เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5]
  พิมพ์  
อ่าน: 20623 หลวงบุณยมานพพาณิชย์ - "แสงทอง"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 01 ก.ค. 10, 16:00

ยังไม่ทันเล่าถึง อนังคราคา ต่อ  เจอค.ห.คุณวันดีเรื่องทินมาลี  ก็ถูกใจ
จำกลอนบทนี้ ได้ไหมคะ

ไฟแรงแสงร้อนล้ำ               ย่อมแพ้น้ำเป็นนิจมา
เหล็กแข็งและแกร่งกล้า        ยังพาอ่อนเมื่อร้อนไฟ
ลมโบกสะบัดแรง                ต้นไม้แข็งย่อมโค่นไป
ชายเรืองฤทธิไกร                ย่อมจะพ่ายอิสตรี


ก็เจ้าหญิง นอกจากโฉมงาม   ยังเก่งจิตวิทยาจะตายไป  นิทานแต่ละเรื่องที่มาพร้อมกับดอกไม้ประจำวัน   กล่อมพระราชาให้เห็นความดีของผู้หญิงทั้งนั้นเลย

กระทู้นี้จำต้องถูกแช่แข็งไว้พักหนึ่ง  เพราะหาหนังสือตอน "อนังคราคา" ไม่เจออีกแล้ว  ในกองหนังสือ   เจอแต่เล่มที่ไม่ต้องการ อีก ๒ เล่ม  (ตามหลักของเมอร์ฟี่)*
เลยขอนำบางตอนจาก ขุมความเท็จ มาแก้ตัวสำหรับผู้เปิดเข้ามาอ่านค่ะ

" ถ้ารักอีกเพศหนึ่งละก็   รักเพราะมีบางสิ่งควรให้อภัย    เพราะไม่มีอะไรจะเพิ่มความปฏิพัทธ์ได้มากเท่าการให้อภัยผู้ถูกปฏิพัทธ์      และเครื่องทดลองความรักก็มีอยู่แต่เพียงสองเท่านั้น   คือ อำนาจแห่งความรำลึกได้  กับสมรรถภาพที่จะให้อภัย     เพราะรักลวงนั้นลืมเร็ว    แลไม่อาจให้อภัยเลย    แต่รักที่เป็นความรักแท้นั้นให้อภัยได้เสมอ  แลไม่ลืมเลย"

* หลักของเมอร์ฟี่  หรือ Murphy's Law  หมายถึงอะไรที่มันไม่น่าเกิด ก็เจ้ากรรมดันมาเกิด ราวกับแกล้ง
เช่น ถ้าขับรถเปลี่ยนเลนเมื่อไร  เลนที่เราเลือกมักจะติดไม่ขยับ มากกว่าเลนเดิม     ถ้าเอาร่มไปด้วย ฝนไม่ตก  วันไหนไม่เอาร่มไป ฝนจะตก     เสื้อตัวสำคัญพอจะต้องใส่ เกิดเอาไปซัก ยังไม่แห้ง ฯลฯ
บันทึกการเข้า
rin
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 06 ก.ค. 10, 14:40

อนังคราคาเป็นเรื่องที่เจ้าหญิงจะตอบปัญหาที่เจ้าชายจากต่างเมืองที่ต้องการแต่งงานกับนางตั้งคำถามขึ้นจากนิทานที่เจ้าชายเป็นฝ่ายเล่าเล่า  หากเจ้าหญิงตอบได้ทุกคำถามจนครบจำนวนวันที่กำหนด  เจ้าชายจะถูกประหาร แต่หากเจ้าหญิงตอบไม่ได้ก็จะยอมแต่งงานด้วย  ตอนจบของเรื่องพระราชาสามารถถามปัญหาที่เจ้าหญิงตอบไม่ได้  คือถามว่าพระราชาเล่านิทานว่ามีเจ้าหญิงงามองค์หนึ่งมีปัญญามาก  ชายใดที่หวังจะแต่งงานด้วยต้องเล่านิทานและตั้งคำถามที่เจ้าหญิงตอบไม่ได้เธอจึงจะยอมแต่งงานด้วย  แต่ที่ผ่านมาไม่มีชายใดสามารถตั้งคำถามที่เจ้าหญิงตอบไม่ได้เลยสักคนเดียวเพราะเธอตอบได้หมดและทุกชายก็ถูกประหารชีวิต  พระราชาจึงถามเจ้าหญิงว่าควรถามคำถามอะไรเจ้าหญิงจึงจะตอบไม่ได้ คราวนี้เจ้าหญิงเป็นฝ่ายแพ้เพราะตอบไม่ได้จึงยอมแต่งงานด้วย แต่เมื่อทั้งคู่กำลังเดินทางกลับบ้านเมืองของพระราชาเพื่อไปแต่งงาน  มีความสุขมากจนรู้สึกว่าไม่อยากให้เวลาล่วงผ่านไป  ร่างกายของทั้งคู่กับถูกเผาผลาญด้วยไฟจากแสงตาที่สามของพระศิวะจนมอดไหม้ จบเรื่องค่ะ่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 29 ส.ค. 10, 11:14

