เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 26039 ลายมือเขียน
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 31 พ.ค. 10, 10:13

        ทันยุคปากกาหมึกซึม ต่อกับปากกาลูกลื่น ครับ
         ปากกาคือเครื่องหมายว่าเป็นเด็กโต - ขึ้นมัธยมแล้ว
         หมึกสมัยนั้นมียี่ห้อดังคือ Quink, Geha, นก Pelikan และ Pilot ที่ราคาถูกกว่า
         รอยหมึกทั้งโดยเจตนาและอุบัติเหตุบนเสื้อขาวเป็นเรื่องปกติสำหรับนักเรียนบางคน
 
         มีปัญหาคัดลายมือไทยแล้วตัวเอนไปข้างหลัง จึงชอบคัดลายมือภาษาอังกฤษมากกว่า แม้ว่าจะต้อง
จำทั้งตัวใหญ่ ตัวเล็ก และเส้นที่ลากขึ้นเบาบาง - ลากลงหนักหนา

         สอบคัดไทย จะเป็นวิชาเดียวที่นักเรียนไม่มีการลอก หรือแอบดูคำตอบกัน
แต่ สำหรับคัดอังกฤษแล้ว จะมีการแอบดู โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวคัดใหญ่ที่มีเส้นสายวิจิตร บางคนจำไม่ได้

เมษายน ๒๕๕๓ - ๖๐ ปี มหามงคลราชาภิเษกสมรส


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 31 พ.ค. 10, 10:25

ที่คุณเทาชมพูเอามาแสดงนี่แหละ  ลายพระราชหัตถ์รัชกาลที่ ๕
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 31 พ.ค. 10, 10:35

สลับฉากด้วยเรื่องปากกาลูกลื่น
ปากกาลูกลื่นเป็นของใหม่ ตอนดิฉันเรียนอยู่ม.ต้น  เขาเรียกว่าปากกาหมึกแห้ง 
มียี่ห้อเดียวคือ  Bic   แท่งยาวสีเหลือง มีปลอกสีน้ำเงิน   ไม่มีสีอื่นให้เลือก    เมื่อเทียบกับปากกาหมึกซึมที่มีหลายสี   ปากกาลูกลื่นดูเชยของแท้
แต่ดีกว่าตรงที่หมึกไม่เลอะเทอะ   สมชื่อหมึกแห้ง    โดนน้ำก็ไม่เป็นไร  และไม่ต้องเติมหมึก  ใช้ไปจนกว่าจะหมดแท่ง
สมุดของพวกเราที่เขียนด้วยปากกาหมึกซึม  เจอน้ำหก  หรือถือตากฝนไม่ได้    ละลายเลอะเทอะหมด 
เหน็บปากกาหมึกซึมไว้บนปากกระเป๋าเสื้อนักเรียน  หรือเก็บในกระเป๋านักเรียน   หมึกจะซึมสมชื่อ  ออกมาเปื้อนเสื้อและกระเป๋า     เสื้อเปื้อนหมึกซักออกยาก

ปากกาหมึกแห้ง หรือปากกาลูกลื่นก็เลยเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว   เมื่อเข้ามหาวิทยาลัย   ไม่เห็นใครใช้ปากกาหมึกซึมกันอีกเลยค่ะ

ในที่สุดก็หาตัวอย่างลายพระราชหัตถเลขาในรัชกาลที่ ๕ มาให้ได้  ยิงฟันยิ้ม

ลายพระราชหัตถเลขาในรัชกาลที่ ๖  หาได้ง่ายกว่า   มีในหนังสือพระราชนิพนธ์หลายเรื่องด้วยกัน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 31 พ.ค. 10, 11:36

ลายพระราชหัตถเลขา ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เมื่อทรงพระเยาว์


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 31 พ.ค. 10, 18:14

ลายพระหัตถ์สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 31 พ.ค. 10, 18:18

ลายพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี   ทรงมีถึงท่านผู้หญิงศรีนาถ สุริยะ  พระอาจารย์


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 01 มิ.ย. 10, 19:44

ลายพระราชหัตถเลขาในรัชกาลที่ ๖  ภาษาอังกฤษ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 02 มิ.ย. 10, 10:21

พระปรมาภิไธย ๒ รัชกาล  และพระนามาภิไธย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 02 มิ.ย. 10, 18:16

