เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
อ่าน: 20662 หลวงบุณยมานพพาณิชย์ - "แสงทอง"
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 03 มิ.ย. 10, 08:28

siddha (สิทฺธ)  -  Asemi divine being supposed  to be of great purity  and holiness  and said to be particularly  characterized  by eight  supernatural  faculties called Siddhis   /  An insPired  sage  or seer , a prophet. ฮืม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 04 มิ.ย. 10, 10:22

สงสัยว่า สิทธฺ  และสิทธา    ของไทยเราใช้คำว่า "นักสิทธิ์"  คือเป็นกึ่งๆเทพประเภทหนึ่ง  สำเร็จในวิชาระดับสูงกว่ามนุษย์    หน้าตาเป็นยังไง ต้องไปหาจากภาพผนังโบสถ์  จำได้ว่าคล้ายๆฤาษี     เรียกรวมกับวิทยาธร ว่า นักสิทธิ์พิทยาธร
พวกนี้ไม่ค่อยมีบทบาทนักในวรรณคดีไทย     จำได้ว่าเวลาต้นนารีผลออกลูกโตเต็มที่  นักสิทธิ์พิทยาธรก็เหาะมาเก็บเอาไปเชยชม   แสดงว่าอาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์หรือสวรรค์ขั้นต้นๆ
นักสิทธิ์
พจนานุกรมให้ความหมายว่า
นักสิทธิ์   น. ผู้สําเร็จ, ฤษี, ลักษณนามว่า ตน.
 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 04 มิ.ย. 10, 19:59

กลับมาเรื่องอลิจุมพิตา

เทพธิดาสิทธา เล่าให้พระศิวะและพระอุมาฟังว่า เธอระลึกชาติได้ว่าเคยเกิดเป็นชายาพระราชารุทราลก   มองลงไปที่มนุษยโลกก็ยังเห็นพระสวามียังอาลัยอาวรณ์เธออย่างหนัก   ทำให้เธอเศร้าโศกมาก  จึงขอพระศิวะว่า

" บัดนี้ข้าพเจ้าขอสละกุศลที่ได้สร้างสมไว้ เป็นบุญกองใหญ่แลกอดีตกาล แม้ไม่นานกว่าชั่วพริบตา   ความเป็นสิทธาหรือสิ่งใดๆก็ตาม   จะเป็นประโยชน์อันใดแก่ข้าพเจ้าถ้าปราศจากสามี     มิฉะนั้นก็เหตุใดข้าพเจ้าถึงถูกสาปให้มีความรำลึกชาติ แลไม่ได้รับรางวัลด้วยความลืม?   เพราะความทรงจำได้มัดวิญญาณเข้าเกี่ยวด้วยโซ่แดงด้วยไฟแห่งความยินดีที่ด้านแล้ว"


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 05 มิ.ย. 10, 08:55

ไม่เคยอ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษมาก่อนค่ะ   วนเวียนอ่านหลายรอบ

ไม่เข้าใจ คำว่า  unexhausted   ถามตัวเองว่า  ทำไม จะ ไม่มีวันหมดสิ้นฤา

กลับไปอ่าน ตีความเองว่า การเข้าสู่สภาวะสิทธานั้น จะเกิดเพราะได้สร้างกองบุญไว้  และเมื่อเข้าสู่ความเป็นสิทธาแล้ว กองบุญนั้นมหาศาล



       มีเล่มที่พิมพ์ ทินมาลี และนาครีคำฉันท์ ไว้ด้วยกัน  ฉบับ ร.พ. อุดม  ๒๔๙๖ 

มีลายเซ็นของ คุณหลวง  มอบให้ คุณหลวงอีกท่านหนึ่ง  ลงวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๐๒



อ่านคำฉันท์ไม่ออกค่ะ   ความสามารถไม่ถึง



แต่ชอบทินมาลีมานานมากแล้ว

ทินมาลีพิมพ์ครั้งแรกรวมกับ ยถาภูตธัมม์  เป็นหนังสืออนุสรณ์ บิดามารดาของ คุณสว่าง  สามโกเศศ เมื่อ เดือนเมษายน ๒๔๙๖

