เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 12
  พิมพ์  
อ่าน: 78291 นิยายเก่าเล่าใหม่
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 02 ก.ค. 10, 09:53

คุณกู๊กเพิ่งบอกให้รู้ว่า ท่านจันทร์ มีพระนามเต็มว่า หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี
พระนิพนธ์ที่ดิฉันชอบที่สุดคือกาพย์ยานี ๑๑ ที่ท่านแปลจาก sonnet บทที่ ๗๓ ของเชคสเปียร์

That time of year thou mayst in me behold
When yellow leaves, or none, or few, do hang
Upon those boughs which shake against the cold,
Bare ruin'd choirs, where late the sweet birds sang,
In me thou see'st the twilight of such day
As after sunset fadeth in the west,
Which by and by black night doth take away,
Death's second self, that seals up all in rest.
In me thou see'st the glowing of such fire
That on the ashes of bis youth doth lie,
As the death-bed whereon it must expire
Consumed with that which it was nourish'd by.
This thou perceivest, which makes thy love more strong,
To love that well which thou must leave ere long.


Sonnet 73
William Shakespeare

==================================

"เริ่มช่วงใบร่วงฤดู                    คือพี่ผู้ผ่านกลางวัย
ใบเหลืองไม่กี่ใบ                      บนต้นไม้ยังไม่ร่วง
เหลือติดอยู่กับกิ่ง                     หนาวสั่นยิ่งกว่าหนาวทรวง
นกน้อยเงียบทั้งปวง                  ว่างวัดวาหามีเสียง
โพล้เพล้เวลาพี่                        ใกล้ชีวีจะจบเพียง
ชั่วครู่อยู่ข้างเคียง                      แต่สูรย์ดับลับเหลี่ยมเขา
ความมืดจะตามมา                    พรากชีวาพาสู่เงา
ความตายหมายมุ่งเฝ้า               ที่จะเอาตัวพี่ไป

ดูเถิดดูตัวพี่                            ก่อนชีวินจะสิ้นไฟ
ผ่านพ้นคนกลางวัย                   ช่วงไฟมอดวอดชีวิต
เมื่อครั้งพลังหนุ่ม                      คือไฟสุมรุมแรงฤทธิ์
ไฟนั้นเมื่อดับสนิท                    ชีวินปลิดไปกับไฟ
รักพี่เถิดมากมาก                       จวนจะพรากจากกันไกล
ไปแล้วจะเลยไป                      ไม่มีวันหันกลับมา"

ซอนเน็ทบทที่ 73
โดย วิลเลียม เช็คสเปียร์
(แปลโดยหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี)


บันทึกการเข้า
tony_hui
อสุรผัด
*
ตอบ: 32

เป็นพนักงานบัญชีครับ


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 02 ก.ค. 10, 09:57

เอาข้างหลังภาพมาฝากครับ (ขออภัยถ้าจะมีลายน้ำมาเกะกะตาไปบ้าง) ส่วนตัวผมชอบเล่มสุดท้ายเพราะทันได้ไปชมภาพยนตร์ยังจำพี่หนุ่ยเอามือขวาลงแล้วเป็นนพพร ได้แม่น
บันทึกการเข้า
tony_hui
อสุรผัด
*
ตอบ: 32

เป็นพนักงานบัญชีครับ


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 02 ก.ค. 10, 10:04

รูปน้าพุฒกับผองเพื่อนอัศวินโต๊ะแบน ของคุณพี่วันดี ถ้าค้นดูในเล่มๆน่าจะมีแต่ต้องขอรับใช้ด้วยภาพหน้าปก(ซึ่งหยิบฉวยง่ายกว่า)มาก่อน สันปกของเล่มนี้น่าจะเป็นน้าพุฒสมัยหนุ่มนะครับ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 02 ก.ค. 10, 10:14

