เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 120 121 [122] 123 124 ... 187
  พิมพ์  
อ่าน: 1576664 สัตว์ประหลาด
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 1815  เมื่อ 26 ต.ค. 11, 15:49

ใช่ไข่ elephant bird หรือเปล่าคะ

หรือไข่ North African ostrich

คำเฉลย   ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1816  เมื่อ 26 ต.ค. 11, 20:30

มีตัวประหลาดมาให้ดู  แลกเปลี่ยนกันบ้าง

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9540000134758


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 1817  เมื่อ 26 ต.ค. 11, 21:13

^
^



ผู้กำกับการแสดงไม่ค่อยเก่ง

เด็กเสื้อเหลืองและเสื้อฟ้าหันไปดูหุ่นเอเลี่ยนและหันกลับมาโดยไม่แสดงท่าทีแปลกใจแม้แต่น้อย

ช่างน่าประหลาดใจจริง ๆ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 1818  เมื่อ 27 ต.ค. 11, 09:48

ขออนุญาตนำผู้โดยสารขึ้นยานเวลาหลังจากชมการถ่ายทำคลิปเรื่องเอเลี่ยน ณ สถานีบราซิล ไปสู่เกาะมาดากัสการ์ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖

จากคำอธิบายไข่ยักษ์ที่บอกว่า



They were restricted to the island of Madagascar and may have survived as late as the end of the 16th century (providing one source for Sindbad's legendary Roc?).

ถิ่นฐานของนกช้างอยู่ที่เกาะมาดากัสการ์  มีชีวิตอยู่ราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ และเป็นที่มาของนกในตำนานซึ่งมีกล่าวถึงในเรื่องการผจญภัยของซินแบด ที่ชื่อว่า นกร็อค

คุณเทาชมพูเคยเล่าถึงเรื่องนี้ไว้ว่า

ใช่ค่ะ  ในหนังสือ อาหรับราตรี ที่เสฐียรโกเศศแปลไว้  มีการผจญภัยของซินแบดหลายเที่ยวด้วยกัน
หนึ่งในจำนวนนั้นเล่าถึงภูเขาแม่เหล็ก ที่เรือแล่นเข้าไปจะถูกดูดเหล็กในเรือ เช่นตะปู ปลิวไปหมด  แล้วเรือก็จะแตก  กลาสีจมน้ำตายกันหมด   ซินแบดเป็นกลาสีดวงแข็งที่รอดตายมาได้
ในเรื่องซินแบด กล่าวถึงเกาะสรินทีป  ที่เสฐียรโกเศศ วงเล็บไว้ว่าหมายถึงเกาะลังกา   ซินแบดเป็นทูตจากแบกแดด มาเจริญสัมพันธไมตรีกับกษัตริย์ที่นี่ด้วย  

นกรอคที่ซินแบดเจอ   เป็นนกยักษ์ ขาแต่ละข้างเท่าเสาเรือน    ในฉบับอังกฤษสะกดว่า roc   ลองหาจากกูเกิ้ลดูก็คงทราบความเป็นมาค่ะ
รูปนี้เป็นรูปนกรอคกำลังทำลายเรือของซินแบด  ด้วยการทิ้งหินก้อนเท่าตุ่มน้ำลงมา  เพราะกลาสีในเรือฆ่าลูกมันมาย่างกิน



ไข่ของนกร็อคในตำนานดูจะใหญ่กว่าไข่ของนกช้างต้นตำนานเสียอีก



เรื่องในจินตนาการมักน่าสนใจกว่าเรื่องจริง

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1819  เมื่อ 27 ต.ค. 11, 09:55

คุณเพ็ญชมพูรู้ไหมว่าคนโบราณรู้จักนก roc มาก่อนซินแบดเสียอีก     เรียกว่านกหัสดีลิงค์  แปลว่านก(ตัวใหญ่เท่า)ช้าง = elephant bird
แต่ช่างเขียนเอามาผสมผสานด้วยจินตนาการ  กลายเป็นนกมีงวงเหมือนช้าง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 1820  เมื่อ 27 ต.ค. 11, 10:08

