เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 525 เมื่อ 16 ก.ค. 10, 09:05
|
|
คำถามบางเรื่องมันก็เหมือนเพลง Blowin' in the Wind คือไม่มีคำตอบ
อ่านกระทู้นี้แล้วนึกถึงพระพุทธวัจนะ "สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้ (จูฬกัมมวิภังคสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔)
คำว่า กรรม มีทั้งกุศลกรรม(กรรมฝ่ายดี) และอกุศลกรรม(กรรมฝ่ายชั่ว) มนุษย์ปุถุชนอย่างเราๆย่อมกระทำกรรมทั้งสองอย่าง มากน้อยคละปนกันไป ผลแห่งกรรมตามพุทธศาสนามี 4 อย่าง คือ
ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้ อุปปัชชเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า อปราปริเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆไป อโหสิกรรม หมายถึง กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีก
พระยาเสนาสงคราม ถูกยิงถึง ๒ ครั้งนับแต่คืนวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๔๗๕ ได้ชื่อว่าเป็นปรปักษ์ตัวสำคัญของคณะราษฎร์ ซึ่งก็ไม่ใช่ใครอื่นนอกจากเพื่อนพ้องรุ่นพี่รุ่นน้องในอาชีพเดียวกัน เคยเห็นเคยทำงานร่วมกัน ในที่สุดต้องลี้ภัยไปอยู่ปีนัง แต่ท่านก็มีน้ำใจนักกีฬา รู้จักให้อโหสิกรรม เป็นแบบอย่างที่น่าจดจำรำลึก
อ่านถึงชีวิตของพระยาฤทธิ์อัคเนย์ที่ท่านกูรูใหญ่กว่าอุตสาหะพิมพ์ให้อ่านกันอย่างละเอียด จึงเข้าใจว่าบั้นปลายชีวิตท่านคงเลื่อมใสพุทธศาสนา เห็นธรรมะเป็นที่พึ่งอย่างแท้จริง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 526 เมื่อ 17 ก.ค. 10, 08:54
|
|
ก่อนหน้าจะหันหลังให้โลกเข้าสู่วัด พระยาฤทธิ์พักฟื้นร่างกายและจิตใจในช่วงที่การเมืองเปลี่ยนแกนเช่นเดียวกับนักการเมืองสายคณะราษฎร์ทั้งหลาย ปล่อยให้สายเสรีไทยและอดีตนักการเมืองรุ่น2475 และ2482 ที่ประชาชนเลือกเข้ามาเป็นผู้แทนด้วยคะแนนเสียงถล่มทลาย เข้าบริหารบ้านเมืองหลังสงคราม ให้รอดพ้นจากความหายนะจากการเรียกคืนเอาบ้างของสัมพันธมิตร การบริหารงานบ้านเมืองช่วงนั้นเต็มไปด้วยความยากลำบาก สถานภาพทางการเมืองง่อนแง่น รัฐบาลผลัดเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีภายใต้รัฐธรรมนูญเดิมหลายครั้ง หลังจากนายควง อภัยวงศ์ นายทวี บุณยเกตุได้เป็นนายกขัดตาทัพระหว่างรอ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมชเดินทางกลับมาเมืองไทยเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อเจรจาหาข้อยุติที่อังกฤษเอาเรื่องที่ไทยไปประกาศสงครามกับเขาไว้ หมดเรื่องนี้แล้วม.ร.ว.เสนีย์ยุบสภา เลือกตั้งใหม่นายควงกลับมาเป็นนายก อยู่ได้ไม่นานก็แพ้การลงมติในสภา ต้องลาออก การเมืองเปลี่ยนสลับขั้ว นายปรีดีเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ในสมัยที่นายปรีดีเป็นนายกนี้ ได้เกิดกรณีย์สวรรคตขึ้น เป็นเหตุให้นายปรีดีต้องประกาศลาออก พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่
สมัยของรัฐบาลนี้ พระยาฤทธิ์ก็มีชื่อได้เป็นวุฒิสมาชิกที่ตั้งขึ้นแทนส.ส.ประเภท2กับเขาด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 527 เมื่อ 17 ก.ค. 10, 10:16
|
|
พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจาก นายปรีดี พนมยงค์ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2489 ในช่วงที่เข้ารับตำแหน่งประเทศกำลังทรุดหนัก พลเรือตรี ถวัลย์ได้แก้ไขปัญหาด้วยการซื้อของแพงมาขายถูกให้แก่ประชาชนเพื่อตรึงราคาสินค้าไม่ให้สูง กลับเป็นปัญหาอีกด้านเพราะรัฐก็ม่มีเงินมากพอที่จะถมเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักเต็ม สุดท้ายก็แก้ปัญหาด้วยการนำทองคำซึ่งเป็นทุนสำรองของชาติออกมาขายแก่คนรวยเพื่อหาเงินใช้หนี้ที่รัฐบาลก่อ ฝ่ายค้านได้ที ขออภิปรายไม่ไว้วางใจ และเนื่องจากเป็นครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดวิทยุ การอภิปรายจึงสร้างสถิติพูดไม่จบติดต่อกันเจ็ดวันเจ็ดคืน แม้รัฐบาลจะโหวตชนะ แต่นายกก็ถูกถล่มนอกสภาจนต้องจำต้องลาออก เลือกนายกกันใหม่ พลเรือตรี ถวัลย์ได้รับเลือกอีก จอมพล ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงครามภายใต้บารมีของจอมพล ป. พิบูลสงครามผู้ฟอกตัวจากคดีอาชญากรสงครามเรียบร้อยแล้วแต่งตัวรออยู่ ก็ทนไม่ได้ที่จะรอให้การเมืองต้องแก้ไขด้วยวิธีทางการเมือง ใช้เป็นข้ออ้างในการทำรัฐประหารเมื่อวันที่8 พฤศจิกายน 2490 พลเรือตรีถวัลย์ลี้ภัยไปอยู่ที่ฮ่องกงระยะหนึ่ง แล้วจึงกลับประเทศไทยยุติบทบาท “นายกลิ้นทอง” ใช้ชีวิตอย่างสงบเงียบจนอนิจกรรม
