เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 60809 อดีตชาวสยามผู้ถูกยกย่องให้เป็นบิดาของประเทศมาเลเซีย
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 17 พ.ค. 10, 15:52

ขอบคุณคุณเพ็ญครับ ทำให้ผมทุ่นแรงไปอักโข

Little Stukeley หมู่บ้านในชนบทเล็กๆที่ท่านตนกูพบว่ามีนักเรียนไทยไปอยู่ก่อนหน้านั้นแล้วถึง3คน
คนหนึ่งชื่อเทพ อภัยวงศ์

ผมเปิดปูมไม่เจอว่าท่านผู้นี้ลูกเต้าเหล่าใคร ไปเรียนแล้วกลับมาทำอะไร


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 17 พ.ค. 10, 16:10

วิทยาลัยเซนต์แคทเธอรีน (St Catharine's College) แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

ในระหว่างปีที่ท่านตนกูไปศึกษาอยู่


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 17 พ.ค. 10, 16:27

ในปีพ.ศ.2466 ท่านตนกูเห็นการโฆษณาชักชวนให้ไปชมMotor Showประจำปีแล้วก็กิเลศพลุ่งพล่าน ไปรอคิวเข้าชมงานที่โอลิมเปียในวันแรกเพื่อจะจองรถสปอร์ตรุ่นล่าสุดของRileyให้ได้ ราคาของมัน550ปอนด์ เมื่อจองแล้วก็โทรเลขไปอ้อนแม่ให้ส่งเงินมาให้ ซึ่งเธอก็ส่งมาโดยดีก่อนวันปิดงาน เป็นที่ทราบกันอยู่ว่าพักหลังนี้หม่อมเนื่องเป็นนักธุรกิจสตรีระดับเจ๊สัวคนหนึ่ง

แล้วรถราคาแพงก็ทำหน้าที่ของมัน  ไม่มีใครในเมืองไม่รู้จักเจ้าของรถว่าเป็นใคร



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 18 พ.ค. 10, 06:53

ชีวิตในเคมบริดจ์เป็นดังสวรรค์สำหรับท่านตวนกู แม้จะเลือกเรียนกฏหมายตามคำแนะนำของท่านผู้สำเร็จราชการ แต่ก็ไม่ได้เคร่งเครียดนัก คบเพื่อนฝูงเยอะทั้งคนอังกฤษและคนไทยที่นั่น หนักไปทางเล่นประกอบกันไป ติดทีมของวิทยาลัยเซนต์คาธารีนทั้งฟุตบอลและเทนนิส


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 18 พ.ค. 10, 07:01

ตนกู อิบราฮิม ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแห่งเคดะห์ ผู้สนับสนุนให้ตนกูได้ทุนมาศึกษาที่นี่ ชวนตนกูยิหวา พี่ชายแท้ๆของท่านตนกูมาเยี่ยมน้องที่เคมบริจด์ คงได้ข่าวว่าแม่ซื้อรถสปอร์ตให้


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 18 พ.ค. 10, 08:25

เกร็ดตอนนี้น่าสนใจ

 ยิ้มกว้างๆ

The British advisor to Malaya was summonsed by the Sultan of Kedah so that he may explain to the Dean of the university that Tunku was a prince in Malaya.

The Dean was totally shocked and exclaimed “why did you not say to me this before!”.

Tunku was then offered a room on campus but he gracefully declined as he had grown accustomed to living elsewhere by then.

http://revistaminimi.com/the-story-of-tunku-abdul-rahman-and-his-time-in-the-united-kingdom.html
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 18 พ.ค. 10, 09:11

ขอบคุณสำหรับเรื่องดีๆครับ
ขอคั่นรายการด้วยเรื่องฐานันดรของเจ้ามลายูครับ

เป็นบทความของขุนศิลปกิจจ์พิสัณห์(ผัน ศุภอักษร) อดีตศึกษาธิการจังหวัดในชายแดนปักษ์ใต้
ปักษ์ใต้มีบุคลากรทางการศึกษา ๒ ท่าน เป็นขุนศิลป์ เหมือนกัน และเป็นเกลอกัน
ท่านแรกคือขุนศิลปกิจจ์พิสัณห์(ผัน ศุภอักษร)
ท่านที่ ๒ คือขุนศิลปกรรม์พิเศษ(แปลก ศิลปกรรมพิเศษ) นามสกุล ม ไม่มีการันต์
ขุนศิลปกิจจ์ฯ เขียนเรื่อง เลเพลาดพาด สรุปความได้ดังนี้....

