เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 3752 พระธำมรงค์ของพระราชินี บรัดเลเรียบเรียงในบางกอกรีกอเดอ
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


 เมื่อ 23 พ.ค. 10, 09:58

บางกอกรีคอเดอ  เล่มที่ ๒           วันที่ ๒๒   เดือนโนเวมเบอ  ศักราข ๑๘๖๖(พ.ศ. ๒๔๐๙)  หน้า ๒๓๔


บางกอก รีคอเดอ  เล่มแรกออกมาเมื่อ เดือนแปด จ.ศ. ๑๒๐๖  ค.ศ. ๑๘๔๔

จัดทำโดยคณะครูอเมริกันที่อาศัยอยู่หน้าวัดเจ้าคุณพระคลัง  ตีพิมพ์เดือนละ ๑ แผ่น

มีข่าวมาจาก เมืองซิงกะโประ  เมืองจีน   เมืองพม่า  เมืองกลาป๋า   เมืองกาลกัดตา

เมืองลังกา  เมืองบัมเบ   เมืองซุรัด  เมืองอิงลันดา   เมืองฝรั่งเศส   เมืองอเมริกา  แลอีกหลายเมือง

ราคาปีละ ๑ บาท   ถ้าซื้อเป็นแผ่น  ก็แผ่นละเฟื้อง



เมื่อแรกพิมพ์  บรัดเลนำบทความเรื่องแพทย์และวิทยาศาสตร์มาลงไว้  จำนวนขายเล่าว่า ๒๐๐ - ๓๐๐ ฉบับ

รายชื่อสมาชิกมี ประมาณ ๑๐๐ ราย  และจำนวนมากค้างค่าสมาชิก

สำหรับสามัญชนที่อยากอ่าน  บรัดเลลดราคาเหลือ ปีละสลึง  แต่ต้องจ่ายก่อน



ข่าวที่น่าสนใจมีรายการเรือสินค้าเข้าออก    ราคาสินค้าต่างๆ      ข่าวตำรวจ(น่าอ่าน)  และเรื่องสังคมต่าง ๆ

บรัดเลแก้ข่าวบ่อยเหมือนกัน



เรื่องที่สมบูรณ์ที่สุดคือเรื่องฟ้องร้องกับมนเซียโอบาเร   ซึ่งหนังสือพิมพ์ต่อ ๆ มา เข้าใจผิดว่าทำให้บรัดเลต้องเลิกกิจการ

สยามรีพอสิทตอรีของครูสมิท  ลงอธิบายไว้ว่าไม่ใช่   บรัดเลอยากเลิกทำหนังสือพิมพ์มาพักหนึ่งแล้ว

เหตุผลก็คือขายไม่ดี  จำนวนลดลงเรื่อย ๆ  



พงษาวดารอังกฤษนั้น  อ่านเพลินดี  แต่ตอนพระธำมรงค์นี้  ดูราวจะเป็นนวนิยายไปหน่อย

นำมาฝากว่า ฝรั่งสมัยโน้น  ใช้ภาษาไทยอย่างไร  
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 23 พ.ค. 10, 10:41

ท้าวความไปถึงต้นรัชสมัย(บางกอกรีคอเดอ หน้า ๒๑๗)


       ในปีค.ศ. ๑๕๕๘      เมรีพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ  ทรงพระประชวรสิ้นพระชนม์

อยู่ในราชสมบัติ ๖ ปี   พระชนมายุ ๔๓ พรรษา       ราษฏรทั้งปวงไม่มีใครเสียดายเพราะดุร้ายนัก



       ฝ่ายอิีลิซาเบ็ด  พระน้องนางต่างพระชนนีของเมรี  ได้ราชาภิเศกครองราชสมบัติสืบมา

คนทั้งปวงมีความยินดีรักใคร่เป็นอันมาก           พระเจ้าแผ่นดินองค์นี้ถือศาสนาโปรเตสตัน

ทรงจัดการแก้หนังสือสวดให้ถูกต้องตามแบบอย่าง  ที่พระราชบิดาและเอ็ดเวิดพระราชอนุชาได้เปลี่ยนผลัดดัดแปลงไว้นั้น



