เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 29944 นามแฝงของใคร?
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 24 พ.ค. 10, 13:26

ได้อีก ๒ คน ค่ะ
ขุนอารี   =  ม.ล.ต้อย ชุมสาย
นภาพร   =  วิลาศ มณีวัต
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 24 พ.ค. 10, 14:04

ฉางกาย เคยเห็นเป็นคอลัมนิสท์หนังสือพิมพ์ กูเกิ้ลว่าเป็น วิลาศ มณีวัต

เจดีย์ กลางแดด - อิศรา อมันตกุล

ขวัญนรา - จิตร ภูมิศักดิ์

แค ราชคราม - เฉลิมศักดิ์ รงคผลิน

จิงโจ้ - ที่รู้จักเป็นนักวาดการ์ตูนสมัยยังเด็ก วาดการ์ตูนเรื่องของฝรั่ง เช่น ทาร์ซาน
           เป็นนามแฝงของ เสถียร หาญคุณตุละ ครับ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 24 พ.ค. 10, 14:17

ทุ่นดำ  จากกระทู้เก่า เรือนไทย - เจ้านายทรงกรม

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1845.40;wap2

      หลังเกิดเรื่องของบุคคลผู้ใช้นามปากกา "ทุ่นดำ" ที่โต้แย้งพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
อย่างแรงในหน้าหนังสือพิมพ์
       จากนั้น ก็ปรากฏนาม พระยาวินัยสุนทร อยู่ในรายนามผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
ชั้น ทุติยจุลจอมเกล้า เป็นที่ตะลึงพรึงเพริดของข้าราชการสมัยนั้นมากว่าเป็นไปได้อย่างไร แสดงให้เห็นน้ำพระราชหฤทัย
นักกีฬาของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ว่าสูงส่งนัก
       ขณะทรงคล้องตรา ท.จ. พระราชทาน ได้มีพระราชดำรัสว่า

       "วิม นี่แสดงว่าข้ามิได้ผูกโกรธหรือพยาบาทเจ้าในการที่เจ้าเขียนหนังสือเล่นงานข้าแต่ถือว่าเจ้าได้ช่วยข้า
แสดงความคิดเห็นในการปกครองบ้านเมือง ข้าขอขอบใจ"

       สงสัย คุรุโวปกรณ์ ครับ

        คำสนธิของ  คุรุ + อุปกรณ์ > คุรูปกรณ์ คุโรปกรณ์

       และ จากหลัก อุ อู เปลี่ยนเป็น โอ และ ว ทำให้อาจออกมาเป็น คุโวปกรณ์
ไม่น่าเป็น คุรุโวปกรณ์  หรือว่า คุรุโวปกรณ์ เป็นอภิสิทธิ์ของนักประพันธ์
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 24 พ.ค. 10, 15:11

       สงสัย คุรุโวปกรณ์ ครับ

        คำสนธิของ  คุรุ + อุปกรณ์ > คุรูปกรณ์ คุโรปกรณ์

       และ จากหลัก อุ อู เปลี่ยนเป็น โอ และ ว ทำให้อาจออกมาเป็น คุโวปกรณ์
ไม่น่าเป็น คุรุโวปกรณ์  หรือว่า คุรุโวปกรณ์ เป็นอภิสิทธิ์ของนักประพันธ์

ในหลักไวยากรณ์บาลี  มีการสนธิบางประการที่ต่างจากหลักการสนธิอาเทสปกติ  คือ นอกจากจะแปลง สระ เป็น พยัญชนะอัฑฒสระ  แล้ว ก็ยังสระเดิมไว้ด้วย   มีตัวอย่าง  เช่น  กวี + อนุโลม  เป็น  กวียานุโลม   รัตติ  +  อากร   เป็น   รัตติยากร/รัติยากร  เป็นต้น   ถ้าเป็นนัยนี้  คุรุโวปกรณ์ก็ไม่น่าผิด  เพียงแต่เป็นการสนธิที่ไม่ปกติเท่านั้น
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 24 พ.ค. 10, 18:07

อุบอิ๊บมาบอกนามปากกาของ มาลัย  ชูพินิจ  ค่ะ

ม.ชูพินิจ
แม่อนงค์
เรียมเอง
น้อย  อินทนนท์
นายฉันทนา
อินทนนท์  น้อย
นายดอกไม้
เรไร
ลดารักษ์
สมิงกะหร่อง
บัตลิ่งกรอบ
อาลาดิน
อุมา
ผุสดี
แตน
หนอนหนังสือ

ยังไม่ครบดีค่ะ

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 24 พ.ค. 10, 22:38


           ...คุณเอาอะไรมาคิดว่าความรักมีแต่ในเมือง         ส่วนในป่านั้นมีแต่ความติดเนื้อต้องใจ
และความใคร่อย่างเดียรัจฉาน  เปล่า       สิ่งที่คนเมืองเรียกว่ารักต่างหากเป็นความใคร่
ว่วนในป่าน่ะ  รักจริง...

