เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 5912 คุณครูสมัยโน้น กับลูกศิษย์สมัยนั้น ประวัติคุณหลวงสำเร็จวรรณกิจ
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


 เมื่อ 14 มิ.ย. 10, 22:27



หลวงสำเร็จวรรณกิจ (บุญ  เสขะนันท์) เกิดที่ บ้านถนนราชวงศ์   อำเภอสัมพันธวงศ์  จังหวัดพระนคร เมื่อ
วันที่  ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๔


เก็บความมาจาก หนังสืออนุสรณ์  วันที่ ๒๓  เมษายน  ๒๕๑๕

ศิษย์เก่าเทพศิรินทร์ พิมพ์แจก เพื่อบูชาพระคุณครู


มีข้อความจากลูกศิษย์มากหน้าหลายตาที่เป็นใหญ่เป็นโตในแผ่นดิน ล้วนเล่าเรื่อง คุณครูไว้น่าอ่าน

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 14 มิ.ย. 10, 22:56



ม.ร.ว. เสนีย์  ปราโมช  เล่าว่า   สำหรับครอบครัวของท่านนั้น เป็นลูกศิษย์ คุณหลวงสำเร็จวรรณกิจทั้งครอบครัว

ตัวท่านนั้นมอบตัวเป็นลูกศิษย์เมื่อจับงานแปลกวีไทยเป็นฝรั่ง

ได้ความรู้จากท่านเป็นอันมาก



แปลเสร็จแล้ว  ซีโต้ขอไปพิมพ์แจกเป็นเวลาร่วมปี   ใครๆรวมทั้งคนแปลก็ว่า แปลดี  เพราะถอดสัมผัสในของไทยเป็นภาษาฝรั่งได้

"แต่เมื่อพบกับท่านเป็นครั้งแรก       ท่านว่า  "คุณชาย  ที่ทำไว้นั้นเสีย"         ถามว่าเสียตรงไหน      ท่านว่าเสียตรงที่ไม่ได้แปลบทครูของนรินทร์ธิเบศ


                         อยุธยายศล่มแล้ว                          ลอยสวรรค์  ลงฤา
 
                   สิงหาสน์ปรางรัตน์บรร                           เจิดหล้า

                   บุญเพรงพระหากสรรค์                           ศาสน์รุ่ง  เรืองแฮ

                   ยังอบายเบิกฟ้า                                   ฝึกฟื้น  ใจเมือง   

ข้าพเจ้าว่า  "คุณครู  ผมพยายามอย่างที่สุดแล้ว             นอนแปลก็แล้ว    นั่งแปลก็แล้ว      แทบทุกอิริยาบท

แต่ครูไม่เข้า   แปลไม่ออก"            ท่านว่า  นั่นแหละเสีย"

       ต่อมาสหายมาสกิดให้แปล  ครูก็เกิดเข้าขึ้นมาเฉยๆ  จนแปลออกมาได้

                         
                   "Fallen thus Ayuthaya's pride                  from the sky
                 
                    Extinguished thus thy light                    thy glory

                    From death doth thou rise                     through faith held true,
     
                    To follow thy destiny                             fathering faith in men."


"ผู้ที่จี้ให้แปลโคลงบทครูออกมาได้  คือ คุณหลวงสำเร็จวรรณกิจ            ท่านเป็นครูเข้าให้ข้าพเจ้าแปลได้   จึงเทอดบุญคุณของท่านไว้  ณ ที่นี้"                     

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 14 มิ.ย. 10, 23:08


พระยาอิศรภักดีธรรมวิเทต  ชาวเทพศิรินทร์ และเกิดปีเดียวกัน  เล่าว่า

     "ในคืนที่นั้งสนทนากันอยู่  ศิษย์เก่าที่ผ่านไปมาก็แสดงความเคารพทุกคน         หม่อมหลวงชูชาติ กำภู ขณะนั้นเป็นรัฐมนตรี

เมื่อเดินมาถึงตรงที่คุณหลวงสำเร็จนั่งอยู่   ได้ทรุดตัวลงกราบคุณหลวงสำเร็จที่ตัก     เป็นการแสดงความเคารพสูงสุดของท่านรัฐมนตรีผู้นั้นต่อคุณหลวง"
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 14 มิ.ย. 10, 23:49

