เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 76745 คุณเปรมใน"สี่แผ่นดิน" มาจากสกุลใด
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 23 มิ.ย. 10, 04:55


ประวัติของ พระยาโชฎึกราชเศรษฐี(เถียน)  ดูได้จาก  www.jotikasthira.com


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 23 มิ.ย. 10, 05:21


       ตัวละครในสี่แผ่นดินนั้น  เป็นที่สนใจของคนอ่านเสมอมา    คุยกันได้นาน

เมื่อคุณเทาชมพูจะกรุณามาเล่าเรื่องสกุลแม่พลอย    ดิฉันก็จะปัดกวาดบริเวณ(เก็บหนังสือที่กระจายอยู่)  ชงน้ำชากาใหม่  และนั่งเฝ้า

           

ได้เล่าเรื่องสกุลของหม่อมแหววมาตามสมควรแล้ว

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 23 มิ.ย. 10, 11:38


       ประวัติเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี(บุญศรี)
       ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  บุญศรีถวายตัวเป็นมหาดเล็ก    ต่อมาได้เป็นมหาดเล็กรายงานตรวจอาหารช้างเผือก
         ครั้นในแผ่นดินพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย   ท่านได้เป็นนายเวรมหาดเล็กในเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี
          เมื่อเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีสิ้นพระชนม์และถวายพระเพลิงแล้ว  ท่านจึงไปถวายตัวในวังกลาง  คือพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
          แต่ยังทรงกรมเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์  อธิบดีกรมท่าว่าราชการต่างประเทศ   ทรงบังคับบัญชาการกรมพระคลังมหาสมบัติ  กรมพระตำรวจหน้าแลหลัง   ทรวกำกับกรมลูกขุนศาลหลวง   แลเป็นอธิบดีศาลฎีกา
       บุญศรี กำกับบัญชีกลาง กรมพระคลังมหาสมบัติ  คู่กับ พระยาราชมนตรี(ภู่)   นายบุญศรีมีหน้าที่บันทุกสินค้าลงสำเภา เมื่อถึงฤดูมรสุมสำเภาจะออกไปค้าขายเมืองจีน  จึงเป็นผู้ชำนาญในกิจการทั้งปวงในกรมท่า     ได้เป็นจ่ารงหุ้มแพร   ได้เป็นผู้ครวจราชการโรงทองและพระคลังทอง   โปรด ฯ เลื่อนเป็น จมื่นไวยวรนาถมหาดเล็กเวรขวา  ได้กำกับกรมหมอ  และ กรมลูกขุนศาลหลวง   ได้เลื่อนเป็นพระยาพิพัฒน์โกษาปลัดทูลฉลองกรมท่า   ได้รับพระราชทานเงินกลางปี
       ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรด ฯ เลื่อนเป็น พระยามหาอำมาตย์   แล้วเลื่อนเป็นเจ้าพระยาธรรมาธิกรณอธิบดี  เสนาบดีกรมวัง
        ในรัชกาลที่ ๕  โปรด ฯ เลื่อนเป็นเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี  จางวางกรมวัง   ถึงแก่อสัญกรรมเมื่ออายุ ๘๖ ปี ๖ เดือน

ได้เทียบเคียงกับ การตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่มสีน้ำเงินแล้ว    มหามุขมาตยา ฯ  ให้รายละเอียดน่าอ่าน


ตอนที่เจ้าพระยาสุธรรมมนตรีถึงแก่อสัญกรรม เมื่อ ปี  ๒๔๑๗  มีข่าวลงในราชกิจจาฯ ปี ๒๔๑๗ หน้า ๑๕๓ ด้วย เนื้อความยาวเต็ม ๑ กระดาษ  ดังนี้ (โดยสังเขป)

ข่าวตาย

เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (บุญศรี) ม.ส.ม., ป.จ.    เดิมเปนมหาดเล็กในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย       

