เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
อ่าน: 157671 นามสกุลจากราชทินนาม
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


 เมื่อ 10 มิ.ย. 10, 14:28

นามสกุลคนไทยนั้นมีมาก  ทั้งนามสกุลพระราชทาน  นามสกุลประทาน  และนามสกุลที่ตั้งเอง
แต่ยังนามสกุลอีกประเภทหนึ่งที่มีที่มาจากราชทินนามของขุนนาง
ทั้งนี้  การที่จะใช้ราชทินนามขุนนางเป็นนามสกุลได้  
ต้องนำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตก่อน
เมื่อโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว  
ผู้ขอใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลจึงจะไปแจ้งขอเปลี่ยนนามสกุลได้

กระทู้นี้  จะได้แสดงข้อมูลนามสกุลเป็นราชทินนาม
ว่าเป็นราชทินนามของขุนนางคนใด  
ก่อนหน้าที่จะใช้นามสกุลนี้เขาใช้นามสกุลอะไรมา
 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 10 มิ.ย. 10, 15:19

ก่อนที่จะเสนอนามสกุลจากราชทินนาม   ต้องกล่าวถึงที่มาของการนำราชทินนามเป็นนามสกุลก่อน

ในปี ๒๔๘๔  ได้มีการตราพระราชบัญญัติชื่อบุคคล  พุทธศักราช  ๒๔๘๔ 

ในมาตรา  ๑๘  ของกฎหมายฉบับนี้ มีข้อความว่า

           "มาตรา ๑๘ ผู้ใดประสงค์จะขอใช้ราชทินนามของตนทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นชื่อสกุล  ให้ยื่นเรื่องราวต่อรัฐมนตรีเพื่อถวายต่อพระมหากษัตริย์  ถ้าได้รับพระบรมราชานุญาตและนำหลักฐานไปจดทะเบียนต่อกรมการอำเภอ  ณ  ที่ว่าการอำเภอท้องที่ซึ่งผู้ยื่นเรื่องราวมีภูมิลำเนาแล้ว  จึงให้ถือว่าเป็นชื่อสกุลอันชอบด้วยกฎหมาย"
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 10 มิ.ย. 10, 15:24

อันที่จริงนามสกุลที่มาจากราชทินนามทั้งหลายนั้นได้มีเว็บไซต์ของกระทรวงมหาดไทย  โดยกรมการปกครองได้รวบรวมนามสกุลเหล่านั้นไว้แล้ว  แต่ไม่มีข้อมูลอื่นประกอบ  
ผู้ที่ต้องการค้นข้อมูลอันเกี่ยวเนื่องต้องค้นหาเอง


ทันทีที่พระราชบัญญัติฉบับนั้นประกาศใช้อย่างเป็นทางการ  ก็มีผู้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลในครั้งแรก  ดังนี้
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 10 มิ.ย. 10, 15:33

๑.  จอมพล  หลวงพิบูลสงคราม  (แปลก  ขิตตะสังคะ)  ขอใช้นามสกุล  พิบูลสงคราม

๒.  นายพลตำรวจตรี  หลวงอดุลเดชจรัส   (อดุล   พึ่งพระคุณ)   ขอใช้นามสกุล อดุลเดชจรัส

๓.   นายนาวาเอก  หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์  (ถวัลย์   ธารีสวัสดิ์)  ขอใช้นามสกุล  ธำรงนาวาสวัสดิ์

๔.  นายพันตรี  หลวงเชวงศักดิ์สงคราม  (ช่วง  ขวัญเชิด)  ขอใช้นามสกุล  เชวงศักดิ์สงคราม

๕    นายพลโท   หลวงพรหมโยธี  (มังกร  ผลโยธิน)  ขอใช้นามสกุล  พรหมโยธี

๖.  นายพลอากาศตรี  พระเวชยันตรังสฤษฏ์  (มุนี  มหาสันทนะ)  ขอใช้นามสกุล  เวชยันตรังสฤษฏ์ 

๗.  นายพันเอก  พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ  (เภา  เพียรเลิศ)  ขอใช้นามสกุล  บริภัณฑ์ยุทธกิจ 

