เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 76612 คุณเปรมใน"สี่แผ่นดิน" มาจากสกุลใด
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 21 มิ.ย. 10, 17:09


อนุภรรยาของเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี

หม่อมขลิบ

หม่อมชู

หม่อมพุ่ม

หม่อมขะเมีย เปลี่ยนชื่อเป็นหม่อมทอง


(รายละเอียดของบุตรธิดามีครบ  ขอเว้นว่างไป)
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 21 มิ.ย. 10, 20:31


       ประวัติของพระยาธรรมจรัญญานุกูลมนตรี(จำเริญ)


     จำเริญไม่ได้ถวายตัวทำราชการเป็นมหาดเล็กไล่กาเหมือนคนอื่น ๆ     สมัตรไปอยู่วัดกับพระอาจารย์มหานิกายที่วัดสุทัศน์เทพวราราม 

เล่าเรียนเขียนอ่าน  อักษรไทยและขอม

ได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่สองพรรษา

ตั้งใจเล่าเรียนเขียนอ่านพระปริยัติธรรมคัมภีร์พระบาลีจนชำนาญ

ภายหลังสามเณรจำเริญได้ไปมาคบหาสมาคมด้วยพระสงฆ์คณะพระธรรมยุติกะนิกายได้สองพรรษา   มีความเลื่อมใสศรัทธา

จึงลาพระอาจารย์มหานิกาย    ย้ายไปเล่าเรียนพระปริยัติธรรมคัมภีร์พระไตรปิฎก กับพระอาจารย์พระครูวรวิเศษคณะรักษ์  วัดพิไชยญาติการาม

ได้กล้าหาญเข้าสอบพระไตรปิฏกธรรม   บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท   ในท่าทกลางประชุมพระเถราจารย์ 

หน้าพระที่นั่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว   ไล่ได้สามประโยค

เป็นสามเณรเปรียญ

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 21 มิ.ย. 10, 20:50


เมื่ออายุครบ ๒๑   ได้อุปสมบทกรรมเป็นพระภิกษุสงฆ์   ภายในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร


พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครั้งยังทรงผนวชประทับอยู่ที่วัดบวรนิเวศ  เป็นประธานพระอุปัทยาจารย์

กรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์  ยังเป็นพระบวรวงศ์เธอชั้น ๒ พระองค์เจ้าฤกษ์เป็นพระกรรมวาจาจาริย์

สมเด็จพระสังฆราช(สา) แต่ยังเป็นพระอมรโมลีพระราชาคณะสามัญ  เป็นพระอนุสาสนาจาริย์


ครั้นอุปสมบทได้ ๔ พรรษา  ได้เข้าไปสอบไล่อีก


       คราวนี้ที่ประชุมมีความรังเกียจ ว่า  ไล่ได้เมื่อเป็นพระสามเณรนั้น ๓ ประโยค โดยแปลแก้ไข

เรื่องนี้มีผู้พูดกระซิบกันเบาๆ       

ความทราบถึงใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาท  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   จึงทรงตัดสินว่า  ให้พระมหาจำเริญแปลใหม่ตั้งแต่ต้น

พระมหาจำเริญจับสลาก  ถูปประโยคยากนับเป็นที่ ๑

สอบไล่ได้คราวเดียวถึงเก้าประโยคใหม่

จึงสมมุติว่าพระมหาจำเริญ ๑๒ ประโยค   เป็นการอัศจรรย์  แปลกประหลาดกว่าเปรียญติ์สามัญที่เคยแปลมาแต่ก่อน

จึงเป็นมหาเปรียญเอกอุ  ปรีชาสามารถหนักหนา

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 21 มิ.ย. 10, 21:01


       หลังจากที่ลาสิกขาบทออกมา   นายจำเริญได้ถวายตัวทำราชการเป็นมหาดเล็ก  ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในคราวนั้นเอง  พระบามสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ดำรัสให้เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ ออกหมายตั้ง นายจำเริญ เป็นที่

นายพลพ่ายมหาเเล็กหุ้มแพร ทีเดียวในครั้งนั้น



(ครั้งนั้น  การตั้งขุนนางใช้บัตรหมาย   ยังมิได้ใช้สัญญาบัตร    สัญญาบัตรมีใช้ครั้งแรกในปีกุนตรีศก  ต้นรัชกาลที่ ๔)
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 21 มิ.ย. 10, 21:23

     ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรด ฯให้เลื่อน นายพลพ่าย(จำเริญ) ให้เป็นนายจ่ารง มหาดเล็ก

