V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 26 พ.ค. 10, 06:46
|
|
ในวามเห็นก่อนหน้า คุณ Wandee เล่าถึงนายทหารพลรบและผู้ช่วยพลรบติดอินทรธนูทอง เรื่องนี้มีข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือ ในสมัยก่อนเปลี่ยการปกครอง เฉพาะนายทหารพลรบเท่านั้นที่ติดอืนทรธนูตามยาวบ่า คือจากต้นคอไปปลายบ้า ส่วนผู้ช่วยพลรบ และข้าราชการพลเรือน ติดอินทรธนูที่ปลายบ่าในแนว ในแนวขวางบ่า จากด้านหน้าไปด้านหลังบ่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 26 พ.ค. 10, 07:38
|
|
ดีจังเลยค่ะ คุณ V_Mee เพิ่มความรู้ให้พวกเรา เรื่องเล็กๆน้อยๆอย่างนี้คือเรื่องน่ารู้
ขอเรียนเชิญให้แวะมาบ่อยๆ
ดิฉัน คัดลอก มาจากหนังสืออนุสรณ์ ที่น่าอ่านมากที่สุดเล่มหนึ่ง ไม่ได้เขียนเลย
อ่านแล้ว นำมาฝาก เพราะเห็นว่าสนุก และเปิดเผย
อยากให้เห็นคุณค่าของหนังสืออนุสรณ์ที่ดีเช่นนี้
สกุลมหาศาลนั้นย่อมมีสมาชิกที่ร่ำรวยและยากจนปะปนกันไป ที่รักษาตนและฐานะไว้ได้ก็นับว่าเก่ง
สกุลไกรฤกษ์นั้นก็ได้ช่วยเหลือสงเคราะห์ญาติพี่น้องไว้มาก หนังสือที่เกี่ยวกับสกุลนี้ก็มีทั่วไป
ไม่ค่อยเห็นตำรากับข้าวของบ้านนี้
ทราบว่า หมูหวานที่เคี่ยวจนมันหมูออกราวกับกระจก แต่ตัวเนื้อหมูนั้นไม่หวานจนแสบไส้ หากมีรสขมเล็กน้อยจากการใช้ไฟที่เหมาะ
ยังมีทำกันอยู่บ้าง เคยได้รับแจกมาประมาณสองครั้งเป็นลาภปาก กินกับน้ำพริกกะปิธรรมดา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 27 พ.ค. 10, 00:10
|
|
เรื่องซุกซนสัปดนของนักเรียนนายร้อยมีเยอะ เล่ากันสิบวันไม่จบเป็นเรื่องสนุก ๆ ทั้งนั้น
เช่นเรื่องครูฝรั่งชาวอิตาเลียนที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นนายพันโทพระสารสาสน์พลขันธ์(เยรินี)
เป็นครูสอบไล่ภาษาอังกฤษที่หลับหูหลับตาให้คะแนนนักเรียนชอบกล
ทั้งชั้นเรียนมี ๓๐ คน มีคนที่เอาใจใส่ภาษาอังกฤษอยู่ ๒ - ๓ คน เวลาสอบอ่านอังกฤษเรียกนายสำอางคนเก่งอังกฤษ
ไปยืนอ่านหน้าชั้น เสร็จแล้วให้คะแนน ๑๐๐ เปอร์เซนต์
คนที่สองชื่อนายช่วง ถูกเรียกให้ไปอ่าน แต่นายช่วงเฉยเสียให้นายสำอางไปอ่านแทน ได้คะแนน ๑๐๐ เปอร์เซนต์เท่ากันอีก
ทั้ง ๓๐ คน นายสำอางไปอ่านแทนทุกคน ได้คะแนน ๑๐๐ ทุกคน
เมื่อให้คะแนนคนสุดท้ายแล้ว คุณพระชาวอิตาเลียนเงยหน้าถามว่า
" ..... ึง ไม่เหนื่อยหรือ?"
