เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9
  พิมพ์  
อ่าน: 33682 นามแฝงของใคร?-๒
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 28 มิ.ย. 10, 08:40

ขอบคุณคุณเทาชมพูที่ชม (เอ๊ะ หรือเปล่าเนี่ย)

ผมมีโอกาสสนทนากับคนที่รู้จักบางคนเกี่ยวกับกระทู้นามแฝงนี้
 
เขาพูดว่า         ตั้งกระทู้ยากจัง  อย่างนี้จะมีคนมาตอบหรือ
ผมตอบว่า        ต้องมีสิ  คนในเรือนไทยที่ชอบย่อยหินมีหลายคน
เขาสวนกลับมา  แต่นี่มันยากมากนะ  ขนาดนักอ่านหนังสือนักสะสมหนังสือ
                      และคนขายหนังสือมือฉมัง  ยังตอบได้ไม่ถึง  ๒๐  ชื่อเลย
ผมก็ว่า             เรื่องนามแฝงเป็นความรู้เบื้องต้นของการอ่าน และการเก็บสะสมหนังสือ
                      ไม่ว่าใหม่หรือเก่า   ถ้าไม่รู้ใครใช้นามแฝงอะไร  
                      จะไปตามอ่านตามเก็บหนังสือของเขาได้ถูกหรือ
เขายอมรับว่า     อือม์  ก็จริง  แต่ที่เอามาตั้งกระทู้นี่  มัน rare  เกือบทั้งนั้นเลยนะ  
                      ใครจะไปตอบได้    
ผมตอบว่า         ง่ายๆ  จะเอามาถามทำไม  อย่างนั้นกลายเป็นการดูถูกคนตอบในเรือนไทย
                      นะ  อย่างนี้แหละดี   เป็นการให้ความรู้แก่คนอื่นๆ ด้วย
เขาเยาะว่า         ระวังนะ  จะโดนเอาคืนบ้าง
ผมตอบ             ยินดีอย่างยิ่ง ขอยากๆ ละกัน (นี่ก็โดนมาแล้ว  แทบแย่กว่าจะไขคำตอบออกได้) ยิ้มเท่ห์

ป.ล.  นั่นไงมีคนมาแซวแล้ว
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 28 มิ.ย. 10, 15:15

          เฉลยนามแฝงของคุณหลวงหมดแล้ว จึงได้โอกาสถามคุณหลวงเพราะไม่ทราบว่า
                   รยงค์ เวนุรักษ์ เป็นนามแฝงของผู้ใด ครับ

            เคยอ่านรวมเรื่องสั้นของเธอ "กระดังงากลีบไหน" จากสำนักของคุณรงค์ และเคยฝากคน
ไปถามคุณรงค์ถึงเธอเมื่อสิบกว่าปีก่อน ได้ความว่าเธออยู่อเมริกา

            ชอบงานเรื่องสั้นทั้งของเธอและของสุวรรณี สุคนธา
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 28 มิ.ย. 10, 15:35

มีหินมาให้ย่อยอีกแล้ว ยิงฟันยิ้ม

รยงค์ เวนุรักษ์  คือ  มานี ศุกรสูยานนท์ 
หนังสือ ชื่อ กระดังงากลีบไหน  พิมพ์ เมื่อ ๒๕๑๓ สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น  ๒๒๔ หน้า

ส่วนหนังสือรวมเรื่องสั้นที่คุณSILA ชื่นชอบนั้น ชื่อ รวมเรื่องสั้นชุดมาคนเดียว พิมพ์ เมื่อ ๒๕๑๖ สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น  ๒๓๙ หน้า  แต่ในหนังสือนี้  มานีใช้นามแฝงว่า  มน. เมธี.