       ฝ่ายฟิลิปทราบว่าเมรีสวรรคตแล้ว   ก็ส่งราชทูตมากล่าวอิีลิซาเบ็ด    อิีลิซาเบ็ดไม่ยอม  ตรัสว่า 

จะปกครองราชสมบัติอยู่ผู้เดียว     จะไม่ทรงมีพระสวามี



       อีลิซาเบ็ดพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษองค์นี้   ทรงพระปัญญาปรีชาฉลาด

ได้ทำนุบำรุงพระนครให้มั่งคั่งบริบูรณ์กว่าแต่ก่อนมาก           ทรัพย์ในพระคลังที่จับจ่าย

ใช้สอยบกพร่องมาแต่แผ่นดินก่อน ๆ  ก็ได้เพิ่มเติมให้มากขึ้น         และได้ป่าวประกาศ

เก็บเงินที่ปนกับทองแดงเอามาหลอมเรียงไล่ให้หมดมลทิน   เอาแต่เนื้อเงินบริสุทธิ์ทำเงินตราใช้

แลได้ต่อกำปั่นไว้มากลำ   แลได้สร้างเครื่องศาสตราวุธต่าง ๆ           แลดินดำก็ได้จัดแจงไว้สำหรับ

ยุทธ์เป็นอันมาก               ขุนนางที่ปฤกษานั้นก็เลือกตัดจัดเอาที่ดีมีสติปัญญาสัตย์ซื่อมั่นคง




       พระองค์ได้ตระเตรียมการทั้งนี้ไว้  เพื่อป้องกันรักษาพระนคร ทั้งราษฎรให้อยู่เย็นเป็นสุข

การทำนาค้้าขายก็มากขึ้น        ราษฎรทั้งปวงก็พากันสรรเสริญพระปัญญาบารมี

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 23 พ.ค. 10, 14:08


       ฝ่ายเมรีเจ้าหญิงเมืองสกอตแลนด์   ที่ขุนนางส่งหนีเอดเวิดพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ  ไปฝากไว้เมืองฝรั่งเศส

ก็ได้เป็นมเหสีของพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศส             ครั้นพระเจ้าแผ่นดินสิ้นพระชนม์แล้ว      พระนางเมรีก็

เสด็จกลับมาสู่เมืองสกอตแลนด์        ได้ทราบกิตติศัพท์สรรเสริญอีลิซาเบ็ทเจ้าแผ่นดินอังกฤษดั่งนั้น   พระนางจึงรับสั่งกับขุนนางว่า

พระองค์ก็เป็นเชื้อวงษ์ห่างๆของพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ          ถึงกระนั้นก็สมควรได้รับสมบัติในกรุงลอนดอนอยู่

แต่อีลิซาเบ็ดนั้นไม่ควรจะได้ราชสมบัติเลย  เพราะมารดาเป็นคนต้องโทษ

เมรีตรัสประภาษกับขุนนางอยู่เนือง ๆ


   
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 23 พ.ค. 10, 14:44


       ฝ่ายอีลิซาเบ็ดทราบดังนั้นก็เคืองพระทัย     ชังเมรีพระเจ้าแผ่นดินสกอตแลนด์นัก


       ในค.ศ. ๑๕๖๓  อีลิซาเบ็ดประชวรเป็นไข้ทรพิษ        ขุุนนางทั้งปวงเห็นว่าอีลิซาเบ็ดปราศจากพระราชบุตร

พระราชบุตรีที่จะครองสมบัติสืบไป      ถ้าหาพระชนม์ไม่   ก็จะเกิดรบพุ่งช่วงชิงสมบัติกัน   บ้านเมืองก็จะไม่เป็นสุข

จึ่งพากันไปกราบทูลให้พระองค์ทรงจัดแจงผู้ซึ่งจะครองสมบัติไว้ตามธรรมเนียม          อีลิซาเบ็ดก็อิดเอื้อนอยู่ไม่ใคร่จะจัดแจง


       อยู่มาเมรีเจ้าแผ่นดินสกอตแลนด์รับเจ้าองค์หนึ่งมาเป็นภัสดา             อยู่ด้วยกันก็หาเป็นสุขไม่          ได้พระโอรสองค์หนึ่ง

อายุ ๗ เดือน

       เกิดอุบัติเหตุ  วังของลอดดานเลทะลายลง เพราะโดนระเบิดด้วยดินปืน         ลอดดานเลก็สิ้นชีพ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 23 พ.ค. 10, 21:37


