เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 46
  พิมพ์  
อ่าน: 329426 ชะตากรรมของพระยาทรงสุรเดช หนึ่งในสี่ทหารเสือคณะราษฎร์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 270  เมื่อ 07 ก.ค. 10, 11:27

กองเชียร์หามาช่วยเสริม

ยุคไม่ขำ..วัธนธัมไทย โดย เทาชมพู

http://vcharkarn.com/reurnthai/no_joking.php

 ยิ้มเท่ห์

บันทึกการเข้า
proudtobethai
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


ความคิดเห็นที่ 271  เมื่อ 07 ก.ค. 10, 11:46

ตามลิงค์ไป อ่านแล้วจ้ะ (แหะๆๆ ขอประทานโทษค่ะ )  อายจัง

ขอบพระคุณมากค่ะ  กำลังจินตนาการ ถึงผู้สูงอายุมากๆ ใส่หมวก โดยเฉพาะผู้หญิง
ยังนึกภาพไม่ออกเลยค่ะว่าเป็นยังไง คงต้องตามหาจากอากู๋อีกแล้วล่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 272  เมื่อ 07 ก.ค. 10, 12:08

เอารูปมาให้ดูค่ะ ว่าสาวๆเขาสวมหมวกกันแบบไหน   ส่วนรูปหญิงแก่สวมหมวกหาไม่ได้  ได้แต่ปกสี่แผ่นดินพิมพ์ครั้งแรก เล่ม ๒  หน้าปกคือแม่พลอยวัยชรา ถือหมวก
นอกจากนี้ยังมีเพลงเชิญชวนให้สวมหมวกด้วยนะคะ  ชื่อเพลง สวมหมวก  
คำร้อง จมื่นมานิตย์นเรศร์
ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน
ขับร้อง มัณฑนา โมรากุล

เชิญซิคะ เชิญร่วมกันสวมหมวก
แสนสะดวกสบายด้วย ทั้งสวยหรู
ปรุงใบหน้าให้อร่าม งามหน้าดู
อีกจะชูอนามัยให้มั่นคง

สมศักดิ์ศรีมีสง่าเป็นอารยะ
หมวกนี้จะชวนให้ชมสมประสงค์
ถึงไม่สวยหมวกจะช่วย เสริมทรวดทรง
งามระหงเลิศวิไลหญิงไทยเรา

อย่ารีรอเลยเจ้าขามาช่วยกัน
สมานฉันท์สร้างไทยให้เทียมเขา
สวมหมวกเถิดจะสำรวยสวยไม่เบา
สนองเค้าท่านผู้นำกล่าวคำชวน

เข้าไปฟังได้ที่นี่
http://www.maama.com/music/view.php?id=016207



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 273  เมื่อ 07 ก.ค. 10, 12:32

พระรูปสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ ทรงสวมพระมาลา  แต่งกายแบบสตรีตะวันตก   เข้าใจว่าเป็นระยะที่ทรงอยู่ในอังกฤษ  เพราะกว่าจะเสด็จกลับประเทศไทยก็จบสงครามโลกไปสิบกว่าปีแล้ว


บันทึกการเข้า
proudtobethai
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


ความคิดเห็นที่ 274  เมื่อ 07 ก.ค. 10, 12:34

ขอบพระคุณอาจารย์มากๆเลยค่ะ เพิ่งเคยได้ฟังเพลงสมัยก่อนค่ะ  ยิ้มกว้างๆ

ผู้หญิงสมัยนั้นสวยดีนะคะ พอใ่ส่หมวกก็ยิ่งดูดี น่าจะถูกใจท่านผู้นำฯนะคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 275  เมื่อ 07 ก.ค. 10, 13:08

