เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7
  พิมพ์  
อ่าน: 42667 พระยามนตรีสุริยวงศ์
Bhanumet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 199


Sleeping Red Lion


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 10 พ.ค. 10, 11:35

เรื่องกอสสิปนี้ ผมไม่แน่ใจว่าเคยได้ยินหรือไม่  เพราะเหมือนคุ้น ๆ  เข้าใจว่าไม่ใช่สมเด็จเจ้าพระยา แต่ตอนนี้ต้องไปราชการนครสวรรค์แล้วครับ เดี๋ยวพรุ่งนี้จะเข้ามาใหม่นะครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 10 พ.ค. 10, 12:13

อ้างถึง
แต่ที่ไม่ทราบคือ มาจัดลำดับให้ คุณหญิง ใช้กับเอกภริยาของขุนนางระดับพระยาขึ้นไป และท่านผู้หญิง ใช้กับเอกภริยาของขุนนางระดับเจ้าพระยาขึ้นไป  ตั้งแต่เมื่อใด
สันนิษฐานว่าในรัชกาลที่ ๕ ที่มีการพระราชทานเครื่องราชย์ ตระกูลจุลจอมเกล้า กระมังครับ


ทราบแต่ว่าในรัชกาลที่ ๖ มีพระราชกำหนดคำนำหน้านามสตรีออกมาแล้ว    เรื่องนี้ต้องถามคุณ V_Mee ค่ะ  คงจะจำได้มากกว่าดิฉัน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 12 พ.ค. 10, 22:31

ท่านอาจารย์เทาชมพูกล่าวถึงพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค)ไว้ดังนี้

อ้างถึง
เดาว่า  รูปท่านมีอยู่น้อยมาก แค่ ๒ รูป ในวัยหนุ่ม   แต่ในวัยกลางคน คงมีรูปเดียว  คือรูปนี้  ซึ่งไม่ชัดอีกต่างหาก
เมื่อลูกหลานรวบรวมรูปเก่าๆ มาจัดทำคำบรรยายว่าใครเป็นใคร  ท่านไหนถ่ายรูปไว้มากหน่อย  มีหลักฐานปรากฏอยู่หลายที่  ก็จำได้ง่าย   ระบุง่าย 
เจ้าคุณมนตรีฯ  อยู่ในกลุ่มหายาก   คนบรรยายก็ไม่แน่ใจ  เลยไม่กล้าฟันธงว่าใคร

บังเอิญผมไปเปิดหนังสือ"ประวัติการถ่ายรูปยุคแรกของไทย" โดยคุณเอนก นาวิกมูล เจอภาพหนึ่งซึ่งบรรยายไว้ว่าเป็นรูปของพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค)ถ่ายเมื่อต้นรัชกาลที่๕ แต่ฟังน้ำเสียงคุณเอนกก็ไม่ค่อยจะมั่นใจเท่าไรเหมือนกัน จึงนำมาให้ท่านทั้งหลายได้ช่วยพิจารณาและวิจารณ์ดูครับ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 12 พ.ค. 10, 22:47

รูปที่คุณเอนกนำลง เป็นใครไม่ทราบ แต่ไม่ใช่พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค)  จะเป็นลูกชายท่านที่ได้เป็นพระยามนตรีฯ เหมือนกันในภายหลัง  ได้หรือไม่
ถ้ามีหลักฐานที่ไหนสักแห่งเขียนไว้ว่า เจ้าของรูปคือพระยามนตรีสุริยวงศ์  คุณเอนกก็อาจจะเข้าใจผิดว่าเป็นท่านที่ชื่อชุ่ม   ซึ่งเป็นพระยามนตรีสุริยวงศ์ที่รู้จักกันแพร่หลายที่สุด

