เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9
  พิมพ์  
อ่าน: 76718 คุณเปรมใน"สี่แผ่นดิน" มาจากสกุลใด
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 06 ก.ค. 10, 06:40


       หนังสือ "แบบข้อราชการในกรมมหาดเล็ก"  เล่ม ๑  พิมพ์โรงพิมพ์ศุภมิตรบำรุง ปี ร.ศ. ๑๑๒(พ.ศ. ๒๔๓๖)

หน้า ๔   แสดงไว้ว่า  ตำแหน่งนายรองตามชื่อหุ้มแพรทั้ง ๒๐ นาย   ตั้งใหม่คือ

นายเสนองานประภาศ

นายสนองราชบรรหาร

นายบำเรอบรมบาท

นายบำรุงราชบทมาลย์

นายพิไนยราชกิจ

นายพินิจราชการ

นายพิจารณสรรพกิจ

นายพิจิตรสรรพการ


ราชทินนาม  "บทมาลย์บำรุง"   ก็  ขอยืมมาจาก   นาย บำรุงราชบทมาลย์ นั่นเอง

ข้อราชการนี้  พระยาเทเวศน์วงษวิวัฒน์จางวาง ได้เรียบเรียงขึ้นตามที่จดจำไว้ตามแบบแผนที่เคยมีมา


คุณเปรมในเวลานั้นอายุ ๑๖ ปี 
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 06 ก.ค. 10, 07:50

มีท่านใดจำ คุณหลวงนฤบาลบันเทิง ได้บ้างครับ
ท่านเคยเป็นพนักงานกรมวัง ก่อนจะย้ายไปเป็นข้าหลวงเมืองนครสวรรค์  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 06 ก.ค. 10, 08:34

มีท่านใดจำ คุณหลวงนฤบาลบันเทิง ได้บ้างครับ
ท่านเคยเป็นพนักงานกรมวัง ก่อนจะย้ายไปเป็นข้าหลวงเมืองนครสวรรค์  ยิ้ม
มีหรือคะ  จะจำไม่ได้   พระเอกคนโปรดของแม่ดิฉัน    ท่านข้าหลวงผู้ดีพร้อม   งดงามทั้งกิริยา วาจา ใจ   
พอแก่ตัวลงพอรู้เรื่องบรรดาศักดิ์ขึ้นมาบ้าง  สงสัยว่าทำไมถึงชื่อหลวงนฤบาลบันเทิง  สังกัดกรมวัง(ก่อนย้ายไปมหาดไทย)
บรรดาศักดิ์ยังกะท่านอยู่กรมมหรสพงั้นละ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 06 ก.ค. 10, 08:50

โอ...หลวงนฤบาล  ผู้ถึงพร้อมในอิทธิบาท ๔    สิ่งประกอบที่สำคัญ คือ สติปัญญาหนึ่ง

กำเนิดในตระกูลที่ดีหนึ่ง       ความรู้ในทางปกครองที่มีอยู่แล้ว  รวมกับการที่เคยใกล้ชิดบุคคลชั้นสูงสุดของประเทศ

ได้ยินและฟังสี่งที่คนสำคัญน้อยคนจะได้ยิน    


ท่านได้เลื่อนตำแหน่งเร็วมากนะคะ

ต้นปี ๒๔๗๕  ได้เป็นผู้ว่าราชการลำพูน        ปลายปี ๒๔๗๖ มาเป็นข้าหลวงนครสวรรค์


เท่าที่อ่านผ่านๆ มา คุณหลวงหนุ่มๆ  น่าจะได้เป็นยกบัตรก่อน  อิอิ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 06 ก.ค. 10, 16:00

พ่อเปรมเป็นมหาดเล็กในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยไม่ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์หรือขยับขยายย้ายที่ไปรับราชการในหน่วยอื่นมีความเป็นไปได้  ดังนี้