แล้วเลื่อนเป็นหลวงนายเดช    ต่อมาเลื่อนเป็นเจ้าหมื่นศรีสรรักษ์


     ครั้นในรัชกาลที่ ๕  โปรดเกล้า ฯ ให้เป็นพระยาราไชยเจ้ากรมพระคลังในซ้าย

แล้วเลื่อนเป็นพระยาธรรมจรัญญานุกูลมนตรี ผู้ช่วยราชการกรมวัง  แลเป็นอธิบดีคลังในซ้าย  คลังในขวา  คลังวิเศษ  คลังราชการ


     เมื่อเป็นหลวงนายเดช และต่อมาเป็นเจ้าหมื่นศรีสรรักษ์   ในรัชกาลที่ ๔ นั้น  ได้โปรดเกล้าพระราชทานเงินพิเศษนอกจากเบี้ยหวัดปีละ ๑๕ ชั่ง

เป็นส่วนพิเศษอีก ๑๕ ชั่ง   จากเงินภาษีอากรพริกไทย


     ในรัชกาลที่ ๕ นั้น  โปรดเกล้าให้ท่านเจ้าคุณเป็นผู้พิจารณา  ตัดสินความฏีกาของราษฎร            

ด้วยเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย  ว่ามีความซื่อสัตย์สุจริตแท้  รู้จักบุญและบาป  ตั้งอยู่ในคติบุติธรรม

ได้รับพระราชทานเงินเลี้ยงชีพวันละ ๑ บาท คล้ายกับเสนาบดีทั้งหกตำแหน่ง  และได้เป็นสมาขิก เคาน์ซิลออฟสเตทด้วย

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 21 มิ.ย. 10, 21:49

แก้ไขเพิ่มเติม คคห ๒๙  เรื่อง ลูกคนที่สี่ของเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี(บุญศรี)


๔.     ท่านเปลี่ยน   สมรสกับพระยาศิริไอยสวรรค์(นุด)  ผู้เป็นบุตรของพระยาศิริไอสวรรค์(เจ๊สัวฟัก)


เจ๊สัวฟัก เป็นน้องร่วมบิดามารดากับ เจ๊สัวบุญมี  ผู้เป็นบิดาของเจ้าจอมมารดาเอม   พระชนนีในกรมพระราชวังบวร ฯ ในรัชกาลที่ ๕


นับญาติได้ว่า  พ่อผัวของน้องสาวเจ้าคุณธรรมาจรัญญานุกูลมนตรี คือ อาแท้ ๆ ของ เจ้าจอมมารดาเอม

หรือ บิดาของเจ้าจอมมารดาเอม เป็น ดองกับเจ้าคุณ ธรรมาจรัญญานุกูลมนตรี


คนเราเขาก็พอนับหน้าถือตากันได้       ยิ่งเป็นผู้ที่เป็นข้าราชการชั้นพระยาพานทอง ก็พอโยงใยว่าเป็นดอง  หรือเป็นเขย  เป็นสะใภ้



เพื่อน ๆ ในเรือนไทยนับญาติของขุนนางไทยกันเก่งกาจชาญสมร  ส่งหลังไมค์มาตักเตือนนักอ่านกันจ้่าละหวั่น ว่านับดี ๆ นะ

จ้ะ  

นับไม่ถูกก็นับใหม่ได้จ้ะ  เพราะข้อมูลนี้เป็นของดิฉันเอง  ไม่ได้ไปลอกใครมา
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 21 มิ.ย. 10, 22:06

     กระทู้นี้เป็นการนับญาติ  ว่า คุณเปรมมหาดเล็ก  ได้แรงบันดาลใจมาจากสกุลใดบ้าง


คุณเปรมนั้นยังมีน้องชายชื่อคุณเปรื่อง  คุณเปรมให้ดูกิจการค้่าของทางบ้าน

น้องสาวชื่อคุณปรุงอ่อนกว่าพลอยปีหนึ่งหรือสองปี  ออกเรือนไปแล้ว
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 22 มิ.ย. 10, 06:33

บุตรพระยาธรรมจรัญญานุกูลมนตรี  กับ ท่านผู้หญิงแจ่ม ภรรยาแต่งงาน

ท่านผู้หญิงแจ่มเป็นบุตรี  พระไมตรีวานิช(เจ๊สัวแฮ) เศรษฐีจีนพ่อค้าใหญ่ในกรุงเทพ ฯ      มีบุตร ๕ คน คือ