ครั้นล่วงแผ่นดินรัชกาลที่ ๑  ขึ้นสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย     ท่านไม่ได้รับราชการจนสิ้นแผ่นดิน     ด้วยท่านระแวงความผิด    เพราะท่านเปนพระญาติอยู่ในกรมมหื่นศรีสุเรนทร์ กรมหมื่นศรีสุเรนทร์นั้นเปนโทษเมื่อในรัชกาลที่ ๒  ท่านจึงออกจากมหาดเล็กหลวง   ไปเปนนายเวรมหาดเล็กอยู่ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี   ครั้นสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์น้นสิ้นพระชนม์แล้ว  ท่านจึงได้มาฝากตัวอยู่ในพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ให้ทรงใช้สอย     

ครั้นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ ๓ แล้ว   จึ่งได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเป็นที่จ่ารง   โดยโปรดเกล้าฯ ให้กำกับการโรงทอง  ต่อมาได้เลื่อนเป็นที่เจ้าหมื่นไวยวรนาถ  หัวหมื่นมหาดเล็กเวรฤทธิ์  ในครั้งนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ดูแลการในกรมหมอด้วย   

ต่อมา   รัชกาลที่ ๓ ทรงเล็งเห็นว่าท่านควรจะรับราชการในตำแหน่งกรมท่าได้  จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่พระพิพัฒโกษา  ปลัดทูลฉลองกรมท่า   ได้รับพระราชทานเครื่องยศ  ถาดหมากทองคำ ๑  เต้าน้ำทองคำ ๑  กระโถนทองคำ ๑  กับได้กำกับดูแลการช่าง   ทำพระพุทธปฏิมากรฉลองพระองค์พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย  กับพระพุทธเลิศหล้านภาไลย  ทั้งสององค์    นอกจากนี้ยังได้รับทำกรอบคัมภีร์งาแกะเปนลวดลายต่างๆ ทูลเกล้าฯ ถวายจนจบพระไตรปิฎกจบหนึ่ง 

เมื่อล่วงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว   เมื่อขึ้นสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระองค์ทรงเห็นว่า  ท่านเปนผู้ใหญ่แลได้คุ้นเคยชอบพระราชอัธยาศัยมาแต่ก่อน  จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่พระยามหาอำมาตย์  รับพระราชทานเครื่องยศ  พานหมากเหลี่ยมทองคำ   แล้วมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เปนแม่กองสักเลข ฝ่ายหัวเมืองขึ้นในกรมมหาดไทย   ท่านได้ขึ้นไปตั้งกองสักเลขอยู่ที่เมืองพิษณุโลก  นอกจากนั้น  ท่านยังได้ทำตาลปัตรแฉกพุ่มข้าวบิณฑ์ แกะด้วยงาล้วน  จำนวน  ๑  คัน นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ต่อมา  รัชกาลที่ ๔ ได้ถวายตาลปัตรแฉกงานั้นแด่กรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์

ท่านได้สถาปนาพระอารามไว้ในตำบลที่ท่านเกิดอารามหนึ่ง รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯพระราชทานนามอารามนั้นว่า  วัดบุญศิริมาตยาราม  แล้วได้เลื่อนที่เป็นเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี  ที่จตุสดมภ์ในกรมวัง    รับพระราชทานเงินรายวัน  วันละ ๒ สลึง   เบี้ยหวัด เดิมได้รับพระราชทานอยู่  ๗  ชั่ง  ทรงเพิ่มขึ้นอีก  ๘  ชั่ง  รวมเป็น  ๑๕  ชั่ง  ในการพระราชพิธีสงกรานต์  ทรงรดน้ำ  พระราชทานเงินตรา  ปีละ  ๑๐  ตำลึง   ผ้าเสื้อ  ๒ สำรับบ้าง  ๓ สำรับบ้าง ทุกปีเสมอมา 