พระยาฤทธิ์ได้เห็นความเป็นอนิจจังของการเมืองซ้ำซากอย่างนี้จนบรรลุแก่ปัญญา ปล่อยวางเรื่องที่วนเวียนตามเหตุตามกรรม ตามกิเลสอันไม่จบไม่สิ้นของมนุษย์ไว้ตรงจุดนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 528 เมื่อ 17 ก.ค. 10, 16:22
|
|
สาธุ “นตฺถิ ปญฺญา สมาอาภา : แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา (ย่อม)ไม่มี”
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
alias1124
อสุรผัด

ตอบ: 3
|
ความคิดเห็นที่ 529 เมื่อ 20 ก.ค. 10, 00:17
|
|
ขอมารายงานตัวครั้งแรกครับ หลังจากได้ตามอ่านมาทั้งกระทู้ เผอิญเพิ่งได้โอกาส มาแสดงความเห็นครั้งแรก ผมอ่านรายละเอียดแล้วรู้สึกตกใจมากว่าทำไมตอน เรียนประวัติศาสตร์ถึงไม่ได้สอนเรื่องพวกนี้ ท่องจำอย่างเดียวว่า 24 มิ.ย. 2475 เปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎรแค่นี้ อ่านมาทั้งหมดผม(ด้วยความเห็น ส่วนตัว)มองว่า 1) คณะราษฎรใจร้อนไปจริงๆ ที่นำประชาธิปไตยมาให้ประเทศ มีคนบางกลุ่มแย้งว่า เวลาได้เหมาะสมแล้วด้วยทั้งเศรษฐกิจ ปัจจัยภายนอก แต่มองยังไงๆก็ไม่ใช่อยู่ดีครับ ผมว่าน่าจะเป็นการร้อนวิชาของพวกที่ไปเรียนจากต่างประเทศ แล้วนำกลับมา ยัดเยียดให้คนไทยโดยที่ไม่มองหลักความจริงที่เหมาะสมกับประเทศหรือไม่ต่างหาก 2) คณะราษฎรบางคนมีจิตใจที่ดี เจตนาทำเพื่อบ้านเมือง แต่บางคน(ซึ่งก็น่าจะ พอทราบว่าใคร)กระหายและเหลิงในอำนาจ สุดท้ายก็รวบอำนาจ ไล่เบี้ยตามเก็บ พรรคพวกไปทีละคน แทนที่จะได้ประชาธิปไตยสุดท้ายก็เผด็จการดีๆนี่เอง ดังมี คนกล่าวไว้ว่า "อำนาจ เหมาะสำหรับที่จะเสพสุขเพียงผู้เดียว" อันนี้หากมอง ให้แท้ก็บอกได้ว่าคณะราษฎรยังขาดประสบการณ์ให้การบริหาร"อำนาจ"ก็ได้ 3) สมัยก่อนพระมหากษัตริย์มีอำนาจเบ็จเสร็จก็จริง แต่ก็ยังมีระเบียบประเพณีบางอย่าง ที่แม้แต่พระมหากษัตริย์ยังทำไม่ได้ หลักนิติรัฐก็ต้องบังคับใช้อยู่ ดังนั้นการ สืบสันตติวงศ์ให้พระมหากษัตริย์องค์ถัดไปปกครองต่อจึงสามารถทำได้ เนื่องจาก ได้มีการเห็นการปกครองจากพระมหากษัตริย์องค์ก่อนเป็นแบบอย่าง รวมถึงการ ใช้ทศพิธราชธรรมในการปกครอง แต่ต้องยอมรับว่าระบบสมบูรณาญาฯนั้นก็ ต้องพึ่งโชคด้วย หากได้พระมหากษัตริย์ที่เป็นผู้ปกครองที่ดี บ้านเมืองก็ดีไป หาก หากเป็นตรงกันข้ามก็แย่ไป การจัดสรรอำนาจเพื่อถ่วงดุลกันในแบบ ประชาธิปไตยก็ดูเข้าท่าดีอยู่ แต่หากผู้ปกครองดัน"ลืม"เอาทศพิธราชธรรมมา ใช้ในการปกครองเหมือนนักการเมืองตั้งแต่ 2475 จนถึงปัจจุบัน ประชาธิปไตย ก็"ตาย"เช่นกัน
ขอให้ความเห็นแค่นี้ครับ ขอบคุณอาจารย์ทุกๆท่านในที่นี้ที่ให้ความรู้เพิ่มเติม ว่างๆจะมาให้ความเห็นใหม่ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 530 เมื่อ 20 ก.ค. 10, 07:46
|
|
ขอบคุณสำหรับความเห็นครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 531 เมื่อ 20 ก.ค. 10, 08:21
|
|
ขอเชิญคุณ alias1124 อ่านต่อกระทู้นี้ค่ะ http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3419.0ส่วนเรื่องไม่ได้เรียนประวัติศาสตร์ช่วงนี้ ในชั้นมัธยม หรือมหาวิทยาลัย ถ้าคุณเรียนเอกในคณะที่มีเอกประวัติศาสตร์ก็อาจได้เรียน แต่ถ้าเรียนสาขาวิชาอื่นและคณะอื่นก็ไม่ได้เรียน ส่วนในระดับมัธยม ก็น่าเห็นใจความลำบากของกระทรวงศึกษาธิการว่าจะเขียนเนื้อหายังไงไม่ให้กระทบกระเทือนบุคคลสำคัญในอดีต เพราะเรื่องหลายเรื่องก็เอามาเล่ากันอย่างตรงไปตรงมาไม่ได้ นอกจากนี้ หลักสูตรกระทรวงมุ่งไปในทางเรียนเพื่อให้นักเรียนนิยมอดีต มากกว่าวิจารณ์อดีตอยู่แล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
