เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 41 42 [43] 44 45 46
  พิมพ์  
อ่าน: 329671 ชะตากรรมของพระยาทรงสุรเดช หนึ่งในสี่ทหารเสือคณะราษฎร์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 630  เมื่อ 20 พ.ย. 14, 20:15

ได้อ่านถึงตรงนี้หรือยังครับ

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3438.0


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 631  เมื่อ 21 พ.ย. 14, 07:22

ถ้าสังเกตให้ดี หนังสือของท่านหญิงพูนที่พิมพ์นั้นเป็นเฉพาะแผ่นดินที่ 7 เข้าใจว่าทรงไว้ตั้งแต่แผ่นดินที่ 1 แต่นำมาพิมพ์จำหน่ายเฉพาะส่วนหลัง เหตุผลก็คงเหมือนที่สมเด็จกรมพระยาดำรงตรัสไว้ คือถ้าจะทรงพระประวัติต่อให้จบ ก็ต้องพาดพิงถึงใครต่อใครไม่มากก็น้อย ต้องมีคนเสียหาย ท่านจึงหยุดทรงเรื่องของท่าน ผมคิดว่าท่านหญิงพูนคงเสียดายเรื่องต่างๆ ที่ท่านทราบมา เลยนิพนธ์เองบ้าง แต่ก็มาติดที่การเผยแพร่ อยากให้นำมาตีพิมพ์เช่นเดียวกันกับพระราชประวัติ รัชกาลที่ 6 คงจะได้รับรู้เรื่องเราในอีกหลายมุม ที่ไม่เคยมีคนกล่าวถึงมาก่อนครับ

บันทึกของหม่อมเจ้าพูนพิศมัย  ดิศกุล นี้ฉลับเต็มชื่อว่า "พระราชวงศ์จักรี"  ทรงนิพนธ์ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ - ๗  จบลงตอนที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพสิ้นพระชนม์ครับ 

การตีพิมพ์พระนิพนธ์ดังกล่าวอาจจะเป็นดาบสองคมก็ได้ครับ  เพราะถ้าผู้อ่านไม่มีพื้นความรู้ทาางประวัติศาสตร์และไม่เคยรับรู้เบื้องหลังเบื้องลึกในเหตุการณ์ต่างๆ รวมทั้งบุคคลที่ถูกพาดพิงถึงอาจจะเกิดความเข้าใจผิดกันได้ง่าย  เหมือนอย่างเช่นพระราชบันทึก "ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖" ที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่  แล้วมีการนำไปวิพากษ์เป็นเรื่อง "ตลกร้าย" ที่เวทีเสวนาจังหวัดเชียงใหม่  มีการอัดวิดิโอเผยแพร่ทาง Youtube  จนทำให้หลายๆ คนที่ไม่มีพื้นความรู้ในเรื่องที่ถูกกล่าวถึงพลอยเชื่อตามผู้ร่วมเสวนา  ในขณะที่ผู้ที่มีภูมิรู้ก็อดสังเวชในความ "ไม่รู้" แต่ "อวดรู้" ของผู้ร่วมเสวนา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 632  เมื่อ 21 พ.ย. 14, 08:42

เห็นด้วยกับคุณ V_Mee ค่ะ
เป็นการง่ายที่จะถูกบิดเบือนเพื่อสนองเจตนารมณ์ของผู้เขียน    ที่ไม่ใช่เชิงวิชาการแต่อ้างว่าเป็นวิชาการ
บันทึกการเข้า
unming
อสุรผัด
*
ตอบ: 19


ความคิดเห็นที่ 633  เมื่อ 21 พ.ย. 14, 08:46

สวัสดีคะ อาจารย์ ทุก ๆ ท่าน
ติดตามอ่าน เรือนไทย มานานแล้ว โดยส่วนใหญ่ จะเข้ามาอ่านเกือบจะทุกวัน ติดตามทุกกระทู้คะ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์