บิดาของพ่อเปรม(พระยาธรรมจรันยานุกูลมนตรี) อาจจะถึงแก่อนิจกรรม  เมื่อพ่อเปรมเพิ่งเข้ารับราชการในกรมมหาดเล็กได้ไม่นาน   
เมื่อสิ้นบิดาซึ่งเป็นขุนนางผู้ใหญ่รับราชการแล้ว  พ่อเปรมก็ขาดผู้ใหญ่ในราชการเช่นบิดาสนับสนุน
โอกาสที่จะได้รับการเสนอชื่อให้ได้ขยับย้ายไปรับราชการหน่วยอื่นๆ  ของพ่อเปรม  จึงพลอยน้อยลงไปด้วย
เพราะถ้าเจ้าคุณบิดายังอยู่   พ่อเปรมอาจจะได้รับการพิจารณาโปรดเกล้าฯ ให้ได้เลื่อนที่ในราชการ
โดยอาศัยบิดาเป็นผู้ผลักดันก็ได้     เพราะในกรณีนี้มีตัวอย่างอยู่  คือ 
เมื่อเจ้าพระยาภูธราภัย  (นุช  บุณยรัตพันธุ์) ซึ่งกำกับราชการกรมมหาดไทยอยู่ในช่วงต้นรัชกาลที่ ๕
เกิดล้มป่วยลงด้วยความชรา   ทำให้ไม่สามารถจะรับราชการได้ตามปกติสม่ำเสมออย่างเดิม 
เมื่อรัชกาลที่ ๕ เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมท่านเจ้าพระยานั้น  ท่านเจ้าพระยาได้กราบบังคมทูลว่า
ท่านอยากให้รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณษแต่งตั้งพระยาอภัยรณฤทธิ์  บุตรชายของท่าน 
ซึ่งน่าจะรับราชการอยู่กรมพระตำรวจอยู่ใขณะนั้น  ให้มารับราชการในกรมมหาดไทยแทนท่าน 
เมื่อท่านไม่สามารถจะรับราชการสนองพระเดชพระคุณได้ต่อไปแล้ว
แต่รัชกาลที่  ๕  รับสั่งว่า  พระยาอภัยรณฤทธิ์  บุตรชายของท่านเจ้าพระยาไม่รอบรู้ชำนาญในราชการมหาดไทย
จะย้ายให้มารับราชการมหาดไทยเห็นว่าไม่เหมาะ   ควรที่จะให้กรมสมเด็จพระบำราบปรปักษ์ทรงว่าราชการแทนจะดีกว่า
ท่านเจ้าพระยาได้ฟังรับสั่งดังนั้น  ก็ยังกราบบังคมทูลว่า  เช่นนั้นก็ขอให้บุตรชายของท่านไปเป็นผู้ช่วยกรมสมเด็จพระเถิด
เพื่อได้เรียนรู้ราชการมหาดไทย    รัชกาลที่  ๕  ไม่ได้ทรงรับตามคำขอของท่านเจ้าพระยา

นี่เป็นตัวอย่างว่า  พ่อที่ทำราชการ  มักจะดึงบุตรให้เข้ารับราชการแทนตัวในตำแหน่งเดียว
อันนี้เป็นไปตามธรรมเนียมราชการอย่างเก่า

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 06 ก.ค. 10, 19:26

ก็เป็นได้ค่ะ
แม่พลอยแต่งงานอายุ ๑๘   คุณเปรมแก่กว่า ๕ ปี  ก็ ๒๓ ปี  เมื่อแต่งงาน เจ้าคุณจรรยาฯถึงแก่กรรมไปแล้ว  คุณหญิงก็เหมือนกัน 
พ่อตายตั้งแต่ลูกชายอายุยี่สิบต้นๆเป็นอย่างมาก   อาจจะตายตั้งแต่ลูกชายอายุไม่ถึง ๒๐ ก็ได้     คุณเปรมจึงขาดคนสนับสนุนอุ้มชูให้เลื่อนตำแหน่งปรูดปราดกว่านี้     
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 06 ก.ค. 10, 19:29