proudtobethai
มัจฉานุ
 
ตอบ: 79
|
ความคิดเห็นที่ 532 เมื่อ 20 ก.ค. 10, 09:29
|
|
เข้ามาเห็นด้วยกับคุณ alias1124 ค่ะ ไม่ได้เรียนทางด้านประวัติศาสตร์เลย แค่เรียนวิชานี้บ้างสมัยเป็นนักเรียนมัธยม ซื่งไม่มีอะไรมากไปกว่า มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี พศ.2475 เท่านั้นเองค่ะ ไม่มีรายละเอียดมากมายอย่างในนี้ให้ศึกษาหรอกค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 533 เมื่อ 20 ก.ค. 10, 09:31
|
|
เรื่องที่ผมจะให้ข้อมูลนี้ จะหาไม่พบในตำราเรียนครับ
เพราะธรรมะเป็นธรรมคู่ ในด้านโลกธรรมที่เรารู้จักกันว่ามีได้ลาภก็มีเสื่อมลาภ มียศก็มีเสื่อมยศ มีสรรเสริญก็มีนินทา มีสุขก็ต้องมีทุกข์นั้น ถ้านับลงไปถึงรายละเอียดก็จะมีเห็นด้วย และไม่เห็นด้วยรวมอยู่
ผู้ที่คิดว่าคณะราษฎรใจร้อนไปมีมาก แต่ก็มีผู้ที่เห็นว่ารอไม่ได้ก็มีไม่น้อย
ผมเพิ่งจะอ่านเจอประโยคเล็กๆที่นึกขึ้นมาได้ตอนนี้ ดูเหมือนจะเป็นจอมพล ป.(หรือนายปรีดี หากจำผิดขออภัย)จะเป็นผู้พูดว่า หากรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯจะยาวนานมาถึงตอนนี้(ตอนนั้น) ก็คงจะพระราชทานธรรมนูญการปกครองให้ราษฎรแล้ว คุณวีมีคงจะเข้ามาเสริมได้ ว่าพระมหากษัตริย์พระองค์นี้ท่านได้ตระเตรียมข้าราชการแผ่นดินให้รู้จักทำงานในระบบอประชาธิปไตยอย่างไร แม้กระทั่งไม่โปรดที่จะแต่งตั้งเจ้านายให้ดำรงตำแหน่งใหญ่ๆทั้งหมดเช่นสมัยรัชกาลที่5 โดยทรงแต่งตั้งข้าราชการสามัญชนที่ตอนนั้นเรียกขุนนางที่มีความสามารถสูง มาดำรงตำแหน่งที่เคยผูกขาดเป็นของเจ้านายผู้ใหญ่เป็นจำนวนมาก แม้จะทรงทราบว่าบรรดาเจ้านายทั้งหลายจะไม่พอพระทัยก็ตาม
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯเสด็จขึ้นครองราชย์อย่างไม่ทันเตรียมพระองค์ จึงต้องทรงรับฟังเจ้านายที่(เคย)ใหญ่กว่าท่านหลายพระองค์ ดังนั้น ท่านที่ทรงมีพฤติกรรมไม่น่ารักในรัชกาลก่อนก็ได้กลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิมๆ หรือไม่ก็ในตำแหน่งสำคัญอื่นๆที่มีอิทธิพลต่อนโยบายในการบริหารแผ่นดิน ธรรมนูญการปกครองที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯทรงมีพระราชประสงค์มุ่งมั่นที่จะพระราชทาน ก็ถูกดึงไว้ เพราะเห็นตำหนิตรงนั้นตรงนี้ ไม่รู้ว่าจะแก้กันอีกนานเท่าไร ข้าราชการระดับหนึ่งก็ไม่พอใจกันมาก กระแสปฏิวัติจึงได้มีขึ้นจนเมื่อเกิดปฏิวัติขึ้นมาจริงๆ คนทั้งหลายจึงมิได้ตกอกตกใจในระดับคอขาดบาดตายแต่อย่างไร
เห็นไหมครับ ผลมันเกิดจากเหตุ แม้แต่ส้มหล่นมันก็มีเหตุของมันเหมือนกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 534 เมื่อ 20 ก.ค. 10, 09:35
|
|
ผมอยากปิดฉากเรื่องของพระยาฤทธ์ในเรื่องที่ท่านได้ไปเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อลี หรือพระวิสุทธิธรรมรังสี วัดปากน้ำสมุทรปราการ จากไปๆมาๆระหว่างวัดกับบ้านจนถึงกับไปปลูกกระท่อมเล็กๆอยู่ในวัด เพื่อปฏิบัติธรรมคนเดียวในระหว่างเข้าพรรษา ไม่คลุกคลีพูดคุยกับผู้ใดหากไม่ใช่ความจำเป็น ออกพรรษาก็เดินทางไปปฏิบัติตามป่าเขาเหมือนพระธุดงค์อยู่เนืองๆ แต่ในสถานภาพที่ยังเป็นฆราวาส เมื่อกลับมาอยู่บ้าน ท่านก็ต้องถูกมารยาทบังคับให้ออกงาน “โลกๆ” บ้างเพื่อให้กลมกลืนกับสังคม สมัยกึ่งพุทธกาลในปี2500 ท่านพ่อลีได้มาหาท่านที่บ้านเพื่อชวนให้ไปอยู่วัดว่า “อย่าอยู่เลยเจ้าคุณ มันจะยุ่งกันอีกแล้ว” ท่านก็เชื่อครูบาอาจารย์ รีบย้ายตนเองไปอยู่วัดในบัดนั้น
ในคืนวันที่16 กันยายน 2500 ท่านพ่อลีได้เดินตรวจตราการฝึกของศิษย์มาถึงท่านก็กล่าวว่า “นี่ท่านเจ้าคุณช่วยแผ่เตตาให้รัฐบาลบ้างนะ” แล้วท่านมิได้พูดอะไรอีก พระยาฤทธิ์นั่งงงสักพักก็ลืม วันสองวันต่อมาท่านจึงเข้าใจ
วันรุ่งขึ้นเป็นวันที่ 17 กันยายน 2500 จอมพล ป.ถูกรัฐประหารโดยจอมพลสฤษฎ์ จนต้องหนีตายออกทางด่านอรัญญประเทศไปเขมร จุดหมายเดียวกับพระยาทรง และกลับมาเมืองไทยเป็นอัฐิ บรรจุอยู่ข้างเคียงกันร่วมกับผู้ร่วมอุดมการณ์2475อื่นๆ