ขอขอบพระคุณทุกความรู้ที่มอบให้นะคะ
บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 634  เมื่อ 21 พ.ย. 14, 14:56

ถ้าจะอ่าน "สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น" แนะนำว่าให้อ่านคำนำทั้งหมดตั้งแต่ต้นให้ละเอียดด้วยค่ะ จะเข้าใจในหนังสือเล่มนี้มากขึ้น ทั้งในส่วนของท่านผู้ประพันธ์เองและในส่วนของสำนักพิมพ์ ทุกอย่างมีบอกหมดในส่วนคำนำค่ะ
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 635  เมื่อ 21 พ.ย. 14, 15:01

ถ้าสังเกตให้ดี หนังสือของท่านหญิงพูนที่พิมพ์นั้นเป็นเฉพาะแผ่นดินที่ 7 เข้าใจว่าทรงไว้ตั้งแต่แผ่นดินที่ 1 แต่นำมาพิมพ์จำหน่ายเฉพาะส่วนหลัง เหตุผลก็คงเหมือนที่สมเด็จกรมพระยาดำรงตรัสไว้ คือถ้าจะทรงพระประวัติต่อให้จบ ก็ต้องพาดพิงถึงใครต่อใครไม่มากก็น้อย ต้องมีคนเสียหาย ท่านจึงหยุดทรงเรื่องของท่าน ผมคิดว่าท่านหญิงพูนคงเสียดายเรื่องต่างๆ ที่ท่านทราบมา เลยนิพนธ์เองบ้าง แต่ก็มาติดที่การเผยแพร่ อยากให้นำมาตีพิมพ์เช่นเดียวกันกับพระราชประวัติ รัชกาลที่ 6 คงจะได้รับรู้เรื่องเราในอีกหลายมุม ที่ไม่เคยมีคนกล่าวถึงมาก่อนครับ

บันทึกของหม่อมเจ้าพูนพิศมัย  ดิศกุล นี้ฉลับเต็มชื่อว่า "พระราชวงศ์จักรี"  ทรงนิพนธ์ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ - ๗  จบลงตอนที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพสิ้นพระชนม์ครับ 

การตีพิมพ์พระนิพนธ์ดังกล่าวอาจจะเป็นดาบสองคมก็ได้ครับ  เพราะถ้าผู้อ่านไม่มีพื้นความรู้ทาางประวัติศาสตร์และไม่เคยรับรู้เบื้องหลังเบื้องลึกในเหตุการณ์ต่างๆ รวมทั้งบุคคลที่ถูกพาดพิงถึงอาจจะเกิดความเข้าใจผิดกันได้ง่าย  เหมือนอย่างเช่นพระราชบันทึก "ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖" ที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่  แล้วมีการนำไปวิพากษ์เป็นเรื่อง "ตลกร้าย" ที่เวทีเสวนาจังหวัดเชียงใหม่  มีการอัดวิดิโอเผยแพร่ทาง Youtube  จนทำให้หลายๆ คนที่ไม่มีพื้นความรู้ในเรื่องที่ถูกกล่าวถึงพลอยเชื่อตามผู้ร่วมเสวนา  ในขณะที่ผู้ที่มีภูมิรู้ก็อดสังเวชในความ "ไม่รู้" แต่ "อวดรู้" ของผู้ร่วมเสวนา

ถ้าเป็นเฟสบุ๊คจะขอกดไลก์ให้ท่านอาจารย์วีมีสักล้านครั้งค่ะ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
ป้าหวัน
มัจฉานุ
**
ตอบ: 56


ความคิดเห็นที่ 636  เมื่อ 21 พ.ย. 14, 17:37

 ยิงฟันยิ้ม ขอบคุณคุณNAVARATค่ะ ยังอ่านไม่ถึงจริงๆเพราะเพิ่งถึงหน้า21 ตั้งใจและบรรจงอ่านทุกตัวอักษรจึงอ่านช้าค่ะ Can't wait to get to the page!
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 637  เมื่อ 21 พ.ย. 14, 19:30

