เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 5079 ภาพจิตรกรรมตอนอะไร
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 21 พ.ค. 10, 16:15


ภาพ ๒   สีดาบังคับให้พระลักษมณ์ไปช่วยพระราม


จึ่งว่าอนิจจาเจ้าลักษมณ์                          นี่หรือว่ารักพระเชษฐา

จะให้ตามไปช่วยพระจักรา                       มากลับคิดร้ายไม่อายใจ

แสร้งว่าอสุราอุบายร้อง                          จะเลียมลองใจข้าหรือไฉน

จะละให้พระองค์บรรลัย                          คิดไยฉะนี้อนุชา

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 21 พ.ค. 10, 16:27


ภาพ ๓   กวางกลายหน้าเป็นยักษ์


     เมื่อนั้น                                       พระยามารีศใจหาญ
โลดโผนโจนข้ามห้วยธาร                        ผ่านขึ้นบนเนินบรรพตา

     วิ่งพลางเหลียวหลังไม่ยั้งหยุด              จนสุดกำลังยักษา
ลืมตัวด้วยกลัวพระจักรา                         ก็กลายกลับเป็นหน้ากุมภัณฑ์


พระรามแผลงศร
ม้ารีศก็ร้อง(แบบย่อนะคะ)  เจ้าลักษมณ์ช่วยด้วย      เจ้่าลักษมณ์ช่วยด้วย

จำได้ว่าตอนไปดูโขน  คนพากย์ทำเสียงก้องดีเหลือเกิน
บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 21 พ.ค. 10, 16:44

 ยิงฟันยิ้ม ยังไงว่างๆช่วยถ่ายจิตรกรรมวัดมัชชิมาวาสที่สงขลา  มาให้ชมด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 25 พ.ค. 10, 22:13

พอดีพบรายละเอียดเรื่องราวของวัดที่คุณsiamartเอาภาพมาลงเห็นว่ามีรายละเอียดที่ดีและน่าสนใจเอามาลงไว้เป็นข้อมูลครับอ่านกันดูนะครับ
ประวัติวัดคลองแห

วัดคลองแห ตั้งอยู่ที่หมู่ 4 ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พระครูปลัด
สมพร ฐานธมฺโม กล่าวถึงประวัติของวัดคลองแหว่า วัดคลองแหสร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 2260 แต่เดิมเรียกว่า "วัดคลองฆ้องแห่" เนื่องจากในสมัยก่อน มีการแห่ทรัพย์สมบัติมาจากทางไทรบุรี กลันตัน และตรังกานู เพื่อรวบรวมไปบรรจุที่พระบรมสารีริกธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยระหว่างที่
แห่สมบัติมีการตีฆ้องที่ดังมาก ซึ่งในตอนนั้นขบวนแห่สมบัติได้มาค้างแรมที่บริเวณวัด โดยระหว่างที่พักค้างแรมอยู่นั้นได้ทราบข่าวว่ามีการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เสร็จเรียบร้อยแล้วถึงเดินทางไปตอนนี้ก็ไม่ทันแล้ว ผู้นำสมบัติมาส่วนใหญ่ซึ่งเป็นเจ้าขุน คุณนาย เจ้าเมือง และเหล่าคนชั้นสูง
ทั้ง หลาย จึงตั้งจิตอธิฐานเอาไว้ว่า "เราจะไม่นำทรัพย์สมบัตินี้กลับไป คือเราจะฝังไว้ตรงนี้เป็น
พุทธบูชา" จากนั้นก็จึงจัดแจงฝังทรัพย์สมบัติลงในบริเวณวัด โดยในการฝังทรัพย์สมบัตินี้มีการ
ฆ่าคน เพื่อให้ดวงวิญญาณอยู่เฝ้าสมบัติในบริเวณดังกล่าวด้วย พื้นที่ๆมีการฝังทรัพย์สมบัติอยู่
มีลักษณะเป็นกองดินสูงขึ้นมา ชาวบ้านมักเรียกว่า "โคกนกคุ่ม" ต่อมาจึงเรียกคลองซึ่งห้อมล้อมบริเวณดังกล่าวว่า "คลองฆ้องแห่" ซึ่งภายหลังชาวบ้านและและผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา
ได้ร่วมแรงร่วมใจ กันสร้างวัดขึ้นมาในบริเวณที่ฝังสมบัติ แล้วเรียกชื่อวัดตามคลองนั้นว่า
"วัด คลองฆ้องแห่" เสมียนที่ทำงานในอำเภอซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนจีน เรียกให้สั้นลงเป็น
"วัดฆ้องแห่" ต่อมาจึงเพี้ยนมาเป็น "วัดคลองแห" ดังปรากฏจวบจนปัจจุบัน
วัดคลองแห สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 31 ไร่ 1 งาน 11 ตารางวา
น.ส. 3 เลขที่ 819 อาณาเขต ทิศเหนือยาว 190 วา ติดต่อกับคลองแห ทิศใต้ยาว 175 วา ติดต่อกับที่ดินเอกชน ทิศตะวันออกยาว 200 วา ติดต่อกับทางสาธารณะ ทิศตะวันตกยาว 205 วา ติดต่อกับคลองเตย
   พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบสูง ริมคลองแห อาคารเสนาสนะต่างๆ มี อุโบสถกว้าง 9.50 เมตร ยาว 15.50 เมตร สร้าง พ.ศ. 2493 ศาลาการเปรียญกว้าง 9.50 เมตร ยาว 18.20 เมตร
สร้าง พ.ศ. 2487 โครงสร้างก่ออิฐถือปูน กุฏิสงฆ์ จำนวน 7 หลัง โครงสร้างเป็นอาคาร 2 ชั้น ครึ่งตึกครึ่งไม้ และอาคารไม้ สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานในอุโบสถ พระเพลากว้าง 1 เมตร เป็นพระพุทธรูปปั้นด้วยปูนขาว สร้างประมาณ พ.ศ. 2440-2450 พระพุทธรูปหล่อด้วยสัมฤทธิ์ และพระพุทธรูปศิลาขาว ปางสมาธิ ศิลปสมัยเชียงแสน พระเพลากว้าง 43 เซนติเมตรเท่ากัน
ซึ่งพระภิกษุช่วยนำ มาจากประเทศพม่า เมื่อ พ.ศ. 2460 และพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ปางลีลา
สูง 125 เซนติเมตร สร้าง พ.ศ. 2500

