เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 170 171 [172] 173 174 ... 187
  พิมพ์  
อ่าน: 1572229 สัตว์ประหลาด
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2565  เมื่อ 15 ต.ค. 12, 21:04

อ่านพบข่าวนี้เหมือนกัน     อยากจะถามว่าดวงตาข้างนี้มันหลุดออกจากตัวสัตว์ทะเลใหญ่มหึมาได้ยังไง   สภาพขอบๆ เรียบร้อย ยังกะถูกมีดคว้านออกมา  แถมยังสดมากด้วย   ไม่ใช่เน่าเปื่อยจนหลุด   
แล้วเจ้าของดวงตาเกยตื้นอยู่ที่ไหนเสีย?
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 2566  เมื่อ 15 ต.ค. 12, 22:11

ปริศนาในสายน้ำ        คงต้องตามไปค้นหา
อาจได้คำตอบมา        ประหลาดจริงยิ่งกว่าเดิม



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2567  เมื่อ 17 ต.ค. 12, 09:59

ไขปริศนาลูกตาประหลาด

นักวิจัยไขปริศนาดวงตาสีฟ้ายักษ์ที่เกยชายฝั่งฟลอริดาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งจากการตรวจสอบคาดว่าคือตาของ “ปลากระโทงแทงดาบ” และเดาว่าตาปริศนาดังกล่าวถูกชาวประมงตัดและโยนออกนอกเรือ
      
       จากรายงานของไลฟ์ไซน์ โจอัน เฮอร์เรรา (Joan Herrera) จากสถาบันวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการการอนุรักษ์สัตว์น้ำและสัตว์ป่าฟลอริดา (FWC) กล่าวว่าผู้เชี่ยวชาญทั้งในพื้นที่และจากที่อื่นได้ตรวจดูและวิเคราะห์ลูกตาดังกล่าว โดยอิงสีสัน ขนาดและรูปทรง รวมถึงกระดูกที่อยู่รอบๆ นั้น ทำให้ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าเป็นดวงตาของปลากระโทงแทงดาบ (swordfish)
      
       นอกจากนี้ เฮอร์เรรากล่าวว่ามีรอยตัดเป็นเส้นตรงที่เห็นได้รอบๆ ลูกตา ทำให้นักวิจัยเชื่อว่า ลูกตาปริศนานั้นถูกชาวประมงตัดออกจากปลากระโทงแทงดาบ แล้วโยนทิ้งนอกเรือ
      
       ข้อมูลจาก FWC ระบุว่า ในมหาสมุทรแอตแลนติดนั้น ปลากระโทงแทงดาบมีน้ำหนักได้ถึง 500 กิโลกรัม และปกติในช่วงเวลานี้ของทุกปีชาวประมงจะจับปลาดังกล่าวตามชายฝั่งของฟลอริดาตอนใต้ แต่นอกจากการประเมินด้วยลักษณะภายนอกแล้วจากสำนักงานยังจะทดสอบทางพันธุกรรม เพื่อยืนยันการจำแนกชนิดปลาที่เป็นเจ้าของตาปริศนานี้ต่อไป
      
       ทั้งนี้ FWC ได้โพสต์ภาพลูกตาขนาดเท่าลูกซอฟท์บอลเมื่อวันที่ 11 ต.ค.ที่ผ่านมา หลังมีชายคนหนึ่งพบลูกตาที่ชายหาดปอมปาโน (Pompano Beach) และทำให้มีการคาดเดาถึงต้นตอตาปริศนาดังกล่าวไปทั่วสื่อดซเชียลมีเดีย ทั้งเฟซบุ๊กและฟลิกเกอร์ (Flickr) บางคนเดาว่าเป็นตาที่หลุดออมาจากหมึกในทะเลลึก แต่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เผยแก่ไลฟ์ไซน์ว่าน่าจะเป็นของปลากระโทงแทงดาบมากกว่า
      
       ด้าน ซองเก จอห์นสัน (Sönke Johnsen) จากมหาวิทยาลัยดุค (Duke University) เตือนว่า เราไม่ควรตัดสินอะไรจากเพียงภาพถ่าย และปกติเราก็ไม่ค่อยได้เห็นดวงตาของสัตว์ใดๆ ลอยไปตามทะเลอยู่แล้ว หากแต่เขาค่อนข้างมั่นใจว่าตาที่เห็นนั้นเป็นของปลาทะเลที่มีลักษณะคล้ายดาบ อย่างปลากระโทงแทงดาบ หรือปลากระโทงแทง (marlin) ซึ่งปกติมีตาค่อนข้างใหญ่ แต่คนทั่วไปไม่ค่อยได้ตระหนักในเรื่องนี้เพราะตาส่วนใหญ่จะถูกซ่อนในหัว
      
       สำหรับตาของหมึกนั้นจะมีขนาดมหึมาอย่างมาก และมักจะใหญ่กว่าตาของปลากระโทงแทงดาบอยู่เยอะ และเมื่อต้นปีที่ผ่านมาเพิ่งมีรายงานจากนักวิทยาศาสตร์ว่า หมึกยักษ์นั้นมีดวงตาที่ใหญ่ได้เท่าขนาดลูกบาสเกตบอล เพื่อไว้คอยสอดส่องผู้ล่าอย่างวาฬหัวทุย (sperm whales) ได้จากแหล่งอาศัยใต้ทะเลลึก
      
       http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9550000126990
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2568  เมื่อ 17 ต.ค. 12, 10:00

swordfish?


