เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 25 26 [27] 28 29 ... 46
  พิมพ์  
อ่าน: 329549 ชะตากรรมของพระยาทรงสุรเดช หนึ่งในสี่ทหารเสือคณะราษฎร์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 390  เมื่อ 11 ก.ค. 10, 14:21

^
^
^
อยากให้ต่อไปยอดไหนละครับ ยอดตาลหรือยอดมะพร้าวขอให้บอก จะได้ปั่นถูก
บันทึกการเข้า
yanang
อสุรผัด
*
ตอบ: 32


ความคิดเห็นที่ 391  เมื่อ 11 ก.ค. 10, 14:56

ในช่วงที่กำลังจะปั่นกระทู้  ขออนุญาตนำช่วงสุดท้ายของท่านพระยาฤทธิอัคเนย์ มาลงไว้คั่นเวลาแล้วกันนะคะ
ข้อมูลจากหนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพของท่านค่ะ



บันทึกการเข้า
yanang
อสุรผัด
*
ตอบ: 32


ความคิดเห็นที่ 392  เมื่อ 11 ก.ค. 10, 15:00

คำไว้อาลัยของ พลเอก กฤช ปุณณกันต์ บอกเล่าถึงวิถีและแนวคิด ในบั้นปลายของท่านดังนี้ค่ะ




บันทึกการเข้า
yanang
อสุรผัด
*
ตอบ: 32


ความคิดเห็นที่ 393  เมื่อ 11 ก.ค. 10, 15:12


เมื่อนายควงขึ้นเป็นนายก  ก็ยกเลิก "รัฐนิยม" หลายเรื่องด้วยกัน     เรื่องสำคัญสุดก็คือยกเลิกโทษของนักโทษการเมือง ด้วยการประกาศนิรโทษกรรมให้บรรดาผู้ที่ถูกจับกุมคุมขังตั้งแต่ปี ๒๔๘๒   ไปเอาชีวิตไม่รอดอยู่ที่ตะรุเตาเสียมากมาย  ให้กลับคืนสู่อิสรภาพตามเดิม




จากข้อความนี้ของอาจารย์เทาชมพู  พ้องกับเรื่องที่นายควงก็ได้กล่าวไว้เองในคำไว้อาลัยต่อท่านพระยาฤทธิอัคเนย์ ดังนี้ค่ะ





บันทึกการเข้า
bookaholic
ชมพูพาน
***
ตอบ: 145


ความคิดเห็นที่ 394  เมื่อ 11 ก.ค. 10, 15:23

เข้ามาชูมือโหวตอีกเสียงว่าท่านนวรัตน์อย่าจบเรื่องพระยาทรงสุรเดชเร็วนักนะครับ  กำลังสนุก
บันทึกการเข้า
proudtobethai
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


ความคิดเห็นที่ 395  เมื่อ 11 ก.ค. 10, 15:35

^
^
^
อยากให้ต่อไปยอดไหนละครับ ยอดตาลหรือยอดมะพร้าวขอให้บอก จะได้ปั่นถูก

 ยิงฟันยิ้ม  มีคนมาต่อยอดให้แล้วเห็นมั๊ยคะ ไม่มีใครอยากให้จบไวๆ เพราะกำลังสนุกค่ะ

ขอบคุณ คุณย่านางด้วยนะคะสำหรับเรื่องราวของหนึ่งในสี่เสือ  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
yanang
อสุรผัด
*
ตอบ: 32


ความคิดเห็นที่ 396  เมื่อ 11 ก.ค. 10, 15:37

จากที่อาจารย์นวรัตน์กล่าวไว้ว่า ข้อมูลเกี่ยวกับพระยาฤทธิอัคเนย์จากสื่อทั่วไปดูเหมือนจะหาได้ไม่ง่ายนัก
ดิฉันจึงขอนำประวัติส่วนตัว (โดยสังเขป) ของท่าน มาลงประกอบไว้ด้วยอีกหนึ่งข้อมูลแล้วกันนะคะ

ประวัติ พันเอก พระยาฤทธิอัคเนีย์ ( สละ  เอมะศิริ ) ป.ม.

