Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 30 เมื่อ 28 พ.ค. 10, 11:57
|
|
"เสนาธิการ (หน้า ๓๘ - ๓๙ อ้างอิงเดิม)
นายทหารเสนาธิการนั้น มีหน้าที่และตำแหน่งออกไปรับราชการตามลำดับความสำคัญ ดั่งนี้
ประจำกรมเสนาธิการ ซึ่งถือกันว่าแผนยุทธการและการฝึกทหาร และการฝึกทหารสำคัญที่สุด
ประจำกองทัพกองพลกรม
ประจำกรมยุทธศึกษา
ในแผนกที่ ๓ กรมเสนาธิการนั้น แบ่งเป็นกองยุทธการ ซึ่ง ร้อยเอกหลวงพลหาญสงตราม(จิต อัคนิทัต)รับผิดชอบ
ท่านสำเร็จโรงเรียนเสนาธิการสอบ แล้วไปเรียนต่อที่ฝรั่งเศสไล่ได้ที่ ๑
มีนายทหารเสนาธิการเป็นผู้ช่วย ๓ คน
กองฝึกทหารทหารนั้น ร.อ. หลวงไววิธีทัพ(พล เสนีย์วงศ์)รับผิดชอบ มีผู้ช่วยเช่นเดียวกัน
ข้าพเจ้าไม่เคยทำงานเสนาธิการ เพราะเพิ่งย้ายมาจากกรมทหาร ถูกบรรจุให้เป็นนายทหารคนสนิท รวมเรื่องจากสองกองนั้นไปถวายหัวหน้าแผนก
ในฐานะเป็นคนใหม่ หลวงไวเป็นผู้ฝึกงานให้ วัน ๆ หนึ่งออกหนังสือหลายสิบเรื่อง ต้องแยกเรื่องส่งกองทั้งสอง เสนอความเห็นและเซ็นชื่อกำกับ และต้องส่งสำเนามาที่กองของเราด้วย
วันหนึ่งมีคำสั่งพื้น ๆ และประหลาด เป็นคำสั่งของกองพลแห่งหนึ่งว่า ท่านผู้บัญชาการกองพลผ่านไป หมู่ทหารสัมภาระบอกแถวทำการเคารพ แต่พลทหารทำการเคารพไม่เรียบร้อย
จึงขอตักเตือน
ข้าพเจ้าเห็นว่าไม่มีสาระ จึงบันทึกว่า นำเสนอเพื่อทราบแล้วเก็บ
ร.อ. หลวงไววิธีทัพ เขียนว่า ทราบ-ไว
หัวหน้าแผนกส่งกลับมาว่า ให้พิจารณาใหม่ - ด่วน
ข้าพเจ้าก็งง เพราะไม่ทราบจะพิจารณาอย่างใหม่อย่างไร ผู้บัญชาการกองพลเขาเตือนทหารของเขาให้ทำความเคารพให้ถูก ไม่น่าจะมีประเด็น
ร.ต.จงกลจึงตามนายทหารเสนาธิการคนเก่า ผู้สำเร็จจากต่างประเทศและสอนในโรงเรียนเสนาธิการ มาขอความเห็น ทุกคนจนปัญญา
มีผู้เสนอความเห็นว่า ลองเสนอชมเชยผู้บัญชาการกองพลว่าเรื่องเล็กน้อยก็ไม่ทิ้ง ข้าพเจ้าเห็นตรงกันข้ามว่าถ้าจะเป็นเรื่องชมเชย เจ้านายท่านสร้างพระคุณเอง ไม่ต้องยืมมือเราก็ได้
จึงเสนอไปว่า
การปรากฏว่า ทหารในกองพล.....บกพร่องแม้แต่การทำความเคารพ ผู้รับผิดคนแรกคือผู้บัญชาการกองพล น่าจะได้รับการตำหนิ
ไม่มีใครยอมเซ็นชื่อ ตกลงใส่ชื่อข้าพเจ้าเข้าไปคนเดียว
เรื่องกลับออกมาว่า