ดึงกระทู้ขึ้นมา พลางๆก่อน
นิทานซ้อนนิทานในอนังคราคา   ล้วนแต่เป็นนิทานเชิงปรัชญา แฝงข้อคิดคติธรรม      เรื่องหนึ่งที่น่าสนใจจะเล่าสู่กันฟัง คือ เรื่องที่ ๓  ยุวราชา
เรื่องมีอยู่ว่าพระราชาสิ้นพระชนม์ไปขณะพระโอรสยังเป็นทารก   พระอนุชาประสงค์จะได้ราชบัลลังก์เอง ก็คิดว่าจะกำจัดพระราชาน้อย  ซึ่งคงทำได้ไม่ยากอะไร  เพราะอีกฝ่ายเป็นแค่ทารกยังไม่รู้ความ
แต่หาทางครั้งแล้วครั้งเล่า ก็กำจัดไม่ได้   
ครั้งแรกไปจ้างโจรมาจากต่างเมือง   โจรลอบเข้าไปในวัง  เห็นทารกน้อยเล่นผลไม้อยู่ก็นึกเอ็นดู  ทารกเล่นด้วยก็เล่นกันง่วนอยู่ จนมหาดเล็กมาเห็น  โจรอ้างว่ามีพระราชสาส์นมาถวายพระราชา  มหาดเล็กก็ตอบว่าพระราชาองค์เดิมสิ้นพระชนม์ไปแล้ว มีแต่พระราชาองค์ใหม่คือทารกน้อย
โจรรู้ว่าตัวเองถูกจ้างมาให้ฆ่าเด็ก ก็ทำไม่ลง  ก็ขอถอนตัวไป   เป็นอันว่าล้มเหลวไปหนหนึ่ง
หนที่สองพระเจ้าอาจ้างโจรทั้งกลุ่มมาดักฆ่าทั้งขบวนเสด็จของพระราชาน้อย    มีหนีรอดไปได้คนหนึ่ง โจรเห็นทารกไร้เดียงสาก็เลยไม่ฆ่า   มหาดเล็กที่หนีไปได้ย้อนกลับมาอุ้มทารกเดินทางต่อไป  ผ่านด่านโจร โจรเข้าใจว่าเป็นขอทานเข็ญใจก็ปล่อยให้ผ่าน
หนที่สาม  พระเจ้าอาวางยาพิษในนม  แต่พระราชาน้อยทำถ้วยนมหล่นแตก  ก็เลยรอดไปได้
ส่วนพระเจ้าอาก็กรรมสนองกรรม ถูกคนอื่นฆ่าตายในที่สุด

รศโกศถามว่า ทำไมพระเจ้าอาจึงพ่ายแพ้หลาน  ทั้งๆหลานก็เป็นทารกไร้ทางสู้รบด้วย    นางอนังคราคาตอบเป็นคติว่า
" ความเป็นทารกนั้นเอง  ทำความพ่ายให้พระเจ้าอา เปรียบเหมือนแก้วที่วางไว้เปิดเผยบนพื้นดิน  ย่อมปราศภัยกว่ามณีมีค่าที่เก็บงำไว้ในกรงเหล็กอันมั่นคงแข็งแรง   เพราะแก้วไม่มีราคา  ไม่มีความเร้าใจคน 
ข้อนี้มีอุปมาฉันใด  บุคคลอ่อนแอมีความอ่อนแอของเขาป้องกันอยู่     จึงไม่มีอะไรทำอันตรายร้ายแรงเท่าผู้เข้มแข็งที่มีศัตรูมาก    แม้ป้องกันด้วยพลตั้งพัน  ก็มีอุปไมยฉันนั้น
ไม่มียาพิษใดดีเมื่อไม่มีพิษ     ไม่มีเกียรติใดดีเมื่อไม่มีคุณ     ไม่มีป้อมใดดีเมื่อไม่มีปัจจนึก    ไม่มีการป้องกันใดดี   เหมือนความอ่อนแอของทารก   เพราะบัวโรยนั้นมีศัตรูที่ไหน