เมื่อมีคนไปถามความเห็นพระยาฤทธิ์ ท่านจะบอกว่าท่านหมดหน้าที่เรื่องการบ้านการเมืองแล้ว ตอนนี้ท่านอยู่กับธรรมะเท่านั้น พระยาฤทธิ์อัคเนย์นับว่าอายุยืนยาวกว่าผู้ก่อการทั้งหลาย ท่านถึงแก่กรรมในปี2509 สิริอายุรวมเกือบ 78 ปี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 535 เมื่อ 20 ก.ค. 10, 19:48
|
|
พี่ชายที่เคารพท่านสั่งให้มาขยายความเรื่องการวางรากฐานการปกครองในบอบประชาธิปไตยของรัชกาลที่ ๖ ผู้เป็นน้องก็ต้องรับปฏิบัติต่อไปแต่ก่อนที่จะเริ่มร่ายยาวถึงพงศาวดารการวางรากฐานประชาธิปไตย คงต้องเล่าถึงเรื่องแปลกให้ท่านที่ติดตามอ่านเรื่องราวความเป็นมาของการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ได้ทราบถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในช่วงรอยต่อรัชกาลที่ ๖ กับรัชกาลที่ ๗
ในเอกสารประวีติศาสตร์ของไทยเรามักจะกล่าวไว้เหมือนกันหมดว่า เมื่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๗ เสด็จขึ้นครองราชย์นั้นเศรษฐกิจของชาติตกต่ำลงมากเพราะการใช้จ่ายฟุ้มเฟือยในพระราขสำนักพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เลยจำต้องทรงตัดทอนรายจ่ายในพระราชสำนักลง ๓ ล้านบาท คงเหลือเงินที่รัฐบาลจัดถวายเพียงปีละ ๖ ล้านบาท ซึ่งก๊เท่ากับจำนวนเงินที่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติจัดถวายล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เมื่อแรกเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ซึ่งกักจากยอดที่เคยถวายล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ไป ๓ ล้านบาทเหมือนกัน
ในประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชบันทึกถึงเหตุผลที่กระทรวงพระคลังตัดเงินปีที่จัดถวายไป ๓ ล้านบาทนั้นว่า เพราะเพิ่งจะเสด็จขึ้นครองราชย์ ยังไม่ทรงมีพระมเหสี จึงจัดให้เพียง ๖ ล้านก่อน แล้วจะขึ้นให้ปีละห้าแสนบาท สุดท้ายแล้วต้องทรงรับเงินปีเพียงปีละ ๖ ล้านบาทต่อมาอีกหลายปี จนต้องทรงทวงถามกระทรวงพระคลังจึงยอมเพิ่มให้ปีละ ๕ แสนบาท จนสุดท้ายทรงได้รับปีละ ๙ ล้านบาทเท่ากับที่กระทรวงพระคลังเคยถวายรัชกาลที่ ๕ นอกจากจะทรงถูกตัดเงินไป ๓ ล้านบาทแล้ว เสนาบดีพระคลังยังขอให้ทรงแยกการใช้จ่ายส่วนพระองค์ออกจากราชการแผ่นดิน ผลก็คืองบประมาณกระทรวงวัง กระทรวงมุรธาธร และกรมมหาดเล็กซึ่งเป็นหน่วยราชการเทียบเท่ากระทรวง ล้วนถูกผลักให้มาเป็นค่าใช้จ่ายส่วนพระองค์ทั้งหมด แถมด้วยสมเด็จพระพันปีหลวงมีรับสั่งว่า กระทรวงพระคลังถวายเงินปีๆ ละ ๓ แสนบาทไม่ทรงพอใช้ ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ก็เลยต้องจัดเงินถวายสมเด็จพระพันปีหลวงอีกปีละ ๑ แสนบาท แถมด้วยจ่ายเงินเดือนให้ข้าราชการในพระราชสำนักสมเด็จพระพันปีหลวงต่อมาตราบจนเสด็จสวรรคตในปี ๒๔๖๒
ในรัชกาลที่ ๖ แม้จะทรงได้รับเงินปีเพียงปีละ ๖ ล้านบาท แต่ก็ทรงจัดตั้งหน่วยราชการในพระราชสำนักเพิ่มเติมอีกอย่างน้อย ๒ หน่วยงานใหญ่ คือ กรมมหรสพเพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์กิจการด้านนาฎดุริยางศิลป์ของชาติมิให้เสื่อมสูญไปเพราะขาดผู้อุปถัมภ์ กับกรมศิลปากร เพื่ออนุรักษ์งานประณีตศิลปกรรม แล้วยังโปรดเกล้าฯ ให้ยกกรมวังนอกขึ้นเป็นทหารรักษาวัง ทำหน้าที่เป็นทหารยืนยามรักษาประตูพระบรมมหาราชวังแทนการใช้ทหารรักษาพระองค์ที่โปรดให้ถอนกำลังออกไปทำหน้าที่ปกป้องประเทศชาติ ทั้งยังโปรดให้จัดตั้งกองพันทหารรักษาวังขึ้นที่นครศรีธรรมราชอีก ๑ กองพัน เพื่อเป็นกองกำลังในดินแดนที่เป็นเขจปลอดทหาร เพราะโดยนิตินัยทหารรักษาวังเป็นข้าราชการพลเรือน กระทรวงวัง
พอถึงรัชกาลที่ ๗ ที่ทรงได้รับเงินปีๆ ละ ๖ ล้านบาทเหมือนกัน แต่เงินจำนวนดังกล่าวไม่แช้จ่ายในพระราชสำนัก จำต้องยุบกรมมหรสพและกรศิลปากร กับปรับลดกำลังคนในกรมมหาดเล็กลงจำนวนหนึ่ง กับปรับลดอัตรากำลังทหารรักษาวังจาก ๒ กองพันๆ ละ ๔ กองร้อย รวม ๘ หองร้อยลงเหลือเพียง ๒ กองร้อย