ชื่อเดิม   สละ  ชื่อสกุล  เอมะศิริ

เกิด   ณ วันที่ ๑๔  มกราคม ๒๔๓๒

ชื่อบิดามารดา  พระยามนูสารศาสตรบัญชา  (ศิริ  เอมะศิร) และ คุณหญิงเหลือบ

ครอบครัว

พ.อ. พระยาฤทธิอัคเนย์ได้สมรสกับคุณหญิงอิน  ฤทธิอัคเนย์  เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕
บุตรธิดาของท่านคือ

๑. นายเสรี  เอมะศิริ
๒.  นายเสลา  เอมะศิริ
๓.  ร.ต. สลับ  เอมะศิริ
๔. นางสาวพันธุ์ศรี  เอมะศิริ
๕.  นายฤทธี  เอมะศิริ
๖.  นายศิรินทร์  เอมะศิริ
๗.  นาสาวลักษณา  เอมะศิริ

พ.อ. พระยาฤทธิอัคเนย์ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคมะเร็งที่ปอด  เมื่อวันที่  ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๙  เวลา ๐๒.๕๕ น.  ณ  โรงพยาบาลศิริราช.


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 397  เมื่อ 11 ก.ค. 10, 16:13

ผมกำลังคิดถึงคุณหญ้านาง(ขออภัย หรือย่านาง) เพราะกระทู้นี้ยังไม่ควรจะจบก่อนที่เรื่องของพระยาฤทธิ์ไม่กระจ่าง

ประวัติในหนังสือแจกในงานพระราชทานเพลิงศพมีเพียงเท่านี้หรือครับ

ถ้าเป็นเช่นนั้น ผมจะได้เข้าใจว่าทำไมเรื่องราวความทุกข์ยากของท่านจึงไม่ถูกเปิดเผยในที่สาธารณะนัก

จากวัตรปฏิบัติของท่านแม้เพียงเท่าที่ได้อ่าน ผมคิดว่าท่านเลยอโหสิธรรมไปไกล

ใครทำอะไรกับท่าน ท่านยกให้หมด เลิกแล้วกันไป ไม่มีติดค้างคาใจ


ท่านอาจจะไม่ต้องการให้มีเรื่อง ไม่ต้องการให้มีร่องรอยให้เกินประวัติว่าเกิดเมื่อไร บิดามารดา ภรรยาและบุตรธิดา ชื่ออะไร ตายอย่างไร เมื่อไหร่

จบ

ไม่ทิ้งเชื้อให้เป็นกรรมนำไปอาฆาตแค้น ไม่ว่าต่อเขา หรือต่อเรา


ไม่มีอะไรอีกเลยในเล่มนั้นนอกจากคำไว้อาลัยที่คนนอกครอบครัวเขียนหรือครับ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 398  เมื่อ 11 ก.ค. 10, 16:50

ขอสรุปประวัติสั้นๆของพันเอกพระยาฤทธิ์อัคเนย์  เท่าที่ปะติดปะต่อได้จากหนังสืออนุสรณ์งานศพ  และเท่าที่คุณหญ้านางนำมาลง
ว่าท่านถูกพิษการเมืองในช่วง 2482 เมื่อจอมพลป.ขึ้นสู่อำนาจเบ็ดเสร็จ   ต้องลี้ภัยไปอยู่ปีนังพร้อมด้วยค่าหัว 10000 บาท ที่รัฐบาลประทับตราให้สำหรับนำจับ
ท่านคงอยู่ปีนังมาตลอดจนปลายสงครามโลก    หรือจะอพยพไปเมืองไหนก็ไม่ทราบ   เพราะจำได้จากกระทู้คุณนวรัตนเล่าถึงท่านตนกูอับดุลราห์มาน ว่าปีนังโดนถล่มราบจากเครื่องบินรบของอังกฤษ    แต่ท่านไม่มีโอกาสกลับมาประเทศไทย  จนนายควง อภัยวงศ์ออกพ.ร.บ. นิรโทษกรรมนักโทษการเมือง ปี 2489  ท่านถึงกลับมาได้  แต่ก็กลับมาเงียบๆ คงจะปลีกตัวจากวงราชการและการเมือง ไม่กลับไปเกี่ยวข้องอีกไม่ว่าเรื่องไหน     ชื่อของท่านจึงเหมือนกับสูญหายไปจากสังคม
เมื่อพลเอกกฤชพบท่านในฐานะผู้ฝักใฝ่ทางธรรม  ในพ.ศ. ๒๕๐๑   พระยาฤทธิ์อัคเนย์อายุ ๖๙ แล้ว     เพื่อนร่วมอุดมการณ์ก็ล้มหายตายจากไปหมด   คนรุ่นท่านคงเหลืออยู่น้อยคน  
กว่าท่านจะถึงแก่กรรมเมื่อพ.ศ. ๒๕๑๒  ชื่อท่านก็ถูกลืมไปแล้วจากสังคมร่วมสมัย    