ค่อยๆอ่านไปครับ เนื้อๆทั้งนั้น ไม่ใช่ขนม อาจต้องใช้เวลาย่อยอยู่บ้าง
บันทึกการเข้า
cottoncandy
อสุรผัด
*
ตอบ: 21


ความคิดเห็นที่ 638  เมื่อ 22 พ.ย. 14, 22:18

ขอบคุณคุณเพ็ญชมพูมากค่ะที่มีน้ำใจสแกนทั้งหน้ามาให้ ที่ตั้งใจถามถึงสองหน้านั้นเป็นการเฉพาะก็เพราะรู้อยู่แล้วว่าสมาชิกหลายท่านมีหนังสือเล่มนี้อยู่ในมือแล้ว เผื่อว่าจะเข้าถึงหนังสือไม่ได้ก็จะได้มีคนมาไขข้อข้องใจได้บ้าง แต่ตอนนี้ได้หนังสือมาแล้วและได้อ่านโดยละเอียดพอสมควรแล้วค่ะ ตรงที่เป็น...ก็ทำเอามึนอยู่ แต่ตรงที่กล่าวถึงเรื่องเงินนั้นท่านหญิงพูนระบุไว้ชัดเจนว่ารัชกาลที่ ๗ ทรงเป็นแพะ ถือว่าชัดเจนมาก ๆ ค่ะ

ได้กลับมาดูต้นฉบับอีกครั้งทำให้เข้าใจว่าผู้เขียนเพียงอ้างอิงจำนวนเงินสองแสนที่ท่านหญิงพูนระบุไว้ว่าตรงกับคำพิพากษาศาลพิเศษ ซึ่งใช้ในการสนับสนุน "กองทัพสีน้ำเงิน"

สำหรับคำว่า "กองทัพสีน้ำเงิน" ที่ปรากฏร่วมอยู่ใกล้กันนี้ ชัดเจนแล้วว่าเป็นคำที่ผู้เขียนตั้งขึ้นมาเอง ไม่มีการอ้างอิงข้อมูลจากหนังสือเล่มไหนแต่อย่างใด ซึ่งในชั้นแรกก่อนที่จะได้ไปค้นข้อมูลอ้างอิงตามที่ระบุไว้ท้ายหน้านั้นจนครบหมดแล้วยอมรับว่าทำให้มึนงงและสับสนมาก ๆ ค่ะ แต่ดูเหมือนผู้เขียนก็ได้อ้างความชอบธรรมในการตั้งชื่อ "กองทัพสีน้ำเงิน" เช่นนั้น ด้วยข้อมูลอื่นที่ตัวเองมีอยู่ดังจะเห็นได้จากบทความที่ขอตัดตอนมาล่างข้างนี้

"น้ำเงินแท้" (True Blue) :