โอ...หลวงนฤบาล  
ท่านได้เลื่อนตำแหน่งเร็วมากนะคะ
ต้นปี ๒๔๗๕  ได้เป็นผู้ว่าราชการลำพูน        ปลายปี ๒๔๗๖ มาเป็นข้าหลวงนครสวรรค์
เท่าที่อ่านผ่านๆ มา คุณหลวงหนุ่มๆ  น่าจะได้เป็นยกบัตรก่อน  อิอิ
คุณหลวงยังเลื่อนตำแหน่งช้ากว่าพระยาพลวัตค่ะ    พระยาพลวัตเป็นพระยาเมื่ออายุ ๓๓ เท่านั้นเอง

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 06 ก.ค. 10, 20:56

บรรดาศักดิแปลกนะคะ  พระยาพลวัตวิวิธการี(ชวน)A.C.A.   บ้านเดิมอยู่พาหุรัด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 06 ก.ค. 10, 21:12

วิวิธการี = พวกนักกฎหมายหรือเปล่า?
แต่เจ้าคุณพลวัตจบเศรษฐศาสตร์ไม่ใช่หรือคะ      ไม่ค่อยเข้าใจชื่อปริญญาของเจ้าคุณเท่าไร
เกร็ดในเรื่อง "ผู้ดี"  ถ้าเล่าแล้วเล่าซ้ำขออภัยด้วย    คือมี version ที่เขียนด้วยลายมือของดอกไม้สด แต่หายไปแล้ว เขียนให้ญาติผู้ใหญ่ท่านหนึ่งของดิฉัน  
ท่านเล่าให้ฟังว่าอ่านเรื่องนี้จบแล้วยังไม่จุใจ   เพราะว่าท่านรู้จักม.ร.ว.บุบผา เป็นส่วนตัว ก็เลยเขียนไปถาม     "ดอกไม้สด" ก็เขียนตอบมา เป็นต้นฉบับบทสุดท้าย  ว่าเมื่อวิมลไปพักที่จันทบุรีกับคุณแส มารดาเลี้ยง  ขากลับเรือยนต์เกิดขัดข้อง   พระยาพลวัตต้องส่งเรือไปรับ
คุณหญิงพลวัตถึงแก่กรรมด้วยวัณโรคในเวลาต่อมา    ฉากสุดท้ายคือฉากรดน้ำสมรสของพระยาพลวัตและวิมล  มีคุณแสเป็นคนรดน้ำสังข์
พอได้บทต่อจากตอนจบในเรื่องมา   คนรับก็ยินดีปรีดา อ่านคนเดียวไม่พอ ส่งให้เพื่อนอ่านกันต่อๆไปหลายราย  
กระดาษก็เลยหายไปเลย
เมื่อ "ผู้ดี" รวมเล่มครั้งที่ ๒  ก็ไม่มีบทจบบทนี้     และยังไม่มีใครรู้จนบัดนี้ นอกจากคนรับต้นฉบับบทนั้น  
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 06 ก.ค. 10, 21:24



     โอ.....สุดประเสริฐ  ที่พลอยได้ยินได้ฟังไปด้วยค่ะ 
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 06 ก.ค. 10, 21:38


    Chartered Accountant  ค่ะ

ตอนนั้นพลเมืองของชาติมี ๑๒ ล้าน
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 07 ก.ค. 10, 08:28

ประเด็นเรื่องฐานะทางการเงินของครอบครัวพ่อเปรม

เข้าใจว่า  คุณชายคึกฤทธฺ ท่านคงไม่ประสงค์จะกล่าวถึงอาชีพเดิมของตระกูลพ่อเปรมมากนัก  ทั้งที่ในความเป็นจริงเป็นเรื่องสำคัญมาก   เนื่องจากในช่วงปลายแผ่นดินรัชกาลที่ ๖ ต่อรัชกาลที่ ๗  ประเทศไทยสมัยนั้นได้รับผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจโลก  ซึ่งเกิดจากสงครามโลกครั้งที่ ๑  แม้ว่าผลกระทบเศรษฐกิจโลกในครั้งกระนั้น  จะใช้เวลาพอสมควรกว่าจะมาปรากฏผลกระทบถึงเมืองไทย   แต่ก็ทำให้ครอบครัวพ่อเปรมต้องหันมาคำนึงถึงฐานะทางการเงินของครอบครัวมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก


จากในเรื่องสี่แผ่นดิน  เราทราบว่า  พระยาโชฎึก ฯ ปู่ของพ่อเปรมเป็นสายชาวจีนที่เข้ามาเพิ่งพระบรมโพธิสมภารในสยาม   ในเรื่องไม่ได้บอกว่าพระยาโชฎึกฯ ได้ทำการค้าขายอะไร  ถึงได้ร่ำรวย   แต่ความร่ำรวยของพระยาโชฎึกฯ ในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๔ - ๕ อาจจะไม่ได้มาจากการค้าขายเป็นส่วนใหญ่ก็ได้    ถ้าอย่างนั้น   พระยาโชฎึกฯ น่าจะร่ำรวยจากอะไร 


ถ้าเราย้อนกลับไปดูเมืองไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่ต้นมาจนถึงรัชกาลที่ ๕   คนจีนในสยามที่มีพอมีฐานะปานกลางถึงดี    มักมากราบบังคมทูลขอเป็นเจ้าภาษีอากรต่างๆ  อยู่เสมอ    ซึ่งภาษีอากรที่เก็บเข้าคลังหลวงมีอยู่หลายประเภท   ภาษีบางอย่างทำรายได้ให้แก่เจ้าภาษีอากรนั้นได้มาก    เช่น   อากรบ่อนเบี้ย   อากรหวย กข  ภาษีน้ำตาล   ภาษีเกลือ   อากรเตาต้มสุรา  เป็นต้น   ถ้าเงินภาษีที่เจ้าอากรภาษีเก็บได้  มีมากกว่าจำนวนเงินที่ประมูลส่งให้แก่พระคลังหลวง   เงินส่วนนั้นจะตกแก่เจ้าภาษี    ด้วยวิธีการนี้แม้ไม่ได้ทำการค้าขายเองโดยตรง  แต่เป็นเจ้าภาษีอากรอะไรสักอย่าง  ก็น่าจะทำให้มีฐานะทางการเงินดีได้ไม่ยาก    จึงปรากฏคนจีนเข้ามายื่นขอเป็นเจ้าภาษีนายอากรต่างๆ กันมาก   ในขณะที่คนไทยไม่ค่อยมี   


เท่านั้นยังไม่พอ   อย่างพระยาโชฎึกฯ  ท่านอาจจะได้เป็นนายประกันของเจ้าภาษีนายอากรคนอื่นที่มายื่นของประมูลทำภาษีอากรส่งพระคลังหลวง    แน่นอนว่า   พระยาโชฎึกฯ  ย่อมได้เงินตอบแทนจากการเป็นนายประกันด้วย    แค่เงินจากการที่เล่ามานี้   อาจจะมากกว่าเงินเบี้ยหวัด เงินกลางปี  เงินเดือนที่ท่านรับในราชการหลายเท่า    จากรายได้ส่วนนี้ท่านอาจจะไปลงทุนค้าขายและสร้างตึกให้คนเช่า   ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๕  บรรดาขุนนางทั้งไทยและจีน   มักสร้างตึก โรงเรือนให้คนมาเช่าทำการค้าขายกันมาก 

ฐานะทางการเงินอย่างที่สันนิษฐานมาข้างต้นนี้  คงจะส่งทอดมาถึงพระยาธรรมจรรยาฯ  บิดาพ่อเปรม  และตัวพ่อเปรมเองด้วย   


สำหรับตัวพ่อเปรมซึ่งทำราชการเป็นมหาดเล็กนั้น  แม้ตลอดรัชกาลที่ ๕ จะไม่ได้เลื่อนขึ้นมีบรรดาศักดิ์ใดๆ ในฝ่ายมหาดเล็กเลย   แต่ด้วยรับราชการอยู่หลายปี  เงินเบี้ยหวัด  เงินกลางปี  และเงินเดือนของคุณเปรมคงมากพอสมควร   เท่านี้   คุณเปรมก็มีฐานะดีได้   