ชีวิตของพระยาฤทธิ์อัคเนย์ ทำให้ดิฉันนึกถึงเพลงชื่อFernando ร้องโดย วง ABBA  เป็นเพลงจากสวีเดนที่มาใส่เนื้อร้องอังกฤษ เข้ามาฮิทในอเมริกาปี 1975    เนื้อเพลงเป็นคำร้องของทหารเก่าและแก่คนหนึ่ง ทบทวนความหลังสมัยยังหนุ่ม  ออกสนามรบด้วยกันกับเพื่อนชื่อ Fernando ฟัง   เป็นสงครามที่เขาเป็นฝ่ายแพ้  แต่เขาก็ไม่เสียใจเลยที่ได้เข้ารบ  
 




ดิฉันเชื่อว่าคนอย่างท่านยังมีอุดมการณ์ต่อบ้านเมืองอยู่เต็มเปี่ยม  น่าเสียดายที่ไม่มีใครมีโอกาสถามว่า ถ้าท่านรู้ว่าบ้านเมืองจะเปลี่ยนแปลงมาเป็นอย่างนี้  ท่านจะเข้าร่วมเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี ๒๔๗๕ หรือไม่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 399  เมื่อ 11 ก.ค. 10, 17:09

อ้างถึง
ถ้ากระทู้นิ่งแปลว่าท่านผู้อ่านอยากให้จบไวๆ ผมจะได้เดี่ยวจรเข้เพลงเขมรโศกาสู่ตอนจบเลย





กระทู้นอกจากไม่นิ่ง ไม่เงียบ  แล้ว ก็ยังอึงคะนึง  ถ้าหากว่าคุณนวรัตนยังไม่เหนื่อย ขอเชิญบรรเลงเพลงใหม่ เก็บเพลงเขมรโศกา ไว้ก่อน   แต่ถ้าเหนื่อย อยากให้จบไวๆ  จะนั่งพักสักหน่อยก็ไม่ว่ากันค่ะ
ชาวเรือนไทยรอได้ว่า พระยาทรงสุรเดชท่านจะทำยังไงกับเสรีไทยสำคัญ ๒ ขั้ว ๒ คน

ส่วนข้อมูลเสรีไทยทางฝ่ายดิฉัน  ทำท่าว่า 4=1+1+2 เสียแล้ว  กลายเป็นเลข 3 ตัว  ไม่ใช่ 2   เฉลยเมื่อไร   ตัวเลขชนกันกับของคุณนวรัตนอย่างแรง  
พอถอดรูท X & Y ออกมา เผลอๆคำตอบเรื่องหัวหน้าเสรีไทยอาจกลายเป็นคนละคน   คงได้ปั่นกระทู้กันไปอีกยาวหลายวัน
บันทึกการเข้า
yanang
อสุรผัด
*
ตอบ: 32