๘.  นายพลตรี  หลวงเสรีเริงฤทธิ์  (จรูญ  รัตนกุล)  ขอใช้นามสกุล  เสรีเริงฤทธิ์ 

๙.  หลวงวิจิตรวาทการ  (วิจิตร  วัฒนปฤดา)  ขอใช้นามสกุล  วิจิตรวาทการ 

๑๐.  ขุนสมาหารหิตะคดี   (โป-ระ  โปรคุปต์)  ขอใช้นามสกุล  สมาหาร


๑๗ พ.ย. ๒๔๘๔
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 10 มิ.ย. 10, 18:13

นึกออกในตอนนี้คือ หลวงศุภชลาศัย  (บุง ศุภชลาศัย) ไม่ทราบนามสกุลเดิม
ท่านเป็นหนึ่งในคณะราษฎร์ ผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 10 มิ.ย. 10, 20:15

ก่อนที่จะเสนอนามสกุลจากราชทินนาม   ต้องกล่าวถึงที่มาของการนำราชทินนามเป็นนามสกุลก่อน

ในปี ๒๔๘๔  ได้มีการตราพระราชบัญญัติชื่อบุคคล  พุทธศักราช  ๒๔๘๔ 

ในมาตรา  ๑๘  ของกฎหมายฉบับนี้ มีข้อความว่า

           "มาตรา ๑๘ ผู้ใดประสงค์จะขอใช้ราชทินนามของตนทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นชื่อสกุล  ให้ยื่นเรื่องราวต่อรัฐมนตรีเพื่อถวายต่อพระมหากษัตริย์  ถ้าได้รับพระบรมราชานุญาตและนำหลักฐานไปจดทะเบียนต่อกรมการอำเภอ  ณ  ที่ว่าการอำเภอท้องที่ซึ่งผู้ยื่นเรื่องราวมีภูมิลำเนาแล้ว  จึงให้ถือว่าเป็นชื่อสกุลอันชอบด้วยกฎหมาย"

แสดงว่าก่อนมี พ.ร.บ.ชื่อบุคคล พ.ศ.๒๔๘๔ การเอาราชทินนามมาตั้งเป็นนามสกุลไม่ต้องขอพระบรมราชานุญาตใช่หรือไม่ครับ
แล้วกรณีที่เอาราชทินนามของบรรพบุรุษมาเป็นนามสกุล ต้องขอพระบรมราชานุญาตด้วยหรือเปล่าครับ

และกรณีที่ขอพระบรมราชานุญาตนำราชทินนามมาเป็นนามสกุล ถือว่าเป็นนามสกุลพระราชทานหรือเปล่าครับ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 11 มิ.ย. 10, 06:33

การขอพระราชทานใช้ราชทินนามเป็นนามสกุล  เป็นผลสืบเนื่องมาจากการยกเลิกบรรดาศักดิ์ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี  ที่กำหนดให้ข้าราชการเลิกใช้บรรดาศักดิ์  คงเป็นนายเท่าเทียมกันทั้งหมด  จึงทำให้บรรดาข้าราชการที่เคยมีบรรดาศักดิ์และเคยรู้จักกันทั่วไปราชทินนามต่างๆ  พากันนำราชทินนามมาใช้ร่วมกับนามและนามสกุลเดิม  เช่น พระยาภะรตราชา อดีตผู้บัญชาการจุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ก็ได้เปลี่ยนมาใช้นามรตามรัฐนิยมว่า หม่อมหลวงทสทิส  อิสรเสนา  ภะรตราชา  หรืออย่างราย พระยาอนุมานราชธน  ท่านก็เปลี่ยนมาเป็น นายยง  เถียรโกเสส อนุมานราชทน (สพกดตามแบบรัฐนิยมเหมือนกันครับ)

เมื่อเลืกบรรดาศักดิ์แล้วท่านที่เคยมีบรรดาศักดิ์คงนึกเสียดายราชทินนามที่เคยได้รับพระราชทาน  จึงได้มีการตรากฎหมายที่กำหนดให้ขอพระราชทานราชทินนามเป็นชื่อสกุล  เพื่อเป็นเครื่องรำลึกถึงการที่เคยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์  จึงมีท่านที่เคยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ขอเปลี่ยนนามสกุลมาใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลเป็นลำดับ  ดังเช่น จอมพลแปลก  ขีตะสังคะ  ก็เปลี่ยนเป็น จอมพลแปลก พิบูลวงคราม (เดิมเป็นหลวงพิบูลสงคราม)
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 11 มิ.ย. 10, 08:47