เห็นหนังสือที่คุณโทนี่ ฮุยสแกนมาให้ชม แล้วดีใจเหมือนเดินผ่านอุโมงค์เวลา กลับไปในอดีต   ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ
เหลือบเห็นรายชื่อบนปกหลัง หนังสือนักสืบพราน
อาชญากรรมบันลือโลก ของม.ร.ว.กิตินัดดา กิติยากร  เล่มนี้แหละกำลังนึกถึงอยู่พอดี     
เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นนักสืบและอาชญากรรมต่างๆ  เขียนด้วยภาษาง่าย   เรื่องสนุก น่าอ่าน
มีเรื่อง "นักสืบจากสวรรค์" ที่เทวดาช่วยสืบให้นักเขียนเรื่องลึกลับที่ถูกฆ่าตายโดยไม่รู้ว่าใครฆ่า  วิญญาณเลยขึ้นสวรรค์อย่างไม่เป็นสุข
และอาชญากรรมของจอมวายร้ายชาร์ลส์ พีซ ของอังกฤษ
มีนักสืบปัวโรต์อยู่ในเล่มนี้ด้วยตอนหนึ่ง ชื่อคดีคนครัวล่องหน      กับคดีลึกลับของมารี โรเจต์ ที่นักเขียนเขียนจากข่าวจริงในหนังสือพิมพ์ แล้ววิเคราะห์จนได้ร่องรอย

เคยนึกว่า ถ้ามีเวลาว่างจะไปตามหาอ่านเรื่องลึกลับพวกนี้ทางเว็บไซต์   ค่อยเอามาเล่าให้ชาวเรือนไทยฟังอีกครั้ง


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 02 ก.ค. 10, 10:21

            อ่านข้างหลังภาพครั้งแรกแล้วไม่ค่อยสนุก ไม่ซึ้ง เศร้าเท่าที่ควรครับ
ไม่รู้สึกรู้สามากมายกับประโยคอมตะ ฉันตายโดยปราศจากคนที่รักฉัน ...

           ภายหลังเมื่อได้อ่านบทความและความเห็นของหลายๆ คนแล้วจึงเริ่มเห็น เริ่มชื่นชอบ
สิ่งที่อยู่ข้างหลังภาพ

            ชอบการตีความของ อ. ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ ครับ

            ในขณะที่นักวิจารณ์หลายท่านมองว่าปัญหาความรักระหว่างกีรติและนพพรเป็นปัญหา
ของช่องว่างระหว่างวัย ทัศนคติ อุดมการณ์ และชนชั้น แต่ผมมองว่าช่องว่างระหว่างคำพูด ความหมาย
และการตีความ คือหัวใจสำคัญของข้างหลังภาพ (ชื่อของนวนิยายเล่มนี้บอกโดยนัยถึงความสำคัญ
ของปัญหาเรื่องความหมายและการตีความดังได้กล่าวมาแล้ว)...

            แต่เป็นปัญหาของการตีความโดยเฉพาะการตีความคำพูดที่ต่างกันของคนทั้งสอง กล่าวคือ
นพพรมีแนวโน้มที่จะตีความคำพูดหรือพฤติกรรมของ ม.ร.ว. กีรติตามความหมายตรงตัว (literal meaning)
ในขณะที่ ม.ร.ว. กีรตินั้นจะสื่อความรู้สึกในใจโดยอิงอยู่กับความหมายเชิงโวหาร (rhetorical meaning)

            โศกนาฏกรรมของ ม.ร.ว. กีรติจึงมิได้อยู่ที่ไม่มีคนรักเธอ แต่อยู่ที่คนที่เธอรักมุ่งตีความตามตัวอักษร
และไม่สามารถจะตีความตามนัยโวหารที่เธอใช้ได้ ดังจะเห็นว่าทุกครั้งที่นพพรรบเร้าว่ารักเขาหรือไม่
ม.ร.ว. กีรติจะตอบโดยใช้โวหารการพูดอ้อม (peri-phrasis) เป็นส่วนใหญ่...