๑.  เป็นหญิง ชื่อ  ท่านไพรำ

๒.  เป็นหญิงชื่อท่านอำพัน
     
     ถวายตัวทำราชการฝ่ายในพระบรมมหาราชวังรัชกาลที่ ๔  กรุงเทพ ฯ   ได้เป็นเจ้าจอมอยู่งาน

     ครั้นรัชกาลที่ ๔ ล่วงไปแล้ว(หมายความว่าเวลาผ่านไป  ขออนุญาตแปลความเนื่องจากเกรงว่าจะมีคนหวังดีเข้ามาแก้ไข)    ท่านอำพัน
   
     ได้ลาออกมาทำการวิวาหมงคล กับ พระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน(แฉล้ม) บุตรพระยากสาปน์กิจโกศล(โหมด)

     (รายละเอียดเรื่องพระยาอภิรักษ์ราชอุทยานนั้น  มี ละเอียดมากกว่าในหนังสือเล่มอื่น  แต่ขอเก็บไว้ก่อน เพราะท่านที่แวะมาอ่าน อาจสับสนได้)
     
     ท่านอำพัน มี บุตร ๒ คน  คือ

     ๒.๑     ท่านประไพ        รับราชการฝ่ายในพระบรมมหาราชวังรัชกาลที่ ๕

     ๒.๒     นายอุทัยวัน   ได้เป็น  หลวงนรราชจำนงค์   ในกรมพระอาลักษณ์  รัชกาลที่ ๕

     ๒.๓     ตกโลหิต  ไม่ทราบว่าหญิงหรือชาย

     ๒.๔     ยัญยง   ต่อมาได้เป็นหลวงสรจักรนุกิจ
              ประวัติมียืดยาว หนึ่งหน้ากระดาษ  ไม่สามารถนำมาลงได้
              แต่งงานกับ ท่านชุ่ม  บุตรีหลวงจิตรจำนงค์(เจ๊สัว กาซิ่ว)

      ๒.๕   ท่านวงศ์แข  เป็นหญิง
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 22 มิ.ย. 10, 07:34


       อนุภรรยา ของ พระยาธรรมจรัญญานุกูลมนตรี(จำเริญ)

       ตอนแรกคิดจะ ลงแต่ชื่อ อนุภรรยาไว้เท่านั้น  อ่านผ่านไปเห็นว่า บุตรบางคนได้รับราชการมียศฐาบรรดาศักดิ์

       และที่สำคัญคือได้สมรสกับบุตรขุนนางมีชื่อในราชการ     และประสงค์ตั้งจิตจะแบ่งปันข้อมูลให้เพื่อนสมาชิกเรือนไทยบางคนที่สนใจเรื่องสกุลขุนนาง ตื่นเต้นกันบ้าง 

       เพราะเศษเสี้ยวของประวัติศาสตร์ ว่า ท่านผู้ใด ทำงานอยู่กรมอาลักษณ์  ก็ทำให้ นักอ่านหนังสือเก่า ตื่นเต้นยินดี  จดข้อมูลไว้ในปูมเล่มมหึมา เล่มสีแดง

       


ท่านขำ       มีบุตร ๒ คน       ถนอม(ญ)      ถวิล(ญ)


ท่านเอี่ยม    มีบุตร ๓ คน
       นายกระจ่างตา       ได้เป็นนายเสน่ห์หุ้มแพร      นายขันหุ้มแพรต้นเชือก   นายจ่าเรศ   หลวงนายฤทธิ์นายเวร    เจ้าหมืนศรีศรีสรรักษ์ราช   พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร
       แล้วเป็นพระยามหานิเวศน์ในกระทรวงวัง
       พระยามหานิเวศน์ มี ภรรยา ๓ คน        ภรรยาแต่งงานชื่อ ท่านผู้หญิงอำพัน  เป็นบุตรี พระยาศรีสุนทรโวหาร(ฟัก)
       ภรรยาแต่งงานคนที่สองชื่อ ท่านชุ่ม เป็นบุตรี พระยารามกำแหง(กรับ)  วงศ์เจ้าพระยานครศรีธรรมราช(พัฒน์)
       ภรรยาแต่งงานคนที่ ๓   ชื่อเจิม

       บุตรีชื่อปรานี   แต่งงานกับหลวงพลนิกาย(ถนอม)