ก่อนที่จะเสนอนามสกุลจากราชทินนาม   ต้องกล่าวถึงที่มาของการนำราชทินนามเป็นนามสกุลก่อน

ในปี ๒๔๘๔  ได้มีการตราพระราชบัญญัติชื่อบุคคล  พุทธศักราช  ๒๔๘๔ 

ในมาตรา  ๑๘  ของกฎหมายฉบับนี้ มีข้อความว่า

           "มาตรา ๑๘ ผู้ใดประสงค์จะขอใช้ราชทินนามของตนทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นชื่อสกุล  ให้ยื่นเรื่องราวต่อรัฐมนตรีเพื่อถวายต่อพระมหากษัตริย์  ถ้าได้รับพระบรมราชานุญาตและนำหลักฐานไปจดทะเบียนต่อกรมการอำเภอ  ณ  ที่ว่าการอำเภอท้องที่ซึ่งผู้ยื่นเรื่องราวมีภูมิลำเนาแล้ว  จึงให้ถือว่าเป็นชื่อสกุลอันชอบด้วยกฎหมาย"

แสดงว่าก่อนมี พ.ร.บ.ชื่อบุคคล พ.ศ.๒๔๘๔ การเอาราชทินนามมาตั้งเป็นนามสกุลไม่ต้องขอพระบรมราชานุญาตใช่หรือไม่ครับ
แล้วกรณีที่เอาราชทินนามของบรรพบุรุษมาเป็นนามสกุล ต้องขอพระบรมราชานุญาตด้วยหรือเปล่าครับ

และกรณีที่ขอพระบรมราชานุญาตนำราชทินนามมาเป็นนามสกุล ถือว่าเป็นนามสกุลพระราชทานหรือเปล่าครับ

ที่บ้านผมเมื่อแรกตั้ง นามสกุลขึ้นต้นด้วยคำว่า ตัน
พอถึงสมัยรัฐนิยมจอมพล ป.พิบูลสงคราม คุณปู่อยู่ในแวดวงผู้นำชุมชนท้องถิ่นเลยเปลี่ยนนามสกุลให้เป็นไทยแท้ๆ
จึงเอาส่วนหนึ่งของราชทินนามของคุณปู่ของคุณปู่มาใช้ แต่ตัดคำนำหน้าว่า จีน ในราชทินนามออก
โดยจดทะเบียนเปลี่ยนนามสกุลเมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๘๓
เลยไม่แน่ใจว่าคุณปู่ผมได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตหรือเปล่าครับ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 11 มิ.ย. 10, 08:53

แสดงว่าก่อนมี พ.ร.บ.ชื่อบุคคล พ.ศ.๒๔๘๔ การเอาราชทินนามมาตั้งเป็นนามสกุลไม่ต้องขอพระบรมราชานุญาตใช่หรือไม่ครับ
แล้วกรณีที่เอาราชทินนามของบรรพบุรุษมาเป็นนามสกุล ต้องขอพระบรมราชานุญาตด้วยหรือเปล่าครับ

และกรณีที่ขอพระบรมราชานุญาตนำราชทินนามมาเป็นนามสกุล ถือว่าเป็นนามสกุลพระราชทานหรือเปล่าครับ

ตอบคำถามที่ ๑  เท่าที่ทราบและได้ค้นข้อมูลมา   ก่อนการประกาศใช้ พ.ร.บ. ชื่อบุคคล ๒๔๘๔ ไม่ปรากฏว่ามีการนำเอาราชทินนามของขุนนางมาตั้งเป็นนามสกุลเลย   และยังไม่มีการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ราชทินนามเป็นนามสกุล  เนื่องจากกฎหมายที่ว่าด้วยการตั้งนามสกุลตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖ เป็นต้นมา ก็ไม่ได้บัญญัติให้ผู้ใดใช้ราชทินนามตั้งเป็นนามสกุลของตนได้  เมื่อประกาศใช้พ.ร.บ. ชื่อบุคคล ๒๔๘๔   จึงได้เกิดการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลได้เป็นครั้งแรก  และเป็นข้อบัญญัติที่ยังใช้ได้อยู่