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 28 มิ.ย. 10, 15:37

นักเขียนหญิงน้อยคนใน ๓๐-๔๐ ปีก่อน เขียนเรื่องอีโรติค
และน้อยยิ่งกว่าน้อย เขียนได้สุภาพ และละมุนละไมอย่างคุณรยงค์   เป็นเรื่องถ่ายทอดอารมณ์ซ่อนเร้นของคนโดยเฉพาะผู้หญิง ได้อย่างมีวรรณศิลป์
ได้ข่าวว่าเธอไปอยู่อเมริกานานแล้ว   ไม่เห็นหวนคืนวงการนักเขียนอีก   ถ้ายังอยู่คงอายุเกิน ๗๐ แล้วละค่ะ

(กำลังจะส่ง ชนคำตอบคุณหลวงกลางอากาศ)

มีนามแฝงนักเขียนอีกคนที่หายากมาก   ถามคุณประกาศ วัชราภรณ์ ท่านก็ไม่ได้ให้คำตอบ  คงไม่ทราบ
ใช้นามปากกาว่า  "??"   และ "หญิงนันทาวดี"   เขียนรวมในนิยายปกแข็ง เล่มเดียวกันแต่แบ่งคนละครึ่งเล่ม  อยู่ในยุค ๒๕๐๐ ต้นๆ ถึงกลาง  ดิฉันหัดอ่านนิยายในช่วงนั้น
??  เขียนในแนวลึกลับ ทำนองเดียวกับ "แก้วเก้า"   ชุดที่ดังมาก คือ หุบผาสวรรค์    และกัมปงจาเทวี   ส่วนหญิงนันทาวดีออกในแนวโรแมนติคหวานๆใสๆ
จำได้ว่ามีเรื่องตุ๊กตายอดรัก   และอีกเรื่องชื่อ งามงอน  นางเอกเป็นฝาแฝดชื่องามและงอน  
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 28 มิ.ย. 10, 16:09

โอ้  หินของคุณเทาชมพูแข็งมาก  ผมขบไม่แตก   
ขอไปปรึกษากับแหล่งข้อมูลก่อนนะครับ

??  นี่ไม่ทราบจริง  ว่าเป็นนามแฝงใคร 

ส่วนหญิงนันทวดี แต่งเรื่อง  ตุ๊กตายอดรัก  นั้น   
ผมค้นได้แต่ ตุ๊กตายอดรัก  ที่เป็นหนังสือแปล
จากหนังสือฝรั่งชื่อ  The Doll ของ  Francis Durbridge
มีคนไทยเอามาแปล  โดยใช้นามแฝงว่า  นิดา 
ชื่อจริงคือ  ปราศรัย รัชไชยบุญ 
คนนี้มีผลงานหนังสือแปลหลายเล่ม   ไม่รู้ว่าใช่คนเดียวกันไหม

นอกจากนี้ ก็มี  ตุ๊กตายอดรัก  ของ  รอย  โรจนานนท์
ซึ่งเป็นนามแฝงของคุณหญิงแม้นมาส  ชวลิต 
ท่านนี้ก็เขียนหนังสือเยอะเหมือนกัน  ไม่แน่ใจว่าจะเป็นใครแน่?? ฮืม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 28 มิ.ย. 10, 16:24


       การออกแบบปกหนังสือสมัยรอย  โรจนานนท์  สวยมาก  ใช้สีไม่กี่สี

ผู้หญิงตัวยาวและขายาวมาก

เคยเห็นมาบ้าง  แต่ไม่ได้เก็บค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 28 มิ.ย. 10, 16:31

ไม่ใช่ทั้งสองคนค่ะ  ดิฉันรู้จักทั้งคุณนิดาและอาจารย์คุณหญิงแม้นมาส
นามปากกาทั้งสองที่เป็นหินแกรนิตสำหรับคุณหลวงเล็ก   เป็นหินผาสำหรับดิฉันมานานแล้ว      เพราะดิฉันเชื่อว่าเป็นนามปากกาของนักเขียนหญิงคนเดียวกัน  แต่ไม่รู้ว่าใคร
นิยายปกแข็งพิมพ์ประมาณ ๒๕๐๐-๒๕๐๕  มี ๒ เรื่องหัวท้าย  วิธีพิมพ์เก๋มาก  คืออ่านเรื่องหนึ่งจบจะอ่านอีกเรื่อง ต้องกลับหัวหนังสือไปเปิดท้ายเล่ม  ปกหลังกลายเป็นปกหน้า พิมพ์กลับทางกับปกแรก   แล้วมาจบกลางเล่มพอดี
น่าจะยังมีหลงเหลืออยู่ในตลาดหนังสือนิยายเก่า