"ชอบแล้ว ร่างหนังสือเป็นหนังสือซองเล็กลับ-เฉพาะ แนะนำให้เขาลาออก"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 31 เมื่อ 28 พ.ค. 10, 16:54
|
|
อ่านเรื่องทหารทำความเคารพไม่เรียบร้อยแล้ว ชวนให้นึกถึงเรื่งที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เสด็จประพาสหัวเมืองมณฑลปักษ์ใต้ ทรงพระราชบันทึกไว้ว่า เวลานั้นเป็นช่วงที่เริ่มจัดตำรวจภูธรในหัวเมืองใหม่ๆ ตำรวจภูธรจึงใช้ระเบียบปฏิบัติของทหาร ทีนี้เวลาเสด็จไปที่ไหนๆ ก็ต้องทรงยกพระหัตถ์รับความเคารพอยู่ตลอด เพราะแม้แต่เวลาที่ประทับอยู่ในพลับพลา ถ้าทหารที่ยืนรักษาการมองเห็นพระองค์แค่แวบเดียวก็ถวายเคารพ ก็ต้องทรงยกพระหัตถ์รับ ถึงกับมีพระราชบันทึกว่า วันๆ ไม่ต้องทรงทำอะไร ต้องยกพระหัตถ์รับความเคารพจนเมื่อยพระกรเต็มทน
นอกจากนั้นคุณๆ มหาดเล็กในรัชกาลที่ ๖ ท่านนังเล่ากันอีกว่า วันดีคืนดีก็มีรับสั่งให้คุณมหาดเล็กบางคนไปเป็นทหาร เป็นพลทหารเกณฑ์นะครับ ท่านเล่ากันสนุกว่า ทหารสมัยรัชกาลที่ ๖ นั้นถูกลงทัณฑ์กันเป็นเรื่องปกติ จะเรียกว่าสามเวลาหลังอาหารก็ยังได้ แค่สวมเสื้อไม่ตึงก็โดนทัณฑ์ สวมหมวกเบี้ยวไปนิดก็ลงทัณฑ์ ฉะนั้นเรื่องทหารทำความเคารพไม่เรียบร้อยแล้วผู้บังคับบัญชาถูกตำหนิว่า อบรมทหารไม่ดี จึงเป็นเรื่องไม่แปลกสำหรับยุคนั้นเลยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 32 เมื่อ 28 พ.ค. 10, 18:08
|
|
คุณจงกลกับคณะพรรค คุยเรื่องเสนาธิการเอี่ยซิ่ว ที่รู้ใจโจโฉจนถูกประหารชีวิต
ผู้ฟังคนหนึ่งบอกว่าเรื่องโบราณเกืนไป มีเรื่องใหม่ ๆในเมืองไทยไหม
"เห็นจะพอมี - ฟังซี งานปฎิภาณไหวพริบเรื่องที่สอง ศาลาการเปรียญวัดราชาธิวาสน่ะ ลองเดินไปดูเถิด
แข็งแรงกว้างขวาง เสาแต่ละต้นใหญ่โต ไม่มีที่ไหนเทียบได้ นอกจากที่ศาลาการเปรียญวัดหลวงพ่อเพชร-เมืองพิจิตร
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้่าอยู่หัว เสด็จไปวัดราชา ทรงชี้โน่น ชี้นี่ บัญชาการเองก็ว่าได้
เช้าวันหนึ่งเสด็จไปถึงศาลาการเปรียญที่กำลังสร้าง ทรงเห็นต้นโพธิต้นใหญ่ใบสล้างบังศาลา จึงรับสั่งกับกรมหลวงสรรพศาสตร์
ผู้เป็นแม่กองก่อสร้างว่า
"ต้ดต้นโพธิ์เสีย จะเอาไว้ทำไม"
กรมหลวงสรรพศาสตร์มีพระพักคร์จืด ๆ กราบทูลตะกุกตะกักแบ่งรับแบ่งสู้ว่า
"พ่ะย่ะค่ะ กานกิ่งเสียบ้างก็ดี"
