เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 9980 สมัยไหน
ฉันรักบางกอก
พาลี
****
ตอบ: 334



 เมื่อ 02 มิ.ย. 10, 17:11

 ;Dเมื่อวานแวะไปวัดค้างคาว จ.นนทบุรี พบเสมาหินทรายแดง
อ่านในหนังสือวิวัฒนาการลายไทยแล้วไม่แน่ใจ

เข้ามาตอบกันเร็ว


บันทึกการเข้า

กนก นารี กระบี่ คชะ
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 02 มิ.ย. 10, 20:49

สวัสดีัครับพี่แพร  ยิงฟันยิ้ม

ประภัสสร์ ชูวิเชียร,ลวดลายบางแบบบนใบเสมาวัดค้างคาวจังหวัดนนทบุรี = some designs on boundary stones at Wat Khang Khao, Nonthaburi.

เมือง โบราณ. ปีที่ 29, ฉบับที่ 1 (ม.ค. - มี.ค. 2546) : หน้า 72-78
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 02 มิ.ย. 10, 22:43

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 02 มิ.ย. 10, 22:44

อุ๊ย ซ้ำ แปลว่าใจตรงกัน อิอิ


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 02 มิ.ย. 10, 22:45

 เจ๋ง


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 03 มิ.ย. 10, 09:53

วัดค้างคาว           ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ตรงข้ามวัดเขมาภิรตาราม ในพื้นที่ ตำบลบางไผ่ อำเภอเมือง ฯ เนื่องจากบริเวณนี้มีค้างคาวอยู่มาก ชาวบ้านจึงเรียกว่าวัดค้างคาว จากโบราณสถานในวัด สันนิษฐานว่าสร้างสมัยอยุธยาตอนกลาง ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โบราณสถานที่สำคัญมีดังนี้
   พระอุโบสถ มีขนาดใหญ่ก่ออิฐถือปูน มีมุขหน้าหลัง หน้าบันเป็นลวดลายไม้จำหลักรูปเทวดาประทับในปราสาท ล้อมรอบด้วยลายกนกออกช่อเทพนม มีความประณีตงดงามมาก เครื่องลำยอง ช่อฟ้า ใบระกา นาคสะดุ้ง หางหงส์ ค้นทวยรับเชิงชาย ล้วนมีความประณีตงดงาม บานประตูหน้าต่างเป็นลวดลายไม้จำหลัก มีซุ้มจรนำประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปกรรมสมัย อยุธยาตอนกลาง เรียกว่า หลวงพ่อเก้า กำแพงแก้วเป็นแบบกำแพงบัวหลังเจียด ช่องประตู หัวเสาเม็ดทรงมัณฑ์ พระพุทธรูปในพระอุโบสถเป็นศิลปกรรม สมัยอยุธยามีจำนวน ๒๘ องค์ เท่ากับอดีตพระพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่ในลักษณะที่หันพระพักตร์ไปทั้งสี่ทิศ ซึ่งพบเสมอในวัดที่สร้างในสมัยอยุธยา
   หลวงพ่อเก้า เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นทรงเครื่องปางห้ามญาติ ขนาดสูงเท่าคนธรรมดา ศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนกลาง ประดิษฐานในซุ้มจรนำด้านหน้าพระอุโบสถ การที่เรียกว่าหลวงพ่อเก้าเนื่องจากนิ้วพระหัตถ์ซ้ายมีเพียงสี่นิ้ว
   ใบเสมา ทำด้วยหินทรายแดงล้อมพระอุโบสถ ตั้งอยู่บนฐานขาสิงห์โหย่งเป็นคู่มีจำนวน ๑๖ ใบ มีลวดลายจำหลักแบบต่าง ๆ ไม่ซ้ำกัน เช่น ลวดลายพันธุ์พฤกษา ลวดลายเครือวัลย์ ใบเสมาดังกล่าวนี้มีอายุเก่าแก่กว่าใบเสมาเดียวกันที่จำหลักลายกนกในสมัยอยุธยาตอนต้น หรือก่อนสมัยอยุธยา (สมัยอโยธยา น่าจะใช่)    เจดีย์ ตั้งอยู่รายรอบพระอุโบสถมีอยู่สองแบบด้วยกันคือ เจดีย์ทรงระฆังฐานแปดเหลี่ยมทรงสูง สมัยอยุธยา และเจดีย์ย่อไม้สิบสอง แบบรัตนโกสินทร์

 
 
บันทึกการเข้า
ฉันรักบางกอก
พาลี
****
ตอบ: 334



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 03 มิ.ย. 10, 11:18

ขอบคุณคะพี่ยีนส์

โพสต์ปั่นกระทู้ไปอย่างนั้นแหละคะ เห็นเงียบๆ

คิดว่าเป็นสมัยอโยธยา ตามหนังสือ อ. ณ แต่ไม่แน่ใจ ว่าจะเก่าได้ขนาดนั้น เสียดายตอนนี้กล้องเสีย ไม่อย่างนั้นจเก็บภาพมาอีกเยอะๆ

