เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 11
  พิมพ์  
อ่าน: 60910 อดีตชาวสยามผู้ถูกยกย่องให้เป็นบิดาของประเทศมาเลเซีย
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 25 พ.ค. 10, 22:16

วันที่ 21 กันยายน 2513 ท่านตนกูได้กราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อสมเด็จพระราชาธิบดี ยังดี เปอร์ตวน อากง ท่ามกลางสุลต่านแห่งรัฐต่างๆของมาเลเซีย และคณะรัฐมนตรี


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 26 พ.ค. 10, 07:42

ก่อนหน้าการกราบบังคมทูลลาออกอย่างเป็นทางการ ในเช้าวันนั้น ท่านตนกูได้ปฏิบัติภารกิจสุดท้ายในตำแห่งนายกรัฐมนตรีในพระราชพิธีสถาปนาตนกูฮาริม แห่งเคดะห์ หลานชายของตนเอง ขึ้นเป็นพระราชาธิปดีพระองค์ใหม่สืบแทนพระองค์เดิมที่ต้องพ้นไปตามวาระ



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 26 พ.ค. 10, 07:44

อีกภาพหนึ่ง
ท่านอากับท่านหลานสวมกอดกันประสาญาติสนิทในสถานที่รโหฐาน หลังจากพิธีการทั้งหลายเสร็จสิ้นไปแล้ว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 26 พ.ค. 10, 17:35

ท่านตนกูประกาศลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรคอัมโนในที่ประชุมพรรค เปิดทางให้ตนอับดุล ราซักขึ้นเป็นแทน ซึ่งเท่ากับปูพรมให้ก้าวไปสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่สองของประเทศมาเลเซีย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 26 พ.ค. 10, 17:37

หลังจากวางมือทางการเมืองในรัฐสภาแล้ว ท่านตนกูได้หันไปทำงานให้ศาสนา
ด้วยจากการริเริ่มให้มาเลเซียเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมใหญ่อิสลามิกสัมพันธ์แห่งภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้นเป็นครั้งแรก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 26 พ.ค. 10, 17:43

งานของท่านตนกูเข้าตากษัตริย์ไฟซาลแห่งซาอุดิอาราเบียองค์อุปถัมภ์ใหญ่ของโลกอิสลาม ถึงกับเสด็จมามาเลเซีย แม้อยู่ในฐานะแขกของรัฐบาล แต่ก็ได้คุยกับท่านตนกูเพื่อขอเชิญให้รับตำแหน่งเลขาธิการองค์กรมุสลิมโลกที่ทรงดำริจะจัดตั้งขึ้น โดยจะมีที่ตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ที่เจดดาห์

ท่านตนกูทูลตอบว่าท่านเป็นคนชอบคบคนทั้งหลาย ชอบเล่นม้า และชอบเล่นไพ่ในบางโอกาส ท่านไม่เหมาะสมกับตำแหน่งที่ว่า แต่กษัตริย์ไฟซาลผู้ชราแย้มพระสรวล ตรัสว่าทรงทราบทุกอย่างเกี่ยวกับท่านตนกูดีอยู่แล้ว ท่านไม่ได้เดินทางมาครั้งนี้เพื่อจะเสาะหาอิหม่าม ท่านมาเชิญคนไปช่วยจัดองค์กรที่จะนำมุสลิมทั้งโลกมาร่วมใจกัน ซึ่งเป็นจุดหมายที่ตัวท่านตนกูจะช่วยให้บรรลุผลได้เป็นอย่างดี

ท่านตนกูจึงยอมรับ
 
ในภาพ ท่านตนกูนั่งตรงกลางคณะผู้ทำงานในสำนักงานใหญ่องค์กรมุสลิมโลกที่ท่านได้เริ่มต้นในเจดดาห์ งานนี้ทำให้ท่านต้องย้ายนิวาสถานไปอยู่ที่นั่น โดยกษัตริย์ไฟซาลพระราชทานวังส่วนพระองค์แห่งหนึ่งให้เป็นที่พำนักตลอดเวลา3ปีที่ท่านอุทิศตนให้กับการเสริมสร้างสังคมมุสลิมทั่วโลก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 27 พ.ค. 10, 08:24

