เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 26 27 [28] 29 30 ... 46
  พิมพ์  
อ่าน: 328497 ชะตากรรมของพระยาทรงสุรเดช หนึ่งในสี่ทหารเสือคณะราษฎร์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 405  เมื่อ 11 ก.ค. 10, 18:01

งั้นต้องสรุปใหม่ว่า พระยาฤทธิ์อัคเนย์กลับจากปีนังเมื่อปลายสงครามโลก จากพ.ร.บ.นิรโทษกรรม แล้วท่านคงจะได้รับเชิญให้เป็นวุฒิสมาชิก ในรัฐสภาปี 2491  ยุคนายควง อภัยวงศ์ ถูกจอมพลป.ยกขึ้นให้เป็นนายกรัฐมนตรี   เมื่อจอมพล ป. ทำรัฐประหารสำเร็จในพ.ศ. 2490
จากนั้นนายควงก็ถูกจี้ให้ลาออก     แต่วุฒิสภายังคงมีอยู่  พระยาฤทธิ์อัคเนย์จึงดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิกต่อมาจนปี 2494 จึงพ้นวาระไปเพราะถูกยุบ
แต่นี่เป็นการเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่ 2   พระยาทรงสุรเดชถึงแก่กรรมไปนานหลายปีแล้ว  จึงขออธิบายเพียงสั้นๆแค่นี้ค่ะ    ไม่งั้นจะกลายเป็นปั่นกระทู้ผิดเรื่อง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 406  เมื่อ 11 ก.ค. 10, 18:02

มีผู้ที่นับถือกันท่านหนึ่ง เห็นผมเขียนเรื่องแนวนี้อยู่ สแกนบางหน้าของหนังสือนี้อิเมล์มาให้ผม ตอนเขียนคคห.ข้างต้นๆ ผมพยายามกลับไปหาไฟล์นี้ หาเท่าไรก็ไม่เจอ วันนี้ลองหาอีกที่ เอ้า..เจอ แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นเหตุการณ์วันปฏิวัติซ้ำกับเรื่องของพระยาทรง มีอยู่เพียง2หน้าที่ผมเห็นว่าน่าจะเอามาลงไว้ก่อน กำลังติดต่อท่านเจ้าของหนังสืออยู่ เผื่อจะได้ที่เหลือมาลง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 407  เมื่อ 11 ก.ค. 10, 18:11

หน้านี้ ทำให้ผมเห็นที่ผิดของผม เป็นชื่อเจ้านายที่ทรงลี้ภัยไปอยู่ปินัง แล้วอังกฤษตามพระทัยยกไว้ ไม่บังคับให้อพยพไปด้วย ใครที่ซีเรียสก็แก้ซะนะครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 408  เมื่อ 11 ก.ค. 10, 18:16

คุณย่านางครับ ขอแสดงความยินดีด้วย เมื่อก่อนมีรักบี้ประเพณีชาวเรือชาวไร่ เกษตรก็เสียดุลย์ เอ๊ะ..ผมว่าได้ดุลย์นะ เอาทหารเรือมาอยู่ในโอวาทได้ตั้งหลายคน
ส่วนหนังสือถ้าจะกรุณา เด๊๋ยวหลังไมค์นะครับ

ขอบพระคุณ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 409  เมื่อ 11 ก.ค. 10, 18:52

ระหว่างรอคุณนวรัตนมาเล่าต่อ  ก็ขอคั่นโปรแกรมหน้าม่าน ด้วยการขยายความเรื่อง "เจ๊าแต่ไม่เจ๊ง" ของไทยให้ฟังกันไปพลางๆก่อนค่ะ
แม้ว่าไทยรอดไปได้จากการเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม เพราะอเมริกาถือหางเสรีไทยเป็นหลักใหญ่  ไม่ได้ถือรัฐบาลไทยเป็นหลักใหญ่   แต่อังกฤษเองก็เล่นเชิงให้ยากขึ้น ไม่ได้ให้จบง่ายๆ 