ที่ดินตั้งวัดเป็นของพระอธิการยก กลิ่น ได้รับมรดกจากบรรพบุรุษได้บริจาคให้เป็นที่
สร้างวัด และได้เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก วัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาประมาณ พ.ศ. 2450 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 15 เมตร ยาว 25 เมตร การศึกษาทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมตั้งแต่ พ.ศ. 2484 เป็นต้นมา นอกจากนี้ยังได้ให้ทางราชการจัดสร้างโรงเรียนประถมศึกษาขึ้นในที่วัด เนื้อที่ 7 ไร่ อีกด้วย
   เจ้าอาวาส มี 8 รูป คือ รูปที่ 1 พระอธิการยกกลิ่น รูปที่ 2 พระอธิการหนอน รูปที่ 3
พระอธิการปลอด รูปที่ 4 พระอธิการอ้น รูปที่ 5 พระอธิการรุ่ง ปุญฺญพโล รูปที่ 6 พระอธิการอั้น ถึง พ.ศ. 2482 รูปที่ 7 พระอุปัชฌาย์ทอง คงฺฆสฺสโร พ.ศ. 2482-2505 รูปที่ 8 พระอธิการบุญ ภาสโร ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2505
              วัดคลองแหมีเจ้าอาวาสมาแล้ว 8 รูป โดยมีพระครูปลัดสมพร ฐานธมฺโม เป็นเจ้าอาวาส
รูปปัจจุบัน (รูปที่ 9) ซึ่งวัดคลองแหโด่งดังมากในช่วงที่หลวงปู่ทองยังมีชีวิตอยู่ ชาวบ้านเชื่อกันว่าท่านเป็นผู้มีวาจาสิทธิ์ อีกทั้งท่านยังเป็นพระนักพัฒนาที่ชาวบ้านให้ความเลื่อมใส ศรัทธา
เป็น อันมากอีกด้วย
างคีรีเมขล์ ไตรดาพาหนะของพระพรหมและเรื่องราวกำเนิดตำนานวันสงกรานต์
   เป็นรูปช้างคีรีเมขล์ไตรดาพาหนะของพระพรหม ส่วนในภาพรวมของงานประติมากรรมเป็นเรื่องราวกำเนิดตำนานวันสงกรานต์ พบเป็นงานประติมากรรมประดับหน้าบันอุโบสถวัดคลองแหทางทิศตะวันออก ตัวงานเป็นประติมากรรมแบบลอยตัว กรรมวิธีในการสร้างงานประติมากรรมเป็นแบบแม่พิมพ์หรือแบบหล่อ โดยใช้ปูนเป็นวัสดุในการสร้างงาน กรรมวิธีในการประดับตกแต่งโดยเน้นการทาสีทับลงบนตัวงานประติมากรรม ส่วนทางด้านคตินิยมด้านรูปธรรมนั้น โดยภาพรวมแล้วจะบ่งบอกถึงการถือกำเนิดของประเพณีสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ ของไทยเรา ช้างคีรีเมขล์ไตรดาซึ่งถือเป็นช้างซึ่งมาจากพุทธประวัติในชาดกและเกี่ยว เนื่องถึงพระโพธิสัตว์นั้น หมายถึง การเทิดทูนปกป้องรักษาทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา การมีจิตใจที่บริสุทธิ์และยิ่งใหญ่