ความคิดเห็นที่ 400  เมื่อ 11 ก.ค. 10, 17:25

เรียนท่านอาจารย์เทาชมพู และอาจารย์นวรัตน์  

จากหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพของท่านที่มีอยู่นี้  มีหลักฐานพอปะติดปะต่อถึงท่านเพียงเท่านี้เองค่ะ
แม้แต่คำไว้อาลัยจากบุตรธิดา ก็เป็นเพียงการกล่าวขอบคุณแขกผู้เกียรติต่าง ๆ อย่างสั้นที่สุด
แต่จากการอ่านโดยรวมแล้ว ผู้หลักผู้ใหญ่ทางการเมือง(ในขณะนั้น) ซึ่งบางท่านก็เป็นเพื่อนกับบุตรชายคนโตของท่านเอง
กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า บุคคลิกของพระยาฤทธิฯ ที่โดดเด่นคือ เป็นผู้มีอัธยาศัยดี กิริยามารยาทดี พูดน้อย
แต่วาจาอ่อนหวานเป็นสุภาพบุรุษโดยแท้ มีเลือดของชายชาติทหารอย่างเต็มเปี่ยม ซื่อสัตย์ มีน้ำใจ
เป็นที่รักใคร่และมีเมตตาต่อผู้ใต้บังคับบัญชา  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านเป็นผู้มีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สถานศึกษาของดิฉันอีกด้วยค่ะ

ขณะนี้ดิฉันเจอหนังสืออนุสรณ์งานศพของ จอมพล ผิน ชุณหะวัณ เท่าที่อ่านดูคร่าว ๆ  มีหลายตอนที่ท่านเล่าถึงเหตุการณ์
ที่อาจารย์กำลังเล่าอยู่นี้ด้วยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือ กบฏซ้อนในวาระต่าง ๆ  แต่ต้องสารภาพตรง ๆ ว่า ดิฉันไม่ใช่นักอ่านที่เก่งนัก จึงไม่รู้ว่า จะนำเรื่องต่าง ๆ มาโยงกับเหตุการณ์ ที่กำลังออกรสอยู่นี้ได้อย่างไร  อายจัง  ครั้นจะสแกนลงให้ดูอีก ก็หลายหน้ามาก ๆ ไม่รู้จะขาดอรรถรสหรือเปล่า  หรือดิฉันจะสแกนแล้วส่งให้อาจารย์ดีคะ เรียนขอคำแนะนำเลยแล้วกันค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 401  เมื่อ 11 ก.ค. 10, 17:35

เริ่มน้ำลายหกกับหนังสือจากคุณหญ้านาง   อยากอาราธนาให้คุณนวรัตนต่อยอดกระทู้  ไหนๆก็เอ่ยถึงยอดตาลยอดมะพร้าวมาแล้ว แสดงว่าคงจะปีนได้คล่องแคล่วดี
เอาอย่างนี้ดีไหมคะ    ในฐานะที่คุณนวรัตนเป็นผู้เริ่มกระทู้มหากาพย์  เล่าเรื่องที่ดิฉันไม่มีความสามารถพอจะเล่า   ขอให้คุณหญ้านางสแกนส่งให้คุณนวรัตนย่อยดีกว่าค่ะ  แล้ว cc: ส่งให้ดิฉันด้วย  เพื่อเก็บไว้ในตู้หนังสือของเรือนไทยต่อไป


บันทึกการเข้า
yanang
อสุรผัด
*
ตอบ: 32


ความคิดเห็นที่ 402  เมื่อ 11 ก.ค. 10, 17:42

ขอสรุปประวัติสั้นๆของพันเอกพระยาฤทธิ์อัคเนย์  เท่าที่ปะติดปะต่อได้จากหนังสืออนุสรณ์งานศพ  และเท่าที่คุณหญ้านางนำมาลง
ว่าท่านถูกพิษการเมืองในช่วง 2482 เมื่อจอมพลป.ขึ้นสู่อำนาจเบ็ดเสร็จ   ต้องลี้ภัยไปอยู่ปีนังพร้อมด้วยค่าหัว 10000 บาท ที่รัฐบาลประทับตราให้สำหรับนำจับ
ท่านคงอยู่ปีนังมาตลอดจนปลายสงครามโลก    หรือจะอพยพไปเมืองไหนก็ไม่ทราบ   เพราะจำได้จากกระทู้คุณนวรัตนเล่าถึงท่านตนกูอับดุลราห์มาน ว่าปีนังโดนถล่มราบจากเครื่องบินรบของอังกฤษ    แต่ท่านไม่มีโอกาสกลับมาประเทศไทย  จนนายควง อภัยวงศ์ออกพ.ร.บ. นิรโทษกรรมนักโทษการเมือง ปี 2489  ท่านถึงกลับมาได้  แต่ก็กลับมาเงียบๆ คงจะปลีกตัวจากวงราชการและการเมือง ไม่กลับไปเกี่ยวข้องอีกไม่ว่าเรื่องไหน     ชื่อของท่านจึงเหมือนกับสูญหายไปจากสังคม
เมื่อพลเอกกฤชพบท่านในฐานะผู้ฝักใฝ่ทางธรรม  ในพ.ศ. ๒๕๐๑   พระยาฤทธิ์อัคเนย์อายุ ๖๙ แล้ว     เพื่อนร่วมอุดมการณ์ก็ล้มหายตายจากไปหมด   คนรุ่นท่านคงเหลืออยู่น้อยคน  
กว่าท่านจะถึงแก่กรรมเมื่อพ.ศ. ๒๕๑๒  ชื่อท่านก็ถูกลืมไปแล้วจากสังคมร่วมสมัย    