เดี๋ยวจะหาฉบับภาษาอังกฤษมาเทียบค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 29 ส.ค. 10, 13:02

เทียบกันทีละประโยค

It was its  very childhood that baffled him.
ความเป็นทารกนั้นเอง  ทำความพ่ายให้พระเจ้าอา
For just as a stone, lying openly on the ground,
เปรียบเหมือนแก้วที่วางไว้เปิดเผยบนพื้นดิน 
is more secure than a costly jewel, though protected by adamantine bars, because it is worthless and arouses no cupidity ;
ย่อมปราศภัยกว่ามณีมีค่าที่เก็บงำไว้ในกรงเหล็กอันมั่นคงแข็งแรง   เพราะแก้วไม่มีราคา  ไม่มีความเร้าใจคน 
so is a thing so feeble that none would attack it more powerfully protected by its very feebleness than strength possessed of many enemies though defended by a thousand guards.
ข้อนี้มีอุปมาฉันใด  บุคคลอ่อนแอมีความอ่อนแอของเขาป้องกันอยู่     จึงไม่มีอะไรทำอันตรายร้ายแรงเท่าผู้เข้มแข็งที่มีศัตรูมาก    แม้ป้องกันด้วยพลตั้งพัน  ก็มีอุปไมยฉันนั้น
No antidote so good as the absence of poison;
ไม่มียาพิษใดดีเมื่อไม่มีพิษ   
 no fortification so good as the absence of enemies;
ไม่มีป้อมใดดีเมื่อไม่มีปัจจนึก
no virtue so good as the absence of beauty;
ไม่มีเกียรติใดดีเมื่อไม่มีคุณ
and no guard so potent as the helplessness of a child.
ไม่มีการป้องกันใดดี   เหมือนความอ่อนแอของทารก   
For where are the enemies of the fragile lotus ?
เพราะบัวโรยนั้นมีศัตรูที่ไหน
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 29 ส.ค. 10, 14:55


ขอบพระคุณค่ะ   ตั้งใจอ่าน


เข้าใจที่ ท่านแปล the fragile lotus  และ  the absence of enemies

ไม่ค่อยเข้าใจ the absence of beauty  ค่ะ   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 29 ส.ค. 10, 16:04

ดิฉันก็กำลังรอผู้รู้มาอธิบายเหมือนกันค่ะ

no virtue so good as the absence of beauty;
ไม่มีเกียรติใดดีเมื่อไม่มีคุณ

ดิฉันแปลว่า ไม่มีคุณธรรมใดดี (สำหรับสตรี) เท่ากับไร้ความยวนตา
แปลไทยเป็นไทยคือผู้หญิงสวยมักรักษาตัวให้ดีงามได้ยาก    ถ้าไม่สวยเสียอย่าง  จะทำตัวให้ดีก็ง่ายกว่า
คำว่า virtue อาจหมายถึงความบริสุทธิ์ผุดผ่อง  ไร้มลทิน  ก็ได้   ถ้าโยงกับคำว่า beauty ก็อาจแปลได้อีกทางว่า
ไม่มีพรหมจรรย์ใด(จะรักษาได้) ดีเท่ากับไร้ความยวนตา

ส่วน fragile แปลว่าบอบบาง  ไม่ได้แปลว่าโรย  แต่คุณหลวงท่านแปลว่า บัวโรย  ก็เลยตีความไปคนละทาง
ของท่านหมายความว่า บัวโรยย่อมไม่มีใครมาเด็ด  ก็คือปลอดภัยอยู่ในบึง     แต่ดิฉันแปลว่าดอกบัวเป็นพืชที่กลีบบางน่าทะนุถนอม ก็เลยไม่มีใครมาถากถางอย่างที่จะทำ ถ้ามันแข็งกระด้างอย่างพงหนาม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 03 ก.ย. 10, 12:31

For just as a stone, lying openly on the ground,
เปรียบเหมือนแก้วที่วางไว้เปิดเผยบนพื้นดิน 

ท่านแสงทองแปล stone ว่าแก้ว ท่านคงหมายถึง precious stone  หรือ  gems  แต่ดิฉันแปลว่า ก้อนหิน  หรืออาจจะหมายถึงกรวดก็ได้
เพราะมีคำขยายว่า  because it is worthless and arouses no cupidity ;  ถ้าเป็นแก้ว น่าจะมีราคา
ขอแค่นี้ก่อน จะรีบส่งข้อความ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.19 วินาที กับ 19 คำสั่ง