นาครีคำฉันท์ใช้เวลาแปล ๓๖ วัน และลงใน วรรณคดีสารรายเดือน จบ ๒๔๘๖



บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 06 มิ.ย. 10, 11:05

มีเรื่องแปล ชื่อ มายาสา-ไฐย   ของ แสงทองอยู่เล่มหนึ่ง

ไม่ได้บอกว่าแปลมาจากเรื่องอะไร   ใช้คำว่า เรียบเรียง  พ.ศ. ๒๔๗๓  พิมพ์ที่โรงพิมพ์ศรีกรุงปีเดียวกัน

ใช้ชื่อไทยทั้งสิ้น  บ้านในชนบทก็อยู่นครปฐม   มีเพื่อนมาพักแบบบ้านในชนบทของต่างประเทศ

จะว่าเป็นงานแปลแรก ๆ ก็ไม่เชิง เพราะ อติรูปแปลประเดิมใน ๒๔๖๔


อ่านแล้วก็ขำที่ตัวเอกของเรื่อง ตัดเครื่องแต่งกายที่ เงี่ยลอย

นางเอกนั้น นุ่งผ้าตาโก้งไหมตาโตสีขาวสลับโศกอ่อน  สงเสื้อแคร๊บเดอชีนสีขาวสอาด  คอสวมสร้อยแปลตตินำห้อยจี้มรกต
ข้อมือซ้ายสวมสร้อยเพ็ชร์  ขวาสวมนาฬิกาข้อมือทองขาว

ฉีดผมด้วยน้ำเคลเคอเฟลอร์

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 07 มิ.ย. 10, 07:46

อ้างถึง
ไม่เข้าใจ คำว่า  unexhausted   ถามตัวเองว่า  ทำไม จะ ไม่มีวันหมดสิ้นฤา

กลับไปอ่าน ตีความเองว่า การเข้าสู่สภาวะสิทธานั้น จะเกิดเพราะได้สร้างกองบุญไว้  และเมื่อเข้าสู่ความเป็นสิทธาแล้ว กองบุญนั้นมหาศาล

unexhausted  นอกจากแปลว่า ไม่รู้จักหมด  (คือมีอย่างมหาศาล) ยังแปลได้อีกอย่างว่า remaining  คือส่วนที่ยังไม่หมด  ได้แก่ส่วนที่เหลืออยู่
จะเป็นอย่างไหนก็ตาม  สิทธานางนี้ขออุทิศบุญกุศลทั้งหมดที่นางยังมีอยู่  เพื่อช่วยพระสวามีให้พบนางอีกครั้ง
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 07 มิ.ย. 10, 09:45

         Or why am I cursed with reminiscence, and not rather rewarded with oblivion?
        
อ้างถึง
เหตุใดข้าพเจ้าถึงถูกสาปให้มีความรำลึกชาติ แลไม่ได้รับรางวัลด้วยความลืม?

         เรียนถามอาจารย์ มีข้อสงสัย ครับ

         จากที่อ่านดูเพียงเท่านี้ - โดยไม่ทราบรายละเอียดเรื่องราว - ความหมายตรงนี้เข้าใจเป็นแบบว่า  

                   เหตุใดข้าพเจ้าถึงถูกสาปให้มีความรำลึกชาติ (แล) แทนที่จะได้ความลืมเป็นรางวัล   หรือ

                   เหตุใดข้าพเจ้าถึงถูกสาปให้มีความรำลึกชาติ แล้ว (เหตุใด) จึงไม่ได้ความลืมเป็นรางวัล (ด้วย)                                                              

         สงสัยอีกข้อด้วย ครับ ตรง ความลืม หรือ การลืม          
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 07 มิ.ย. 10, 21:43