(อ่านพิชัยสงครามฮินดูแล้วอดยิ้มไม่ได้ ก.ศ.ร.กุหลาบหาหนังสือโบราณให้เยรินีหลายเล่ม และเล่าว่าเยรินีสะสมตำราพราหมณ์)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 27 พ.ค. 10, 00:45
|
|
เข้าโรงเรียนนายร้อย พ.ศ. ๒๔๕๘ จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นร้อยตรีทหารปืนใหญ่พิษณุโลกมาแล้วหนึ่งปี
เรื่องขัน ๆ ที่คุณจงกลเล่า
แทบทุกคนแสดงตัวว่าตนมีคู่รักสวยนักสวยหนา สมัยนั้นมีรถยนต์ในกรุงเทพฯ ไม่ถึงพันคัน
หลายคนชูคอชะเง้อหาหญิงสาวบนรถยนต์ที่ตนได้แลเห็น ขณะที่เช้าเย็นไปกลับที่โรงเรียนราชินี มีมากคนที่มีความรู้
ว่าเบอร์รถที่เท่านั้น เป็นรถของใครและบ้านอยู่ที่ไหน มั่งมีมากน้อยอย่างใด ตั้งหน้าเอาหนาเข้าแลก
เก้อเปล่าก็มี สำเร็จก็มาก
ฝรั่งคนหนึ่งเป็นอาจารย์ภาษาต่างประเทศทั้งที่โรงเรียนสตรีมีชื่อและโรงเรียนนายร้อย ซึ่งทั้งสองโรงเรียน
ทำการเซ็นเซ่อร์จดหมายนักเรียนอย่างกวดขัน มีคนหนึ่งไปหลอกอาจารย์ว่า ทางบ้านคุณหญิงโกษาธิบดี
ซึ่งเป็นป้าฝากจดหมายไปให้นางสาว............... ซึ่งอยู่โรงเรียนใส่ซองเดียวมากับที่ท่านมีจดหมายถึงผม
เป็นเรื่องด่วน จะรอให้ผมกลับบ้านตอนบ่ายวันเสาร์ไม่ทันกาล
ผมชอฝากจดหมายคุณป้าไปให้น้องสาวของผมด้วย แล้วเขาเขียนโน้ตสั้น ๆ บนหลังซองถึงน้องสาว
ทำอย่างนั้นเพียงสองฉบับเท่านั้น อาจารย์ฝรั่งก็ทำหน้าที่นำจดหมายตอบของนางสาว ............ จากโรงเรียนสตรี
มาให้ผู้ที่อ้างตนว่าเป็นพี่ชายสายโลหิต
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 28 พ.ค. 10, 00:14
|
|
สำเร็จออกมาเป็นนายทหารเมื่อพ.ศ. ๒๔๖๕ ไปอยู่ที่กรมทหารราบที่ ๑๕ จังหวัดนครราชสีมา
พ.ศ. ๒๔๖๙ สอบไล่ผ่านโรงเรียนเสนาธิการ ได้เป็นอันดับ ๒ ได้โยกย้ายไปรับราชการต่างจังหวัด
(หนังสืออนุสรณ์ หน้า ๓๒ - ๓๔)
"ไปหัดทหารที่กรมกองอยู่ ๒ เดือน นายพันโทอาจารย์โรงเรียนเสนาธิการอีกคนหนึ่งซึ่งดุไม่แพ้พระยาศรีสิทธิสงคราม และดุโผงผางกว่าด้วยซ้ำ
เป็นหัวนอกเยอรมันเหมือนกัน และเป็นหม่อมเจ้า เรียกข้าพเจ้าไปหา เวลานั้นท่านดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกข่าวทหารของกรมเสนาธิการทหารบก
เมื่อเป็นครูสอนวิชาประวัติศาสตร์ทหารที่โรงเรียนเสนาธิการเคยถามว่า พวกเธอเมื่อจบโรงเรียนเสนาธิการ ใครอยากไปทำงานกับฉันบ้าง
เงียบ - ไม่มีใครตอบและกระดุกกระดิก นอกจากข้าพเจ้าคนเดียวที่ยกมือขึ้น ท่านมองหน้าตอบขอบใจแล้วเลิกลากันไป
วันนี้เรียกให้ไปหาคงจะเอาไปทำงานด้วย จึงเริ่มสืบสวนพระประวัติของหม่อมเจ้าองค์นี้ ตายแล้ว!