ความสำคัญของนักเขียนคนนี้ อยู่ที่ว่าชื่อตัวละครบางตัว  เป็นแรงบันดาลใจของ "แก้วเก้า" ในการเขียนเรื่องลึกลับ    
ในเรื่อง"หุบผาสวรรค์" และตามมาด้วย "เกล้าฟ้า" ซึ่งเป็นชื่อนางเอก  มีตัวละครชื่อ เจ้าลุงล่าฟ้า  
ใครเป็นแฟนนิยาย"นาคราช"  คงนึกออกว่าเป็นชื่อพระเอก

เรื่องในนามปากกาหญิงนันทาวดี  เป็นเรื่องเบาๆ หวานๆ มีกลิ่นอายฝรั่งปนอยู่บ้าง    เช่นมีงานเต้นรำแฟนซี สวมหน้ากาก  
ฝากคุณวันดีถามนักสะสมเจ้าของหนังสือนิยายเก่าด้วยว่า   เคยผ่านตาบ้างไหมคะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 28 มิ.ย. 10, 21:17


       ได้ไปปรึกษากับสหายที่นับถือมาแล้วค่ะคุณเทาชมพู

     สหายเล่าว่าเคยสงสัยจุดนี้อยู่บ้างเหมือนกัน   และได้ไปปรึกษาท่านผู้ใหญ่    ท่านผู้ใหญ่ยังไม่กล้าฟันธง


ได้รับคำแนะนำว่า      ให้สันนิษฐานจากรูปแบบของการพิมพ์ของบรรณาธิการคนนั้น
เป็นยุคที่นิยมทำเช่นนั้น คือรวมเรื่องของนักประพันธ์เข้าเป็นเล่ม
แล้วดูจากรายชื่อนักเขียนในคณะอีกที

ให้ดูจากสำนวนเพราะเท่าที่จำได้มีหลายจุดที่คล้ายคลึงกัน


หนังสือเล่มนี้ยังพอมีอยู่     

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 28 มิ.ย. 10, 21:58

สำนวนภาษาของ ?? และหญิงนันทาวดี เหมือนกัน  เขียนประโยคสั้นๆ  ไม่บรรยายยืดยาวอย่างข้างหลังภาพ

เรื่องลึกลับของ?? ที่ชื่อกัมปงจาเทวี  และมีภาคต่อ ชื่อธิดากัมปงจา   น่าตื่นเต้นเหมือนหนังฮอลลีวู้ด
กัมปงจาเป็นสตรีสาวใหญ่ทรงเสน่ห์ แต่ลึกลับ  ในอดีตเหมือนจะเป็นนางพญาสองพันปีจากขอมโบราณหรือที่ไหนสักแห่ง แต่ว่ามีชีวิตในปัจจุบัน เกี่ยวข้องกับอาชญากรรม ฆาตกรรม ยาเสพติดอะไรพวกนี้   ตอนจบเธอก็รอดจากมือตำรวจไปได้   
ส่วนนางเอกเป็นลูกสาวนายตำรวจใหญ่หรือใครสักคนที่เป็นฝ่ายธรรมะ   
กัมปงจาเทวี รักและเมตตานางเอกเพราะเชื่อว่าเป็นลูกสาวแต่ชาติก่อนกลับมาเกิดใหม่
ส่วนธิดากัมปงจา เป็นธิดากัมปงจาที่ตายไปนานแล้วแต่ถูกชุบชีวิตให้ฟื้นขึ้นมา  เลยกลายเป็นฝาแฝดร่วมโลกของนางเอก  แต่ยายนี่ร้าย ก่อเรื่องกับตำรวจ และมุ่งร้ายนางเอก  แต่ตอนจบ แม่ก็มาปรามเอาลูกสาวกลับไปได้

ส่วนหุบผาสวรรค์เป็นสถานที่ลึกลับทางเหนือ ที่นางเอก ปลอมเป็นเด็กผู้ชาย ขับรถม้าพาผู้โดยสารไปชม ในคืนเพ็ญ
เป็นคฤหาสน์ของเจ้านายลึกลับตระกูลหนึ่ง     ดูเหมือนจะมีคนตายในคืนเพ็ญเป็นประจำ
จำได้แค่นี้ละค่ะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 28 มิ.ย. 10, 22:06