       ไม่ช้าเมรีก็รับขุนนางผู้หนึ่งเป็นคนไม่สู้ดีมาเป็นสามี        ขุนนางทั้งปวงขุ่นเคืองคิดกันว่า

ชะรอยขุนนางผู้นี้จะร่วมคิดกับเมรีฆ่าลอดดานเลเสีย           ก็พร้อมใจกันจะถอดเมรีออกจากที่พระเจ้าแผ่นดิน

ก็พาพวกยกเข้าตีสกอตแลนด์           เมรีเห็นจะต่อต้านมิได้ก็หนีไป          พวกขุนนางตามจับได้

ให้ลงพระนามว่า  จะถอดจากพระเจ้าแผ่นดิน     จะให่เยมพระราชโอรสเป็นพระเจ้าแผ่นดินสืบไป     

แลให้ขุนนางผู้หนึ่งชื่อลอดเมอเร  เป็นผู้สำเร็จราชการและเป็นพระพี่เลี้ยงด้วย

ให้ว่าราชการไปจนกว่าเยมที่หกจะเจริญขึ้น           ครั้นจัดการนั้นเสร็จแล้ว   ลอร์ดเมอเรก็จำเมรีขังไว้

ไม่นานเมรีก็หนีไป    ได้กองทัพกลับมาตีหลอดเมอเร         เมรีเสียทัพหนีเข้าไปในแดนอังกฤษ

ให้คนไปกราบทูลพระเจ้าแผ่นดินว่า ขุนนางเป็นกบฎ   หนีมาพึ่งพระบารมี

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 23 พ.ค. 10, 21:58


       ฝ่ายอีลิซาเบ๊ดเห็นได้ทีก็รับไว้        แล้วให้ทหารไปควบคุมรักษาอยู่  ห้ามเฝ้า

จะชำระโทษเมรีที่ฆ่าสามีเสียก่อนจึงจะให้เฝ้า       แล้วให้ขุนนางเมืองสกอตแลนด์มาประชุมกันจะชำระโทษเมรี 

ขุนนางก็ประชุมกันอยู่หลายเดือน   ก็ไม่ได้ความจริงประการใด          อีลิซาเบ๊ดก็ให้ขังเมรีไว้ก่อน

แต่มิได้ควบคุมแน่นหนา   ผู้คนพวกพ้องยังไปมาหาสู่ได้



       อยู่มาหน่อยหนึ่งพวกอังกฤษที่นับถือศาสนาบาดหลวงมากด้วยกัน  ปฤกษาจะถอดเมรีออกจากที่คุมขัง

ให้เป็นพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ      อีลิซาเบ๊ดทราบจึ่งสั่งกำชับให้ขังเมรีไว้แน่นหนา       อย่าให้ใครไปสู่หาพูดจาได้       

ขุนนางทั้งปวงกราบทูลให้ประหารเมรีเสีย   พระองค์ก็มิยอมโดยขุนนาง




       อยู่มาพวกที่คิดจะยกเมรีให้เป็นพระเจ้าแผ่นดินก็แยกออกเป็นสองพวก   พวกหนึ่งจะไปจับอีลิซาเบ๊ดประหารเสีย

พวกหนึ่งจะไปถอดเมรีออกมาเป็นพระเจ้าแผ่นดิน   แล้วเขียนหนังสือตามที่คิดนั้นลอบนำไปให้เมรี   เมรีก็ทราบความ

อีลิซาเบ๊ดทราบทรงเห็นว่า  เมรีเป็น ขบถประทุษร้ายต่อพระองค์จริง   ก็ให้เอาไปสำเร็จโทษเสีย

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 23 พ.ค. 10, 22:41

ขออนุญาตคุยเรื่องหมอบรัดเล

             
                เรื่องราวที่นำมาฝากนี้  ผู้อ่านก็คงทราบกันอยู่โดยทั่วไป

ความตั้งใจของดิฉันก็เพื่อแสดงผลงานด้านภาษาไทยของหมอบรัดเลว่าใช้ถ้อยคำได้มีรส

ในขณะนั้นหมอบรัดเลก็กำลังพิมพ์สามก๊กอยู่ทีละเล่ม  ใช้กระดาษนำเข้าจากฝรั่งเศส

ต่อมาไม่ช้านาน  ครูสมิธก็ได้จัดพิมพ์สามก๊กขึ้นบ้างในโอกาสสำคัญ ๆ 

เป็นการพิมพ์ขึ้นเพื่อเพิ่มเติมจำนวนสามก๊กของหมอบรัดเลที่ขาดลงและยังเป็นที่ต้องการอยู่   