ข้อแรกค่ะ

ครูภาษาไทยชั้นมัธยม เคยสอนว่า ความกับการใช้ต่างกัน    คำว่าการ  ใช้กับอากัปกิริยา  เช่น กิน  นอน  ดื่ม   ลุก  นั่ง
ส่วนความ ใช้กับคำที่ไม่บ่งชี้ว่าเป็นอากัปกิริยา  เช่น  เป็น  ตาย  รัก  ใคร่  จริง  เท็จ
ถ้าเป็นตามนี้ ก็น่าจะเป็น "ความลืม"  คู่กับ "ความจำ"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 08 มิ.ย. 10, 10:54

กลับมาต่อเรื่อง
พระอุมาอ้อนพระศิวะจนกระทั่งทรงยินยอมให้เทพธิดาสิทธา และรุทราลกได้พบกันอีกครั้งในรูปของความฝัน      เพราะไม่สามารถจะหมุนกาลเวลาให้ถอยกลับไป  แต่พระองค์ก็ทรงเตือนว่าการได้กลับไปเจอกันอีกครั้งเป็นความเขลาของทั้งสองคน      ควรจะปล่อยให้เป็นอย่างที่เป็นอยู่ จะดีกว่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 10 มิ.ย. 10, 19:48

คำเตือนของพระศิวะ  พัดผ่านหูสิทธาและพระอุมาไป     เหตุการณ์ต่อมาจึงเป็นว่า ในเมืองของพระราชา  ขณะที่รุทราลกยังเศร้าโศกถึงพระชายาอยู่ไม่คลาย    ไม่ว่าจะฟังดนตรี  หรือทอดพระเนตรเพชรพลอยที่พ่อค้านำมาถวาย  จิตก็ประหวัดถึงนางตลอดเวลา
ในจำนวนพ่อค้าเหล่านี้  มีพ่อค้าประหลาดคนหนึ่ง มาเสนอขายความฝันให้  ในรูปของน้ำในขวดแก้วเจียระไน
เมื่อพระราชาทรงดื่มเข้าไป  ก็หลับสนิท 
ในฝันนั้นทรงกลับไปพบพระชายาสุดที่รักอีกครั้ง   เหตุการณ์ในอดีตตั้งแต่พบครั้งแรกก็กลับคืนมา เหมือนทรงกลับเข้าไปในอดีตอีกครั้ง

พระชายามีชื่อว่า อลิจุมพิตา   นางเป็นธิดาของพระดาบสชรา เกิดจากนางอัปสรที่พระอินทร์ส่งมาทำลายตบะ  เมื่อคลอดลูกสาวออกมาแล้วก็กลับสวรรค์ไป
พระดาบสก็เลี้ยงนางไว้ในป่า   มีสิงห์สาราสัตว์เป็นเพื่อนเชื่องๆคอยดูแลนาง    แต่นางไม่เคยเห็นมนุษย์คนใดนอกจากบิดา ซึ่งนับวันก็เข้าฌานจนมีสภาพเหมือนต้นไม้หรือก้อนหิน    ไม่พูดไม่จากับลูกสาวอีก
นางมาพบพระราชา  เป็นชายหนุ่มคนแรก

เรื่องราวของพระฤๅษีชีไพร บำเพ็ญตบะแก่กล้าจนเทวดาเกรงกลัว   เลยส่งนางอัปสรมาทำลายตบะ  และเกือบทั้งหมด พระฤๅษีก็มักจะเสียทีแก่นางอัปสร จนมีลูกด้วยกัน   เป็นแนวนิยม  เอ่ยถึงในวรรณคดีอินเดียอยู่หลายเรื่อง   
เรื่องที่คนไทยรู้จักกันก็คือพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖ เรื่องศกุนตลา   นางเอกเกิดจากนางฟ้าชื่อเมนกา พ่อคือพระฤๅษีวิศวามิตร   