แม้ร้อยเอกเจ้าฟ้ากรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ก็ยังดุราวกับเสือ แล้วอาตมานี้เป็นอะไรมาจะพ้นกรงเล็บเสือ
เรื่องที่ทราบมานั้นมีดังนี้
วันหนึ่งหม่อมเจ้า .......... ผู้บังคับการเดินไปตรวจภายในบริเวณ บังเอิญพบขี้ม้าในคอกที่อยู่ในกองร้อยของสมเด็จเจ้าฟ้า
จึงสั่งให้นายสิบเวรกองร้อยไปตามผู้บังคับกองร้อยของแกมา กองแกสกปรก นายสิบถวายเคารพรายงานว่า
"ยังไม่เสด็จจากวัง"
"สายจนป่านนี้ยังไม่ออกจากวังได้หรือ บอกให้ไปตามมา เอ! เจ้านี่-" นายสิบเวรคว้าจักรยานขี่ปรื๊อมายังวังสุโขทัย
กราบทูลให้ทรงทราบ รับสั่งว่า
"ไปบอกเขาเถิดว่าฉันป่วย"
เมื่อทูลว่าฉันป่วยให้ท่านผู้บังคับการทราบแล้ว ก็ยังถูกดุอีกแต่ดังลั่นกว่าครั้งก่อน
"ป่วยเป็นอะไร-มีใบตรวจของแพทย์หรือเปล่า? ถ้าไม่มีถือว่าขาดราชการ แกลงบัญชีว่าป่วยไม่ได้ ต้องลงว่าขาดราชการนะ"
นายสิบเวรหน้่าเหรอกลับกองร้อยบอกกับนายทหารผู้บังคับหมวดว่า
"ตั้งแต่ผมเกิดมาจากท้องพ่อท้องแม่ ไม่เคยยุ่งยากใจเท่าครั้งนี้ ผมจะไปทูลสมเด็จเจ้าฟ้าผู้บังคับกองร้อยว่าอย่างไรดี
จะลงบัญชีว่าท่านขาดราชการได้หรือ ท่านเป็นสมเด็จเจ้าฟ้านะ โธ่! ใครเขาเป็นผู้บังคับการก็ไม่เห็นเขาดุตะพึด ไม่เลือก
หน้าอินทร์หน้าพรหม เหมือนท่านผู้บังคับการคนนี้ ถ้าท่านจะดุกันเองก็เป็นเรื่องของท่าน แต่นี่ท่านตีวัวกระทบคราด ผมแย่"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 28 พ.ค. 10, 00:33
|
|
นายสิบจะปฎิบัติอย่างไรไม่สำคัญนัก ที่สำคัญคือต่อมาไม่ช้า สมเด็จพระพันปีหลวงทรงน้อยพระราชหฤทัยว่า พระราชโอรสถูกเคี่ยวเข็ญ
ทันใดนั้นนายพลสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถเสด็จไปเฝ้ากราบบังคมทูลว่า
"หม่อมฉันเองเป็นคนสั่งให้ผู้บังคับบัญชาเขาเข้มงวด เพื่อน้องเอียดน้อยจะได้เข้มแข็งในราชการแผ่นดิน"
เล่ากันว่า ถ้าเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลก ฯ ไม่เสด็จไปกราบบังคมทูล ท่านผู้บังคับการที่ดุปานเสือ จะต้องกลายเป็นเสือกระดาษ
และเลยเป็นที่เห็นกันว่าท่านผู้นี้ได้รับความเชื่อถือ-ความรักจากทูลกระหม่อมจักรพงษ์มาก ท่านเป็นผู้มีอิทธิพลในกระทรวงกลาโหมนานมาแล้ว
เมื่อสิ้นบุญทูลกระหม่อมจักรพงษ์แล้ว ท่านผู้นี้บังเอิญเป็นน้องเขยของพลเอกหม่อมเจ้าบวรเดชเสนาบดีกระทรวงกลาโหมคนใหม่ ท่านก็ทรงอิทธิพล
อยู่ตามเดิม แม้จะได้เคยถวายความเคี่ยวเข็ญแด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ ซึ่งทรงผ่านราชสมบัติ แต่ครั้งยังทรงเป็นร้อยเอกดังเล่ามาแล้ว
พระมหากษัตริย์มิได้ทรงถือสาหาความและกลับโปรดปรานด้วยซ้ำ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 28 พ.ค. 10, 01:06
|
|
เมื่อกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๑ มีงานฉลองกรม พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราโชวาท
มีความตอนหนึ่งว่า
"ข้าพเจ้าไม่ลืมกรมทหารปืนใหญ่นี้เลย เพราะเคยได้รับความลำบากยากแค้นมามาก(ทอดพระเนตรไปทางท่านผู้บังคับการที่เคยดุ)
แต่ข้าพเจ้าก็อดทน จนกระทั่งเปลี่ยนหน้าที่ไปทำอย่างอื่นก็ค่อยสบายหน่อย จึงไม่ลืมกรมนี้ได้เลย"
ท่านผู้บังคับการคนดุ กราบทูล
"ขอเดชะปกเกล้า
เมื่อครั้งใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงเป็นผู้บังคับกองร้อยในกรมนี้ ก็เท่ากับเสด็จประทับเป็นร่มโพธิทองให้บรรดาข้าพระพุทธเจ้า
ทั้งปวง ได้มีเกียรติ ได้เฝ้าแหนร่วมราชการรับใช้ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทเป็นลำดับมา แต่ว่าข้าพระพุทธเจ้าโง่เขลาเปรียบดุจ
คนมีตาหามีแววไม่ เพราะไม่หยั่งทราบล่วงหน้าว่า มีผู้บังคับกองร้อยองค์หนึ่งภายใต้การบังคับบัญชาของข้าพระพุทธเจ้า
จะได้มีบุญญาธิการผ่านราชสมบัติ ในเวลาต่อจากนั้นไปไม่ช้า จึงมิได้ถวายความสมควรขณะที่บังคับบัญชากันอยู่
ถ้าข้าพระพุทธเจ้าแน่ใจว่า ผู้บังคับกองร้อยของข้าพระพุทธเจ้าจะได้เป็นพระมหากษัตราธิราช ข้าพระพุทธเจ้าก็คงจะได้ถวาย
ความเข้มงวดยิ่งกว่าที่ได้เป็นมาแล้วอย่างแน่นอน....."
