เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 5393 ทหารไทยในสงครามอินโดจีนและสงครามโลกครั้งที่2
cooling
อสุรผัด
*
ตอบ: 9


 เมื่อ 29 มิ.ย. 10, 14:09

สงครามทั้ง2ครั้งนี้คาบเกี่ยวกันใช่ไหมครับ รบกวนผู้รู้ด้วยครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 29 มิ.ย. 10, 21:37

การรบระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในพ.ศ.2483นั้นเป็นสงครามที่ไม่ได้ประกาศ เรียกว่าเป็น “กรณีพิพาท” ครับ เกิดขึ้นหลังจากเกิดสงครามในยุโรปแล้ว และฮิตเลอร์บุกเข้ายึดครองกรุงปารีสเรียบร้อย รัฐบาลอาณานิคมอินโดจีนของฝรั่งเศสจึงเหมือนกับหัวขาด ถือเป็นโอกาสทองของหลวงพิบูลที่จะส่งกำลังทหารเข้าไปยึดคืนดินแดนที่ฝรั่งเศสบีบบังคับเอาไปจากไทยตั้งแต่สมัยร4-ร5 แต่ว่าไม่ใช่อยู่ๆก็บุกเข้าไปเลยนะครับ เดี๋ยวจะไปสะดุดแข้งที่ใหญ่กว่า หลวงพิบูลได้ส่งทูตไปขออนุญาตเยอรมัน เพราะตอนนั้นเยอรมันได้ตั้งรัฐบาลหุ่นของฝรั่งเศสขึ้นเรียกว่ารัฐบาลวีซี่ รัฐบาลวีซี่เป็นนายรัฐบาลอินโดจีนอีกที เยอรมันรู้ว่าไทยซี้กับญี่ปุ่น พันธมิตรสงครามของตน และญี่ปุ่นหวังจะใช้ไทยอยู่จึงไม่อยากขัดคอ แต่บอกว่าให้ยึดเอาเฉพาะแต่ดินแดนของไทยเท่านั้นนะ ของเขมรของลาวแท้ๆห้าม ในขณะเดียวกันไทยก็ส่งทูตไปแจ้งญี่ปุ่นที่โตเกียวด้วย ญี่ปุ่นก็ยอมไฟเขียวให้แต่รีบส่งเรือประจันบานนาโตริมาคอยเป็นกรรมการ เด็กมันอยากชกกันก็ปล่อยให้มันฟัดกันสักยกนึงแล้วค่อยห้าม คือญี่ปุ่นไม่อยากจะให้ทั้งคู่รบกันเองบอบช้ำเพราะหวังจะใช้ทั้งไทย และฝรั่งเศส(ที่เยอรมันสั่งได้)ช่วยรบกับจีน พอเห็นว่าทั้งคู่รบกันพอหอมปากหอมคอแล้วก็รีบเข้าแยก จัดการให้ฝรั่งเศสคืนดินแดนที่ไทยอยากได้ไป หลวงพิบูลก็ประกาศชัยชนะ แต่ไทยก็สูญเสียเยอะ รบกันอาทิตย์สองอาทิตย์ ทัพอากาศเสียเครื่องบินไปเกือบครึ่ง ทัพเรือเสียเรือปืนใหม่เอี่ยมไป1ลำ เรือตอร์ปิโดใหญ่2ลำ ทัพบกเสียหายน้อยหน่อยแต่กระสุนปืนเล็กปืนใหญ่ใกล้หมด ขืนรบยืดเยื้ออีกไม่ถึงอาทิตย์ก็จบแน่ 

เสร็จการรบนี้ไม่นาน สงครามมหาเอเซียบูรพาก็ระเบิด เริ่มต้นที่ญี่ปุ่นถล่มเพริลฮาเบอร์ แล้วยกพลขึ้นบกเข้าไทยและมลายู ดังที่รู้กัน พอไทยจับมือเป็นพันธมิตรร่วมรบกับญี่ปุ่นๆก็ขนอาวุธมาให้ทดแทนที่เสียไป แลกเปลี่ยนกับการไปรบกับกองทัพจีนที่เชียงตุง แต่ทั้งคู่ก็แสดงมวยล้มต้มญี่ปุ่น ทำเป็นว่ารบกัน แต่ความจริงแล้วยันทัพกันไว้เฉยๆจนจบสงคราม ทหารไทยเดินนับไม้หมอนกลับบ้าน ทหารจีนกลับไม่ได้เพราะคนละฝ่ายกับเมาเซตุง ต้องอยู่ปลูกฝิ่นบนดอยคอยหนีจีนแดง หนีกองทัพพม่า มาอยู่เมืองไทย เคยได้ยินชื่อกองพล92ที่ดอยแม่สลองไหมครับ เดี๋ยวนี้ไม่ได้ปลูกฝื่นแล้ว แต่ปลูกชาชั้นดี ขายแพงซะด้วย
บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 30 มิ.ย. 10, 09:54

