เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 29957 นามแฝงของใคร?
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 27 พ.ค. 10, 11:09

ไปหาข้อมูลมาตอบครับ

ช.ช้าง   เป็นนามแฝงของนายโชติ  แพร่พันธุ์  หรือที่รู้จักกันดีว่า  ยาขอบ

ข้อมูลเกี่ยวกับนามแฝง "ช.ช้าง" ของยาขอบ  ปรากฏในสวนหนังสือ เล่ม ๓
ความว่า

ยาขอบใช้นามแฝงว่า ช.ช้าง  เฉพาะในการเขียนบทความเท่านั้น  และใช้อยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง
โดยยาขอบใช้นามแฝงนี้ครั้งแรกในนิตยสาร  "เสนาสาร" รายสัปดาห์

นิตยสาร " เสนาสาร" เป็นนิตยสารของทหาร  กองทัพบกเป็นเจ้าของ   พันเอก หม่อมเจ้าคัสตาวัส  จักรพันธุ์  ทรงเป็นที่ปรึกษา   พันโท ชาย   ไชยกาล  เป็นผู้อำนวยการและบรรณาธิการ   ร้อยเอก ชายน้อย   โกมารกุล  ณ  นคร  เป็นผู้จัดการ     นิตยสารเสนาสารฉบับหนึ่งหนา  ๓๖  หน้า  ราคาฉบับละ  ๑ บาท ๗๕  สตางค์  ฉบับปฐมฤกษ์ออกเมื่อวันที่   ๔  มิถุนายน  ๒๔๙๔   เนื้อหาที่นำเสนอ คือ ข่าวสารด้านการทหาร   และเรื่องสั้นกับนวนิยายของผู้แต่งที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น

คณะผู้จัดทำนิตยสาร "เสนาสาร"  คงได้เชิญยาขอบให้ช่วยเขียนบทความลงประจำฉบับ  โดยยาขอบได้เขียนบทความโดยใช้นามแฝงว่า ช.ช้าง ตั้งแต่ฉบับที่ ๑ ถึงฉบับที่ ๒๐  ต่อจากนั้น เสนาสารมีการปรับปรุงใหม่  และไม่ได้ปรากฏบทความของช.ช้างอีกเลย    ซึ่งไม่สามารถเหตุผลที่หายไปได้  บทความที่ยาขอบเขียนให้เสนาสาร คือ บทความ "ดูหนังดูละคร" อันเป็นบทความที่วิจารณ์ละครหรือหนังภาพยนตร์ที่กำลังแสดงหรือฉายกันอยู่ในช่วงนั้น

ก่อนหน้านี้  ยาขอบเคยใช้นามแฝง ช.ช้าง  ในการเขียนข้อความขำขันสั้นๆ ลงในหนังสือพิมพ์อยู่บ้าง เช่น สยามนิกร เป็นต้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 27 พ.ค. 10, 13:22

อ้างถึง
เรื่องราวการรับราชการของท่าน ตอนเป็นบรรณาธิการ "เสนาศึกษา" นั้นสมควรที่ผู้ผจญพงหนามควรอ่านไว้ปลอบใจตนเอง
หยุดเขียนหนังสือยังโดนสั่งขัง และบานปลายถูกปลดจากราชการ
อยากฟังคุณวันดีเล่าต่อ ค่ะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 27 พ.ค. 10, 15:14

(อ้่างอิงเดิม)


คุณหลวงเป็นคนเรียนหนังสือเร็ว เพราะบิดามารดาเป็นเจ้าของและครูใหญ่โรงเรียนราษฎร์ "บำรุงวิทยา"
ท่านสอบได้คิงสกอลล่าชิปได้ที่ ๑ ในปี ๒๔๕๓  แต่สละสิทธิ
ออกเป็นครู ป.ป ที่โรงเรียนสวนกุหลาบในปี ๒๔๕๔ เมื่อท่านอายุ ๑๕​ปีกับ ๔ วัน
สอบวิชาครูป.ม.ในปี ๒๔๕๖