ธรรมเนียมกษัตริย์ตรัสสั่ง ไม่ว่าอะไร คำไหนเป็นคำนั้น แต่ไฉนวันนั้นคนรับคำสั่ง ซึ่งเป็นผู้รู้ขนบธรรมเนียมเป็นอย่างดีกลับตะแบงว่า
กานกิ่ง ไม่ยักตัดพระราชกระแสรับสั่ง ก็ทรงฉงนพระราชหฤทัยอยู่ ว่ามันจะเมาเหล้าตั้งแต่เช้าก็ไม่ใช่
นอกจากน้ำเสียงพูด นัยตาก็มีความหมายชอบกล
ไม่ช้าทรงระลึกได้ว่า สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยบรรพชาที่วัดนี้ เคยนั่งกรรมฐานที่โคนต้นโพธิ์
เห็นจะเป็นต้นโพธินี้เอง
เคราะห์ดีจริง ๆ ที่ไม่ได้ตัดต้นโพธิ์อนุสรณ์สำคัญ
เห็นกันหรือยังล่ะ! ว่าข้าราชการเก่า ๆ เขาปฎิบัติการด้วยความสุขุมคัมภีรภาพและเต็มไปด้วยชั้นเชิงอย่างไร"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 33 เมื่อ 28 พ.ค. 10, 22:01
|
|
ผู้บังคับบัญชานั่งทำงานคนเดียวในห้อง เมื่อจะเรียกใครจะกดกริ่งไฟฟ้า เสียงกริ่งยาว ๑ ครั้งเป็นการเรียกข้าพเจ้า
๒ ครั้ง เรียกคุณหลวงไววิธีทัพ ๓ ครั้งเรียกหลวงพลหาญสงคราม โดยมากได้ยินยาวครั้งเดียวทุกที
เพราะท่านมัวใช้ความคิดทำงาน ไม่ยอมเสียเวลาจดจำ หรือก้มลงอ่านข้อความที่ปิดไว้ข้างสวิตช์ว่าจะเรียกใครให้กดกี่ครั้ง
ท่านจะเรียกใครก็ตามกดกริ่งยาวมันครั้งเดียว ข้าพเจ้าก็ปร๋อไปเปิดบังตาพาตัวเข้าไปหา
วันนั้นเลยเปิดประตูเข้าไปได้ ๒ ก้าว ถูกเอ็ดลั่น
"ไม่ต้องสะเออะเข้ามา ยืนอยู่ที่ประตูพอแล้ว ไปตามหลวงไว ฯ มา"
"พ่ะย่ะค่ะ" ข้าพเจ้ารับคำ แต่ภายในใจนึกสำรวจความผิดของตนเองที่ถูกดุ ก็มองหาความผิดไม่ได้
แล้วก็นึก ท่านเป็นคนใจร้อน เราทำไม่ถูกพระทัย ต่อไปเราต้องทำให้ถูกจงได้
แวะไปบอกหลวงไวว่าท่านเรียก แล้วกลับมานั่งถอนใจยาวสองสามพรืด
เสียงกริ่งก็กังวาลขึ้นอีก
คราวนี้ไม่สะเอะเลยประตูเข้าไปอีกแล้ว เพียงเปิดบังตาโผล่หน้าเท่านั้นก็พอ กันถูกดุอีก
"ทำไมไม่เข้ามา รู้ไหมว่าถ้าผู้บังคับบัญชาเรียก แกต้องห่างกี่ก้าว"
"สามก้าว" ข้าพเจ้าตอบเสียงดังเอาบ้าง จนหลวงไวที่นั่งอยู่ก่อนอมยิ้ม ขณะที่ข้าพเจ้าเดินเข้าไปในห้องจนใกล้ได้ระยะแล้วชิดส้นเท้าดัง ปัง!
ยืนนิ่งเฉยเพื่อรอรับคำสั่ง
"แล้วกัน" ท่านดุอีกแลดุต่อไปว่า "อ้่ายเจ้าคนนี้มันยังไง...ทำไมไม่นั่ง....จะต้องเชิญให้นั่งอีกหรือ โธ่! เรียกมาจะใช้งาน แล้วมายืนโด่อยู่ได้....
