เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9
  พิมพ์  
อ่าน: 33266 จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 17 พ.ค. 10, 15:57

คัดจาก...
จดหมายเหตุระยะทางไปมลฑลราชบุรี
พระนิพนธ์
สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์

... ข้างในปรางมีแท่นฐานปูนรองพระ แต่พระไม่มี เห็นจะถูกขุด เพดาลปรางพังเสียแล้ว ผนังเขียนยังเห็นได้ เขียนดีน้ำยาดี สังเกตเห็น
ที่ยังมีเหลือเห็นเป็นเก่าที่สุดที่เคยเห็นมา เขียนรูปพระปางหน้าโตขนาด ๘ นิ้วถึง ๔ นิ้ว ท่าทีเขียนแบ่งเป็นชั้นอย่างเทพชุมนุม ในเบ่ง
เป็นทำนองกลีบบัว กลีบใหญ่เป็นรูปพระเจ้านั่งในซุ้มปราสาท ทีเหมือนชวาบ้างนั่งในร่มไม้มีรัศมีล้อมอย่างเดี๋ยวนี้บ้าง ที่กลีบแทรกนั้น
เป็นพระสาวกบ้าง เป็นพราหมณ์บ้าง แขกบ้าง ทีจะเปนพวกมาถามปัญหาแล้วบวช คือพวกชาวบ้านแลอาชีวก ที่ลายคั่นชั้นบางทีมีหนังสือ
บอกเรื่องเป็นหนังสือขอมปนไทย อ่านไม่ได้ความเพราะกะเทาะเปนหย่อม ท่าทีเขียนตามว่าว่ามาดังนี้ (ทรงวาดไว้)
มีซ้อนต่อๆกันหลายชั้น พระเจ้านั้น ที่เขียนมีหนวดเต็มที่ก็มี เป็นหลักดีที่จะเป็นที่อ้างอิงในการเขียนวัดเบญจมพิตร รูปพระสาวกที่มีหนวดก็มี
พระสาวกทั้งหลายทาผมดำทั้งนั้น ดีกว่าทาครามเปนโกนใหม่ๆมาก ...


ภาพประกอบ ภาพจากผนังทางด้านทิศเหนือ   


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 17 พ.ค. 10, 16:04

... พวกสาวกที่ยังไม่ได้บวช หัวมีหลายอย่าง มวยผมดำ ทั้งมีหนวดเคราก็มี มวยผมขาว และถักพิฤกพิลั่นอย่างนี้ก็มี
(ทรงวาดไว้ 1) ใช้สีขาวทาตัดดำ ใส่หมวกเตอร์กีก็มี ใส่หมวกตุ้มปีอย่างนี้ก็มี (ทรงวาดไว้ 2) บางทีหมวกอย่างนี้จะเป็น
ภาพตัวดีอย่างใส่มงกุฎทีเดียว เพราะทาเหลืองตัดแดงแปลว่าเปนทอง แลตัดหน้าก็ตัดอย่างงามด้วย หัวอย่างอื่นตัดหน้า
เปนทีกาก แต่หมวกอย่างนี้จะกินกับหูอย่างไรไม่ทราบ เพราะต่อมาพัง กลัวจะหวีกล้วยเพราะมีกรอบหน้าด้วย จะเป็นตัว
กษัตรนั่นเอง ได้หาตัวกษัตรนักแล้ว ไม่ได้พบเลย ฝ่ายซุ้มเรือนแก้วหลังพระก็ชอบกล ที่แท้ก็แปลว่าบุษบก แต่มันเตี้ย
เปนทรงชวา ได้ขีดเส้นฟันไม้ทรงนอกมาดูนี่แล้ว (ทรงวาดไว้) ยังมีความจับใจอีกมาก รับร้อนละเสียสักหน่อย ...


ภาพจากภาพที่สันนิษฐานว่าทรงวาดไว้ 1


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 17 พ.ค. 10, 16:07

ส่วน "ใส่หมวกเตอร์กีก็มี ใส่หมวกตุ้มปีอย่างนี้ก็มี" นั้นไม่แน่ใจว่าจะเป็นอันไหน
เดาตามที่ทางวาดไว้ 2 ก็น่าจะเป็นภาพนี้ครับ

พี่กุครับ เห็นสมเด็จท่านอ้างถึงชวา มีภาพจากชวาไหม ??


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 17 พ.ค. 10, 16:56

มาดูทางอีกท่านหนึ่งบ้าง อาจารย์ น. ณ ปากน้ำ ก็เคยเข้าไปดูภาพเขียนในคูหาพระปรางค์นี้เช่นกัน
ข้อความนี้คัดจาก หนังสือ ความงามในศิลปะไทย ครับ...

