เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 7
  พิมพ์  
อ่าน: 42681 พระยามนตรีสุริยวงศ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 30 เม.ย. 10, 12:43

ภาพวาดลายเส้น คณะราชทูตสยามเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชินีวิคตอเรียเพื่อถวายพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณการ ณ พระราชวังวินด์เซอร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔oo

หมอบอยู่หน้าสุด - พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค)

ภาพนี้เห็นท่านเพียงด้านหลัง  

 ยิงฟันยิ้ม



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 30 เม.ย. 10, 14:00

รูปคณะทูตที่คุณเพ็ญชมพูถามถึง
คนที่สองจากซ้ายไม่น่าจะเป็นขุนนาง และไม่ใช่คนไทย      อาจจะเป็นล่าม หรือคนรับใช้ในเรือ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 30 เม.ย. 10, 14:43

บุคคลปริศนาคนที่สอง

ใครหนอ

 ฮืม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 30 เม.ย. 10, 14:55

เขาไม่ได้แต่งตัวอย่างคนไทย   ไม่ได้แต่งอย่างฝรั่ง     ดูจากรูปร่างและหน้าตา  อายุยังน้อย 
ผู้รับใช้คณะทูตหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 30 เม.ย. 10, 15:41

รายชื่อบุคคลในคณะราชทูตสยาม จากจดหมายเหตุเรื่องทูตไทยไปประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐ แต่งโดยหม่อมราโชทัย ในตู้หนังสือเรือนไทย

http://www.reurnthai.com/wiki/จดหมายเหตุเรื่องทูตไทยไปประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐

(๑) ราชทูต พระยามนตรีสุริยวงศ์ ( ชุ่ม บุนนาค ) เปนบุตรสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยรูวงศ์ ร่วมมารดากับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ต่อมาได้เปนที่สมุหกลาโหมฝ่ายเหนือ

(๒) อุปทูต เจ้าหมื่นสรรพ์เพ็ธภักดี ( เพ็ญ ต้นสกุลเพ็ญกุล ) เปนข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้เปน พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ จางวางมหาดเล็ก ถึงรัชกาลที่ ๕ เปนพระยา ราชสุภาวดี แล้วเลื่อนเปนเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง บัญชาการ กรมพระสุรัสวดี

(๓) ตรีทูต (เดิมกะว่าหลวงชาญภูเบศร์ แล้วเปลี่ยนเปน) จมื่นมณเฑียรพิทักษ์ (ด้วง) เปนข้าหลวงเดิม ร่วมพระนมในพระบาท สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมามีความผิดต้องออกจากราชการ

(๔) ล่ามหลวง หม่อมราโชไทย ชื่อหม่อมราชวงศ์กระต่าย(อิศรางกูร ณอยุธยา) บุตรกรมหมื่นเทวานุรักษ์ ในเจ้าฟ้ากรมขุน อิศรานุรักษ์

(๕) ผู้กำกับเครื่องราชบรรณาการ จมื่นราชามาตย์ (ท้วม บุนนาค) เปนบุตรสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยรูวงศ์ กลับมา ได้เปนที่พระเพ็ชรพิสัยศรีสวัสดิ ปลัดเมืองเพ็ชรบุรี แล้วเลื่อนเปนพระยาเทพประชุน ปลัดทูลฉลองกระทรวงกลาโหม ในรัชกาล ท ๕ เปนเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี

(๖) ผู้กำกับเครื่องราชบรรณาการ นายพิจารณ์สรรพกิจ (ทองอยู่ กัลยาณมิตร) เปนบุตรเจ้าพระยานิกรบดินทร ต่อมา ได้เปนหลวงเดชนายเวร

(๗) ล่ามของราชทูต ขุนจรเจนทเล ชื่อฉุน ได้ไปเรียนวิชาเดินเรือในยุโรป ในรัชกาลที่ ๕ ได้เปนหลวงชลธารพินิจจัย แล้วเลื่อน เปนพระชลธารพินิจจัย เจ้ากรมคลอง

(๘) ล่ามของอุปทูต ชื่อนายโนรี

(๙) ล่ามของตรีทูต ขุนปรีชาชาญสมุท ชื่อดิศ เปนนายรือในพระบวรราชวัง ภายหลังได้เปนหลวงสุรวิเศษ นายทหารหน้าในกรม พระราชวังบวร ฯ เปนครูสอนภาษาอังกฤษเจ้านายวังหน้าจนรัชกาลที่๕

