ยินดีต้อนรับ
ท่านผู้มาเยือน
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
หน้าแรก
ตู้หนังสือ
ค้นหา
ข่าว
: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
เรือนไทย
>
General Category
>
ชมรมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทย
>
ยลความงาม วัดคลองแห อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
หน้า: [
1
]
พิมพ์
อ่าน: 4575
ยลความงาม วัดคลองแห อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
siamart
มัจฉานุ
ตอบ: 70
เมื่อ 21 พ.ค. 10, 19:12
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนครับว่า ผมเจอที่ของผมแล้ว
ผมเป็นคนชอบถ่ายรูป และงานศิลปกรรมตามวัดวาอารามต่างๆ
แต่ผมไม่ค่อยจะเข้าใจมันหรอกครับ ก็พยายามศึกษาเรื่อยๆ
หาคนให้คำปรึกษาไม่มีเลยครับ เพราะผมอยู่ในสังคมที่เรียนวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก ต่อมหาลัยก้อเรียนแพทย์
หันไปทางไหนก็เจอแต่เพื่อนที่เป็นหมอ ไม่มีใครให้คำปรึกษาผมได้สักคน
เมื่อวานนี้ผมลองเอาภาพถ่ายที่ได้ถ่ายไว้นานแล้วมาลง เพราะสงสัยว่ามันเป็นเรื่องอะไร
ไม่น่าเชื่อว่าไม่กี่นาที ผมก็ได้รับคำตอบที่สงสัยมานาน
ผมจึงรู้ว่า ที่นี่แหล่ะจะเป็นที่ของผม
ขอบคุณทุกคนมากครับที่ให้ความรู้
ผมพยายามหาหนังสือมาเปรียบเทียบกับงานที่ถ่าย แต่ก็ไม่กล้าสรุป เพราะความรู้เรื่องพวกนี้ผมมีน้อยมากๆ
คงต้องพึ่งที่แห่งนี้ซะแล้ว
รูปปั้นบนหน้าบันของพระอุโบสถ
มีใครพออธิบายรูปปั้นนี้ได้บ้างครับ
คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamart
มัจฉานุ
ตอบ: 70
ความคิดเห็นที่ 1
เมื่อ 21 พ.ค. 10, 19:20
วัดคลองแหสร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 2260 แต่เดิมเรียกว่า "วัดคลองฆ้องแห่" เนื่องจากในสมัยก่อน มีการแห่ทรัพย์สมบัติมาจากทางไทรบุรี กลันตัน และตรังกานู เพื่อรวบรวมไปบรรจุที่พระบรมสารีริกธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยระหว่างที่แห่สมบัติมีการตีฆ้องที่ดังมาก ซึ่งในตอนนั้นขบวนแห่สมบัติได้มาค้างแรมที่บริเวณวัด โดยระหว่างที่พักค้างแรมอยู่นั้นได้ทราบข่าวว่ามีการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้วถึงเดินทางไปตอนนี้ก็ไม่ทันแล้ว ผู้นำสมบัติมาส่วนใหญ่ซึ่งเป็นเจ้าขุน คุณนาย เจ้าเมือง และเหล่าคนชั้นสูงทั้งหลาย จึงตั้งจิตอธิฐานเอาไว้ว่า "เราจะไม่นำทรัพย์สมบัตินี้กลับไป คือเราจะฝังไว้ตรงนี้เป็นพุทธบูชา" จากนั้นก็จึงจัดแจงฝังทรัพย์สมบัติลงในบริเวณวัด โดยในการฝังทรัพย์สมบัตินี้มีการฆ่าคน เพื่อให้ดวงวิญญาณอยู่เฝ้าสมบัติในบริเวณดังกล่าวด้วย พื้นที่ๆมีการฝังทรัพย์สมบัติอยู่ มีลักษณะเป็นกองดินสูงขึ้นมา ชาวบ้านมักเรียกว่า "โคกนกคุ่ม" ต่อมาจึงเรียกคลองซึ่งห้อมล้อมบริเวณดังกล่าวว่า "คลองฆ้องแห่"