ครั้นล่วงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว  ขึ้นแผ่นดินรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   พระองค์ทรงพระราชดำริว่า  ท่านชราภาพมาก   จะให้รับราชการฉลองพระเดชพระคุณต่อไป  เห็นจะไม่ไหว  จึงได้พระราชทานความสุข  โดยโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี   เป็นใหญ่ในตามที่ในกรมวัง   พระราชทานตรามหาสุราภรร์มงกุฎสยาม  ๑  และตราปฐมจุลจอมเกล้า ๑ เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านอย่างยิ่ง   นอกจากนั้นยังได้พระราชทานเงินตรารดน้ำประจำเทศกาลสงกรานต์ ปีละ ๑๐ ตำลึง  ผ้าเสื้อ  ๒ สำรับบ้าง  ๓  สำรับบ้าง  เป็นเสมอมา  ส่วนเบียหวัด เงินเดือนซึ่งได้เคยรับพระราชทานมาแต่ครั้งรัชกาลก่อน  ก็ดปรดเกล้าฯ พระราชทานคงเดิม  ไม่ได้ลดหย่อนแม้แต่น้อยหนึ่ง   ท่านรับราชการล่วงมา ๔ แผ่นดิน ด้วยความสุจริต และปฏิบัติตนอยู่ในชอบธรรม


ต่อมา วันเดือนแปดบุรพาสาธ ขึ้นสามค่ำ  ปีจอฉศก  ท่านป่วยขัดปัสสาวะ  ถ่ายปัสสาวะเป็นโลหิต รับประทานอาหารได้น้อยเท่าฝาถ้วยเล็ก  นอนไม่หลับ   พระประสิทธฺหัดถา  หมอวังหน้า  มารักษาอาการคลายลงแต่ยังแปรไป เป็นถ่ายวันละ ๕ ครั้ง ๖  ครั้ง ๑๑ ครั้ง  ๑๒ ครั้ง ได้หาหมอหลวงหมอเชลยศักดิ์มารักษา  อาการก็ไม่ทุเลาลง  รับประทานอาหารได้มื้อละช้อน หรือบางมื้อรับประทานอาหารไม่ได้   มือเท้าบวม    ความทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท  จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าไตร  ๕  ไตร ผ้าขาว  ๘๐ ศอก ๑๐ พับมาให้ท่านทำบุญ  แต่นั้นมาอาการของท่านก็อ่อนระหวยมากขึ้น   

ครั้นวันพฤหัสบดี  เดือน เก้า  ขึ้นแปดค่ำ  เวลา  ๑๑ ทุ่ม เศษ  ท่านถึงแก่อสัญกรรม  อายุได้ ๘๖ ปี ๖ เดือน  โปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศเหลี่ยมตู้บรรจุศพ  ตั้งบนเครื่องชั้น  ๒  ชั้น  เครื่องสูงลายทอง  ๘  คัน  กลองชนะ  ๕  คู่ จ่าปี่ ประโคมตามตำแหน่งยศ

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 23 มิ.ย. 10, 14:03


ขอบคุณค่ะคุณหลวง


เรื่องพระยามหาเทพ(ปาน) ที่คุณหลวงต้องการข้อมูลนั้น         มีความอยู่หน่อยหนึ่ง ใน มหามุข ฯ หน้า ๓๘๒

ว่า  ท่านทรัพย์   ธิดา พระยามหาเทพนั้น  แต่งงานกับจมื่นอินทรามาตย(ไผ่) บุตรคนเล็กของพระยาศรีสหเทพ(ทองเพ็ง)

ปีนี้น้ำน้อย   เราช่วยกันตักน้ำใส่ตุ่มคนละสองสามกระแป๋ง(ใหญ่กว่ากระป๋อง)   เดี๋ยวตุ่มก็เต็มเอง

พระยาศรีสหเทพ(ทองเพ็งนี้)  ร่ำรวยเป็นหนักหนา   ทำพินัยกรรมที  ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มากันพรึ่บ

ถ้านับญาติกับคุณเปรมได้   อิอิ (แต่นับไม่ได้)




