เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 5490 เรื่องหวานๆ
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
 เมื่อ 05 ก.พ. 01, 21:36

ก็ นำ้ตาล น่ะค่ะ  นั่งกินมะม่วงดิบนำ้ปลาหวานไป  มองถุงนำ้ตาลปีปที่เอามาทำนำ้ปลาหวาน  เค้าเขียนว่า  นำ้ตาลมะพร้าว  
เลยพบอลนึกไปถึงนำ้ตาลหลายๆอย่าง  เช่น นำ้ตาลทราย นำ้ตาลกรวด นำ้ตาลอ้อย นำ้ตาลสด ฯลฯ

เลยสงสัยน่ะค่ะ  เนื่องจากคำที่หมายความว่า sugar ของเราทั้งหมดเนี่ยะ คือ นำ้ตาล  จะเป็นเพราะเรารู้จักทำ นำ้ตาล ด้วยนำ้หวานจากงวงตาล  
เป็นนำ้ตาลชนิดแรกที่เราใช้กันหรือเปล่า  ถ้าอย่างนั้น  เราอาจจะปลูกต้นตาลไว้ทำนำ้หวาน  ก่อนการปลูกอ้อย  
และการปลูกอ้อยต้องใช้แรงงานมากในการหีบเอานำ้ออกมา  ไม่เหมือนกับการไปเก็บ "นำ้ตาล" มาเคี่ยวนำ้ตาล  
ทำทีละนิดทีละหน่อยพอกินในครัวเรือนก็ได้  ไม่เกินกำลังของครอบครัวหนึ่งกับพวกญาติๆมาช่วยกัน  และก็ไม่ต้องใช้เครื่องมือเครื่องไม้อะไรมาก  
ไม่เหมือนกับการที่ต้องสร้างเครื่องมือที่กำลังมากพอที่จะหีบนำ้ตาลจากอ้อย

และ มะพร้าว เป็นพืชทางเศรษฐกิจที่สำคัญมาก  เราต้องการใช้เนื้อมะพร้าวเป็นอาหาร  ไม่เหมือนกับลูกตาลที่เอามาเป็นขนมได้เท่านั้น  
ถ้าไปทำขนมที่กินอิ่มได้อย่างขนมตาล  ก็ยังต้องผสมกับแป้งอีก  ฉะนั้น เราคงมีมะพร้าวมาคู่กันกับต้นตาล  
แต่สงวนให้ดอกมะพร้าวเก็บนำ้หวานไว้เลี้ยงผลที่เป็นประโยชน์กว่า  แล้วไปปาดดอกตาลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจน้อยกว่า  
ของหวานที่ใช้มาแต่โบราณ  จึงคงเป็นนำ้ตาลที่เคี่ยวจากงวงดอกต้นตาลเป็นหลัก

พยายามมั่วๆเอาเรื่องหวานๆมาเม้าให้เข้าบรรยากาศเท่านั้นแหละค่ะ  แบ่งๆความหวานกระจายๆกันไปจากกระทู้เพลงรักบ้าง  
เดี๋ยวแม่หญิงจะเมานำ้ตาล  เอ หรือ นำ้ตาลจะเมามดกันนะ
บันทึกการเข้า
ภูมิ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 04 ก.พ. 01, 10:22

อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้้วสิ้นซาก
แต่ลมปากหวานหู้ไม่รู้หาย  ฯ

นึกถึงกลอนนี้แล้วเลยสงสัยขึ้นมาว่า ตาล นี่เราเคี้ยวกินกันด้วยหรือ
ถึงเหลือซากด้วย
บันทึกการเข้า
แจ้ง ใบตอง
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 04 ก.พ. 01, 11:56