ในปี ๒๔๕๙  กระทรวงกลาโหมขอโอนมาเป็นครูวิชาภาษาไทยและภาษาอังกฤษในโรงเรียนนายร้อยทหารบก

ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เมื่อ ๒๔๖๔



เริ่มงานแปลเร็วมากเลยค่ะ

หลวงนัยวิจารณ์(เปล่ง  ดิษยบุตร) ได้ช่วยเหลือแนะนำในการแปลหนังสือชุดเชอร์ล็อกโฮลมส์
เพราะหลวงนัยวิจารณ์แปล นักสืบรอยที่สอง   The Adventure of the second stain  ในหนังสือผดุงวิทยาอยู่ก่อน

นายนวลก็เลยแปลส่งพิมพ์ไทย

แล้วแปลตับเมมมัวร์  แอดเวนเจอร์  กับหุบเขาแห่งภัย    คุณหลวงนัยวิจารณ์ก็เป็นผู้ตรวจและเกลาสำนวน

นายนวลนับถือและยกย่องคุณหลวงนัยวิจารณ์ตลอดมา  

(ดิฉันมีงานหายากของศรีสุวรรณอยู่ ๑ เรื่อง  พิมพ์ในศรีกรุง  สภาพของเล่ม  จัดอยู่ใน ระดับ "ทิ้งเถอะน่า")



     ในปี ๒๔๕๘   หนังสือเสนาศึกษาออก    ความประสงค์ ๒ ข้อคือ

๑.   เพื่อเพาะนักเรียนทหารบกให้ติดหนังสือ

๒.  เพื่อผู้ที่เคยศึกษาไปจากสำนักนี้  จะได้ทราบความเป็นไปในสำนักที่ตนได้รับความรู้วิชาการ



นายนวลเป็นครูโรงเรียนนายร้อยชั้นปฐม ถนนราชดำเนินนอก   สอนวรรณคดี  ตอนนั้นเรียกวรรณวิจิตร
พระสารสาสน์พลขันธ์เพิ่มตำแหน่ง ผู้ช่วยบรรณาธิการ ให้   ๓ เดือนต่อมาก็ปฎิบัติงานในหน้าที่บรรณาธิการ
เช่นรวมเรื่อง   ตรวจเรื่อง  ตรวจฉบับพิสูจน์    

ตลอดจนเขียนเรื่องลงให้เต็มเล่มแต่ละฉบับทุกเดือน

๒๔๖๔  ได้เลื่อนเป็นบรรณาธิการ

ไปขอเรื่องคนอื่นก็ลำบาก  บรรณาธิการเลยเขียนเรื่องนอนรังไว้  โดยแปล ราสปูตินทูตแห่งกาลี  
เริ่มลงใน พ.ศ. ๒๔๖๓ (บัดนี้เป็น ๒๔๖๔) แถมเชอร์ล็อกโฮลมส์ให้เป็นคราว ๆ


     แต่ก่อนจะมาเป็นสมาชิกเรือนไทย  ดิฉันงงกับคำว่าแผ่วิทยาศาสตร์  เพราะไม่เคยเห็นต้นฉบับ
มีมิตรอุปการะ  ได้เห็นอยู่ตั้งสูงประมาณ ๑ ศอก   จึงเห็นว่า แผ่วิทยาศาสตร์ เติมเข้ามาในเล่ม ๕  
ตอนที่เท่าไรไม่ได้จดไว้ค่ะ    เพราะมัวทนุถนอมกระดาษกรอบเกรียบ

อ่านผลงานสามเรื่องของนายนวลในเล่มนี้ มี ราสปูติน  ชวนหวัว  ผจญภัยเชียงใหม่  และปทานุกรมสังเขป

เรื่องผจญภัยเชียงใหม่นั้นได้ก่อเรื่องยุ่งยากเล็กน้อยเพราะไปพาดพิงถึงรถไฟเข้า




บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 27 พ.ค. 10, 15:25



ต่อมานายนวลเขียนเรื่องแพรดำขึ้น  แต่งเองโดยไม่ได้ไปลอกไปอิงหรือแปลมาจากที่ใดเลย
เริ่มใน เล่ม ๖  ตอน ๑๒  เดือนธันวาคม  ๒๔๖๕