ทั้งๆที่หวั่นพรั่นพรึงว่า ลูกระเบิดกำลังตกลงมากลางที่ชุมนุม
แต่ทุกคนก็ตบมือกันกราวใหญ่ เป็นเสียงที่ดังจากพระราชหัตถ์ด้วย
ก็พากันเบาใจและเห็นว่า เป็นคำปราศรัยที่ฉลาด อย่างไม่กลัวคน
แต่นั้นนายทหารส่วนมากต่างพูดกันว่า ผู้บังคับการองค์นี้เปรี้ยว พากันเข็ดเขี้ยวไม่กล้ารอต่อกร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Diwali
มัจฉานุ
 
ตอบ: 96
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 28 พ.ค. 10, 01:19
|
|
เข้ามาลงชื่อว่าตามอ่านอยู่ครับ สนุกมากๆ ได้เปิดหูเปิดตาอีกเยอะเลยครับ ปล.ขออภัยที่ปาดหน้านะครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 28 พ.ค. 10, 01:34
|
|
ขอบคุณที่แวะมาบอกค่ะ
เรื่องอ่านหนังสือเพื่อความเพลิดเพลินเป็นนโยบายประจำใจ
ยังมีเรื่องสนุกอีกเรื่องสองเรื่อง แล้วคุณจงกลก็มีธุระไปติดคุกอยู่หลายปี ทารุณสุดที่จะกล่าว
ท่านใจสู้ค่ะ เสื้อผ้าที่พันกายรุ่งริ่ง ท่านก็ไม่อับอายค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 28 พ.ค. 10, 01:40
|
|
อย่างนี้ไม่เรียกปาดหรอกค่ะ เรียกว่าให้กำลังใจ
คนที่ปาด คือ คนที่ชิงตอบเรื่องยากๆไปก่อนที่ดิฉันจะคิดออก เลยต้องทำเป็นฉุน
เรามาอ่านหนังสือเก่ากันนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 28 พ.ค. 10, 07:48
|
|
อ่านที่คุณ Wandee เล่าถึงหม่อมเจ้าผู้บังคับการกรมท่านนั้น ก็นึกว่าจะถามอยู่เหมือนกันว่า ใช้ หม่อมเจ้า ป. ซึ่งทรงเป็นผู้บังคับการทหารปืนใหญ่ที่ ๑ รักษาพระองค์ใช่หรือไม่ พลันคุณ Wandee ก็เฉลยออกมาแล้วว่า ความเข้าใจของผมนั้นถูกแล้ว
เรื่องที่ผู้การกรมถวายนาฬิกาข้อมือผู้บังคับกองร้อยทหารปืนใหญ่ก็คงจะมีที่มาจากเรื่องที่คุณ Wandee ได้กรุณาหยิบยกขึ้นมาเล่าไว้ข้างต้น ว่ากันว่า ทูลกระหม่อมท่านเสด็จมาตรวจแถวตอนเช้าไม่ทันสักวัน ท่านผู้การกรมเลยถวายนาฬิกาข้อมือแด่ทูลกระหม่อมไว้เรือนหนึ่ง ด้วยทรงหวังว่าทูลกระหม่อมจะเสด็จมารับตรวจทันเวลาทุกเช้า แต่คงจะเป็นเพราะเวลานั้นทูลกระหม่อมประทับอยู่กับสมเด็จพระพันปีหลวงที่วังพญาไท แล้วสมเด็จพระพันปีทรงใช้เวลากลางวันเป็นกลางคืน และกลางคืนเป็นกลางวัน เลยคงจะทำให้ทูลกระหม่อมบรรทมดึกตามพระบรมราชชนนี เลยตื่นไปรับตรวจไม่ทันสักวัน เล่ากันอีกว่า เมื่อท่านผู้การกรมกราบทูลถามถึงเรื่องนาฬิกา ทูลกระหม่อมก็รับสั่งว่า ถอดไว้ที่วัง ท่านผู้การกรมก็เลยหมดปัญญาจะจัดการกับลูกน้องพระองค์นี้
เรื่องความดุของท่านผู้การกรมท่านนี้ มีคำยืนยันจากหลานปู่ของท่านครับว่า ดุจริง ไม่เว้นแม้แต่ลูก ขนาดหลานที่ว่าทรงเมตตานัก หลานๆ ก็ยังว่าทรงดุเหลือประมาณ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CVT