คุณพวงร้อยครับ    บางทีเราจะรอให้ต้นตาลออกผลิตผลนี่ต้องใช้เวลาเป็นสิบปี   ไม่เหมือน
มะพร้าวบางที  ๓-๕ ปีให้ผลแล้ว   ถ้าจะรอทำน้ำตาลจากงวงตาลผมว่าไม่ทันแน่ครับ  เพราะ
คนไทยกินน้ำตาลกันเยอะเหลือเกิน ขนมไทยส่วนมากจะไม่ใช้น้ำตาลอ้อย อีกอย่างต้นตาลก็มี
ค่อนข้างน้อย ชาวบ้านไม่นิยมปลูกต้นตาลกันแล้ว   เพราะเห็นผลช้า    ผมไม่แน่ใจว่าตอนนี้
การขยายพันธุ์ตาลทำด้วยวิธีใด ที่แน่ๆ คือเอาเม็ด(เมล็ด)ไปเพาะ  แต่ในปัจจุบันเราก็นำเม็ด
มันไปผ่าเอาจาวตาลไปขายกันเสียหมด ดังนั้นต้นตาลที่ขึ้นในปัจจุบันแทบจะพูดได้ว่าเป็นตาล
ที่หลงหูหลงตา ขึ้นมาเอง  ไม่เหมือนในสมัยสุโขทัยที่นิยมปลูกต้นตาลไว้เป็นที่ระลึกสำหรับคน
รุ่นหลัง เพราะตาลเป็นพืชที่อายุยืน  จังหวัดที่มีต้นตาลมากในปัจจุบันผมเห็นมีสองจังหวัด
คือ สุพรรณบุรี กับราชบุรี จนมีนิทานเล่าข่มกันว่าของจังหวัดไหนมากกว่ากัน สรุปว่าสุพรรณ
แพ้ ยอมให้ราชบุรีมีต้นตาลได้มากกว่าหนึ่งต้น (ผมจำรายละเอียดไม่ได้ ใครพอรู้ช่วยเล่าทีครับ)
อ้อ!ต้นตาลที่ใช้ทำน้ำตาลเรียกว่าตาลโตนดครับ...

น้ำตาลมะพร้าวทำกันมากในจังหวัดสมุทรสาคร  แถวนั้นเค้าทำสวนมะพร้าวเอาไว้ทำน้ำตาลโดย
เฉพาะครับ ปู่ผมเองก็ปลูกมะพร้าวน้ำหอมไว้ขายหลายสิบไร่ มะพร้าวเป็นพืชเศรษฐกิจ เอาไป
แปรรูปได้หลายอย่าง ในความคิดผมถึงถ้าหากทำน้ำตาลจากงวงมะพร้าว  ก็คงไม่ถึงกับภาวะ
มะพร้าวขาดตลาด เพราะทางใต้เองก็ปลูกมะพร้าวเยอะ.... ชาวสวนมะพร้าวจะต้องมีอุปกรณ์
ในการขึ้นไปเอากระบอกน้ำตาลคือ มีดปาดตาลซึ่งคมมาก อีกอย่างคือ "พะอง" พะองคือลำ
ไม้ไผ่ที่ช่วยในขึ้นมะพร้าว ชาวสวนมะพร้าวจะไม่ใช้วิธีปีนครับ จะต้องไต่พะองขึ้นไปเนื่องจากมี
อุปกรณ์พะรุงพะรังมาก เช่นมีดปาดตาล กระบอกไม้ไผ่ เป็นต้น

การทำน้ำตาลมะพร้าวนี่ต้องนำน้ำตาลจากงวงมะพร้าวใส่กระทะใบบัวใหญ่ๆ (อุตสาหกรรมในครัวเรือน)
เคี่ยวกันนานกว่าจะเหนียวได้ที่ เวลาเคี่ยวน้ำตาลจนค่อนข้างเหนียวแล้วเค้าจะมีไม้ (ขนาดเท่าด้าม
จอบนี่แหละ แต่ติดสปริงเป็นรูปกรวยตรงปลาย) คอยตีน้ำตาลไม่ให้ติดก้นกระทะ เวลาเคี่ยวน้ำตาล
เด็กๆ จะไม่สามารถเค้าไปใกล้ๆได้เลย   พวกผู้ใหญ่จะกันเอาไว้  เพราะเคยมีเด็กบางคนเข้าไป
เล่นใกล้ๆแล้วถูกน้ำตาลที่กำลังเดือดกระเด็นใส่ หรือบางครั้งกระทะก็พลิกคว่ำลวกตามร่างกาย
ลองคิดดูครับน้ำตาลร้อนๆ ติดตามผิวหนังที่มันน่าหวาดเสียวแค่ไหน  เชื้อเพลงที่ใช้เคี่ยวน้ำตาล
ถ้าจะให้ดีต้องใช้แกลบหรือกะลามะพร้าวครับ เพราะจะได้ไพแรง...