ช้างคีรีเมขล์ไตรดา ซึ่งแต่เดิมทีนั้นเป็นสมบัติของพระพรหมต่อมาพระพรหมได้ประทานช้างเชือกนี้ ให้แก่พระอินทร์ กล่าวกันตามตำนานว่าช้างคีรีเมขล์ไตรดานี้มีความเชื่อกันว่า เป็นช้าง
ที่ มีความสง่างามมาก มีรัสมีที่นวลผ่องเหาะเหินเดินอากาศได้ มีอิทธิฤทธิ์และพละกำลังที่มหาศาล
ที่สำคัญเป็นช้างเพียงเชือกเดียวที่ มี 3 เศียร แต่กลับมีงาเพียงแค่ 4 งา นิยมเรียกกันว่า "คีรีเมขล์ไตรดา 3 เศียร 4 งา" พระอินทร์หรือท้าวสหัสนัยน์นี้ค่อนข้างที่จะพอใจเป็นอย่างยิ่งที่พระพรหมนำ ช้าง
คีรีเมขล์ไตรดามาถวายให้เป็นสมบัติของพระองค์ สังเกตได้จากตำนานที่เกี่ยวข้องกับพระอินทร์
มักจะมีเรื่องของช้างคีรี เมขล์ไตรดาปรากฏให้เห็นค่อนข้างมาก ส่วนลักษณะและเรื่องราวโดยรวมของหน้าบันนี้แสดงถึงตำนานการถือกำเนิดประเพณี สงกรานต์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเหล่าทวยเทพ
กล่าวคือ นานมาแล้วมีบุตรของเศรษฐีผู้มั่งคั่งด้วยเงินทองมีชื่อว่า ธรรมบาลได้ประลองปัญญากับท้าวมหาพรหม นามกบิลพรหม โดยหากใครแพ้ต้องตัดศรีษะของตนเองเป็นสินเดิมพัน คำถามนั้น
มีอยู่ว่า ราศีเช้า-เที่ยง-ค่ำ สามเวลาของมนุษย์นั้นอยู่ที่ส่วนใด ธรรมบาลสามารถตอบได้ กล่าวคือ
ราศีเช้า คือ หน้า ตื่นเช้าไม่ล้างหน้าล้างตา จะหม่นหมอง ราศีเที่ยง คือ หน้าอก คนเราเอาแป้งกระแจะจันทร์มาลูบไล้ทาจะทำให้คลายความร้อนรุ่มจากอากาศและสิ่ง แวดล้อมรอบข้าง ก่อให้เกิดอารมณ์เยือกเย็นได้ ส่วนราศีค่ำ อยู่ที่เท้าก่อนนอนทุกครั้งต้องชำระล้างเท้าให้สะอาด ปราศจาก
โรคภัยก็จะ มีความไม่กังวลสบายใจ นอนหลับอย่างเป็นสุขสบายกาย เมื่อธรรมบาลสามารถ
ตอบ คำถามของท้าวกบิลพรหมได้ ท้าวกบิลพรหมจึงจำต้องตัดเศียรพระองค์เป็นเครื่องบูชา
โดยพระอินทร์ให้ ธิดาของกบิลพรหม นำพานมารองรับเศียรไว้แล้วนำแห่ประทักษิณวรรตเวียนรอบเขาพระสุเมรุ ซึ่งถือปฏิบัติกันทุกปี และถือว่าวันซึ่งแห่เศียรกบิลพรหมเป็นวันสงกรานต์
โดย นางสงกรานต์องค์แรก คือ บุตรสาวคนโตของกบิลพรหมที่มีชื่อว่า นางทุงษะ รับเศียรของ
กบิลพรหมแล้วแห่ประทักษิณวรรตเวียนรอบเขาพระสุเมรุ ส่วนบุตรที่เหลือมีชื่อดังต่อไปนี้
นางโคราด, นางรากษส, นางมณฑา, นางกรีณี, นางกิมิทา และองค์สุดท้ายชื่อนางมโหทร