อ้างถึง
ไปตามอ่านต่อ  พบว่าท่านตนกูพ้นตำแหน่งเมื่อ ค.ศ. 1970   แต่จะว่าท่านวางมือโดยสิ้นเชิงก็ไม่ใช่   เจ็ดปีต่อมา  ท่านถือหุ้นของหนังสือพิมพ์  The Star  นอกจากเป็นประธานกรรมการแล้วยังเป็นคอลัมนิสต์  เขียนคอลัมน์ "Looking Back"(ย้อนอดีต) และ " As I see It"(ตามที่เห็น)
เดาว่าข้อเขียนของท่านตนกู คงจะมีปัญญาชนนิยมชมชื่น เหมือนพวกที่ตามอ่านคอลัมน์ป๋าเปลว สีเงิน

หลังการเกษีรณหน้าที่เป็นครั้งที่สอง ท่านกลับมาบ้านที่เลือกจะอยู่ใช้ชีวิตบั้นปลายที่ปีนัง วันหนึ่งมีเถ้าแก่เจ้าของหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ท้องถิ่นมาบอกขายกิจการให้ ท่านตนกูเป็นนักการเมืองแบบฉบับที่มิได้ร่ำรวยจากผลประโยชน์ทับซ้อน แต่ธนาคารได้ให้ท่านกู้เงินก้อนใหญ่มาทำสิ่งที่ท่านอยากจะทำนี้ หนังสือพิมพ์เดอะซันจึงมียอดขายพุ่งกระฉูดเพราะมีท่านเป็นคอลัมนิสต์ประจำ สมาชิกพรรคอัมโนและแนวร่วมทุกคนต้องอ่าน จนต้องขยายกิจการไปเปิดสำนักพิมพ์อยู่ในเมืองหลวง 


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 27 พ.ค. 10, 08:33

ระหว่างที่ได้ขึ้นทำเนียบนักหนังสือพิมพ์ผู้ยิ่งใหญ่  นางมาร์กาเรต ฮิลดา แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีหญิงเหล็กของอังกฤษที่ครั้งหนึ่งมาเยือนมาเลเซีย ได้แวะเยี่ยมคารวะท่านถึงที่บ้าน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 27 พ.ค. 10, 08:54

อ้างถึง
ข้อเขียนของท่านตนกู วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลในหลายเรื่องที่ท่านเห็นว่าไม่สมควร    เขียนอยู่ได้ 10 ปี  ก็ต้องมาสิ้นสุดลงในค.ศ. 1987, ดร.มหาธีร์ สั่งปิดหนังสือพิมพ์เสียเลย

ยอดขายที่เพิ่มขึ้นตลอดบังคับให้สำนักพิมพ์จะต้องลงทุนครั้งใหญ่เพื่อติดตั้งแท่นพิมพ์ขนาดยักษ์ ถึงตรงนี้ท่านอายุเลยแปดสิบแล้ว ขาดทุนทรัพย์ที่จะลงทุนอีก จึงขายหุ้นเกือบทั้งหมดของท่านให้กับพรรคสมาคมคนจีน(MCA) เหลือเก็บไว้เป็นความภูมิใจที่ก้นกระเป๋าเพียงเล็กน้อย ในรูปเป็นวันที่เขาเข็นรถเก้าอี้พาท่านมาชื่นชมแท่นพิมพ์ตัวใหม่  ชายชรามีสีหน้าเบิกบานมาก

ในหนังสือที่เป็นข้อมูลหลักของผมมิได้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในล้อมกรอบข้างต้นเลย แต่มีสาส์นของตุน ดร. มหาธีร์ บิน มูฮัมหมัด นายกรัฐมนตรี เขียนลงในเดอะสตาร์ฉบับพิเศษเนื่องในวันที่อายุของท่านครบ7รอบ ในพ.ศ.2530 (1987)
แปลความว่า