ตอนแรก  อังกฤษยืนกรานให้ไทยชดใช้ค่าเสียหาย ที่เรียกว่าค่าปฏิกรรมสงคราม แบบเดียวกับประเทศแพ้สงครามโดนเช็คบิลล์กันจนอ่วม   ขืนไทยจ่าย ประเทศก็แทบจะล้มละลาย  เพราะภาวะหลังสงคราม เศรษฐกิจในประเทศก็ย่ำแย่เต็มทีแล้ว   ทรุดหนักมาตั้งแต่อยู่ในสงครามมหาเอเชียบูรพา
แต่อเมริกาเข้าข้างไทยช่วยคานอังกฤษเต็มเหนี่ยว   อังกฤษก็เลยผ่อนปรนจากค่าปฏิกรรมสงครามมาเป็นสัญญาสมบูรณ์แบบ  คือหย่อนลงมานิดหน่อย  แค่ไทยจ่ายข้าว ๑ ล้าน ๕ แสนตัน  และอังกฤษเข้าควบคุมดีบุก  ไม้สักและอื่นๆในไทย   ตรงนี้ที่อาจารย์ดิฉันเห็นว่าเราโดนเข้าไม่เบาเลย
ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช  อยากจะขอความช่วยเหลือจากสหประชาชาติให้ช่วยผ่อนปรน ก็เลยตกลงจ่ายค่าข้าวให้เป็นค่าช่วยเหลือผู้อดอยากในโลกอีกเดือนละ ๒ หมื่นตัน  เผื่อยูเอ็นจะเห็นใจ    แต่ไม่สำเร็จ สหประชาชาติก็ช่วยอะไรไม่ได้  ไทยเลยต้องเสียข้าวสองซ้ำสองซ้อน    เสียให้ทั้งอังกฤษและยูเอ็นด้วย  เกือบถึงขั้นโคม่าหลังสงครามกันทีเดียว
แต่อย่างน้อย  เราก็ไม่ได้เป็นประเทศแพ้สงคราม
บันทึกการเข้า
yanang
อสุรผัด
*
ตอบ: 32


ความคิดเห็นที่ 410  เมื่อ 11 ก.ค. 10, 19:04

อาจารย์เทาชมพูและอาจารย์นวรัตน์คะ   ดิฉันจะเริ่มทะยอยสแกนหนังสือตั้งแต่วันพรุ่งนี้เลยนะคะ
ส่วนรายละเอียดการส่ง รบกวนอาจารย์แจ้งให้ทราบอีกครั้งนะคะ ดีใจที่หนังสือดี ๆ ที่มีอยู่ในมือ
ไม่เป็นเพียงข้อมูลที่ได้รับรู้อยู่คนเดียว แต่กำลังจะได้รับการส่งต่อและขยายให้เป็นวิทยาทาน
ในวงกว้างเหมือนหลาย ๆ กระทู้ที่ดิฉันได้รับจากเรือนไทยมาโดยตลอด

ขอบพระคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 411  เมื่อ 11 ก.ค. 10, 19:35

 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 412  เมื่อ 11 ก.ค. 10, 19:40

^
^
^
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 413  เมื่อ 11 ก.ค. 10, 19:54

ผมกำลังเอาหนังสือเล่มนี้มาค้นข้อมูลครับ ซื้อไว้เป็นปีแล้วยังไม่ได้อ่านจริงจังเพราะหนาเกือบคืบ คอนไม่ไหว จะหาว่า2คน2ขั้วน่าจะเป็นใครอื่นมากกว่าที่คิดไว้เดิมหรือเปล่า หาไปหามาก็เพลินไปอ่านเรื่องข้างทางเข้าอีก แต่ไกลพนมเป็ญเกิน วันหลังเอาไว้เปิดกระทู้ใหม่ดีกว่า


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 414  เมื่อ 11 ก.ค. 10, 20:11

หาไปหามาก็เพลินไปอ่านเรื่องข้างทางเข้าอีก แต่ไกลพนมเป็ญเกิน วันหลังเอาไว้เปิดกระทู้ใหม่ดีกว่า


 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 415  เมื่อ 11 ก.ค. 10, 22:11

ตอนเด็กๆ เคยได้ยินเพลง "แปดนาฬิกา ได้เวลาชักธง เราจะต้องยืนตรง เคารพธงชาติไทย"  แต่ไม่เข้าใจว่าเป็นเพลงอะไร  เพราะมีเพลงชาติไทยอย่างที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ ให้ยืนเคารพธงชาติตอนโรงเรียนเข้าอยู่แล้ว
จนมีกระทู้นี้ถึงได้นึกถึงเพลงนี้ขึ้นมาได้   ไปถามคุณกุ๊กดู  ก็ได้คำตอบมาว่าเป็นเพลงรำโทน ที่ร้องกันสมัย "วัธนธัม" เพลงที่ยกมาล้วนเป็นสะท้อนภาพสมัยนั้น