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 2569  เมื่อ 17 ต.ค. 12, 21:42

      จากรายงานของไลฟ์ไซน์ โจอัน เฮอร์เรรา (Joan Herrera) จากสถาบันวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการการอนุรักษ์สัตว์น้ำและสัตว์ป่าฟลอริดา (FWC) กล่าวว่าผู้เชี่ยวชาญทั้งในพื้นที่และจากที่อื่นได้ตรวจดูและวิเคราะห์ลูกตาดังกล่าว โดยอิงสีสัน ขนาดและรูปทรง รวมถึงกระดูกที่อยู่รอบๆ นั้น ทำให้ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าเป็นดวงตาของปลากระโทงแทงดาบ (swordfish)
     
       นอกจากนี้ เฮอร์เรรากล่าวว่ามีรอยตัดเป็นเส้นตรงที่เห็นได้รอบๆ ลูกตา ทำให้นักวิจัยเชื่อว่า ลูกตาปริศนานั้นถูกชาวประมงตัดออกจากปลากระโทงแทงดาบ แล้วโยนทิ้งนอกเรือ

"Experts on site and remotely have viewed and analyzed the eye, and based on its color, size and structure, along with the presence of bone around it, we believe the eye came from a swordfish," Joan Herrera, of the Florida Fish and Wildlife Conservation Commission's (FWC) research institute, said in a statement Monday (Oct. 15). "Based on straight-line cuts visible around the eye, we believe it was removed by a fisherman and discarded."

       ด้าน ซองเก จอห์นสัน (Sönke Johnsen) จากมหาวิทยาลัยดุค (Duke University) เตือนว่า เราไม่ควรตัดสินอะไรจากเพียงภาพถ่าย และปกติเราก็ไม่ค่อยได้เห็นดวงตาของสัตว์ใดๆ ลอยไปตามทะเลอยู่แล้ว หากแต่เขาค่อนข้างมั่นใจว่าตาที่เห็นนั้นเป็นของปลาทะเลที่มีลักษณะคล้ายดาบ อย่างปลากระโทงแทงดาบ หรือปลากระโทงแทง (marlin) ซึ่งปกติมีตาค่อนข้างใหญ่ แต่คนทั่วไปไม่ค่อยได้ตระหนักในเรื่องนี้เพราะตาส่วนใหญ่จะถูกซ่อนในหัว

"You usually don't find random floating eyes of any animal," biologist Sönke Johnsen of Duke University said Friday. Johnsen was cautious about making a judgment based on the photos but said, "I'm fairly sure it's just the eye of a large xiphid, likely a swordfish or marlin."

 "They get seriously big, but people don't realize it because most of the eye is inside the head," he wrote in an email to LiveScience.

ข่าวภาษาอังกฤษจาก foxnews

คำถาม - swordfish และ marlin เป็นปลาชนิดเดียวกันหรือไม่

 ขยิบตา

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 2570  เมื่อ 17 ต.ค. 12, 22:05

คำตอบ - swordfish และ marlin เป็นปลาคนละชนิดกัน อยู่คนละวงศ์เสียด้วยซ้ำ

swordfish Xiphias gladius อยู่ในวงศ์ Xiphiidae  ส่วน marlin Makaira spp. อยู่ในวงศ์ Istiophoridae

ลองเปรียบเทียบดูจากรูปว่าแตกต่างกันอย่างไร (โปรดสังเกตความยาวของกระดูกปากบน และตำแหน่งของครีบอก-ครีบล่างด้านหน้า)

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 2571  เมื่อ 17 ต.ค. 12, 22:08

blue marlin ตัวนี้ได้มาจากศรีราชา เป็นสัญลักษณ์ของสโมสรฟุตบอลที่นั่น

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 2572  เมื่อ 20 ต.ค. 12, 15:02

เห็นบลูมาร์ลิน (กระโทงแทงสีน้ำเงิน) ของศรีราชา แล้วนึกถึง ตาเฒ่า "ซานติเอโก" แห่งคิวบา กับบลูมาร์ลินของแก




บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2573  เมื่อ 20 ต.ค. 12, 18:53

ปลาตัวนี้น่าจะเป็น "น้องอ๋อ"ของคุณเพ็ญชมพู ที่เคยมาเยือนต้นๆกระทู้ (รึเปล่า?)
หน้าตาเป็นพญานาคจริงๆด้วย    มันน่าจะเป็นปลาน้ำลึก ทำไมว่ายมาถึงชายหาดได้ล่ะคะ