สุนทร  หงส์ลดารมภ์  เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐ


       เป็นนักเรียนเทพศิรินทร์ และเป็นศิษย์คุณหลวงสำเร็จวรรณกิจผู้หนึ่ง      ไม่เคยถูกเฆี่ยนตีโดยท่านแม้แต่ครั้งเดียว      

ดูเหมือนท่านจะไม่เคยเฆี่ยนตีใคร           แต้ลูกศิษย์ทุกคนรวมทั้งคุณสุนทรกลัวและเกรงท่านมาก  เพราะกำลังคะนอง อายุ ๑๖ -  ๑๗

ช่างคุย   คุณหลวงสำเร็จจะไม่ว่าคุณสุนทรทุกครั้งเมื่อชวนเพื่อนคุย  จะเลือกว่าเป็นบางเวลา


     "ข้าพเจ้ามีนิสัยแปลกอยู่อย่างหนึ่ง  คือชอบเกาหัว   คุณหลวงสำเร็จ ฯ คงสังเกตมาหลายครั้งแล้ว   แต่ท่านก็ไม่ได้ว่าอะไร

แต่วันหนึ่งท่านคงเห็นว่าเป็นกิริยาที่ไม่ดี   และคงจะคิดว่าการกระทำดังกล่าวทำให้ข้าพเจ้าไม่เอาใจใส่ต่อวิชาที่ท่านสอนอยู่เพียงพอ      

ท่านก็เรียกชื่อข้าพเจ้าด้วยเสียงอันดังและมีน้ำหนัก       ข้าพเจ้าก็สะดุ้งเฮือก        และท่านกล่าวต่อไปว่า

"นี่เป็นห้องเรียน       ไม่ใช่ห้องหาเหา    ถ้าจะหาเหาก็ออกไปข้างนอก"          ตั้งแต่นั้นมาข้าพเจ้าก็เคยเกาหัวในห้องเรียนอีกเลย"

เพราะพอจะเริ่มเกาทีไรก็นึดถึงคำพูดที่เจ็บแสบของคุณหลวงสำเร็จ ฯ ขึ้นมาได้ทุกที"




ดิฉันอ่านด้วยความขบขัน เพราะเป็นที่ทราบทั่วไปว่า คุณสุนทร  หงสลดารมภ์  เป็นนักเรียนที่เรียนเก่งที่สุดในห้อง ครองโต้ะทองประจำ

ดิฉันยังค่อนข้างจะแน่ใจว่า  ท่านผู้ใหญ่เมื่อระลึกถึงชีวิตนักเรียน  คงสุขใจหาใดปาน
  




บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 15 มิ.ย. 10, 05:45


จำรัส   ฉายะพงศ์


     "รุ่นเราโชคดีที่มีท่านเป็นอาจารย์ประจำชั้น  เมื่อเรียนอยู่ชั้นมัธยมปีที่ ๖         

ในระหว่างที่เรียนอยู่กับท่าน  เราเกรงกลัวท่านมาก   โดยปกติท่านพูดน้อยและไม่จู้จี้หยุมหยิม

แต่ท่านเข้มงวดกวดขันเรื่องระเบียบวินัยมาก   พวกเราจึงยำเกรงไม่กล้าซุกซนเกเรนัก

ในระหว่างสอน  ท่านมักจะมีท่าทางเอาจริงเอาจัง  ไม่มีการพูดตลกคะนอง

พวกเราชื่นใจมากที่นาน ๆ ที่นาน ๆ จะได้เห็นท่านยิ้มสักครั้ง    สำหรับคนที่เรียบร้อยและเรียนดีแล้ว

รู้สึกว่าท่านมีความเมตตากรุณาเป็นพิเศษ   แต่ก็ไม่เคยแสดงออกนอกหน้า


       ศิษย์ของท่านทุกคน   ยกย่องว่าท่านเป็นผู้คงแก่เรียน          นอกจากท่านจะสอนดีแล้ว

ท่านยังมีชื่อเสียงในการประพันธ์อีกด้วย   ผลงานของท่านมีอยู่มากมาย   รวมทั้งโคลงฉันท์  กาพย์กลอน  และบทละคร   ซึ่งเป็นที่ทราบและนิยมกันอยู่ทั่วไป"