ส่วนการค้าขายของพี่น้องพ่อเปรมนั้น  คงเป็นเพราะได้เงินมรดกจากบิดา (พระยาธรรมจรรยาฯ )ไปลงทุน   ฟากพ่อเปรมคงเริ่มทำการค้าเล็กๆ น้อยๆ มาก่อน  อันนี้จะเรียกว่านิสัยคนจีนก็ได้กระมัง   เพราะคนจีนแม้มีเงินมากก็มักทำการค้าขายเล็กๆ น้อยๆ เพื่อเป็นการหาเงินสำรองรายได้ไว้เพื่อเกิดเหตุที่ทำให้อาชีพหลักไม่มั่นคง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 07 ก.ค. 10, 08:55

เห็นด้วยกับคุณหลวงว่าคุณปู่ของคุณเปรมน่าจะเป็นเจ้าภาษีมาก่อน    คุณเปรมเกิด ปี ๒๔๒๐  ปู่ก็อยู่ราวๆรัชกาลที่ ๓  เป็นยุคของเจ้าภาษี
การค้าขายของคุณเปรม ไม่รู้ว่าค้าอะไร  จำได้แต่ว่าให้คุณเปรื่องดูแล   ก็ดูกิจการไปได้ด้วยดี มีเงินทองไม่ขาดแคลน  ในเมื่อคุณเปรมไม่ให้น้องชายรับราชการแต่ให้ดูแลการค้าขาย  การค้านั้นก็คงใหญ่พอสมควร จนคุณเปรื่องต้องทำ full time  ไม่สามารถแบ่งเวลามารับราชการด้วยค้าขายไปด้วยได้
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 07 ก.ค. 10, 11:55

ขอแสดงความคิดเห็นค้นกำกล่าวของคุณหลวงที่ว่า เศรษฐกิจตกต่ำในตอนปลายสมัยรัชกาลที่ ๖ ต่อ รัชกาลที่ ๗ ว่าเป็นผลมาจากสงครามโลกครั้งที่ ๑ นั้น  ผลของสงครามนับว่าเป็นเหตุให้ราคาสินค้าในตลาดโลกสูงขึ้นก็จริงครับ  แต่วิกฤตเศรษฐกิจโลกจริงๆ ในคราวนั้นเกิดจากการผันผวนของค่าเงินสเตอริงค์ในปี พ.ศ. ๒๔๖๒  ที่มีการเก็งกำไรจากโลหะเงินในตลาดลอนดอน  ประเทศต่างๆ ที่อิงค่าเงินของตนกับเงินสเตอริงค์ล้วนได้รับผลกระทบกันไปทั่ว  ประเทศไทยเรานั้นเหมือนเคราะห์ศ้ำกรรมซัด  เพราะในช่วงเริ่มสงครามในยุโรปนั้น  ล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๖ ทรงตัดสินพระทัยลงทุนในกิจการสาธารณูปการที่สำคัญ ๒ รายการ คือ การพัฒนาโครงการชลประทานลุ่มเจ้าพระยา  มีการขุดคลองส่งน้ำจากแม่เจ้าพระยาไปแม่น้ำป่าสัก  มีการสร้างเขื่อนพระราม ๖  ซึ่งอำนวยประโยชน์แก่การเพาะปลูกกว่า ๖๐๐,๐๐๐ ไร่ ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี  สระบุรี  พระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี  อักโครงการหนึ่ง คือ การขยายเส้นทางรถไฟไปทั่วพระราชอาณาจักร  