ยอดพิมพ์เพิ่มจาก ๑๕๐๐ เป็น  ๔๐๐๐
ไม่ได้มีคนอ่านแค่สี่พันนะคะ  หนังสือเล่มเดียวอ่านกันหลายบ้านหรือหวดเสียทั้งซอยก็มี


๒๔๖๗   "หน้าผี" เรื่องลึกลับ เพื่อเตือนภัยจากญี่ปุ่นผู้มุ่งจะบุกมาประเทศไทยในวันหนึ่งข้างหน้า

ได้รับการต้อนรับจากมหาชนเป็นที่น่าชื่นใจ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 27 พ.ค. 10, 16:05

       มีการเปลี่ยนแปลงทางราชการอย่างใหญ่หลวง      

เจ้่กรมยุทธศึกษาทหารบก พันเอกพระยาอุปเทศทวยหาร ถูกย้าย
ผู้ที่มาแทนคือ พลตรีพระยารามณรงค์(ม.ล. ชวย  ฉัตรกุล) ต่อมาเลื่อนเป็น พระยาสีหราชฤทธิไกร

ท่านทั้งสองจะมีความนัยมาอย่างไร  ทราบได้ยาก


       ในฐานะผู้กตัญญู  นายนวลได้ลงหัว     และมีท่าทีว่าเป็นคณะพรรคของท่านเจ้ากรมเก่า  แต่ก็ต้องทำงานเรื่อยมา  
ทั้งที่พยายามจะลาออกจากราชการ  แต่ไม่สามารถออกได้เพราะติดชนักต่างๆ



       ในเดือนมิถุนายน  ๒๔๖๘   โดนสั่งขัง ๑๕ วัน          เพราะไม่เขียนเรื่องหน้าผี  ลงต่อในเสนาศึกษา  
อันทำให้ผู้อ่านกระหายอ่าน  
ทำให้เสียประโยชน์ของหนังสือ(ตามคำแถลงของหัวหน้าครูรุ่นนั้น)


หลังจากนั้นเรื่องก็บานปลาย   และถูกออกจากราชการชนิดไม่มีเบี้ยหวัดเบี้ยบำนาญ

และต้องคดีในศาลทหารอีก ๑๗ กระทง


       "พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว   มหาธรรมิกราช    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ พล อ.เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต(แย้ม ณ นคร)
เสนาบดีกลาโหมถอนคำสั่ง     ทั้งยังทรงบันทึกเรื่องพร้อมชื่อข้าพเจ้าลงด้วยลายพระหัตถ์ไว้ในสมุดพระราชหัตถเลขาประจำส่วนพระองค์ "




ออกจากราชการเมื่อปี ๒๔๖๘     มาเขียนหนังสือ

(เรื่องชีวิตของนายนวล  ยังมีต่ออีกมาก  แต่ตอนนี้ก็พอขยายความ "พงหนาม"  ที่ท่านผ่านมา)



ขอบคุณ เรือนไทย  ที่เอื้อเฟื้อใจดีคุยกับสมาชิกใหม่(สมัยโน้น) จนต้องไปตามหาหนังสือเสนาศึกษามาอ่านเอง

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 28 พ.ค. 10, 18:26

คำนึง                เสฐียร  พันธรังษี


คุรุโวปกรณ์         พระวรเวทย์พิสิฐ(วรเวทย์  ศิวะศริยานนท์)


แค  โพธาราม      'รงค์  วงษ์สวรรค์



     ...รับประทาน  สารภาพว่า    ที่จริงมีผู้อุปการะให้ข้อมูล  แต่สหายลืมไปว่า อิฉันความรู้เรื่องตัวสะกดสับสน


หนังสืออนุสรณ์ของ 'รงค์  ขาใหญ่ในงานหนังสือแบ่งกันงุบงิบ  ฮือ ๆๆ  ไม่ให้ดิฉันชำเลืองเลย