ตอบคำถามที่ ๒  เมื่อ ๒๕๐๕  ได้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ชื่อบุคคล ๒๕๐๕  โดยกฎหมายฉบับนี้ได้มีการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยชื่อบุคคลที่มีมาแล้ว  มีมาตราหนึ่งว่า  

"มาตรา ๑๙ ผู้ใดประสงค์จะใช้ราชทินนามของตน ของผู้บุพการีหรือผู้สืบสันดานเป็นชื่อสกุล  ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ในท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร  แล้วให้นายทะเบียนท้องที่นั้นเสนอต่อไปตามลำดับจนถึงนายทะเบียนกลาง

เมื่อนายทะเบียนกลางพิจารณาเห็นสมควร   ให้เสนอรัฐมนตรีเพื่อนำความกราบบังคมทูล  เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว  จึงให้นายทะเบียนท้องที่รับจดทะเบียนชื่อสกุลนั้น   และออกหนังสือสำคัญแสดงการรับจดทะเบียนชื่อสกุลให้แก่ผู้ขอ"

จากกฎหมายฉบับนี้  ทำให้ลูกหลานของขุนนางสามารถยื่นคำร้องขอใช้ราชทินนามของบุพการีในสกุลเป็นชื่อสกุลได้   ซึ่งในการออกกฎหมายชื่อบุคคล ๒๔๘๔  ดูเหมือนจะกำหนดให้เฉพาะเจ้าของราชทินนามเท่านั้นที่สามารถยื่นขอใช้ราชทินนามของตนเป็นชื่อสกุลได้  ส่วนผู้สืบสันดาน กฎหมายในปี ๒๔๘๔ ยังไม่ได้กำหนดอนุญาตให้ยื่นคำขอใช้ได้


ตอบคำถามที่ ๓  นามสกุลที่มาจากราชทินนาม ไม่ว่าเป็นราชทินนามทั้งหมด หรือเป็นบางส่วนของราชทินนาม  ไม่นับเป็นนามสกุลพระราชทาน  เพราะไม่มีพระราชหัตถเลขาพระราชทานชื่อสกุลนั้นแก่ผู้ขอชื่อสกุล  ถ้าเป็นนามสกุลพระราชทานจะต้องมีพระราชหัตถเลขาพระราชทานชื่อสกุลที่ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยกำกับด้วยจึงจะนับว่าเป็นนามสกุลพระราชทาน  
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 11 มิ.ย. 10, 09:40

ถ้าเป็นไปตามที่คุณ CVT ว่ามา  นามสกุลดังกล่าวก็เข้าเกณฑ์นามสกุลจากราชทินนามเหมือนกัน   เพียงแต่ว่าได้ขอจดทะเบียนก่อนที่จะมีการตรากฎหมายชื่อบุคคล ๒๔๘๔  ซึ่งกฎหมายไม่มีผลบังคับย้อนหลังอยู่แล้ว  ทำให้นามสกุลดังกล่าวไม่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 11 มิ.ย. 10, 19:08

นามสุกที่มีที่มาจากราชทินนามได้รับพระชทานพระบรมราชานุญาตเป็นครั้งแรกในรัชกาลที่ ๖ ครับ  คือ นามสกุล "สารสิน" ที่พระยาสารสินสวามิภักดิ์ ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตไว้  และดูเหมือนจะเป็นเพียงนามสกุลเดียวที่ได้รับพระราชทานให้ใช้ราชทินนามเป๋นนามสกุลในสมัยรัชกาลที่ ๖
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 12 มิ.ย. 10, 18:20

หรืออย่างราย พระยาอนุมานราชธน  ท่านก็เปลี่ยนมาเป็น นายยง  เถียรโกเสส อนุมานราชทน (สพกดตามแบบรัฐนิยมเหมือนกันครับ)

เสฐียรโกเศศ เป็นนามสกุลพระราชทานเมื่อครั้งท่านยังเป็นขุนอนุมานราชธน แ่ต่ภายหลังท่านได้เปลี่ยนไปใช้นามสกุลตามราชทินนามแทน