เงินจำนวนเท่ากันรัชกาลหนึ่งสามารถเพิ่มหน่วยงานและเพิ่มคน แต่อีกรัชกาลหนึ่งกลับลดคน เมื่อท้องหิวจึงต้องดิ้นรนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แล้วก็แปลกเรื่องการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยในพระราชสำนักรัชกาลที่ ๖ ไม่ใช่เพิ่งเริ่มมีขึ้นในตแนปลายรัชกาลที่ ๖ แต่เมื่อย้อนกลับไปดูเหตุผลของการก่อกบฏ ร.ศ. ๑๓๐ ก็มีการหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นกล่าวถึงเหมือนกัน นับว่าเป็นเริ่องแต่จริงที่ยิ่งกว่าจริงเสียอีก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 536 เมื่อ 20 ก.ค. 10, 20:04
|
|
เล่าเรื่องแปลกไปแล้ว คราวนี้ขอส่งการบ้านที่ท่านอาจารย์ใหญ่ เทาชมพู ท่านให้การบ้านไว้หลายวัน แม้ว่าท่านว่ายังไม่ต้องรีบแต่ขืนไม่รับมีหวังไม่ได้เรียบเรียงเพราะมัวไปเขียนเรื่องอื่นเสียก่อน เมื่อเรื่องของสี่ทหารเสือจบลงก็พอดีได้จังหวะมาต่อด้วยเรื่อง "กบฏ ร.ศ. ๑๓๐" ซึ่งจากหลักฐานที่ไปสิบค้นมาได้ออกจะไม่ตรงกับที่ที่เคยมีการอ้างอิงกัน ก็ขอฝากเป็นการบ้านให้คุณๆนักเรียนในห้องเรือนไทยช่วยกันวิเคราะห์วิจารณ์กันต่อไป
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเสวยสิริราชสมบัติในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ นั้น ได้ทรงพระราชดำริว่า เมื่อประทับทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษนั้น ได้ทรงพบปะคุ้นเคยกับพระราชวงศ์และประมุขของประเทศต่างๆ ในยุโรปเป็นจำนวนมาก ทั้งยังได้ทรงเป็นผู้แทนพระองค์สมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็พระราชดำเนินไปทรงร่วมงานบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ในยุโรปก็หลายพระองค์ เมื่อถึงคราวที่จะทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกก็น่าจะเชิญผู้แทนพระประมุขและประมุขของประเทศเหล่านั้นมาร่วม เพื่อเป็นการแนะนำประเทศสยามให้เป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติบ้าง จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็น ๒ คราว คราวแรก คือ การพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียร มีการพระราชพิธีครบถ้วนสมบูรณ์ตามโบราณราชประเพณี ในระหว่างวันที่ ๓ – ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๓ แต่เนื่องจากยังอยู่ในระหว่างประดิษฐานพระบรมศพสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง จึงโปรดให้งดการสมโภชและการเสด็จเลียบพระนครรวมทั้งการเลี้ยงลูกขุนตามประเพณีไว้ก่อน
ครั้นพ้นกำหนดการไว้ทุกข์ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตามโบราณราชประเพณีที่มีกำหนด ๑ ปีแล้ว จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ในระหว่างวันที่ ๘ พฤศจิกายน – ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ มีพิธีการรวมทั้งการามโภชต่างๆ เต็มตามโบราณราชประเพณี ทั้งยังเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติสยามที่พระราชาธิบดีและประธานาธิบดีจากมิตรประเทศได้จัดให้ผู้แทนพระองค์และอัครราชทูพิเศษมาช่วยงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งนี้ถึง ๑๔ ประเทศ
เสร็จการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชและการพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษาในตอนต้นเดือนมกราคมแล้ว เสด็จพระราชดำเนินประพาสมณฑลนครไชยศรี ราชบุรี และทรงนำเสือป่าฝึกซ้อมวิธียุทธประจำปี ในระหว่างนั้นได้แปรพระราชฐานไปประทับแรมที่พะราชวังสนามจันทร์ แล้วเย็นวันหนึ่งในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธุ์ จู่ๆ ก็มีขบวนรถไฟพิเศษจากกรุงเทพฯ ไปหยุดที่สถานีรถไฟหลวงพระราชวังสนามจันทร์ซึ่งปกติจะมีแต่ขบวนรถไฟพระที่นั่งมาจอดที่สถานีนี้เท่านั้น เมื่อขบวนรถหยุดเรียบร้อยแล้ว นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ หรือ “ทูลกระหม่อมเล็ก” เสนาธิการทหารบก ได้เสด็จลงจากรถไฟพิเศษนั้นแล้วทรงพระดำเนินตรงไปยังพระราชวังสนามจันทร์ พอเสด็จถึงพระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ จึงทรงพบกับหัวหน้าเวรมหาดเล็กซึ่งประจำรักษาการอยู่ และได้มีรับสั่งถามว่า “ฉันจะเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวได้ที่ไหน?”