“ เราทั้งหลายต่างสำนึกในพระกรุณาขององค์อัลเลาะห์ที่ประทานให้ท่านตนกูยังมีความสามารถที่จะเสริมสร้างงานเพื่อสังคมอันมีค่ายิ่ง โดยเฉพาะด้านการประชาสงเคราะห์ และงานเผยแพร่ศาสนา ความเต็มอกเต็มใจที่จะรับใช้สังคมแม้กระทั่งอยู่ในวัยขนาดนี้ เป็นความภูมิใจของชาวมาเลเซียทุกๆคน”

สงสัยเดอะซัน(ซึ่งเป็นของพรรคการเมืองคนจีนไปแล้ว)คงจะถูกปิดไปจริงๆ สาส์นข้างต้นจึงไปลงในเดอะสตาร์(อาจจะแท่นพิมพ์เดียวกันก็ได้ เพียงแต่เปลี่ยนหัว) การเมืองมาเลเซียก็สลับซับซ้อนเช่นเดียวกับบ้านเรา ผมยิ่งอ่านยิ่งแน่ใจว่าตนรู้น้อย เขียนสุ่มสี่สุ่มห้าไปมากอาจจะพลาดในข้อเท็จจริงที่ถูกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบิดเบือนไว้ ก็เหมือนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเมืองไทยตอนนี้แหละครับ ชาวต่างชาติหลงมาอ่านฉาบฉวยก็อาจจะเชื่อเรื่องโกหกที่ปรุงแต่งเสียจนเนียน ผมจึงระมัดระวังให้กระทู้นี้เป็นเรื่องประวัติชีวิตที่สะอาดและมีคุณค่าของรัฐบุรุษที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของเอเซีย ซึ่งท่านบอกว่าท่านเคยเป็นคนสยาม อันเป็นที่มาของความบรรดาลของผมในการเขียน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 27 พ.ค. 10, 09:09

อ้างถึง
เจอแบบนี้เข้า ก็กลายเป็นรอยแตกใน UMNO  ท่านตนกูและตนฮุสเซน ออนน์ แยกตัวออกไปตั้งพรรคใหม่  แต่ก็เจอตอใหญ่คือมหาธีร์ตามเคย   ตั้งไม่ได้  มหาธีร์เองก็ตั้งพรรค NEW UMNO หรืออุมโนใหม่ขึ้นมาเหมือนกัน
สังขารของท่านตนกูเสื่อมลงตามวัยมากแล้ว  แม้จะกลับมาสนับสนุนมุ้ง UMNO อีกมุ้งหนึ่งที่แยกออกไปเหมือนกัน แต่สุขภาพไม่ให้เสียแล้ว  ท่านถึงแก่อสัญกรรมเมื่อปี 1990 ด้วยวัย 87 ปี   พักผ่อนตลอดกาลอยู่ในสุสานที่อลอร์สตาร์

หนังสือของผมจบเรื่องลงที่งานฉลองอายุดังกล่าวของท่าน มิได้กล่าวถึงข้อความข้างบนนี้ อย่างไรก็ดีคนอายุแปดสิบกว่า คนหนึ่งนั่งรถเข็น อีกคนหนึ่งก็คงจะเป๋พอๆกัน ถ้ามาถกกันเรื่องที่จะตั้งพรรคต่อสู้ทางการเมืองกับมหาธีร์ คนหนึ่งลุกไปปัสสาวะ กลับมาอีกคนหนึ่งอาจจะลืมไปแล้วว่าเมื่อกี้พูดกันเรื่องอะไร มันก็จะไปรอดกันได้สักกี่น้ามมม?