พระ อินทร์ทรงคชสีห์

   เป็นรูปพระอินทร์ทรงคชสีห์ พบเป็นงานประติมากรรมประดับหน้าบันอุโบสถ
วัดคลองแหทางทิศตะวันตก ตัวงานเป็นประติมากรรมแบบนูนสูง กรรมวิธีในการสร้างงานประติมากรรมเป็นแบบแม่พิมพ์หรือแบบหล่อ โดยใช้ปูนเป็นวัสดุในการสร้างงาน กรรมวิธีในการประดับตกแต่งโดยเน้นการทาสีทับลงบนตัวงานประติมากรรม กล่าวกันว่า การสร้าง
รูปประติมากรรมพระอินทร์ทรงสัตว์เทพจะถือเป็นมงคล อันยิ่งใหญ่ในการพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาและตัวคชสีห์นี่เองก็จัดเป็นสัตว์ ผสมระหว่างช้างและราชสีห์ ซึ่งมีความเชื่อผสมผสานกันว่าเป็นสัตว์เทพซึ่งมีอำนาจพลังกำลังมหาศาล เป็นมงคลในพิธีกรรมทางศาสนา
คชสีห์เป็นสัตว์ผสมระหว่างสิงห์หรือราชสีห์ กับช้าง หากมองดูแบบผิวเผินจะคล้ายกับ
ทักทอมาก หลวงพ่อพร้อม รักฺขิตธมฺโม กล่าวถึงงานประติมากรรมซึ่งประดับหน้าบันพระอุโบสถวัดคลองแหทางทิศตะวันตก ว่า "สัตว์ตัวที่เห็นที่หน้าบันนี้มีลักษณะที่เด่น คือ ตัวเป็นราชสีห์
แต่ มีงวงและมีงาคนโบราณเรียกว่า คชหิงห์ แต่ที่นิยมเรียกกันก็คือ คชสีห์ ส่วนเทวดาที่นั่งอยู่บน
คชสีห์นั้นคือพระอินทร์ ซึ่งแวดล้อมไปด้วยเหล่าเทวดา และสัตว์นานาพันธุ์" คชสีห์เป็นสัตว์ผสมระหว่างช้างและราชสีห์ มีลักษณะการนำอวัยวะต่างๆ ของสัตว์ประเภทจตุบาทนำมาผสมผสาน
ขึ้นจนกลายเป็นสัตว์ชนิดใหม่ คชสีห์มีส่วนลำตัวเป็นสิงห์แต่มีหัวเป็นช้าง   ส่วนประติมากรรมประดับตกแต่งหน้าบันพระอุโบสถ เป็นรูปพระอินทร์ทรงคชสีห์
ชาว พุทธนิยมสร้างรูปพระอินทร์ประดับตกแต่งในบริเวณพระอุโบสถหรือตกแต่งอาคาร ต่างๆ
ภายในวัดก็เนื่องจากถือกันว่า พระอินทร์หรือท้าวสักกเทวราชนั้นเป็นเทพผู้มีหน้าที่พิทักษ์รักษาทำนุบำรุง พระพุทธศาสนา การสร้างรูปบูชา ของพระอินทร์ไว้ในบริเวณวัดจึงถือว่าเป็นมงคล
อัน ยิ่งใหญ่ ซึ่งมีแพร่หลายกันแทบทุกวัดโดยบางวัดมักนิยมสร้างพระอินทร์เอาไว้คู่กันกับ พระวิศวกรรมนายช่างคู่บารมีของพระองค์ พระอินทร์ที่เราเห็นกันที่วัดคลองแหเป็นพระอินทร์
ทางฝ่ายพุทธมิใช่ฝ่าย พราหมณ์ เนื่องจากพระอินทร์ทางฝ่ายพุทธจะมีรูปร่างสง่างามสมส่วนแต่
พระ อินทร์ของฝ่ายพราหมณ์หรือของทางอินเดียจะท้องพลุ้ย ก็เนื่องจากพวกพราหมณ์เวลาจะทำพิธีขอพรก็มักจะจัดน้ำโสมถวาย และเรียกพระอินทร์ว่า "โสมบาน" พระอินทร์เวลาเสวยน้ำโสม
เข้าไปมากๆ มักจะวุ่นวาย ชอบทะเลาะวิวาทกับพระวรุณ คนอินเดียมีความเชื่อกันว่า เวลามีฝนตกในตอนต้นฤดูและมีพายุฝนเสียงเอื้ออึงตามมาก็เป็นเพราะพระอินทร์ เมาเหล้า (น้ำโสม) แล้วเอะอะไล่พระวรุณนั่นเอง แต่น่าแปลกที่พระอินทร์ทางฝ่ายพุทธจะไม่เกี่ยวข้องกับสุราเมรัยเลย