     ขออนุญาตเล่าเรื่องความเก่าไว้พอตื่นเต้น

    
     ให้ไปเชิญลูกขุน ณ ศาลาในมาพร้อมกัน      ให้มาทำพินัยกรรม ณ หอนั่งในบ้านท่าน

ลูกขุน ณ ศาลาใน มีเจ้าพระยาพระคลัง(ดิด)

เจ้าพระยายมราช(บุญนาก)



ลูกขุน ณ ศาลหลวงทั้ง   คือ

พระมหาราชครูปโรหิต

พระราชครูพิเชษฐ

พระครูพิราม

ขุนหลวงพระไกรสีห์

พระเกษม

รวมเป็นองค์พินัยกรรม



     บุตรชายหญิงที่สิ้นบุญไปก่อนบิดาป่วยนั้น  ๒๔ คน

บุตรท่านผู้หญิงน้อยยังเหลืออยู่  ๓  คน

บุตรที่เกิดด้วยอนุภรรยายังเหลือ  ๔๑ คน          รวมบุตร ๔๔ คน


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 23 มิ.ย. 10, 14:28

เงินตราสดมีปรากฎอยู่ในบ้าน  ๒๐๐๐ ชั่ง  อยู่ในถุง   นำมากองไว้

ทูลเกล้าถวายหลวงช่วยราชการแผ่นดิน            ๕๐๐  ชั่ง

ทำศพและซ่อมแซมวัดอินทราราม                   ๕๐๐  ชั่ง

แบ่งลูกหลาน                                        ๑๐๐๐  ชั่ง


ลูกภรรยาหลวง ๓ คน ได้ ขันน้ำจอกลอยพานรองทำด้วยทองคำ  คนละหนึ่งสำรับ  หนัก ๒ ชั่ง ๑๐ ตำลึง

เครื่องประดับคนละหนึ่งหีบ  มีแหวนกี่วงหาทราบไม่  เป็นแหวนประดับเพชรและพลอยสีต่าง ๆ     ราคาหีบละ ๑๐๐ ชั่ง  รวม ๓๐๐  ชั่ง


ถวายให้ทรงบูรณะ  พระพุทธบาท   ๑๐๐ ชั่ง    วักพระศรีรัตนศาสดาราม    ๑๐๐ ชั่ง      ซ่อมแซมป้อมผีเสื้อสมุทร  ๓๐๐ ชั่ง

ไม้ขอนที่ใหญ่เกินพิกัด      ๕๐๐ ต้น

ไม้ยาว ๖ - ๗ วา    โต  ๑๐ กำขึ้นไป    เป็นไม้บริสุทธิ์ไม่มีโพรงทั้ง ๕๐๐ ต้น   ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้ใช้ในการวัดวัง

ที่เหลือยกให้นายขรรค์ไชย(พึ่ง)ทั้งสิ้น

ผ้าไตรขาวยังไม่ได้ย้อม  ๑๐๐๐ ไตร  มีไว้พร้อม
ไตร บาตร ย่าม เป็นเครื่องสังเค็ด  ๑๐๐๐ สำรับ


ถึงแก่กรรม เมื่อ จ.ศ. ๑๒๐๗      เป็นปีที่ ๒๒ ในรัชกาลที่ ๓  

อายุ ๕๓ ปี   เป็นข้าราชการมาสองแผ่นดิน  คือรัชกาลที่ ๒ กับ รัชกาลที่ ๓
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 23 มิ.ย. 10, 14:43

ขอบคุณคุณวันดีที่ค้นเอาข้อมูลพระยามหาเทพ (ทองปานหรือปาน) ต้นตระกูล ปาณิกบุตร  มาให้

จากประวัติเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (บุญศรี  บุรณศิริ) ผมมีข้อความที่ติดใจอยู่และยังค้นไม่ได้  คือ

"ครั้นล่วงแผ่นดินรัชกาลที่ ๑  ขึ้นสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย     ท่านไม่ได้รับราชการจนสิ้นแผ่นดิน     ด้วยท่านระแวงความผิด    เพราะท่านเปนพระญาติอยู่ในกรมหมื่นศรีสุเรนทร์ กรมหมื่นศรีสุเรนทร์นั้นเปนโทษเมื่อในรัชกาลที่ ๒  ท่านจึงออกจากมหาดเล็กหลวง"