นางอัปสรพวกนี้ไม่มีสัญชาตญาณของความเป็นแม่  จึงไม่เลี้ยงลูก    ถูกส่งมากระทำมิชชั่น อิมพอสสิเบิ้ลจบแล้วก็แล้วกัน    ก็กลับคืนสู่เฮดควอเตอร์ของตัวบนสวรรค์ 
ส่วนทางโลกมนุษย์   พระฤๅษีก็เลี้ยงลูกสาวต่อไป  และบำเพ็ญตบะต่อได้ด้วย    เพราะฤๅษีไม่เหมือนพระสงฆ์ในพุทธศาสนาที่เสพเมถุนแล้วต้องปาราชิก   พ้นจากความเป็นสงฆ์ตลอดกาล  บวชอีกไม่ได้
แต่พระฤๅษีชีไพรเหล่านี้ ตบะแตกแล้วต่อได้  บำเพ็ญได้ต่อไปจนถึงบรรลุเป้าหมาย   ส่วนลูกสาวซึ่งเป็นลูกครึ่งนางฟ้ากับมนุษย์ ก็มักจะได้สามีเป็นพระราชาหรือเจ้าชายที่เสด็จประพาสป่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 15 มิ.ย. 10, 20:15

อย่างไรก็ตาม  อลิจุมพิตาไม่เหมือนแม่   เธอเป็นผู้หญิงดีงาม รู้หน้าที่ของสตรีและภรรยา    รู้ด้วยสัญชาตญาณและการสั่งสอนจากดาบสชราผู้เป็นพ่อ    พูดง่ายๆว่าเธอเป็นสตรีสมบูรณ์แบบสำหรับเป็นพระราชินีของอาณาจักรไหนๆ 
เรื่องก็ย้อนกลับไป รุทราลกได้พบอลิจุมพิตาอีกครั้งในความฝันซึ่งย้อนกลับไปเริ่มต้นตั้งแต่แรกพบกัน   จนกระทั่งพานางกลับเมือง    ทุกบททุกตอนปรากฏละเอียดถี่ถ้วนอยู่ในความฝัน  ทำให้ทรงเป็นสุขมากที่สุด
เหตุการณ์ในฝันก็ดำเนินไปจนครบทุกขั้นตอน   จนถึงขั้นตอนสุดท้ายที่อลิจุมพิตาตายจากไปเป็นครั้งที่สอง
คือตายในความฝัน เช่นเดียวกับตายในความจริง
พระราชาก็ทรงตื่นขึ้น     ด้วยความตระหนกและโทมนัสยิ่งกว่าครั้งแรกที่พระชายาจากไป  เพราะเป็นการจากกันครั้งที่สอง  จึงเท่ากับความทุกข์ครั้งแรก ถูกคูณเป็นสองเท่าด้วยทุกข์ครั้งที่สอง
พระราชาเหลือจะทนทุกข์ต่อไปได้อีก  พระทัยก็แตกสลายลง

นี่ก็คือเหตุผลว่าทำไมพระศิวะทรงห้ามปราม  มิให้สิทธาอธิษฐานขอสิ่งที่ฝืนความเป็นไปของโลก   แต่ก็ไม่มีใครฟัง
ถ้าหากว่าอลิจุมพิตาและรุทราลกปล่อยทุกอย่างให้เป็นไปตามวิถีของโลก  คือยอมรับว่าเมื่อพบกันแล้วก็ต้องจากกันอยู่ดี     ถึงทุกข์ ก็ทุกข์น้อยกว่านี้  อย่างน้อยพระราชาก็ยังดำเนินชีวิตต่อไปได้
แต่นี่ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของนาง   ตั้งใจจะช่วยพระสวามีให้พบนางอีก เพื่อจะได้คลายทุกข์   ก็กลับไปเพิ่มทุกข์ให้หนักขึ้นเป็นทวีคูณ   เพราะการพบกันก็ต้องจบกันด้วยการจากกันอีก
แทนที่จะเสียใจหนเดียว  ก็เสียใจสองหน   ซึ่งหนักหน่วงเกินกว่าจะแบกรับไหว  พระราชาก็ต้องพระทัยแตกสลาย
บันทึกการเข้า
rin
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 17 มิ.ย. 10, 12:07