บุตรธิดาของท่านก็ใช้นามสกุล อนุมานราชธน ทั้งสิ้น
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 14 มิ.ย. 10, 09:53

นามสกุลที่มาจากราชทินนาม ในคราว  ๑๘ ธันวาคม  ๒๔๘๔

๑.พระยาสุนทรพิพิธ (เชย  มัฆวิบูลย์) - สุนทรพิพิธ

๒.นายร้อยเอก  ขุนพิพัฒน์สรการ (พิพัฒน์  พัฒนสิริ) - พิพัฒน์สรการ

๓.พระอรรถนิพนธ์ปรีชา  (ประเสริฐ  คันธะยุกตะ) - อรรถนิพนธ์ปรีชา 

๔.นายพันโท  ขุนจำนงภูมิเวท (จำนง  ศิวะแพทย์) - จำนงภูมิเวท

๕.หลวงอรรถวาทีธรรมประวรรต  (วิเชียร  จันทน์หอม) - ธรรมประวรรต 

๖.นายพันตรี  ขุนนิรันดรชัย  (สเหวก  นีลัญชัย) - นิรันดร

๗.พระยศสุนทร (น้อม  กังศานนท์) - ยศสุนทร

๘.นายพันตรี  หลวงวิทยาธิกรณศักดิ์ (วัน  จันทนะพืช) - วิทยาธิกรณศักดิ์

๙.นายพลตรี  พระสุริยสัตย์ (สันท์  สนธิโกเศศ) - สุริยสัตย์

๑๐หลวงอรรถกัลยาณวินิจ  (อรรถ  ยุกตะนันทน์) - กัลยาณวินิจ 

๑๑.นายพันตรี  หลวงเจริญเนติศาสตร์ (เจริญ  คงเดช) - เจริญเนติศาสตร์

๑๒.นายพลตรี  พระขจรเนติยุทธ (เจียม  มูลสมบัติ) - ขจรเนติยุทธ

๑๓.นายนาวาเอก  หลวงยุทธศาสตรโกศล  (ประยูร  ศาสตระรุจิ) - ยุทธศาสตรโกศล 
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 14 มิ.ย. 10, 13:59

นามสกุลที่มาจากราชทินนาม ในคราว  ๒๔ มกราคม ๒๔๘๕  (ตอนที่ ๑)

๑.นายพลตรี  หลวงสวัสดิรณรงค์ (สวัสดิ์ ดาระสวัสดิ์) - สวัสดิรณรงค์
๒.นายพลตรี  หลวงวิชิตสงคราม (จี๊ด  ยุวนวรรธนะ) - วิชิตสงคราม
๓.นายพลตรี หลวงสินาดโยธารักษ์ (ชิต มั่นศิลป์) - สินาดโยธารักษ์
๔.นายพันเอก หลวงยอดอาวุธ (ฟ้อน  ฤทธาคนี) - ยอดอาวุธ
๕.นายพันเอก หลวงเกรียงเดชพิชัย (สุทธิ์  ศุขะนิล) - เกรียงเดชพิชัย
๖.นายพันเอก หลวงอนุสสรทิสาเขตต์ (ผิน  จงกลนันทน์) - อนุสสรทิศาเขตต์


๗.นายพันเอก หลวงไกรชิงฤทธิ์ (กร ชลินทุ) - ไกรชิงฤทธิ์
๘.นายพันเอก หลวงบูรณสงคราม (จอน บูรณะจารุ) - บูรณสงคราม
๙.นายพันเอก หลวงเดชประติยุทธ์ (เดช แสงเงิน) - เดชประติยุทธ์
๑๐.นายพันเอก หลวงนิทเทสยุทธศิลป์ (ฟู  มาสนันต์) - นิทเทสยุทธศิลป์
๑๑.นายนาวาอากาศเอก หลวงเชิดวุฒากาส (สุดใจ เชิดวุฒิ) - เชิดวุฒากาส
๑๒.นายพันเอก  หลวงอะดุงเดชจรูญ (ประสิทธิ์  ภัคะมาน) - อะดุงเดชจรูญ
๑๓.นายพันเอก  หลวงชาตินักรบ (ศุข นักรบ) - ชาตินักรบ
๑๔.นายพันเอก  ขุนอุดมสรยุทธ (ฮัก อุดมวุฒิ) - อุดมสรยุทธ
๑๕.นายพันเอก  หลวงเรืองฤทธิวิชัย (พาศน์ เรืองฤทธิ์) - เรืองฤทธิ์วิชัย