เมื่อเคี่ยวน้ำตาลจนเหนียวได้ที่แล้ว ก็เทใส่ลงในปี๊บ เรียกว่าน้ำตาลปี๊บ  หรือบางทีก็เทใส่แม่พิมพ์
เล็กๆ (มีลักษะเป็นถ้วยเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑-๒ นิ้ว) เรียกว่าน้ำตาลปึก เมื่อประมาณเกือบ
ยี่สิบปีที่แล้ว ยังมีแม่ค้าพายเรือขายน้ำตาลปึกอยู่แถวคลองดำเนินสะดวก ผมเองก็ยังเคยซื้อกิน
เอามากินเปล่าๆ นี่แหละครับอร่อยดี รสชาดหวานมัน เดี๋ยวนี้ไม่รู้ว่ามีหรือเปล่า

ตอนเด็กๆ ซนครับไม่รู้จะทำอะไร ก็ไปเอาน้ำตาลปึกมาเผาไฟจนเหนียว แล้วเทใส่ภาชนะคือกาบ
กล้วยที่ลอกจากต้นมาสดๆ ผมเรียกมันว่า "ตังเม"  กินอร่อยอีกเหมือนกันตามประสาเด็กๆ

พูดถึงเรื่องอ้อยนิดนึง นอกจากอ้อยเอาไว้ทำน้ำตาลหรือกินเล่นแล้ว ยังเอาไว้ป้องกันตัวได้ครับ
สาวๆ ชนบทเวลาไปดูหนังกลางแปลง หรือเที่ยวงานวัด พวกผู้ใหญ่จะแนะนำให้ถืออ้อยไปคนละ
ท่อน หากมีหนุ่มๆ คนไหนมาวอแว หรือลวนลาม ก็ให้หวดเข้าที่ทัดดอกไม้ ตายได้เหมือนกันครับ
หากมีใครถามก็ให้บอกว่าเอามากินเล่นเวลาดูหนัง...อ้อยมีหลายชนิด ที่กินอร่อยและหวานมากคือ
พันธุ์ มะลิชาร์จ ผมก็ไม่รู้ว่าทำไมเรียกอย่างนี้ เปลือกจะสีออกม่วงแดง เวลาไปตัดแล้วไม่มีขนตำมือ
อีกพันธุ์หนึ่งผมจำชื่อไม่ได้ ลำจะใหญ่กว่าเปลือกออกสีเขียวเหลืองอ่อน นี่ก็หวาน แต่เวลาไปตัดจะ
มีขนเล็กๆชอบตำมือ ไม่เจ็บหรอกครับแต่รำคาญเวลาดึงออก เวลาเด็กๆจะกินอ้อยให้สนุกๆอย่าไป
กินอ้อยที่เค้าขวั้นแล้วเหมือนที่ขายตามงานวัดเลยครับ หักจากต้นก็กินเลย เอาฟันนั่นแหละกัดเปลือก
อ้อยออก   จะลำบากนิดนึงคือช่วงที่กินไปถึงข้ออ้อยแล้ว ก็ตรงนั้นมันแข็ง แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาสำหรับเรา
ใช้วิธีลัด ก็คือกัดมันตรงกลางปล้องเลยครับสนุกสนานไปอีกแบบ เป็นการทดสอบความแข็งของ
ฟันด้วย
บันทึกการเข้า
แจ้ง ใบตอง
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 04 ก.พ. 01, 12:19

จังหวัดที่ผมว่ามีต้นตาลมาก น่าจะเป็นสุพรรณบุรีกับเพชรบุรีครับ ไม่ใช่ราชบุรี
บันทึกการเข้า
แม่หญิง
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 04 ก.พ. 01, 12:31