ตวนกู Tuanku เป็นคำใช้เรียกเจ้าผู้ครองรัฐและชายา
เต็งกู Tengku เป็นคำแสดงศักดิ์ของเจ้า
ตุน Tun เป็นบรรดาศักดิ์ของสามัญชน
นิ Nik เป็นผู้สืบเชื้อสายจากขุนนางชั้นสูง
วัน หรือ แว Wan เป็นผู้สืบเชื้อสายขุนนางชั้นสูงที่ต่ำกว่า นิ
เจ๊ะ Cek เป็นคำยกย่องชื่อผู้ดีมีตระกูล
ดาโต๊ะ Datok เป็นบรรดาศักดิ์
กู Ku เป็นคำนำหน้าชื่อผู้สืบเชื้อสายจากพระยาเมือง เข้าใจว่ากร่อนมาจาก เอิงกู Enjku หมายถึงผู้สืบสายเจ้า
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 18 พ.ค. 10, 12:32

เรื่องยศศักดิ์ของเจ้านายมาเลย์ คุณวิิกกี้อธิบายไว้

http://en.wikipedia.org/wiki/Malay_styles_and_titles

Tuanku  is both a title when used before a name and form of address when used alone, and is reserved for the Malay Rulers. It literally means "My Lord", and as a form of address can be glossed as "Your Majesty" or "Your Highness", but is left untranslated when used as a title. In Sarawak, "Tuanku" is the prefix used by certain noble families. In Aceh, a province of Indonesia, "Tuanku" is given to children and grandchildren of a ruling monarch.

Tengku (also spelled Tunku in Johor, Negeri Sembilan and Kedah, and Ungku or Engku Ansaruddin Agus to denote particular lineages, and Raja in Perak and certain Selangor lineages, and Syed/Sharifah in Perlis if suffixed by the royal clan name) is roughly equivalent to Prince or Princess. In Aceh, "Tengku" is the title given to religious officers, e.g. Tengku Imam Meunasah (leader of the mosque).

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 18 พ.ค. 10, 14:04

ส่งรูปเมือง Little Stukeley ที่ท่านตนกูเคยไปพัก มาประกอบบรรยากาศกระทู้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 18 พ.ค. 10, 21:13

ฐานันดรศักดิ์จ้าวนายต่างๆของมาเลย์มีมากมายและสับสนเป็นอย่างยิ่ง เพราะแต่ละรัฐใช้เหมือนกันบ้างไม่เหมือนกันบ้าง คนมาเลย์เองก็รู้ได้ไม่หมดอธิบายไม่ได้ คนไทยยิ่งสุดปัญญาจะจดจำหรือทำความเข้าใจได้เลย ไม่เชื่อก็ลองไปอ่านที่คุณวิกี้เขียนไว้ คุณเพ็ญชมพูอุตสาห์ทำโยงคลิ๊กไว้ให้แล้ว

อังกฤษในพ.ศ.2469นั้น มีเจ้านายมาเลย์รัฐต่างๆถูกส่งมาเรียนหลายคน ท่านตนกูได้แสดงความสามารถในความเป็นผู้นำแล้วในตอนนั้น ด้วยการรวบรวมคนเหล่านี้มาจัดตั้งสมาคม “The Malay Society of Great Britain” แต่ก็ยกให้ ตนกู อับดุล ราะห์มาน อีกคนหนึ่งซึ่งเป็นบุตรของยังดี เปอตวน เบซาร์ (ประมุข)แห่งนครรัฐ เนกิรี ซัมบิลัน เป็นนายกสมาคมคนแรก ชื่อตัวของคนมุสลิมเองก็ซ้ำๆกันอีก ชื่อเต็มๆจึงต้องมีสร้อยไว้ข้างท้ายด้วยว่าเป็นลูกของพ่อชื่ออะไร เพราะเขาไม่ใช้นามสกุล เวลาจะเขียนชื่อท่านตนกูของเราคนนี้แบบครบเครื่องต้องเขียนว่าตนกู อับดุล ราะห์มาน บิน สุลต่าน อับดุล ฮามิด หากสั้นๆคนมาเลย์ทั่วไปจะเรียกท่านว่าตนกูปุตรา หรือเป็นทางการหน่อยอย่างที่สมาคมมาเลย์แห่งราชอาณาจักรเรียกท่านว่าตนกู อับดุล ราะห์มาน ปุตรา