เมื่อหัวหน้าเวรมหาดเล็กกราบทูลว่า “เวลานี้กำลังเสด็จไปทรงเล่นสุนัขไล่กระต่ายอยู่ทางไร่เจ๊ก ด้านทิศตะวันออกของพระราชวังสนามจันทร์ พ่ะย่ะค่ะ” ก็มีรับสั่งต่อไปว่า “ไปกราบทูลให้ทรงทราบว่า ฉันขอเฝ้าโดยมีราชการด่วน ฉันจะรออยู่ที่แหละ”
หัวหน้าเวรมหาดเล็กจึงได้จัดพระเก้าอี้ถวายให้เสด็จประทับรอ พร้อมกับมอบหมายให้มหาดเล็กเวรจัดพระสุธารสถวายแล้ว ก็รีบออกไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งกำลังทรงทดสอบวิชาสะกดรอยตามแบบฝึกหัดสั่งสอนเสือป่าและลูกเสือที่เพิ่งทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่ แต่ในเวลานั้นโปรดให้ลูกเสือหลวงโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเดินทางกลับกรุงเทพฯ ไปก่อนแล้ว จึงทรงชวนมหาดเล็กบางคนไปเล่นสุนัขไล่กระต่าย (Paper Chase) ซึ่งเป็นการเล่นชนิดหนึ่งที่เคยทรงเล่นเมื่อครั้งประทับทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษ การเล่นชนิดนี้กำหนดให้มีคนหนี ๒ คน เรียกว่ากระต่าย แต่คนไล่ซึ่งเรียกว่าสุนัขนั้นไม่กำหนดว่ากี่คน คนหนีนั้นต้องออกวิ่งก่อนคนไล่ประมาณ ๑๕ นาที และโปรยกระดาษไปตามทางที่ตนไป เพื่อให้คนไล่เห็นและตามถูกทาง เรียกว่า “สะกดรอย”
เมื่อหัวหน้าเวรมหาดเล็กไปเฝ้าที่ไร่เจ๊ก ซึ่งต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้กรมพระคลังข้างที่จัดซื้อที่ดินบริเวณนั้นและโปรดให้ตัดถนนสายสั้นๆ ชื่อ “ถนนยิงเป้า” และได้กราบบังคมทูลให้ทรงทราบว่า ทูลกระหม่อมเล็กเสด็จมารอเฝ้าอยู่ที่พระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์แล้ว ก็รีบเสด็จพระราชดำเนินกลับมายังพระราชวังสนามจันทร์ในทันที และทรงมีพระราชปฏิสัณฐานกันอยู่ราวครึ่งชั่วโมงเศษ ทูลกระหม่อมเล็กก็กราบถวายบังคมลาไปประทับรถยนต์พระประเทียบไปประทับรถไฟพระที่นั่งพิเศษกลับกรุงเทพฯ ในเวลาค่ำวันนั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 537 เมื่อ 20 ก.ค. 10, 20:05
|
|
ตอนที่เสด็จขึ้นนั้นยังไม่มีใครทราบว่าทูลกระหม่อมเล็กเสด็จมาเฝ้าฯ ด้วยเรื่องอะไร ต่อเมื่อเสด็จลงประทับเสวยพระกระยาหารค่ำ จึงมีพระราชดำรัสเล่าให้หม่อมเจ้าและข้าราชการที่ร่วมโต๊ะเสวยในวันนั้นทราบว่า มีพวกนายทหารคิดกบฏ แต่น้องชายเล็กหรือทูลกระหม่อมเล็กได้จัดการจับกุมไว้ได้หมดแล้ว จากนั้นอีก ๒ – ๓วัน หนังสือพิมพ์จึงได้ลงข่าวว่า การกบฏครั้งนี้มีนายทหารทั้งหมด ๓๐ คน เป็นชั้นนายร้อยเอก ๓ นอกนั้นเป็นชั้นนายร้อยโทและนายร้อยตรีทั้งสิ้น การกบฏครั้งนี้เป็นแต่เพียงร่วมประชุมปรึกษาหารือกัน ยังมิทันได้ลงมือกระทำการอะไร สาเหตุที่จับได้ก็เพราะมีนายทหารชั้นนายร้อยโทนายหนึ่งซึ่งเป็นผู้ร่วมคิดอยู่ด้วยในจำนวน ๓๐ คนนั้นเกิดเกรงกลัวพระราชอาญา จึ่งนำรายชื่อนายทหารทั้ง ๓๐ คนไปถวายทูลกระหม่อมเล็ก และกราบทูลให้ทรงทราบ การจับกุมจึงกระทำได้โดยละม่อม แล้วได้มีการขยายผลจับกุมนายทหารบกทหารเรือและข้าราชการกระทรวงยุติธรรมเพิ่มเติมอีกหลายสิบคน
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวคงประทับแรทีพระราชวังสนามจันทร์ต่อมา ถึงวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ เวลาบ่าย ๔ โมง จึงเสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯ โดยขบวนรถไฟพิเศษ ถึงสถานีรถไฟบางกอกน้อยแล้วประทับเรือยนต์พระที่นั่งมาเสด็จขึ้นที่ท่าราชวรดิษฐ์ ทรงรถยนต์พระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินประพาสถนนสายต่างๆ ในพระนคร จนตะวันโพล้เพล้จึงเสด็จพระราชดำเนินกลับพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต วันรุ่งขึ้นตื่นพระบรรทมเข้าไปกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า มิสเตอร์เวสเตนการ์ด ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศได้มารอเฝ้าฯ อยู่ที่ห้องธารกำนัลแล้ว มีพระราชกระแสดำรัสสั่งว่า “ลงไปเชิญให้ขึ้นมาเฝ้าบนนี้เถอะ วันนี้จะขอรับแขกในห้องนอนสักที” มหาดเล็กห้องพระบรรทมผู้นั้นจึงลงมานำที่ปรึกษาราชการฯ ขึ้นไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เมื่อมีพระราชดำรัสปฏิสัณฐานกับมิสเตอร์เวนเตนการ์ดตามสมควรแล้ว จึงมีพระราชกระแสดำรัสสั่งให้มหาดเล็กห้องพระบรรทมให้ “ไปนั่งเฝ้าอยู่ที่หน้าประตู อย่าให้ใครเข้ามา”
มหาดเล็กห้องพระบรรทมในวันนั้นคือ พระยาภูมีเสวิน (จิตต์ จิตตะเสวี) ซึ่งเวลานั้นยังเป็นนายกวด หุ้มแพร ได้เล่าว่า “กระแสพระราชดำรัสและคำกราบบังคมทูลของมิสเตอร์เวนการ์ดซึ่งเป็นคำสนทนาปราศรัยกันนั้นเป็นภาษาอังกฤษทั้งสิ้น จนเมื่อมิสเตอร์เวสเตนการ์ดจะกราบบังคมทูลลากลับ จึงได้กราบบังคมทูลเป็นภาษาไทย เข้าใจว่าคงจะเป็นคำปลอบขวัญพระราชหฤทัยมีใจความว่า “เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ขออย่าได้ทรงพระวิตกและเสียพระราชหฤทัยเลย กลับจะเป็นโชคลางดีที่แสดงให้เห็นประจักษ์ว่า ต่อไปประเทศจะเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าไปอีกมากทีเดียว””
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 538 เมื่อ 20 ก.ค. 10, 20:08
|
|
เสร็จงานพระราชพิธีเถลิงศกในช่วงสิ้นเดือนมีนาคมต่อด้วยการพระราชพิธีตรุษสงกรานต์แล้ว ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการประชุมเสนาบดีสภา เมื่อเปิดประชุมแล้วได้มีกระแสพระราชดำรัสถึงเรื่องที่จะทรงมอบสิทธิการปกครองให้ประชาชนเพื่อปกครองตนเอง อย่างที่เรียกว่าประชาธิปไตย ตามที่คณะผู้ก่อการกำเริบได้หยิบยกขึ้นเป็นข้ออ้างในการก่อกบฏ ร.ศ. ๑๓๐
ในทันใดนั้น จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช จเรทหารทั่วไปในฐานะเสนาบดีอาวุโส ได้ประทับยืนและกราบบังคมทูลพระกรุณาแทนคณะเสนาบดีว่า “ข้าพระพุทธเจ้าเห็นว่ายังไม่ถึงเวลา เพราะประชาชนพลเมืองของเรายังไร้การศึกษาอยู่มาก ลัทธิการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้นเป็นลักษณะการปกครองอันละเอียดอ่อน ต้องอาศัยปัญญาความรู้และใช้วิธีการปกครองอย่างสุขุมคัมภีรภาพจึงจะนำความเจริญก้าวหน้าและดำรงคงมั่นอยู่ตลอดไปได้ ถ้าขืนมอบการปกครองให้แก่ประชาชนในเวลานี้ ก็เปรียบเสมือนหนึ่งว่ายื่นแก้วให้วานร นอกจากไม่สามารถจะนำความเจริญมาสู่ประเทศชาติแล้ว กลับจะนำให้บ้านเมืองล่มจมไปโดยเปล่าประโยชน์อีกด้วย ตามที่ข้าพระพุทธเจ้ากราบบังคมทูลคัดค้านมานี้ หากเป็นที่ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ก็ขอได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานอภัยโทษแก่ข้าพระพุทธเจ้าด้วย”
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้อยู่หัวทรงเห็นจริงตามที่สมเด็จพระราชปิตุลากราบบังคมทูล จึงมีพระราชดำรัสตอบว่า “เป็นพระกรุณาที่ทรงกล่าวทักท้วง มิได้เป็นการกระทบกระเทือนต่อหม่อมฉันแต่ประการใด หม่อมฉันขอขอบพระทัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย”
จากนั้นจึงได้โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงศึกษาธิการเร่งรัดจัดทำแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๔๕๖ ซึ่งกำหนดแผนการศึกษาชาติเป็น ประถม มัธยม และอุดมศึกษา แล้วได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยาไพศาลศิลปสาตร (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ไปจัดการขยายการศึกษาให้แพร่หลายให้มีโรงเรียนประชาบาลครบทุกตำบลให้แล้วเสร็จภายใน ๑๕ ปีนับแต่เสด็จเสวยสิริราชสมบัติ เพื่อที่จะได้พระราชทานการปกครองท้องถิ่นให้แก่ประชาชน เป็นการเตรียมการไปสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาในขั้นตอนต่อไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 539 เมื่อ 20 ก.ค. 10, 20:09