บางคนโยงนกร็อคเข้ากับครุฑเสียด้วยซ้ำ

คุณวิกกี้ เล่าไว้ว่า

The roc had its origins, according to Rudolph Wittkower, in the fight between the Indian solar bird Garuda and the chthonic serpent Nāga, a word that A. de Gubernatis asserted signified 'elephant' as well as 'snake'

ครุฑจับนาคกินเป็นอาหาร

ตำนานที่ว่านกร็อคสามารถจับช้างไปกินได้ รวมกับคำอธิบายว่า นาค = งู หรือ ช้าง ก็ได้ ก็น่าสนใจ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 1821  เมื่อ 27 ต.ค. 11, 10:22

เรื่องนกหัสดีลิงค์ คุณยีนส์เล่าไว้ดังนี้

นกหัสดิน(นกหัสดี ,นกหัสดีลิงค์)

     เป็นชื่อนกใหญ่ชนิดหนึ่งในเทวนิยายว่า อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ รูปตัวส่วนใหญ่เป็นนก เว้นแต่จงอยปากเป็นงวงอย่าง งวงช้าง ชื่อนกหัสดีลิงค์ไม่ค่อยปรากฎในเทวนิยาย คนส่วนมากทราบเรื่องนกขนาดใหญ่ในนิยายก็มี เช่น หงส์ พญาครุฑ นกหัสดิน สำหรับนกหัสดินบ้างก็ว่า รูปร้างเป็นนกทั้งตัว ใหญ่โต ขนาดโฉบเฉี่ยวเอาช้างในป่าไปกินเป็นอาหารได้ ไม่เกี่ยวโดยตรงกับนกหัสดีลิงค์นกที่มีจงอยปากเป็นงวงช้างนี้(แต่ในรูปนี้มีงวงเป็นช้าง)ถ้าเป็นนกหัสดีลิงค์ ปรากฏในภาษาบาลีว่า หัตดีลิงค์สกุโณ (หัตดี คือ ช้าง ลิงค์ แปลว่า เพศ สกุโณ แปลว่า นก) ในภาษาสันสกฤต คือ หัสดิน ลิงคะ แปลอย่างเดียวกัน ไทยเลือกใช้คำว่า หัสดีลิงค์ แปลกที่คำนี้ไม่มีในปทานุกรม กรมตำรากระทรวงธรรมการ พิมพ์ พ.ศ.2470 ไม่มีในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493 และ พ.ศ.2525 ค้นคว้าต่อไปพบในอักขราภิธานศรันท์ ของหมอปรัดเล พิมพ์ พ.ศ.2416 หน้า 328 และพบในปทานุกรม บาลีไทย-อังกฤษ-สันสกฤต ของกรมพระจันทบุรีนฤนาถ ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2513 หน้า 867 หรือแม้ในบาลีสยามอภิธานของนาคะประทีป เรียบเรียงไว้ พ.ศ.2465 ก็มีปรากฏคำนี้อยู่ แสดงว่าคนไทยเรารู้จักคำนี้มานาน พจนานุกรมภาคอีสาน - ภาคกลาง ฉบับปฏิธาน สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส) ก็รักษาคำนี้ไว้ ชาวอีสานรุ่นเก่า รู้จักนกหัสดีลิงค์ โดยเหตุที่งานศพเจ้านายผู้ใหญ่ พระเถระผู้ใหญ่ หรืองานศพท่านผู้มีวาสนาบารมีสูงยิ่ง มักจัดงานศพโดยสร้างรูปนกหัสดีลิงค์ มีพิธีบวงสรวงก่อนสร้างรูปนก นกนั้นขนาดใหญ่ รองรับหีบศพได้ นิยมสร้างในวัดใกล้บ้านผู้ตาย จัดหาช่างและวัสดุเครื่องสังเวยให้พร้อม เพียงแต่เริ่มสร้าง ก็เป็นที่สนใจของคนทั่วไป นกนั้นสร้างแบบมีชีวิต เช่น หันศีรษะได้ งวงม้วนได้ ตากระพริบ หูกระดิก มีเสียงร้องได้ด้วย หลังนกมีที่ว่างพอสำหรับพระภิกษุนั่งอ่านคัมภีร์หน้าศพไปด้วย พิธีต้องจัดกระบวนญาตินุ่งขาวห่มขาวตามหลังศพ มีฆ้องดนตรีธงต่างๆ ถ้ามีเครื่องยศของผู้ตาย ก็ต้องเข้าขบวนด้วย