สมุทรสงครามก็เป็นอีกจังกวัดหนึ่งที่มีสวนมะพร้าวมาก  ไม่น้อยหน้าสมุทรสาครค่ะ เพราะบ้านคุณปู่ของแม่หญิงอยู่แม่กลอง จ. สมุทรสงคราม มีโรงตาลสำหรับเคี่ยวน้ำตาลปึกขาย แต่บ้านแม่หญิงเรียกน้ำตาลปี๊บ เพราะเคี่ยวเสร็จก็จะเทใส่ปี๊บไว้ แม่หญิงจำภาพเก่า ๆ ได้ เช่น พะองสำหรับปีนขึ้นต้นมะพร้าว เคยไปพยายามปีนเล่นอยู่เหมือนกัน แต่โดนดุทุกครั้ง เวลาคนงานปีน จะเอากระบอกไม้กลม ๆ ผูกเอวไว้ ปีนขึ้นไปใช้มีดปาดตาลแล้วรองเอาน้ำออกมา  แต่เดี๋ยวนี้เลิกทำแล้ว บ้านคุณปู่หันมาทำฟาร์มเลี้ยงปูทะเลแทนค่ะ

รู้สึกคุณแจ้งจะถนัดเรื่องหวาน ๆ นะคะ
บ้านใกล้เรือนเคียงกันเสียด้วย คุณแม่ของแม่หญิงเป็นคนดำเนินสะดวก พบรักกับคุณพ่อที่แม่กลองค่ะ
บันทึกการเข้า
แม่หญิง
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 04 ก.พ. 01, 12:59

"เขาย่อมเปรียบเทียบความเมื่อยามรัก
น้ำต้มผักต้มขมชมว่าหวาน
ครั้นจืดจางห่างเหินไปเนิ่นนาน
แม้น้ำตาลก็ว่าเปรี้ยวไม่เหลียวแล"

ท่านสุนทรภู่บอกไว้ค่ะ ว่า  บางเวลา น้ำตาล ก็ไม่ได้หวานเสมอไป
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 04 ก.พ. 01, 14:01

ขอบคุณมากค่ะ คุณแจ้ง  ฟังเพลินไปเลยค่ะ  ที่ว่าไปนั้น  นึกถึงในด้านนิรุกติศาสตร์  คือสนใจนึกถึงที่มาของคำน่ะค่ะ  หมายถึงในสมัยโบราณนู้น  
สาเหตุที่ให้ศัพท์คำว่า  นำ้ตาล  แทนที่จะเป็น นำ้มะพร้าว นำ้อ้อย  คงเป็นเพราะในสมัยโบราณ  เราเอานำ้หวานจากต้นตาลมาเป็นหลัก  
สำหรับนำ้ตาลหากจะทำกับมะพร้าว  นึกถึงสมัยก่อนนะคะ  คุณจะขึ้นไปเอาน้ำหวานทีต้องปีนขึ้นไปไม่ใช่น้อยๆ  ต้องใช้แรงงานมาก  
ต้นตาลที่ทำนำ้ตาลมากคงขึ้นได้ด้วยแรงงานน้อยกว่า  ประกอบกับเหตุผลอื่นๆที่มั่วไปไป  
เลยทำให้ในสมัยที่มีการบัญญัติศัพท์ที่เราใช้มาในความหมายของ  sugar นั้น  ต้นตาลก็ได้รับรางวัลไปกินขาดฟาดต้นอื่นๆไปได้น่ะค่ะ  
คิดว่าน่าจะเป็นไปได้มั้ยคะ
บันทึกการเข้า
ส้มหวาน
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 04 ก.พ. 01, 18:11

คุณภูมิคะ ดิฉันคิดว่า อ้อยตาลใน

อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้้วสิ้นซาก
แต่ลมปากหวานหู้ไม่รู้หาย ฯ

น่าจะหมายถึงอ้อยที่นำมาทำน้ำตาลมากกว่าอ้อยและตาล นะคะ

รู้สึกว่าต้นอ้อยน่าจะมีแหล่งกำเนิดมาจากแอฟริกานะคะ เข้าใจว่าไทยเราจะimportเข้ามาปลูกหลังจากที่ได้ติดต่อกับทางตะวันตกมากกว่าค่ะ ส่วนต้นตาลคงอยู่คู่ไทยมานานแล้วอย่างน้อยก็ตั้งแต่คนเริมพูดภาษาไทยในสมัยสุโขทัยน่ะค่ะ

คำว่าน้ำตาลน่าจะเป็นคำไทยแท้ๆนะคะไม่มีอิทธิพลบาลี-สันสกฤต หรือภาษาต่างชาติอื่นๆ(ต้องถามผู้รู้ดูอีกทีค่ะ)  ซึ่งคนไทยสมัยก่อนคงเรียกน้ำตาลว่าน้ำตาลจากการที่มันทำจากตาลซะเป็นส่วนใหญ่ที่คนสมัยนั้นเห็นๆกันเป็นประจำค่ะ