หนังสือชุดสามก๊กครูสมิธนี้เป็นสุดยอดของหนังสือโบราณหายาก     เจ้าสำนักพิมม์บางท่านยังไม่แน่ใจว่ามี         

ครูสมิธนั้นนับถือหมอบรัดเลมาก  ยกย่องอยู่ตลอดเวลา  ใช้ถ้อยคำอันสุภาพอ่อนโยนเป็นพิเศษ     แถมพิมพ์หนังสืองานศพให้ด้วยแจกในงานฝัง

ครูสมิธไม่ใช่ว่าจะมีสตังค์   ถ้าไม่รักนับถือถึงขนาดแล้ว  จะพิมพ์หนังสือเล่มหนาให้กันไปทำไม     

มิได้มีความริษยาแย่งกันพิมพ์หนังสือเลยอย่างที่หนังสือไทยลอกต่อๆกันมาอย่างผิดพลาด



       อ่านบางกอกรีกอเดออยู่  เห็นหมอบรัดเลเล่าเรื่องการรักษาพยาบาลคนไทยโดยมิได้คิดค่ารักษาพยาบาล

เช่นผ่าตัดต้อกระจก  ท่านเล่าแบบหมอปลอบเด็กว่า  ไม่เจ็บมากหรอก    ครู่เดียวก็หาย  มาหาท่านเถิด

รู้สึกประทับใจและสะเทือนใจมาก  ที่เพื่อเผยแพร่ความเชื่อของตน   ได้นำวิทยาการมาช่วยระงับและบรรเทาความ

เจ็บป่วยของเพื่อนร่วมชาติของเรา

เห็นตำราขี้ผึ้งที่ท่านเปิดเผยวิธีทำอย่างง่าย ๆ  ที่ท่านเล่าก็ซึ้งใจว่าท่านทำออกขายอับหนึ่ง ๆ คงได้สตังค์


บุณคุณที่ท่านนำการรักษาพยาบาลของโลกสมัยใหม่เช่นการปลูกผี   การผ่าตัด   ช่วยชีวิตชาวสยามไว้มาก



(อีกประมาณสองกระทู้ก็จะถึงตอนพระธำมรงค์แล้วค่ะ)

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 24 พ.ค. 10, 07:33


       ฝ่ายเยมเจ้าแผ่นดินสกอตแลนด์ซึ่งเป็นพระราชโอรสของเมรีนั้น

ทรงทราบว่าพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษล้างชีวิตพระชนนีเสียดั่งนั้น  ก็กริ้วนัก

จะยกมาทำศึกกับเมืองอังกฤษ        ขุนนางทั้งปวงทูลทัดทานมิให้เป็นปฎิปักษ์ต่อกัน

จึ่งสงบอยู่มิได้ยกมา



       ครั้นค.ศ. ๑๕๘๘  ฟิลิปเจ้าแผ่นดินเสปน  ยกพยุหโยธามาจะทำศึกกับอังกฤษ

แต่ทัพบกทหารห้าหมื่นคน   ทัพเรือนั้นมากนัก        ชาวอังกฤษทราบข่าวว่าจะมีศึกใหญ่มาติดเมือง

ก็สดุ้งตกใจ            อีลิซาเบ็ดทราบดังนั้น  ก็ตระเตรียมทะแกล้วทหารเครื่องศาสตราวุธไว้รับรองป้องกันเข้มแข็งมิได้ย่อท้อ

ฝ่ายทัพเรือมาถึงมาถึง  มิได้รอทัพบก  ยกเข้าตึ       ก็เสียเรือเสียพลเป็นอันมาก

ที่เหลืออยู่ก็ล่ากลับไปเมือง       พวกอังกฤษมีไชยชนะได้กฤติยศ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 24 พ.ค. 10, 07:48