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 28 พ.ค. 10, 09:33
|
|
ถ้า ม.จ. ป. ของผมเป็นท่านเดียวกับคุณ V_Mee ท่านก็เป็นโอรสของพระเชษฐาที่สมเด็จฯพระพันปีหลวงทรงเกรงพระทัย จึงทรงกล้าที่จะ ต่อปากต่อคำ กับผู้บังคับกองร้อยของท่าน 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 28 พ.ค. 10, 09:39
|
|
ขอบคุณ คุณV_Mee ที่เฮโลสาระพา ช่วยกันลากเรื่องนี้
ยังมีตอนที่ท่าน "เฮี๊ยบ" อีกนิดหน่อยค่ะ อ่านแล้วก็ขำ
ดีใจด้วยที่คุณ V_Mee แวะมา เกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ ในเรื่องของเจ้านายเป็นเรื่องที่ต้องเล่าสู่กันฟัง
เพื่อนที่ขายหนังสือมือสองเล่าว่า มีคนมาตามหนังสือเรื่องที่เล่าๆกันนี้อยู่จำนวนหนึ่ง และมีคนรุ่นใหม่สนใจไต่ถาม
คุณจงกลท่านเป็นบุรุษผู้ฝึกตนแล้ว ความไม่แน่นอนของชีวิตขึ้นลงที่ท่านผ่านมา คงทำให้ท่านนึกถึงชีวิตในวัยเด็กที่มีความสุข
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 28 พ.ค. 10, 09:59
|
|
ในหน้าแรกของ คำไว้อาลัย พลตรีหม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล เขียนถึงคุณจงกล ไกรฤกษ์ ไว้ว่า
"มิตรสัมพันธ์ระหว่างเราทั้ง ๒ ได้เริ่มมีมาแต่ พ.ศ. ๒๔๗๐ เวลานั้นคุณจงกลมียศทหารบกเป็นร้อยตรี รับราชการร่วมกันเป็นเวลา ๑ ปี ที่แผนก ๓ กรมยุทธการทหารบก
คุณจงกลได้ศึกษาวิชาในโรงเรียนเสนาธิการ ฯ มาก่อนแล้ว จึงเป็นผู้ที่มีความรู้ในหน้าที่ฝ่ายเสนาธิการ
และด้วยความเอาใจใส่ก็สามารถปฎิบััติการได้สมกับตำแหน่ง
ในรายงานประจำตัวได้คะแนนรวมว่า "ดี" ถึงต้นปี ๒๔๗๑ ได้เลื่อนยศเป็นร้อยโท
ในกาลต่อมาเราทั้ง ๒ ต่างแยกสังกัดกัน ร.ท.จงกล คงเป็นนายทหารประจำการ ฝ่ายผู้เขียนได้ย้ายไปรับราชการกระทรวงต่างประเทศ จนถึง พ.ศ.๒๔๗๕
ภายหลังเวลาที่ผู้เขียนกลับจากต่างประเทศและออกจากราชการแล้ว เราจึงได้พบปะกันอีกเป็นครั้งคราว
ได้สังเกตว่า ร.ท. จงกลเป็นคนเสมอต้นเสมอปลายและมีความรู้ในเหตุการณ์บ้านเมือง ส่อให้เห็นว่าเป็นผู้ที่ได้ยินได้ฟังมาก"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 28 พ.ค. 10, 10:24
|
|
ขอบคุณคุณ CVT ที่แวะมาอ่านค่ะ
อ่านหนังสือเก่า ก็เก็บข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปใช้ในงานที่กำลังศึกษาอยู่ได้เสมอ
ส่วนหนึ่งก็จะนำไปเถียงทะเลาะกับเพื่อนนักอ่าน หักล้างกันด้วยความเพลิดเพลิน
แต่เจริญใจไปได้ไม่นานเพราะเพื่อน ๆ ก็จะรีบไปอ่านหนังสือใกล้เคียงมาอีก ๒-๓ เล่ม
นำข้อมูลใหม่มาทุ่มใส่ วนเวียนไปดั่งนี้ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|