(ล่องไพร,   นวนิยาย)
น้อย  อินทนนท์



     "ทุกอย่างแหละพี่ทิดที่ชีวิตจะมีให้     แต่ไม่ใช่อย่างที่เรา  จันทากับข้าผ่านมาแล้ว
บางคราวอดไม่มีอะไรจะกิน         แม้แต่กลอยหรือกบเขียดเป็นเวลาหลาย ๆ วัน
บางคราวเราเป็นไข้     นอยซมอยู่ด้วยกัน    โดยไม่มีใครรู้  ไม่มีใครเหลียวแล  จนกระทั่งหายไปเอง
ทุกสิ่งทุกอย่างแหละที่ชีวิตนี้จะมีให้          นอกจากชีวิตของคนเดนต่ยเท่านั้น...."

(ตาลยอดด้วน,   เรื่องสั้น)



กฎเกณฑ์และระเบียบแบบแผนของสังคม  ก็ทำนองเดียวกับกฎหมาย        มิได้หมายความว่าจะดีหรือถูกต้องเสมอไป
มิฉะนั้นเราคงจะไม่มีการสังคายนา   ไม่มีการแก้ไข  ปรับปรุง  เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับส่วนใหญ่
ข้าพเจ้าอาจจะเก่าเกินไป      แต่ศรัทธาอย่างเดียวในการครองชีวิต  คือศรัทธาตามพุทธวินัย  และพระธรรมคำสั่งสอนของพระผู้รู้แจ้งเห็นจริง
ศรัทธาในการศึกษาตัวเอง   รู้จักตนเองก่อนจะรู้จักผู้อื่น  และรู้จักคนอื่นต่อไป

(ป.ล.,   บทความ         ม.ชูพินิจ)


แบตตลิ่งกรอบเขียนเรื่องนักมวยค่ะ


สหายผู้ใดหนอหัวร่อเอ๊ิกอ๊ากใส่ดิฉันว่า  มาลัยชูพินิจมี ๓๙ นามปากกา   

ถอดมาจาก  มาลัยในปฐพี  หนังสืออนุสรณ์
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 25 พ.ค. 10, 05:45

คอยุโรป              พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 25 พ.ค. 10, 08:45

กาพย์ยานีที่นายผีแต่งถึงประวัติต้นสกุล พลจันทร์ มาลงให้อ่าน

ขุดเหล็กที่กลางเขา     มาเคี่ยวเข้าจนเป็นยาง
ซัดยาอยู่คว้างคว้าง      ก็เอาขึ้นประโคมตี

เป็นดาบอันคมเขียว      แลเนื้อเหนียวกระเด็นดี
ชุบอาบจนปลาบปรี       ดิเพราะได้ดุจดังใจ

เอาไม้ตะเคียนมา          ให้เป็นด้ามก็ดูไกร
ผมพรายประจุไป           ก็ประสาทแก่ศิษย์หา

นายจันทรจึงเอาใย         แมลงมุมนั้นโยนมา
หงายคมจะให้คา           ก็กลับขาดไปกลางคม

คืนแรมสิบสี่ค่ำ              แลมืดทั่วบุรีรมย์
ควงวงเป็นกงกลม           ก็สว่างดั่งกลางวัน

ชักออกมาทีไร               เป็นได้เลือดอยู่ครามครัน
สมใจพนายจันทร           ก็ลาจากอาจารย์มา

แสนพลพะม่าพัง             กะทั่งกาญจนบุรีรา
ชาแสร้งให้อาสา             ก็สำเร็จประสงค์สม

ตีพลพะม่าแตก               เตลิดแล่นไปเพียงลม
คืนเข้ามาบังคม               ก็บำเหน็จให้หนักหนา

ให้เป็นพระยาพล             แลคุมพลโยธา
ให้รั้งอยู่รักษา                  สำหรับกาญจนบุรีเรือง


-----------------------------------------------------------------

กาพย์ชิ้นนี้อยู่ในหนังสือชื่อ "ความเปลี่ยนแปลง" ของนายผี
เขียนขึ้นเพื่อบอกเล่าถึงความเป็นมาของตระกูล "พลจันทร์"