ที่ว่าไม่ใช่   เหตุผลง่ายๆคือรูปที่คุณนวรัตนนำมาลง  เป็นรูปเด็กหนุ่ม  รูปร่างยังผอมเก้งก้างเหมือนยังเจริญวัยไม่เต็มที่
ถ้าถ่ายในรัชกาลที่ ๕   ท่านราชทูตไทยต้องอายุเข้าวัยกลางคนแล้ว   เพราะท่านเป็นหนุ่มมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๔
ถ้าจะค้นประวัติก็จะบวกลบได้ว่า เมื่อขึ้นรัชกาลที่ ๕  พระยามนตรีฯ ท่านอายุเท่าไร   แต่ชาวอักษรฯเป็นพวกแพ้ตัวเลข   เลยฝากคุณนวรัตน ช่วยบวกลบแทนค่ะ

อีกอย่างคือหุ่นพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) ท่านเป็นคนร่างท้วมและช่วงตัวสั้น     ส่วนรูปที่นำมาให้ดู  ผอมสูง     
จริงอยู่ว่าผู้ชายหนุ่มตัวผอมๆอาจอ้วนได้เมื่ออายุมากขึ้น      แต่จะอ้วนก่อนในรัชกาลที่ ๔ แล้วมาผอมขนาดนี้เมื่ออายุมากขึ้นในรัชกาลที่ ๕   เป็นไปไม่ได้   (ไม่รวมว่าหน้าเด็กด้วยนะคะ)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 12 พ.ค. 10, 23:01

เอารูปมาเทียบกัน  เห็นได้ว่าเป็นคนละคน   คนขวาอายุน้อยกว่าคนซ้าย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 13 พ.ค. 10, 06:51

รูปของพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) ถ่ายเมื่อเป็นอัครราชทูตนั้นเป็นพ.ศ.๒๔๐๐ ซึ่งยังอยู่ในรัชกาลที่๔ ดังนั้นการบรรยายภาพของคุณเอนกจึงผิดแน่นอนอยู่แล้ว

เช้านี้เลยต้องทำการบ้านต่อ ในหนังสือสมุดภาพรัชกาลที่๔ คุณพิพัฒน์ พงศ์ระพีพร ลงรูปนี้ไว้เหมือนกันเป็นภาพเล็กๆ บรรยายภาพว่าเป็นพระยามนตรีพจนกิจ(ชื่น บุนนาค) ๒๔๑๐

พระยามนตรีเหมือนกัน บุนนาคเหมือนกัน คุณเอนกเลยเบลอไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 13 พ.ค. 10, 08:19

ไปเปิดหนังสือดูแล้ว  รูปของพระยามนตรีพจนกิจ (ชื่น บุนนาค) รูปนี้ อยู่ในหนังสือสกุลบุนนาค
เป็นบุตรชายของพระยามนตรีสุริยวงศ์   (ชุ่ม บุนนาค)   ท่านเลื่อนขึ้นได้บรรดาศักดิ์เดียวกับบิดา  เป็นมหาอำมาตย์โท พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น) ในบั้นปลายชีวิต

อย่างที่ดิฉันสันนิษฐานไว้  คงมีคำบรรยายรูปนี้ ระบุบรรดาศักดิ์สุดท้ายของท่านไว้   คุณเอนกจึงไปเข้าใจว่าเป็นพระยามนตรีฯ(ชุ่ม) พ่อของท่าน  ซึ่งเป็นพระยามนตรีสุริยวงศ์ที่รู้จักกันแพร่หลายที่สุด
บรรดาศักดิ์มนตรีสุริยวงศ์มีถึง ๔ คน ในสกุลบุนนาค   สามารถทำให้คนรุ่นหลังสับสนได้ค่ะ

พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น) เกิดจากเจ้าคุณหญิงเป้า  ภริยาเอก    เข้ารับราชการในรัชกาลที่ ๔  เป็นมหาดเล็กวิเศษ   ในรัชกาลที่ ๕ เป็นนายฉันหุ้มแพร   แล้วเป็นเจ้าหมื่นเสมอใจราช   หัวหมื่นมหาดเล็ก
รูปนี้น่าจะถ่ายสมัยเป็นมหาดเล็กหนุ่ม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 13 พ.ค. 10, 09:04