การชม ลายจิตกรรมไทยพื้นบ้านของอุโบสถวัดคลองเเห  บริเวณหน้าต่างด้านนอกนั้น.........ให้เรียงลำดับดังนี้ครับ(มีทั้งสิ้น 6 บานหน้าต่าง) Grin Smiley



นางสีดาอยากได้กวางทอง

   เป็นรูปนางสีดาอยากได้กวางทอง พบปรากฏเป็นงานจิตรกรรมไทยประดับตกแต่ง
บาน หน้าต่างบริเวณฝั่งทางด้านซ้ายของตัวอุโบสถวัดคลองแห โดยในรูปเป็นเรื่องราวหนึ่งในนารายณ์ 10 ปาง ที่เราเห็นอยู่นี่เป็นปางที่ 7 เรียกกันว่า "ปางรามจันทราวตาร" หรือรามเกียรติ์
ซึ่งพระนารายณ์อวตาร ลงมาเพื่อปราบยักษ์ชื่อราวณะ หรือทศกัณฐ์ เรื่องก็มีอยู่ว่ายักษ์นนทกผู้ได้รับประทานนิ้วเพชรจากพระอิศวรเจ้าได้ใช้ นิ้วเพชรนั้นประหัตประหารเหล่าเทวดาล้มตายไปเป็นจำนวนมาก ร้อนถึงองค์พระนารายณ์ต้องเสด็จมาปราบ ยักษ์นนทกไม่อาจสู้พระนารายณ์ได้จึงต่อว่าองค์นารายณ์ว่าตนมีเพียง 2 มือ จะสู้พระนารายณ์ที่มีถึง 4 กรได้อย่างไร พระนารายณ์จึง
ประทานพรให้ยักษ์ นนทกมาเกิดเสียใหม่ในชาติหน้ามี 10 หน้า 20 มือ ถืออาวุธครบครัน เหาะเหินเดินอากาศได้ ส่วนพระนารายณ์ขอเป็นเพียงมนุษย์เดินดินมี 2 มือ จะลงไปปราบในโลกมนุษย์
นนทกจึงลงมาเกิดเป็นทศกัณฐ์ ส่วนพระนารายณ์ลงมาเกิดเป็นพระราม พระลักษมีลงมาเกิดเป็น
นางสีดาโดยภาพ วาดช่วงนี้กล่าวถึงเรื่องราวที่นางสำมนักขาไปเล่าเรื่องความงามของนางสีดา ให้แก่
ทศกัณฐ์ฟังจนทศกัณฐ์เกิดความลุ่มหลงในรูปโฉมของนางสีดา และด้วยความที่ไม่รู้ว่านางสีดา
เป็นลูกแท้ๆของตนเองกับนางมณโฑ ทศกัณฐ์จึงใช้ให้มาริศแปลงเป็นกวางทองแสนสวยงาม
มาโชว์รูปโฉมให้นางสีดา อยากได้ และใช้ให้พระรามออกไปตามจับ
   