ในค.ห. 255 พิมพ์ผิดไป  กลับไปแก้ไขแล้วค่ะ
ก่อนหน้านี้รัฐบาลยกเลิกตำแหน่ง "ผู้บังคับบัญชาการทหารสูงสุด"   แต่ว่าตำแหน่งนี้ไม่ได้หายไปโดยสิ้นเชิง   แต่กลับมาใหม่อีกครั้งในชื่อสั้นลง   ว่า "ผู้บัญชาการทหารสูงสุด"
ในเดือนพฤศจิกายน ๒๔๘๔   จอมพลป. พิบูลสงคราม ได้เข้ารับตำแหน่ง "ผู้บัญชาการทหารสูงสุด" บังคับบัญชาแม่ทัพได้หมดทั้ง ๓ เหล่าทัพ   ตลอดจนมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการได้ตามที่เห็นสมควร  ก็หมายความว่าอำนาจในการสั่ง  แต่งตั้ง  โยกย้าย ทหารและพลเรือน อยู่ในมือจอมพล ป.เพียงผู้เดียว   ไม่ต้องผ่านคณะรัฐมนตรีหรือปลัดกระทรวง
ตอนนั้นบ้านเมืองกำลังตึงเครียด เพราะสงครามนอกประเทศรุนแรงจนใกล้ระเบิด    ญี่ปุ่นส่งทูตพิเศษไปเจรจากับรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา  เรื่องจะตกลงยังไงกับเอเชียตะวันออก    ข้อเสนอของญี่ปุ่นคือขอไม่ให้อเมริกาไปถือหางเข้าข้างจีน  ถ้ายอมทำได้ญี่ปุ่นจะถอยกำลังจากอินโดจีน  กลับมาเป็นมิตรดีกับอเมริกา  ซื้อสินค้าทำมาค้าขายกับเป็นปกติ
แต่อเมริกาตอบญี่ปุ่นอย่างแข็งกร้าวว่า ให้ญี่ปุ่นนั่นแหละ  เลิกไปยุ่งกับอินโดจีน  ยูถอยกำลังสามกองทัพกลับบ้านได้แล้ว   ห้ามไปหาเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกับรัฐบาลจีน   ให้คบกันด้วยดีดีกว่า
คำตอบนี้เหมือนซัดญี่ปุ่นเข้าเปรี้ยงใหญ่ที่กระโดงคาง     คณะทูตก็ถอยทัพกลับบ้านด้วยความผิดหวัง    ส่วนอเมริกาเมื่อยิงหมัดไปแล้วก็หันมาปรึกษากันที่วอชิงตันว่า ต้องรับมืออย่างหนักกับญี่ปุ่นแน่นอน  เพียงแต่รอข่าวกรองว่าวันไหนเดือนไหนเท่านั้น

ดิฉันคงจะเล่ากินเนื้อที่ของดารานำตัวจริงแห่งกระทู้นี้ไปมากแล้ว    จะผิดถูกประการใดไม่รู้ได้   เพราะอ้างจากหนังสือเล่มเดียว   จึงขอหยุดไว้แค่นี้ก่อน ถ้าผิดท่านก็คงมาแก้ไขให้เอง

กลับมาที่จอมพล ป.อีกครั้ง ว่าความตึงเครียดนอกบ้านก็ทำให้รัฐบาลกระวีกระวาดลุกขึ้นปิดประตู ลากอาวุธออกมาเตรียมพร้อมอย่างเข้มแข็ง   มีการซื้อและเตรียมอาวุธยุทโธปกรณ์ไว้ล่วงหน้าก่อนแล้ว    ตอนนี้ก็ถึงขั้นให้กองกำลังทุกหน่วยเข้าประจำการณ์ ทั้งเหนือ ตะวันออก และใต้
ตัวท่านเองก็ออกแนวหน้าไปเยี่ยมเยียน บำรุงขวัญทหาร ในปลายปี ๒๔๘๔ นั้นเอง

อีกสักพักใหญ่ๆ ถ้ามีจังหวะ  โกโบริจะออกโรงแล้วค่ะ    แต่ถ้าไม่มีจังหวะก็อย่าเสียดายเลย  เรื่องราวในบั้นปลายของพระยาทรงสุรเดชมีรสชาติเข้มข้นหาอ่านได้ยากกว่าคู่กรรม   คู่กรรมคงมีอยู่ประจำในตู้หนังสือของสมาชิกเรือนไทยหลายคนอยู่แล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 276  เมื่อ 07 ก.ค. 10, 14:11

ไปเจอเกร็ดที่คุณเพ็ญชมพูเล่าไว้ในห้องสมุดพันทิป  เรื่องการใช้อำนาจของจอมพล ป. ในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุด เลยขอนำมาบางส่วน
http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K8337465/K8337465.html#128