นั่งลงซิ โอ๊ย! ฉันปวดหัว จนเกือบลืมเรื่องที่กำลังพูดค้างอยู่แล้ว"
คุณจงกลโดนเรื่องรักษาความสะอาดห้องทำงานของท่าน เรื่องหมึกในขวดแห้ง ภารโรงซึ่งเป็นคนอยู่ในวังของท่านชี้แจงว่า
"เติมหมึกมากก็ไม่ได้นะครับ เพราะว่าท่านเป็นคนใจเร็ว จิ้มพรวดลงไปจนมิดปากกา เกิดเลอะเทอะ เลยพาลหาเรื่องอื่นมาดุ
จนกว่าจะมีใครทำให้ท่านลืมดุ รักจะอยู่กับท่านก็ต้องเอาใจท่านให้ได้ ไม่ว่าร้ายอย่างไรก็ต้องทน เวลาดีของท่านก็มีนะครับ"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 34 เมื่อ 28 พ.ค. 10, 22:25
|
|
วันหนึ่งมีเสียงกริ่งเรียก สงสัยคงเสวยกาแฟลืมใส่น้ำตาล
ท่านชวนคุย ในที่สุดถามว่า
"แกมาทำงานกับฉันรู้สึกหนักใจอะไรบ้าง"
"ไม่มีอะไรที่หนักใจเลยพะย่ะค่ะ"
คำตอบของข้าพเจ้าดูเหมือนจะทำให้ท่านผิดแผนอีก เลยเปลี่ยนแผนใหม่ด้วยถ้อยคำที่ว่า
"แกเกลียดฉันไหม?"
"ไม่เกลียด-แต่รักด้วยซ้า"
"แกคอมพลีเม้นท์ กระมัง?"
"พ่ะย่ะค่ะ คอมพลีเม้นท์(เยินยอ) ทั้งต่อหน้าและลับหลัง"
"ฉันเห็นว่าแกโกหก เพราะฉันดุแกอยู่ทุกวัน ถามจริงๆเถิด แกไม่โกรธหรือ?"
"ไม่โกรธ"
"ทำไมถึงไม่โกรธ"
"เพราะท่านดีกว่าเกล้าฯ ทั้งชาติวุฒิ-วัยวุฒิ-และคุณวุฒิ"
"ถ้าฉันขาดวุฒิใดสักอย่างล่ะ?"
"ก๊อ! ดูถูก"
ทั้งนี้เพราะจิตใจข้าพเจ้า ก็เหมือนคนไทยทั้งหลายที่ยังติดอยู่ในวัฒนธรรมดั้งเดิม แม้บ้านเมืองจะเปลี่ยนแปรไป
เป็นสมัยอำนาจและพระเจ้าเงินตรากำลังเรืองอานุภาพ แต่ภายใต้จิตสำนึกของคนไทย ยังนับถือแน่นในวุฒิทั้งสาม
เป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทยเราอยู่เสมอ"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 35 เมื่อ 30 พ.ค. 10, 17:18
|
|
....ลัดนิ้วมือเดียว เหาะข้ามไปลงกา (แปลว่ากระโดดข้ามความที่คุณจงกลโดนหล่อหลอมเข้มงวด...)
ข้าพเจ้าถูกเหลาถูกเสี้ยมมา จนตนเองกลายเป็นไม้กลัด ข้าพเจ้ามีหน้าที่รวบรวมเรื่องจากกองฝึกทหารและ กองยุทธการทำเสร็จแล้วเข้าไปเสนอ วัน ๆ หนึ่ง ๑๐ - ๒๐ เรื่อง
ท่านให้ข้าพเจ้ารออยู่ก่อน อ่านความเห็นของเจ้าหน้าที่ แล้วเงยหน้าขึ้น ถามข้าพเจ้าว่า แกมีความเห็นอย่างไร
ข้าพเจ้าใช้สติปัญญาวิชาการตอบไป ดูมันมีบกพร่องมากมายเสมอ จึงตั้งต้นใหม่ คอยสังเกตสีหน้าท่านเวลาอ่าน จับได้เทียวว่าตอนต้นพอใจ ตอนกลางเฉยๆ ตอนท้ายสีหน้าไม่สู้ดี