ประวัติของพระยามนตรี ฯ คนลูก น่าสนใจไม่แพ้บิดา

เป็นเจ้าหมื่นเสมอในราช หัวหมื่นมหาดเล็ก จนอายุ ๒๙ ก็ย้ายจากกรมมหาดเล็กไปเป็นข้าหลวงใหญ่มณฑลภูเก็ต
งานที่ท้าทายฝีมือท่านข้าหลวงหนุ่ม   คือจีนกุลีเหมืองแร่ก่อจลาจลขึ้นทั่วเมือง   ถ้าเป็นสมัยนี้อาจจะเรียกว่าผู้ก่อการร้าย     
เจ้าหมื่นเสมอใจราชไม่ตั้งโต๊ะเจรจา  ไม่ปรองดองด้วย    แต่นำทหารออกปราบปรามจลาจลได้ราบคาบ    พูดอีกทีคือหัวหมื่นมหาดเล็กจากวังหลวง  ต้องบัญชาการรบในมณฑลภาคใต้  เหมือนเป็นแม่ทัพภาค ๔  เสียเอง
ผลงานนี้ทำให้ท่านได้เลื่อนขึ้นเป็นพระยามนตรีสุริยวงศ์     เป็นสมุหกลาโหมฝ่ายเหนือ (แต่อยู่ทางใต้?)


เมื่ออายุ ๓๔  ท่านย้ายไปเป็นข้าหลวงใหญ่  ประจำหัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตก    อยู่ ๔ ปีจนอายุ ๓๘ ถึงย้ายไปเป็นข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพ  ประจำอยู่ที่เชียงใหม่

น่าทึ่งอีกอย่างคือเมื่ออายุ ๔๑   ท่านย้ายงานใหม่อีกครั้ง  คราวนี้ไปไกลยิ่งกว่าใต้และเหนือของสยาม  คือไปยุโรปเลยทีเดียว
เป็นเอกอัครราชทูตสยามประจำ ๔ ประเทศ  คืออังกฤษ  อเมริกา ฮอลแลนด์ และเบลเยี่ยม   สำนักงานอยู่ในลอนดอน     รับราชการอยู่ ๒ ปี ก็ได้เดินทางกลับบ้าน  มาเป็นรองเสนาบดีกระทรวงกลาโหม

สรุปว่าตำแหน่งการงานของเจ้าคุณมนตรีสุริยวงศ์(ชื่น) เริ่มต้นด้วยตำแหน่งมหาดเล็ก  อย่างบรรดาลูกผู้ดีมีสกุล  (คุณเปรมของแม่พลอยก็เริ่มต้นแบบนี้)
จากนั้นไปเป็นนักปกครองมหาดไทย     ต่อจากนั้นไปเป็นทูตของกระทรวงการต่างประเทศ  แล้วมาจบที่กระทรวงกลาโหม

ในรัชกาลที่ ๖ ท่านได้เลื่อนเป็นมหาอำมาตย์โท  แต่ยังคงบรรดาศักดิ์เดิมคือพระยามนตรีสุริยวงศ์   เกษียณราชการ รับพระราชทานเบี้ยบำนาญ จนถึงแก่อนิจกรรมเมื่ออายุ ๖๙ ปี 
ท่านมีบุตรธิดารวม ๓๕ คน
หนึ่งในจำนวนนี้คือพระยามนตรีสุริยวงศ์ เหมือนกัน    ชื่อตัวชื่อวิเชียร   เป็นอัครราชทูตประจำประเทศญี่ปุ่นในรัชกาลที่ ๖

บทบาทพระยามนตรีสุริยวงศ์ทุกคนแห่งสกุลบุนนาค ใครศึกษาอย่างละเอียด    น่าจะรวมรวมทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโทได้ ๑ เล่ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 13 พ.ค. 10, 09:06

ข้อสังเกต   ในประวัติไม่ได้ระบุว่าท่านเป็นพระยามนตรีพจนกิจ  ค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 13 พ.ค. 10, 10:07

พระยามนตรีพจนกิจ ฟังบรรดาศ้กดิ์เหมือนกับจะเป็นล่ามมากกว่านักปกครองนะครับ

เป็นไปได้ที่ผู้รวบรวมรูปถ่ายโบราณเอามาพิมพ์รวมเล่ม จะไม่มีเวลาค้นคว้าตรวจสอบต้นฉบับอย่างถ้วนถี่ เพราะต้องรีบจัดพิมพ์ จึงต้องผิดพลาดบ้าง
ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้ที่ไฝ่ใจ ช่วยแก้ไขทีหลัง