... ข้าพเจ้าเดินทางไปราชบุรี ได้มีโอกาสเข้าไปชมภาพเขียนบนผนังปรางค์องค์ใหญ่ที่วัดมหาธาตุ ภาพเขียนเหล่านี้
เป็นภาพในสมัยอยุธยาตอนต้น เท่าที่สันนิษฐานเช่นนี้ก็เพราะระเบียบการเขียนภาพคล้ายคลึงกับที่นายเฟื้อ หริพิทักษ์
อาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้เคยค้นคว้าคัดลอกภาพเขียนจากผนังปรางค์ในวัดมหาธาตุที่อยุธยามาให้ชมนานมาแล้ว
ภาพเหล่านั้นเป็นภาพเขียนพระพุทธรูปนั่งในซุ้มเรียงกันเป็นแถว คล้ายกับภาพเทพชุมนุมในสมัยหลัง ภาพเขียนที่
วัดมหาธาตุ อยุธยา เป็นฝีมือสมัยอยุธยาตอนต้น ภาพเขียนบนผนังปรางค์ที่วัดมหาธาตุ ราชบุรี ก็เขียนเป็นภาพเขียน
พระอันดับเช่นกัน ทั้งสี่ผนังที่ค่อนข้างมืดทึบนั้นเขียนเป็นพระอันดับซ้อนกันหลายแถว นั่งอยู่บนซุ้มเหลี่ยมที่แบคกราวนด์
หลังพระเศียรเขียนเป็นซุ้มใบโพธิ์คล้ายคลึงกับที่อยุธยา ที่น่าสังเกตพิเศษอยู่อย่างหนึ่งก็คือที่พระพักตร์พระพุทธรูปใน
ภาพเขียนหลายภาพด้วยกันเขียนพระพักตร์เหลี่ยม คล้ายคลึงกับพระพักตร์พระพุทธรูปสมัยที่เรียกกันว่าอู่ทองไม่ผิดเพี้ยน
ที่ซุ้มคล้ายจะเป็นเรือนแก้ว เขียนเป็ฯสี่เหลี่ยมสันผิดแผกไปจากแบบอยุธยา สีที่ผ้าจีวรเขียนด้วยสีดินแดง ภาพเหล่านี้เขียน
ด้วยสี ๓ สี คือ สีแดงจากดินแดง สีขาวจากดินขาว และเขม่าสีดำ ได้พิจารณาดูที่เนื้อผนังซึ่งส่วนมากกะเทาะร่อนหลายแห่ง
เห็นว่าภาพเขียนติดแนบกับตัวผนังที่ฉาบปูนไว้อย่างสนิท แสดงว่าประสิทธิภาพของยางไม้ที่ใช้ในการผสมสีของคนโบราณ
นั้นจัดว่าดีเลิศ ดีกว่าภาพเขียนโบราณรุ่นใหม่สมัยรัตนโกสินทร์นี้ ที่บางแห่งผนังยังไม่กะเทาะสีก็ล่อนเสียหายหมด ...

บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 17 พ.ค. 10, 17:01

... สำหรับภาพเขียนบนผนังปรางค์ที่ราชบุรีนั้น เข้าใจว่าคงเก่ากว่าภาพเขียนที่วัดมหาธาตุและวัดราชบูรณะ
คงเป็นฝีมือรุ่นสุวรรณภูมิ (หรือที่เรียกกันว่าอู่ทอง) ....
...แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าภาพเขียนในสมัยอยุธยาตอนต้นยังไม่มีการปิดทอง ผิดกับภาพเขียนในสมัย
รัตนโกสินทร์ตอนต้นที่มักจะเขียนองค์พระพุทธรูปปิดทองทั้งองค์ เว้นจีวรไว้ระบายด้วยสีดินแดง ตรงผิวเนื้อ
ขององค์พระเขาผสมสีขาวกับเหลือง (เข้าใจว่าใช้รงที่ทำจากยางไม้) การตัดเส้นพู่กันคงใช้พู่กันธรรมดา
ไม่มีพู่กันพิเศษที่เรียกกันว่าพู่กันหนวดหนู อย่างเช่นภาพเขียนในวัดใหญ่สุวรรณาราม ...


บางทีข้อมูลอาจจะระบุไว้ต่างกันบ้างครับ เนื่องจากเกิดความต่างของสภาพ ในตอนที่ท่านไปสำรวจพบเห็น
จึุงแสดงความคิดเห็นออกมาตามนั้น ...
เช่นที่เราแสดงความคิดเห็นกัน ยังอาจไม่ถูกต้องทั้งหมดร้อยเปอร์เซ็นต์ เพียงแต่เป็นที่รวบรวมข้อมูลเอาไว้
เพื่อพูดคุย หาคำตอบกันไปเรื่ือยๆ ยังเกิดแนวคิดแยกออกไปต่างๆนาๆได้อีกครับ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 17 พ.ค. 10, 17:31

หวัดดีน้องเน สนุกไหมครับ นั่งตอบกระทู้
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 19 พ.ค. 10, 11:22