พระราม ไล่จับกวางทอง

   เป็นรูปพระรามไล่จับกวางทอง พบปรากฏเป็นงานจิตรกรรมไทยประดับตกแต่ง
บานหน้าต่างบริเวณฝั่งทางด้าน ซ้ายของตัวอุโบสถวัดคลองแห โดยในรูปเป็นเรื่องราวของ
มาริศยักษ์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้าของทศกัณฐ์ถูกบังคับจากทศกัณฐ์ให้แปลงเป็นกวางทองแสนสวย งาม ออกมาโชว์รูปโฉมให้นางสีดาอยากได้และใช้ให้พระรามออกไปตามจับ ฝ่ายพระรามตามกวางทอง (มาริศแปลง) จนทันและยิงด้วยศรจนบาดเจ็บ มาริศจึงร้องเป็นเสียงของพระรามออกมาเพื่อขอ
ความช่วยเหลือล่อหลอกให้พระ ลักษณ์ออกมาจากอาศรมมาตามพระรามอีกองค์ จึงทำให้เหลือ
นางสีดาอยู่ที่ อาศรมเพียงองค์เดียว และถูกทศกัณฐ์จับอุ้มขึ้นรถทรงหนีไป
 
   
พญานกสดายุชิงนางสีดา

   เป็นรูปพญานกสดายุชิงนางสีดา พบปรากฏเป็นงานจิตรกรรมไทยประดับตกแต่ง
บานหน้าต่างบริเวณฝั่งทางด้าน ซ้ายของตัวอุโบสถวัดคลองแห ในรูปแสดงภาพของพญานก
สดายุรบกับทศกัณฐ์เพื่อ แย่งนางสีดาคืนให้แก่พระราม ทศกัณฐ์ไม่อาจสู้สดายุได้พญานกสดายุ
ได้ใจ เผลอหลุดปากพูดออกไปว่า "ในโลกนี้ตนมิเกรงกลัวผู้ใด ยกเว้นแต่องค์พระนารายณ์ และแหวนแก้วโมลีของพระอิศวรที่ติดนิ้วนางสีดาเท่านั้น" ทศกัณฐ์รู้ดังนั้นจึงถอดแหวนแก้วโมลีของนางสีดาซัดใส่พญานกสดายุจนบาดเจ็บ สาหัสปางตาย แต่พญานกก็ยังคาบแหวนของนางสีดาไว้รอจนพบพระราม พร้อมเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟังแล้วพญานกสดายุก็สิ้นใจตาย
   พญานกสดายุถือว่าเป็นพญานกที่มีอิทธิฤทธิ์มาก มีพี่ชายชื่อสัมพาที และเป็นลูกของ
พญาครุฑที่ชื่อพญาสุบรรณ อันเป็นเทพพาหนะของพระนารายณ์ มีแม่ชื่อว่านางวินายะกา


อัญเชิญ ท้าวมาลีวราชว่าความ

   เป็นรูปอัญเชิญท้าวมาลีวราชว่าความ พบปรากฏเป็นงานจิตรกรรมไทยประดับตกแต่ง
บานหน้าต่างบริเวณฝั่งทางด้านขวา ของตัวอุโบสถวัดคลองแห โดยในรูปเป็นเรื่องราวของนารายณ์อวตารปางรามจันทราวตาร หรือรามเกียรติ์ ซี่งเรื่องราวในภาพแสดงถึงการที่ทศกัณฐ์รบพุ่งกับพระรามมาเป็นเวลาเนิ่นนาน จนทศกัณฐ์สูญเสียไพร่พลและเหล่าญาติพี่น้องล้มตายไปเป็นจำนวนมากจึงคิดเชิญ ท้าวมาลีวราชผู้เป็นพระเจ้าปู่อันมีวาจาสิทธิ์ ซึ่งได้รับประทานพรมาจาก
พระ อิศวรเจ้า มายังกรุงลงกาและกล่าวว่าร้ายพระรามจนทำให้ท้าวมาลีวราชโกรธจะได้สาปแช่งพระ รามไปในทางร้าย ทศกัณฐ์จึงใช้ให้นนยวิกและวายุเวกเดินทางไปยังเขายอดฟ้า อัญเชิญ
ท้าวมาลีวราชผู้เป็นพระเจ้าปู่มาตัดสินความ ท้าวมาลีวราชเมื่อรับสารเชิญของทศกัณฐ์จากนนยวิกและวายุเวกแล้วจึงรับปากว่า จะเดินทางไปว่าความให้


