asia
มัจฉานุ
 
ตอบ: 78
|
ความคิดเห็นที่ 30 เมื่อ 13 พ.ค. 10, 22:06
|
|
ช่วยเพิ่มสีอีกหน่อย น่ะคุณ kurukula หรือมีภาพผู้คนต้นไม้ ภาพที่ออกมาจะได้ดูเหมือนมีชิวิตชิวา ติเพื่อก่อน่ะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 31 เมื่อ 14 พ.ค. 10, 16:59
|
|
ไม่มีซีนครับ ไม่มีๆ ... ลองชมภาพพุทธวงศ์ที่เขียนไว้ด้านล่าง พุทธวงศ์ที่ว่านี้ เป็นพระพุทธเจ้า่ในพระชาติก่อนๆ รายละเอียดมีหลายเรื่อง ต้องวานพี่กุเล่าให้ฟังทีครับ เพราะไม่ได้เป็นชาดก อย่างทศชาติที่เราคุ้นเคยกัน มีเรื่องหนึ่งที่ผมเองเคยได้ยินมา แล้วบ้าง เดากันเอาว่าน่าจะเป็นภาพนี้
เป็นเรื่องสุเมธดาบส กับพระทีปังกรพุทธเจ้า พี่กุอธิบายตอนที่ไปชมด้วยกันว่า สุเมธดาบสนั้น ทอดกายต่างสะพาน ให้พระทีปังกรพุทธเจ้าและสาวกเดินข้ามทางโคลนไป แต่ไม่มีใครนอนให้เห็นเลย เจอแต่ภาพบุรุษผู้หนึ่งทำท่า แบบพระพุทธรูปปางรำพึง (อธิบายว่า สวัสดิกมุทรา-เป็นการแสดงอาคารเคารพ) ในท่านั่ง ด้านข้างมีรูปพระยืนกับพระสาวก(ภาพชำรุด) เลยสัณนิษฐานกันว่าอาจจะเป็นภาพนี้ ภาพชุดล่างๆนี้อยู่ใกล้พื้นมากเลยค่อนข้างชำรุดหนัก ดูได้ยากพอสมควร ภาพที่ผมถ่ายมาก็ดันเสีย เลยมีภาพมาให้ชมสำหรับฉากนี้ภาพเดียว
ภาพนี้อยู่ที่ผนังทางทิศใต้ ทางรักแร้ทิศตะวันตกเฉียงใต้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 32 เมื่อ 14 พ.ค. 10, 17:02
|
|
พุทธวงศ์อีกภาพหนึ่ง พี่กุบอกว่าเป็นตอนพระเจ้าเสวยชาติ เป็นสิงห์ เรื่องนี้ต้องเชิญวิทยากร.... มาดูภาพสิงห์แบบอยุธยาต้นกันดีกว่า : เดิมทีต้องมีเป็นนาคด้วยแต่หาไม่พบ หรืออาจมีลิงด้วย ...หรือเปล่า??