(๑๐) นายเทศ บุนนาค (คือเจ้าพระยาสุรพันธ์พันธุ์พิสุทธ) บุตรสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยรูวงศ์ อายุ ๑๗ ปี เปนนักเรียส่งไป เรียนวิชา

(๑๑) นายทด บุนนาค บุตรพระยามนตรี ฯ ราชทูต อายุ ๑๖ ปีเปนนักเรียนส่งไปเรียนวิชา นักเรียน ๒ คนนี้ เมื่อถึงเมืองอังกฤษราชทูตได้ขอให้รัฐบาลอังกฤษช่วยหาที่เล่าเรียน กระทรวงต่างประเทศอังกฤษสืบหาที่เล่าเรียน เดิมกะว่าจะให้ไปเรียนที่ราชวิทยาลัยในลอนดอน แต่จะเปนด้วยเหตุใด ไม่ปรากฎ เมื่อทูตกลับมา นักเรียนก็กลับมา หาได้อยู่เล่าเรียนไม่

(๑๒) เสมียนของราชทูต นายบริบาลบรรยงก์

(๑๓) เสมียนของอุปทูต ขุนบุรินทามาตย์

(๑๔) เสมียนของตรีทูต ไม่ปรากฎชื่อ

(๑๕) หมอยา จะเปนใครหาทราบไม่

(๑๖) เข้าใจว่าหมอนวด

คนใช้ ๑๑ คน

รวมทั้งสิ้น ๒๗ คน


มีชื่อล่ามเพิ่มอีกคนหนึ่งคือ นายโนรี ประวัติไม่ปรากฏ

หรือจะเป็นนายคนนี้

 ฮืม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 30 เม.ย. 10, 17:03

ขออนุญาตแยกกระทู้ตั้งแต่มีเรื่องพระยามนตรีฯ เข้ามานะคะ    เพราะเรือออกอ่าว ไปกับคณะทูต   ไกลมิศแฟนนีไปทุกทีแล้ว
กลับมาเรื่องบุคคลปริศนาในคณะทูต

สแกนรูปมาดูกันให้ชัดๆอีกที   แล้วลองพิจารณาว่าพอจะบอกอะไรได้บ้าง เกี่ยวกับเสื้อผ้าเขา
๑  เด็กหนุ่ม  (ดูๆไปเหมือนเด็กสาว) หน้าตาเป็นเอเชีย  
๒  นุ่งกางเกงขายาวแบบฝรั่ง เสื้อทูนิคแบบแขก    แสดงว่าไม่ใช่ไทยและตะวันตก
๓  มีแถบคาดเหนือหน้าผาก หรือว่าขอบหมวก ยังดูไม่ชัด  เลยแถบคาดเป็นเส้นผม หรือว่าตัวหมวก ก็ไม่รู้เหมือนกัน
๔  ท่ายืน   เหมือนรู้วิธีโพสท่าต่อหน้ากล้อง
๕  มายืนถ่ายรูปรวมกลุ่มกับคณะทูต  ศักดิ์ศรีคงไม่ด้อยจนถึงขนาดเด็กรับใช้
๖  ประสานมืออย่างสำรวมแบบตะวันตก   คนสยามไม่ประสานมือแบบนี้ ในรัชกาลที่ ๔  ท่ายืน  ทิ้งน้ำหนักเท้าไม่เท่ากัน  เท้าเหลื่อมกันอย่างสวยงาม แสดงว่าโพสท่ายืนต่อหน้ากล้อง เป็น
๗  ยืนอยู่เกือบจะริม แสดงว่าไม่ใช่บุคคลสำคัญ   คนสำคัญต้องยืนกลาง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 30 เม.ย. 10, 18:43

ขอขัดจังหวะสักเล็กน้อย

ก่อนจะต่อปฤศนาบุคคลต้องสงสัยรายที่สอง ผมขอส่งหลักฐานมาประกอบคำสารภาพที่เดาผิดไปเมื่อเช้า
รูปภาพและคำบรรยายนี้เป็นหลักฐานชัดเจน อยู่ในหนังสือที่ผมอ้างอิงเมื่อเช้านั้นแล

พระยามนตรีสุริยวงศ์ ( ชุ่ม บุนนาค ) คือผู้ที่ยืนอยู่ด้านขวามือ ไม่ต้องสงสัยใดๆอีกครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 30 เม.ย. 10, 18:55