กรณีพิพาทอินโดจีน
สถานการณ์ในประเทศไทยเริ่มขึ้นในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2483 เมื่อคณะนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง รวมทั้งประชาชนร่วมกันเดินขบวนเรียกร้องรัฐบาลเรียกเอาดินแดนคืนจากฝรั่งเศสจากเหตุการณ์ ร.ศ. 112 เช่น เสียมราฐ พระตะบอง จำปาศักดิ์ เป็นต้น จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ได้ส่งทหารข้ามพรมแดนเข้าไปยึดดินแดนคืนทันที ท่ามกลางกระแสชาตินิยมอย่างหนัก เพลงปลุกใจในเวลานั้นได้ถูกเปิดอย่างต่อเนื่อง เช่น เพลงข้ามโขง เพลงจำปาศักดิ์ เพลงเสียมราฐ เป็นต้น

เกิดการยิงต่อสู้กันอย่างหนักระหว่างทหารไทยกับทหารฝรั่งเศส ในบางช่วงทหารไทยสามารถจับทหารโมร็อกโกทหารประเทศอาณานิคมของฝรั่งเศสมาได้ และได้นำเชลยศึกเหล่านั้นมาแสดงให้ประชาชนทั่วไปได้ดูที่สวนสัตว์เขาดินวนา โดยการต่อสู้ที่เป็นที่กล่าวขานมากที่สุดคือ ยุทธนาวีที่เกาะช้าง จ.ตราด เมื่อเรือหลวงธนบุรีของกองทัพเรือไทยได้เข้าต่อสู้กับเรือรบลามอตต์ปิเกต์ของฝรั่งเศส เรือหลวงธนบุรีเสียเปรียบเรือรบลามอตต์ปิเกต์ทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีหรือกำลังพล ที่สุดเรือหลวงธนบุรีโดยการบังคับบัญชาของ นาวาโทหลวงพร้อมวีระพันธ์ก็ได้ถูกยิงจมลง นายทหารบนเรือเสียชีวิตรวม 36 นาย รวมทั้งตัวหลวงพร้อมวีระพันธ์เองด้วย แต่ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถสร้างความเสียหายให้แก่เรือรบลามอตต์ปิเกต์ จนฝ่ายฝรั่งเศสไม่กล้าส่งเรือรบมาลาดตระเวนในน่านน้ำอ่าวไทยอีกเลย เหตุการณ์นี้ได้ถูกเรียกในเวลาต่อมาว่า ยุทธนาวีเกาะช้าง

ในส่วนของกองทัพอากาศไทย เครื่องบินรบของฝ่ายไทยและฝรั่งเศสได้ปะทะกันในสมรภูมิภาคตะวันออก การต่อสู้ที่ได้รับการกล่าวขานอย่างที่สุด คือ ในวันที่ 10 ธันวาคม เรืออากาศโทศานิต นวลมณี ได้นำเครื่องขับไล่แบบคอร์แซร์ เข้าต่อสู้กับเครื่องบินของฝรั่งเศส ต่างฝ่ายยิงเครื่องของฝ่ายตรงข้ามตกหลายลำ แต่เครื่องของเรืออากาศโทศานิต นวลมณีได้เข้าสู่ฐานทัพที่ดอนเมืองได้สำเร็จ แต่ทั้งตัวเครื่องได้ถูกยิงเป็นรูพรุนไปทั้งลำ ส่วนเรืออากาศโทศานิตได้รับบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตในเวลาต่อมา

การต่อสู้ยังคงดำเนินไปถึงกลางปี พ.ศ. 2484 ไม่มีทีท่าว่าจะสงบ ทางญี่ปุ่นแสดงเจตจำนงเข้ามาไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง เหตุการณ์ได้จบลงโดยที่ฝรั่งเศสได้มอบดินแดนบางส่วนคืนให้แก่ไทย ฝ่ายไทยจึงจัดการปกครองเป็น 4 จังหวัด คือ จังหวัดพิบูลสงคราม จังหวัดพระตะบอง จังหวัดนครจัมปาศักดิ์ และจังหวัดลานช้าง

เหตุการณ์การสู้รบในครั้งนี้ได้ถูกเรียกว่า กรณีพิพาทอินโดจีน หรือ สงครามอินโดจีน และต่อมาได้มีการสร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิขึ้นเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วย
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 30 มิ.ย. 10, 10:48



อ้างถึง
ในส่วนของกองทัพอากาศไทย เครื่องบินรบของฝ่ายไทยและฝรั่งเศสได้ปะทะกันในสมรภูมิภาคตะวันออก การต่อสู้ที่ได้รับการกล่าวขานอย่างที่สุด คือ ในวันที่ 10 ธันวาคม เรืออากาศโทศานิต นวลมณี ได้นำเครื่องขับไล่แบบคอร์แซร์ เข้าต่อสู้กับเครื่องบินของฝรั่งเศส ต่างฝ่ายยิงเครื่องของฝ่ายตรงข้ามตกหลายลำ แต่เครื่องของเรืออากาศโทศานิต นวลมณีได้เข้าสู่ฐานทัพที่ดอนเมืองได้สำเร็จ แต่ทั้งตัวเครื่องได้ถูกยิงเป็นรูพรุนไปทั้งลำ ส่วนเรืออากาศโทศานิตได้รับบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตในเวลาต่อมา