       ครั้นอยู่มามีขุนนางหนึ่งชื่อ เอิลออฟเอเซ็ก           อิลิซาเบ็ด(มิได้ลักลั่น  แต่ตัวพิมพ์ของบรัดเลคงขาด

ท่านเล่นใช้สระ อิ และสระอี สลับกัน) โปรดปรานมาก  จึงพระราชทานพระธำมรงค์ไว้แก่เอิลออฟเอเซ็ก

แล้วตรัสว่า    ถ้าทำผิดพลั้งโทษเป็นอย่างไรแล้ว         ให้ส่งพระธำรงค์นี้มาถวาย   จะโปรดยกความผิดนั้นเสีย

มิได้เอาโทษ


       ตั้งแต่นั้นมา  เอิลออฟเอเซ็กมีใจกำเริบขึ้นมาก      ไม่เกรงกลัวผู้ใด

อิลิซาเบ็ดเห็นเอิลออฟเอเซ็กกระด้างกระเดื่องนัก      ก็ลดศักดินาเสียจะให้อ่อนลง

เอิลออฟเอเซ็กได้ความอัปยศโกรธนัก        กล่าวหยาบช้าต่อพระเจ้าแผ่นดิน

คิดเอาใจออกห่างเป็นเสี้ยนหนาม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 24 พ.ค. 10, 10:18


     อิลิซาเบ็ดสั่งให้จับมาคุมไว้ไต่ถามได้ความว่า  คิดขบถจริง     แต่ยังทรงพระกรุณาโปรดรอไว้จะให้ส่ง

พระธำมรงค์มาถวาย

เป็นหลายวันก็มิได้เห็นเอิลออฟเอเซ็กส่งพระธำมรงค์มาถวาย

จึ่งมีพระราชหัตถเลขาส่งไปให้เจ้าพนักงานไปประหารชีวิตรเสีย
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 24 พ.ค. 10, 10:37


       อยู่มาประมาณอีกสองปี       ภรรยาของขุนนางผู้หนึ่งป่วยหนักใกล้จะสิ้นชีวิต

ให้คนไปทูลเชิญเจ้าแผ่นดินให้เสด็จมาที่อยู่ของตัวเองจะทูลความลับ

อิลิซาเบ็ดก็เสด็จมา        ภรรยาของขุนนางจึงเอาพระธำมรงค์ถวาย  แล้วทูลว่า

เอิลออฟเอเซ็กต้องโทษอยู่นั้น    เนื่องจากเป็นญาติกัน  ได้วานให้ข้าพเจ้านี้นำพระธำมรงค์ไปถวาย

แต่สามีของข้าพเจ้านั้นเกลียดชังเอิลออฟเอเซ็กนัก          ห้ามข้าพเจ้าเสียมิให้ข้าพเจ้าเอาพระธำมรงค์ไปถวาย

ขอพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานโทษเกล้ากระหม่อมฉันในครั้งนี้



   อิลิซาเบ็ดได้ฟัง  ทรงกริ้วนัก   เอาพระหัตถ์จับมือหญิงนั้นฉุดกระชากแล้วตรัสว่า

พระเจ้าจะปรดเจ้าก็ตามทีเถิด   แต่เราไม่โปรด     ว่าแล้วก็เสด็จกลับพระราชวัง

ทอดพระองค์ลงที่พื้นประทมนิ่ง   มิได้สรงเสวย




The ring given by Queen Elizabeth to the Earl of Essex, the many accounts of this ring, the marriage ring of Mary Queen of Scots, and the ring Mary sent to Elizabeth