เพลง แปดนาฬิกา
แปดนาฬิกา ได้เวลาชักธง
เราจะต้องยืนตรง เคารพธงของชาติไทย (ซ้ำ)
เราสนับสนุน ป.พิบูลสงคราม
เราจะต้องทำตาม ตามผู้นำของชาติไทย(ซ้ำ)

เพลง ผู้นำของชาติ
เชื่อผู้นำของชาติ ประกาศทั้งชายและหญิง
สตรีเอาไว้ผมยาว ( ซ้ำ) ใส่หมวกรองเท้าให้ทันสมัย
นุ่งถุงกระตุ้งกระติ้ง(ซ้ำ) มันน่ารักจริงยอดหญิงชาวไทย(ซ้ำ)

เพลงนี้สะท้อนภาพพริตตี้สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้ดี
เพลง สาวน้อยเอวกลม
สาวน้อยเอวกลม ไว้ผมดัดลอนดัดคลื่น
ใส่น้ำมันหอมรื่น สวมแต่หมวกใบลาน
แต่งตัวทันสมัย สาวไทยแบบหลวงพิบูล
หิ้วกระเป๋าจันทบูรณ์ (ช) แม่คุณจะไปไหนกัน
(ญ) ฉันจะไปดูโขน (ช) ฉันจะไปดูหนัง (ซ้ำ)
(ช) มาขึ้นรถราง (พร้อม) มาไปด้วยกัน

สาวๆสมัยนี้คงไม่เข้าใจคำว่า สาวน้อยเอวกลม ว่าทำไมเอวต้องกลม   เอวกลมคือเอวคอดเล็ก   เป็นหุ่นผู้หญิงไทยสมัยก่อนที่นิยมเอวเล็ก  ประมาณ ๒๒ นิ้วถือว่าเป็นมาตรฐานสาวทั่วไป
บันทึกการเข้า
hikkiweb
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 416  เมื่อ 11 ก.ค. 10, 22:25

นักเรียนใหม่แอบมาตามรายงานตัวกับอาจารย์ทุกท่านด้วยขอรับ ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะขอรับ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 417  เมื่อ 11 ก.ค. 10, 22:34

โครงการย้ายเมืองหลวงไปเพชรบูรณ์ที่ล้มเหลว   จอมพล ป.บอกว่าเป็นยุทธศาสตร์สร้างแหล่งต่อต้านญี่ปุ่น แต่ใช้ข้ออ้างสร้างเมืองใหม่บังหน้า   นายพลนากามูระ ผู้บัญชาการกองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศไทยบันทึกไว้ดังนี้…

"ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว (พ.ศ.๒๔๘๖ )ข้าพเจ้าได้เริ่มทราบข่าวลือเรื่องการย้ายเมืองหลวงเป็นประจำ และการประกาศย้ายเมืองหลวงทำให้พวกข้าพเจ้าตระหนักใจว่าข่าวลือนั้นกลายมาเป็นความจริง ข้าพเจ้าขอตั้งข้อสังเกตดังต่อไปนี้

๑.นายกพิบูลคงพิจารณาด้วยความเชื่อมั่นว่า ฝ่ายญี่ปุ่นนั้นเสียเปรียบเมื่อสงครามยุติลง ฉะนั้นจึงต้องมีที่หลบภัยจากฝ่ายญี่ปุ่นยามใดก็ได้ โดยเฉพาะการปฏิเสธเข้าร่วมประชุมวงไพบูลย์มหาเอเซียบูรพานั้น เป็นเรื่องที่ทำให้มีความเคลือบแคลงในกัน ท่านจึงต้องตัดสินใจอย่างฉับพลันในเรื่องนี้

๒. เกี่ยวกับปัญหาภายใน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สำเร็จราชการปรีดี พนมยงค์ กับนายกพิบูลนั้นง่อนแง่นอยู่เต็มทีแล้ว และศัตรูการเมืองกลุ่มอื่นๆก็ยังมีอยู่ คือถ้าพวกนั้นพยายามโค่นล้มรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม โดยอาศัยกำลังญี่ปุ่นเป็นเครื่องมือแล้ว ท่านนายกในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุดก็จะหลบอยู่ที่เพชรบูรณ์ ซึ่งใครจะไปทำอะไรท่านไม่ได้ เพราะว่าในเขตภาคเหนือมีกองทัพไทยอยู่ที่เชียงรายและลำปาง ทางทิศใต้มีเมืองทหารอยู่ที่ลพบุรี ความนี้สมกับเป็นความคิดของนายกรัฐมนตรีประเทศหนึ่ง