นี่ดีที่เป็นยุคอินเตอร์เนตนะครับ ค้นข้อมูลง่าย ข้อมูลในหนังสือก็สแกนปุ๊บโพสต์ปั๊บ ถ้าขาดสิ่งเหล่านี้ เรารู้เห็นที่ผิดก็ไม่รู้จะช่วยแก้ไขให้ถูกได้อย่างไร
สิ่งที่ผิดๆ อ้างอิงกันต่อไปเรื่อยๆ วันหนึ่งคนก็เข้าใจว่าเป็นถูกไปได้เหมือนกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 13 พ.ค. 10, 11:05

อ้างถึง
พระยามนตรีพจนกิจ ฟังบรรดาศ้กดิ์เหมือนกับจะเป็นล่ามมากกว่านักปกครองนะครับ

สะดุดใจตรงกันค่ะ    เมื่อได้ยินบรรดาศักดิ์นี้     เพราะบรรดาศักดิ์ขุนนางมักจะบ่งชี้ถึงหน้าที่การงาน  
พวกที่มีคำว่า พจน- มักจะเกี่ยวกับงานเรียงร้อยถ้อยคำ   พวกนี้เก่งด้านเขียนหนังสือ    จำได้ว่าพระยาพจนปรีชา(ม.ร.ว.สำเริง อิศรศักดิ์) เคยเรียบเรียงตำราโหราศาสตร์ถวายรัชกาลที่ ๕  
ทำไมพระยามนตรีฯ(ชื่น) ถึงมีบรรดาศักดิ์เหมือนท่านทำงานขีดๆเขียนๆ     แต่ตามประวัติ   ถูกส่งจากหัวหมื่นมหาดเล็กไปเป็นนักปกครองระดับบิ๊กที่ภูเก็ต   ถ้าออกจากวังไปมหาดไทย ก็ไม่น่าจะทำงานด้าน"พจนกิจ"

ทิ้งคำถามไว้ก่อน  ยังไม่ติดใจจะค้นคว้าต่อ

กลับมาถึงบรรดาศักดิ์มนตรีสุริยวงศ์     คำนี้ แปลว่า ขุนนางที่เป็นวงศ์สุริยะ หรือพระอาทิตย์    
บรรดาศักดิ์นี้ เปรียบได้กับตราประทับให้ขุนนางในสกุลบุนนาคเท่านั้น   เพราะวงศ์ตระกูลอื่นไม่มีตราพระอาทิตย์เป็นตราตระกูล
และเจาะจงว่าเป็นบุนนาคสายสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ไม่ใช่สายอื่น  อีกด้วย
ถ้าเป็นสายสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ    ไม่มีคำที่แปลว่าวงศ์สุริยะ  มีแต่คำว่า สุริยภักดี

เพราะว่า สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ ท่านได้รับพระราชทานตรา "สุริยมณฑล" จากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นตราประจำตัว    ภายหลังจึงได้เป็นตราประจำกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ

ส่วนสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย (สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ) ได้รับพระราชทานตรา "จันทรมณฑล" เป็นตราประจำตัว

สาย "สุริยมณฑล" รุ่งเรืองมาตลอดรัชกาลที่ ๔ ถึง รัชกาลที่ ๕     ส่วนสาย"จันทรมณฑล" ประสบชะตากรรมน่าเศร้า บุตรชายของสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อยถูกประหารในข้อหาลักลอบส่งสารรักใคร่กับเจ้าจอม  ซึ่งผิดกฎมนเทียรบาลถึงขั้นประหาร
แม้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่เต็มพระทัยจะลงโทษทัณฑ์   สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติก็ไม่ยอม  เกรงว่าจะเป็นที่ครหาว่ายกเว้นให้ลูกชาย     ทายาทของท่านก็เลยต้องเสียชีวิตไป     พลอยทำให้สกุลสายนี้ ไม่รุ่งเรืองเท่าอีกสาย