ท้าวมาลีวราชว่าความ

   เป็นรูปท้าวมาลีวราชว่าความ พบปรากฏเป็นงานจิตรกรรมไทย ประดับตกแต่งบานหน้าต่างบริเวณฝั่งทางด้านขวาของตัวอุโบสถวัดคลองแห ซึ่งเรื่องราวในภาพแสดงถึงการตัดสินความของท้าวมาลีวราช กล่าวคือ ท้าวมาลีวราชทรงนั่งรถเทียมม้ามาจากเขายอดฟ้าถึงหน้าประตูทางเข้ากรุงลงกาก็ ให้หยุดรถอยู่แต่ภายนอกแล้วพระองค์จึงอัญเชิญเหล่าเทพยดามาเพื่อเป็นผู้
ร่วม ตัดสินคดีความและเป็นพยานอีกมากมาย อาทิ พระอินทร์, พระวิษณุกรรม เป็นต้น แล้วจึงอัญเชิญพระรามนั่งทางด้านขวาของท้าวมาลีวราช ทศกัณฐ์นั่งอยู่ทางด้านซ้าย ส่วนนางสีดานั่งอยู่
ด้านหน้าท้าวมาลีวราช ทศกัณฐ์พยายามป้ายสีใส่ร้ายพระรามต่างๆ นานา แต่ก็ไม่เป็นผลเมื่อความจริงปรากฏออกมาจากปากของนางสีดา ท้าวมาลีวราชจึงสั่งทศกัณฐ์ให้ส่งนางสีดาคืนแก่พระราม แต่ทศกัณฐ์ไม่ยอมทำตามคำสั่ง ท้าวมาลีวราชโกรธจนหน้าเขียว พร้อมสาปแช่งให้ทศกัณฐ์ตายอย่าง
ทุกข์ทรมานที่สุดด้วยศรพรหมาสตร์ของพระ ราม


หนุมานออกอุบายขโมยกล่องดวงใจของทศกัณฐ์

   เป็นรูปหนุมานออกอุบายขโมยกล่องดวงใจของทศกัณฐ์ พบปรากฏเป็นงานจิตรกรรมไทยประดับตกแต่งบานหน้าต่างบริเวณฝั่งทางด้านขวาของ ตัวอุโบสถวัดคลองแห โดยในรูปแสดงเรื่องราวของหนุมานเข้าไปหาฤาษีโคบุตร ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของทศกัณฐ์ หนุมานแต่งเรื่องว่า
ตนเองกับองคตขัดแย้ง กันกับพระรามจึงหนีจากทัพเพื่อมาขอสวามิภักดิ์ต่อทศกัณฐ์ ฤาษีโคบุตร
หลง เชื่อถ้อยคำของหนุมาน เลยพาไปพบทศกัณฐ์เพื่อให้รับเป็นบุตรบุญธรรม ทศกัณฐ์ตายใจ
เนื่องจากเห็นหนุมานมากับฤาษีโคบุตร จึงรับหนุมานเป็นบุตรบุญธรรมแทนที่อินทรชิตซึ่งเสียชีวิตในการรบกับพระราม พร้อมกับยกสมบัติและนางสุวรรณกันยุมาให้ เมื่อกลอุบายของหนุมานสำเร็จ หนุมานเลยสามารถขโมยกล่องดวงใจของทศกัณฐ์มาได้แต่โดยง่าย และทำให้พระรามสามารถ
ปราบทศกัณฐ์ลงได้ หลังจากเสร็จศึกกรุงลงกา พระรามปูนบำเหน็จรางวัลให้หนุมานสร้างเมือง
นพบุรีให้หนุมานปกครองพร้อม เปลี่ยนชื่อหนุมานเป็น “พญาอนุชิต”

*****หมาย เหตุ  บทความเรื่อง  “เล่าเรื่องรามเกียรติ์ผ่านบานหน้าต่างพระอุโบสถวัดคลองแห”
คัดลอกและดัด แปลงมาจากหนังสือ “พุทธศิลปกรรมไทยที่วัดคลองแห” ของ คุณาพร  ไชยโรจน์(2547)
   








   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.052 วินาที กับ 20 คำสั่ง