ที่ตั้งของเมืองหลวงใหม่มีความเหมาะสม ทั้งในแง่การเมืองและการยุทธศาสตร์อย่างหาที่ติไม่ได้ ข้อเสียมีอยู่ว่า ที่นั่นเป็นแดนของไข้มาลาเรีย และมีน้ำเพื่อการบริโภคอยู่อย่างอัตคัด

๓. ท่านนายกรัฐมนตรีและภริยาบอกกับข้าพเจ้าว่า การย้ายเมืองหลวงไปเพชรบูรณ์นั้นมีความสำคัญมากเพื่อการรักษาหัวใจของความสัมพันธไมตรีของไทย-ญี่ปุ่นสืบไป แม้ว่ากรุงเทพฯจะร้างไป ก็ยังมีเมืองที่เป็นศูนย์กลางไว้เพื่อรักษาวัฒนธรรมและสมบัติของชาติ แต่คำพูดนั้นเราเข้าใจอย่างที่ท่านพูดไม่ได้ ในการสร้างเมืองหลวงใหม่นั้น ได้ตั้งงบประมาณไว้ ๑๐๐ ล้านบาท และระดมกรรมกรหลายหมื่นคนจากทั่งประเทศ โดยถือเอาการก่อสร้างทางรถไฟสายไทย-พม่าที่แล้วเสร็จได้ภายใน ๑๐ เดือนเป็นตัวอย่าง ได้ทำการก่อสร้างทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน ด้วยเหตุนี้จึงมีคนป่วยเป็นไข้มาลาเรียมากมาย ได้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก การก่อสร้างเมืองหลวงใหม่ได้กลับกลายมาเป็นเป้าในการเกลียดชังของประชาชน และทำให้สัมพันธมิตรไทย-ญี่ปุ่นต้องมืดมนลง และสุดท้ายกลายเป็นสาเหตุให้รัฐบาลพิบูลสงครามสิ้นสุดลง"

พลเอกบัญชร ชวาลศิลป์ ได้ตั้งคำถามไว้ในบล็อคของท่านว่า
จอมพล ป.ถูกหรือผิด ?
ถึงเวลานี้เมื่อเหตุการณ์ทั้งสิ้นผ่านไปและเราได้รับรู้ข้อมูลแทบจะทุกเรื่องราวทุกมิติที่เกี่ยวข้องทำให้สามารถตัดสินถูกผิดได้อย่างไม่ยากนัก…

แต่หากถามตัวเองว่า ถ้าต้องตกอยู่ในสถานการณ์ในช่วงต้นของสงคราม ภาพเฉพาะหน้าที่ใครๆก็เห็นใครๆก็ยอมรับว่า ญี่ปุ่นต้องเป็นฝ่ายชนะอย่างแน่นอน…

เราจะตัดสินใจเช่นใด ?

การตัดสินใจของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ในเรื่องแรกที่ยินยอมให้ญี่ปุ่นเดินทัพผ่านไทยนั้นดูจะไม่มีใครติดใจคัดค้าน แต่สำหรับการตัดสินใจประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกานั้น เมื่อฝ่ายญี่ปุ่นกลับเพลี่ยงพล้ำ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ในฐานะนายกรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบการทั้งปวงของฝ่ายบริหารย่อมไม่อาจหลีกหนีคำสรุปว่า"เป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด"ไปได้

แน่ละ การตัดสินใจของผู้คนนั้น ย่อมมีทั้งถูกต้อง และมีทั้งผิดพลาด…

แต่ที่สำคัญ สำหรับเรื่องราวของประเทศชาติแล้วขอเพียงให้ตัดสินใจไปโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลักก็ยังเป็นเรื่องที่เข้าใจกันได้

แม้จะไม่ควรผิดพลาดก็ตาม…
พิเคราะห์จากเรื่องราวของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม แล้วเห็นได้ว่าการตัดสินใจของท่านก็กระทำไปเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนไทยนั่นเอง และที่สำคัญเมื่อเห็นว่าการตัดสินใจผิดพลาดไปเสียแล้ว ท่านก็ยังพยายามที่จะหาทางออกที่ดีที่สุดให้กับประเทศชาติดังที่ผมนำมาเล่าให้ฟัง