ครูแจ้ง คนโปรดของคุณวันดี  แต่งเสภาขุนช้างขุนแผน บอกนัยยะถึง สุริยะ ที่เด่นขึ้นมามากกว่า จันทร    ว่า

พระอาทิตย์ชิงดวงพระจันทร์เด่น             ดาวกระเด็นใกล้เดือนดาราดับ
....................................
บันทึกการเข้า
Bhanumet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 199


Sleeping Red Lion


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 13 พ.ค. 10, 19:26

ขอบพระคุณอาจารย์เทาชมพู คุณนวรัตน และทุก ๆ ท่านมากครับ สำหรับความรู้

พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) ท่านถึงแก่อนิจกรรมในรัชกาลที่ ๔ ครับ (ถ้าอยู่ถึง ร. ๕  คงได้เป็นเจ้าพระยาไปแล้วเป็นอย่างน้อย)

พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค) เป็นข้าหลวงที่มีความใกล้ชิดกับในหลวง ร. ๕ เป็นอย่างมาก ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยเป็นอย่างสูง
ลูกชายท่านชื่น คนหนึ่งก็ได้เป็นที่ พระยามนตรีสุริยวงศ์ (วิเชียร บุนนาค)  ซึ่งถือเป็นชั้นหลาน
(ชั้นหลาน ยังมีอีก ๑ ท่าน คือ พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ฉี่ บุนนาค) บุตรพระยาไกรเพชรรัตนราชสงคราม (แฉ่ บุุนนาค))

สายสมเด็จองค์ใหญ่ มักมีราชทินนามมีความหมายเป็นพระอาทิตย์ ตามดวงตราสุริยมณฑล เช่น
ศรีสุริยวงศ์ รวิวงศ์ ทิพากรวงศ์ มนตรีสุริยวงศ์ ภาณุวงศ์ ภาสกรวงศ์ ประภากรวงศ์
โดยสายสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ยังเป็นสายย่อย ที่ฝรั่งเรียกกันว่า Suriwongse Family โบราณว่า สุริวงษ์ (คงมาจาก สุริย์วงศ์) แต่ตามหลักภาษาคือ สุรวงศ์ ซึ่งสายตรงทางนี้ก็จะมีราชทินนาม "สุรวงศ์" คือ สุรวงศ์ไวยวัฒน์ สุรวงศ์วัฒนศักดิ์ สุรวงศ์วิวัฒน์ และเป็นที่มาของสาย "สุรวงศ์ บุนนาค" ในปัจจุบัน

ส่วนสายสมเด็จองค์น้อย  เนื่องจากไม่มีทายาทสายตรง ทำให้บทบาทลดน้อยลงไป แต่ก็มี เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) สืบทอดราชทินนามเจ้าคุณทวด สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค)

อนึ่ง ในรัชกาลที่ ๒  สมเด็จองค์ใหญ่ (ดิศ บุุนนาค) เป็นที่ พระยาสุริยวงศ์มนตรี (บ้างว่า สุริวงศ์มนตรี สุรวงศ์มนตรี) จางวางมหาดเล็กวังหลวง (ภายหลังเป็นพระยาสุริยวงศ์โกษา ว่าที่พระคลัง ก่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาพระคลัง)
ส่วนสมเด็จองค์น้อย (ทัต บุนนาค) เป็นที่ พระยาศรีสุริยวงศ์ จางวางมหาดเล็กวังหน้า

สุริยวงศ์ ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ หมายถึงผู้เกิดในตระกูลสูง ตระกูลผู้ดี ไม่จำเป็นต้องเป็นเชื้อกษัตริย์
เช่น (เคยอ่านจากที่ไหนจำไม่ได้ ถ้าจำผิดต้องขออภัยอย่างยิ่ง) เจ้าพระยาพระคลัง (สน) ในรัชกาลที่ ๑ ที่ขอพระราชทานหัวหมูบายศรีคราวไปส่งสำเภาข้ามสันดอนปากน้ำ รัชกาลที่ ๑ ก็ตรัสทำนองว่า เลอะนักแล้ว  เสียแรงเป็นสุริยวงศ์
หรือ กล่าวถึงขุนนางบางท่าน ว่าเป็นสุริยวงศ์ สมควรได้เป็นที่เสนาบดี
เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) ก็เคยเห็นมีหนังสือเขียนไว้ว่า ฃำ สุริยวงศ์
บุตรเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) ซึ่งเกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๘๓๘ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยาภานุพันธ์วงศ์วรเดช ได้ทรงพระราชทานชื่อว่า "เต็ม สุริยวงศ์" (พระอดิศักดิ์อภิรัตน์ (เต็ม สุริยวงศ์ บุนนาค)) ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก "Suriwongse Family"