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 30 พ.ค. 10, 05:53

นักเรียนเก่า               พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู้หัว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 30 พ.ค. 10, 17:23

ขอบันทึกไว้อีกเรื่องคือ  เพลงชาติ ที่เราร้องกันอยู่ทุกวันนี้    ผู้แต่งเนื้อร้องคือพ.อ.หลวงสารานุประพันธ์    ทำนองโดยพระเจนดุริยางค์
ท่านเขียนบันทึกไว้ว่า
" ในกาลภายหน้า  เมื่อถึงวาระที่ฉันจะต้องเกษียณอายุลาโลกไปแล้ว    ขณะจะใกล้จะขาดอัสสาสะ  ขอให้หาจานเสียงเพลงชาตินี้มาเปิดให้ฟังจงได้     เพื่อบังเกิดความชุ่มชื่นระรื่นในใจ    อันจะไม่มีเวลาเสื่อมคลายตราบสิ้นลมปราณ"
   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 30 พ.ค. 10, 19:57

มาเพิ่มให้อีก ๑  ชื่อ
แก้วแกลบ   =    พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์    หรือ น.ม.ส.
                    ทรงใช้นามแฝง แก้วแกลบ ในการแต่งกวีนิพนธ์ประเภทโคลงลงในหนังสือ "ลักวิทยา"
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 31 พ.ค. 10, 06:34

หลังจากอ่านความเห็นของคุณเทาชมพูแล้ว  ก็ไปเจอ "แก้วแกลบ" เข้า   ดีใจเหมือนเจอ..สมบัติ


เรื่อง นามแฝงของใคร นี่ ทรมานจิตใจมาก  เพราะ นึกไม่ออก  เนื่องจากไม่เคยเห็น

เพื่อน ๆ ก็ไปขายหนังสือที่สนามหลวง        ต่อเสาร์อาทิตย์ที่จตุจักร         เพื่อนที่เหลือก็ออกล่าหนังสือเพราะมีกรุแตกเมื่อบ่ายวันอาทิตย์ที่ผ่านมา
คนที่ไปดูหนังสือก็ไม่ยอมให้พวกเราติดตามไป  มิไยที่ดิฉันจะอ้อนวอนว่า สามัคคี ๆ ๆ

ไว้ให้ดิฉันล่า ดัชนีไฉไล  หนังสืออ้างอิงของคุณหลวงเล็ก ได้ก่อน   เฮ่อ!


"กรุ"   ในวงการนักตามหาหนังสือ  เข้าใจตรงกันว่า เป็นหนังสือระดับหาไม่ค่อยได้  และเจ้าของปล่อยออกมาเป็นจำนวนมาก
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 31 พ.ค. 10, 08:34

สถานการณ์ล่าสุด  นามแฝงที่มีผู้เฉลยแล้วดังนี้

1.  ก.ก.ก.
2.  กระเรียนทอง
3.  กรัศนัย  โปรชาติ
4.  กอ   ไกริฏ
5.  กำแหง   เดชา
6.  กุล   ภูมิสุวัณณ์
7.  กุลิศ   อินทุศักดิ์
8.  กุหลาบ  รถกิจ
9.  เกลียว   เสร็จกิจ
10. แก้วแกลบ
11. แก้วฟ้า
12. ไก่เขียว
13. ขวัญนรา
14. ขุนอารี
15. คนครึ
16. คนป่า
17. คอยุโรป
18. คำนึง
19. คุรุโวปกรณ์
20. แค  โพธาราม
21. แค  ราชคราม
22. จ.ย.ส.
23. จอหงวน
24. จันทรังษี
25. จิงโจ้
26. จิตรลดา
27.  จี๊ด  ท่าพระจันทร์
28.  เจดีย์  กลางแดด
29.  เจ้าเงอะ   (ไม่ใช่เจ้าเงาะ)
30.  เจ้าจำปี
31.  เจ้าหญิงจันทิมา
32.  ฉางกาย
33.  ฉุยฉาย
34.  ช. ช้าง
35.  ช.พ.บ.
36.  ชุติเทพ
37.  ฐิติมา
38.  ดอกปทุม
39.  ทรงกลด  กลางหาว
40.  ทองคำเปลว
41.  ทองเบิ้ม  บ้านด่าน
42.  ทักษ์  เวสรัตน์
43.  ทุ่นดำ
44.  ธ.ม.ก.
45.  นกขุนทอง
46.  นคร   สุรพันธ์
47.  นภาพร
48.  นลินินทร
49.  นักเรียนเก่า
50.  นายไข่ขาว