เหตุการณ์ที่ท่านจอมพลออกคำสั่งให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งครั้งนั้นมีเพียง ๒ ท่านคือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และนายปรีดี พนมยงค์  มารายงานตัว

นายปรีดีได้บันทึกไว้ในหนังสือ บางเรื่องเกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์ ดังนี้

“...ต่อมาประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ๒๔๘๖ จอมพล ป. ได้ยื่นใบลาออกตรงมายังประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แล้วจอมพล ป. ก็ได้ลาออกจากทำเนียบสามัคคีชัย ไม่รู้ว่าไปไหนชะรอยพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯจะทรงทราบว่า จอมพล ป. ต้องการลาออกจริงเพื่อปรับปรุงคณะรัฐมนตรีใหม่ พระองค์จึงส่งใบลาจอมพล ป. มาให้ข้าพเจ้าพิจารณา  ข้าพเจ้าจึงเขียนความเห็นในบันทึกหน้าปกใบลานั้นว่า ‘ใบลานั้นถูกต้องตามรัฐธรรมนูญแล้ว อนุมัติให้ลาออกได้’ ข้าพเจ้าลงนามไว้ตอนล่าง ทิ้งที่ว่างตอนบนไว้เพื่อให้พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ ทรงลงพระนาม ซึ่งพระองค์ก็ทรงลงพระนาม

ข้าพเจ้าเชิญนายทวี  บุณยเกตุ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมาถามจอมพล ป. จะจัดการปรับปรุงรัฐบาลหรืออย่างไร? ก็ได้รับคำตอบว่า คงจะปรับปรุงรัฐบาล และตามหาตัวจอมพล ป. ก็ยังไม่พบ แต่เมื่อคณะผู้สำเร็จราชการฯ ส่งคำอนุมัติใบลาออกของจอมพล ป. แล้ว สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีซึ่งบังคับบัญชากรมโฆษณาการอยู่ด้วยก็ให้วิทยุของกรมนั้นประกาศการลาออกของจอมพล ป.

ฝ่ายจอมพล ป. ขณะนั้นจะอยู่ที่แห่งใดก็ตาม เมื่อได้ฟังวิทยุกรมโฆษณาการประกาศการ ลาออกเช่นนั้นแล้ว  ก็แสดงอาการโกรธมากครั้นแล้วได้มีนายทหารจำนวนหนึ่งไปเฝ้าพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ ณ พระที่นั่งอัมพรสถานซึ่งท่านผู้นี้ประทับอยู่ขณะนั้น ขอให้จัดการเอาใบลาออกคืนให้จอมพล ป.

เป็นธรรมดาเมื่อพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ เห็นอาการของนายทหารเหล่านั้นจึงตกพระทัยเพราะไม่สามารถเอาใบลาคืนให้จอมพล ป. ได้ ฉะนั้นพระองค์พร้อมด้วยหม่อมกอบแก้ว ชายาได้มาที่ทำเนียบที่ข้าพเจ้าอาศัยอยู่ ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำใกล้ท่าช้างวังหน้า ขออาศัยค้างคืนที่ทำเนียบ  ข้าพเจ้าจึงขอให้เพื่อนทหารเรือช่วยอารักขาข้าพเจ้าด้วย เพื่อนทหารเรือได้ส่งเรือยามฝั่งในบังคับบัญชาของ ร.อ. วัชรชัย  ชัยสิทธิเวช ร.น. มาจอดที่หน้าทำเทียบของข้าพเจ้า ฝ่าย พ.ต. หลวงราชเดชา ราชองครักษ์ประจำตัวข้าพเจ้า และ พ.ต. ประพันธ์  กุลวิจิตร ราชองครักษ์ประจำองค์พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ ก็มาร่วมให้ความอารักขาด้วย

เราสังเกตดูจนกระทั่งเวลาบ่ายของวันรุ่งขึ้นก็ไม่เห็นทหารบกหรืออากาศมาคุกคามประการใด ดังนั้นพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ กับหม่อมกอบแก้ว จึงกลับไปพระที่นั่งอัมพรสถาน