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 15 มิ.ย. 10, 05:57



ธรรมนูญ   ปัณยาชีวะ


     "ใน พ.ศ. ๒๔๖๖   คุณหลวงสำเร็จ ฯ  ได้เป็นคุณครูประจำชั้นที่ข้าพเจ้าเรียนอยู่   จึงเป็นครูของข้าพเจ้าโดยตรง

ท่านได้ประสิทธิประสาทวิชาภาษาไทยให้แก่ข้าพเจ้าและบรรดาศิษย์ทั้งปวงอย่างมีศิลป์  โดยไม่ได้ใช้ไม้เรียวหรือข่มขู่เลย

ทำให้พวกศิษย์รักวิชาภาษาไทย         รุ้รสวรรณกรรมไทย    โดยเฉพาะการสอนวิเคราะห์โคลงกลอนต่างๆนั้น   ทำให้ข้าพเจ้ารักวิชาภาษาไทยเพิ่มขึ้น"
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 15 มิ.ย. 10, 06:23


เปลื้อง   ณ นคร


     "ใคร่จะพูดว่า  คุณครูเป็นคนสุดท้าย  ที่เราจะได้เห็นแบบฉบับของคุณครูยุคก่อน           คุณครูเป็นผู้รักษาแบบเก่าเคร่งครัด

ทั้งในเชิงวิชาการและวัฒนธรรมไทย          คุณครูถือว่าลูกศิษย์คือลูก   ท่านไม่ได้ปกครองตามหลักวิชาการสมัยใหม่   

แต่ปกครองอย่างแบบลูกศิษย์ซึ่งคนสมัยนี้อาจทนไม่ได้


       รุ่นข้าพเจ้าคือระหว่าง ๒๔๖๘ - ๒๔๗๐   รู้สึกจะใกล้ชิดกับท่านมาก   และท่านก็รักมากด้วย

ในวันเกิดคุณครูเราได้พากันไปกราบเคารพท่านมิได้เว้น         ในวันนั้นเรารำลึกถึงเวลาอยู่ในชั้นที่ท่านสอน

ว่าวิชาความรู้ที่ท่านประสิทธิประสาทให้นั้นเห็นจะไม่มีใครจำได้          แต่สิ่งหนึ่งที่จำได้ดีทุกคน   คือการสั่งสอนอบรม

ซึ่งคุณครูให้ควบคู่ไปกับวิชา   ยังจดจำฝังใจได้ดีทุกคน        เป็นคำที่ประทับใจ   เป็นแสงสว่างแห่งชีวิต

ตือท่านสั่งนักสั่งหนาให้ประพฤติตนในทางดี   ท่านเป็นห่วง   เพียรสั่งสอนกำชับกำชาอยู่ตลอดเวลา


       เราเชื่อว่าครูที่ตั้งใจดีต่อศิษย์อย่างคุณหลวงสำเร็จ ฯ ก็คงมีอยู่ในปัจจุบันนี้         แต่เราสงสัยอยู่อย่างหนึ่งว่า

จะยังมีครูที่มีกำลังใจแรง  ทำให้ศิษย์ยำเกรงอย่างคุณครูอีกหรือไม่"

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 15 มิ.ย. 10, 06:35


รอง   ศยามานนท์


       "คุณครูหลวงสำเร็จวรรณกิจมีวิธีปกครองนักเรียนที่แตกต่างกับผู้อื่น  และผมได้จดจำมาใช้   

ในการอบรมในชั้น   ท่านไม่พูดมาก   แต่พูดถูกจุดประสงค์ที่ต้องการพูด          ทุกวันเสาร์ตอนบ่าย

มีการประชุมนักเรียนทั้งหมดเพื่อฟังโอวาทของครูที่ผลัดเปลี่ยนกันมาพูด         ครั้นถึงเวรคุณครู

หลวงสำเร็จวรรณกิจ          ท่านจะเข้าไปในห้องประชุมอย่างเงียบ ๆ โดยนักเรียนไม่รู้ตัว