เข้าใว่อย่างนั้นน่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
ส้มหวาน
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 04 ก.พ. 01, 18:28

อุ๊ย ไปอ่านมา รู้สึกว่าต้นอ้อยจะไม่ได้มาจากแอฟริกาซะแล้วสิ

ดิฉันคัดประวัติต้นอ้อยมาให้อ่านละกันนะคะ ต้องขอโทษที่ไม่ได้แปลเป็นไทย เพราะดิฉันพิมพ์ไทยไม่เก่งค่ะแบบว่าต้องจิ้มทีละตัวค่ะSugarcane culture dates from antiquity and probably originated in what is now New Guinea. Its cultivation spread along human migration routes to Southeast Asia, India, and Polynesia. The technology for making sugar by pressing out the cane juice and boiling it down into crystals was developed in about 500 BC in India.



Sugarcane cultivation did not reach Europe until the Middle Ages, when conquering Arabs brought it to Spain. Columbus carried the plant to the West Indies, where it thrived in the favorable climate and soil. Sugarcane cultivation began in what is now the United States in the middle of the 18th century, when cuttings were planted in New Orleans. The first American sugar refinery was built in New York City in 1689, and the industry was finally established by the 1830s.



From Compton's Interactive Encyclopedia Deluxe © 1998 The Learning Company, Inc.
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 05 ก.พ. 01, 01:59

ผมเห็นด้วยว่า น้ำตาลที่คนไทยรู้จักอย่างแรกคือน้ำตาลจากต้นตาลโตนด จนกระทั่งมีคำเรียกว่า น้ำตาล ติดอยู่ในภาษา
ดูเหมือนตั้งแต่ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงก็มีพูดถึงหมากพร้าว หมากตาล แล้ว

แต่ผมสงสัยอีกอย่างว่า ทำไมเราเรียกสีน้ำตาลว่า สีน้ำตาล ?
บันทึกการเข้า
ภูมิ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 05 ก.พ. 01, 10:38

นํ้าตาลปี้บ , นํ้าตาลสดก็สีนํ้าตาลไม่ใช่หรือครับ
อมเขียวหน่อยๆ
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 06 ก.พ. 01, 09:36

ดิฉันว่านำ้ตาลที่เคี่ยวตามธรรมชาติ  จะเป็นมาจากต้นตาล หรือต้นมะพร้าว หรือ อ้อย  ก็มีสีนำ้ตาลทั้งนั้นกละค่ะ  ที่เป็นสีขาวอย่างนำ้ตาลทรายนี่  ต้องเอามา "ฟอก" ทีหลัง  เพราะเคยไปเห็นชาวบ้านเค้าหีบอ้อยเคี่ยวนำ้ตาลกัน  ก็มีสีเข้มมากค่ะ  เพราะนำ้ตาลนี่ไหม้ง่าย



อย่างสแลงที่หนุ่มๆผิวดำใช้เรียกสาวๆ  หรือเป็นคำที่หมายถึงผู้หญิงเชื้อสายอัฟริกันก็คือ 'brown sugar"



Brown sugar หาซื้อได้ตามร้านซุปเป้อร์นะคะ  เป็นนำ้ตาลทรายที่ไม่ได้ฟอกมาให้ขาว  ไว้ทำคุ้กกี้ หรือขนมบางอย่างเพราะมันจะหอมกว่า  เนื่องด้วยการฟอกด้วยคลอรีน  นอกจะสีจะหายไปแล้ว  ก็ยังไม่เหลือกลิ่นด้วยค่ะ  แล้วยังมี molass ซึ่งเป็นกากนำ้ตาล  เค้าก็เอามาทำขนมเหมือนกัน เช่น gingersnap cookies ก็สีนำ้ตาลมืดมากๆเลยค่ะ  คือนำ้ตาลอ้อยที่เคี่ยวมากๆจนเกือบไหม้  ไม่ค่อยหวานมากด้วยค่ะ  ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเค้าทำอย่างไรหรอกค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.08 วินาที กับ 19 คำสั่ง