           ตราบใดที่เธอยังไม่ "ให้ถ้อยคำ" แก่เขา ที่สำคัญ ไม่ว่าเธอจะ "ให้ถ้อยคำ" มากมายเพียงใด
แต่หากเธอยังมิมอบคำว่า "รัก" ให้กับเขา นพพรก็ไม่อาจมั่นใจได้ว่าเธอรักเขา และความเคลือบแคลงใจนี้เอง
ทำให้ความรักของนพพรที่มีต่อเธอเสื่อมคลายจนหมดใจในท้ายที่สุด
             และกว่านพพรจะเรียนรู้ถึงวิธีการตีความนัยประหวัดของคำพูด ก็ต่อเมื่อทุกอย่างสายเกินไป
เขาได้เรียนรู้ว่าสิ่งที่อยู่ "ข้างหลังภาพ" มีมากกว่ากระดาษและฝาผนัง
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 02 ก.ค. 10, 10:25

และ         ชอบคารา พลสิทธิ์ ผู้รับบทคุณหญิงที่แสดงความเห็นเกี่ยวกับนิยายนี้ครั้งหนึ่งประมาณว่า

                ชื่นชอบกลวิถีทางที่นิยายเรื่องนี้ แทนที่จะให้คุณหญิงเป็นตัวเดินเรื่องเพื่อนำพาอารมณ์รักรันทด
ต้องห้าม แต่กลับเลือกให้ฝ่ายชาย - นพพรเล่าเรื่องความรักแทน ได้เป็นรักที่หวือหวาตามวัยและอยู่ไม่นาน
เมื่อเวลาผ่านไปนพพรก็ลืมเสียเกือบสนิท ในขณะที่สำหรับฝ่ายหญิงแล้วรักนั้นชั่วชีวิต
     
               เป็นคำตอบที่ว่าอ่านแล้ว จึงได้ความรู้สึกขัดแย้ง สงสารเวทนาชะตากรรมซ้ำซ้อนของคุณหญิง
ตอกย้ำภาพผู้หญิงในยุคที่ไม่มีทางเลือกนัก มากกว่าจะพลอยเศร้าระทมไปกับตัวเธอ ที่ยังฝังใจอยู่ได้ฝ่ายเดียว
ทั้งที่เขาไม่เหลียวมอง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 02 ก.ค. 10, 10:33

ชอบบทความของอ.ชูศักดิ์    เห็นด้วยค่ะ  

นพพรใน"ข้างหลังภาพ" ทำให้นึกถึงพระราชนิพนธ์แปล โรมิโอและจูเลียต ในรัชกาลที่ ๖

รักของชายหนุ่มเขาว่า  อยู่เพียงที่ดวงตา  มิใช่แน่ว ณ ดวงใจ

จำได้อีกอย่างเมื่ออ่าน"ข้างหลังภาพ" ครั้งแรกว่า   ถ้อยคำที่พูดกันระหว่าง ม.ร.ว. กีรติ และนพพร   ดิฉันไม่รู้สึกว่าพูดกันอยู่ ๒ คน แต่พูดกัน ๓ คน  
คนที่สามคือ ศรีบูรพา  พูดแทนคุณหญิงกีรติอยู่มากทีเดียว

อ้างถึง
เป็นคำตอบที่ว่าอ่านแล้ว จึงได้ความรู้สึกขัดแย้ง สงสารเวทนาชะตากรรมซ้ำซ้อนของคุณหญิง
ตอกย้ำภาพผู้หญิงในยุคที่ไม่มีทางเลือกนัก มากกว่าจะพลอยเศร้าระทมไปกับตัวเธอ ที่ยังฝังใจอยู่ได้ฝ่ายเดียว
ทั้งที่เขาไม่เหลียวมอง

ความเห็นของคุณ SILA ทำให้พอจะนึกออกรางๆว่าทำไมอ่านเรื่องนี้ครั้งแรกแล้ว  ไม่ได้ติดใจจนอ่านซ้ำ    คงเป็นเพราะไม่ชอบผู้หญิงที่มีทัศนะความรักแบบนี้
ถ้าดิฉันเป็นม.ร.ว. กีรติ  จะไม่เสียเวลารอนพพร  ให้ชีวิตอับเฉาโดยใช่เหตุ   ชีวิตไม่ได้หยุดนิ่งอยู่ที่วันวาน
ที่สำคัญคือถ้านพพรเห็นค่าของความรัก  ก็ยังคุ้มกับที่คุณหญิงกีรติอุตส่าห์รอคอย    แต่นี่เขาก็ไม่ได้เห็น เธอก็น่าจะรู้เสียนานแล้ว
บุญที่ไม่เคยมีความคิดแก้ตอนจบของนวนิยายอมตะเรื่องนี้    ไม่งั้น  คงไม่ได้มีแต่คุณเพ็ญชมพูคนเดียวที่ให้อภัยไม่ได้ ยิ้ม