ท่านชอบสวมรองเท้ายาง   เดินเงียบไม่มีเสียง        ท่านยืนต่อหน้านักเรียนโดยไม่ปริปากอะไรเลย

รอจนกระทั่งนักเรียนเงียบไม่ทำเสียงอะไรอีกแล้ว     ท่านจึงเริ่มพูดให้โอวาทแก่นักเรียน"

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 15 มิ.ย. 10, 06:59

พล.อ.ท. จำรัส  วีณะคุปต์


       "ในโรงเรียนมัธยมเทพศิรินทร์เมื่อหลายสิบปีมาแล้ว     มีคุณครูคนหนึ่งรูปร่างผอมบาง   น้ำหนักเห็นจะไม่ถึง ๔๕ ก.ก.

นุ่งผ้าม่วง   ใส่เสื้อราชปะแตน(คอปิด  กระดุม ๕ เม็ด)        เวลาท่านเดินข้ามสนามฟุตบอลจากตึกแม้นนฤมิตรมายังตึกเยาวมาลย์อุทิศ

เมื่อลมพัดแรงดูประดุจว่าตัวท่านเป็นโครงไม้ไผ่     เสื้อผ้าเป็นกระดาษว่าว         จึงมีบ่อยครั้งที่นักเรียนบางคนจะชี้บอกให้เพื่อนๆดูว่า

คุณครูท่านนั้นกำลังจะติดลมลอยไปแล้ว


     ประมาณกลางปี พ.ศ. ๒๔๖๗   ท่านเอ็ดนักเรียน ม.๕ ข. คนหนึ่งชื่อนายเช็ง          ที่พวกเราเรียกว่าเช็งบ้า           ตัวใหญ่ที่สุดในชั้น

จึงนั่งแถวหลังสุดติดกับหน้าต่างหลังชั้นว่า    เธอนี่เต็มทีมาก       ทำไมไม่ทำการบ้าน             นายเช็งยืนตัวสั่นเทาพูดไม่ออก

คุณครูเลยหัวเสียใหญ่   ดุต่อไปว่า  ทำไมไม่พูด          ประเดี๋ยวฉันจับโยนหน้าต่างเสียนี่        นายเช็งยิ่งหน้าซีด        ทำอะไรไม่ถูก

คิดอะไรไม่ออก             อึกอักอยู่นาน           ท่านคงรู้สึกสงสารขึ้นมาเลยบอกให้นั่งลง             พอนั่งลงแล้วหน้าของนายเช้งก็ดีขึ้นทันที  โล่งอก!



      นายเช็งได้มาปรารภกับข้าพเจ้าเป็นทำนองไม่เข้าใจตนเองว่า    ทำไมกลัวครูตัวผอมนิดเดียวก็ไม่รู้            เวลาท่านดุ

ก็กลัวลานอยู่แล้ว       ยิ่งตอนที่ท่านบอกว่าจะจับโยนหน้าต่างยิ่งกลัวใหญ่   ขาอั๊วสั้นพั่บ ๆ           จะเป็นลมให้ได้

ทั้งๆที่รู้ว่าท่านไม่มีทางจะจับตัวอั๊วยกขึ้นได้แม้แต่นิดเดียว   แล้วจะมาจับโยนหน้าต่างได้อย่างไร       แหม  พอท่านบอกให้นั่งได้

เหมือนเกิดใหม่   แปลกแท้ ๆ"

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 15 มิ.ย. 10, 11:50

ประวัติย่อ


บิดามารดา             นายขำและนางบ้วน  เสขะนันท์

พี่น้อง                   พี่คนโตเป็นหญิงชื่อ เหรียญ

                          พี่คนที่สองเป็นชาย ชื่อเลื่อน  มีบรรดาศักดิ์เป็น ขุนยลไปรษณีย์ภัณฑ์
                          เคยรับราชการที่กรมไปรษณีย์โทรเลข

                          เจ้าตัว

                          น้องชายคือ นายใหม่  เสขะนันท์   ข้าราชการบำนาญกระทรวงศึกษาธิการ

ภรรยา                  นางสำเร็จวรรณกิจ (เล็ก)       แต่งงานเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔
                          ไม่มีบุตรด้วยกัน  มีบุตรบุญธรรมสองคน หญิงหนึ่ง  ชายหนึ่ง

ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่  ๓๑ ธันวาคม  ๒๕๑๔   รวมอายุได้ ๘๑ ปี

งานของท่าน  คือนิทานร้อบบรรทัด  ๖ เล่ม  กับ นิทานร้อยรส ๓ เล่ม


       



บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 15 มิ.ย. 10, 12:55



     คุณหลวงสำเร็จวรรณกิจเป็นคนรูปร่างโปร่ง  แข็งแรง   กีฬาที่ถนัดคือตะกร้อ

ท่านชอบเดินออกกำลังกาย       เมื่อโรงไฟฟ้าวัดเลียบถูกระเบิดลงจนไม่มีไฟฟ้าใช้  รถรางเดินไม่ได้

ท่านเดินไปทำงานจากบ้านทุ่งมหาเมฆ  ถึงกระทรวงศึกษาธิการเป็นระยะทางถึง ๙ กิโลเมตร  ขากลับอีก ๙ กิโลเมตร

รวมเป็น ๑๘ กิโลเมตร  เดินอยู่ประมาณ ๑ เดือน       พอดีมีคนเก่าคนแก่ของท่าน  ซึ่งมีอาชีพถีบสามล้อรับจ้างมารับส่งให้เป็นประจำ

ท่านก็ตกลง  เพราะเห็นว่าระยะทางเดินมากไป  เสียเวลาเดินอย่างน้อยเที่ยวหนึ่งถึงสองชั่วโมง        ต้องกระวีกระวาดออกจากบ้าน

ตั้งแต่ ๕ นาฬิกาครึ่ง

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 15 มิ.ย. 10, 13:18


       เมื่อเริ่มไปสอนที่โรงเรียนวัฒนา   หลังจากที่ได้สนทนากับแหม่มอาจารย์ใหญ่ตามสมควรแล้ว

แกก็เอ่ยขึ้นว่า เราจะทำสัญญากันกี่ปี           


       ข้าพเจ้าแสดงความประหลาดใจให้แกเห็น  เพราะนึกดูถูกความเป็นครูของแก         แต่อาจดูผิดก็ได้

เพราะข้าพเจ้าไม่ทราบชัดว่า  หน้าที่ครูและความเป็นฝรั่งอเมริกันเขาลึกซึ้งแค่ไหน

ข้าพเจ้าตอบว่า  "สัญญาเป็นเรื่องระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง  ป้องกันการเอารัดเอาเปรียบกัน     ซึ่งไม่ใช่เรื่องของครู

การสอนของฉันถ้าไม่เป็นที่ถูกความประสงค์ของแหม่มเมื่อใดเลิกได้เมื่อนั้น    แม้แหม่มจะเกรงใจไม่กล้าบอกเลิก

ฉันก็จะขอเลิกเอง         ทางฉันหากมีความจำเป็นอย่างใดจะเลิกสอน   ฉันก็จะแจ้งให่ทราบล่วงหน้า  และอย่างน้อยก็จะต้อง

สอนให้สิ้นปีการศึกษา           สังเกตดูแกพอใจมาก             ความเป็นครูของแกไม่ย่อหย่อนแน่       แต่อาจเป็นเพราะไม่เคยรู้จักคนไทยที่เป็นครู


       แล้วข้าพเจ้าก็สอนที่นั่นมาจนกระทั่งบัดนี้   ตลอดเวลาที่อาจารย์ใหญ่จากโรงเรียนนั้นตายไปถึงสามคน

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 15 มิ.ย. 10, 16:11


       ศิษย์เทพศิรินทร์รุ่น ๒๔๗๒ มีการรับประทานอาหารกันมาทุกเดือน  ในวันที่ ๔ ของเดือน  นับตั้งแต่ออกมาจากโรงเรียนมิได้ขาด

บางเดือนมีคนไปน้อย      บางเดือนมีคนไปมาก     แล้วแต่ใครจะติดธุระอย่างอื่นหรือไม่   แต่ตามปกติแล้ว   ถ้าใครว่างก็มักจะไปร่วม