 ยิ้ม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 30 เม.ย. 10, 19:12

ขอประทานโทษ ฝรั่งในรูปนั้น คำบรรยายบอกว่าคือราชทูตจากปรัสเซีย นายกอนต์ เอวเลนเบิก (Friedrich Albrect zu Eulenburg) ผู้เข้ามากรุงเทพระหว่างวันที่๒๓ พฤศจิกายน คศ ๒๘๑๖ ถึง ๓๐ มกราคมปีถัดไป ถ่ายร่วมกับเสนาบดีผู้ใหญ่ฝ่ายไทยระหว่างการเยี่ยมคำนับ

เอาละซี ข้อมูลเดิมที่เคยได้มาว่าฝรั่งที่ว่าเป็นนายน๊อกซ์ กงสุลอังกฤษ(รวมทั้งในเวปต่างๆที่ลอกกันต่อๆมาด้วย) เลยสร้างความเพี้ยนกันใหญ่ ผมก็เอาไปจินตนาการโยงเข้ากับท่านโหมดไปโน่น

แต่ดูเถอะครับ รูปนายมิศหนอกอดีตครูผึกแถวทหารวังหน้านี่ก็คล้ายกับท่านทูตปรัสเซียเสียด้วย เพียงแต่เครายาวกว่าหน่อยนึงเท่านั้น


บันทึกการเข้า
JD
มัจฉานุ
**
ตอบ: 63


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 30 เม.ย. 10, 21:05

ผู้เข้ามากรุงเทพระหว่างวันที่๒๓ พฤศจิกายน คศ ๒๘๑๖ ถึง ๓๐ มกราคมปีถัดไป


ปี? ฮืม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 30 เม.ย. 10, 22:09

วันที่๒๓ พฤศจิกายน คศ ๒๘๑๖ ถึง ๓๐ มกราคมปีถัดไป (คศ ๒๘๑๗)
บันทึกการเข้า
JD
มัจฉานุ
**
ตอบ: 63


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 30 เม.ย. 10, 22:23


วันที่๒๓ พฤศจิกายน คศ ๒๘๑๖ ถึง ๓๐ มกราคมปีถัดไป (คศ ๒๘๑๗)



ปัจจุบัน คศ ๒๐๑๐
เลยเดาไม่ออกว่าท่านตั้งใจเขียน พ.ศ หรือ ค.ศ


เพราะว่าสมัย ร. ๔ ค.ศ. ที่ใกล้เคียง คือ ๑๘๖๑ ก็ยังไม่ใกล้เคียงตัวเลขท่าน
หากเป็น พ.ศ  ปีปัจจุบันก็เพิ่ง ๒๕๕๓

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 01 พ.ค. 10, 03:26

ขอประทานโทษอีกครั้งครับ

ขอยอมรับว่าขณะนี้โรคสติไม่เที่ยงกำลังครอบงำผมอย่างแรง
ผมตั้งใจจะเขียน คศ.
๒๓ พฤศจิกายน คศ ๑๘๖๑ แต่ไปจิ้มเป็น ๒๘๑๖ ได้ยังไงก็ไม่ทราบ พอผิดที่แรกที่ต่อมาก็ผิดซ้ำอีกเป็น ๒๘๑๗

ขอแก้ไข ที่ถูกต้องคือ ตั้งแต่ ๒๓ พฤศจิกายน คศ ๑๘๖๑ ถึง ๓๐ มกราคม คศ ๑๘๖๒ ครับ
โปรดให้อภัยด้วย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 01 พ.ค. 10, 09:15

การค้นพบของคุณนวรัตนเป็นประโยชน์มากต่อชาวเรือนไทยรวมทั้งชาวเน็ตที่สนใจเรื่องประวัติศาสตร์ให้ทราบความจริงว่าฝรั่งในภาพนั้นเป็นใคร

ขอฝากลิ้งก์นี้ให้คุณนวรัตนและทุกท่านอ่านเกี่ยวกับคุโณปการแด่สยามของฝรั่งท่านนี้

ครั้งแรกของคนโทรคมนาคมไทย ได้เห็นโฉมผู้นำการโทรคมนาคมแรกเข้าสู่สยาม ( ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๔)
http://www.torakom.com/article_index.php?sub=article_show&art=190

คุณนวรัตนคงต้องพักผ่อนให้มาก ๆ ตีสามครึ่งแล้วยังไม่นอน (หรือตื่นแล้ว ?)

แล้วสติจะมาพร้อมสตางค์

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 04 พ.ค. 10, 15:56

เอารูปพระยามนตรีสุริยวงศ์มาให้ดูกัน    ถ่ายสมัยท่านเป็นราชทูตหนุ่ม เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีที่อังกฤษ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 20 คำสั่ง