นิรันดร์ เจริญกูล niran@mut.ac.th
บุคคลทั่วไป
|
พ่อ แม่ของตัวละครต่อไปนี้คือใคร(ขุนแผน ขุนช้าง นางพิมพิลาไล) มีความสำคัญในเรื่องอย่างไร เรื่องนี้มีมูลความจริงหรือไม่ หรือเป็นแค่นิทาน แถมอีกนิด ทำไมไม่เป็นนางสาวพิมฯ แล้วทำไมผู้หญิงเดี๋ยวนี้ต้องเป็นนางสาว ผมว่าถ้าเป็นนางทั้งหมดน่าจะดีกว่า เหมือนผู้ชายที่มีแต่นาย จะได้เสมอภาคกัน ขอบคุณมากครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 06 ก.พ. 01, 15:34
|
|
พ่อแม่ขุนแผนชื่อขุนไกรกับนางทองประศรี เป็นนายทหารคุมพล ๗๐๐ คน พ่อแม่ขุนช้างชื่อขุนศรีวิชัย เป็นนายกรมช้างกองนอก กับนางเทพทอง พ่อแม่นางพิมชื่อพันศรโยธากับนางศรีประจัน บทบาทฝ่ายพ่อมีน้อย ตายกันไปตั้งแต่ตัวเอกยังเด็ก เหลือแต่แม่ มาเจ้ากี้เจ้าการแบบแม่ที่วุ่นวายกับชีวิตลูกๆ มากบ้างน้อยบ้าง คนที่เล่นบทนานที่สุดคือนางทองประศรี เพราะเล่นถึงบทคุณย่าด้วยค่ะ
ขุนช้างขุนแผน มีเค้ามาจากเรื่องราวใน "คำให้การของชาวกรุงเก่า" เล่าถึงขุนแผนแม่ทัพอยุธยา แต่เรื่องที่อ่านๆกันนี้มาดัดแปลงแต่งเติมในภายหลัง ฉบับหอพระสมุด มาเรียบเรียงชำระสมัยรัตนโกสินทร์ ราวรัชกาลที่ ๕ แต่มีบางตอนเป็นของเก่าย้อนขึ้นไปถึงรัชกาลที่ ๒ อย่างตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ ตอนขุนแผนพานางวันทองหนี เชื่อว่าเป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๓ เมื่อครั้งเป็นพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ตอนกำเนิดพลายงาม เป็นฝีมือสุนทรภู่
สังคมไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์เรียกผู้หญิงว่า อำแดง แต่คำเรียก "นาง" นิยมใช้เรียกผู้หญิงในวรรณคดี ไม่ว่าสาวหรือมีสามีแล้ว จะเป็นคนธรรมดาหรือเจ้านายก็ "นาง" เหมือนกัน อย่างนางสีดา นางบุษบา ก็ "นาง" มาแต่แรก คนแรกถูกใส่ผอบลอยน้ำมาไม่รู้ว่าลูกใคร คนที่สองเป็นเจ้าหญิง อย่างนางวาลี ชาวบ้านในเรื่องพระอภัยมณี ก็ "นาง" อีกนั่นละค่ะ
ส่วนคำว่า "นางสาว" เพิ่งจะมากำหนดใช้ในรัชกาลที่ ๖ สำหรับสตรีอายุ ๑๕ ขึ้นไปจน ๑๐๐ ปี ก็นางสาว ถ้าไม่ได้แต่งงาน ในเรือนไทยคิดว่ามีนางสาวกันอยู่หลายคน ไม่รู้ว่ามีใครอยากจะเป็น "นาง" ทั้งที่สถานภาพโสดยังไม่ได้แต่งงานหรือเปล่านะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิรันดร์ เจริญกูล
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 06 ก.พ. 01, 16:28
|
|
ขอบคุณมากครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tonphai
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 06 ก.พ. 01, 17:31
|
|
เคยมีกรณีที่ทางครม.พิจารณาให้ผู้ชายเวลาแต่งงานแล้วให้ผู้ชายใช้คำว่า"นาย" นำหน้า แต่ถ้ายังไม่แต่งงานก็ให้ใช้คำว่า "นายหนุ่ม"นำหน้าฟังดูแล้วแปลกๆมั้ย แต่ว่าครม.คณะนั้นหมดวาระไปเสียก่อน คิดแล้วน่ารักพิลึก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 06 ก.พ. 01, 21:43
|
|
ในเรือนไทยคงมีคนสมัครเป็นนายหนุ่มกันหลายคน อย่างน้อยก็ในกระทู้ ๓๓๙ มี ๓ คนละค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นกข.
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 06 ก.พ. 01, 22:37
|
|
... เอ่อ... เรียนถามอาจารย์นิรันดร์แล้วกันครับ พยายามจะลากเรือนไทยไปหาอาจารย์ เลยอยากรู้ว่า อาจารย์คิดอย่างไรกับ "หุ่นพยนต์" (มี พ. อยู่กลางคำ ไม่ใช่ หุ่นยนต์) ในเรื่องขุนช้างขุนแผนครับ เปรียบเทียบกับวิชา Robotics ปัจจุบันได้หรือเปล่า
หุ่นพยนต์ สมัยขุนแผน เป็นวิชาอาคมอย่างหนึ่ง ไม่เกี่ยวกับ Artificial Intelligence สมัยนี้ ขุนแผนเอาฟางหญ้ามาผูกเป็นรูปหุ่นแล้วเสกให้มีชีวิตขึ้นมา ใช้ส่งข่าวสื่อสารได้ครับ ไม่ปรากฏว่าหุ่นพยนต์ มี "กฏสามข้อของหุ่น(พ)ยนต์" แต่อย่างใดครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิรันดร์
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 07 ก.พ. 01, 17:41
|
|
ตอนนั้น Issac Asimov ยังไม่ได้เกิด ก็เลยยังไม่มีกฎ 3 ข้อของหุ่นยนต์ครับ แล้วหุ่นพยนต์ตอนนั้นคงคิดอะไรเองไม่เป็นก็เลยคงได้แต่ทำตามคำสั่งเจ้านายอย่างเดียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เหลืองชมพู
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 07 ก.พ. 01, 17:46
|
|
ผมว่าน่าจะดีนะครับที่ผู้ชายที่ไม่แต่งงานมี นายหนุ่ม นำหน้า จะได้เสมอภาคกัน มิฉนั้น ผู้หญิงจะเสียเปรียบมาก ไม่รู้ว่าชายที่มาจีบนี่มีคู่เป็นตัวตนหรือยัง
ผมเห็นว่า ส.ส. น่าจะมี 50% เป็นส.ส.หญิง และอีก 50% เป็นส.ส. ชาย กฎหมายที่ออกมาจะได้ไม่เอาเปรียบอีกเพศ
เช่นถ้าหญิงมีชู้ ชายฟ้องหย่าได้ แต่ชายมีชู้ ถ้าไม่เอาหญิงชู้ออกหน้าออกตาก็ฟ้องหย่าไม่ได้
คุณเทาชมพูมีความเห็นอย่างไรครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
volcanoz
อสุรผัด

ตอบ: 1
55555555555555555555555+
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 15 ธ.ค. 05, 20:31
|
|
ง่า ในที่สุดเราก้อรู้แล้วว่ามีเค้าโครงจริงอ้ะป่าว เย้ๆ ดีจายจัง เมื่อกี้ดันไปโพสกระทู้ถามเรื่องนี้ ที่หมวดนิยาย - -* เหอๆๆ หน้าแตกเรยตู
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|