นามสกุล "พลจันทร" (ไม่มีทัณฑฆาต) เป็นนามสกุลพระราชทาน

พลจันทร   Balachandra    ขุนวิเศษธานี (แจ่ม)  กรมการที่ปฤกษา  เมืองราชบุรี  นายร้อยโทสาย  ประจำกรมบัญชาการกองทัพที่ ๓  กับนายร้อยตรีหรุ่น  ประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๔  ทั้ง ๓ คนสืบสกุลจากพระยาพลสงคราม (จันทร์)  

http://www.amed.go.th/aboutus/palace/sur_order.htm
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 25 พ.ค. 10, 08:55

จำได้ว่าจิรนันท์ พิตรปรีชา เมื่อเข้าป่า  เธอไปเจอนายผี   เขาเรียกเธอว่า "ไซเรน" หมายถึงนางพรายแสนสวยในตำนานกรีก
คนที่หัวใจเป็นวรรณศิลป์ จะเป็นนักสู้หรือนักอะไรก็ตาม   ก็ยังเป็นกวีอยู่นั่นเอง

สหายไฟเรียกสหายใบไม้ว่า "ไซเรน" สหายใบไม้ก็แก้ลำบ้างโดยเรียกสหายไฟว่า "เมอร์ลิน" อันหมายถึงผู้เฒ่าที่รอบรู้ มีอิทธิฤทธิ์ น่ารัก และน่าฉงน (คำจำกัดความนี้โดยสหายใบไม้เอง)

หยอกล้อกันไปมาประสาลุงกับหลาน

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 25 พ.ค. 10, 11:42

เป็นอันว่าตอนนี้มีนามแฝงที่มีผู้เฉลยแล้วดังนี้

1.  ก.ก.ก.
2.  กระเรียนทอง
3.  กรัศนัย  โปรชาติ
4.  กอ   ไกริฏ
5.  กำแหง   เดชา
6.  กุล   ภูมิสุวัณณ์
7.  กุลิศ   อินทุศักดิ์
8.  กุหลาบ  รถกิจ
9.  เกลียว   เสร็จกิจ
10. แก้วแกลบ
11. แก้วฟ้า
12. ไก่เขียว
13. ขวัญนรา
14. ขุนอารี
15. คนครึ
16. คนป่า
17. คอยุโรป
18. คำนึง
19. คุรุโวปกรณ์
20. แค  โพธาราม
21. แค  ราชคราม
22. จ.ย.ส.
23. จอหงวน
24. จันทรังษี
25. จิงโจ้
26. จิตรลดา
27.  จี๊ด  ท่าพระจันทร์
28.  เจดีย์  กลางแดด
29.  เจ้าเงอะ  (ไม่ใช่เจ้าเงาะ)
30.  เจ้าจำปี
31.  เจ้าหญิงจันทิมา
32.  ฉางกาย
33.  ฉุยฉาย
34.  ช. ช้าง
35.  ช.พ.บ.
36.  ชุติเทพ
37.  ฐิติมา
38.  ดอกปทุม
39.  ทรงกลด  กลางหาว
40.  ทองคำเปลว
41.  ทองเบิ้ม  บ้านด่าน
42.  ทักษ์  เวสรัตน์
43.  ทุ่นดำ
44.  ธ.ม.ก.
45.  นกขุนทอง
46.  นคร   สุรพันธ์
47.  นภาพร
48.  นลินินทร
49.  นักเรียนเก่า
50.  นายไข่ขาว

ยังเหลืออีกเยอะเหมือนกัน   ช่วยมาตอบกันสเล็กสน้อยนะครับ   ได้ความรู้ ดีนักแล ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 25 พ.ค. 10, 12:34

ไปหามาให้อีก
นคร สุรพันธ์      =     กัณหา เคียงศิริ   หรือ ก.สุรางคนางค์    ใช้นามแฝงนี้เขียนบทความ
เกลียว เสร็จกิจ   =     คุณหลวงเล็กไปหามาจากไหน  ขยิบตา ไม่ใช่นักเขียนนี่คะ   
                               เป็นชื่อจริงของขวัญจิตร    ศรีประจันต์
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 25 พ.ค. 10, 14:14


เกลียว เสร็จกิจ   =     คุณหลวงเล็กไปหามาจากไหน  ขยิบตา ไม่ใช่นักเขียนนี่คะ  
                               เป็นชื่อจริงของขวัญจิตร    ศรีประจันต์