คุณวันดีช่วยอธิบายเพิ่มเติมหน่อยเถิดว่า เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี เป็นญาติฝ่ายใดกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นศรีสุเรนทร์ ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 23 มิ.ย. 10, 14:51


คอยสัก ๗   วันได้หรือไม่คะ  ไม่วันพฤหัสนี้ ก็.........
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 23 มิ.ย. 10, 14:59

จะรอครับ   หึ หึ  ๗ วัน
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 25 มิ.ย. 10, 08:50


     มาเล่าเรื่องเรื่องคุณมหาดเล็ก หน้าตาดี  นุ่งกางเกงแพรสี คาดเอวด้วยแพรสีปล่อยชายยาว

สวมเสื้อนอกแพรฝรั่งเศสแต่เปิดกระดุมตลอดแถว   เสื้อชั้นในคอกลมทำด้วยแพรบาง ๆ   

แขวนเสมาทองคำอักษร พระปรมาภิไธย     ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ด้วยห้อยขาลงข้างเดียว  อีกข้างหนึ่งพับพาดไว้กับตัวรถ

และใช้ความเร็วสูงจนน่ากลัวอันตราย


     เทื่อแม่พลอยมองหน้าคุณเปรมเป็นเชิงถาม       คุณเปรมบอกชื่อ     และแจ้งคุณวุฒิของชายหนุ่มผู้นั้นว่า

รำอินทรชิตได้ไม่มีใครสู้


     ศิลปินผู้นั้นคือ  นายกุหลาบ  โกสุม  ผู้รับราชการเป็นนายจ่ายง   หลวงสถานพิทักษ์  และ พระราชวรินทร์

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 25 มิ.ย. 10, 09:15


อ้างอิงมาจากหนังสือ   อนุสรณ์ "ศุกรหัศน์"    เสวกโท  จมื่นมานิตย์นเรศ(เฉลิม  เศวตนันท์) ๒๕๑๑ 



       "จะเล่าถึงศิลปของการแสดง   หน้าโขนโดยปกติเปลี่ยนแปลงไ่ม่ได้  เป็นอย่างไรก็คงอยู่อย่างนั้น

แต่เมื่อเวลาสวมหัวคนเข้า  และคนนั้นเป็นศิลปินหมายเลขหนึ่ง คือ ชั้นเยี่ยม   สามารถบันดาลให้หน้าโขน

เปลี่ยนแปรไปได้ตามบทบาท


หน้าทศกรรฐ์ทั้งแสยะแยกเขี้ยวอย่างนั้น   แต่พอถึงบทเข้าพระเข้านาง เช่นตอนนางลอย   ซึ่งทศกรรฐ์ให้เบญกายแปลงเป็นสีดาทำตายไปลวงพระรามให้เลิกทัพ

ก่อนไปเบญกายแปลงมาให้ดูหน้าพระที่นั่ง     ทศกรรฐ์พอเห็นก็ลืมตัวทีเดียวว่าเป็นหลาน     ตรงเข้าใส่

       "ยุพเยาว์  โฉมเฉลายอดฟ้ามารศรี   จะอายเหนียมเรียมใยนะเทวี   ขึ้นมานั่งบนที่กับพี่ชาย"


ผู้เล่าเห็นนายกุหลาบ  โกสุม  ทำบทนี้

คนดูทุกคนเห็นหน้าทศกรรฐ์แย้มยิ้มหรือแทบจะยักคิ้วหลิ่วตาไปด้วย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 25 มิ.ย. 10, 09:40

หมายความว่านายโกสุม รำได้ทั้งเป็นอินทรชิตและทศกัณฐ์หรือคะ
รำเป็นตัวไหนได้อีกบ้าง 
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 25 มิ.ย. 10, 09:47