ท่านตนกูสังเกตุเห็นตั้งแต่บัดนั้นแล้วว่า เจ้านายจากรัฐต่างๆจะถือตน ไม่ชอบคบคนอื่น คนมาเลย์ในยุคนั้นยังไม่มีสำนึกของความเป็นชนชาติเดียวกัน เพราะในอดีตต่างก็เป็นอริชิงดีชิงเด่น ชิงดินแดนซึ่งกันและกัน การมารวมตัวกันเป็นสมาคมได้ถือเป็นก้าวแรกที่ดี แต่หนทางยังอีกยาวกว่าที่นครรัฐทั้งหลายจะยอมละลายความรู้สึกชาตินิยมระดับรัฐ มาสร้างชาตินิยมร่วมกันในระดับประเทศ

ในเคมบริดจ์ท่านตนกูจึงยังชอบที่จะคบคนไทยอยู่ รูปล่างด้านซ้ายท่านไม่ได้ระบุชื่อคนสยามทั้งสามไว้(เพราะจำยากมากสำหรับชาวต่างชาติ)แต่ระบุชื่อแหม่มแฟนของท่าน รูปล่างด้านขวา ชื่อที่เขียนภาษาอังกฤษผมแปลว่าหม่อมเจ้าลักษณากร เกษมสันต์ ท่านทรงไปศึกษาวิชาพฤกษศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยนี้  กลับมารับราชการกระทรวงเกษตรและเป็นอธิบดีกรมกสิกรรมก่อนจะทรงเกษียณอายุ และได้รับโปรดเกล้าให้เป็นราชบัณฑิต สาขาเกษตรศาสตร์

ท่านตนกูใช้ชีวิตเด็กมหาวิทยาลัยอย่างสนุกสนาน และเพลิดเพลินกับกิจกรรมนอกหลักสูตรมาก การเรียนของท่านจึงไม่ค่อยจะอยู่แนวหน้าเหมือนสมัยเด็กๆ แถมมีโชคไม่ดีแถมเข้ามา ในการสอบวิชาสำคัญวิชาหนึ่ง ท่านจำวันผิด จึงนั่งดูหนังสืออยู่ที่บ้าน กว่าเพื่อนจะเตือนและรีบขี่จักรยานไปเข้าห้องสอบก็สายเกิน ต้องเรียนซ้ำวิชานั้นเสียเวลาไปเปล่าๆถึง6เดือน



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 19 พ.ค. 10, 11:08

ท่านตนกูเคยกลับมาอลอร์ สะตาครั้งหนึ่งพร้อมปริญญาตรีนิติศาสตร์ หลังจากเวลาผ่านไป5ปี ตอนนั้นอายุเพียง23 หนุ่มฟ้อหล่อเฟี้ยวดังในรูป ท่านผู้สำเร็จราชการนั่งฟังน้องชายกลับมารายงานตัวด้วยความพอใจ แต่ก็สรุปว่า ยังเด็กไปที่จะเข้ารับราชการงานเมือง ควรจะกลับไปเรียนกฏหมายให้ได้ขั้นเนติบัณฑิตจะดีกว่า แม้ว่าท่านตนกูและมารดาจะอยากอยู่ที่เคดะห์ไม่กลับไปแล้ว แต่ก็ไม่กล้าฝืนความปรารถนาดีนี้ ท่านตนกูจึงศึกษากฏหมายอังกฤษขั้นสูงไปด้วยความเหนื่อยหน่ายใจ ระหว่างนี้เจอเพื่อนแก้เซ็ง ได้แก่แหม่มในรูปที่แล้วซึ่งแก่กว่าท่านถึง5ปี เคียงข้างไปตลอดแม้จะเป็นงานบอลล์ สนามม้า หรือคาสิโน การเรียนจึงใช้เวลายืดยาวเท่าที่มหาวิทยาลัยจะยอมให้ได้ แต่สุดท้ายท่านก็ไม่ผ่านอยู่ดี แม้จะสอบได้4วิชาใน5  ที่ตกคือวิชากฎหมายด้วยว่าอสังหาริมทรัพย์ และการโอนทรัพย์สิน แต่นั่นก็เพียงพอที่ทำให้ท่านจะต้องกลับบ้านมือเปล่าหลังจากใช้เวลาไปอีก3ปีในยกที่สองนี้