เมื่อเงยหน้าขึ้นถาม ข้าพเจ้าอาศัยวิชาโอนเข้าหาสีหน้าท่านเป็นตอน ๆ
ข้าพเจ้าเฉลยว่า
ความมุ่งหมายของสีเครื่องแบบทหารนั้น ก็เพื่อให้กลมกลืนกับสีของภูมิประเทศ บ้านเมืองเราสีเขียวชอุ่ม ด้วยต้นไม้ ใช้สีกากีแกมเขียวดีอยู่แล้ว
ส่วนทหารอังกฤษในอัฟริกาเหนือหรือในอินเดีย อยู่ในดินแดนแห้งแล้งหรือทะเลทราย เขาจึงใช้สีกากีคล้ายสีทราย
เราจะใช้สีกากีบ้าง โดยไม่คำนึงถึงภูมิประเทศในบ้านเมืองเรา หาควรไม่
ท่านได้ฟังข้าพเจ้าโน้มวิชาการผนวกสีหน้าวันนั้น ชมเปาะทีเดียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 36 เมื่อ 30 พ.ค. 10, 17:35
|
|
อ่านที่คุณ Wandee เล่าถึงหม่อมเจ้าผู้บังคับการกรมท่านนั้น ก็นึกว่าจะถามอยู่เหมือนกันว่า ใช้ หม่อมเจ้า ป. ซึ่งทรงเป็นผู้บังคับการทหารปืนใหญ่ที่ ๑ รักษาพระองค์ใช่หรือไม่ พลันคุณ Wandee ก็เฉลยออกมาแล้วว่า ความเข้าใจของผมนั้นถูกแล้ว ถามว่าท่านคือหม่อมเจ้าหม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล พระโอรสในสมเด็จฯกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ใช่ไหมคะ เปิดเผยคงไม่เป็นไรมั้งคะ คุณจงกลไม่ได้บันทึกอะไรที่เสียหายถึงท่าน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 37 เมื่อ 30 พ.ค. 10, 17:39
|
|
ท่านให้ข้าพเจ้าอภิปรายปัญหาแทบทุกเรื่องที่รวบรวมนำเสนอ ต้องคืนเรื่องให้เจ้าหน้าที่แก้ไขประมาณ ๖ - ๑๐ เรื่อง
ไม่ต้องแก้ไข ๖๐ เปอร์เซ็นต์
บางวันไม่ต้องอภิปรายก็ราวได้ขึ้นสวรรค์
เรื่องที่จะต้องแก้ไขนั้น ข้าพเจ้าทูลถามว่าจะให้เขาแก้ไขตรงไหนอย่างไร?
"แก้ตามที่เราพูกันมาแล้วยังไงล่ะ ฉันบอกแกแล้วนี่ จะเซ้าซี้ไปถึงไหน"
ตายห่ ! ---- ข้าพเจ้าอภิปรายกลอนสด พูดโน้มเอียงไปตามสีหน้า เรื่องซับซ้อนกันตั้ง ๑๐ เรื่อง ไม่ได้จด จำไม่ได้ว่า แต่ละเรื่องที่ท่านพูด ข้าพเจ้าพูด เราตกลงยุติเรื่องกันไว้อย่างไร
"ฉันพูดแล้ว - สั่งแล้ว - ไม่มีการสั่งซ้ำ"
ข้าพเจ้าหอบเรื่องกลับออกมา ต้องตั้งสติย้อนหลัง
คราวต่อไปข้าพเจ้าสังเกตสีหน้าท่าน แล้วทำเครื่องหมาย บวก ลบ คูณ หาร ไว้ทุกเรื่อง แปลตามเครื่องหมายว่า พอใช้ เลว ดีมาก เลวมาก ตอนนี้ข้าพเจ้าก็อภิปรายผิดใจน้อยลง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 38 เมื่อ 30 พ.ค. 10, 17:57
|
|
