เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 149 เมื่อ 29 มิ.ย. 10, 22:03
|
|
รายชื่อแม่ทัพในสงครามอินโดจีน ๑๓ พฤศจิกายน ๒๔๘๓ ฝ่ายไทยได้แต่งตั้ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด แม่ทัพบก แม่ทัพเรือ และแม่ทัพอากาศ กองทัพบก ได้จัดกองทัพบกสนาม โดยมีนายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดและเป็นแม่ทัพบก ประกอบด้วย กองทัพบูรพา กองทัพอีสาน กองพลผสมปักษ์ใต้ กองพลพายัพ และกองพลผสมกรุงเทพ ฯ มีการประกอบกำลัง ดังนี้ กองทัพบูรพา นายพันเอก หลวงพรหมโยธี เป็นแม่ทัพ มีภารกิจ เข้าตีด้านประเทศเขมร เพื่อเข้ายึดกรุงพนมเปญ บรรจบกับกองทัพอิสานที่พนมเปญ แล้วทั้งสองกองทัพกวาดล้างข้าศึกขึ้นไปทางเหนือ ตามแนวแม่น้ำโขง เพื่อบรรจบกับกองพลพายัพที่กวาดล้างลงมาทางใต้ ประกอบด้วย กองพลพระนคร กองพลลพบุรี กองพลปราจีนบุรี กองพลวัฒนานคร กองพลจันทบุรี โดยตั้งกองบัญชาการอยู่ที่จังหวัดปราจีนบุรี กองพลพระนคร ประกอบด้วย กองพันทหารราบที่ ๑, ที่ ๒ และ ที่ ๓ กองพลลพบุรี ประกอบด้วย กองพันทหารราบที่ ๔, ๖, ๓๗, ๑ (หนุน), ๒๙ (หนุน) และกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๔ กองพลปราจีนบุรี ประกอบด้วย กองพันทหารราบที่ ๕, ๘, ๔๕, ๓๑ (หนุน) (จัดแบบกองพันอัตราศึก) และ ๑ กองพันทหารปืนใหญ่ กองพลวัฒนานคร ประกอบด้วย กองพันทหารราบที่ กองพลจันทบุรี ประกอบด้วย กองพันนาวิกโยธินที่ ๑, ที่ ๒, ที่ ๓, กองพันทหารม้าที่ ๔ (ม.พัน ๔ ), กองพันทหารปืนใหญ่นาวิกโยธิน, กองทหารช่าง (ทบ.) และ กองทหารสื่อสาร (ทบ.)
กองทัพอีสาน นายพันเอก หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต เป็นแม่ทัพ มีภารกิจ เข้าตีตามแนวชายแดนด้านเขมรตั้งแต่เขตจังหวัดสุรินทร์ ไปถึงด้านลาว ตั้งแต่เขตจำปาศักดิ์ ไปถึงด้านเหนือ คือเวียงจันทน์ ด้านเหนือ ให้ทำการบรรจบกับกองพลพายัพที่เวียงจันทน์ แล้วให้รุกลงมาทางใต้ตามแนวลำน้ำโขง ประกอบด้วย กองพลอุดร กองพลอุบล กองพลสุรินทร์ กองพลธนบุรี กองพลนครราชสีมา หน่วยขึ้นตรงกองทัพฝ่ายกิจการพิเศษ กองหนุนกองทัพ และหน่วยทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน กองพลอุดร ประกอบด้วย กองพันทหารราบที่ ๒, ๒๒, ๒๒(หนุน), ๑ กองพันทหารปืนใหญ่, กองทหารช่าง,กองทหารสื่อสาร และกองกำลังสำรอง ปฏิบัติการอยู่ในบริเวณพื้นที่จังหวัดอุดรธานี เลย หนองคาย นครพนม และสกลนคร
กองพลอุบล ประกอบด้วย กองพันทหารราบที่ ๑๙, ๒๐, ๒๑, ๓๐, กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๘, กองทหารม้าที่ ๕, หมวดรถรบ, กองทหารช่าง, กองทหารสื่อสาร, กองกำลังสำรอง และกองพลาธิการกองพล ปฏิบัติการอยู่ในบริเวณพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี และศรีสะเกษ
กองพลสุรินทร์ ประกอบด้วย กองพันทหารราบที่ ๗,๒๙,๑๙ (หนุน),กองพันทหารม้าที่ ๓, กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑๐, กองทหารช่าง, กองทหารสื่อสาร และ กองกำลังสำรอง ปฏิบัติการอยู่ในบริเวณพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ และบุรีรัมย์
กองพลธนบุรี เป็นกำลังหนุนเพิ่มเติม ตั้งขึ้นภายหลังการทำสัญญาพักรบ มีภารกิจแก้ปัญหาเมื่อฝรั่งเศสไม่ปฏิบัติตามสัญญาไกล่เกลี่ยของญี่ปุ่น ประกอบด้วย กองพันทหารราบที่ ๒๘, ที่ ๒ (หนุน), ที่ ๓ (หนุน), กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๖, กองทหารสื่อสาร และ กองกำลังสำรอง กองพลนครราชสีมา เป็นกำลังหนุนเพิ่มเติม ตั้งขึ้นภายหลังการทำสัญญาพักรบ มีภารกิจเช่นเดียวกับกองพลธนบุรี ประกอบด้วย กองพันทหารราบที่ ๒๑, ที่ ๒๑ (หนุน), ที่ ๑๙ (หนุน) และ ที่ ๑๙ (หนุน)
กองพลผสมปักษ์ใต้ ประกอบด้วย กองพลสงขลา และกองพลนครศรีธรรมราช มีนายพันเอก หลวงเสนาณรงค์ เป็นผู้บัญชาการกองพล กองพลสงขลา ประกอบด้วย กองพันทหารราบที่ ๕, ที่ ๔๑, ที่ ๔๒ และกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑๗ กองพลนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย กองพันทหารราบที่ ๓๘, ที่ ๓๙, ที่ ๔๐ และกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๓
กองพลพายัพ นายพันโท หลวงหาญสงคราม เป็นผู้บัญชาการกองพล มีภารกิจ เข้าตีเพื่อยึดหลวงพระบาง เวียงจันทน์ แล้วกวาดล้างข้าศึกลงมาทางใต้ ตามแนวลำน้ำโขง เพื่อทำการยุทธบรรจบกับกองทัพอิสาน ประกอบด้วย กองพันทหารราบที่ ๓๐,ที่ ๓๑,ที่ ๒๘ (หนุน),ที่ ๓๐ (หนุน) และกองทหารสื่อสาร กองพลผสมกรุงเทพ ฯ ประกอบด้วย กองพันทหารม้าที่ ๑, กองพันทหารช่างที่ ๗, กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑๖, กองสื่อสารและกองรถรบ
|