เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 7200 เอาข่าวมาฝากคับ "กรมศิลปเตรียมการขุดพระที่นั่ง5แห่งวังโบราณอยุธยาครั้งใหญ่"
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 17 พ.ค. 10, 09:06

พูดถึุงเขาพระวิหารก็เหมือนเด็กแย่งของเล่นกัน ทั้งๆที่ทั้งสองฝ่ายต่างก็มีของเล่นดีๆอยู่กับตัว แต่ไม่คิดจะรักษา อยากจะได้ของคนอื่น อยากจะเอาชนะ ถ้าไม่ทะเลาะกันก็แปลก แล้วดูของที่มีอยู่ก็ไม่ได้ดูแลรักษาให้คงสภาพดีหรอก ปล่อยให้รกเป็นป่าอยู่นั่นแหละ  ร้องไห้

ความถูกต้องตามหลักวิชาการมันจะเป็นไปได้อย่างไร ในเมื่อนักโบราณคดีไม่เคยเรียนวิศวะหรือเคยปฏิบัติงานจริงเกี่ยวกับงานช่าง ก็แค่จับผิวเผินมาเท่านั้นเอง
บันทึกการเข้า
manit peuksakondh
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 17 พ.ค. 10, 11:42

ชอบข้อความในกระทู้นี้มากๆ เพราะวันหยุดผมกับครอบครัวมักจะไปนั่งชมความงามของของเก่าๆในบ้านเราอยู่เสมอ วันก่อนก็ไปที่ปราจีนฯ มา อยากให้มีการดูแลรักษาของเก่าของเรา มากๆเลยครับ
มานิต
บันทึกการเข้า
non
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 17 พ.ค. 10, 22:59

เรื่องการขุดแต่งที่ผมเห็นๆเลย เขาเอารถตักขุดงัดข้างแนวอิฐพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ลึกไปหลายเมตร
แล้วอีกอาทิตย์นึงเขาก็เอาทรายเศษอิฐจากที่อื่นมากลบเขาทําไปเพื่อ?
การใช้รถตักนี่ดูไม่เป็นการทรมานกับโบราณสถานไปหน่อยหรือครับ หรือว่าใช้วิธีอื่นไม่ได้แล้ว
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 18 พ.ค. 10, 03:32

มีประโยคเด็ดเรื่องการบูรณะมาฝากกันสองประโยคครับ





ประโยคแรกมาจากกฏบัตรเวนิช (ที่พวกนักอนุรักษ์ระดับโลกเขาว่ามันชักจะเชยไปบ้างแล้ว)

‘จะต้องเคารพสิ่งก่อสร้างในทุกยุคสมัยของโบราณสถาน เพราะเอกภาพของรูปแบบเพียงยุคใดยุคหนึ่งไม่ใช่เป้าหมายของการบูรณะโบราณสถาน เมื่ออาคารประกอบด้วยการก่อสร้างของยุคต่างๆซ้อนทับกันไว้...’







ประโยคที่สอง มาจากระเบียบว่าด้วยการอนุรักษ์โบราณสถานของกรมศิลปากร ของอดีตอธิบดี นิคม

‘การบูรณะ หมายถึง การซ่อมแซม และปรับปรุงให้มีรูปทรงลักษณะกลมกลืนเหมือนของเดิมมากที่สุดเท่าที่จะมากได้แต่ต้องแสดงความแตกต่างของสิ่งที่มีอยู่เดิม และสิ่งที่ทำขึ้นใหม่’






ไม่ทราบว่าใครจะหาคำจำกัดความของคำว่า "เดิม" ของอดีตอธิบดีให้ฟังกันได้บ้างไหม ?
ถ้าได้จะขอบพระคุณเป็นอย่างมาก






ปล. ส่วนประโยคที่ 3 เป็นของรองบวรเวท มีทั้งที่เป็นตัวอักษรและไฟล์เสียง
ขออนุญาตอุบไว้ก่อน เพื่อมิให้คนไทยที่ต้องจ่ายภาษีให้ประเทศชาติรู้สึกแย่ไปมากกว่านี้
ถ้ามีคนหานิยามของคำว่า "เดิม" ของอดีตอธิบดีนิคมไว้ให้ผมได้ ก็จะนำมาลงไว้ให้ได้อ่านกันต่อไป
บันทึกการเข้า
manit peuksakondh
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 18 พ.ค. 10, 11:24

ด้วยความอยากทราบประโยคที่ 3 จึงหาญกล้ามาตอบทั้งๆที่ไม่มีความรู้เลยว่า เมื่อเด็กๆได้ไปวิ่งเล่นแถวเจดีย์ 3 องค์ที่อยุธยา มองดูเจดีย์ทั้ง  3 องค์นั้นแล้วเกิดความรู้สึกอย่างหนึ่งในใจ และเห็นว่าถึงจะชำรุด แต่สวย ประทับใจมากชอบมองอยู่นานๆ  พอโตขึ้นไปเที่ยวใหม่ตอนที่เขาบูรณะกันใหม่แล้ว ความรู้สึกที่เคยมีมันไม่เกิด แน่ละมันไม่ชำรุด มันซ่อมแล้ว แต่ผมมองแล้วความรู้สึกที่เคยเกิดสมัยเด็กๆมันไม่เกิด  เหมือนจิตวิญญาณมันไม่ได้ คำว่า"เดิม"ที่ผมอยากจะบอกคือ เมื่อซ่อมแล้วขอให้มองแล้วได้ความรู้สึกเก่าๆด้วย ครับผม
มานิต
บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 18 พ.ค. 10, 13:37

สำหรับผมคำว่า" เดิม "   คือคุณไม่ต้องบูรณะให้มันใหม่  เพียงแต่รักษาให้อยู่ในสภาพเดิมและดูแลให้สะอาดอย่าให้รก  พูดง่ายๆคือรักษาไว้ตามสภาพครับ    อีกอย่างหนึ่งเวลาไปที่ต่างๆในกรณีไม่ให้ถ่ายรูปเนี่ย   อยากให้ทางสถานที่ทำหนังสือ  หรือมีรูปที่ถ่ายไว้บริการ  หน่อยเถอะครับ  จริงๆผมว่าน่าจะเผยแพร่ข้อมูลให้มากๆด้วยซ้ำคนจะได้รับรู้คุณค่าของศิลปะไทยบ้าง   ลองดูในเน็ตมีน้อยมาก
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.037 วินาที กับ 19 คำสั่ง