คุณจงกลเคารพนับถือท่านชาย เพราะคุณจงกลยังเป็นเพื่อนนักเรียนมากับพระอนุชา
ไม่อย่างนั้นท่านชายคงไม่เขียนหน้าแรกของหนังสืออนุสรณ์ให้ ว่า คุณจงกลเป็นคนเสมอต้นเสมอปลาย
ชีวิตสาหัสที่ต้องผจญอยู่ในคุก และโดนปล่อยเกาะ รวมแล้วสิบกว่าปี คงทำให้คุณจงกลหวลระลึกถึงความหลังที่ได้รับการฝึกหัดอย่างหนัก
ท่านเป็นคนละเอียดอ่อนมากทีเดียว เมื่อโดนย้ายเกาะอย่างกระทันหัน สุนัขที่เลี้ยงไว้ว่ายตามเรือเล็กมาเป็นฝูง แล้วหมดแรงหายไปในทะเล คุณจงกลทรมานใจมาก
ท่านเป็นคนร่าเริง และสู้เสมอ ไม่ให้ความหลังมาดึงชีวิตท่านลง จึงเป็นนักการเมืองที่ประชาชนรัก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 39 เมื่อ 30 พ.ค. 10, 18:19
|
|
คุณจงกลเล่าเรื่องโดนดุด่า แต่ก็เล่าด้วยว่า ถ้ามีคนอื่นปะปนอยู่ด้วย
ท่านจะไม่ละเมิดเกียรตินายทหาร เป็นของต้องห้าม คุณจงกลบอกว่าถึงจะทนดุด่าสักเท่าใดทนได้
เมื่อร้อยเอกหม่อมเจ้านักขัตมงคลกิติยากร สำเร็จโรงเรียนนายทหารเสนาธิการหลังมหาสงครามโลกครั้งที่หนึ่งนั้น
เป็นที่หวังอย่างอุ่นอกอุ่นใจกันนักว่า กองทัพไทยจะได้ก้าวหน้าทันสมัย ใคร ๆ ก็รู้ว่าท่านผู้นี้มีอิทธิพลเฉิดฉายนัก
ไม่ช้าปีก็จะเป็นใหญ่เป็นโต
พระอาจารย์ของข้าพเจ้าถามข้าพเจ้าว่ารู้จักไหม?
ทูลว่ารู้จักแล้ว
ก็ย้อนถามอีกว่า "แกว่านักขัตมีอิทธิพลไหม?"
"มีซี - มีแยะด้วย"
"เมื่อแกมีความรู้เช่นนั้นก็ดีแล่ว ฉันต้องการให้เขามาพบฉันที่ห้องทำงานของเรานี่ แต่ฉันไม่ใช่ผู้บังคับบัญชาของเขา
เรียกเขามาพบไม่ได้ แกไปหาวิธีการเองให้เขามาหาฉัน แต่ฉันไม่ได้เรียกเขานะ เข้าใจไหม?"
ข้าพเจ้าไปที่ห้องทำงานหม่อมเจ้านักขัตมงคล เพื่อทำงานแสนง่าย (หรือใครจะว่ายากก็ตามใจ) เป่ามนต์ให้หม่อมเจ้านักขัต ฯ กุลีกุจอขึ้นไปหาพระอาจารย์ของข้าพเจ้าเอง
ไม่เผลอไผลไปบอกว่าถูกเรียกสิน่า แล้วจะใช้มนต์บทไหนล่ะ? ไม่มีใครเขียนสอนไว้ ต้องคิดเอาเอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 40 เมื่อ 30 พ.ค. 10, 21:16
|
|
"ข้าพเจ้าผลักบังตาโผล่หน้าเข้าไปในห้องนั้นแล้วถอยกลับมางับแงผลุบโผล่ ให้เจ้าของห้องรำคาญเล่นอย่างงั้นแหละ
เป็นดังหมาย
ท่านนักขัตเงยพักตร์แล้วตะโกน
"เข้ามาสิ จงกล ฉันว่างเข้ามาคุยกันบ้าง"
"ยังคุยไม่ได้กระหม่อม เพราะจะต้องกลับไปทูลท่านปรีดิเทพย์ฯ ว่า ท่านยังประทับอยู่ ...."