วรรณกกรรมชองแสงทองเป็นรวมเรื่องมีประมาณ 13เรื่อง ที่จำได้คือ ปทุมทีป(น.ม.ส.แต่งเป็นเรื่องกนกนคร)  อนังคราคา  อติรูป อลิจุมพิตา มีอีกหลายเรื่อง มีบทกวีแทรกบางเรื่องด้วย  สำนวนไๆพเราะมาก  เข่น
นางเป็นมฤคโลจนาเพราะนาเจ้า มีแววเร้าแววหวั่นแววมันหวาน
มีแสงชวนเชยยวนมาน     แสงงามปานเนตรเนื้อเมื่อแหนงภัย....
เป็นมัณฑนาลีลาโลลดา    เพราะดวงตาเพชรตระการสะท้านสั่น
ขนงยักโยกเคหะเทวัญ         สมสมัญภรูฏูฏีจลา.....
สมกับเป็นนานารูปินี            เป็นสตรีศรีในมไหสูรยิ์
สมที่ใครได้เป็นเป็นอาดูร               เปรียบยังไม่ไพบูลย์ปูนนางงาม

ยาวกว่านี้มาก  แต่จำไม่ค่อยได้ค่ะ  อ่านตั้งแต่เรียนชั้นประถม  กลอนนี้จากเรื่อง อนังคราคา  ถ้าอยากรู้จะค้นมาเขียนให้เต็มทีหลัง
ริน

บันทึกการเข้า
rin
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 17 มิ.ย. 10, 12:14

ขอแก้หน่อยนะคะ
นางเป็นมฤคโลจนาเพราะตาเจ้า
ริน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 29 มิ.ย. 10, 20:28

กลับมาขุดกระทู้นี้ขึ้นอีกครั้ง เพราะยังไม่จบ
ขอบคุณคุณรินค่ะ

ผลงานของเบน  อีกเรื่องหนึ่ง คืออนังคราคา เป็นเรื่องเจ้าหญิงเจ้าปัญญาที่ตั้งปริศนาคำถามแก่ผู้ประสงค์จะเป็นคู่ของนาง ใครตอบได้ก็ชนะไป 
แต่ในเรื่องยังไม่มีใครตอบได้  นอกจากพระเอก (อยู่แล้ว!)

นิทานปริศนาแบบนี้  มีอยู่ในวรรณคดีอินเดียภาคภาษาอังกฤษหลายเรื่องด้วยกัน    ที่เรารู้จักกันดีก็คือนิทานเวตาลของน.ม.ส.   แปลมาจาก Vikram and the Vampire ของ Sir Richard Burton
ตัวเวตาลที่เป็นปีศาจค้างคาวขี้เล่นนั้น   เบอร์ตันเรียกง่ายๆว่า vampire   คำนี้เราเคยชินกันในนิยายสยองขวัญของบราม สโตเกอร์  คือ Dracula   เป็นนิยายอมตะที่ตัวนิยายดังกว่าคนเขียน    เอ่ยชื่อผู้เขียนขึ้นมาไม่มีใครจำได้    แต่พอเอ่ยถึงแดรกคูล่า ก็ร้องอ๋อไปตามๆกัน
ท่านเคานต์แดรกคูล่ากับเวตาล อยู่สปีชี่ส์เดียวกันคือ vampire  ต่างกันที่เวตาลไม่กินเลือด  แต่ชอบตั้งคำถามให้ตอบ   ส่วนท่านเคานต์ไม่เสียเวลาตั้งคำถาม  ดูดเลือดอย่างเดียว

