เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 20658 หลวงบุณยมานพพาณิชย์ - "แสงทอง"
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 01 มิ.ย. 10, 08:30

the seven Rishis เบนแปลในเชิงอรรถว่า The Great Bear.
แสงทองแปลสั้นๆว่า ดาวหมี
Richis ถอดศัพท์ออกมาว่าอะไร   ฝากถามคุณหลวงเล็ก


Rishi =  ฤษิ  (เขียนอย่างไทยใช้  ฤษี) 

the seven Rishis = สปฺตรฺษิ  (เขียนอย่างไทยใช้ สัปตฤษี ) 
ฤษีทั้ง ๗ ตน เป็นฤษีที่มีความสำคัญ  และมักปรากฏชื่อในคัมภีร์พระเวท ว่าเป็นผู้จดจำและถ่ายทอดพระเวทจากพระพรหม  ฤษิทั้ง ๗ เป็นมานัสบุตร   คือบุตรที่เกิดแต่ใจของพระพรหม  ในทางพราหมณ์ ถือว่า  ฤษีทั้ง ๗ ตน เป็นครูสำคัญ  ปรากฏในท้องฟ้า  เป็นกลุ่มดาวฤกษ์ ๗ ดวง คือดาวหมีใหญ่ (ฤกฺษ แปลว่า หมี )

ในยุคแรก  ฤษีทั้ง ๗  ตน ประกอบด้วย  วสิษฺฐ  ภรทฺวาช  ชมทคฺนิ  เคาตม   อตฺริ  วิศฺวามิตฺร  และ อคสฺตฺย -ว่าตามคัมภีร์ไชมินียพราหมณะ   (แต่ในพฤหทารัณยกะอุปนิษัท  ว่าประกอบด้วย  เคาตม  ภรทฺวาช  วิศฺวามิตฺร  ชมทคฺนิ  วสิษฺฐ   กศฺยป   และ  อตฺริ  ในโคปถะพราหมณะ ว่าต่างออกไปเล็กน้อย)

นอกจากนี้  ฤษีทั้ง  ๗ ตน  ในแต่ละมานวันดรนั้น  ก็มีชื่อไม่เหมือนกัน  ดังนี้

Second Manvantara - the interval of Swarochisha Manu
Urja, Stambha, Prańa, Dattoli, Rishabha, Nischara, and Arvarívat.


Third Manvantara - the interval of Auttami Manu
Sons of Vashishtha: Kaukundihi, Kurundi, Dalaya, Śankha, Praváhita, Mita, and Sammita.


Fourth Manvantara - the interval of Támasa Manu
Jyotirdhama, Prithu, Kavya, Chaitra, Agni, Vanaka, and Pivara.

Fifth Manvantara - the interval of Raivata Manu
Hirannyaroma, Vedasrí, Urddhabahu, Vedabahu, Sudhaman, Parjanya, and Mahámuni.


Sixth Manvantara - the interval of Chakshusha Manu
Sumedhas, Virajas, Havishmat, Uttama, Madhu, Abhináman, and Sahishnnu.

The present, seventh Manvantara - the interval of Vaivasvata Manu
Kashyapa, Atri, Vashishtha, Vishvamitra, Gautama, Jamadagni, Bharadwaja

ถ้าต้องการทราบรายละเอียดมากกว่านี้  กรุณาค้นในวีกิฯ  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 01 มิ.ย. 10, 08:45

นี่ก็อยู่ในเชิงอรรถของเบน
As, if we may believe Bhartrihari, they often do, for the lives of men.
คำนี้ถอดออกมาว่าอะไรคะ    ภารตริหริ?

Bhartrihari  =  ภรฺตฺฤหริ  เขียนอย่างไทยว่า  ภรรตฤหริ  

ภรรตฤหริ  เป็นนักประพันธ์มีชื่อเสียงในชมพูทวีป  แต่งหนังสือไว้ดังนี้  ตำราไวยากรณ์  ชื่อ วากยปทียะ   และกวีนิพนธ์ ชื่อ ศตกัตรายะ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 01 มิ.ย. 10, 08:55

อ้างถึง
แสงทอง เชี่ยวชาญเรื่องเทพเจ้าของฮินดูมากพอจะเลือกคำมาใช้ได้ไม่ขัดเขิน   ภาษาอังกฤษ ใช้  she won from him  แทนที่จะแปลดื้อๆว่า นางชนะพระองค์  ท่านแปลว่า "บรรพตีชนะพระอิศวร"  บรรพตีก็คืออีกนามหนึ่งของพระอุมา  ท่านเลือกชื่อนี้มาให้สมกับคำเรียกตอนแรกว่า ธิดาแห่งขุนเขา   
บรรพตีแปลว่านางแห่งขุนเขา เพราะนางเป็นธิดาของท้าวหิมวัต หรือเขาหิมาลัย