       เนื่องจากศพแต่ละงานมีฐานะต่างกัน บางงานกำหนดเผาที่วัด บางงานกำหนดเผาที่ทุ่งกลางเมือง การนำศพเคลื่อนจากที่ตั้งกระบวนไปยังที่เมรุ เขานิยมใช้ตะเฆ่รองรับฐานของนกหัสดีลิงค์ มีเชือก  3 สายผูกที่ฐานล่างของนกให้ญาติและชาวบ้านชักลากไป ถ้าเป็นศพเจ้าเมืองหรือศพพระเถระผู้ใหญ่สมัยเก่า เขาเล่ากันว่า คนทั้งเมืองมาช่วยกันลากศพนั้นๆผช้าๆ งานใหญ่ๆ เช่นนี้ สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ โรงทาน น้ำกินน้ำใช้ ต้องบริบูรณ์ตลอดงาน ครั้นศพถึงเมรุ ผู้เข้าพิธีในงานจัดกำลังไว้ยกนกหัสดีลิงค์ที่บรรจุหีบศพเข้าเทียบในเมรุ วัตถุประสงค์ในการทำนกหัสดีลิงค์ คือ นกใหญ่เช่นนั้น มีฤทธิ์กำลังมาก แสดงว่าผู้ตายมีบุญบารมีมาก จึงอยู่บนหลังนกนั้นได้ และเมื่อจะทำฌาปนกิจ ต้องมีพิธีฆ่านกหัสดีลิงค์เสียก่อนประชุมเพลิง ลำดับงานอย่างเช่น เมื่อศพเทียบเมรุแล้ว สวดอภิธรรม มีสมโภชน์ศพตามกำลังของเจ้าภาพและญาติ จนกระทั่วถึงกำหนดวันประชุมเพลิง เจ้าพิธีจัดเครืองบวงสรวงเชิญผู้ที่กำหนดตัวเป็นผู้ทำพิธีฆ่านกหัสดีลิงค์ ผู้จะฆ่านก ต้องฟ้อนรำตรงไปที่ตัวนก รำไปรอบตัวนก 3 รอบ แล้วใช้ศรยิงไปที่ยังตัวนก เขาสมมุติกันแล้วว่า จะเสียบลูกศรเข้าไปจุดใดของนก ทำเครื่องหมายไว้ พอลูกศรเสียบตัวนก คนที่เตรียมไว้ภายในตัวนก จะเทสีแดงออกมาจากรอยลูกศร คนภายในตัวนกจะส่งเสียงร้อง แล้วการเคลื่อนไหวของนกจะช้าลงจนหยุดนิ่ง คือ นกตายไปแล้ว ในท้องนกเขาเตรียมฟืนไว้แล้ว เจ้าพิธีเลื่อนหีบศพลงชิดกองฟืน ทอดผ้าบังสุกุล แล้วประชุมเพลิงตามอย่างงานทั่วไป
ขอพักไว้แค่นี้ก่อน เมื่อวานไข้ขึ้น วันนี้ก็ไม่ค่อยสบายตัวทั้งวัน





 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 1822  เมื่อ 27 ต.ค. 11, 10:38

นกร็อคและนกหัสดีลิงค์ เกี่ยวข้องกับนกอีกตัวหนึ่งของจีนชื่อว่า นกเฮาะ

ขุนวิจิตรมาตราเล่าไว้ว่า

ในทะเลเหนือของจีนมีนกมหึมาเรียกว่า ไต้เฮาะ รูปร่างใหญ่โตมหึมาเหลือประมาณถึงเดือน ๖ หน้าคลื่นลม นกเฮาะจะกางปีกออกปกฟ้ามิด เริ่มวิ่งฝ่าระลอกคลื่นเป็นระยะไกล ๓๐๐๐ ลี้ก่อน แล้วก็โผทยานขึ้นสู่อากาศเป็นระยะสูง ๙๐๐๐ ลี้บินมาอาศัยอยู่ในเกาะมลายู