แต่จอมพล ป.พิบูลสงครามพลาดอย่างที่อาจารย์ แถมสุข นุ่มนนท์ วิเคราะห์ไว้ (ในหนังสือ เมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒) ดังนี้…

"อย่างไรก็ตาม จอมพล ป.พิบูลสงครามมีความผิดที่ไม่น่าจะให้อภัยอยู่ข้อหนึ่ง คือ เมื่อเหตุการณ์ผันแปรจากดีเป็นร้าย จากชัยชนะเป็นความพ่ายแพ้ และเมื่อทราบว่าตนเองเข้าข้างคนแพ้ ฯพณฯ กลับขาดความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวที่จะเผชิญต่อความจริงอย่างลูกผู้ชาย กลับหาข้อแก้ตัวต่างๆนานาซึ่งล้วนแต่ฟังไม่ขึ้นและขาดเหตุขาดผล
อันที่จริงจะเป็นเรื่องที่น่าสรรเสริญ ถ้าหากจอมพล ป.จะลุกขึ้นพิสูจน์ตนเองและแถลงด้วยสัจจะว่า ในช่วงเวลานั้น การตัดสินใจเช่นนั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุด ดีที่สุด และเพื่อผลประโยชน์ประเทศชาติมากที่สุด
ส่วนเรื่องที่เหตุการณ์จะผันแปรไปในทางตรงกันข้าม เป็นสิ่งสุดวิสัยที่จะแก้ไขได้…"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 418  เมื่อ 11 ก.ค. 10, 22:56

ในเมื่อพิมพ์ไป หาข้อมูลไป   ข้อความจึงอาจโดดไปโดดมาให้สมาชิกเรือนไทยเวียนหัวกันได้ง่ายๆ     ดิฉันจึงขอเรียบเรียงให้ฟังกันง่ายๆอีกครั้ง   ก่อนคุณนวรัตนจะพากลับไปถึงพระยาทรงสุรเดชตามหัวข้อกระทู้
๑  ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔  ญี่ปุ่นบุกไทยสายฟ้าแลบ   รัฐบาลจอมพล ป. ยินยอมโดยดีให้ญี่ปุ่นเข้ามาและปักหลักอยู่ในประเทศไทยได้   ห้ามประชาชนและทหารต่อสู้
๒    สัมพันธไมตรีระหว่างรัฐบาลไทยกับญี่ปุ่นแน่นแฟ้นถึงขั้นไทยประกาศสงครามกับฝ่ายพันธมิตร  คืออังกฤษกับอเมริกา
๓    ทั้งหมดนี้ดิฉันเชื่อว่าจอมพล ป. ทำลงไปเพราะเชื่อมั่นว่าญี่ปุ่นเป็นฝ่ายชนะอีกด้วย   ไม่ใช่เพียงแค่จำยอมต่อแสนยานุภาพเท่านั้น
๔   ความขัดแย้งระหว่างจอมพล ป. และนายปรีดี พนมยงค์ รมว.คลัง มีมากขึ้นเรื่อยๆในเรื่องนโยบายต่อญี่ปุ่น  จนนายปรีดีต้องพ้นจากค.ร.ม.ไป
๕      นักเรียนไทยและข้าราชการไทยในอังกฤษและอเมริการวมตัวกันต่อต้านรัฐบาลไทยและญี่ปุ่น  โดยมีอเมริกาหนุนหลัง ตั้งขบวนการเสรีไทยขึ้น   
๖      นายปรีดีไปประสานงานกับขบวนการเสรีไทยต่างประเทศ   ในฐานะหัวหน้าเสรีไทยในประเทศ
๗   นายปรีดีปิดเรื่องเสรีไทยเป็นความลับ  มิให้จอมพล ป. รู้
๘       เมื่อญี่ปุ่นเริ่มเพลี่ยงพล้ำต่ออเมริกา  จอมพล ป. เห็นลางแพ้ของญี่ปุ่น  ก็คิดจะหันไปร่วมมือกับมหาอำนาจอีกแห่งในเอเชีย คือจีน   เพื่อช่วยกันกวาดล้างญี่ปุ่นให้พ้นไทย     นี่คือเหตุผลของการสร้างเมืองใหม่ที่เป็นฐานที่มั่นใหม่ของรัฐบาลไทย
๙    นโยบายนี้ล่มกลางคัน  เพราะนายปรีดีสามารถทำให้รัฐสภาคว่ำคะแนนเสียง   เป็นเหตุให้จอมพล ป. พ้นตำแหน่งนายกไปอย่างกะทันหัน   
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 419  เมื่อ 12 ก.ค. 10, 00:12