       บุตรีชื่อ สีจันทน์  รับราชการในพระบรมมหาราชวัง


ท่านจ้อย      มีบุตรชายหนึ่งคนชื่อ นายชาตรี  ได้เป็นหลวงโกษานุการสวัสดิ์

ท่านจั่น     มีบุตรชายหนึ่งคน   ชื่อ นายชลอ  ได้เป็นหลวงพิไชยชาญยุทธ์

ท่านโหมด   มีบุตร ๔ คน
       นายกัษฎา   ได้เป็นพระยาอรรคราชวรธารา
       นายมานพ  ได้เป็นจมื่นมหาสนิท
       เป็นหญิงถึงแก่กรรม
       เป็นชาย  ชื่อ เกยไชย  ถึงแก่กรรม

ท่านรอด  มีบุตร ๒ คน
       เป็นหญิงชื่อ แพรหลิน หรือ มาลี  แต่งงานกับ พระยาสุจริตมหิศรภักดิ์(ซิมก๊อง)จางวางเมืองระนอง
       เป็นชาย  ชื่อ สินธุ

ท่านเปลี่ยน  มีบุตร ๓ คน
       นายประสิทธิ์
       นายประสม
       พระอนันต์นรารักษ์

ท่านเลี่ยม   มี บุตรีชื่อ ไพฑูรย์

ท่านพริ้ง ภรราใหม่แต่ยกเป็นท่านผู้หญิง
       บุตรชายชื่อนายเขจร  ได้เป็นหลวงอินทรมนตรี
       เจ้าจอมก้อนแก้ว  ในรัชกาลที่ ๕


       นักประวัติศาสตร์หลายคนบ่นกันว่า ประวัติเจ้าจอมหายากเหลือเกิน 
       เลยจดมาฝากดั่งนี้แล

ขอจบเรื่อง บุตพระยาธรรมจรัญญานุกูลมนตรีไว้เพียงนี้ (ทีจริงยังมีข้อมูลอีกมาก) เห็นพอสมควรแล้ว

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 22 มิ.ย. 10, 09:58


เรียน ท่านที่อาศัยอยู่ข้างวัง ว่า   ที่ แนะนำให้เขียน ผลงานของเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี(บุญศรี)ต่อไป โดยใช้
เอกสารอื่นๆ



เป็นถึงเจ้าพระยาทั้งที


ขอเรียนอย่างตรงที่สุดว่า    กระทู้นี้ไม่ได้เขียนเรื่อง ผลงานของเจ้าพระยา เช่นโดนบาเลสเตียฟ้อง
บาเลสเตียนั้นเมื่อกลับไปเมืองเขา  ก็ อ่วมอรทัย เพราะโดนรัฐสภาสอบว่า ไปทำทรามมารยาทได้อย่างไร
จมื่นไวยท่านเขียนแล้วฝากกัปตันไป   ทีนี้อีตากัปตันก็ไม่ชอบตาบาเลสเตียอยู่แล้ว   

ทั้งหมดนี้ก็อ่านมาจากเอกสารการประมูลของคริสตี้    ที่รัฐสภาอเมริกันเก็บไว้



เพียงแสดงวงศาคณาญาติ  จาก เอกสารอ้างอิงที่ไม่เคยมีใครเขียนถึงมาก่อน
เมื่อนำมาเขียนนั้นก็ได้พิจารณาตัดทอนข้อมูลบางอย่างออกไปแล้ว

เรื่องอื่นๆนั้น  เอกสารอ้างอิงก็พอมีอยู่ทั่วไป  พอหาซื้อกันได้ ราคาไม่ถึงกับสดุ้ง
ลอกกันแกรกกราก  ไม่เบื่อบ้างฤา

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 22 มิ.ย. 10, 15:40

บุตรพระยาธรรมจรัญญานุกูลมนตรี  กับ ท่านผู้หญิงแจ่ม ภรรยาแต่งงาน

ท่านผู้หญิงแจ่มเป็นบุตรี  พระไมตรีวานิช(เจ๊สัวแฮ) เศรษฐีจีนพ่อค้าใหญ่ในกรุงเทพ ฯ      มีบุตร ๕ คน คือ

๑.  เป็นหญิง ชื่อ  ท่านไพรำ

๒.  เป็นหญิงชื่อท่านอำพัน    
     ถวายตัวทำราชการฝ่ายในพระบรมมหาราชวังรัชกาลที่ ๔  กรุงเทพ ฯ   ได้เป็นเจ้าจอมอยู่งาน

     ครั้นรัชกาลที่ ๔ ล่วงไปแล้ว(หมายความว่าเวลาผ่านไป  ขออนุญาตแปลความเนื่องจากเกรงว่าจะมีคนหวังดีเข้ามาแก้ไข)    ท่านอำพัน
    