นางปารวตี ไม่ใช่ บรรพตี อันนี้ถ่ายทอดพลาดกันได้  เพราะหนังสือบางเล่มไม่ได้ใช้อักษรโรมันเขียนภาษาสันสกฤตตามหลักเกณฑ์นิยม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 01 มิ.ย. 10, 12:13

แสงทอง เรียกพระอุมา ว่าบรรพตี  หรือปารวตี    คำหลังนี้ใช้ในต้นฉบับ
ดิฉันเคยได้ยินคำเรียกว่า อุมาบรรพตี   
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 01 มิ.ย. 10, 12:40

แสงทอง เรียกพระอุมา ว่าบรรพตี  หรือปารวตี    คำหลังนี้ใช้ในต้นฉบับ
ดิฉันเคยได้ยินคำเรียกว่า อุมาบรรพตี   

ปรฺวต  ภูเขา   ปารฺวตี  ลูกสาวของภูเขา (ปรฺวต + ณี ปัจจัยตัทธิต)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 01 มิ.ย. 10, 13:18

ตอบคุณวันดี
จาฤก เป็นนามปากกาของหลวงอรรถโกวิทวที (นิจ  โกวิทวที  สกุลเดิม นาครทรรพ) (๒๔๔๓-๒๕๒๔) จบวิชากฎหมาย   ทำงานอยู่กรมอัยการ
ท่านแปลงานของเบน เช่นเดียวกับแสงทอง  คือแปล Digit of the Moon, Desert  of the Sun  และ
The Substance of A Dream   สำนวนโวหารไม่อลังการเท่าแสงทอง แต่ก็แปลออกมาไพเราะดีค่ะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 01 มิ.ย. 10, 17:13

โอ!   ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 01 มิ.ย. 10, 19:30

อ่านๆไปดิฉันคิดว่าท่านแสงทอง น่าจะชำนาญภาษาบาลีมากกว่าสันสฤต    แต่ต้องค่อยๆดูไปก่อน อาจจะได้คำตอบภายหลัง
ขอบคุณคุณหลวงที่เข้ามาแจม  พร้อมคำอธิบายเสียละเอียดลออ

ต่อ
And Maheshwara perceived her intention. But he answered: Very well.
พระมเหศวรมองเห็นเจตนา   แต่ตรัสว่า " ดีละ"
So the Goddess threw the dice, and won. And she exclaimed in delight: Ha! I have won. Pay me the stake."
แล้วเทพีก็ทรงสกาแลชนะ  จึงออกอุทานดีพระทัย ว่า " อา! ข้าชนะแล้ว  เอาสินพนันมา"
Then Maheshwara gave her his moon. Thereupon the goddess exclaimed in a rage:
พระมเหศวรจึงส่งพระจันทร์ให้    บัดนั้นเทพีก็ออกอัตถ์พิโรธหึง ว่า
Thou art a deceiver. Thou dost owe me Ganga?, and yet offer me only thy moon.
พระองค์นี้ขี้ฉ้อ   เป็นหนี้คงคาสิให้ข้าเพียงจันทร์
What do I care for thy moon?
ข้าจะไปยี่หระอะไรแก่พระจันทร์
Then said the god: Why, O fair one, art thou angry? Is it not this moon which I carry on my head?
เทวะตรัสว่า " ไฉนสุทธิเทพีจึงพิโรธ   มิใช่จันทร์นี้หรือที่ข้าทูนไว้"
But Uma turned away from him in a pet.
แต่พระอุมาก็เบือนไปเสียด้วยความเคือง

ภาษาของแสงทอง
Maheshwara               =     พระมเหศวร
exclaimed in a rage     =     ออกอัตถ์พิโรธหึง
What do I care for thy moon?  =    ข้าจะไปยี่หระอะไรแก่พระจันทร์
fair one                      =    สุทธิเทพี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 02 มิ.ย. 10, 10:20

ถ้าแปลมากไปเดี๋ยวจะกลายเป็นกระทู้สอนการแปล  ขอหยุดไว้ก่อน  เล่าด้านอื่นดีกว่านะคะ