รับประทานอาหารกันมิได้ขาด  ถ้าไม่จำเป็น   เพราะรู้อยู่ว่า  อายุล่วงเข้าไปคนละมาก ๆแล้ว   จะล้มหายตายจากกันไปเมื่อใดก็ไม่รู้ได้

และที่ได้ล้มหายตายจากไปแล้วจริงๆ ก็หลายคน


       ในโอกาสที่สมควร  เราก็เชิญคุณครูที่เคารพรักไปร่วมด้วย    เราจำกันได้ว่าคราวหนึ่งเราเชิญคุณครูหลวงสำเร็จไปด้วย

ท่านมิได้ไปมือเปล่า         แต่มีของกำนัลติดมือไปด้วย     ห่อไปเรียบร้อย      มีโบว์ผูกสวยงาม


       ท่านบอกว่า  "ครูยังไม่บอกก่อนว่าของนี้เป็นอะไร          ขอให้ทายมาก่อนสามอย่าง"

พวกเราคนหนึ่งเอามือไปคลำห่อแล้วบอกว่า  "กุนเชียงครับ"

"ไม่ถูก"  ท่านว่า

อีกคนหนึ่งไปลองคลำดูบ้าง  "แหนมครับ"

"ผิดอีก"   ท่านหัวเราะ

อีกคนหนึ่งกรากเข้าไปคลำถี่ถ้วน  "คราวนี้ไม่ผิดแน่  ทุเรียนกวนครับ"

"ผิดทั้งเพ"   ดููท่าทางท่านจะสนุกมากที่ศิษย์ของท่านล้วนแต่ปัญญาอ่อนทั้งนั้น

ท่านค่อย ๆ แก้ห่อออกให้เห็น  วิสกี้ตราดำ      ของโปรดของพวกเราทุกคน

ที่จริงพอจะจับหรือดูเฉยๆ  เราก็รู้แล้วว่าเป็นอะไร  แต่พากันแกล้งแสดงความเป็นปัญญาอ่อนให้ครูสนุก



"จะให้ผมทายออกได้อย่างไรว่าเป็นเหล้า  "ก็คุณครูสอนพวกผมไม่ให้กินเหล้า"

"ไอ้นั่นมันเมื่อพวกคุณเด็ก ๆ"  ท่านกล่าว  "เหล้าเป็นของไม่ดี  เพราะถ้ากินเข้าไปมาก ๆ  แล้วจะเกิดความประมาท

สามารถจะทำผิดอะไรต่ออะไรได้หลายอย่าง  ไม่ควรกิน  แต่นี่คุณเป็นผู้ใหญ่แล้ว   มีหน้าที่ตำแหน่งใหญ่ๆโต ๆกันทั้งนั้น   มีความรับผิดชอบดี

ถ้ามีสติคือความระลึกได้   มีสัมปชัญญะ  คือความรู้ตัวอยู่เสมอ   ไม่มีความประมาท   คือไม่กินจนเกินสมควรไป  ก็กินได้

ครูไม่ห้ามจึงเอาติดมือมาฝาก"

พวกเราหลายคนร้องพร้อมกันว่า "สาธุ"


ครูก็เป็นครูอยู่วันยังค่ำ   เมื่อถึงโอกาสที่ควรสอน  ท่านก็สอน" 

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 15 มิ.ย. 10, 16:22

พล.อ.ท. จำรัส  วีณะคุปต์  เล่าว่า   

โคลงสี่สุภาพที่ท่านว่าดีที่สุด คือ


     เอียงอกเทออกอ้าง                     อวดองค์  อรเอย

เมรุชุบสมุทร์ดินลง                          เลขแต้ม

อากาศจักจารผะจง                         จารึก  พอฤา

โฉมแม่บาดฟ้าแย้ม                         อยู่ร้อน  ฤาเข็ญ

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 15 มิ.ย. 10, 16:37


     เรื่องนี้เกิดขึ้นนานแสนนาน     แต่ความรู้สึกที่ครูคนหนึ่ง มีต่อนักเรียน  และนักเรียนรับความหวังดีนั้นได้

เป็นสิ่งที่สวยงาม  เป็นนิจกาล



(อิอิ...ทุเรียนกวน   อ่ะๆๆ)
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.091 วินาที กับ 19 คำสั่ง