นกเฮาะฝรั่งว่าเป็นนกที่เรียกว่า นกรุค (rukh) ถ้าเป็นนกรุคก็ตรงกับนกร็อค (roc) ตามที่มีในอาหรับราตรีเมื่อเช่นนี้นกเฮาะก็เห็นจะเป็นนกร็อคนั่นเอง เสียงเฮาะกับร็อคเข้ากันได้ดีอาจจะเป็นคำเดียวกัน แต่หากเรียกเพี้ยนกันไปตามสำเนียงแขกและสำเนียงจีน

นิยายเรื่องนกร็อคของอาหรับเล่าว่า นกร็อคเป็นนกใหญ่อยู่ในเกาะทางทะเลจีน คราวหนึ่งพวกเดินทะเลไปจอดทอดสมออยู่ที่เกาะแห่งหนึ่งได้ขึ้นไปบนเกาะและพบไข่เข้าฟองหนึ่ง มีขนาดใหญ่มาก จึงเอาขวานผ่าออกพบลูกนกขนาดมหึมาอยู่ข้างใน ก็เอาไปทำเป็นอาหารเลี้ยงกัน คนที่กินเข้าไปปรากฏว่า ผมหงอกกันหมด คนที่ไม่เกี่ยวข้องด้วยหนวดเคราดำเป็นมัน พอรุ่งเช้านกร็อคกลับมารู้ว่าพวกเดินเรือกินลูกของมันก็โกรธ มันขนก้อนหินมาทุ่มจนเรือแตกจมทะเล เรื่องนี้ก็แสดงให้เห็นถึงความใหญ่โตเก่งกาจของนกร็อค ซึ่งก็เห็นจะพอ ๆ กันกับนกรุคที่เล่ามาแล้ว ตามภาพเขียนของเปอร์เซียแสดงให้เห็นกำลังของนกรุคที่สามารถใช้เท้าจับช้างได้ข้างละตัวและที่ปากยังคาบช้างได้อีกตัวหนึ่ง นกร็อคกับนกรุคจึงน่าจะเป็นตัวเดียวกันอย่างแน่นอน

การที่เล่าเรื่องนกเฮาะ นกรุค และนกร็อคเท่าที่จะมีเรื่องกล่าวเท้าความถึงก็เพื่อให้นำมาเปรียบเทียบกับนกหัสดีลิงค์ว่าเป็นนกที่ใหญ่โตเช่นเดียวกัน ซึ่งอาจจะเป็นนกชนิดเดียวกันก็ได้ แต่เมื่อนำมาเขียนเป็นรูปภาพก็แตกต่างกันออกไปแล้วแต่ความนึกคิด

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 1823  เมื่อ 28 ต.ค. 11, 11:27

นกร็อคในตำนานรูปร่างออกไปทางนกอินทรี ไม่มีอะไรเหมือนกับนกช้างตัวจริงเลย

แต่เรื่องของนกร็อคและนกช้างเสริมซึ่งกันและกัน

หลักฐานหนึ่งที่ทำให้คนโบราณเชื่อว่านกร็อคมีจริงก็คือพบไข่ขนาดมโหฬารของนกช้าง  ส่วนชื่อนกช้างก็มาจากเรื่องในตำนานของนกร็อคที่ว่าสามารถจับช้างตัวโต ๆ ขึ้นไปลอยบนอากาศได้

ตัวจริงของนกช้าง หน้าตาเป็นอย่างไร

ไม่มีใครเคยเห็นนกช้างตัวเป็น ๆ เช่นเดียวกับนกโมอาเพราะว่ามันสูญพันธุ์ไปอย่างน้อยก็ ๓๐๐ -๔๐๐ ปีมาแล้ว

เหลือให้เห็นแต่โครงกระดูก กับ ไข่

โปรดสังเกตกระดูกที่หน้าอกแบน



และเท้ามี ๓ นิ้ว



แสดงว่าเป็นพวกเดียวกับนกโมอาและผองเพื่อน

พวก Ratite แน่นอน

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1824  เมื่อ 28 ต.ค. 11, 11:46