ถูกครับ   แต่เราโดยมากรู้จักคุณขวัญจิตรจากชื่อในการแสดง   คุณขวัญจิตรอาจไม่ใช่นักเขียนบทความ เรื่องสั้น นวนิยาย  แต่ก็เป็นคนแต่งเพลงพื้นบ้าน   ซึ่งก็นับอยู่ในการประพันธ์ด้วยเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 26 พ.ค. 10, 23:30

คนป่า                    หลวงสารานุประพันธุ์
จันทรังษี                     "            "


จอหงวน                  ลาวัณย์   โชตามระ
ชุติเทพ                       "           "


     มีสวนหนังสืออยู่ไม่กี่เล่มค่ะ     เดี๋ยวจะไปยกลังมาก่อนถึงจะพอมั่นใจได้

เป็นนามปากกาที่ไม่เห็นกันบ่อยนัก
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 27 พ.ค. 10, 06:21

ลาวัณย์  โชตามระ   เกิดเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๔๖๓  ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๓๖  

บิดาคือ รองอำมาตย์โท ขุนวิศิษฐเบียรการ(ลำภู  โชตามระ) และหม่อมหลวงผัน  ปาลกะวงศ์

สมรสกับ  ไพศาล  ลิปตะสุนทร  มีบุตรธิดา ๒ คน

ขุนวิศิษฐเบียรการ เป็นนักสะสมหนังสือเก่าผู้ยิ่งยง   ได้เล่าประวัติของหนังสือเก่าบางเล่ม
ให้ธิดาฟัง  ที่วงการนักเล่นหนังสือสมัยรัชกาลที่ ๕   ถือว่า "เต้ย"  
ความรู้เหล่านี้ใช้นำทางนักอยากอ่านได้  และใช้เป็นหลักฐานว่ามีหนังสือชุดนั้น ๆ จริง

และถ่ายทอดมารยาทในวงการนักสะสมว่าจะแลกกันดูอย่างไร  และสมบัติมหาศาลที่ท่านทิ้งไว้เป็นหนังสือนับหมื่นเล่ม


ลาวัณย์เล่าเรื่องน่ารู้สมัยโบราณไว้อย่างน่าอ่าน     ประวัติขุนนางเก่าแก่ก็มีเยอะ  บางทีลาวัณย์ก็ประหลาดใจว่า
ทำไมนักเขียนบางคน จับแพะชนแกะ ได้ลงคอ



ประวัติของคุณลาวัณย์หาอ่านได้ไม่ยาก        แต่ผู้ที่ตามอ่านหนังสือของเธอจะขำมากเพราะคุณแสน ธรรมยศได้คิดจะจีบเธอ

เพื่อนนักอ่านของดิฉันคนหนึ่งเคยกระทบกระแทกดิฉันว่า  คุณลาวัณย์ของคุณใจร้ายกับครูของผมมาก   ดิฉันตอบว่าก็ครู
ของคุณซึ่งคุณลาวัณย์เรียกว่า น้า  บุกไปหาเธอที่มหาวิทยาลัยทำไม  เธออายุน้อยมากเพราะเรียนเร็ว  ไม่รู้เรื่องด้วยซักหน่อย
เรื่องการฟาดฟันหรือรับไม้กระบองในเรื่องนักประพันธ์ที่เรารักบูชา    เป็นเรื่องการทดสอบฝีมือนักอ่าน  อิอิ....

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 27 พ.ค. 10, 06:57

พันเอกหลวงสารานุประพันธ์  เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๔ สิงหาคม  ๒๔๓๙
บิดามารดา        นายนูนและนางเกิด  ปาจิณพยัคฆ์

นักแปลส่วนมากก็อ่าน ความลึกลับในทุ่งร้างแบ็สเกอร์วิลส์ กัน   

เรื่องราวการรับราชการของท่าน ตอนเป็นบรรณาธิการ "เสนาศึกษา" นั้นสมควรที่ผู้ผจญพงหนามควรอ่านไว้ปลอบใจตนเอง
หยุดเขียนหนังสือยังโดนสั่งขัง และบานปลายถูกปลดจากราชการ


กว่าที่จะได้อ่านแพรดำนั้นก็ไม่กี่ปีมานี่เอง

นามปากกามี  นกขุนทอง  แสงตะวัน  นายนวลและแม่สะอาด(บางทีก็ใช้นายนวล  บางครั้งก็ใช้แม่สอาด)

อ่านมาจาก "เล่าเรื่องนักเขียนในอดีต" ของ คุณ ส. พลายน้อย  ของ สำนักพิมพ์ ฅอหนังสือ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.073 วินาที กับ 20 คำสั่ง