นักการเมืองวัยทองของไทยที่ออกมาเต้นๆสลับฉากอยู่ตอนนี้ น่าจะดูๆตัวอย่างไว้บ้าง ..อ้าว..เริ่มไปแขวะเขาเข้าแล้ว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 27 พ.ค. 10, 09:18

งานฉลองวันเกิดของท่านในปีนั้น จัดกันยิ่งใหญ่ แต่ความสุขของท่านคงจะอยู่ที่การมาพร้อมหน้าพร้อมตากันของลูกหลาน



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 27 พ.ค. 10, 09:22

อ้างถึง
การเมืองมาเลเซียก็สลับซับซ้อนเช่นเดียวกับบ้านเรา ผมยิ่งอ่านยิ่งแน่ใจว่าตนรู้น้อย เขียนสุ่มสี่สุ่มห้าไปมากอาจจะพลาดในข้อเท็จจริงที่ถูกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบิดเบือนไว้ ก็เหมือนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเมืองไทยตอนนี้แหละครับ ชาวต่างชาติหลงมาอ่านฉาบฉวยก็อาจจะเชื่อเรื่องโกหกที่ปรุงแต่งเสียจนเนียน ผมจึงระมัดระวังให้กระทู้นี้เป็นเรื่องประวัติชีวิตที่สะอาดและมีคุณค่าของรัฐบุรุษที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของเอเซีย ซึ่งท่านบอกว่าท่านเคยเป็นคนสยาม อันเป็นที่มาของความบรรดาลของผมในการเขียน

กลับไปหาว่าตัวเองได้ข้อมูลมาจากไหน  พบว่าไปฉวยเอามาจากวิกิ (ซึ่งอาจคลาดเคลื่อนได้)  จึงขอลงไว้ให้พิจารณา   หากผิดพลาดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

In 1977, having acquired substantial shares in The Star, a Penang-based newspaper, Abdul Rahman became the newspaper's Chairman. His columns, "Looking Back" and "As I See It", were critical of the government, and in 1987 Prime Minister Mahathir Mohamad banned the newspaper. This led to a split in UMNO, with Abdul Rahman and another former Prime Minister, Tun Hussein Onn, setting up a new party called UMNO Malaysia, but its registration was quashed by Mahathir Mohamad, who set up his own UMNO Baru ("New UMNO"). Abdul Rahman later supported Semangat 46, a splinter group of UMNO led by Tengku Razaleigh Hamzah. He campaigned actively for the latter in the General election of 1990, but was already in very poor health. The well-educated, visionary Tunku clashes with Mahathir's brand nationalism that was meant to help the economically and socially stunted Malays of Malaysia (due to the effect of colonial British 'divide and rule' system).
ดิฉันพยายามหาข้อมูลต่อจากที่กล่าวไว้ในนี้    แต่ยังหาไม่เจอ   ลองเสิชในกูเกิ้ลก็ยังไม่พบเรื่องนี้เฉพาะเจาะจง    ถ้าใครเจอช่วยทำลิ้งค์ให้ด้วยจะขอบคุณมาก
ตอนที่อาราธนาคุณ N.C. มาเล่าต่อ  ใจไปเชื่อวิกิ   นึกว่าเป็นเรื่องที่รู้ๆกันอยู่ทั่วไปในมาเลย์เซีย   ไม่งั้นคงมีคนเข้ามาแก้ไขวิกิให้ถูกต้องเสียนานแล้ว   พอคุณ N.C. ตอบมา ก็เลยเอะใจว่าเราจะสรุปเร็วเกินไปหรือเปล่า  
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 27 พ.ค. 10, 10:13

ท่านมหาธีร์เป็นนักการเมืองที่แรงคนหนึ่งของมาเลเซีย เป็นนายกรัฐมนตรีนานที่สุดถึงยี่สิบปี ตอนหนุ่มๆทะเยอทะยานมาก หาชื่อเสียงด้วยการเป็นฝ่ายค้านหัวรุนแรงในพรรคของตนเอง เคยเขียนบทความคัดค้านท่านตนกูลงหนังสือพิมพ์เป็นเรื่องฮือฮาทั่วประเทศ ตอนนั้นท่านตนกูกำลังรุ่ง อาจจะหลงๆตนเองไปด้วยซ้ำว่าตนเองบริสุทธิ์ขนาดเดินออกไปตากฝนตัวยังไม่เปียก อะไรทำนองนั้น เจอทีเด็ดพ่อหนุ่มเชื้อแขกนี้เข้าถึงกับเป๋ด้วยความเสียอกเสียใจไปหลายวัน ในที่สุดสาวกในพรรคก็ช่วยจัดการอัปเปหินายมหาธีร์นี้ออกจากพรรคอัมโนไป กว่าจะอโหสิให้กลับมาใหม่ก็หลายปี