การเป็นนักศึกษาเพลย์บอยระดับอมตะนิรันดร์กาลสมัยอยู่ในอังกฤษถือเป็นเรื่องที่สังคมซุบซิบที่ไฮโซมาเลย์จะยกมาพูดกันสนุกสนาน ไม่จบตลอดชีวิตการเป็นนักการเมืองดังของท่าน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 19 พ.ค. 10, 12:35

ท่านตนกูกลับมารายงานตัวกับท่านผู้สำเร็จราชการอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้ท่านแสดงความรู้สึกผิดหวังและละอายใจ ที่น้องชายได้ไปเรียนอังกฤษด้วยทุนของรัฐแล้วไม่สำเร็จกลับมา อีกสองสามวันหลังจากนั้น ท่านตนกูได้รับคำสั่งให้ไปรายงานตัว ณ ที่สำนักงานที่ปรึกษากฏหมายของรัฐในฐานะข้าราชการฝึกหัด เมื่อถึงเวลาสอบคัดเลือก ท่านสอบผ่านอย่างง่ายดายและได้รับการบรรจุให้เป็นนายอำเภอชายแดนที่ปาดัง เท-รับ มีหมู่ชาวสยามชื่อซัมซัมอยู่ที่นั่นด้วย (คนพื้นเมืองในเคดาห์พวกหนึ่งคือ“ ซัม ซัม” หรือ “เสียม – เซียม” ( Sam Sam ) คือ พวกสยามอาศัยอยู่บนแหลมมลายูมาแต่โบราณ  เมื่อครั้งราชามะโรงมหาวงศ์พร้อมด้วยข้าราชบริพารเดินทางเรือมาขึ้นฝั่งที่เกาะซะรี  ได้เรียกพวกพื้นเมืองนี้ว่า  อสูร ( Gergasi ) ดังปรากฏข้อความตอนหนึ่งว่า  ” ชาวพื้นเมืองเป็นพวกอสูร…บรรดาเหล่าอสูรมีพระเจ้าเสียมผู้นี้เป็นบุตรชาวพื้นเมือง”   คนเหล่านี้คงมีความเจริญกว่าชนชาติอื่นจึงได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำ  คนเหล่านี้ได้สืบเชื้อสายเผ่าพันธุ์ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้ ( อนันต์ วัฒนานิกร , 2531 : 6-7 )

ถ้าจริงตามที่คุณอนันต์เขียน เผ่าพันธ์ซัมซัมคงจะเสื่อมลงที่นั่น คนในหมู่บ้านนี้จึงมีอาชีพลักวัวลักควายข้ามชายแดนจากเมืองไทยมาขาย เกิดปัญหาความสกปรกและโรคระบาดทั้งคนและสัตว์เนืองๆ ท่านตนกูนายอำเภอคนใหม่ไฟแรงก็ได้เพียรพยายามบุกเข้าไปเจรจากับหัวหน้าให้เลิกพฤติกรรมนี้  ในหนังสือไม่แจ้งว่าได้ผลหรือไม่ ยั่งยืนประการใด

อ่านมาพอสมควร ผมสังเกตุประการหนึ่งว่า กลุ่มชนที่คนไทยเรียกว่าพวกแขก หรือพวกมุสลิมที่ชายแดนนั้น คนมาเลย์จะเรียกว่าพวกสยาม ภาษายาวีที่เขาพูดกันคนไทยฟังไม่รู้เรื่อง คนมาเลย์ก็เรียกว่าภาษาสยามไม่ใช่มาเลย์ ตกลงชนเหล่านี้ดูเหมือนจะไม่มีใครยอมรับว่าเป็นเชื้อชาติเดียวกับตน


บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 19 พ.ค. 10, 13:15

อ่านมาพอสมควร ผมสังเกตุประการหนึ่งว่า กลุ่มชนที่คนไทยเรียกว่าพวกแขก หรือพวกมุสลิมที่ชายแดนนั้น คนมาเลย์จะเรียกว่าพวกสยาม ภาษายาวีที่เขาพูดกันคนไทยฟังไม่รู้เรื่อง คนมาเลย์ก็เรียกว่าภาษาสยามไม่ใช่มาเลย์ ตกลงชนเหล่านี้ดูเหมือนจะไม่มีใครยอมรับว่าเป็นเชื้อชาติเดียวกับตน