๑๖.นายพันเอก  หลวงพินิจภูวดล (วิเชียร  ศศะนาวิน) - พินิจภูวดล
๑๗.นายพันเอก หลวงวีรวัฒน์โยธิน (วีรวัฒน์ รักตะจิตรการ) - วีรวัฒนโยธิน
๑๘.นายนาวาอากาศโท  ขุนสวัสดิ์ทิฆัมพร (สวาท  นิยมธรรม) - ทิฆัมพร
๑๙.นายพันโท  หลวงวิชยวัฒน์ (วงษ์ วิชัยวัฒนะ) - วิชยวัฒน์
๒๐.นายพันโท หลวงวงศ์วีระเดช (อุทัย  วงศ์คำ) - วงศ์วีระเดช
๒๑.นายพันโท หลวงชาญกลราวี (ชาล  รัตตะกุญชร) - ชาญกลราวี
๒๒.นายพันโท ขุนนันทเสนีย์ (ชลอ  อาตนียะนันท์) - นันทเสนีย์
๒๓.นายพันโท  หลวงศรานุชิต (สมบุญ กงศะพุกก์) -  ศรานุชิต
๒๔.นายพันโท หลวงกัมปนาทแสนยากร  (กำปั่น  อุตระวณิชย์) - กัมปนาทแสนยากร


๒๕.นายพันโท หลวงอาจอัคนิกร (พุก  ไชยวัต) - อาจอัคนิกร
๒๖.นายพันโท ขุนสวัสดิ์รณภักดิ์ (สวัสดิ์ มิตรภักดี) - สวัสดิ์รณภักดิ์
๒๗.นายนาวาอากาศโท หลวงเจริญจรัมพร (เจริญ  ชัยโกมล) - เจริญจรัมพร
๒๘.นายพันโท ขุนสฤษฎิ์ราชโยธิน (เจือ สฤษฎิ์เนติ์) - สฤษฎิ์ราชโยธิน
๒๙.นายนาวาอากาศโท ขุนเฟื่องวุฒิราญ ((ทองใบ  เฟื่องวุฒิ) - เฟื่องวุฒิราญ
๓๐.นายพันโท หลวงอำนรรฆสรเดช (เปล่ง กองพระทราย) - อำนรรฆสรเดช
๓๑.นายพันตรี ขุนสงวนชาติศรไกร (เล็ก  สงวนชาติ) - สงวนชาติศรไกร 
๓๒.นายพันตรี  ขุนรอนปรปักษ์  (ลับ กนิษฐมาลย์) - รอนปรปักษ์
๓๓.นายนาวาอากาศตรี หลวงไวศรายุธ (ไว  น่วมขำทรง) - ศรายุธ


๓๔.นายพันตรี  ขุนพรหมสิริแสง (น่วม  พรมสิริ) - พรหมสิริแสง
๓๕.นายพันตรี  ขุนเฉลิมโยธากร (ก้อนทอง  เฉลิมสิมา) - เฉลิมโยธากร
๓๖.นายนาวาอากาศตรี หลวงชมชูเวชช์ (ชม  เกษสมัย) - ชมชูเวชช์
๓๗.นายพันตรี ขุนตระการฤทธิ์ห้าว (ทองอยู่  จินดาลัทร) - ตระการฤทธิห้าว
๓๘.นายพันตรี หลวงเจิมเจิดพล (เจิม  สุนทรกลิน) - เจิมเจิดพล
๓๙.นายพันตรี ขุนราชพลพิจารณ์ (ส่งลัมพกาญจนกุล) - ราชพลพิจารณ์
๔๐.นายพันตรี  หลวงเฉลิมศักดิ์สงคราม (เฉลิม  ปั้นศักดิ์) - เฉลิมศักดิ์สงคราม
๔๑.นายพันตรี  หลวงนิยมพลานึก (เปลื้อง  อุโฆษจันทร์) - นิยมพลานึก
๔๒.นายพันตรี  หลวงทะเบียนพลชำนาญ (พบ  เผื่อนพันธุ์นิตย์) - ทะเบียนพลชำนาญ