หนังสือพิมพ์และการกู่ก้องร้องเพลง

ประกาศอุดมการณ์ในแดนหก

ในระหว่างที่พวกเขาถูกคุมขังเพื่อรอการพิจารณาตัดสินจากศาลพิเศษนั้น ด้วยศรัทธาแห่งอุดมการณ์อันแรงกล้าไม่อาจทำให้แนวหลักและแนวร่วมของ "คณะกู้บ้านกู้เมือง" นี้สิ้นหวัง แต่ยังคงเคลื่อนไหวต่อไปโดยผ่านการออกหนังสือพิมพ์แสดงอุดมการณ์ของกลุ่มตนในนาม "น้ำเงินแท้" ในเรือนจำ ในนิยายกึ่งชีวประวัติของ ม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตน๒๗ เรื่องเมืองนิมิตร ได้บันทึกถึงกำเนิดของหนังสือพิมพ์นี้ว่า ร.ท.จงกล ไกรฤกษ์ เป็นผู้เสนอทำหนังสือพิมพ์ขึ้นก่อนเพื่อเผยแพร่ข่าวสารให้พรรคพวกทราบ โดยหนังสือพิมพ์นี้เป็นหนังสือพิมพ์ที่เขียนด้วยมือของ ร.ท.จงกล ไกรฤกษ์ ลงบนกระดาษสมุด ภายหลัง ม.ร.ว.นิมิตรมงคลได้เปลี่ยนวัตถุประสงค์หนังสือพิมพ์เพื่อใช้เป็นตำราการเมือง เป็นหนังสือพิมพ์ชื่อ "น้ำเงินแท้" ขึ้นแทน มีลักษณะเป็นสมุดปกแข็ง หุ้มด้วยกระดาษแก้ว การผลิตหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ได้รับความร่วมมือร่วมใจจากเหล่านักโทษการเมืองมาก ตั้งแต่การเขียนภาพปก ภาพหัวเรื่อง โดย เพรา พวงนาค, เติม พลวิเศษ และแปลก ยุวนวรรธนะ สำหรับนักเขียนประจำใน "น้ำเงินแท้" มีเช่น หลวงมหาสิทธิโวหาร (สอ เสถบุตร), พระยาศราภัยพิพัฒ, พระศรีสุทัศน์, หลุย คีรีวัต, ร.ท.จงกล ไกรฤกษ์ และ "แม่น้ำโขง" (อ่ำ บุญไทย) เป็นต้น

การเผยแพร่หนังสือพิมพ์นี้ ชาว "น้ำเงินแท้" ใช้วิธีการซุกซ่อนใต้กระถางต้นไม้ บนหลังคาห้องน้ำ บ่อขยะ เพื่อสื่อสารระหว่างกัน ทั้งที่ฝ่ายเจ้าหน้าที่เรือนจำได้ตรวจตราเป็นอย่างมากก็ไม่อาจจับได้

ความมุ่งมั่นในการออก "น้ำเงินแท้" นี้ดำเนินต่อไปได้ถึง ๑๗ ฉบับ ความพยายามในการเผยแพร่อุดมการณ์ไม่จำกัดแต่เพียงในแดนหกเท่านั้น แต่ชาว "น้ำเงินแท้" ยังพยายามเผยแพร่หนังสือนี้ออกสู่ภายนอกด้วยวิธีการผูกสมุดแนบกับตัวหรือท่อนขาของญาติที่มาเยี่ยม หรือฝากให้เมื่อพบกันที่ศาล๒๘ บทความที่ลงใน "น้ำเงินแท้" นั้นในสายตาของชุลี สารนุสิต ชาว "น้ำเงินแท้" คนหนึ่งแล้ว เห็นว่าเป็นบทความที่ดุเดือดที่เขียนจาก "ปากกาที่เผาด้วยเพลิง" มีทั้งบทความที่วิพากษ์วิจารณ์แห่งรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๔๗๕ และของต่างประเทศ และความเห็นเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจ การศึกษา๒๙ เป็นต้น

อย่างไรก็ตามหากลองพิจารณาบันทึกความทรงจำที่เกี่ยวกับพฤติกรรมและอุดมการณ์การเมืองของชาว "น้ำเงินแท้" ที่เผยแพร่ออกมาในช่วงบรรยากาศเปิดทางการเมืองหลัง ๒๔๘๘ แล้ว เราอาจจะเข้าใจความหมายที่ซ่อนเร้นอยู่ในใจของพวกเขา ดังนี้ ชุลี สารนุสิต ได้บันทึกความทรงจำถึงความหมายของ "น้ำเงินแท้" ในแดนหก ว่า "น้ำเงินแท้" สามารถตีความได้ ๒ แบบ คือ สีของชุดนักโทษ หรือสีน้ำเงินในธงชาติ เขาเห็นว่าถูกทั้งสองความหมาย แต่เขาได้ย้ำเป็นพิเศษว่า สำหรับเขาแล้ว สีน้ำเงิน คือ "สีที่บริสุทธิ์ และเป็นธงชัยแห่งความหวัง"