     ได้ลาออกมาทำการวิวาหมงคล กับ พระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน(แฉล้ม) บุตรพระยากสาปน์กิจโกศล(โหมด)

     (รายละเอียดเรื่องพระยาอภิรักษ์ราชอุทยานนั้น  มี ละเอียดมากกว่าในหนังสือเล่มอื่น  แต่ขอเก็บไว้ก่อน เพราะท่านที่แวะมาอ่าน อาจสับสนได้)
    
     ท่านอำพัน มี บุตร ๒ คน   คือ

     ๒.๑     ท่านประไพ        รับราชการฝ่ายในพระบรมมหาราชวังรัชกาลที่ ๕

     ๒.๒     นายอุทัยวัน   ได้เป็น  หลวงนรราชจำนงค์   ในกรมพระอาลักษณ์  รัชกาลที่ ๕

     ๒.๓     ตกโลหิต  ไม่ทราบว่าหญิงหรือชาย

     ๒.๔     ยัญยง   ต่อมาได้เป็นหลวงสรจักรนุกิจ              
                 ประวัติมียืดยาว หนึ่งหน้ากระดาษ  ไม่สามารถนำมาลงได้
                  แต่งงานกับ ท่านชุ่ม  บุตรีหลวงจิตรจำนงค์(เจ๊สัว กาซิ่ว)

     ๒.๕   ท่านวงศ์แข  เป็นหญิง

คุณวันดีครับ

ท่านผู้หญิงแจ่ม มีบุตรด้วยพระยาธรรมจรันยานุกูลมนตรี (จำเริญ บุรณศิริ) ๕ คน  แต่ทำไมเวลาลงชื่อบุตรของท่านกลับเหลือ ๒ คนเท่านั้น   แต่พอกล่าวถึงคุณหญิงอำพัน ซึ่งเป็นภรรยาพระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน(แฉล้ม  อมาตยกุล)   มีบุตร  ๒ คน  พอแจกแจงชื่อ   กลับมี ตั้ง ๕ คน  ท่าทางจะมีอะไรผิดพลาดกระมังครับ


ที่ถูกต้องน่าจะเป็นดังนี้

พระยาธรรมจรันยานุกูลมนตรี (เจริญ หรือ จำเริญ  บุรณศิริ) มีบุตรกับ ท่านผู้หญิงแจ่ม  ธิดาพระไมตรีวานิช(เจ๊สัวแฮ)  จำนวน  ๕ คนดังนี้

๑.หญิงชื่อ ไพรำ หรือ ไพรรำ  (แปลว่าอะไรไม่รู้ แต่คำคำนี้พบในกฎหมายตราสามดวง  ในชื่อผ้าชมพูไพรำ)

๒.หญิง ชื่อ อำพัน เป็นภรรยาพระอภิรักษ์ราชอุทยาน (แฉล้ม  อมาตยกุล) บุตรพระยากสาปน์กิจโกศล (โหมด  อมาตยกุล)  มีบุตรธิดาด้วยกัน  ๒ คน คือ
    
    ๒.๑     ท่านประไพ        รับราชการฝ่ายในพระบรมมหาราชวังรัชกาลที่ ๕

    ๒.๒     นายอุทัยวัน   ได้เป็น  หลวงนรราชจำนงค์   ในกรมพระอาลักษณ์  รัชกาลที่ ๕

๓.ตกโลหิต  ไม่ทราบว่าหญิงหรือชาย

๔.ชาย  ชื่อ ยัญยง   ต่อมาได้เป็นหลวงสรจักรนุกิจ แต่งงานกับ ท่านชุ่ม  บุตรีหลวงจิตรจำนงค์(เจ๊สัว กาซิ่ว)  (ข้อมูลของผมว่า  ชายชื่อ บรรยง ได้เป็นหลวงไกรกรีธา)

๕.หญิง  ชื่อ วงแข  

อย่างนี้กระมังครับ   ฮืม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 22 มิ.ย. 10, 16:16

ในหนังสือ ลำดับสกุลเก่า ภาคหนึ่ง   มหาอำมาตย์ตรี  พระยารัตนกุลอดุลยราชภักดี  (จำรัส  รัตนกุล) เรียบเรียงและรวบรวม  พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น ๔ พระองค์เจ้าหญิงกนกวรรณเลขา  ๒๔๖๓  กล่าวถึงบุตรธิดาของพระยาธรรมจรันยานุกูลมนตรี (เจริญ หรือ จำเรญ  บุรณศิริ) ดังนี้   (ไม่ได้ระบุชื่อมารดาแต่ละคนไว้)