ยังเหลืออีกไม่กี่นามแฝง   ขออนุญาตสกัดเอาเฉพาะที่เหลือมาแสดงใหม่ดังนี้


4.  กอ   ไกริฏ
5.  กำแหง   เดชา
6.  กุล   ภูมิสุวัณณ์
17. คอยุโรป
26. จิตรลดา
33.  ฉุยฉาย
35.  ช.พ.บ.
37.  ฐิติมา
38.  ดอกปทุม
42.  ทักษ์  เวสรัตน์
44.  ธ.ม.ก.
45.  นกขุนทอง
48.  นลินินทร
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 31 พ.ค. 10, 08:41

17. คอยุโรป

คอยุโรป              พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งพระนามแฝงมากกว่า ๑๐๐ พระนาม พระราชประสงค์ในการทรงใช้พระนามแฝงนั้น มิใช่เพื่อการปกปิดแต่ประการใด เพราะพระนามแฝงเป็นจำนวนมากเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นของผู้ใด

พระนามแฝงภาษาไทย สำหรับบทละครทรงใช้ พระขรรค์เพชร ศรีอยุธยา นายกท.ป.ส.(ทวีปัญญาสโมสร) ไก่เขียว เจ้าเงอะ (๒ พระนามแฝงหลังใช้สำหรับละครร้องสลับพูด)

ส่วนบทละครภาษาอังกฤษที่ทรงแปลจากบทละครภาษาไทยของพระองค์ ทรงใช้พระนามแฝงว่า Sri Ayudhya, Sri Ayoothya, Phra Khan Bejra

พระนามแฝงที่ทรงใช้สำหรับบทความได้แก่ อัศวพาหุ Asvabhahu รามวชิราวุธป.ร.รามวชิราวุธ รามพันธ์ รามจิต รามสูร ราม ร. ราม ณ กรุงเทพ วชิราวุธ วชิราวุธโธ วชิราวุธป.ร. ว.ป.ร. มงกุฎเกล้า ม.ว. ม.ว.ร. ว.ร. ร.ร.
M.V. V. V.R.

รามจิตติ เป็นพระนามแฝงที่ทรงใช้เมื่อทรงพระราชนิพนธ์นิทานเรื่องยาวที่ทรงแปลจากภาษาอังกฤษ บางครั้งทรงใช้ย่อว่า ร.จ.

พันแหลม เป็นพระนามแฝงสำหรับเรื่องเกี่ยวกับทหารเรือ และสุครีพ ทรงใช้สำหรับนิทานเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับทหารเรือ

พระนามแฝงที่มักทรงใช้ในหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิตได้แก่ จุลสมิต มหาสมิต วรสมิต วิริยสมิต วิภาสสมิต วรรณะสมิต และโสตสมิต

นอกจากนี้ยังทรงมีพระนามแฝงอื่น ๆ เช่น คอแดง คอยุโรป น.พ.ส. ความเห็นเอกชน ไทยอีกคนหนึ่ง ไทยศรีวิลัย นักเรียนเก่า นักเรียนคนหนึ่ง น.ภ. เนติบัณฑิตไทยผู้หนึ่ง น.ร. พรานบุญ พาลี พันตา ศ.ธนญชัย ศารทูล เสือเหลือง สภานายก อุบาสก เอกชน ศรีธนญชัย สารจิตต์ สุริยงส่องฟ้า โสต หัตถชัย หนานแก้วเมืองบูรณ์ อัญชัญ Khon Thai Sri Dhanya และ Oxonian

http://dek-d.com/board/view.php?id=1023588
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 31 พ.ค. 10, 09:00