"ทำไม น้าอั๋นอยากพบฉันเรอะ...อ๊ะ! ฉันไปหาท่านเอง"
แล้วเราสองคนก็เดินตามกันต้อย ๆ ไปหาน้าอั๋น
เมื่อท่านนักขัตกลับแล้ว ถูกถามว่าไปทำอย่างไรนักขัตเขาถึงมา ............ก็เล่าถวายว่าไปทำผลุบโผล่ให้ทราบ
บ๊ะชอบอกชอบใจใหญ่ หยิบซิการ์อย่างดีส่งให้มวนหนึ่งเป็นรางวัล ที่ใช้ไหนใช้ได้ดังจินดา"
หม่อมเจ้าปริดิเทพย์พงษ์ เทวกุล รักใคร่เมตตาเอ็นดูคุณจงกลมาก ท่านชายได้ทรงยืนดูบรรจุศพตั้งแต่ต้นจนปิดฝาโลง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 41 เมื่อ 30 พ.ค. 10, 21:35
|
|
ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี เขียน คำไว้อาลัย
ข้าพเจ้ากับคุณจงกล ไกรฤกษ์ ได้รู้จักกันมาตั้งแต่ยังเยาว์ เพราะคุณแม่ของคุณจงกล(ลิ้นจี่ ไกรฤกษ์) ได้มาอยู่ในวังสวนกุหลาบ กับพี่สาวของท่าน ท้าวนารีวรคณาลักษณ์(แจ่ม ไกรฤกษ์) เราเคยวิ่งเล่นด้วยกัน รับประทานอาหารที่คุณแม่ลิ้นจี่ทำให้อย่างดีเลิศ คุณแม่รักข้าพเจ้ามากเสียด้วย เวลาที่ข้าพเจ้าทะเลาะกับคุณจงกล คุณแม่จะเข้าข้างข้าพเจ้าเสมอ เพราะคุณแม่ชอบเด็กผู้หญิงและชอบละครมาก
เวลาล่วงมาข้าพเจ้าเป็นผู้ใหญ่ขึ้น ข้าพเจ้าได้กราบทูลขอประทานทูลกระหม่อมอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนรราชสีมา ตั้งให้คุณแม่ลิ้นจี่เป็นใหญ่คุมห้องเครื่องทั้งหมด
คุณจงกลก็ไปมาเสมอที่วังสวนกุหลาบ
ตามธรรมดาคุณจงกลเธอเรียกข้าพเจ้าว่าหม่อมพี่ ข้าพเจ้าก็นึกว่าคุณจงกลคือน้องร่วมมารดาเดียวกัน
เวลาข้าพเจ้าตกทุกข์ คุณแม่ลิ้นจี่ไม่เคยไปจากข้าพเจ้าเลย เราอยู่ร่วมทุกข์สุขกัน คุณจงกลก็มาเยี่ยมเสมอ ๆ
เวลาที่คุณจงกลอยู่ที่บางขวาง ข้าพเจ้าเป็นห่วงมาก เพราะคุณแม่ลิ้นจี่ได้ถึงแก่กรรมไปเสียแล้ว
ข้าพเจ้าก็มีความลำบากเท่า ๆ กับคุณจงกลเหมือนกัน ช่วยเหลือกันไม่ได้เต็มที่นัก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 42 เมื่อ 30 พ.ค. 10, 21:49
|
|
คุณจงกลเข้าร่วมกับกบฎบวรเดช ติดคุกบางขวาง ๕ ปีเศษ
ถูกปล่อยเกาะตะรุเตา ๓ ปี
ถูกส่งต่อไปเกาะเต่าอีก ๒ ปีเศษ
เมื่อถูกปลดปล่อย ท่านนั่งรถรางไปหาคุณกุหลาบ สายประดิษฐ คุณสถิตย์ เสมานิล คุณเสลา เลขะรุจิ
คนทั้งสามเฉพาะคุณกุหลาบพูดว่า คุณจงกล ตอนนี้ช่วยผมหน่อย(ซึ่งความจริงไม่มีความจำเป็นเลย
แต่เป็นไมตรีของเพื่อนๆ ถ้าคุณไม่ช่วยหนังสือก็จะไม่เดิน)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 43 เมื่อ 30 พ.ค. 10, 22:07
|
|
ชีวิตในบางขวาง และชีวิตชาวเกาะนั้น หาอ่านได้ทั่วไป คุณไทยน้อยเขียนไว้เอง ๓ เล่ม
คุณจงกลเป็นนักสู้ เมื่อได้รับการปลดปล่อย ท่านหิ้วปูทะเลที่จับเองมาสองหลัว บอกให้ลูกนำไปขายที่ตลาด
เป็นเงินค่าใช้จ่ายไปก่อน ท่านไม่คิดพึ่งใคร
คลังหนังสืออนุสรณ์ของดิฉันมีหนังสือน้อยมาก แต่คงพอจะนำบุคคลสำคัญมาเล่ากันได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 44 เมื่อ 01 มิ.ย. 10, 10:35
|
|
.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|