รูปปั้นอีกอัน อยู่คนละด้านบนหน้าบัน
บันทึกการเข้า
siamart
มัจฉานุ
ตอบ: 70
ความคิดเห็นที่ 2
เมื่อ 21 พ.ค. 10, 19:23
ลายบนหน้าบัน
นี่คือพระอินทร์หรือไม่ ช่วยตอบด้วย
เราจะสังเกตุอย่างไรครับว่า จิตรกรรมนั้นๆเป็นพระอินทร์ ดูที่อะไร
บันทึกการเข้า
siamart
มัจฉานุ
ตอบ: 70
ความคิดเห็นที่ 3
เมื่อ 21 พ.ค. 10, 19:25
ผมทราบว่าพระอินทร์จะทรงช้าง
แต่นี่เหมือนพระพรหม แล้วพระพรหมทรงช้างด้วยหรอครับ
บันทึกการเข้า
siamart
มัจฉานุ
ตอบ: 70
ความคิดเห็นที่ 4
เมื่อ 21 พ.ค. 10, 19:27
ผมอยากจะเขียนหนังสือไว้อ่านเอง
ถ้าเป็นภาพนี้ ผมควรเขียนว่าอย่างไรครับ
บันทึกการเข้า
siamart
มัจฉานุ
ตอบ: 70
ความคิดเห็นที่ 5
เมื่อ 21 พ.ค. 10, 19:29
ยักษ์แบบนี้เราจะพอบอกชื่อได้มั๊ยครับ
หรือเป็นงานพื้นบ้าน คนทำคงไม่ทำยักษ์ในรามเกียรติ์ แค่ปั้นให้เป็นยักษ์เฉยๆ
บันทึกการเข้า
siamart
มัจฉานุ
ตอบ: 70
ความคิดเห็นที่ 6
เมื่อ 21 พ.ค. 10, 19:32
ดูภาพนี้แล้ว
พอจะบอกได้มั๊ยครับว่าสร้างในสมัยใด
และจะสังเกตจากอะไรที่จะบอกสมัยของสถาปัตยกรรม
บันทึกการเข้า
siamart
มัจฉานุ
ตอบ: 70
ความคิดเห็นที่ 7
เมื่อ 21 พ.ค. 10, 19:34
ช่วยหน่อยนะครับ
เพราะผมไม่รู้จะไปพึ่งใคร ที่ไหนแล้วจริงๆ
อาจถามมากหน่อย เพราะโง่เรื่องพวกนี้จริงๆ
ยังไงก็คิดว่าผมเป็นศิษย์คนนึงนะคับ ช่วยให้ความรู้หน่อย
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
ตอบ: 1256
ความคิดเห็นที่ 8
เมื่อ 21 พ.ค. 10, 22:59
ในฐานะหัวหน้าชมรมฯขอตอบเชิงแนะนำคุณsiamartนะครับว่า การจะเรียนรู้ศิลปะไทยนั้น เราน่าจะเริ่มศึกษาจากประวัติศาสตร์ศิลปะนั้นเป็นอันดับแรก เพื่อสร้างความคุ้นเคยในยุคสมัยของตัวศิลปะนั้นๆ เมื่อพบเห็นของจริงจะได้ใช้ทักษะที่เรียนรู้จากหนังสือตำรับตำราเหล่านั้นมาเปรียบเทียบแล้วพยายามไปดูให้เห็นของจริงที่มีประวัติความเป็นมาชัดเจน ดูให้บ่อยสัง้เกตและจดจำจุดเด่นของศิลปะในยุคสมัยนั้นๆจักได้เป็นภูมิให้เข้าใจได้เมื่อได้เห็นสิ่งที่เหมือนหรือใกล้เคียงกันในภายหลัง ซึ่งคงต้องใช้เวลาไปเรื่อยๆไม่จบสิ้นหรอกครับ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
ตอบ: 1256
ความคิดเห็นที่ 9
เมื่อ 21 พ.ค. 10, 23:53
ขออธิบายตามที่สอบถามมาจากภาพดังนี้ครับ
ภาพที่1 น่าจะเป็นรูปปั้นชนพื้นเมืองทางปักษ์ใต้คือพวกเงาะป่าซาไกดูจากผมทีหยิกหยอย แต่ที่น่าสังเกตที่เอวจะเหน็บอาวุธประเภทกริชซึ่งเป็นอาวุธของชามาลายูทางปักษ์ใต้เข้ากับตำนานของวัด
