั้งอะไรไว้ได้บางสิ่งบางอย่างเพียงชั่วครั้งชั่วคราว แต่ท่านไม่สามารถจะรักษาทุกสิ่งทุกอย่างไว้ได้ตลอดไป... "

บทพูดของ สาย สีมา ยาวพอ ๆ กับบทพูดของคุณหญิงกีรติ แห่ง "ข้างหลังภาพ"

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 02 ก.ค. 10, 16:26

ขอชมความอดทนของเจ้าคุณพ่อของรัชนีและแขกร่วมโต๊ะ ที่ฟังอยู่ได้จนจบปาฐกถาของสาย สีมา ยิ้ม
"ปีศาจ" วางอยู่เป็นประจำในหอสมุดกลาง    เข้าไปในห้องทีไรเป็นต้องเห็น เหลืออยู่เล่มเดียวบนชั้นหนังสือ  เล่มอื่นๆถูกยืมไปหมด   
ดิฉันไม่เคยขอยืมออกมาอ่าน  เห็นชื่อก็นึกว่าเรื่องผีเหมือนกัน

นักเขียนสตรี ที่คุณไพลิน รุ้งรัตน์ นายกสมาคมนักเขียนฯคนปัจจุบันกับดิฉันชอบตรงกัน คือ ศุภร หรือศุภร บุนนาค    บางคนในเรือนไทยอาจเคยได้ยินชื่อจาก ฟ้าใหม่ นิยายอิงประวัติศาสตร์สมัยปลายอยุธยา    เป็นนิยายที่รักษารายละเอียดทางวัฒนธรรมได้ถี่ถ้วนที่สุดเท่าที่เคยอ่านมา
คุณศุภรมีลูกสาวคนเดียว  เป็นนิสิตอักษรฯ รุ่นพี่     ชื่อสุริยา บุนนาค  ปัจจุบันเธอคือศาสตราจารย์คุณหญิงสุริยา รัตนกุล
แปลนิยายเชิงประวัติศาสตร์ยุโรปลงในสกุลไทยอยู่เวลานี้
นวนิยายของคุณศุภร ที่อ่านตอนอยู่มัธยม คือ รสลิน    เป็นเรื่องดังมากเมื่อลงในสตรีสาร   ส่วนหนึ่งมาจากวัยเด็กของเธอเอง   เขียนถึงชีวิตหนุ่มสาวสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ให้รายละเอียดภัยสงครามไว้จนเห็นภาพ เสียง การเคลื่อนไหว
เรื่องที่ไพลินชอบคือเรื่องสั้นของคุณศุภร  เธอเขียนเรื่องสั้นสะท้อนสังคมได้แหลมคมมาก    ไม่ว่าในชุด รอบตะเกียงลาน  ลมเย็น คนซื้อฝัน และ ที่รัก   
เรื่อง "เรื่องนี้พระเอกชื่ออ้ายเล็ก"  "คนซื้อฝัน"  " มิใช่ของตามตลาด"  เป็นเรื่องสั้นชั้นเยี่ยม มีลีลาเฉพาะตัว   ไม่เห็นนักเขียนรุ่นหลังเดินตามรอยนี้ได้สักคนเดียว
 อ่านมาจนทุกวันนี้ด้วยความทึ่ง  เป็นเรื่องสั้นที่มีลมหายใจมาจนวันนี้ แม้ว่าผู้เขียนล่วงลับไปนานแล้ว

ส่วนเรื่องยาว เว้นแต่ รสลิน   เป็นสิ่งน่าประหลาดมาก ที่คุณศุภรเขียนนิยายรักโรแมนติคได้ไม่เนียนอย่างเรื่องสั้น     พระเอกนางเอก เป็นกระดาษแข็ง  มี ๒ มิติ เท่านั้น    ไม่ว่าเรื่องไหน ไม่เคยเห็นพระเอกนางเอกมีชีวิตจริงได้สักเรื่องเดียว
ยังเสียดาย อยากให้เธอเขียนเรื่องสั้นมากกว่านี้ค่ะ   
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 02 ก.ค. 10, 16:29


นึกอยากกินหมี่กรอบไข่นอกค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 02 ก.ค. 10, 16:42

ตอนที่คุณพ่อของรสลินนัดเพื่อนมาเล่นวงมโหรีที่บ้านละซี
เคยกินทั้งหมี่กรอบ และผัดหมี่   แต่ไม่เคยกินที่ใส่ไข่ดิบๆตอกลงไปในกระทะ แล้วกลบด้วยหมี่ร้อนแลเป็นมันเยิ้ม   หอมกลิ่นส้มซ่าด้วย
เลยอยากถามคุณวันดีว่ามันคือหมี่กรอบ หรือผัดหมี่กันแน่ คะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 02 ก.ค. 10, 17:48


ส้มซ่าก็ผัดหมี่กรอบซิคะ

บ้านพระเอกก็แกงบะช่อตำลึง

คุณยายก็วางกระทงหมูหวานตำราตำหนักอะไรสักแห่งตอบแทน


เรื่องอาหารการกิน   ลืมยากค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 02 ก.ค. 10, 18:22

ฉากหนูน้อยรสรินกินข้าวเย็นกับคุณยาย บนบ้านเรือนไทยเป็นฉากคลาสสิคของกับข้าวไทยโบราณจริงๆ เห็นด้วยค่ะ    ไม่ควรอ่านก่อนกินข้าว จะทำให้เจริญอาหารมากเกินไป
อาหารครบชุดแบบชาววัง    แกงน้ำข้น อย่างแกงเผ็ด  แกงคั่วหรือมัสมั่น ๑ อย่าง   แกงจืดน้ำใสอย่างแกงจืดลูกรอก    ต่อไปเป็นเครื่องจิ้มและผัก อย่างน้ำพริก    วันนั้นเมนูมีไตปลาปรุง     อย่างที่สี่เป็นยำไข่ปลาดุก   แล้วก็ของหวานพวกลอยแก้ว
มื้อเย็นสมัยโน้นเขากินกันเป็นมื้อใหญ่    เดี๋ยวนี้มื้อเย็นเรากินกันน้อยมาก  บางคนไม่กินเลย กลัวอ้วน

พูดถึงอาหารไทยของคุณศุภร  ดิฉันเคยเอาแกงคั่วปลากดใส่หน่อไม้ดอง  ไปเลี้ยงคุณไพลิน รุ้งรัตน์ที่สมาคมนักเขียน     เธอบอกว่ารู้จักแกงหน่อไม้ดองจากเรื่องสั้นของคุณศุภร เรื่อง "เรื่องนี้พระเอกชื่ออ้ายเล็ก"   ตอนไอ้เล็กหนุ่มวัยรุ่นลูกเศรษฐีไปขอข้าวเย็นก้นกุฏิหลวงพ่อกิน  เขาก็เลยรู้จักแกงหน่อไม้เปรี้ยวเป็นครั้งแรกในชีวิต
คุณไพลินเธอชอบเผ็ด ก็เลยอร่อยกับแกงชามนั้นมาก   ส่วนคนให้ กินไม่ได้  ได้แต่นั่งดู
คุณวันดีอยากรับประทานเมื่อไร บอกนะคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 12
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.225 วินาที กับ 20 คำสั่ง