เมื่อเริ่มโครงการทั้งสองราคาสินค้าทุนที่สำคัญ คือ เหล็ก ยังไม่มีการปรับราคามากนัก  แต่ผลของสงครามทำให้สินค้าขาดแคลน  เมื่อสงครามสงบลงสามารถสั่งซื้อบานประตูเหล็กระบายน้ำและรางรถไฟจากต่างประเทศได้แต่ราคาก็ถีบตัวสูงขึ้นเพราะวัตถุดิบขาดแคลน  ซ้ำร้ายยังเจอวิกฤตค่าเงิน (ขอให้ทุกท่านนึกถึงวิกฤตค่าเงินบาทเมื่อคราววิกฤตต้มยำกุ้ง) ทำให้ราคาสินค่าที่แพงอยู่แล้ว  ยิ่งแพงหนักขึ้นไป  เพราะอัตราแลกเปลี่ยนผันผวน  ในขณะที่สถานการณ์ภายในประเทศเกิดน้ำท่วมใหญ่ในปี ๒๔๖๐ ที่เรียกว่า น้ำท่วมปีมะเส็ง  ต่อด้วยฝนแล้งติดต่อกันอีก ๓ ปี  ทำให้ปริมาณข้าวที่จะส่งออกลดน้อยลง  ทำให้รายได้จากการส่งออกลดลงซ้ำเข้าไปอีก  ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ จึงต้องทรงกู้เงินจากตลาดเงินในลอนดอน ๒ คราวๆ ละ ๒ ล้านปอนด์  เพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาท  โดยใช้ความมั่นคงของประเทศยามเป็นหลักประกัน  เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทยที่เราสามารถกู้เงินจากต่างประเทศโดยไม่ต้องเสียดินแดนหรือต้องเสียประโยชน์อย่างอื่นเพื่อตอบแทนการให้กู้ยืม  ผลจากการกู้ยืมเงินสองคราวนี้เองที่เป็นที่มาของคำกล่าวที่ว่า ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงใช้จ่ายเงินเปลืองจนทำให้ประเทศประสบปัญหาเศรษฐกิจจนต้องดุลย์ข้าราชการในตอนต้นรัชกาลที่ ๗  ทั้งที่เมื่อการสร้างเขื่อนพระราม ๖ แล้วเสร็จในตอนปลายรัชกาล  สามารถเพิ่มผลิตข้าวส่งออกจนมีรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศมากพอที่จะส่งชำระคืนต้นเงินกู้นั้นได้ก่อนกำหนด

วิกฤตเศรษฐกิจที่เป็นผลจากสงครามโลกครั้งที่ ๑ นั้นมาปรากฏผลรุนแรงในปี ๒๔๗๓  ที่ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทของสหรัฐอเมริกาล่มจนใบหุ้นกลายเป็นเศษกระดาษ  วิกฤตครั้งนี้ว่ากันว่า เป็นผลมาจากราคาสินค้าที่สูงขึ้นเพราะสงครามโลกครั้งที่ ๑  ทำให้นักการเงินมาปั่นตลาดเงินสเตอริงค์จนปั่นป่วน  รัฐบาลอังกฤษจึงเปลี่ยนมาตรฐานเงินตราจากสเตอริงค์มาเป็นมาตรฐานทองคำ  แล้วนักค้าเงินก็พากันมาป่วนตลาดทองคำอีก  เศรษฐกิจเลยล้มระเนนระนาดไปทั่วโลก  แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้วิกฤตการเงินในปี ๒๔๗๓ นี้  ทั่วโลกจะได้รับผลรุนแรงกว่าวิกฤตในปี ๒๔๖๒  แต่ประเทศไทยแม้จะได้รับผลกระทบบ้างแต่กลับเสียหายน้อยกว่าช่วงปลายรัชกาลที่ ๖  เพราะล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงวางรากฐานที่สำคัญทางเศรษฐกิจไว้พร้อมแล้ว  อีกทั้งสามารถจัดเก็บอากรขาเข้าและขาออกได้เกินกว่าร้อยชักสาม  อันเป็นผลจากการที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงนำประเทศสยามเข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑  จนเป็นผู้ชนะในสงครามและสามารถแก้สนธิสัญญาภาษีร้อยชักสามได้สำเร็จ

