คุณเอนก นาวิกมูล สรุปไว้ในหนังสือ “แกะรอยเรื่องเก่า” ว่า
คำว่า “จิงโจ้” มีอยู่ ๗ ความหมาย คือ
๑. หมายถึง สัตว์ประหลาดที่มีหัวและร่างเป็นคน แต่มีปีกเป็นนก บางท่านเรียกว่า ตัวอรหัน มีพบตามภาพจิตรกรรมฝาผนังต่าง ๆ เช่น ภาพวาดที่วัดสุทัศนฯ ภาพลายรดน้ำตามตู้พระธรรม เป็นต้น
๒. หมายถึง นกชนิดหนึ่งที่ร้องเสียง จี...โจะ มีพบในภาคอีสาน วรรณคดี เรื่องอิเหนา สมัยรัชกาลที่ ๑ ก็กล่าวถึงนกชนิดนี้๓. หมายถึง สัตว์สี่เท้าที่ฝรั่งเรียกว่า แกงการู (Kangaroo)
๔. หมายถึง แมงมุมน้ำชนิดหนึ่งที่วิ่งอยู่บนน้ำ มีขายาว ๆ๕. หมายถึง เครื่องห้อยเปลให้เด็กดูเล่น ทำด้วยไม้ไผ่จักเข้าใจว่าเลียนแบบมาจากตัวแมงมุมน้ำอีกที
๖. หมายถึง เครื่องป้องกันใบจักรเรือไม่ให้สวะเข้าไปปะและกันกระทบ กับช่วยไม่ให้เพลาแกว่ง
๗. หมายถึง ทหารหญิงรักษาพระองค์สมัยรัชกาลที่ ๔ ได้แก่ โขลนที่แต่งตัวเป็นทหารในงานแห่โสกันต์ฝ่ายใน หรือเจ้านายผู้หญิงที่แต่งชุดทหารตามเสด็จรัชกาลที่ ๔ เวลาบอกวันทยาวุธ ทหารพวกนี้ร้องว่า จิงโจ้กัด ถ้าเรียบอาวุธ ก็ร้องว่าจิงโจ้นอน ถ้าแบกอาวุธ ก็ร้องว่า จิงโจ้หยุด ทหารหญิงจิงโจ้แต่งกายคล้ายทหารสก็อต สวมหมวก เสื้อแขนยาว นุ่งกระโปรง ถุงเท้าลาย และรองเท้าหนัง
ดูจากภาพแล้วทำใจลำบาก หากคิดว่าจิงโจ้ในภาพคือนกชนิดหนึ่งหรือแมงมุมน้ำ