จากการที่พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ และนายปรีดีได้ลงพระนามและลงนามอนุมัติให้จอมพล ป. ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และวิทยุกระจายเสียงของกรมโฆษณาการก็ได้ออกอากาศให้รู้กันทั่วไป อันเป็นการปฏิบัติราชการที่ถูกต้องตามแบบแผนทุกประการ แต่ไม่ถูกใจจอมพล ป. เพราะเจตนาการลาออกของจอมพล ป. ก็เพื่อหยั่งเชิงการเข้ากุมอำนาจเบ็ดเสร็จแบบนโปเลียน ด้วยคาดคิดว่าคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์คงไม่กล้าลงพระนามและลงนามอนุมัติให้ท่านลาออก และถ้าเป็นเช่นนั้นก็เท่ากับยอมรับในอำนาจเบ็ดเสร็จของท่าน แต่เหตุการณ์ไม่ได้เป็นไปเช่นนั้น อันเป็นสัญญาณบอกให้ท่านรู้ว่าการเข้ากุมอำนาจเบ็ดเสร็จยังมีปัญหา ซึ่งหมายถึงยังมีคนต่อต้านขัดขวาง

เพื่อแก้ปัญหาการต่อต้านขัดขวางการขึ้นสู่อำนาจเบ็ดเสร็จ จอมพล ป. จึงอาศัยอำนาจตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ตามกฤษฎีกาลงวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๔ ออกคำสั่งให้พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ และนายปรีดีเข้าประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด และให้ไปรายงานตัวต่อผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ซึ่งก็คือท่านจอมพลนั่นเอง) ภายใน ๒๔ ชั่วโมง
พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ รีบไปรายงานตัวทันที ส่วนนายปรีดีไม่ยอมไป โดยให้เหตุผลว่า

“ข้าพเจ้ามีตำแหน่งเป็นผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงเป็นจอมทัพตามรัฐธรรมนูญ ถ้าข้าพเจ้าไปรายงานตัวยอมอยู่ภายใต้ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ก็เท่ากับข้าพเจ้าลดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ลงอยู่ภายใต้ผู้บัญชาการทหารสูงสุด มีรัฐมนตรีบางนายได้ชี้แจงขอร้องให้จอมพล ป.ถอนคำสั่งที่ว่านั้น ซึ่งจอมพล ป. ก็ได้ยอมถอนคำสั่ง เป็นอันว่าพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ และข้าพเจ้าคงสามารถปฏิบัติภารกิจแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงเป็นจอมทัพตามรัฐธรรมนูญได้ต่อไป”

หลังจากที่จอมพล ป. ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ก็ทรงลาออกจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๗  และสิ้นพระชนม์เมื่อ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๙

จากคุณ : เพ็ญชมพู   
บันทึกการเข้า
ธีร์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 54



ความคิดเห็นที่ 277  เมื่อ 07 ก.ค. 10, 14:30

มีเรื่องสงสัยครับ อ.นวรัตน์(ขออนุญาติเรียกอาจารย์นะครับ) กางเกงที่นายทหารรุ่นนั้นใส่(จากรูปความเห็นที่ 260 ท่านซ้ายสุด) เขามีชื่อเรียกไหมครับแล้วเราไปเอารูปแบบนี้มาจากไหนครับ ทรงเหมือนกับโจงกระเบนเลยครับ

อ้อ อาจารย์ครับ จั่นมะพร้าวทำหอกไม่ได้นะครับ  ยิ้มกว้างๆ แต่ว่าทางมะพร้าวที่เหลือจากไปทำไม้กลัดแล้ว คงจะเป็นของเล่นชั้นดีที่เดียวของเด็กไทยรุ่นเก่าๆ ทั้งหอก ดาบ ตะกล้อ นก ฯ อายจัง

ส่วนเรื่องที่ท่าน อ.เทาชมภู กล่าวถึงวันปีใหม่ไทย เมืองไทยกับเมืองจีนนี้ น่าแปลกตรงที่เดือนอ้ายกลับไม่เป็นวันตัดปีใหม่ แต่ว่ากลับไปตัดปีใหม่ตามฤดูกาล สำหรับเมืองไทยไปตัดตรุษสงกรานต์(เดือน ๕ หรือ เดือน ๖ แล้วแต่กรณี) ส่วนเมืองจีนตัดตรุษจีนเป็นวันปีใหม่  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 278  เมื่อ 07 ก.ค. 10, 14:42

