เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 12141 นิยานรักของอิงอร กลิ่นยี่โถแดง
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 14 มิ.ย. 10, 21:02

บันทึกการเข้า
overhaul
อสุรผัด
*
ตอบ: 63


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 14 มิ.ย. 10, 21:05

ถอดรหัสจากคำตอบข้างบน  ออกมาว่า เรื่องนี้บังเอิญไปคล้ายกับชีวิตใครบางคน   โดยที่อิงอรเองก็ไม่ได้ตั้งใจ
จนกระทั่งพระองค์จุลฯ ทรงแสดงอะไรบางอย่าง
คล้ายกับว่าพระองค์ทราบว่าตรงกับชีวิตผู้ใด แต่อิงอรไม่เคยรู้เลย จนกระทั้งปี2524

แปลว่า หลังพ.ศ. 2524 อิงอรถึงรู้  และคุณลาวัลย์ มาเล่าไว้อีกที
 ฮืม
คุณเทาชมพูเข้าใจถูกแล้วครับ

ส่วนคุณวันดีครับ ผมก็ยังอยากจะไปหาสีสันกับสามล้อแดงคลองถม แต่มาหลังๆไม่เคยเดินพ้นร้านขายเพชรยี่ห้อหนึ่งตรงมุมถนนเลย เพราะเจ้าประจำมาดักจนอัฐเหลือแค่ค่ารถเมล์ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 14 มิ.ย. 10, 21:39

น่าสนใจ  ขยิบตา
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 14 มิ.ย. 10, 22:06


     โอโฮ...บรรยากาศดีจัง  ขอบพระคุณคุณเทาชมพูค่ะ

ตอนนี้มีรวมเล่มเพลินจิตต์อยู่ชุดหนึ่ง  กองไว้ต่างหากเพราะมีตัวกิน   ขออนุญาตไปหาเรื่องสั้นเลิศๆมาฝากค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 14 มิ.ย. 10, 22:26

ไปเจอสำนวนจุ่มน้ำผึ้งจาก jj book.com  เลยลอกมาฝากคุณวันดี
จากเรื่อง โนรี
ตอนหนึ่งที่โนรี(นางเอก)อยากประชดนกุล(พระเอก)…เจ้าของไร่รวงผึ้ง ด้วยการตัดผม

เธอบอกให้เขาตัดให้ เอาให้สั้นกุดเลย ชายหนุ่มไม่ยอม เขาหวงผมยาวงามและมีกลิ่นหอมของเธอมากกว่าเจ้าของเสียอีก

“ป่าผมนี้ เป็นทรัพยากรธรรมชาติของเจ้าของไร่รวงผึ้ง ผู้ใดตัดทำลายผมก่อนได้รับอนุญาต ผู้นั้นทำลายหัวใจของเจ้าของไร่รวงผึ้ง”
“อุ๊ยตาย! …ผมของน้องกลายเป็นทรัพยากรธรรมชาติ – เป็นสมบัติของเจ้าของไร่รวงผึ้งไปเสียแล้ว”
“ทั้งผม – ทั้งเล็บ – ทั้งเลือดเนื้อ – ทั้งหัวใจเสื้อผ้าเป็นของพี่ทั้งนั้น ไม่มีอะไรเหลือเป็นของโนรีสักอย่าง”

ดิฉันไม่มีปัญญาเขียนได้     ต่อเวลาให้ถึงชาติหน้าบ่ายๆก็เถอะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 14 มิ.ย. 10, 23:21

วาว....น้ำตาลขึ้น.....มดมา

แล้วใครโกนหัวประท้วงใคร เพราะความรักอีกหรือคะ

อ่านแล้วก็สงสัยหลายตอนเหมือนกันค่ะ  ไม่กล้าถามเพื่อนๆ เพราะพวกเขาสั่งเป็นเด็ดขาดว่า   นักประพันธ์ที่ขึ้นหิ้งไปแล้ว อย่าไปวิจารณ์

ไม่ได้วิจารณ์นะสหาย       สงสัยไม่ได้เหรอ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 15 มิ.ย. 10, 08:59