๑.ธิดา ชื่อ ไพรรำ
๒.คุณหญิงอำพัน  ภรรยาพระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน (แฉล้ม  อมาตยกุล)
๓.หลวงไกรกรีธา บรรยง
๔.ธิดา  ชื่อ วงแข
๕.หลวงอินทรมนตรี  เขจร
๖.เจ้าจอมก้อนแก้ว  ในรัชกาลที่ ๕
๗.พระยามหานิเวศนานุรักษ์ กระจ่าง
๘.ธิดา ชื่อ ปรานี
๙.ธิดา ชื่อ ศรีจันทร์ ทำราชการฝ่ายในในรัชกาลที่ ๕
๑๐.พระยาอรรคราชวราทร  ภัศดา

๑๑.จมื่นมหาสนิท  มานพ
๑๒.ธิดา ชื่อ อบเชย
๑๓.นายเกยไชย
๑๔.ธิดา  ชื่อ ไพฑูรย์
๑๕.นายประสิทธิ์
๑๖.นายประสม
๑๗.พระยาอุเทนเทพโกสินทร์ ประสาร
๑๘.ธิดา ชื่อ แพรหลิน
๑๙.นายสินธุ
๒๐.หลวงโกษานุการสวัสดิ์  ชาตรี


๒๑.หลวงพิไชยชาญยุทธ  ชลอ
๒๒.ธิดา ชื่อ ถนอม
๒๓.ธิดา ชื่อ ถวิล

เหมือนกับของคุณวันดี โดยส่วนใหญ่  จะต่างกันบ้างเพียงเล็กน้อย   ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 22 มิ.ย. 10, 21:10

รอคำตอบจากคุณวันดีเช่นกันค่ะ
จบกระทู้นี้แล้ว จะมาเล่าให้ฟังว่าแม่พลอยมาจากสกุลไหน
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 23 มิ.ย. 10, 04:07


ขอบคุณค่ะคุณหลวงที่กรุณาเตือน

ใน คคห ๓๗

๒.๓     ที่ถูก คือ  ๓

๒.๔     คือ   ๔

๒.๕     คือ  ๕

บรรดาศักดิ์ของบุตรคนที่ ๔   คือ พันโท หลวงสรจักรานุกิจ

ประวัติของท่าน  มีการเปลี่ยนชื่อ  ความหมายของชื่อ  ประวัติการเลื่อนยศ   ยาว ๓ หน้ากว่า
มีรายละเอียดของพ่อตาด้วย ว่า

เจ๊สัวกงซิ่ว  บ้านอยู่ริมฝั่งลำน้ำเจ้าพระยา  ฟากตะวันตก  ตรงหน้าสถานทูตอังกฤษ   แต่ก่อนเรียกว่าห้างต้นไทร
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 23 มิ.ย. 10, 04:48

หนังสืออ้างอิงที่คุณหลวงใช้  พิมพ์ หลัง หนังสืออ้างอิงที่ดิฉันใช้ถึง   ๕๘ ปี

รายละเอียดเรื่องชื่อบุตร คง ละเอียดกว่า



     เพื่อนๆของเราต่างก็มีข้อมูลใกล้เคียงกัน  อาจจะแตกต่างในรายละเอียด ซึ่งนักอ่านจะต้องระแวงไว้ก่อนว่า

ผู้บันทึกผู้มีชีวิตอยู่ใกล้เวลาที่สุด     ทำไมบันทึกไว้เช่นนั้น   ทำไมข้ามรายละเอียดไป  มีเหตุผลอะไร    แล้วจึงค้นไปรอบๆตัว

บางเรื่องที่ดูง่ายเพราะมีการเล่ากันมา และพิมพ์หลายสิบครั้ง  ข้อมูลก็เหมือนกันเป๊ะ ๆ



     รายชื่อบุตรนั้น  มหามุข ฯ  จะบันทึกแต่บุตรที่รับราชการ หรือ สมรสกับข้าราชการ เท่านั้น


     ส่วนดิฉันนั้น  ถ้าเห็นว่าบุตรีของท่านใด  ได้รับราชการฝ่ายในเป็นเจ้าจอม  ก็จะบันทึกไว้  เพื่อให้ท่านที่สนใจได้เห็น

ถึงแม้ว่าประวัติในตระกูลบางตระกูลไม่นิยมที่จะบันทึกไว้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 20 คำสั่ง