ภาพที่2 เป็นชายหัวล้าน น่าจะเป็นรูปคหบดีเจ้าขุนมูลนายตามประวัติวัติที่หอบสมบัติมาทิ้งไว้ที่วัดนี้ ช่างจึงได้ทำรูปเป็นสัญญลักษณ์ไว้ป็นที่ระลึกถึง
ภาพที่3 เป็นรูปเทวดาถือพระขรรค์ทรงคชสีห์มีเทพเหาะมาขนาบข้างขวา-ซ้าย จะเหมาเอาว่าเป็นพระอินทร์ก็ผิดทั้งพาหนะทรง สีกายและอาวุธประจำกาย ช่างน่าจะทำตามความเข้าใจของตนมากกว่าจะเอาตามคตินิยม
ภาพที่4 หน้าบันอีกด้าน เป็นเทวดาเหาะ2องค์ถือพานแว่นฟ้ารองรับพระเศียรพรหม(น่าจะเป็นท้าวกบิลพรหม ในตำนานสงกรานต์)แต่ไหงมีช้างเอราวัณอยู่ด้านล่าง ก็คงเป็นสัญญลักษณ์แทนพระอินทร์ซึ่งตามศักดิ์เป็นเทพต่ำชั้นกว่าพรหมแล้วช่างก็ทำขึ้นจากความเข้าใจของช่างเองเป็นที่ตั้ง
ภาพที่5 ภาพเทวดายืนท้าวสเอว มองไม่ชัดว่าส่วนไหน ช่างคงทำขึ้นในลักษณะส่วนประกอบตกแต่งสถาปัตยกรรมเท่านั้น
ภาพที่6 ยักษ์ตนนี้ น่าจะเป็นท้าวเวสสุวรรณ(เจ้าแห่งยักษ์ รากษส ภูติ ผี ปีศาจ)และเป็นสัญญลักษณืแห่งโชคลาภด้วย วัดสมัยนี้หลายๆวัดก็มักจะปั้นไว้เป็นที่กราบไหว้ของคนเชื่อโชคลางตามคตินิยม
ภาพที่7-8 พระอุโบสถ ตามประวัตืว่าสร้างพ.ศ.2493ต้นรัชกาลที่9นีเองครับ ถือว่าเป็นของใหม่ครับแต่ที่น่าสนใจว่าตัวสถาปัตย์ได้อิทธิพลจากมุสลิมที่ทำ ช่องอาร์คโค้งเหมือนอาคารสุเหร่าหลายๆที่(แต่หลังคายังคงแบบไทยไว้เปนการผสมผสานรูปแบบสถาปัตยกรรมของช่างท้องถิ่นที่เกิดได้ในทุกๆที่ทั่วไทย
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
ตอบ: 1303
ความคิดเห็นที่ 10
เมื่อ 22 พ.ค. 10, 19:30
มีแห่เศียรกบิลพรหมด้วย น่ารักจังครับ มีเสืออยู่ข้างล่างด้วย จะสร้างสงกรานต์ปีเสือหรือเปล่าครับ
รูปเงาะซาไกแปลกตาดี แต่ทาสีแดง เหมือนหน้าพรานในการเล่นโนราเลย
บันทึกการเข้า
ฉันรักบางกอก
พาลี
ตอบ: 334
ความคิดเห็นที่ 11
เมื่อ 23 พ.ค. 10, 23:34
เข้ามาสวัสดีคะ ฉันรักบางกอกก็เข้ามาหาความรู้เหมือนกัน แหะๆๆ
บันทึกการเข้า
กนก นารี กระบี่ คชะ
Agonath
อสุรผัด
ตอบ: 32
ความคิดเห็นที่ 12
เมื่อ 24 พ.ค. 10, 00:01
ขอบคุณเจ้าของกระทู้ครับ นำภาพสวยๆมาให้ชมกัน ชอบคุณพี่ยีนคับสำหรับความรู้
บันทึกการเข้า
หน้า: [
1
]
พิมพ์
กระโดดไป:
เลือกกระทู้:
-----------------------------
General Category
-----------------------------
=> ศิลปะวัฒนธรรม
=> ภาษาวรรณคดี
=> ระเบียงกวี
=> ชั้นเรียนวรรณกรรม
=> หน้าต่างโลก
=> ประวัติศาสตร์โลก
=> ประวัติศาสตร์ไทย
=> ทันกระแส
=> วิเสทนิยม
=> ห้องหนังสือ
=> ชมรมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทย
Powered by SMF 1.1.21
|
SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder
XHTML
|
CSS
|
Aero79
design by
Bloc
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.036 วินาที กับ 19 คำสั่ง
Loading...