ไข่นกช้างที่หลงเหลือมาได้   เหลือแต่เปลือกไข่ เอามาปะติดปะต่อกันหรือไงคะ   
หรือว่าเป็นไข่ทั้งใบ ที่มีตัวอ่อน(ที่ไม่ได้ฟัก) อยู่ข้างใน
ถ้าเป็นแบบหลัง  มันไม่ย่อยสลายหรือผุพังไปหมดแล้วหรือ?
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 1825  เมื่อ 28 ต.ค. 11, 14:40

ลองมาสำรวจไข่นกช้างในแต่ละที่

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ที่ลอนดอน



ไข่นกช้างและนกกระจอกเทศอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ส่วนไข่นกโมอาดูท่าจะเอาชิ้นส่วนมาประกอบกัน

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ ที่ปารีส



มีหลายฟองเชียว อยู่ในสภาพสมบูรณ์

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติคาร์เนกี ที่โอคแลนด์



สภาพสมบูรณ์สวยงาม

ส่วนฟองนี้อยู่ที่ มาดากัสการ์



อยู่ในบ้านเกิดแท้ ๆ กลับอยู่ในสภาพเอาชิ้นส่วนมาปะติดปะต่อกัน   เศร้า

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 1826  เมื่อ 28 ต.ค. 11, 15:03

ไข่นกช้างที่มีโครงกระดูกของตัวอ่อนอยู่ข้างในเป็นของ National Geographic Society ที่วอชิงตัน ดีซี

ภาพ CT scan โดย มหาวิทยาลัยเท็กซัส



หมุนให้ดู



อ่านรายละเอียดต่อ ที่นี่

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1827  เมื่อ 28 ต.ค. 11, 16:11

อะไรทำให้ไข่นกพวกนี้แข็งแกร่งจนรอดมาได้หลายร้อยปี  ในสภาพสมบูรณ์ คะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 1828  เมื่อ 29 ต.ค. 11, 11:19

^
^
แคลเซี่ยม

ลองนึกถึงส่วนไหนของร่างกายเราที่แข็งแกร่งที่สุด

ฟัน และ กระดูก สิ่งที่ทำให้แข็งแกร่งเช่นนั้น คือ แคลเซี่ยม เช่นกัน

แคลเซี่ยมเป็นส่วนประกอบสำคัญในเปลือกไข่ ไม่ว่าจะเป็น ไข่เป็ด ไข่ไก่ ไข่นก หรือไข่ไดโนเสาร์

อีกอย่างหนึ่งมีส่วนทำให้ไข่นกช้างอยู่รอดปลอดภัยมาจนถึงทุกวันนี้คือ ความหนาของเปลือกไข่

มีตารางเกี่ยวกับไข่นก (และของแถมเกี่ยวกับไข่ไดโนเสาร์) มาแสดงข้างล่าง

ไข่นกกระจอกเทศ มีความหนาเฉลี่ย ๒.๒๔๕ มิลลิเมตร (ความหนาสูงสุดอาจถึง ๓.๕ มิลลิเมตร)  น้ำหนักที่สามารถทำให้ไข่แตกได้ (breaking piont) เท่ากับ ๘๖.๕๘๗๖ กิโลกรัม

ส่วนไข่นกช้าง มีความหนาเฉลี่ย ๓.๘ มิลลิเมตร (ความหนาสูงสุดอาจถึง ๖ มิลลิเมตร)  breaking piont อยู่ที่ ๒๔๘.๐๗๙๒ กิโลกรัม

คนอ้วน ๆ หนักซัก ๘๐ กิโลกรัม ๓ คนยืนบนไข่ช้าง ยังไม่แตก

 ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 1829  เมื่อ 30 ต.ค. 11, 18:38

หน้าตาของนกช้างตามจินตนาการโดยอาศัยรูปทรงจากโครงกระดูก มีมากมายเสียเหลือเกิน

จะเป็นอย่างรูปไหนกันแน่หนอ   ฮืม


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 120 121 [122] 123 124 ... 187
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.055 วินาที กับ 19 คำสั่ง