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 2574  เมื่อ 20 ต.ค. 12, 19:15

น้องอ๋อเป็นชาวทะเลลึกโดยกำเนิด ปกติอยู่ในทะเลลึกถึง ๑,๐๐๐ เมตร ชื่อ อ๋อ มาจาก oar ซึ่งแปลว่า ใบพาย ตามลักษณะตัวของน้องเขา ซึ่งมีลำตัวแบนเหมือนใบพาย ตัวที่เคยจับได้มีความยาวสูงสุดถึง ๑๗ เมตร

เรื่องราวของน้องอ๋อ คุณวิกกี้ได้เล่าไว้โดยละเอียดแล้ว

http://en.wikipedia.org/wiki/Oarfish

ถึงกาลละสังขาร          จึงซมซานว่ายขึ้นมา
คลื่นแรงช่วยพัดพา       เข้าชายฝั่งยังผืนทราย

 

ภาพจาก dailymail

 ขยิบตา     
 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 2575  เมื่อ 23 ต.ค. 12, 07:56

ลอยล่องหลายหลากสี       ดุจมณีประดับชล
ยวนยั่วมายินยล              ประหลาดแท้แต่งดงาม

"แมงกะพรุนถ้วย" ความงาม "เดือนตุลาคม" ที่บริเวณชายหาด "ราชการุณย์" จังหวัดตราด

ภาพจาก เฟซบุ๊กของคุณบักสน

 ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 2576  เมื่อ 23 ต.ค. 12, 11:17

ปรากฏการณ์นี้ต้องให้อาจารย์ธรณ์อธิบาย



ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทะเลไทย กล่าวว่า แมงกะพรุนดังกล่าวเป็นแมงกะพรุนถ้วย สามารถพบเห็นได้ง่าย แต่จะเกิดขึ้นเฉพาะช่วงปลายฝนต้นหนาวเท่านั้น ขนาดของแมงกะพรุนชนิดนี้มีลักษณะหัวค่อนข้างโต ลำตัวมีสีสันสดใส อาทิ สีน้ำตาล สีส้ม สีส้มอมเหลือง สีเหลือง และสีน้ำตาลอ่อน เป็นต้น รวมทั้งยังมีสีสันที่แปลกตาอื่น ๆ อีก ขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์ของแมงกะพรุนตัวนั้น ๆ

"ในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน จะสามารถพบเห็นแมงกะพรุนถ้วยรวมตัวกันมากในบริเวณทะเลอ่าวไทย เนื่องจากมีธาตุอาหารในน้ำและแพลงก์ตอนพืชจำนวนมาก ทั้งนี้ ไม่ใช่เพียงแค่แมงกะพรุนถ้วยเท่านั้นที่รวมตัวกัน แต่แมงกะพรุนชนิดอื่นๆ ก็มีเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การมารวมตัวในครั้งนี้ไม่ถือเป็นว่าเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างแน่นอน"

ผศ.ดร.ธรณ์กล่าวอีกว่า แมงกะพรุนถ้วยมีพิษบริเวณหนวด และสามารถหักได้ง่าย ซึ่งพิษนั้นไม่ร้ายแรงมากนัก หากประชาชนได้รับพิษแล้วควรใช้น้ำที่มีความแรงดันสูงฉีด และใช้น้ำส้มสายชูเทลงบนบริเวณที่ได้รับพิษ จากนั้นควรใช้ยาแก้คันทาจนกว่าอาการจะบรรเทาลง หากอาการร้ายแรงควรรีบพบแพทย์ทันที
 
"ถือเป็นเรื่องที่ดีที่ประชาชนรายงานปรากฏการณ์ทางทะเลที่น่าสนใจบนโซเชียลมีเดีย หากมีอื่น ๆ เรื่องใดที่เป็นที่น่าสงสัยหรือเป็นกระแส จะมีนักวิชาการมาตอบคำถามแน่นอน สำหรับแมงกะพรุนถ้วย ยันยืนว่าไม่มีทางสูญพันธุ์แน่นอน เนื่องจากมีจำนวนมากในบริเวณจังหวัดตราด" ผศ.ดร.ธรณ์กล่าว

ข่าวจาก ไทยโพสต์
    


 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 2577  เมื่อ 23 ต.ค. 12, 13:41

เดือนตุลาคม - แมงกะพรุนมาเป็นล้านเหมือนกัน แต่ไม่เหมือนกัน

ปีก่อน



ปีนี้



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 2578  เมื่อ 24 ต.ค. 12, 10:18

ฟังอาจารย์ธรณ์อธิบายเรื่อง "แมงกะพรุนถ้วยโชว์" ในรายการคุณสรยุทธ์อีกที



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 2579  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 06:31

เรื่องของเลขสวย

วันโน้น

ได้เลขสวยมาเสนอคุณเทาชมพูอีกครา  ยิงฟันยิ้ม



วันนั้น

เลขสวยวันนี้



วันนี้

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 170 171 [172] 173 174 ... 187
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 20 คำสั่ง