๔๓.นายพันตรี หลวงกำจัดดัสกร (ถนอม  อนันตกุล) - กำจัดดัสกร
๔๔.นายนาวาอากาศตรี  หลวงปรุงปรีชากาศ (ปรุง  บุณยนิยม) - ปรีชากาศ
๔๕.นายพันตรี หลวงสินศึกสงบ (สิน  ดิสปัญญา) - สินศึกสงบ
๔๖.นายพันตรี  ขุนศิลปิศรโกศล(พร้อม  อยู่พรหม) - ศิลปิศรโกศล
๔๗.นายพันตรี  ขุนสุรพรพิชัย (เพ็ญ ลบดุลานนท์) - สุรพรพิชัย
๔๘.นายพันตรี  ขุนจำรูญรณสิทธิ์ (จำรูญ  ตัณฑศรี) - จำรูญรณสิทธิ์
๔๙.นายร้อยเอก หลวงวิฑูรกลชิต (วิฑูร  ฉายัษฐิต) - วิฑูรกลชิต
๕๐.นายร้อยเอก  ขุนสุขสิริชัย (สุข  ศุขอารุณ)  -  สุขสิริชัย
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 16 มิ.ย. 10, 08:42

นามสกุลที่มาจากราชทินนาม ในคราว  ๒๔ มกราคม ๒๔๘๕  (ตอนที่ ๒)


๕๑. จ่านายสิบเอก  หมื่นองอาจเอาไชย  (คำ  โสภา)- องอาจเอาไชย 
๕๒.นายพันเอก  พระรามณรงค์  (เสงี่ยม  ศุนลักษณ์)-  รามณรงค์
๕๓.หลวงประพันธ์ไพรัชชพากย์  (บุญเชย  ปิตรชาต)- ประพันธ์ไพรัชชพากย์
๕๔.ขุนสวัสดิ์บุรีรมย์  (ช่วง  เท่งเศรษฐี)-สวัสดิ์บุรี
๕๕.ขุนพิษณุธนารักษ์  (ด่วน  แปลงประวัติ)- พิษณุธนารักษ์
๕๖.หลวงบริหารหิรัญราช  (บริหาร  สิวานันท์)- บริหารหิรัญราช
๕๗.ขุนราชภัณฑารักษ์  (สุ่น  สุรวัลลภ์)- ราชภัณฑารักษ์
๕๘.นายร้อยเอก  พระพนมนครานุรักษ์  (พนม  พิศาลบุตร์)- นครานุรักษ์
๕๙.ขุนไมตรีประชารักษ์  (ไมตรี   เถาอัมพร)- ไมตรีประชารักษ์
๖๐.พระพิชิตบัญชาการ  (ทรัพย์  อินทรรัสมี)- พิชิต



๖๑.พระสมัครสโมสร  (เสงี่ยม   บุรสมบูรณ์)- สมัครสโมสร
๖๒.หลวงประสิทธิ์บุรีรักษ์  (ประสิทธ์  สุขปิยังคุ)- ประสิทธิ์บุรีรักษ์
๖๓.พระเกษตรสรรพกิจ  (นุ่ม  วรรณโกมล)- เกษตรสรรพกิจ
๖๔.นายร้อยเอก  ขุนชาญใช้จักร์  ร.น. (ชาญ  ควรถนอม)- ชาญใช้จักร์ 
๖๕.ขุนบริรักษ์บทวลัญช์  (ชุ่ม  เธียรพงศ์)- บริรักษ์บทวลัญช์
๖๖.หลวงทรงประศาสน์  (ทรง  นวลทรง)- ประศาสน์
๖๗.หลวงอรรถเกษมภาษา  (สวิง  ถาวรพันธุ์)- อรรถเกษมภาษา
๖๘.ขุนพิเศษนครกิจ  (ชุบ  กลิ่นสุคนธ์)- พิเศษนครกิจ
๖๙.ขุนบุรีภิรมย์กิจ  (พริ้ม  จารุมาศ)- บุรีภิรมย์กิจ
๗๐.นายเรืออากาศเอก  หลวงวุฒิราษฎร์รักษา  (วุฒิ   ศรสงคราม)- วุฒิราษฎร์รักษา