ช่วงหนึ่งของประวัติการทำงานของท่าน กล่าวว่า
 พฤศจิกายน  ๒๔๙๑  เป็น วุฒิสมาชิกในรัฐสภา
พฤศจิการยน ๒๔๙๔  เป็น  ออกจากวุฒิสมาชิกสภา เนื่องจากยุบสภา


แสดงว่า บั้นปลายของชีวิตท่าน ก็ยังได้มีโอกาสกลับมาอยู่ในแวดวงการเมือง ภายหลังรัฐประหารในปี ๒๔๙๐ ใช่มั้ยคะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 403  เมื่อ 11 ก.ค. 10, 17:50

ตกลงผมเปลี่ยนใจยังไม่เดี่ยวจรเข้เพลงเขมรโศกาแล้ว ให้มันกลับไปลงน้ำเอาแรงก่อน ขอร่วมแจมในวงโยธะวาทิตกับทุกๆท่านให้ดังไปถึงคุณเฟอร์นานโดสักเพลงสองเพลง

คุณหญ้านาง(มาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต้องหญ้านางแหง๋ๆ ถ้ามาจากอู่ต่อเรือรบผมถึงจะเดาว่าย่านาง) เฉลยเรื่องของพระยาฤทธิ์ตรงตามที่ผมคาดการณ์ไม่ผิด ผมต้องขออนุโมทนากุศลกรรมกับท่านด้วย และต้องปลุกใจตนเองหน่อยว่าเรากำลังทำหน้าที่เล่าความจริง หรือที่เราเชื่อว่าจริงอยู่ ไม่ได้คิดปรุงแต่งเรื่องขึ้นมาให้เป็นคุณเป็นโทษแก่ใคร ถ้ามันจะเป็น มันก็เป็นด้วยเนื้อหาของมันเอง หาได้เกิดจากความเคียดแค้นอาฆาตพยาบาทใครไม่ ท่านที่อินๆอยู่กับคนใดเรื่องใด ไม่ว่าจะด้วยว่าชอบหรือเกลียด ปลงๆซะนะครับ เรื่องที่ผ่านไปแล้ว ไม่สำคัญเท่าเรื่องปัจจุบัน พึงกระทำเหตุในปัจจุบันให้ดี เพื่อผลอันดีที่จะตามมาในอนาคต

ไม่ต้องสาธุก็ได้ครับ แหะ แหะ

นี่...เอามาโชว์


บันทึกการเข้า
yanang
อสุรผัด
*
ตอบ: 32


ความคิดเห็นที่ 404  เมื่อ 11 ก.ค. 10, 17:59

อาจารย์นวรัตน์คะ ถึงแม้ว่าดิฉันจะถูกเพาะเมล็ดเป็นดอกนนทรี แต่มาบัดนี้ เกิดการเสียดุลย์ ได้ร่วมเครือเป็นครอบครัวดอกประดู่เสียแล้วล่ะค่ะ  ชื่อ "ย่านาง" จึงตั้งใจว่าจะให้เป็นชื่อของสมาชิกใหม่ในครอบครัวดอกไม้สีเหลืองทองของเราค่ะ (ถ้ามีนะคะ)  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 25 26 [27] 28 29 ... 46
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 19 คำสั่ง