เมื่อถึงบทรำพึง     หน้าทศกรรฐ์ที่หัวโขนก็กลับเป็นหน้าเศร้าสร้อยหม่นหมองมีอารมณ์คิด

แต่พอถึงบทโกรธ  หน้าก็ถมึงทึงขึ้นทันที   แล้วออกท่าคุกพาทย์แสดงความโกรธ

ตอนได้ข่าวอินทรชิตตาย   ร้องไห้ในบทว่า

    เสียรถเสียทศโยธา       เสียเทพศาสตรา    พระองค์ก็สิ้นชีวัน

ฟังข่าวผ่าวเพียงเพลิงกัลป์     เจ็บใจจาบัลย์       แล้วนิ่งตลึงไปมา



     "ท่านผู้นี้ไม่ว่าแสดงเป็นตัวอะไร    แสดงได้ดีถึงขนาด      มีคนติดไม่แพ้ดาราสมัยนี้

ว่ากันว่าเวลาจะออกฉาก     คือจะออกตรวจพลด้วยเพลงกราวใน  ในบทอินทรชิต        

เพียงแต่คนเห็นเอื้อมออกมาจับฉากเท่านั้น       ทุกคนดูเหมือนเป็นหญิงส่วนมากถอนใจขึ้นพร้อมกันนดังฮือทั้งโรง

พอแหวกม่านออกมาตั้งท่าสง่าอยู่กลางโรง    ทุกคนทำเสียงซืดซาดไปทั้งโรง       นี่คือความเป็นศิลปิน"


(นักอ่านหนังสือเก่าเคยได้ยินเสียงฮือ  เมื่อ คุณครูอาคม  ฉายาคม จับม่านนิ่งอยู่ เหมือนกัน    และยังได้ยินเสียงแปลกๆจากชายและหญิง

ผสมกับเสียงปรบมืออยู่ตลอดเวลาเมื่อม.ร.ว. คึกฤทธิ์  ปราโมช รัดเครื่องออกมา)


          ชีวิตต่อมาของพระราชวรินทร์ผู้อาชีพเดิมเป็นนายโรงลิเก  ตามข่าวหนังสือพิมพ์ว่าท่านต้องคดีจ้างวานฆ่าญาติเพราะขัดแย้งเรื่องมรดก
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 25 มิ.ย. 10, 09:50

ท่านรำรามสูรสง่ามากค่ะ

ศุกรหัศน์ชมท่านไว้มาก  และยกย่องว่าเป็นครูผู้ใหญ่
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 25 มิ.ย. 10, 14:17

นายกุหลาบ  โกสุม  หรือบางทีออกชื่อ นายหลาบ  เป็นพระราชวรินทร์  กรมพระตำรวจหลวง  แล้วต้องพระราชอาญากลับเป็นนายกุหลาบ  โกสุม  แล้วจึงกลับเข้ารับราชการกรมชาวที่ สุดท้ายได้เป็น หลวงสถานพิทักษ์แล้วถูกดุลย์คราวผลัดแผ่นดินครับ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 25 มิ.ย. 10, 14:19

     คุณเปรมดูจะเป็นไม่กระตือรือล้นเท่าไร      ดูจากการเลื่อนยศก็ช้ามาก       การที่เป็นลูกคนเดียวของคุณหญิง

คงจะถูกประคบประหงมมาตลอด    

อายุ ๒๕  ยังเป็นมหาดเล็กอยู่เลย

เมืองนอกก็ไม่ได้ไป         ซึ่งอาจกล่าวได้ว่ามีแต่เจ้านายที่เสด็จทรงศึกษาต่างประเทศ  ซึ่งแปลกอยู่หน่อยเพราะบุคคลในฐานะ

ผู้ดำรงวงศ์สกุลของขุนนางท่าซ้าย  ผู้รู้เรื่องต่างประเทศมากที่สุดในหมู่ข้าราชสำนัก  และรู้เร็ว  ว่าทิศทางของความศรีวิไลยไปทางไหน

ทำไมไม่ไปศึกษาต่อต่างประเทศ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 19 คำสั่ง