ชื่อมหาธีร์(Mahathir)ที่ท่านอาจารย์ใช้ตรงกับความเชื่อของผมว่าน่าจะมาจากศัพท์บาลีตัวนี้แหละ(เช่นเดียวกับพระราชสมัญญานามสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า) แต่แม้ทุกวันนี้ก็ยังมีการสะกดที่แตกต่างกันในภาษาไทย มีมหาเธียร์บ้าง มหาเธร์บ้าง เมื่อขึ้นสู่ตำแหน่งใหม่ๆตอนนั้นหนังสือพิมพ์เมืองไทยใช้ว่ามหาเดร์ ผมไปกัวลาลัมเปอร์ช่วงนั้นเรียนถามท่านทูตไทยว่าคนมาเลย์เขาอ่านออกเสียงอย่างไร ท่านทูตบอกว่า "มหาเด่...มหาเด่ ชัดๆอย่างนี้แหละ" พวกเราได้ฟังแล้วก็หัวเราะกันหึๆ .เอ้า...นอกเรื่องอีก

ข้อความที่คุณวิกี้ว่า ผมได้เห็นแล้วครับ ดูแล้วก็เห็นว่าน่าจะมีมูลอยู่ ที่เอาสาส์นของมหา.ธีร์มาลงไว้ ก็ให้เห็นว่า นักการเมืองนะครับ หน้าไหว้หลังหลอกให้กันตลอด แต่ก็ยังมีที่พอจะสังเกตูได้อยู่ว่า ฉันมิได้ยกย่องเธอเรื่องผลงานด้านการเมืองเลยนะ จะบอกให้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 27 พ.ค. 10, 10:21

รางวัลที่รัฐบุรุษจะได้รับจากประชาชาติ

อนุสาวรีย์บรอนซ์ของท่านตนกู อับดุล เราะห์มานได้รับการสถาปนาไว้ที่หน้าอาคารรัฐสภาของมาเลเซียที่ท่านสร้างขึ้น เป็นอนุสรณ์ให้คนมาเลย์ได้ระลึกถึงคุณความดีที่บุคคลท่านนี้ได้กระทำลงไปในขณะที่ดำรงชีวิตอยู่ ตลอดไปชั่วกาลนาน

ท่านตนกูโชคดีที่ได้มีโอกาสได้เห็นอนุสาวรีย์ที่เพื่อนร่วมชาติสร้างให้ท่านนี้



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 27 พ.ค. 10, 10:57

คุณ Navarat C. บอกไว้ในค.ห.สุดท้ายว่า

อ้างถึง
ผมขอจบเรื่อง “อดีตชาวสยามผู้ถูกยกย่องให้เป็นบิดาของประเทศมาเลเซีย” ไว้ ณ ตรงนี้

ขอความกรุณาท่านอาจารย์ช่วยเปิดกระทู้สืบเนื่องในประเด็นที่เราติดใจจะคุยกันต่อ
ว่าด้วยเรื่อง “มองมาเลย์ แล้วเหล่ดูไทย” เป็นประเดิมก่อน ผมจะกลับบ้านตอนบ่ายๆแล้วจะมาช่วยกันต่อครับ
ขอบพระคุณ

ดิฉันก็เลยแยกกระทู้ไป  เพื่อเวลาขึ้นเว็บบอร์ดจะได้มีชื่อเจ้าของเรื่องตัวจริงเป็นคนตั้งกระทู้   แต่ระบบมันพาแยกไปทั้งค.ห.   เลยต้องก๊อปกลับมาใส่ไว้ในกระทู้เดิม  ไม่งั้นเรื่องจะหายไปดื้อๆ ไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยให้รู้ว่าจบแล้ว
ขอเชิญติดตามเรื่องใหม่ได้ที่นี่ค่ะ
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3326.0

ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย  สำหรับเรื่องที่จบลงไป และที่เราจะได้อ่านเรื่องดีๆกันอีก



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.12 วินาที กับ 19 คำสั่ง