ขอบคุณสำหรับภาพเพิ่มเติมคะ คุณ kurukula แลบลิ้น


บันทึกการเข้า

กนก นารี กระบี่ คชะ
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 03 มิ.ย. 10, 11:37

ุถ่ายมาหมดแล้วครับ พี่แพร แต่ไม่กล้าเอาลง กลัวมนุษย์ความสามารถเหมือนเทวดาที่อ้างตนว่านับถือพระพุทธศาสนาตามทะเบียนบ้านเข้ามาวนเวียนในบอร์ดแล้วจะลักเอากลับไปบูชาปักไว้ริมรั้วบ้านตัวเอง
บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 03 มิ.ย. 10, 22:35


  ที่วัดเก้าห้องรัตนาราม บางบาล อยุธยา
   ที่มีเหรียญดัง หลวงพ่อขี่มอเตอร์ไซ ก็มี
   ท่าน ณ ปากน้ำ ว่าไว้เหมือนกัน
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 03 มิ.ย. 10, 23:17

 ตกใจ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 04 มิ.ย. 10, 07:55

ผิดรูปๆ เสมาวัดเก้าห้องรัตนาราม บางบาลครับ


บันทึกการเข้า
sittisak
มัจฉานุ
**
ตอบ: 66


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 07 มิ.ย. 10, 12:35

ยัยแพร ขอภาพอุโบสถด้วยจิ......อยากเห็นทรง  ส่วนน้องกุลุ อั้นแน่...ทำโมเดลวัดพระศรีสรรเพชญ ไม่ผิดแน่...แต่ถามน้องกุลุทีว่า เครื่องบนยอดมณฑปสามองค์เรียงต่อกันนั้น นั้นจะเป็นแบบยอดมณฑปเกลี้ยงๆแบบข้างปรางค์ประธานวัดพุทไธสววรค์ เคยเห็นไหม? หรือปักเครื่องยอด บราลี นาคปักเต็มอัตราแบบยอดธรรมมาศยุคสมัยปลาย หรือแบบมณฑปแบบวัดพระแก้ว กรุงณัตนโกสินทร์...ตอบพี่ให้แจ้งทีเถิด......
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 08 มิ.ย. 10, 12:45

ไม่ทราบเลยครับพี่ทอมมี่ แต่คิดว่าน่าจะเป็นแบบพระศรีรัตนมณฑปมากกว่า เพราะสร้างมาแต่รัชกาลที่ 1 ถ้าเป็นมณฑปหลังคาลาดธรรมดาคงไม่สมฐานะวัดหลวงเท่าไรนัก
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 09 มิ.ย. 10, 09:34

เกรงว่าบอร์ดจะร้างไป ต้องเคลื่อนไหวบัญชีบ้างครับ อิอิ

เอาเสมาวัดค้างคาวมาให้ชม วัดค้างคาวเป็นวัดที่ไม่ธรรมดาเลยในสายตาผม เพราะเป็นวัดปากคลองอ้อม ฝั่งตรงข้ามเป็นวัดเขมา ซึ่งก็เก่าแก่พอๆกัน 

คลองอ้อมแต่ก่อนเป็นรูปตัว U อ้อมมากมาย แต่คงจะมีทางน้ำเล็กๆสำหรับชาวสวนให้ลัดตรง ตัดหัวตัว U ไปออกวัดท้ายเมืองได้ ต่อมา สมัยพระเจ้าปราสาททอง ทรงโปรดให้ขุดคลองลัดขึ้น ในพ.ศ.2179 เพราะไกลเหลือเกิน

ทุกวันนี้ คลองลัดกลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายมหึมา กว้างใหญ่ไพศาลกว่าช่วงอื่นๆด้วยซ้ำ



บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 09 มิ.ย. 10, 09:39

วัดค้างคาวเป็นของใหญ่โตที่หาได้ยากในหัวเมือง พระอุโบสถขนาดมหึมา เห็นแล้วตะลึง อุโบสถสมัยอยุธยาตอนปลายใหญ่โตขนาดนี้ หาดูได้ยากแม้ในกรุงศรีอยุธยา

ดูจากขนาดธรรมาสน์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ก็คะเนขนาดศาลาการเปรียญได้เลย ว่าอย่างน้อยต้องสูงใหญ่เท่าห้องในหมู่พระวิมานวังหน้า ซึ่งศาลาการเปรียญสมัยอยุธยาสูงใหญ่ขนาดนั้น ผมยังไม่เคยเห็น นอกจากวัดราชาธิวาส ซึ่งสร้างสมัยรัชกาลที่ 5

เอาเสมามาให้ชมกันอีกครับ


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 19 คำสั่ง