ไปเจอเกร็ดที่คุณเพ็ญชมพูเล่าไว้ในห้องสมุดพันทิป  เรื่องการใช้อำนาจของจอมพล ป. ในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุด เลยขอนำมาบางส่วน
http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K8337465/K8337465.html#128

เกร็ดนี้นำมาจาก

ปรีดี พนมยงค์กับสถาบันกษัตริย์และกรณีสวรรคต สุพจน์ ด่านตระกูล
http://www.pridiinstitute.com/autopage/show_page.php?h=12&s_id=5&d_id=8&page=2&start=1

 เจ๋ง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 279  เมื่อ 07 ก.ค. 10, 14:59

มีเรื่องสงสัยครับ อ.นวรัตน์(ขออนุญาติเรียกอาจารย์นะครับ) กางเกงที่นายทหารรุ่นนั้นใส่(จากรูปความเห็นที่ 260 ท่านซ้ายสุด) เขามีชื่อเรียกไหมครับแล้วเราไปเอารูปแบบนี้มาจากไหนครับ ทรงเหมือนกับโจงกระเบนเลยครับ


คุณธีร์คงหมายถึงกางเกงทหารทรงนี้  รอคุณนวรัตนมาอธิบายดีกว่าค่ะ  ดิฉันรู้แค่รูปนี้เอง


บันทึกการเข้า
yanang
อสุรผัด
*
ตอบ: 32


ความคิดเห็นที่ 280  เมื่อ 07 ก.ค. 10, 17:55

กางเกงทหารทรงนี้ ตอนแรกเข้าใจว่าเป็นแบบเดียวกับที่สมเด็จฯเจ้าฟ้าจักรพงษ์ทรงใส่เป็นเครื่องแบบของทหารม้าฮุสซาร์เสียอีก แต่พอไปค้นรูปดูจริง ๆ กลับไม่ใช่ เพราะด้านบนเป็นเหมือนกางเกงขี่ม้าปรกติ ไม่พองเป็นโจงกระเบนแบบนี้  ...รอฟังคำตอบด้วยคนค่ะ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 281  เมื่อ 07 ก.ค. 10, 18:09

วันนี้คุณพี่นวรัตนคงจะยุ่งกับงานศพ  เพราะเมื่อเช้าบอกไว้ว่าต้องไปวัดมกุฎ  น้องชายจึงขออนุญาตมาตอบคำถามของคุณธีร์แทนพี่ชายที่เคารพไปพลาง  กางเกงที่นายทหารคนซ้ายในภาพความเห็นที่ ๒๖๐ นั้นเรียกว่ากางเกงขี่ม้าครับ  

ในสมัยปรับปรุงกองทัพเรื่อยมาจนถึงยุคงครามโลกครั้งที่ ๒  นั้น  นายทหารของไทยเรามีระเบียบการใช้กางเกงอยู่ ๓ แบบ คือ ๑) กางเกงขี่ม้า  และ ๒) กางเกงขายาวแบบที่ปรากฏในภาพ  แต่กางเกงขายาวนั้นยังมีแบบพิเศษที่ตรงปลายขามีแถบผ้าต่อลงไปสองข้างแล้วไปร้อยที่ใต้รองเท้า  เพราะในสมัยก่อนนั้นกางเกงนายทหารมีแถบสีที่ด้านนอกขากางเกง  การร้อยสายรัดใต้รองเท้าจะทำให้แถบขากางเกงนั้นตึงแลดูสวยงาม  กางเกงแบบที่ ๓) เรียกว่า กางเกงขาสั้น  ที่เรียกว่าขาสั้นนั้นเพราะขากางกางเกงยาวไปถึงใต้เข่า  กางเกงแบบนี้จะไม่มีทรง  ขากางเกงจะตรงเป็นทรงกระบอกตั้งแต่ต้นขาแล้วไปรวบที่ใต้เข่า  ถ้าเป็นนายทหารก็สวมรองเท้าสูงหรือบูทขึ้นมาสวมทับขากางเกงตรงที่รัดไว้ใต้เข่า  แต่ถ้าเป็นนายทหารที่มิได้สวมรองเท้าสูงหรือนายสิบพลทหารที่สวมรองเท้าหุ้มข้อหรือไม่สวมรองเท้า เพราะรองเท้าเป็นของราคาแพง  ก็ใช้ผ้าพันแข็งพันตั้งแต่ข้อเท้าขึ้นไปจนถึงใต้เข่าเหมือนในภาพที่ท่านอาจารย์ใหญ่กรุณานำมาลงไว้ให้ชมกันในความเห็นก่อนหน้า  ผ้าพันแข้งนี้มีไว้สำหรับป้องกันงูหรือสัตว์ร้ายฉกกัดในบริเวณน่อง