ลายพระราชหัตถเลขาที่ท่านอาจารย์นำมาลงในคคห.36เป็นของปลอมเลียนแบบทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษครับ ไม่มีเหตุผลใดที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวท่านจะทรงพระอักษรสองภาษาประชันกันเช่นนี้

องค์จริง คือที่ผมสแกนมาให้ชม มีอยู่4หน้า เป็นพระราชหัตถเลขาที่ทรงมีไปถึงเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ขณะนั้นคือเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี  (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) บิดาหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ท่านผู้นี้ในอดีตสมัยเป็นที่พระมนตรีพจนกิจ  ได้รับการไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เป็นผู้อภิบาล สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ  ระหว่างแรกเสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ เข้าใจว่าการที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อตลอดเพื่อจะ “ติวเข้ม” ให้ทรงใช้ภาษาของเขาได้รวดเร็ว  ดังนั้นจึงทำให้ทรงชินที่จะใช้ภาษาอังกฤษกับท่านเจ้าพระยาสืบมา

เมื่อทรงขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ ธรรมเนียมปฏิบัติแต่เดิมพระราชกรณียกิจแรกของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ก็คือการสร้างวัดประจำรัชกาล คงเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าวัดมีเกินพอแล้ว จึงจะทรงสร้างโรงเรียนแทน และโรงเรียนของพระองค์ที่จะทรงใช้พับบลิกสกูลของอังกฤษเป็นต้นแบบนั้น คงจะไม่เข้ากับหลักสูตรการศึกษาของกระทรวงธรรมการสักเท่าใด จึงทรงมีพระราชหัตถเลขาไปยังพระอาจารย์ของพระองค์ เพื่ออธิบายพระราชประสงค์นั้น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 02 มิ.ย. 10, 18:17

.


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 02 มิ.ย. 10, 18:18

.


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 02 มิ.ย. 10, 18:19

.


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 02 มิ.ย. 10, 18:23

ส่วนภาษาไทย เป็นคำแปลพระราชหัตถเลขาโดยหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ปราชญ์ทางการศึกษาผู้บุตร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการตำแหน่งเดิมของท่านบิดานั่นเอง หม่อมหลวงปิ่นท่านเป็นเอกะทัคคะทางพระราชประวัติและพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวหาผู้ใดเสมอเหมือนมิได้ ดังนั้นแม้จะมีด็อกเตอร์บางคนแย้งว่าบางประโยคยังแปลไม่โดนกับที่ทรงหมายความในภาษาอังกฤษ แต่ก็ไม่มีใครกล้าบังอาจไปแตะต้องคำแปลนี้ 


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 02 มิ.ย. 10, 18:24

.


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 02 มิ.ย. 10, 18:53

แรกเห็นลายพระราชหัตถ์ที่ท่านอาจารย์เทาชมพูเชิญมาลงไว้ในความเห็นที่ ๓๖  ก็ว่าจะเรียนให้ทราบกันว่า ลายพระราชหัตถ์นั้นมีเฉพาะภาษาอังกฤษ  ก็พอดีคุณพี่ Navarat C. ท่านกรุณามาชี้แจงแล้ว  จึงขอขยายความแต่เพียงว่า ลายพระราชหัตถ์ภาคภาษาไทยนั้นเป็นการทำขึ้นโดยใช้ลอกลายพระราชหัตถ์ภาษาไทยเป็นรายอักษร  แล้วมาประมวลเป็นข้อความตามที่ท่าน ม.ล.ปิ่น  มาลากุลแปลไว้  เคยพบกับเจ้าของความคิดในการแปลงลายพระราชหัตถ์นี้และท้วงท่านว่า ความในพระราชบันทึกนั้นทรงมุ่งหมายถึงการจัดการศึกษาในโรงเรียนมหาดเล็กหลวง  แต่ท่านผู้นั้นซึ่งเคยมีตำแหน่งแห่งหนใหญ่โตในกระทรวงศึกษาธิการถึงชั้นได้รับพระราชทานสายสะพาย  ท่านย้อนผมมาว่า เป็นพระบรมราโชบายในการจัดการศึกษาของชาติต่างหาก  ผู้น้อยอย่างผมจึงต้องยอมแพ้  และสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งในภาคเหนือก็ยังคงอ้างอิงลายพระราชหัตถ์นี้ว่า เป็นพระบรมราโชบายที่พระราชทานแก้สถานศึกษานั้นมาจนถึงทุกวันนี้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.036 วินาที กับ 19 คำสั่ง