ภาพนี้อยู่บนผนังทางทิศเหนือ ใกล้กับรักแร้ทิศตะวันออกเฉียงเหนือใกล้ทางเข้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 33 เมื่อ 14 พ.ค. 10, 17:04
|
|
มีภาพย่อยๆอีกนิดหน่อย แต่ผมยังเดาไม่ออก ความรู้ยังไม่มีมากต้องลองอ่านหนังสือ ที่เขียนเรื่องนี้เฉพาะดูครับ ...ลองดูภาพเทวดากันบ้าง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 34 เมื่อ 14 พ.ค. 10, 17:05
|
|
เห็นภาพนี้แล้วนึกถึงภาพในกรุพระปรางค์ในวัดราชบูรณะ ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 35 เมื่อ 14 พ.ค. 10, 17:09
|
|
มาถึงภาพในชั้นนี้บ้าง เป็นภาพชุดที่พระพุทธเจ้าประทับในซุ้มอย่างซุ้มปราสาท ซึ่งเป็นอีกหนึ่ง ข้อมูลทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมอยุธยาตอนต้น-สุโขทัย โดยนอกจากจะหาชมได้ตามพระพิมพ์ ชุดต่างๆ ซึ่งก็มีลักษณะซุ้มลักษณะคล้ายๆเช่นนี้ปรากฏเช่นกัน ในเชิงวิเคาระห์แล้ว อาจมีแนวความคิด ไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งในเรื่องการสร้างและความหมาย ซึ่งต้องศึกษาดูต่อไปครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 36 เมื่อ 14 พ.ค. 10, 17:14
|
|
ผนังทางด้านทิศใต้เป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับในซุ้มแบบปราสาท คั่นภาพด้วยช่อดอกไม้ อย่างภาพที่เห็นด้านบนนั้น เป็นรูปเเจกันเสียบดอกไม้ หรือเป็นหม้อปูรณฆฏะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 37 เมื่อ 14 พ.ค. 10, 17:16
|
|
ภาพนี้ จะเห็นรอยของคอนกรีตดังที่กล่าวไปแล้วเช่นกันครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 38 เมื่อ 14 พ.ค. 10, 17:20
|
|
รูปแบบของเครื่องไม่ที่ปรากฏนั้น มีลักษณะแตกต่างจากเครื่องไม้ที่เป็นเรือนยอดแบบมณฑป โดนมีระบบการยกชั้น และยอดแบบกลศ ก่อนที่จะพัฒนาไปเป็นยอดแบบเหม หรือองค์ระฆัง
.....
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 39 เมื่อ 14 พ.ค. 10, 17:25
|
|
สุดท้ายครับ เป็นภาพจากทางผนังด้านทิศเหนือ เขียนเป็นรูปพระพุทธเจ้าประทับในซุ้ม แบบปราสาทเช่นกันครับ แต่ใช้ลักษณะการเขียนเส้นสลับแบบฟันปลา แต่ออกโค้งๆ จึงเหมือนเป็นกรอบภาพแบบกลีบบัว แล้วบรรจุลายลงไป ทำให้ได้เห็นการออกลายเถา อย่างเก่า ซึ่งก็มีส่วนคล้ายลายจำหลักบนเสมาหินทรายแดงครับ....
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 40 เมื่อ 14 พ.ค. 10, 17:29
|
|
กลายเป็นว่าเราได้พบเรื่องราวหลายอย่าง ในรายละเอียดของภาพจิตรกรรมที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวที่เล่า รูปแบบลวดลายที่มีทั้งลายอย่างสุโขทัย ลายเถา ดอกไม้ ลายบนเครื่องประดับ ฯลฯ การเขียนภาพซุ้มแบบเรือนยอด ... ควรแก่การศึกษา และอนุรักษ์ให้คงอยู่ต่อไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 41 เมื่อ 16 พ.ค. 10, 17:19
|
|