สำหรับกางเกงขาสั้นอย่างที่นักเรียนใช้กันอยู่นั้น  ในสมัยก่อนท่านเรียกกันว่า "กางเกงไทย"  คุณสมบัติที่สำคัญของกางเกงไทยนั้น  พระบาทสมเด็จพพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีลายพระราชหัตถ์เล่าความไว้ว่า  สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงถวายความเห็นไว้ว่า กางเกงตัวใดที่ถลกขากางเกงขึ้นมาปัสสาวะได้ให้เรียกกางเกงไทย

โปรดสังเกตภาพนายทหารที่ยืนหันหลังข้างล่างนี้  กางเกงที่ท่านสวมอยู่เรียกว่า กางเกงขาสั้น  ซึ่งในเอกสารบางฉบับออกชื่อว่า กางเกงรูเซีย


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 ก.ค. 10, 18:38 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 282  เมื่อ 07 ก.ค. 10, 18:36

น่าทึ่งมาก ขอบคุณคุณวีมีสำหรับคำอธิบายค่ะ     ไม่เคยดูออกเลยว่าเป็นกางเกงขาสั้นที่รวบปลาย  ถ้าขาไม่บานมากก็ไม่พองเท่าไร  ถ้าบานมากก็พองมาก เป็นโจงกระเบน
สนับแข้ง ก็เพิ่งเห็นวันนี้เองว่าหน้าตาเป็นยังไง  ทีแรกนึกว่าทหารฝรั่งเขาสวมบู๊ตสูงเสียอีก
เอามาแถมให้ดูอีกรูปค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 283  เมื่อ 07 ก.ค. 10, 18:56

เดาว่าในเมื่อนายทหารของสยามจบจากเยอรมันกันมาก   เครื่องแบบทหารไทยก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ก็คงเป็นแบบเยอรมัน
ไปค้นรูปนายทหารสวมเครื่องแบบเยอรมันสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๑ มาได้     รูปขวาสุดสวมกางเกงมีแถบข้างอย่างที่คุณ V_Mee อธิบายไว้ว่าต้องมีสายรัดใต้ฝ่าเท้าให้ตึง    ส่วนทางซ้ายก็ทรงพองอย่างที่เป็นปริศนาให้ถามกัน
ตรงกลาง ไม่ใช่นายทหารนุ่งกระโปรง   แต่ว่าเป็นเสื้อโค้ตยาวสวมในฤดูหนาว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 284  เมื่อ 07 ก.ค. 10, 21:49

วันนี้ตั้งแต่เช้าเพิ่งกลับมาถึงบ้าน ยอมรับว่าเหนื่อยจริงๆครับ แต่เข้าห้องเรือนไทยมาแล้วชื่นใจกับทุกท่านที่เข้ามาช่วยเสริมความรู้ความบันเทิงให้กับท่านผู้อ่านไม่ให้ขาดตอนความสนุก คืนนี้ผมยังลุยต่อมากไม่ไหว พรุ่งนี้เก็บอัฐิแต่เช้า แล้วทำบุญเลี้ยงพระเพล ขอเวลาให้ผมอีกสักวันสองวันจะกลับมาวิ่งเต็มสูบใหม่


ไหนๆเข้ามาแล้วก็ขอขัดตาทัพด้วยของแท้ รูปจอมพลป.พิบูลสงครามในชุดเครื่องแบบกางเกงขี่ม้า ร้องเท้าทอปบู๊ตหนังเท่ระเบิด หล่อเฟี้ยว


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 46
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 20 คำสั่ง