๗๑.หลวงเกษมประศาสน์  (บุญหยด  สุวรรณสวัสดิ์)- เกษมประศาสน์
๗๒.ขุนรัฐวุฒิวิจารณ์  (สุวงศ์  วัฏฏะสิงห์)- รัฐวุฒิวิจารณ์
๗๓.หลวงวิเศษภักดี  (ชื่น  เสมะนันทน์)- วิเศษภักดี
๗๔.หลวงวิวิธสุรการ  (ถวิล  เจียรมานพ)- วิวิธสุรการ
๗๕.หลวงปริวรรตวรวิจิตร์  (จันทร์  เจริญชัย)- ปริวรรตวร
๗๖.หลวงนครคุณูปถัมภ์  (นคร  ไพโรจน์)- คุณูปถัมภ์
๗๗.หลวงบริหารชนบท  (ส่าน  สีหไตรย)- บริหารชนบท
๗๘.หลวงสรรคประศาสน์  (โต๊ะ  วิเศษสุวรรณ)- สรรคประศาสน์
๗๙.ขุนศุภกิจวิเลขการ  (กระจ่าง  อัตจุตพันธุ์)- ศุภกิจวิเลขการ
๘๐.หลวงอรรถวิภาคไพศาลย์  (กระจ่าง  สินธุรงค์)- อรรถวิภาคไพศาลย์



๘๑.หลวงสิทธิประศาสน์  (สิทธิ  บุษบรรณ์)- สิทธิประศาสน์
๘๒.หลวงอนันตธุรการ  (ขันธ์  บุณยะยูวะ)- อนันตธุรการ
๘๓.ขุนสนิทประชากร  (กุหลาบ  ศุกระมูล)- สนิทประชากร
๘๔.หลวงจันทรานนท์นัยวินิต  (สำราญ  จันทรานนท์)- จันทรานนท์นัยวินิต
๘๕.หลวงสรรคบุรานุรักษ์  (เหลือ  เครือนิล)- สรรคบุรานุรักษ์
๘๖.หลวงบริบาลบรรพตเขตต์  (สังเวียน  บุญชูศร)- บริบาลบรรพตเขตต์
๘๗.หลวงอินทรรักษา  (วินิต  อาชวานนท์)- อินทรรักษา
๘๘.หลวงพิศาลสารกิจ  (พิศาล  โรจนประดิษฐ์)- พิศาลสารกิจ
๘๙.ขุนศรีวิเศษ  (ยงยุทธ์  ชัยประภา)- ศรีวิเศษ
๙๐.ขุนวิเชียรโรจนพันธุ์  (เสงี่ยม  วิเชียรโรจน์)- วิเชียรโรจนพันธุ์



๙๑.ขุนศิขรภูมานุรักษ์  (บุญเสริม  เวณูโกเศศ)- ศิขรภูมานุรักษ์
๙๒.ขุนศรีวรพงศ์  (ทองคำ  มีศิริ)- ศรีวรพงศ์
๙๓.ขุนมูลศาสตร์สาทร  (พงศ์  มูลศาสตร์)- มูลศาสตร์สาทร
๙๔.ขุนอำนวยมงคลราษฎร์  (สวัสดิ์  มงคลกูร)- มงคลราษฎร์
๙๕.หลวงศรีพิบูล  (จรูญ  มฆัษเฐียร)- ศรีพิบูล
๙๖.ขุนสมรรถประศาสน์  (วง  ศุกระเศรณี)- สมรรถประศาสน์
๙๗.นายพันตำรวจตรี  หลวงอนุสสรราชกิจ  (โฉม  ฤทธิจรณ)- อนุสสรราชกิจ
๙๘.นายพันตำรวจตรี  หลวงเจนนิสสัยโยธี  (เจน  สถาวรจันทร์)- เจนนิสสัยโยธี
๙๙.นายพันตำรวจตรี  หลวงอารีราษฎร์  (สลัด  จัตตกละ)- อารีราษฎร์
๑๐๐.หลวงอรรถกิจบัญชา  (เชื้อ  บุญเพ็ญ)- อรรถกิจบัญชา



บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.096 วินาที กับ 20 คำสั่ง