เชิญดูข้างหลังภาพ เดอะ มิวสิคัล
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 02 ก.ค. 10, 10:53

อ้างถึง
คิดอยู่หลายช.ม. จึงได้คำตอบว่า   เด็กชายกับเด็กหญิงสงสัยใคร่รู้ไม่เหมือนกัน

ผมเห็นด้วยตั้งแต่ที่ตอบกระทู้โน้นแล้ว จึงนอนหลับดี ไม่มีการบ้านในสมอง

ยิ่งเห็นหนังสือที่คุณๆลูกสาวอ่าน มันก็เรื่องเดียวๆกันกับที่อยู่บนหิ้งหนังสือของแม่นั่นเอง เคยเอามาพลิกดูแล้วเก็บ เดี๋ยวนี้ก็ดูเหมือนว่ายังอยู่ แต่ขณะนี้ไม่รู้ว่าที่ไหน
แหล่งที่ผมอ่านมากก็ที่ห้องสมุดของโรงเรียน จะว่าไปมันก็เหมือนภาคบังคับ ถ้าไม่อ่านหนังสือเหล่านั้นแล้วจะไปหาอ่านที่ไหนได้อีก อยู่โรงเรียนประจำเดือนนึงได้กลับบ้าน2วันไม่เคยคิดจะไปร้านหนังสือ พวกนวนิยายที่เริ่มอ่านเป็นชุดของหลวงวิจิตรวาทการ เริ่มจาก ดอกฟ้าจำปาศักดิ์ กุหลาบเมาะลำเลิง ฯลฯ สองเล่มนี่ชอบที่สุด ลุยเรื่องอิงประวัติศาสตร์หมดหิ้งแล้วต่อด้วย สวรรค์ยังไม่ทอดทิ้งข้าพเจ้า พระเอกเป็นนักเรียนเก่าญี่ปุ่นเหมือนนพพร แต่คนละแนวกัน แล้วก็เลยกลายเป็นเล่มโปรดของผมไปอีกเล่ม

ข้างหลังภาพ ของแม่ก็มี แต่ได้อ่านของห้องสมุดโรงเรียน อ่านแล้วก็งั้นๆ แต่ตอนเป็นหนัง ดี ชอบ เรื่องละครแห่งชีวิตชอบกว่าผิวเหลืองผิวขาว เมืองนิมิตร ชอบ แต่ไม่ลึกซึ้ง สงสัยว่าที่ชอบเพราะชอบตัวคนเขียน นอกนั้นไปอ่านพวกแนวสารคดีเป็นส่วนใหญ่ จนจบชั้นมัธยม




บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 02 ก.ค. 10, 11:25

พ่อกับแม่ อ่านหนังสือไม่เหมือนกัน      แม่อ่านหนังสือของนักเขียนหญิง  พ่ออ่านของนักเขียนชาย
นักเขียนในดวงใจของพ่อมีคนเดียว  คือม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช    หนังสือเล่มแรกที่พ่อยื่นให้อ่าน คือรวมเรื่องสั้น "เพื่อนนอน" ของคุณชาย
เรื่องที่พ่อชอบที่สุดคือ ฆาตกรรมจากก้นครัว    คุณนายองุ่นเศรษฐินีคนงาม วัย ๔๐ กว่า กำจัดสามีไปได้ ๒ คน ด้วยฝีมือชาววัง     พอเล่าเรื่องให้นายตำรวจฟัง  ตอนจบก็เลยได้ว่าที่สามีคนที่ ๓  ผู้ไม่กลัวตาย
อาจเป็นเพราะพ่อชอบทำกับข้าวด้วย  เลยประทับใจมาก กับการบรรยายฝีมือกับข้าวของคุณนายองุ่น
ดิฉันมารู้หลังจากนั้นอีกหลายสิบปีว่า คุณชายคึกฤทธิ์ได้เค้าโครงมาจากเรื่องสั้น   Recipe for Murder ของนักเขียนชาวอเมริกัน   พี่มนันยาถ่ายเอกสารส่งเรื่องภาษาอังกฤษมาให้
เจ้าของเรื่องเดิมเขียนสู้ไม่ได้เลย   ฝีไม้ลายมือของคุณชายที่แปลงลูกสาวพ่อครัวฝรั่งเศสมาเป็นสาวชาววังไทย  เหนือชั้นกว่ามาก

