|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 61 เมื่อ 28 ส.ค. 12, 11:24
|
|
อักขรากรมขุนนาง อักษร ฉ ใน พิพิธภัณฑ์สัพพะสยามกิจ หน้า ๘๖๕
แจ้งไว้ว่า
ฉลาดสุนทรวาที หลวง (เอี้ยง แผ่วิชา) นายพันตรี
อาจารย์วิชาสามัญ
กรมยุทธศึกษาทหารบก
(สหายในเรือนไทย ๓ ราย ก็ถือเอกสารฉบับนี้)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 62 เมื่อ 28 ส.ค. 12, 11:45
|
|
ข้อความข้างล่างนี้มี คำอธิบาย ว่า เป็นของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ สมัยท่านเป็นพระธรรมไตรโลกาจารย์มอบให้ศิษย์ของท่านคือ "ครูเฮี้ยง แผ่วิชา" หรือ หลวงฉลาดสุนทรวาที ครูโรงเรียนเทพศิรินทร์ในอดีต ลงวันที่ ๘ เดือน ๘ ปี ๒๔๕๘ อ่านชื่อได้ว่า "เอี๊ยง" (ไม้ตรี) 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAMO
อสุรผัด

ตอบ: 1
|
ความคิดเห็นที่ 63 เมื่อ 11 ก.พ. 13, 12:21
|
|
ช่วย ตรวจสอบ นาม สกุล
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 24 มิ.ย. 10, 17:08 นามสกุลที่มาจากราชทินนาม ในคราว ๔ สิงหาคม ๒๔๘๕ ตอนที่ ๑
คนที่34
๓๔.นายร้อยตำรวจโท โสม วิชารักส์(หมื่นวิทยารักส์) -วิทยารักส์
คำว่า รักส์ เป็น.. ส.. หรือ... ษ... กันแน่ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 64 เมื่อ 11 ก.พ. 13, 12:36
|
|
สะกดว่า วิชารักส์ / วิทยารักส์ ที่ใช้ ส เสือ เพราะสะกดตามภาษาไทยยุค "วัธนธัม" ในสมัยรัฐบาลจอมพลป. พิบูลสงคราม ค่ะ รัฐบาลสั่งให้ตัด ศ ษ ทิ้งไปจากพยัญชนะของไทย เช่น คำว่า รักษา ในหนังสือต่างๆรวมทั้งเอกสารราชการก็เลยต้องเขียนว่า รักสา ในยุคนั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Anna
|
ความคิดเห็นที่ 65 เมื่อ 17 ส.ค. 14, 21:33
|
|
ขออนุญาตยกกระทู้เก่ามาปัดฝุ่นอีกครั้งนะคะ
หลังจากเพลิดเพลินกับบรรดาราชทินนามอันเก๋ไก๋ ก็เกิดคำถามดังต่อไปนี้ค่ะ
1. รัชกาลที่หกเป็นผู้คิดตั้งให้ทุกราชทินนามหรือคะ หรือว่าท่านตั้งให้เพียงบางราชทินนามเท่านั้น ถ้างั้น หน่วยงานไหนมี หน้าที่โดยตรงกับเรื่องนี้คะ?
2. จับจุดได้ว่าราชทินนามจะเป็นตัวบ่งบอกงานในหน้าที่ของบุคคลนั้นๆ อย่างมีคำว่า 'นิติ เนติ' คือทำงานด้านกฏหมาย ที่เหลือก็เดาได้ไม่ยาก ยกเว้นที่มีคำว่า 'อภัย' คิดไม่ออกว่าเจ้าของราชทินทำงานด้านไหน?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 66 เมื่อ 17 ส.ค. 14, 22:55
|
|
รอคุณ V_Mee มาตอบนะคะ คงได้รายละเอียด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
Anna
|
ความคิดเห็นที่ 68 เมื่อ 18 ส.ค. 14, 06:57
|
|
ขอบพระคุณอาจารย์เพ็ญชมพู เข้าไปอ่านตามที่แนะนำแล้วค่ะ แล้วก็เกิดคำถามเพิ่มขึ้นอีก
ถามตรงนี้เลยดีกว่า เมื่ออาจารย์V_Mee มาตอบ ท่านจะได้ตอบรวดเดียวไม่เสียเวลา (เกรงใจค่ะที่ถามเยอะ)
คำว่า 'พิลึก' ในสมัยก่อนคงไม่ได้มีความหมายแย่ๆใช่ไหมคะ เพราะเห็นมีในราชทินนาม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 69 เมื่อ 18 ส.ค. 14, 07:35
|
|
ตอบคุณ Anna