ไม่แต่เพียงความเคลื่อนไหวของกลุ่มนักโทษทางการเมืองเหล่านี้ด้วยการออกหนังสือพิมพ์เท่านั้น แต่ยังมีการแต่งเพลงร้องปลุกใจในพวกพ้องด้วย โดย ม.จ.สิทธิพร กฤดากร ได้ทรงแต่งเพลง "น้ำเงินแท้" หรือ "True Blue" ขึ้น๓๐ ชุลีเล่าเสริมว่าเพลงนี้ได้แพร่หลายไปในหมู่นักโทษการเมืองอย่างรวดเร็ว แม้ว่าพรรคพวกที่เป็นผู้ใหญ่ที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษก็ยังร้องได้ เขาย้ำว่าเป็นเพราะว่าเพลง "True Blue" คือ "น้ำเงินแท้" นั่นเอง แม้ว่าภายหลังเจ้าหน้าที่เรือนจำเข้มงวดมากขึ้นจนทำให้ต้องยุติการออกหนังสือพิมพ์ แต่พลังของความหมายของ "น้ำเงินแท้" ไม่จบสิ้นลงในฐานะหนังสือพิมพ์เท่านั้น แต่บทเพลงแห่งอุดมการณ์ยังคงกึกก้องในหัวใจ ชุลีได้สรุปว่า "หนังสือน้ำเงินแท้ได้สิ้นลมปราณลงแล้ว เพราะความระมัดระวังตัวของพวกเรา แต่บทเพลงน้ำเงินแท้ยังคงชีพอยู่และก้องอยู่ในจิตต์ใจของนักโทษการเมืองทุกคน"๓๑

หลังจากถูกตัดสินลงโทษแล้ว ทั้งนักโทษการเมืองในกรณีกบฏบวรเดช ๒๔๗๖ และนักโทษในกรณีอื่นๆ เช่น การลอบสังหารหลวงพิบูลสงครามและการโค่นล้มรัฐบาล ได้ถูกส่งตัวไปกักขังที่เกาะตะรุเตาและเกาะเต่า อันเป็นที่มาของประสบการณ์ที่ชาว "น้ำเงินแท้" และนักโทษการเมืองอื่นๆ ได้ใช้เป็นวัตถุดิบในการเขียนสารคดีการเมืองทยอยออกมาเป็นชุดหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทั้งในหน้าหนังสือพิมพ์ หรือในรูปหนังสือสารคดีการเมืองเล่มเล็กๆ ที่เป็นอันนิยมขณะนั้น โดยโครงเรื่องส่วนใหญ่เป็นการเล่าถึงความยากลำบาก ความทุกข์ทรมานในขณะถูกจำคุกด้วยน้ำมือของคณะราษฎรที่พวกเขากล่าวหาว่า "ไม่เป็นประชาธิปไตย" และ "เป็นคณาธิปไตย" ทางการปกครอง ตลอดจน "อยุติธรรม" ในการกวาดจับพวกเขา




บันทึกการเข้า
cottoncandy
อสุรผัด
*
ตอบ: 21


ความคิดเห็นที่ 639  เมื่อ 22 พ.ย. 14, 22:30

โดยส่วนตัวคิดว่าผู้เขียนใช้คำว่า "กองทัพสีน้ำเงิน" ในการขึ้นต้นบทความแบบนั้นมีแนวโน้มที่จะทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจผิดอยู่มากค่ะ แม้จะไปอ้างถึง True Blue ทีหลัง แต่ก็ไม่เกี่ยวกันเสียทีเดียว ที่จริงแล้วอยากเอาต้นฉบับมาลงให้ดูมาก รวมถึงตรงที่ผู้เขียนอ้างถึงบทความบางตอนของ มจ ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท เพื่อสนับสนุนข้ออ้างของตนเองด้วย แต่ติดอยู่ที่ว่าความสามารถน้อย ไม่สามารถปรับไฟล์รูปให้มีขนาดตรงกับที่กำหนดเอาไว้ได้ ครั้งที่ทำได้ก็ด้วยอาศัยยืมมือคนอื่นมาปรับขนาดไฟล์ให้ พอลองทำเองก็เล็กจนเกินกว่าจะอ่านรู้เรื่องได้ คิดว่าบางทีจะหาเว็บฝากไฟล์เป็นตัวช่วยให้ตามลิ้งค์ไปดูกันค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 640  เมื่อ 23 พ.ย. 14, 08:21