วรรณกรรมของเบน  ส่วนใหญ่เป็นนิทานซ้อนนิทาน  แบบเดียวกับนิทานเวตาล    พื้นหลังคือเป็นเรื่องพระศิวะเล่านิทานให้พระอุมาฟัง
เทพเจ้าทั้งสององค์ ถูกนำเสนอในรูปแบบใหม่ คือดูเป็นมนุษย์มีชีวิตจิตใจ  มีรักโลภโกรธหลง   ไม่ใช่เทพเจ้าเต็มตัวอย่างพระอิศวรอย่างในรามเกียรติ์
เรื่องราวมักจะจับตั้งแต่พระศิวะเพิ่งจะเสกสมรสกับพระอุมาได้ไม่นาน      พระอุมายังเป็นสาวน้อยแสนงอน มีจริต ช่างฉอเลาะ    ส่วนพระศิวะมีลักษณะเป็นหนุ่มใหญ่ ใจเย็น ทรงอำนาจแต่ก็เต็มไปด้วยเมตตา
นิทานที่เล่าให้พระอุมาฟัง หลายเรื่องจบลงด้วยคำถามคล้ายๆนิทานเวตาล  คือใครผิด   ใครสมควรถูกตำหนิ 
ตัวการในเรื่องคือใคร   อ่านแล้วได้ความคิดอะไรขึ้นมาบ้าง
คนอ่านก็พลอยได้ขบคิดไปกับปรัชญา และความผิดถูกในเรื่องด้วย

ขอยกมาเรื่องหนึ่ง คือ   A Draught of the Blue   แสงทองให้ชื่อในภาคไทยว่า   อลิจุมพิตา เป็นชื่อนางเอกของเรื่อง

พระเอกของเรื่องชื่อพระราชารุทราลก    มีคุณสมบัติครบถ้วน แบบหนุ่มไฮโซรูปหล่อพ่อรวยสมัยนี้   เจ้าชายก็เลยประพฤติตนเป็นเพลย์บอย   ชนะหัวใจหญิงในอาณาจักรมานับไม่ถ้วน ด้วยความคึกคะนอง   แต่ไม่จริงจังกับผู้หญิงคนไหนทั้งสิ้น
วันหนึ่งพระราชาหนุ่มเสด็จออกล่าสัตว์   พลัดจากข้าราชบริพาร ไปพบหญิงสาวบุตรีดาบสเข้า  ก็พานางกลับมาสู่เมือง อภิเษกเป็นชายาของพระองค์
นางทำให้ทรงเกิดรักแท้ขึ้นมา  จนเลิกนิสัยเดิมได้เด็ดขาด     ใจจดจ่ออยู่กับนางแต่ผู้เดียว   นางก็รักพระสวามีมาก    พระราชาละเลยราชกิจจนกระทั่งปรปักษ์เก่าที่เคยสืบตระกูลทำศึกกันมา ยกมาประชิดชายแดน   
พระราชารุทราลกก็จำต้องทิ้งนางไว้ในวัง ยกทัพไปปราบปรามข้าศึกเสร็จแล้วก็รีบกลับมา    แต่ช้าไปแล้ว   ก็ได้ทราบจากขุนนางว่า  พระนางสิ้นพระชนม์เสียแล้วด้วยความตรอมใจ
พระราชาเศร้าโศกจนไม่เป็นอันว่าราชการ  ตั้งสติไม่อยู่   คลุ้มคลั่งอยู่ด้วยความคิดถึงนาง

คืนหนึ่งพระศิวะทรงอุ้มพระอุมา เสด็จมาทางอากาศ   ก็ได้ยินเสียงร้องไห้คร่ำครวญบอกความทุกข์โศกสาหัส   ก็เสด็จลงไปดูว่าใคร
จึงเจอสตรีนางหนึ่ง อยู่ในสถานะที่แสงทองเรียกว่า "สิทธา" 
เรื่องนี้ยังหาภาคอังกฤษไม่ได้  ยังไม่ได้ลงในเน็ต   ก็เลยไม่รู้ว่า สิทธา มาจากคำว่าอะไร   แต่ดูบริบทแล้วคล้ายๆพวกนักสิทธิ์  แต่เป็นเพศหญิง
ต้องรบกวนความรู้ของคุณหลวงอีกแล้วค่ะ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 02 มิ.ย. 10, 11:46

ผมเอาลิงก์  A Draught of the Blue   ฉบับภาษาอังกฤษ  มาให้ครับ  เชิญโหลดอ่านได้ตามอัธยาศัยเลยครับ   หรือจะเซฟเก็บเป็นไฟล์ไว้อ่านก็ดีเหมือนกัน   ยิงฟันยิ้ม

http://www.archive.org/details/draughtofblueto00bain
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 02 มิ.ย. 10, 13:13

ดีจริง  ไม่ทันนึกว่างานของ Bain ลงในเว็บมากกว่า ๑ เว็บ   เลยไม่ได้หาในเว็บอื่นว่ามีเรื่องนี้
ไฟล์ PDF   copy&paste ไม่ได้    เลยต้องแค็ปจากหน้าจอมาให้อ่านกันค่ะ
ชื่อของพระราชา  Rudralaka  แสงทองถอดออกมาว่ารุทราลก   เบนให้คำแปลว่า เส้นผมของพระศิวะ
เชิญคุณหลวงถอดศัพท์ตามอัธยาศัย