ในเรื่องพระยาโชฎึกฯ บรรพบุรุษของคุณเปรมทำการค้าอะไรจนร่ำรวยนั้น  คงต้องย้อนกลับไปพิจารณาถึงเรื่องการค้าสำเภาในยุคก่อนที่สยามจะทำสัญญาภาษีร้อยชักสามกับชาติมหาอำนาจ  ในยุคก่อนหน้านั้นกรมท่าซ้ายมีหน้าที่ควบคุมการค้าขายทางเรือที่มาจากฝั่งตะวันออกแม่น้ำเจ้าพระยา  เมื่อเรื่องสำเภาแล่นเข้ามาเจ้าพนักงานของหลวงจะเป็นผู้เลือกสินค้าขึ้นพระคลังหลวงก่อน  ต่อจากนั้นพระยาโชฎึกฯ เจ้ากรมท่าซ้ายคงจะเป็นผู้เลือกซื้อสินค้าเป็นลำดับถัดมา  ก่อนที่จะถึงพ่อค้าลำดับรองๆ ลงมา  ในเมื่อพระยาโชฎึกฯ สามารถเลือกซื้อสินค้าได้ก่อนคนอื่น  ย่อมได้ของดีที่สามารถโก่งราคาขายได้มากโดยไม่มีความเสี่ยงเหมือนการรับผูกอากรอื่นๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 ก.ค. 10, 12:16 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 07 ก.ค. 10, 13:14

ขอบคุณคุณวีมี ที่มาให้ข้อมูลเรื่องเศรษฐกิจโลกสมัยปลายรัชกาลที่ ๖  ซึ่งถ้าจะว่าไปคงเป็นผลมาจากทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในประเทศ


ส่วนกรณีการค้าสำเภานั้น  ความเห็นของคุณวีมีมีความเป็นไปได้เหมือนกัน  แต่ก็ไม่แน่ว่าพระยาโชฎึกจะเป็นคนแรกที่ได้เลือกสินค้าในสำเภาสินค้า   เพราะในช่วงรัชกาลที่ ๓ ปลายๆ ต่อกับรัชกาลที่ ๔  สกุลบุนนาคโดยสมเด็จเจ้าพระยามหาประยุรวงศ์  เป็นผู้กำกับดูแลราชการพระคลัง กรมท่า และราชการอื่นๆอีก   ท่านผู้นี้นับว่าเป็นที่หนึ่งรองจากพระเจ้าแผ่นดิน   ท่านย่อมได้เลือกก่อน   ส่วนพระยาโชฎึกฯ คงต้องเป็นผู้เลือกในลำดับรองต่อจากสมเด็จเจ้าพระยา   ข้อสงสัยต่อมาคือ   หลังจากรัชกาลที่ ๓ มาแล้วการค้าขายกับเมืองจีนคงค่อยๆ ลดลงไปตามลำดับ   แต่การค้าขายกับฝรั่งมากขึ้น   ถึงตอนนั้นพระยาโชฎึกจะมีรายได้มาจากไหนเข้ามาทดแทน  (อันนี้ว่ากันในทางสันนิษฐานบนพื้นฐานประวัติศาสตร์)


เรื่องการรับผูกภาษีอากรนั้น   ก็อยากทราบความเสี่ยงในการรับผูกภาษีอากรนั้นมีอะไรบ้าง  ถ้าเป็นภาษีที่ได้จากผลผลิตการเกษตร   ถ้าเกิดฝนแล้ง  โรคระบาด  น้ำท่วม  หรือภัยพิบัติอื่นใดที่ทำให้ผลผลิตได้ไม่แน่นอน   อันนี้ก็นับว่าเป็นความเสี่ยงที่คุมได้ยาก   แต่ถ้าเป็นอากรต้มสุรา   อากรบ่อนเบี้ย   ความเสี่ยงที่จะขาดทุนมีน้อยมาก   ไม่เช่นนั้นจีนหงคงไม่ได้เป็นเจ้าสัวร่ำรวย
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 20 คำสั่ง