นายคนเขียนนี่อ่านหนังสือที่เขานำมาอ้างอิงเพียงจิ้มๆ หาข้อความที่นำจะไปบิดเบือนภายใต้ปกที่ดูเป็นวิชาการ อย่างเช่น

อ้างถึง
ในนิยายกึ่งชีวประวัติของ ม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตน๒๗ เรื่องเมืองนิมิตร ได้บันทึกถึงกำเนิดของหนังสือพิมพ์นี้ว่า ร.ท.จงกล ไกรฤกษ์ เป็นผู้เสนอทำหนังสือพิมพ์ขึ้นก่อนเพื่อเผยแพร่ข่าวสารให้พรรคพวกทราบ โดยหนังสือพิมพ์นี้เป็นหนังสือพิมพ์ที่เขียนด้วยมือของ ร.ท.จงกล ไกรฤกษ์ ลงบนกระดาษสมุด ภายหลัง ม.ร.ว.นิมิตรมงคลได้เปลี่ยนวัตถุประสงค์หนังสือพิมพ์เพื่อใช้เป็นตำราการเมือง เป็นหนังสือพิมพ์ชื่อ "น้ำเงินแท้" ขึ้นแทน มีลักษณะเป็นสมุดปกแข็ง หุ้มด้วยกระดาษแก้ว

เรืองเมืองนิมิตร ความฝันของนักอุดมคติ เป็นนวนิยายที่ตัวเอกเป็นนักโทษการเมืองคดีกบฏบวรเดช แต่ไม่มีตอนใดที่กล่าวถึงหนังสือพิมพ์ชื่อน้ำเงินแท้ตามที่หมอนั่นเขียน
ม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตนเขียนบันทึกเรื่องจริงในชีวิตของตนเองขึ้นมาอีกเรื่องหนึ่ง ชื่อ "ชีวิตแห่งการกบฏสองครั้ง" ในนั้นแหละที่กล่าวถึงหนังสือที่ตนเป็นบรรณาธิการ ใช้ชื่อว่าน้ำเงินแท้ ส่วนตำราการเมืองดังกล่าวมาจากคำอธิบายของม.ร.ว.นิมิตรมงคลเองว่า ในเมื่อนักโทษการเมืองส่วนใหญ่ต้องไปเกี่ยวข้องและรับโทษทางการเมือง โดยไม่รู้ด้วยซ้ำว่า "การเมือง" คืออะไร กล่าวคือรัฐธรรมนูญชั่วคราวของคณะราษฏรห้ามประชาชนศึกษาหาอ่านในเรื่องการเมือง หรือตั้งพรรคการเมืองใดๆมาแข่งกับคณะราษฎรทั้งสิ้น ผู้ใดละเมิดมีสิทธิ์ถูกจับไปตั้งข้อหากบฏ ดังนั้นในน้ำเงินแท้จึงมีบทความที่ให้ความรู้เรืองระบอบการเมืองต่างๆในโลก บทความเหล่านี้เมื่อม.ร.ว.นิมิตรมงคลพ้นโทษ(ครั้งแรก)แล้ว ได้พิมพ์เป็นพ๊อกเก๊ตบุค ชื่อ "พรรคการเมืองสยามและต่างประเทศ" ซึ่งเป็นบทวิชาการบริสุทธิ์ แต่ก็ถูกสันติบาลของพล.ต.อดุล อดุลเดชจรัส สมัยรัฐบาล ป.บุกไปยึดถึงโรงพิมพ์ก่อนวางจำหน่าย