วันก่อนถามเรื่อง "ชวา" ของกรมนริศยังไม่ได้ตอบเลย

พระองค์คงหมายถึงอาคารทรงปราสาทที่เตี้ยแจ้เป็นทรงชวา ว่าคล้ายกับปราสาทในวัดมหาธาตุ แต่จะมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ คิดว่าคงไม่หรอกครับ คงเป็นความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับเรือนซ้อนที่ได้มาจากอินเดีย แสดงออกมาคล้ายๆกัน

เทวาลัย 400 หลังที่เดียงพลาโต ที่ราบสูงเดียง ไว้บูชาภูเขาไฟกะหมังกุหนิง ( ฮืม) ความสูงเลยยอดดอยอินทนนท์


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 19 พ.ค. 10, 11:25

ซากเทวาลัย 400 หลัง ทุกวันนี้เหลือไม่ถึงสิบหลัง เฮ้ออ..เป็นที่ราบมีภูเขาล้อมทุกด้าน อากาศหนาวๆชื้นๆ มีหมอกด้วย ชาวบ้านปลูกไม้เมืองหนาวคล้ายๆดอยตุงเลย

เทวาลัยพวกนี้ถือว่าเก่าแก่ที่สุดในชวา ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 เกิดจากการนับถือภูเขาไฟบวกกับศาสนาฮินดู เพราะเกิดภูเขาไฟระเบิดบ่อย กว่าจะขึ้นมาได้รถเสียไปรอบนึง ไม่รู้คนชวาจะบ้าพลังขึ้นมาทำไม


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 19 พ.ค. 10, 11:30

ปราสาททรงเตี้ยแจ้แบบชวา ของทวารวดีก็คงเล็กๆอย่างนี้แหละ


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 19 พ.ค. 10, 11:34

พระเจ้าประทับอยู่ในปราสาทครับ



บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 19 พ.ค. 10, 11:39

ปราสาทชวาแบบเตี้ยๆครับ เพลาสัน


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 19 พ.ค. 10, 11:40

ถ้าดูจากทางอากาศ จะเห็นว่าเขาสร้างเป็นมณฑลเลย โดยมีเจดีย์กลมตรงกลาง และมีปราสาทเล็กๆล้อมรอบเป็นตาราง เหมือนยันต์ต่างๆ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 15 ก.ค. 11, 14:33

กระทู้หลุดไปชวาจนได้ ...

เพิ่มเติมด้วยจิตรกรรมวัดพระราม ซึ่งเป็นมหาธาตุสำคัญองค์หนึ่งในย่านกลางพระนครศรีอยุธยา
วัดนี้เข้าใจว่าผ่านการบูรณะซ่อมแซม และมีการก่อสร้างเพิ่มเติมอยู่ตลอดช่วงที่กรุงศรีอยธยา
เป็นราชธานี ดังนั้นจึงมีร่องรอยของงานศิลปะสถาปัตยกรรม รวมไปถึงแนวคิด ที่สะท้อน
ความนิยมและความเปลี่ยนแปลงในสังคมเมืองของอยุธยา
ในคูหาปรางค์ประธานหรือครรภคฤหะนั้น มีภาพเขียนอดีตพุทธอยู่ที่ผนัง ซึ่งเป็นผนังทึบสามด้าน
มีทางเข้าอยู่ทางตะวันออก ที่ผนังขนาบทางเดินเข้าสู่ห้องคูหาพระปรางค์นั้นก็ปรากฏ
จิตรกรรมอยอยู่ด้วยเช่นกัน และตำแหน่งผนังในคูหาพระปรางค์นี้ทำให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลง
ของโครงสร้างของพระปรางค์ด้วย


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 15 ก.ค. 11, 16:13

จิตรกรรมในคูหาพระปรางค์นี้เขียนขึ้นในสมัยไหนยังเป็นเรื่องที่ยากสำหรับผม แต่จากการพูดคุยกันส่วนตัวกับสมาชิกท่านอื่นๆ
มีบางท่านคิดเห็นว่าน่าจะเขียนขึ้นในสมัยพระเจ้าปราสาททอง ซึ่งตรงกับข้อมูลที่ว่าทรงปฏิสังขรณ์วัดนี้ในรัชกาลดังกล่าว
แต่ในความคิดเห็นส่วนตัวผมยังไม่คิดว่าภาพจิตรกรรมชุดนี้ เขียนขึ้นในคราวบูรณะครั้งใหญ่สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาทองครับ



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 15 ก.ค. 11, 16:45

เข้ามาชมความงามของกรุงศรีอยุธยาด้วยนะครับ จึงอยากเรียนถามว่า ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่นำมาให้ชมนี้ เป็นคราบที่ถูกทำลายเป็นคลื่น ๆ ทั่วบริเวณ เกิดจากน้ำฝนหรือครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.087 วินาที กับ 19 คำสั่ง