ขอโทษคุณwerachaisubhong ผมขอเพิ่มเติมข้อมูลให้หน่อยนะครับ

8 ธันวาคม 2483 ร.ท.ศานิต นวลมณี ได้รับคำสั่งให้นำเครื่องบินแบบ23 คอร์แซร์  ไปทิ้งระเบิดที่หมายทางทหารบริเวณริมฝั่งโขง  บริเวณกรุงเวียงจันทน์  โดย ร.ต.ผัน สุวรรณรักษ์ ผู้บังคับหมู่บินฮอว์ค75 ที่มาประจำที่สนามบินอุดรบินคุ้มกันให้ ร.ท.ศานิต  นวลมณี  นำเครื่องเข้าทิ้งระเบิดในระยะต่ำเพียง 200 เมตร   ข้าศึกก็ได้ยิงต่อสู้อย่างหนาแน่น
ผลการปฏิบัติ สามารถทิ้งระเบิดถูกที่หมายไฟไหม้  ฝ่ายเรากลับถึงสนามบินอุดรได้อย่างปลอดภัย   เมื่อสำรวจดูปรากฏว่าเครื่องของร.ท.ศานิต  นวลมณี ถูกกระสุนปืนกลประมาณ20แห่ง ปลายปีกซ้ายขาดกระจุย

10 ธันวาคม 2483 เวลา07.50 กองทัพอากาศได้ส่งเครื่องบินฝูงใหญ่ ไปทำการโจมตีทิ้งระเบิดที่ตั้งทางทหารที่นครเวียงจันทน์อย่างหนัก ในการปฏิบัติการครั้งนี้เครื่องบินคอร์แซร์ ซึ่งมี ร.ท.ศานิต นวลมณี เป็นนักบินและจ.อ.เฉลิม ดำสัมฤทธิ์ นักบินผู้ทำหน้าที่พลปืนหลัง ได้ทำการโจมตีกองกำลังฝ่ายข้าศึกในระยะต่ำ  ฝ่ายข้าศึกซึ่งตั้งปืนกลต่อสู้อยู่บนถังน้ำประปาริมแม่น้ำโขง ทำการยิงต่อสู้อย่างหนาแน่น กระสุนถูก จ.อ.เฉลิมฯเสียชีวิต   เครื่องบินถูกยิงถังน้ำมันที่ปีกทะลุไฟไหม้ ร.ท. ศานิตถูกยิงได้รับบาดเจ็บที่หัวเข่า ได้พยายามนำเครื่องบินกลับฝั่งไทยและโดดร่มลง ทั้งเครื่องบินและนักบินตกลงที่หนองน้ำบ้านพรานพร้าว  อ.ท่าบ่อ  จว.หนองคาย ได้บาดเจ็บสาหัสต้องส่งเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลทหารในกรุงเทพฯ  แต่ได้ถึงแก่กรรมในวันที่23 ธันวาคม2483


อ้างถึง
การต่อสู้ยังคงดำเนินไปถึงกลางปี พ.ศ. 2484 ไม่มีทีท่าว่าจะสงบ ทางญี่ปุ่นแสดงเจตจำนงเข้ามาไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง

การรบระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในกรณีพิพาทอินโดจีน เริ่มต้น 6 มกราคม 2484 และยุติเมื่อ 28 มกราคม เดือนนั้นเองครับ
บันทึกการเข้า
cooling
อสุรผัด
*
ตอบ: 9


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 30 มิ.ย. 10, 11:53

ขอบคุณทั้ง 2 ท่านมากๆครับ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
fcr group
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 26 พ.ค. 21, 13:09

อยากรายชื่อหรือเอกสารราชการที่แต่งตั้งข้าราชการระดับต่างๆไปทำงานที่เมืองเชียงฮ่อน เชียงลม ที่ได้ดินแดนฝั่งลาวคืนมาชั่วคราว
บันทึกการเข้า
fcr group
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 15 ก.ค. 21, 14:44

ช่วงเวลาที่ไทยได้ดินแดนคืนจากฝรั่งเศสกลับมาช่วงสั้นๆ อยากทราบรายชื่อ หรือคำสั่งแต่งตั้ง ข้าราชการทั้งหมด ใหญ่และเล็ก ที่ถูกส่งไปประจำที่ 4 จังหวดใหม่นี้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 15 ก.ค. 21, 17:50

น่าจะมีในเว็บราชกิจจานุเบกษานะคะ ลองไปค้นดู
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 20 คำสั่ง