เรื่องคุณดิเรก ชัยนาม ผมว่าไม่แปลกครับ เคยได้ยินเขาว่าในวงการทูต
- yes แปลว่า maybe
- maybe แปลว่า no
- ใครตอบ no คนนั้นไม่ใช่ทูตแน่ๆ
แฮ่ๆ

เรื่องเสรีไทยกับจอมพล ป. หลายคนเชื่อว่า จอมพล ป. รู้กันกับเสรีไทย เล่นเกมนกสองหัว บางคนที่เชื่อนั้นเป็นอดีตนายทหารคนสำคัญ เขียนไว้ในต่วย'ตูน เมื่อหลายปีมาแล้ว ผมติดว่าจำได้ว่าเป็นท่านไหนที่พูด แต่ไม่มีอยู่ในมือ กลัวผิด ดังนั้นท่านใดสนใจกรุณาไปค้นเอง ขออำภัยครับ

ส่วนตัวผมเองเห็นว่า เรื่องคณะราษฎรกับสงครามมหาเอเชียบูรพา ก็เหมือนกับเรื่องคณะราษฎรกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง กล่าวคือไม่ได้มีความเป็นเอกภาพ แต่ละคนก็มีความคิดเห็นของตัวเอง ซึ่งถ้าคิดว่าทำอย่างไรถึงจะรอดจากความเสียหายจากสงครามไปได้ ก็ต้องยอมรับว่าต้องยอมให้ญี่ปุ่น แต่การยอมร่วมมือกันอย่างเต็มที่นั้น ผมไม่เห็นว่าจะเป็นทางประกันให้ชาติรอดไปได้

จะบอกว่าญี่ปุ่นมีกำลังทางทหารเหนือไทยพอที่จะยึดครองไทยได้ ข้อนี้เป็นจริง แต่ไม่ใช่วัตถุประสงค์ของญี่ปุ่น เพราะเป้าหมายของญี่ปุ่นคือจะใช้ความได้เปรียบทางชัยภูมิของไทยในการส่งกำลังเข้าไปในพม่า มลายู และจีน ซึ่งถ้าไทยต่อต้านก่อกวน ญี่ปุ่นคงลำบากมาก เพราะคู่ต่อสู้ที่เป็นคนในพื้นที่ ย่อมมีความชำนาญพื้นที่เหนือกว่าเจ้าอาณานิคมทั้งหลายเป็นแน่

ยิ่งดูนโยบายสารพัดเรื่องของจอมพล ป. ผมก็เห็นว่าเป็นแนวคิดอย่าง NAZI ชัดๆ สอดคล้องกับฝ่ายอักษะ การเข้าร่วมกับญี่ปุ่นจึงน่าจะเป็นเรื่องความนิยมทางลัทธิการเมืองเป็นการส่วนตัวของจอมพล ป.ด้วย ส่วนจะเรียกว่าประชาธิปไตยหรือไม่นั้น ไม่อยากวิจารณ์ แต่ต้องไม่ลืมว่า Hitler ก็มาจากการเลือกตั้งเหมือนกัน และสิ่งที่เราได้เห็นกันตลอดมา ก็พิสูจน์ให้เห็นอยู่แล้วว่า การเลือกตั้งไม่ได้เป็นทุกสิ่งทุกอย่างของประชาธิปไตย

ส่วนการหันไปสร้างสัมพันธ์กับจีนนั้น เป็นเหตุการณ์ในช่วงท้ายของยุคเรืองอำนาจยุคที่สองของจอมพล ป.แล้วครับ การอ้างว่าจะไปซบจีนเพื่อมาจัดการญี่ปุ่นนั้นฟังไม่ขึ้นแต่อย่างใด น่าจะเป็นเหตุผลเดียวกับการที่รัฐบาลทหารพม่าย้ายเมืองหลวงไปเมือง Pyinmana เสียมากกว่าครับ แต่ก็ต้องยอมรับว่าการยอมลงจากอำนาจในครั้งนั้นของจอมพล ป. ถือเป็นผลดีต่อประเทศไทย และจอมพล ป. ก็พลอยได้อานิสงส์จากการนี้ หลุดรอดจากคดีอาชญากรรมสงครามไปด้วย
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
หน้า: 1 ... 26 27 [28] 29 30 ... 46
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.073 วินาที กับ 20 คำสั่ง