ส่วนเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวกับการตั้งคำถามโดยนางเอกให้พระเอกตอบได้นี้   มีอยู่ในเรื่องจีนที่กลายเป็นอุปรากรฝรั่ง ชื่อก้องโลก คือ Turandot
เพลงโอเปร่าในเรื่องนี้ที่โด่งดังมาก  คือ Nessun Dorma  เป็นเพลงประจำตัวของ Luciano Pavarotti นักร้องโอเปร่า ขวัญใจแฟนโอเปร่าทั่วโลก
เสฐียรโกเศศ แปล Turandot ไว้ในหนังสือ พันหนึ่งทิวา    โดยถอดชื่อ ตูรานด๊อท ซึ่งเป็นนามเจ้าหญิงจีนสำเนียงฝรั่ง  มาเป็น ธุระทต
แยกซอยไปไกลแล้ว ขอกลับมาที่เดิมค่ะ

ในเรื่อง อนังคราคา  พระราชาหนุ่มสูรยกานต์ เป็นหนึ่งในผู้เข้าชิงชัยเพื่อจะถามปัญหาที่เจ้าหญิงอนังคราคาตอบไม่ได้   แต่ถึงวันจริง  เจอหน้าเจ้าหญิงเข้า  พระราชาหนุ่มก็ตกตะลึงในความงามจนนึกอะไรไม่ออก พูดอะไรไมถูก
ร้อนถึงพี่เลี้ยงของพระราชา  เกรงเจ้านายจะเสียท่าถูกตัดหัวเหมือนคนอื่นๆ   ต้องรีบเล่านิทานขัดจังหวะเสียก่อน
เล่าไปหลายเรื่อง   เจ้าหญิงก็ตอบคำถามได้ทุกเรื่อง
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 01 ก.ค. 10, 15:26


วรรณกรรมของแสงทองชอบเรื่อง  ทินมาลี  หรือ  A Heifer of the Dawn     อ่านซ้ำได้หลายครั้ง


พระราชาเกลียดผู้หญิงเพราะจับได้ว่าพระราชินีทรยศ

เมื่อศัตรูอีกเมืองหนึ่งเสนอสันติภาพและพระราชธิดา  พระราชายอมรับว่าจะแต่งตั้งให้เป็นพระราชินี  แต่อย่ามายุ่งเกี่ยวกับพระองค์

เจ้าหญิงยกขบวนมาพักที่ใกล้เทวาลัยที่พระราชพำนัก  และส่งนางสาวใช้นำดอกไม้มาถวาย  สนทนาเล็ก ๆ น้อย ๆ

สิบสองวันเท่านั้นค่ะ  พระราชาที่เกลียดผู้หญิง  เลิกเกลียด


       "ครั้งหนึ่งข้าเคยคิดว่าข้ามีความรัก   แต่ครั้งนั้นข้าไม่รู้สึกอย่างที่รู้สึกอยู่บัดนี้

ถ้าครั้งนั้นข้ามีความรักครั้งนี้ข้าก็ไม่มี         แลถ้าครั้งนี้ข้ามี  ข้าก็หามีไม่ในครั้งโน้น"


       ในวันแรกที่นางมา ทรงภูษาสีนิลเข้ม   ในมือถือดอกมะม่วง

วันที่สองนางถือดอกกระบอกสีชมพู             วันที่สามดอกมาลตี หรือมะลิดอกใหญ่

วันต่อมานางหายไป                  อีกวันหนึ่งมามีดอกจัมปาดอกหนึ่ง  บรรยากาศคลุ้งไปด้วยคันธรส

ไม่กี่วันต่อมา  พระราชาคิดออก


     "นางทำให้ข้าเวทนาสาหัส   ข้าไม่ยี่หระอะไรแล้ว  เห็นหรือไม่  ข้าเป็นชาย  ชายชาตรี  นางเป็นสตรี  แล้วก็ร่างน้อย

แต่นี้ต่อไปนางไม่ต้องไปไหนอีก        เพราะนางกำชีวิตข้าไปด้วย"

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 19 คำสั่ง