เพื่อนนอน มีเรื่องสั้นที่อ่านแล้วน้ำตาตกได้ทุกรอบ คือเรื่อง มอม   เศร้าเสียจนไม่กล้าอ่านซ้ำ ตอนนายผู้หญิงและหนูตายเพราะระเบิดลง  หัวใจเจ้ามอมก็แตกสลาย  คนอ่านก็หัวใจแทบสลายตามไปด้วย

จากนั้นก็ได้อ่าน สี่แผ่นดิน ในห้องสมุด   พิมพ์ครั้งแรกเป็นรูปแม่พลอยห่มสไบสีเหลืองอ่อนนุ่งสีน้ำเงิน  ฝีมือวาดของ "แจ๋วแหวว" 
พอรู้ว่าชอบ แม่ก็ซื้อเรื่องนี้ให้อ่าน   แต่ชอบอ่านเฉพาะรัชกาลที่ ๕ กับ ๖   ส่วนตอนหลังๆเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วนั้น สลดหดหู่เกินไป

แปลกเหลือเกิน  บ้านเราไม่มีหนังสือของคุณหลวงวิจิตรวาทการสักเล่มเดียว   ทั้งๆท่านก็ได้ชื่อว่าเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงมาก
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 02 ก.ค. 10, 11:32

^
^
โอ้โฮ ผมลืมไปได้อย่างไร เรื่องแรกที่อ่านของท่านคือ หลายชีวิต ไผ่แดง และสี่แผ่นดิน แล้วเลยมาอ่าน พม่าเสียเมือง และกลายเป็นแฟนรุ่นเยาว์ของ "ตอบปัญหาประจำวัน" ในสยามรัฐ และติดชาวกรุง เลยไปถึงกระดึงทอง (ของใครทำก็ลืมไปแล้ว)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 02 ก.ค. 10, 12:06

กระดึงทอง มี บก.คือคุณสาทิส อินทรกำแหง  เขียน"จดหมายถึงตุลย์" เป็นจดหมายของชายหนุ่มเขียนถึงเพื่อน   เล่าเรื่องชีวิต  สะท้อนสังคมด้วยสำนวนภาษาละเอียดอ่อน  ให้เนื้อหาสะเทือนใจ
ไม่เคยเห็นใครเขียนลีลาซ้ำคุณสาทิส      หายไปหลายสิบปี กลับมาเป็นผู้เชี่ยวชาญชีวจิตไปแล้ว

"หลายชีวิต" เล่มแรกที่อ่าน  มีภาพประกอบในแต่ละชีวิต  เป็นลายเส้นไทย แบบโบราณพื้นสีดำลายเส้นขาว     ฝีมือศิลปินชาวหน้าพระลานท่านไหนไม่รู้ แต่สวยมากค่ะ
อ่านไม่ค่อยเข้าใจ  เพราะเป็นชีวิตหนักๆ จบลงด้วยความตายทุกคน    อ่านแล้วไม่ติดใจอีกเหมือนกัน     
เลยชอบ"เพื่อนนอน" มากกว่า