แหมฟังคุณเทาเล่าแล้วอยากอ่านขึ้นมาติดหมัด

จำจะต้องไปไถสหายมาอ่านให้ได้

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 28 มิ.ย. 10, 22:22

นวนิยายสมัยดิฉันยังเริ่มหัดอ่านเรื่องยาว ล้วนเป็นปกแข็ง  ราคาเล่มละ ๓๐ บาทโดยเฉลี่ย   ขายอยู่ในร้านหนังสือแถววังบูรพา   ที่อ่านก็เพราะแม่เป็นคนชอบอ่านหนังสือ  ก็เลยหัดให้ลูกสาวอ่านด้วย
มีหลายเล่มเป็นรวมเรื่องสั้น ที่อ่านสนุกมาก    ในเมื่อทางการบ้านเมืองสมัยนั้นไม่ให้ประชาชนออกความเห็นทางการเมือง    นักเขียนก็เลยเขียนทุกแนวยกเว้นการเมือง   หนังสือที่อ่านเลยไม่มีเรื่องหนักสมอง
หนังสืออย่าง ปีศาจ หรือ ความฝันของนักอุดมคติ มารู้จักเมื่อเรียนมหาวิทยาลัย    ที่ว่ารู้จักคือรู้จักชื่อเรื่อง
เรื่องปีศาจของเสนีย์ เสาวพงศ์ วางอยู่ในชั้นในห้องสมุด  เหลืออยู่เล่มเดียวในชั้นนวนิยาย  ไม่เคยเห็นใครยืมออกไป
เพราะยุคนั้นก่อน ๑๔ ตุลา ๑๖
งานของนักเขียนเก่าของศรีสัปดาห์อย่างของจินตะหรา  ก็อ่านสนุกมาก  เช่นเรื่องแสงสูรย์และปรารถนาแห่งหัวใจ 
ถ้ามองถึงสาระทางสังคมและการเมือง  คงไม่มีเหมือนนิยายยุคหลัง
แต่ที่มี คือภาษาที่ประณีตบรรจง และคุณธรรมที่แฝงอยู่ในเรื่อง    นิยายพาฝันชั้นดี ไม่เคยขาดสิ่งเหล่านี้เลย
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 28 มิ.ย. 10, 23:10


เรื่องแปลในศรีสับดาห์ก็เป็นวรรณกรรมของโลก

จำได้ว่าเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาของมหาวิทยาลัยเพราะญาตินั่งอ่านกันเป็นจริงเป็นจัง

เมื่อต้องเรียนภาคบังคับของชั้นมัธยมปลาย    ทุ่นแรงได้เยอะเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 28 มิ.ย. 10, 23:39

สายลับหรือสหายเพื่งติดต่อกลับมา  และว๊ากดิฉันว่าไม่ดูคู่มือให้ดี

(จ้ะ  น้าพูดอีกก็ถูกอีกจ้ะ)


หญิงนันทาวดี        คือ  สายหยุด จินดานนท์


เปิดไป สายหยุด  จินดานนท์     แจ้งว่าคือ หญิงนันทาวดี


สหายอธิบายว่า  ??   สำนักพิมพ์ บอกว่าให้อ่าน  "เครื่องหมายคำพูดคู่"
เรื่อง เกล้าฟ้า นั้น   ??   เขียนซะเกือบพันหน้า

นันทาวดีเขียน กำปงจาเทวี,  หุบผาสวรรค์,    นิทราภิรมย์,   สกุณาพาคู่   และวังพิลาป


สำนักพิมพ์คือ ประเสริฐสาส์น
พิมพ์คู่เสมอ

ด้านหลังของหนังสือจะแจ้งว่า นามปากกาอะไรเขียนเล่มไหนบ้าง


ข้อมูลอ้างอิงของดิฉันคือ   นามประพันธ์ นักเขียนไทยที่ใช้ในบัตรรายการของหอสมุดแห่งชาติ ๒๕๒๙  หน้า ๘๓

ที่ดีสู้หนังสืออ้างอิงของคุณหลวงเล็กไม่ได้ครึ่ง
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 28 มิ.ย. 10, 23:52


อ่าน คคห ๙๘   ของคุณเทาชมพู ให้สหายฟัง

สหายร้อง ฮื่อ ๆ 

เพื่อนคนนี้เป็นที่พึ่งพาของพวกเราทุกที   เขาสนใจการพิมพ์  โรงพิมพ์  และประวัติการพิมพ์มากเป็นพิเศษ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 29 มิ.ย. 10, 06:48


แก้  ??  เป็นเครื่องหมายคำถามคู่  ค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 19 คำสั่ง