Let us now turn to the ring that Queen Elizabeth gave to the handsome, brave and open-hearted Devereux, Earl of Essex; and which was probably worn by him, when, on his trial, he was desired to hold up his right hand, and he said that he had, before that time, done it often at her majesty's command for a better purpose. The story of this ring has been discarded by some authors; but we see no reason to doubt it. We take our account from Francis Osborn's Traditional Memoirs on the Reign of Queen Elizabeth. "Upon this," says he, "with a great deal of familiarity, she presented a ring to him, which after she had, by oaths, endued with a power of freeing him from any danger or distress, his future miscarriage, her anger or enemies' malice could cast him into, she gave it him, with a promise that, at the first sight of it, all this and more, if possible, should be granted. After his commitment to the Tower, he sent this jewel to her majesty by the then Countess of Nottingham, whom Sir Robert Cecill kept from delivering it. But the Lady of Nottingham, coming to her death-bed and finding by the daily sorrow the Queen expressed for the loss of Essex, herself a principal agent in his destruction, could not be at rest till she had discovered all and humbly implored mercy from God and forgiveness from her earthly sovereign; who did not only refuse to give it, but having shook her as she lay in bed, sent her, accompanied with most fearful curses, to a higher tribunal." This reads like truth; and what a picture it presents! Mark the fury of such an over-bearing, half-masculine Queen; and, the repentant passiveness of the dying Countess!


อือม์     หมอบรัดเล  เรียบเรียงและย่อความได้เยี่ยม


ไม้ได้ตั้งใจจะไปหาข้อความอะไรเลย      ความใฝ่รู้ตามประสานักอ่านทำให้สงสัยว่าแหวนอะไร  เลยไปหาดู
เจอความแรกก็นำมาโดยพลัน  เพราะตรงกับเรื่องแล้วค่ะ

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 24 พ.ค. 10, 11:12


นำมาจาก สปาร์กโน้ต




When he rose to power, Essex was only 21, while Elizabeth was 54. Despite the age gap, however, their relationship was a romantic one. Over the years, the story of Elizabeth and Essex has been repeated as a tumultuous romance second only to that between Elizabeth and Leicester. When Essex disobeyed her in Ireland, Elizabeth was characteristically upset about the money his delay had wasted: especially with her reserves now dwindling, Elizabeth, always thrifty, wanted Essex to attack immediately, get the invasion over with, and come home, incurring as little cost as possible. Essex, distantly related to the Plantagenet line, the Tudors' traditional opposition-family, hoped to cash in on his obscure claim to royalty with his poorly thought-out rebellion.

An old story states that Elizabeth once gave Essex a ring, saying that if he ever fell into her disfavor, he could send her the ring and receive a pardon. The story claims that he tried to send the ring in his last days, but that his enemies intercepted it, tragically preventing Elizabeth and Essex from reconciliation. Although the story has romantic appeal, there is probably little truth to it: after all, to give Essex the liberty to do whatever he wanted free of consequences was not in keeping with Elizabeth's lifelong caution and paranoia.

At the very end of her life (after 1601) Elizabeth did start to show signs of senility, though of course no one was willing to correct the Queen's mistakes. Some people suggest that her rapid decline before her death was the product of her own will--that she knew she was getting too old to rule effectively any more and thus allowed herself to die. Thus although her old age and declining health had allowed the English people to foresee her death for many months, Elizabeth's passing was nonetheless greeted with a period of great national mourning: the great Queen had ruled England with wisdom and skill for nearly half a century.

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 24 พ.ค. 10, 11:50


     แพทย์ประกอบพระโอสถถวายก็มิได้เสวย        ขุนนางเห็นพระอาการหนักลงก็พากันเข้าไปทูลถามว่า

พระองค์จะทรงพระกรุณาให้พระราชวงษ์เธอพระองค์ใดเป็นพระเจ้าแผ่นดินสืบไป



     อิลิซาเบ็ดทำสำคัญว่าให้เยมเจ้าแผ่นดินสกอตแลนด์เป็นพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ

สวรรคตเมื่อ ค.ศ. ๑๖๐๓

ดำรงราชสมบัติอยุ่  ๕๕ ปี

พระชนมายุ  ๗๐ พรรษา

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 24 พ.ค. 10, 16:09

ชอบประวัติศาสตร์ช่วงนี้มาก แต่ยังไม่เคยเล่าในหน้าต่างโลก   ขอบคุณคุณวันดีที่เอาข้อเขียนของหมอบรัดเลย์มาให้ฟังค่ะ
ขอกำนัลด้วยภาพจากหนังเรื่อง The Private Lives of Elizabeth and Essex (1939)  เทิร์นเนอร์คลาสสิคเอามาฉายแล้วเหมือนกัน
ดารานำคือเบตตี เดวิส  เล่นเป็นควีน  และเออรอล ฟลินน์ เป็นเอิร์ลออฟเอสเซกซฺ


บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 19 คำสั่ง