ตอบปัญหาประจำวัน ของคุณชายคึกฤทธิ์( พ่อเรียกแบบนี้  สมัยนั้นเขาไม่เรียกว่าท่านอาจารย์คึกฤทธิ์) เป็นเรื่องที่พ่ออ่านติดมาก    ส่วนดิฉันได้มาอ่านตอนท่านเขียน "ซอยสวนพลู"
เรื่องอื่นๆเช่นฮวนนั้ง  พม่าเสียเมือง  โจโฉนายกตลอดกาล  มาอ่านตอนเรียนมหาวิทยาลัย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 02 ก.ค. 10, 12:36

สรุปได้ว่าเด็กชายกับเด็กหญิงสงสัยใคร่รู้ไม่เหมือนกัน เลยแค่อ่านเกือบจะเหมือนกัน
ผมเพิ่งจะนึกได้ถึงคำว่า "อ่านได้สนุก ทุกเพศ ทุกวัย" จริงๆแล้วคงจะเขียนให้ประสพความสำเร็จยากเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 02 ก.ค. 10, 12:51

สรุปได้ว่าเด็กชายกับเด็กหญิงสงสัยใคร่รู้ไม่เหมือนกัน เลยแค่อ่านเกือบจะเหมือนกัน
ผมเพิ่งจะนึกได้ถึงคำว่า "อ่านได้สนุก ทุกเพศ ทุกวัย" จริงๆแล้วคงจะเขียนให้ประสพความสำเร็จยากเหมือนกัน
ถ้าวัดจากกระทู้นี้   "อ่านได้สนุก ทุกเพศ ทุกวัย" เห็นจะมีสามเกลอ ของคุณป. เท่านั้นมั้งคะ
๑๐๐ ปีของท่าน คนไทยน่าจะฉลองกันคึกคักกว่านี้
*****************
กลับมาทบทวนอีกว่า อ่านอะไรอีกบ้างในวัยเยาว์
มีเรื่องแปลเป็นส่วนใหญ่   ในเมื่อเริ่มอ่านเรื่องนักสืบ ก็ต่อด้วยนักสืบ   เช่นเรื่องของอาแซนลูแปง   เป็นผู้ร้ายผู้ดี ปล้นแต่คนรวย
เรื่องที่ติดใจมาก คือ "ผู้ร้ายผู้ดี" ของ มาคะสิระ    เป็นเรื่องแปลของฝรั่ง  ราคาเดิมเล่มละ ๕ บาท เป็นชุดเล็กๆ  ไปซื้อจากร้านหนังสือเก่า  ราคา ๕๐๐ บาท
บันทึกการเข้า
watanachai4042
อสุรผัด
*
ตอบ: 42


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 02 ก.ค. 10, 13:28

ขออนุญาตร่วมวงสนทนาด้วยอีกคนนึงฮะ  ลองย้อนนึกดูว่าเคยอ่านหนังสืออะไรบ้างในวัยเยาว์  เยอะเหมือนกัน  เท่าที่นึกได้มีการ์ตูน หนูจ๋า  เขียนรูปโดยคุณจุ๋มจิ๋ม  นอกจากเขียนการ์ตูนได้ตลกแล้วการใช้คำพูดของท่านก็ตลก  เช่น ร้านเสริมสวย  ชื่อ พักตร์พัง  เลยหยิบหนังสือไปถามคุณครู (ทั้งที่กลัวโดนดุว่าอ่านหนังสือที่ไม่ใช่หนังสือเรียน) ท่านก็อุตส่าห์อธิบายว่า  พักตร์พัง  แปลว่า  หน้าพัง  ไม่สวย  ร้านเสริมสวยแต่ทำออกมาแล้วหน้าพังไงล่ะ  เท่านั้นเอง  ก็เก็บมานั่งหัวเราะเป็นนานสองนาน  นอกจากนี้ยังมีการ์ตูนเบบี้  ชัยพฤกษ์การ์ตูน ฯ