1. รัชกาลที่หกเป็นผู้คิดตั้งให้ทุกราชทินนามหรือคะ หรือว่าท่านตั้งให้เพียงบางราชทินนามเท่านั้น ถ้างั้น หน่วยงานไหนมี หน้าที่โดยตรงกับเรื่องนี้คะ? ตอบ ทรงคิดบางราชทินนามเท่านั้นครับ เช่น เมื่อกระทรวงศึกษาธิการขอพระราชทานเลื่อนพระปรีชานุสาสน์ (ม.ล.ทสทิศ อิศรเสนา) เป็นพระยาทศทิศ อิศรเสนา กมีพระราชกระแสว่า ไม่มีธรรมเนียมอาชื่อนามสกุลมาเป็นราชทินนาม แล้วก็ทรงคิดะระราชทานใหม่ว่า พระยาภะรตราชา หรือราชทินนามในกรมมหาดเล็กก็ทรงคิดเพิ่มจากราชทินนามเดิมที่มีในทำเนียบเดิมอยู่แล้วอีกหลายสิบชื่อ แต่ราชทินนามส่วนใหญ่กระทรวงเจ้าสังกัดจะเป็นผู้เสนอขอแต่งตั้งตามราชทินนามที่มีสังกัดอยู่ในหน่วงวานนั้นมาแต่เดิมแล้ว เช่น มหาเทพกษัตรสมุห มหามนตรีศรีองครักษ์สมุห พิเรทรเทพ อินทรเทพ นี้เป็นราชทินนามสำหรับกรมพระตำรวจหลวง หรือไพศาลศิลปสาตร ก็เป็นราชทินนามสำหรับกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนที่ลงท้ายว่า ราชสภาบดีนั้นเป็นรานราชทินนามสำหรับผู้พิพากษา ถ้าจะต้องคิดใหม่ก็มักจะโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานพระอาลักษณ์เป็นผู้คิดแล้วนำขุ้นทูลเกล้าฯ ให้ทรงเลือก ซึ่งอาจจะมีที่ทรงแก้ไขบ้าง
2. จับจุดได้ว่าราชทินนามจะเป็นตัวบ่งบอกงานในหน้าที่ของบุคคลนั้นๆ อย่างมีคำว่า 'นิติ เนติ' คือทำงานด้านกฏหมาย ที่เหลือก็เดาได้ไม่ยาก ยกเว้นที่มีคำว่า 'อภัย' คิดไม่ออกว่าเจ้าของราชทินทำงานด้านไหน? ตอบ ราชทินนามที่มีคำว่าอภัยนั้นต้องดูสร้อยประกอบ เช่น เจ้าพระยาอภัยราชมหายุติธรรมธร นี้เป็นราชทินนามของผู้ทีทำงานด้านกฎหมายหรือกระบวนการยุติธรรม เช่น เจ้าพระยาอภัยราชา (โรลังค์ ยัคมินทร์) ท่านนี้เป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและเป็นที่ปรึกษากฎหมาย เจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร (ม.ร.ว.ลพ สุทัศน์) ท่านนี้เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม หรือหลวงอภัยวานิช นั้ก็ดูจากสร้อยราชทินนามว่า วานิช แสดงว่ามีหน้าที่เดี่ยวข้งกับการค้าจึงเป็นราชทินนามสำหรับกรมท่า ในระยะหลังที่มีข้าราชการมากขึ้นก็มักจะนิยมนำชื่อตัวมารวมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ เช่น หลวงเดชสหกรณ์
คำว่า "พิลึก" ในราชทินนามนั้นน่าจะหมายความว่า เป็นผู้มีความสามารถที่เหนือกว่าผู้อื่น เช่น ในดุสิตธานีมีถนนชื่อ พิลึกฤทธิ์ไทย ความหมายหมายคือ ประเทศไทยมีอิทธิฤทธิ์เหนือชาติอื่นในเอเชียจึงได้ชื่อว่าเป็นชาติชนะสงครามโลกครั้งที่ ๑
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Anna
|
ความคิดเห็นที่ 70 เมื่อ 18 ส.ค. 14, 19:04
|
|
ขอบพระคุณอาจารย์อาจารย์V_Mee ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ongkarn
อสุรผัด

ตอบ: 0
|
ความคิดเห็นที่ 71 เมื่อ 25 มี.ค. 23, 14:38
|
|
ในลำดับที่ 105 จาก วนิชาชีวะ ในใบพระราชทานที่ถูกต้องเป็น วณิชาชีวะ ครับ ขอบคุณครับ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 72 เมื่อ 25 มี.ค. 23, 21:35
|
|
นามสกุลแยกตามรายอาชีพของผู้เป็นต้นสกุล
สกุลพ่อค้า มีคำว่า วณิช หรือ วาณิช และ เวส ประกอบในนามสกุลเช่น กมุทวณิช, กัณหะเวส, คุปตะวาณิช, กฤษณวณิช วณิชาชีวะ ต้นสกุล (นายนุ่ม บิดานายร้อยโทโป๊ะ) คงเป็นพ่อค้า  จาก ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๒๓
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|