|
|
นอกจากการเรียกร้องการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแล้ว มูลเหตุสำคัญที่คณะกบฏ ร.ศ. ๑๓๐ ได้หยิบยกขึ้นมากล่าวอ้างเป็นสาเหตุสำคัญในการก่อการและมุ่งประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น เห็นจะได้แก่เรื่องความไม่พอใจที่ทหารถูกหมิ่นเกียรติศักดิ์ โดยเฉพาะเรื่องการเฆี่ยนหลังทหารตามจารีตนครบาลในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒(ร.ศ. ๑๒๘) ซึ่งข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในหลักฐานของทางราชการกับบันทึกของกลุ่มกบฏ ร.ศ. ๑๓๐ นั้น แถมสุข นุ่มนนท์ ทายาทคนหนึ่งของร้อยตรีถัด รัตนพันธุ์ หนึ่งในผู้ต้องรับพระราชอาญาจำคุก ๒๐ ปีได้บันทึกไว้ใน “ยังเติร์กรุ่นแรก กบฏ ร.ศ. ๑๓๐” ว่า
“...ตามบันทึกของนายร้อยตรีเหรียญ ศรีจันทร์ และนายร้อยตรีจรูญ ษะตะเมษ ระบุว่า เหตุเกิดจากการที่ทหารมหาดเล็กใช้ไม้รุมตีศีรษะนายดาบกรมทหารราบ ๒ คน ซึ่งแต่งกายพลเรือนออกมาเที่ยว เมื่อถูกรุมตีนายดาบได้วิ่งเข้ากรมทหารและรายงานต่อนายร้อยเอกสม เจริญผล ผู้บังคับการกองร้อยของตน แต่กลุ่มทหารมหาดเล็กยังคงยืนท้าทายอยู่หน้ากรมทหาร ถือเป็นการกระทำที่อุกอาจ เพราะมาข่มเหงทหารถึงหน้ากรม นายร้อยเอกสม เจริญผล นายร้อยตรีจั่น นายดาบบาง (ผู้ถูกตีศีรษะ) พร้อมทั้งนายสิบและพลทหาร รวม ๕ คน จึงวิ่งไล่ตีมหาดเล็กไปจนถึงหน้าวังปารุสก์ เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงทราบ รับสั่งให้ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ ๒ สอบสวน ทหารรับสารภาพจึงถูกสั่งขัง แต่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชทรงให้เฆี่ยนหลังเพื่อมิให้เป็นตัวอย่างต่อไป และถ้าไม่ปฏิบัติตามข้อเสนอก็จะทรงลาออกจากตำแหน่งรัชทายาท
หนังสือยุทธโกษ นิตยสารของทหารเสนอรายงานถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไปในอีกทางหนึ่ง กล่าวว่าเหตุเกิดจากการที่ทหาร ๓ นาย คือ นายร้อยเอกสม เจริญผล นายร้อยตรีจั่นและนายดาบบาง จากกรมทหารราบที่ ๒ ได้ชวนนายสิบ พลทหาร ถอดเครื่องแบบและชวนกันไปเดินเที่ยวเล่น ระหว่างทางได้พบกับมหาดเล็กของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ๒ นายเดินมากับผู้หญิง นายร้อยเอกสมกับและพรรคพวกจึงเข้ารุมตีพวกที่เดินมานั้น หลังจากไต่สวนแล้ว ปรากฏว่าทหารมีความผิดจริง จึงต้องลงโทษให้เป็นเยี่ยงอย่าง
การตัดสินในเรื่องนี้ได้มีพระบรมราชโองการให้ถอดยศและบรรดาศักดิ์นายทหารทั้ง ๓ นาย และให้ลงพระราชอาญาให้เฆี่ยนทหารทั้ง ๕ นาย นายละ ๓๐ ที และในเวลาต่อมาการลงโทษด้วยการเฆี่ยนหลังนี้เป็นพระราชนิยมอย่างหนึ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีกรณีเฆี่ยนหลังเกิดขึ้นบ่อยครั้ง พวกที่ถูกเฆี่ยนหลังมากคือพวกราชสำนัก โขน และละคร แม้แต่พระยาชั้นพานทองมหาเสวกก็ไม่ได้รับการยกเว้น เรื่องที่พูดกันทั่วไปตอนต้นรัชกาลก็คือกรณีหลวงรักษานารถที่ไม่ยอมให้ภรรยาของตนเข้าร่วมแสดงการฟ้อนรำในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเหตุให้พระองค์ทรงพระพิโรธ และมีพระบรมราชโองการให้สั่งถอดยศบรรดาศักดิ์ พร้อมทั้งเฆี่ยนหลังหลวงรักษานารถ ๓๐ ที และนำไปขังคุก ๑ ปี...”
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|