จำพวกนวนิยายก็มีที่ลงพิมพ์ในนิตยสาร   เช่น มีนัดไว้กับหัวใจ  ลงพิมพ์ในฟ้าเมืองไทย  ไม่รู้เรื่องหรอกแต่ก็อ่านไป  เพราะชื่อเรื่องดูวาบหวิว และที่ลงพิมพ์ในนิตยสารดรุณี ฯ  ซึ่งหน้าปกมักเป็นรูปนางแบบทำผมแข็งแน่นหนา  เขียนตาโตเป็นสองชั้นชัดเจน  นุ่งกระโปรงสั้นเป็นแสคติดกันเป็นผ้ามองตากูร์สีพื้นๆ  มีเข็มขัดเป็นผ้าสีสดๆ  หรือเป็นห่วงโลหะต่อเนื่องกันไปรอบเอว  ไม่ใช่  ต้องประมาณสะโพกบน  สวมถุงน่องยืนทำขาไขว้กัน หรือยกขาข้างนึงขึ้นไขว้ไปข้างหลัง สวมรองเท้าเตี้ยๆหุ้มส้นทึบ  แต่จำนวนิยายที่อ่านไม่ได้แล้วว่าเรื่องอะไรบ้าง 

ที่อ่านเป็นเล่มก็จากตู้หนังสือของลุง  เช่น  นิจ  ปริศนา  เจ้าสาวของอานนท์  สี่แผ่นดิน  เกิดวังปารุสก์  เรื่องแปล  เช่น  บ้านเล็กในป่าใหญ่  กระท่อมน้อยของลุงทอม

ขณะนี้กำลังชอบวรรณกรรมเยาวชน(แปล)เรื่องหนึ่ง  ชื่อว่า  เด็กชายในชุดนอนลายทาง  The Boy in the Striped Pyjamas  แปลโดย  วารี  ตัณฑุลากร  มีภาพยนตร์ด้วยในชื่อเดียวกัน  แต่ภาพยนตร์ดูเศร้ากว่ามาก  เป็นเหตุการณ์ย้อนยุคสมัยฮิตเลอร์กำจัดชาวยิวในเยอรมัน   รู้สึกว่าเราโชคดีแท้ๆที่ไม่ได้เกิดเป็นชาวยิว ร้องไห้  ท่านไหนอ่านแล้วบ้างฮะ? 
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 02 ก.ค. 10, 14:13


สวัสดีค่ะ  คุณ watanachai4042     คุยกันให้ยาวเลยนะคะ

       อ่านนิจเป็นเล่มแรกในชุดดอกไม้สดเหมือนกันค่ะ

การอ่านก็คงเป็นยุค ๆ นะคะ     อ่านคล้าย ๆ กันบ้าง  ไม่ชอบบางเล่มบ้าง


คุณเทาชมพุคะ  มาคสิร   คือ คุณ  สมัคร  เสาวรสค่ะ    เพื่อนนักแปลชอบกันมาก   เสียดายที่ไม่มีโอกาสอ่าน  ว่ากันว่าสนุก


อ่าน เจ้าลอยแล้ว สะท้านไปด้วยความสามารถของท่านผู้ประพันธ์         มอมอ่านแล้วน้ำตารินทุกที

อ่านนิกกับพิมก็อดหัวเราะดังๆไม่ได้เรื่องพ่อแหยม  หรืออะไรที่หมาหอมคนว่าไม่หอม

ยังมีคนอีกหลายคนที่พยายามแนะนำให้ดิฉันคลุมโตีะไม้แดงด้วยพลาสติค


       ที่บ้านไม่มีหนังสือเล่มมากนัก  นิตยสารพอมีบ้าง    สยามสมัย  เดลิเมล์วันจันทร์  ศรีสัปดาห์  สตรีสาร และ    สยามรัฐที่มาตอนเย็น


มี "ชีวิตหวาม" ของพระนางเธอลักษมีลาวัณทิ้งไว้ประจำบ้านเล่มหนึ่ง  ก็อ่านเสียปรุ

      คุณย่าสอนแอมโบรซีนให้ท่องคติพจน์ของท่าน

      "จงอดทนอย่าบ่นว่าเบื่อโลก
       จงสู้โชคชะตากรรมทำใจเฉย
       จงปัดเป่าโชคร้ายให้กลายเลย
       จงอย่าเผยพจน์พรำ่รำพันเอย"

เก็บงานอื่นๆของท่านไว้ได้หลายเล่มเหมือนกันค่ะ

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 12
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 20 คำสั่ง