เบนมีเชิงอรรถแบบนี้อยู่บ่อยมาก  ทำให้คนอ่านเชื่อสนิทว่ามีต้นฉบับสันสกฤตอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง เบนถึงได้อ้างที่มาของศัพท์ อยู่บ่อยๆ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 02 มิ.ย. 10, 13:40

คำว่า สิทธา  แสงทองถอดจาก Siddha
เบนอธิบายไว้ (โปรดอ่านในไฟล์ท้ายค.ห.)
ดวงจันทร์ ตามที่เมธีบางท่านอธิบายไว้ เป็นที่สิงสถิตของดวงวิญญาณฝ่ายดีงามบางดวง ที่ในชาติภพก่อนได้บำเพ็ญบุญมากพอจะได้เสวยสุขในระดับนี้

จากคำอธิบาย  พอประมาณได้ว่า สิทธา หมายถึงเทพบุตรและเทพธิดาชั้นดวงจันทร์      ยังเดาไม่ออกว่าพอเทียบได้กับชั้นไหนในฉกามาพจร    เพราะไม่เคยเรียนมาก่อนว่าพระจันทร์อยู่ชั้นไหน


บันทึกการเข้า
bookaholic
ชมพูพาน
***
ตอบ: 145


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 02 มิ.ย. 10, 20:37

แสงทองเป็นผู้สนใจวรรณคดีเก่า  ท่านเคยบันทึกโคลงเก่าไว้ 2 บท  ผมไม่เคยเห็นที่อื่นอีก
ท่านบอกว่าได้ยินเล่ากันมาว่าผู้แต่งคือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์  ขณะทรงเป็นผู้สำเร็จราชการ
โคลงว่าอย่างนี้ครับ
ไม้ใดอุบัติเบื้อง             บรรพต
สูงแต่พอสมยศ             เยี่ยงไม้
กว่าไปกิ่งใบลด             แหลกเพราะ ลมนา
เขาบ่อาจบังได้             เพราะไม้สูงเกิน

และบทที่ว่าเป็นพระราชนืพนธ์ร. 5
เฮ้ยเฮ้ยใครอย่าเย้ย         หยามเด็ก
พริกก็พริกเม็ดเล็ก           เผ็ดล้ำ
ใครใครจะกินเหล็ก          ห่อนเล่า ลือนา
โคแก่มีเขาง้ำ                 เด็กขึ้นขี่คอ
ขอขัดจังหวะแค่นี้ละครับ
บันทึกการเข้า
kui045
มัจฉานุ
**
ตอบ: 94


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 02 มิ.ย. 10, 20:59

แอบมาอ่าน
เพิ่มจะได้ รวมเรื่องสั้น ของแสงทอง
มาไม่นาน กำลังทยอยอ่านอยู่พอดีเลย
ก็มีกระทู้นี้ให้ได้ข้อมูลเพิ่มขี้นอีก
ได้แต่แอบมาอ่านอยู่เงียบๆ
ไม่ได้ร่วมวงเสวนาด้วย
เพราะว่ายังด้อยความรู้ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 03 มิ.ย. 10, 08:13

รุทฺราลก  มาจาก  รุทฺร  +  อลก

รุทฺร  ในยุคแรกหมายถึงเทพจำพวกหนึ่ง จำนวน  ๑๑  องค์  มีเทพ ศิวะ  หรือ ศังกร  เป็นหัวหน้าคณะเทพรุทร    ครั้นต่อมา  คำว่า รุทฺร  ได้กลายมาเป็นพระนามหนึ่งของพระศิวะ

อลก  ๑.ผมหยิก ผมเป็นลอน  เส้นผม
        ๒.ผมหยิกด้านหน้าผาก
        ๓.หญ้าฝรั่นที่ใช้ทาบนร่างกาย

รุทฺราลก  หมายความว่า  เส้นผมของพระศิวะ  คงหมายเอาส่วนที่สูงสุดของพระศิวะ   เส้นผมของพระศิวะเป็นที่ให้พระคงคาจากสวรรค์ไหลเวียนไปตามเส้นผมนั้นก่อนปล่อยให้กระแสน้ำคงคาไหลตกลงมาบนพื้นโลก   ทั้งนี้เพื่อลดความรุนแรงของพระคงคา  พอพ้นจากเส้นเกศาของพระศิวะแล้ว   พระคงคายังไหลผ่านไปอีกหลายที่  อันเป็นตำนานแม่น้ำคงคาในฮินดูปกรณัม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 20 คำสั่ง