ไปได้ข้อมูลเกี่ยวกับนักประพันธ์ที่นามแฝงว่า ฉางกาย มานิดหน่อย  เห็นว่าเป็นประโยชน์จึงนำมาลงไว้

ฉางกาย  เป็นนามแฝงของคุณวิลาศ  มณีวัต  ดังที่คุณSILA ได้เฉลยไว้ ในความเห็นที่ ๑๖

คุณวิลาศ  มณีวัต  มีนามแฝงหลายนามแฝง  แต่ละนามแฝงแบ่งในงานเขียนต่างประเภทกันดังนี้

นภาพร    เป็นนามแฝงใช้ในงานเขียนแนวปรัชญา  เช่น เรื่อง สายลม - แสงแดด

ฉางกาย   เป็นนามแฝงใช้ในการเขียนคอลัมน์สั้นๆ   ในหนังสือพิมพ์รายวัน  

วิไล  วัชรวัต   เป็นนนามแฝงที่คุณสุภา  ศิริมานนท์  นักเขียนและนักหนังสือพิมพ์อาวุโส  ได้ตั้งให้ท่าน  สำหรับใช้ในการเขียนนวนิยายต่างแดน  "ชีวิตไม่มีพรมแดน"

โอฬาร   เป็นนามแฝงใช้เขียนบทความวรรณกรรมวิจารณ์  มีเรื่อง  วรรณคดีแลไม่ดี  เป็นต้น

วิวัต       เป็นนามแฝงที่ใช้เขียนเรื่องสั้น

หมวกเบอร์เจ็ด  เป็นนามแฝงที่ใช้เขียนคอลัมน์การบ้านการเมืองเบ็ดเตล็ด

มาณพ    เป็นนามแฝงที่ใช้เขียนบทความธรรมะ  เรื่อง ธรรมปริทัศน์พุทธทาสภิกขุ  (๓ ตอน)  ว่ากันว่าท่านใช้นามแฝงนี้ครั้งเดียว


คุณวิลาศ เริ่มเขียนเรื่องสั้นเรื่องแรกชื่อ ยุวกวีแห่งบางใบไม้  ในราวๆ ปี ๒๔๘๕  ลงในสยามสมัย  โดยได้นำเอาประสบการร์ในวัยเด็กของท่าน  เมื่อได้ไปเที่ยวที่บางใบไม้เพื่อไปหาขุดดินเหนียวไปทำงานฝีมือที่โรงเรียน

คุณวิลาศได้เขียน เรื่องสั้นเรื่อง เชิญเถิดพระยามฤตยู ลงในหนังสือพิมพ์  เอกชน ของคุณสด  กูรมะโรหิต  เป็นเรื่องแรกของท่านที่ได้ลงในหนังสือพิมพ์นี้

คุณวิลาศ  เคยทำงานเป็นบรรณาธิการอยู่ที่หนังสือ ชาวกรุง คู่กับคุณรัตนะ  ยาวะประภาษ   โดยท่านรับหน้าที่เขียนบทความในคอลัมน์  ญี่ปุ่นพูด   จากนั้น ๑ ปี  ท่านก็ไปอเมริกา  แต่ก็ยังได้เขียนบทความมาลงในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ให้คุณประมูล  อุณหธูปลงและได้พิมพ์เป็นเล่มภายหลัง  ในชื่อ การเมืองเรื่องสนุก
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 31 พ.ค. 10, 09:44

คุณเพ็ญชมพู

   ถนอมแรงไว้บ้าง

   คุณหลวงเล็กเธอเมตตาแจ้งดิฉันว่า  เฉลยกันเสร็จเมื่อไร  เธอจะโจมตีพวกเราอีก ๕๐ ชื่อ

   ตามแบบอุ้ยเซี่ยวป้อ  คือ หัวเราะไว้ก่อน  อิอิอิ     นึกอะไรไม่ออกค่ะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 31 พ.ค. 10, 09:46

จิตรลดา              มาลัย  ชูพินิจ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.084 วินาที กับ 19 คำสั่ง