น้องเนพูดมาก็ละเอียดละออครบถ้วนแล้วเป็นดี จะได้เป็นประโยชน์สำหรับคนที่มาศึกษาสนใจต่อไปในอนาคต เพราะหาแล้วไม่มีเวปไหนที่พูดเรื่องจิตรกรรมวัดมหาธาุตุ ราชบุรีอย่างละเอียดเลย น่าเศร้าใจจริงๆครับ
พุทธวงศ์นั้น เป็นเรื่องราวอยู่ใน พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ พุทธวงศ์-จริยาปิฎก - พุทธวงศ์
กล่าวถึงอดีตพระพุทธเจ้าจำนวน 27 องค์ แต่มีเพียง 24 องค์ที่ตรัสทำนายพระเจ้าเราในชาติต่างๆ ว่าจะได้ตรัสรู้ในอนาคต
3 องค์แรกคือ พระตัณหังกรสัมพุทธเจ้า ๑ พระเมธังกรสัมพุทธเจ้า ๑ พระสรณังกรสัมพุทธเจ้า ๑ ก่อนหน้านั้นมิได้ตรัสทำนาย
ฉะนั้น องค์แรกที่ตรัสทำนายคือทีปังกรพุทธเจ้า พระนามนั้นแปลว่า ผู้กระทำแสงสว่าง หรือจุดประทีปแห่งปัญญา ทรงทำนาย "สุเมธดาบส" สุเมธ แปลว่าผู้กระทำการบูชายัญอันดีงาม มีความหมายแฝงถึงพระเวทหรือศาสนาพราหมณ์ในยุคแรก หมายถึงพระพุทธเจ้าทรงเป็นแสงสว่างที่เหนือกว่าการบูชายัญ
น้องเนลงรูปไปแล้วนี่นา เอารูปจากลังกามาให้ดูบ้าง เรื่องพุทธวงศ์นี้เป็นที่นิยมหนักหนาในลังกา มีเกือบทุกวัด มีอรรถกถาที่แต่งในลังกาด้วย การที่วัดมหาธาตุราชบุรีมีจิตรกรรมเรื่องนี้ เป็นการประกาศตัวอย่างชัดเจนว่า ปรางค์องค์นี้เป็น "พุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาวงศ์" (เช่นเดียวกับวัดราชบูรณะก็มี)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 42 เมื่อ 16 พ.ค. 10, 17:29
|
|
พุืทธวงศ์ดูเหมือนจะฮิืตในเมืองไทยเพียงช่วงสั้นๆ (หรืออาจจะเหลืออยู่เพียงเท่านั้น) เท่าที่ทราบก็มี 2 วัดคือวัดนี้กับวัดราชบูรณะ
เริ่มต้นที่ทีปังกรพุทธวงศ์ตรัสทำนายสุเมธดาบสนะครับ
"เราสยายผมแล้ว...
เอาผ้าคากรองและหนังสัตว์ลาดลงบนเปือกตม นอนคว่ำลง ณ
ที่นั้น ด้วยคิดว่า พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสาวก จงทรงเหยียบเราเสด็จไปเถิด อย่าทรงเหยียบเปือกตมนั้นเลย ข้อนั้นจักเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา"
สุเมธดาบสตั้งใจจะเป็นพระพุืทธเจ้า
"เมื่อเรานอนอยู่ที่พื้นดิน ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เรา (มิได้) ปรารถนาว่า วันนี้ พระพุทธเจ้าพึงทรงเผากิเลสของเราประโยชน์อะไรแก่เราด้วยเพศที่ใครๆ ไม่รู้จัก และด้วยการทำให้แจ้งซึ่งธรรม ณ ที่นี้ เราพึงบรรลุสัพพัญญุตญาณหลุดพ้นแล้วพึงเปลื้องหมู่สัตว์พร้อมทั้งเทวดาให้หลุดพ้นเถิด ประโยชน์อะไรด้วยเราผู้เป็นคนมีกำลังจะข้ามไปคนเดียวเล่า เราบรรลุสัพพัญญุตญาณได้ และจะช่วยหมู่ชนให้ข้ามได้เป็นอันมาก ด้วยอธิการที่เราทำแล้วในพระพุทธเจ้านี้ เราตัดกระแสสงสารกำจัดภาพทั้ง ๓ ขึ้นสู่เรือคือธรรมแล้ว จักช่วยหมู่สัตว์พร้อมทั้งเทวดาให้ข้ามได้"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 43 เมื่อ 16 พ.ค. 10, 17:37
|
|
ดูพระทีปังกรของพม่าสมัยราชวงศ์ยองยานบ้าง ร่วมสมัยอยุธยาตอนกลางครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 44 เมื่อ 16 พ.ค. 10, 17:39
|
|
แบบเป็นประติมากรรมบ้าง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|