นวนิยาย สารคดี และบทวิชาการทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ได้รับการตีพิมพ์รวมเล่มไว้ในวาระ ๑๐๐ปี ชาตกาลของม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตน ผู้ที่ได้อ่านย่อมเข้าใจได้ด้วยตนเองว่า นี่คือเคราะห์กรรมของปัญญาชนผู้บริสุทธิ์ชัดๆ ผมจึงได้แต่ปลงว่า แม้ในยุคปัจจุบันที่อ้างประชาธิไตยจ๋า ก็ยังมีคนบาปอยู่ที่เลือกจะโกหกเพื่อป้ายสีคนอื่น ม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตนยังคงตกเป็นเหยื่อ เพียงเพราะผู้เขียนคนนั้นหมายจะชูความคิดเห็นทางการเมืองของตนเองเท่านั้น
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 641  เมื่อ 23 พ.ย. 14, 08:47

ม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตนเขียนบันทึกเรื่องจริงในชีวิตของตนเองขึ้นมาอีกเรื่องหนึ่ง ชื่อ "ชีวิตแห่งการกบฏสองครั้ง" ในนั้นแหละที่กล่าวถึงหนังสือที่ตนเป็นบรรณาธิการ ใช้ชื่อว่าน้ำเงินแท้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
cottoncandy
อสุรผัด
*
ตอบ: 21


ความคิดเห็นที่ 642  เมื่อ 23 พ.ย. 14, 10:16

ขอบคุณคุณนวรัตน์กับคุณเพ็ญชมพูมากค่ะที่เข้ามาช่วยกันอธิบายให้เห็นกระจ่าง

นอกจากนี้ผู้เขียนคือคุณณัฐพล ได้อ้างถึงเพลง True Blue โดย มจ สิทธิพร กฤดากร เพื่อยกเอามาสนับสนุนการตั้งชื่อ "กองทัพสีน้ำเงิน" เช่นเดียวกันค่ะ

True Blue


We have been in prison for over three years,
But there's no reason for living in fear.
We're bright and merry,'cause we're
Not very sad at being here for merely.
Doing our duty to Country and King.
So let be cheery make the well kin'ring,
Long live the King, We say Hoo-ray and sing.
We hope to go home pretty soon, Yes, we do.
You too,You too.
Back to Wives and Sweethearts, also ture, To you,
Let's say that we vow all of us to remain,
Ture Blue, And pray,
That our King be with us all life through,
Chai-Yo, "True Blue".
บันทึกการเข้า
GAIA
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 643  เมื่อ 11 ธ.ค. 14, 23:39

ใช้เวลาอ่านพักนึงติดตามมาจาก Fanpage Facebook คณะนึง ต้องขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านที่ได้สบะเวลาให้คนรุ่นหลังเข้าใจความจริงแท้ของประวัติศาสตร์มากขึ้น ไม่เสียดายเวลาที่อ่านตั้งนาน แต่เสียดายเวลาที่ผมไปอยู่ที่ไหนมาถึงเพิ่งจะมาเจอกระทู้แบบนี้

สมัยก่อนเรียนหนังสือในโรงเรียนนึกว่าจะถ่องแท้ที่ไหนได้มันต้องอ่านอีกเยอะ

กระทู้แบบนี้ต้องเก็บไว้าอนลูกหลานนานๆครับ

ผมอยู่แวดวงวิชาการ/วิทยาศาสตร์/ยังเพิ่งจะมากระจ่างไม่นานนี้เอง

ขอบพระคุณอีกครั้งครับ

 ยิ้มกว้างๆ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 644  เมื่อ 12 ธ.ค. 14, 07:11

ยินดีที่ได้ทราบครับ ขอบคุณมาก
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 41 42 [43] 44 45 46
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 20 คำสั่ง