ขอเพิ่มเติมเรื่องภาษายาวีครับ

ภาษายาวี กับภาษามลายูกลางที่ใช้ในมาเลเซีย ใกล้เคียงกันมากครับ สามารถสื่อสารกันได้แบบเดียวกับคนไทยภาคกลางคุยกับคนอิสาน หรือคนใต้ ที่มีสำเนียงต่างกัน หรือมีศัพท์บางคำต่างกัน
เช่น กิน ถ้าเป็นภาษายาวีจะพูดว่า มาแก แต่ภาษามลายูกลาง พูดว่า มากัน
เที่ยว ภาษายาวีพูดว่า ยาแล แต่ภาษามลายูกลาง พูดว่า จาลัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 19 พ.ค. 10, 13:48

ขออนุญาตย้อนกลับไปถึงเกร็ดชีวิตท่านตนกู สมัยเป็นนักศึกษาที่เคมบริดจ์     ท่านพักอยู่ข้างนอก  ไม่ได้อยู่ในหอพักของมหาวิทยาลัย
เพราะ...
Apparently however, Tunku was not allowed to remain on campus at St Catherine’s College for a whole term because back in the year’19 when he was there, it was highly unusual for a Malayan to be a student of Cambridge because they “did not look like British students” so it was preferred they were to live off campus.

ถือผิวกันหนักหนาสาหัสเอาการ    ไม่เคยรู้มาก่อนเลยค่ะ
ทำให้สงสัยว่า ท่านตนกูไปเจอนักเรียนไทย ๓ คนพักอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆนอกมหาวิทยาลัย หนึ่งในนั้นคือคุณเทพ อภัยวงศ์  (ค.ห. 30)   
ก็เพราะทุกคน " did not look like British students”   so it was preferred they were to live off campus.  หรือเปล่า


จากตรงนี้ ถึงตอนที่คุณเพ็ญชมพูมาต่อให้ ในค.ห. 35  ว่า
The British advisor to Malaya was summonsed by the Sultan of Kedah so that he may explain to the Dean of the university that Tunku was a prince in Malaya. The Dean was totally shocked and exclaimed “why did you not say to me this before!”. Tunku was then offered a room on campus but he gracefully declined as he had grown accustomed to living elsewhere by then.

http://revistaminimi.com/the-story-of-tunku-abdul-rahman-and-his-time-in-the-united-kingdom.html
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 19 พ.ค. 10, 14:43

หนังสือหลักที่ผมนำมาย่อยให้อ่านไม่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้เลย นอกจากว่าชีวิตที่เคมบริดจ์เป็นสวรรค์ของท่านตนกู ผมตัดเอา2ข้อความที่กล่าวถึงเรื่องห้องพักที่วิทยาลัยเซนต์แคเธอรีน มาให้ดู ผมแปลไม่ออกตัวเดียว คำว่า pesioner หาไม่เจอแปลว่าอะไร

อีกข้อความหนึ่งแสดงถึงขนบประเพณีของชาวมหาวิทยาลัยที่นี่ ซึ่งในฐานะนักศึกษาทั่วไป ท่านตนกูต้องปฏิบัติ ผมไม่คิดว่าจะมีการเหยียดผิวอย่างที่กล่าวในอังกฤษนะครับ ถ้ามี เจ้านายไทยก็คงต้องโดนด้วยและคงไม่บิดบัง แต่ถ้าเป็นอัฟริกาใต้ หรืออเมริกาบางรัฐ สมัยนั้นก็ไม่แน่

คุณCTVครับ ภาษายาวีกับภาษามาเลย์ ผมว่าก็เหมือนภาษาลาวกับภาษาไทย ความรู้สึกของคนบางคนก็คล้ายกันมากเวลาคนไทยพูดถึงภาษาลาว และคนมาเลย์พูดถึงภาษายาวีที่เขาเรียกว่าไซมีส แต่ก็ยอมรับว่าเป็นความรู้สึกส่วนตัวของผมคนเดียวนะครับ




บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 19 คำสั่ง