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ก็ให้แต่งเพลงขึ้นเพลงหนึ่ง ตั้งชื่อว่า "พระอาทิตย์ชิงดวง"

เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) บุตรสมเด็จองค์ใหญ่  ได้ตั้งชื่อถนนในเมืองเพชรเส้นหนึ่งว่า "พงษ์สุริยา"

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 13 พ.ค. 10, 19:53

ราชบุรี มีถนนมนตรีสุริยวงศ์   แต่ไม่ทราบว่าตั้งเป็นที่ระลึกถึงพระยามนตรีฯ ท่านไหน
บันทึกการเข้า
Bhanumet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 199


Sleeping Red Lion


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 13 พ.ค. 10, 21:21

ราชบุรี มีถนนมนตรีสุริยวงศ์   แต่ไม่ทราบว่าตั้งเป็นที่ระลึกถึงพระยามนตรีฯ ท่านไหน

น่าจะเป็น พระยามนตรีสุริยวงศ์  (ฉี่ บุนนาค) ตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลราชบุรี ถึงอนิจกรรมในรัชกาลที่ ๖ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ อายุ ๔๕ ปี

ราชบุรี ยังมีถนนศรีสุริยวงศ์  ถนนสุรพันธ์เสนีย์ (พระยาสุรพันธ์เสนี (อิ้น บุนนาค)) 
มณฑลราชบุรี (ราชบุรี เพชรบุรี สุมทรสงคราม ประจวบ กาญจน์) เป็นเป็นเขตอิทธิพลราชินิกุลบางช้าง (อัมพวา สมุทรสงคราม) โดยเฉพาะราชบุรี เพชรบุรี สมุทรสงคราม ถือว่าเป็นถิ่นราชินิกุลเลยทีเดียว
ทั้งสาย ณ บางช้าง บุนนาค วงศาโรจน์ ฯลฯ
บันทึกการเข้า
Diwali
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 25 พ.ค. 10, 03:18

มารีเฟรชกระทู้ครับ

รอฟังคำตอบ บุคคลปริศนา คนที่ ๒ ครับ
ตกลงได้ข้อสรุปกันหรือยังครับว่าเป็นผู้ใดครับ

ผมจำได้คร่าวๆ แต่ยังหาเอกสารไม่ได้ว่า คณะราชทูต แวะกรุงปารีส
แล้วได้ให้ L'Illustration (หรือเปล่าไม่แน่ใจ)ถ่ายภาพที่โรงแรมดูลูฟท์โดยมีคำบรรยายใต้ภาพว่าใครเป็นใครอยู่นะครับ
ในภาพนั้น จะมี ๑๓ ท่านด้วยกัน นอกจากท่านราชทูต อุปทูต ตรีทูต คณะล่าม และขุนนางฯ รวม ๙ ท่านแล้ว
ยังมีบุคคลที่แต่งกายแบบเดียวกับบุคคลปริศนา อีก ๔ ท่าน

แล้วก็อีกภาพหนึ่ง ใน "Le Monde ILLUSTRE" ฉบับ 20 Mar 1858
ก็มีภาพถ่ายคณะท่านราชทูตรวม ๖ ท่าน เป็นท่านราชทูต และขุนนาง ๕ ท่าน
ส่วนอีกท่านหนึ่ง ยืนด้านหลัง แต่งกายคล้ายๆ บุคคลปริศนา เช่นเดียวกัน (แต่หน้าไม่เหมือน)


พอดียังไม่มีภาพมาอ้างอิงครับ ดูได้แต่ภาพเล็กๆ เลยยังไม่มีหลักฐานมาเสริม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 19 คำสั่ง