เชคสเปียร์ก็ตายไปตั้งสี่ร้อยปีแล้ว   ถ้าไม่มีใครสืบทอดการวิจารณ์มาเรื่อยๆ ท่านก็คงถูกลืมไปตั้งแต่วันลงหลุม
สุนทรภู่ ศรีปราชญ์   นายนรินทร์ธิเบศร์   ฯลฯ  ก็เช่นกัน
ป.อินทรปาลิต ก็ครบ ๑๐๐ ปี  ยังมี samgler.net ให้พูดถึงอยู่เป็นประจำ  ส่วนคนที่ไม่มีใครเอ่ยถึงเลย  ถูกลืมไปโดยปริยาย
ให้พวกเราต้องมาค้นหานามปากกากันอยู่ตั้ง ๒ กระทู้   เพราะจำไม่ได้นี่แหละ
การเอ่ยถึง ถ้าต้องจำกัดอยู่แต่เฉพาะชม ก็ไม่เรียกว่าวิจารณ์     เรียกว่าสรรเสริญเยินยอ   ไม่เคยมีกวีหรือนักเขียนคนใดตั้งแต่สร้างโลกมา  ได้รับแต่คำชมเชยด้านเดียวนะคะ

นางเอกของอิงอรที่โกนหัว น่าจะเป็นเรื่อง "ช้องนาง"
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 15 มิ.ย. 10, 11:30


ขอบพระคุณค่ะ  คุณเทาชมพู   

ความเชื่อมั่นของดิฉันได้รับการยืนยันแล้ว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 15 มิ.ย. 10, 20:55

มาปั่นเรตติ้ง  ยิ้มเท่ห์
จากเว็บ thaisermons.com

             “สอนวิชาอะไรก็สอนได้ แต่อย่าริสอนให้ใครเป็นนักเขียน เป็นกวี เพราะไม่มีวันสอนได้สำเร็จเด็ดขาด!” เป็นคำกล่าวของคุณณรงค์ จันทร์เรือง นักคิดและนักเขียนที่มีชื่อเสียงของไทย ในคอลัมน์มิตรน้ำหมึก
ของมติชนรายสัปดาห์ (ฉบับ ๒-๘ พฤษภาคม ๒๕๕๑)
                นักเขียนเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ (หรือตามความเชื่อของคริสเตียนว่า มันเกิดขึ้นโดยพระเจ้าประทาน)และด้วยใจรักของคนนั้นเอง  ลมจะพัด ดอกไม้จะบาน น้ำในลูกมะพร้าวไม่มีใครเอาไปใส่ มันเกิดขึ้นเองฉันใด นักเขียนก็เกิดขึ้นเองฉันนั้น
                เมื่อสี่ห้าสิบปีก่อนมีครูบาอาจารย์หลายคน พยายามที่จะเปิดโรงเรียนสอนนักเขียน เช่น อาจารย์เปลื้อง ณ นคร (ที่มีนามปากกว่า “นายตำรา ณ เมืองใต้”) ได้เปิดโรงเรียนสอนการประพันธ์ทางไปรษณีย์  และอาจารย์เจือ สตะเวทิน ก็ออกนิตยสาร “สังคมประพันธ์”
                เมื่อถามถึงเคล็ดลับแห่งความสำเร็จในการเป็นนักเขียน  อาจารย์เปลื้องตอบว่า “ไม่มี  ผมไม่ได้รับความสำเร็จในการเขียนหนังสือ ไม่ว่าเรื่องสั้นหรือเรื่องยาวใดๆทั้งสิ้น ผมมีแต่ภาคทฤษฎีที่มาจากนักเขียนโด่งดังทั่วโลก แต่ภาคปฏิบัติน่ะ พวกท่านทั้งปวงต้องแสวงหาด้วยตนเอง”
          วิลาศ มณีวัต นักเขียนอีกท่านหนึ่งกล่าวว่า “เด็กที่มันเกิดมาสำหรับการจะเป็นนักประพันธ์นั้น มันย่อมมีแรงขับดันอยู่ภายใน  สุดท้ายมันก็ระเบิดออกมาเป็นบทประพันธ์จนได้”  “ไม่ต้องห่วง นักเขียนจะมีต้องอยู่เรื่อยๆ  มันก็เหมือนพวกละครหรือลิเกนั้นแหละ จะต้องมีคนนำมาแสดงอยู่เรื่อยๆ”
                อิงอร (นามจริงคือศักดิ์เกษม หุตาคม) เจ้าของฉายา “ปากกาชุบน้ำผึ้ง”  ยืนยันอย่างหนักแน่นว่า “ใครอย่าริสอนให้คนอื่นเป็นนักเขียน กวี หรือนักแต่งเพลงเสียให้ยากเลย เพราะหัวเด็ดตีนขาดก็ไม่มีทางสอนได้สำเร็จ มันไม่เหมือนกับสอนให้คนเป็นช่างฟิต ช่างตัดผม ช่างไฟฟ้าหรือว่าช่างตัดเสื้อ จะเป็นนักเขียนเป็นกวีได้ต้องมีอารมณ์ ต่อให้ครูสอนแทบปากกาหัก แต่ตอนนั้นไม่มีอารมณ์ร่วม ซะอย่าง...”
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 19 คำสั่ง