ชอบบทความของอ.ชูศักดิ์ เห็นด้วยค่ะ
นพพรใน"ข้างหลังภาพ" ทำให้นึกถึงพระราชนิพนธ์แปล โรมิโอและจูเลียต ในรัชกาลที่ ๖
รักของชายหนุ่มเขาว่า อยู่เพียงที่ดวงตา มิใช่แน่ว ณ ดวงใจจำได้อีกอย่างเมื่ออ่าน"ข้างหลังภาพ" ครั้งแรกว่า ถ้อยคำที่พูดกันระหว่าง ม.ร.ว. กีรติ และนพพร ดิฉันไม่รู้สึกว่าพูดกันอยู่ ๒ คน แต่พูดกัน ๓ คน
คนที่สามคือ ศรีบูรพา พูดแทนคุณหญิงกีรติอยู่มากทีเดียว
เป็นคำตอบที่ว่าอ่านแล้ว จึงได้ความรู้สึกขัดแย้ง สงสารเวทนาชะตากรรมซ้ำซ้อนของคุณหญิง
ตอกย้ำภาพผู้หญิงในยุคที่ไม่มีทางเลือกนัก มากกว่าจะพลอยเศร้าระทมไปกับตัวเธอ ที่ยังฝังใจอยู่ได้ฝ่ายเดียว
ทั้งที่เขาไม่เหลียวมอง
ความเห็นของคุณ SILA ทำให้พอจะนึกออกรางๆว่าทำไมอ่านเรื่องนี้ครั้งแรกแล้ว ไม่ได้ติดใจจนอ่านซ้ำ คงเป็นเพราะไม่ชอบผู้หญิงที่มีทัศนะความรักแบบนี้
ถ้าดิฉันเป็นม.ร.ว. กีรติ จะไม่เสียเวลารอนพพร ให้ชีวิตอับเฉาโดยใช่เหตุ ชีวิตไม่ได้หยุดนิ่งอยู่ที่วันวาน
ที่สำคัญคือถ้านพพรเห็นค่าของความรัก ก็ยังคุ้มกับที่คุณหญิงกีรติอุตส่าห์รอคอย แต่นี่เขาก็ไม่ได้เห็น เธอก็น่าจะรู้เสียนานแล้ว
บุญที่ไม่เคยมีความคิดแก้ตอนจบของนวนิยายอมตะเรื่องนี้ ไม่งั้น คงไม่ได้มีแต่คุณเพ็ญชมพูคนเดียวที่ให้อภัยไม่ได้

เชิญดูข้างหลังภาพ เดอะ มิวสิคัล