เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 12796 ขอข้อมูลพระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท ปราสาทองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์...
sittisak
มัจฉานุ
**
ตอบ: 66


 เมื่อ 29 เม.ย. 10, 07:45

ทราบแค่ว่าลักษณะโดยรวมเหมือนสรรเพชญปราสาทที่อยุธยา....พี่ๆน้องๆๆมีข้อมมูลเพิ่มเติมไหมค้าฟฟฟ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 30 เม.ย. 10, 19:54

พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท เป็นปราสาทที่สร้างด้วยเครื่องไม้ทั้งองค์ นับเป็นพระมหาปราสาทองค์แรก ในพระบรมมหาราชวัง โดยพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ถ่ายแบบพระที่นั่งสรรเพชญ ปราสาทที่กรุงศรีอยุธยามาสร้างขึ้น เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๖ สร้างสำเร็จและทำพิธียกยอดพระมหาปราสาทเมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๒๗

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ปกครองสยามประเทศเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๕ นั้นยังไม่ได้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอย่างถูกต้อง ตามตำรับโบราณราชประเพณี เพียงแต่ได้ทรงประกอบการพระราชพิธี ปราบดาภิเษกโดยสังเขปเท่านั้น ฉะนั้นเมื่อได้สร้างพระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาทสำเร็จโดยสมบูรณ์แล้ว จีงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามระบบโบราณขัตติยราชประเพณีอีกครั้ง หนึ่งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘ โดยใช้พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาทเป็นพระราชพิธีมณฑล

ต่อมาในวันอาทิตย์ เดือนเจ็ด ขึ้นหนึ่งคำ ปีระกา เอกศก จุลศักราช ๑๑๕๑ (พ.ศ. ๒๓๓๒) อสนีบาตตกต้องหน้ามุขเด็จพระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาทแล้วเกิดเป็น เพลิงลุกลามไหม้เครื่องบนและหลังคา แล้วเลยลุกลามไหม้ทั้งองค์พระมหาปราสาท และพระปรัศว์ซ้ายลงหมดสิ้น พระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยารัตนาพิพิธ (สน) สมุหนายก เป็นแม่กองรื้อซากพระมหาปราสาทที่ถูกไฟไหม้ออกแล้วสร้างพระมหาปราสาทขึ้น ใหม่ แต่ไม่ได้สร้างเหมือนองค์เดิม ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ กล่าวถึงลักษณะที่ผิดแผกแตกต่างระหว่างพระมหาปราสาทองค์เก่าและองค์ใหม่ไว้ ดังนี้


    ปราสาทองค์ก่อนนั้นสูงใหญ่เท่าพระที่นั่งสรรเพชญปราสาท กรุงเก่า มุขหน้ามุขหลังนั้นยาวกว่ามุขข้าง และมุขเบื้องหลังนั้นอยู่ที่ข้างใน ยาวไปจดถึงพระปรัศว์ซ้ายพระปรัศว์ขวา พระมหาปราสาทใหม่นี้ ยกออกมาตั้ง ณ ที่ข้างหน้าทั้งสิ้น มุขทั้ง ๔ นั้นก็เสมอกันทั้ง ๔ ทิศ ใหญ่สูงเท่าพระที่นั่งสุริยามริ นทร์ กรุงเก่ายกปะราลีเสียมิได้มีเหมือนองค์ก่อน แต่มุขเด็จยอดทั้ง ๔ มุมนั้นยกทวยเสีย ใช้รูปครุฑเข้าแทนแล้วให้ฐาปนาพระที่นั่งขึ้นใหม่ข้างใน ต่อมุขหลังเข้าไปอีกหลัง ๑ พอเสมอด้วยมุขปราสาทองค์เก่า พระราชทานนามว่า พระที่นั่งพิมานรัตยา แล้วทำพระปรัศว์ซ้ายขึ้นใหม่คงตามเดิม หลังคาปราสาทและมุข กับทั้งพระที่นั่งพิมานรัตยา พระปรัศว์ ดาดด้วยดีบุกเหมือนอย่างเก่าทั้งสิ้น ครั้นการพระมหาปราสาทลงรักปิดทองเสร็จแล้ว จึงพระราชทานนามปราสาทองค์ใหม่ว่า "พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท"


อ้างจากวิกิพีเดียครับ (ง่ายดีเนาะ ขยิบตา)
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 30 เม.ย. 10, 20:58

สวัสดี พี่ทอมมีด้วยครับ สบายดีไหมเนี่ย ไม่ได้เจอกันตั้งนาน
สวัสดีพี่กุด้วย

พระที่นั่งอมรินทราภิเษกฯองค์นี้เป็นพระมหาปราสาทไม้ เป็นไปได้ไหมว่าอาจอยู่ในลักษณะแบบตำหนักทองหลังใหญ่
คือผนังเขียนลายทอง สัณฐานแบบเดียวกับพระที่นั่งสรรญเพ็ชญ์ฯ โดยอาจจะใช้ทรงรวมๆแบบเดิม แต่เปลี่ยนฝา
และเครื่องบนเป็นไม้ แต่ทำฐานปัทม์เป็นปูนและมีพระปรัศว์ด้วย

จึงได้คร่าวๆว่าพระที่นั่งอมรินทราภิเษกฯ (ซึ่งอ้างอิงถึงแบบพระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ฯได้บ้าง) มีหลังคาตาดด้วยดีบุก ปักบราลี
ที่เรือนยอดนั้นใช้ทวยค้ำ ไม่ใช้ครุฑอย่างเช่นพระที่นั่งดุสิตฯในปัจจุบัน ถึงจุดนี้ก็ยังนึกภาพไม่ชัดเจนนัก เลยลองนึกถึง
ศาลาการเปรียญวัดใหญ่สุวรรณารามดูเล่นๆ เอามาดึงยืดให้ยาวขึ้นอีก ออกมุขเพิ่มอีกสองทางที่กึ่งกลางด้านยาว แล้วตั้ง
เครื่องยอดตรงจุดตัดบนสันหลังคาอกไก่นั้น เปลี่ยนฐานเป็นปัทม์ก่ออิฐถือปูน ที่ฝาเขียนลายทอง โอ้โห.... คิดไปเรื่อยครับ





บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 30 เม.ย. 10, 21:25

อย่าคิดอย่างเดียวดิน้องเน ทำออกมาด้วย คริคริ

เมื่อวานคุยกับพี่ยุทธ เห็นบอกว่ามีข้อมูลแต่อยากเผยแพร่ให้คนทั่วไปได้รับรู้้ ให้คนรุ่นใหม่สนใจมากๆ ก็เลยไปขอคำปรึกษาอาจารย์ท่านหนึ่งมา แกก็บอกว่า

ถ้าทำแล้วมีความสุข ไม่เครียดไม่เดือดร้อน อยากทำอะไรก็ทำไปเลย ไม่ต้องคิดไม่ต้องรอว่้าใครจะสนใจหรือเปล่า ดูอย่างอาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์สิ แกทำหอไตรวัดระฆังของแกอยู่ึคนเดียว จนทุกวันนี้หอไตรหลังนั้นเหลือรอดมาได้ก็เพราะแก ความสุขของคนมันไม่เหมือนกันหรอก

ผมก็เลยได้ความคิดว่าถ้ามีข้อมูลอะไรก็จะเอามาแขวนๆไว้ ใครจะดูไม่ดูไม่สน ทุกวันนี้เปิดเวปเรื่องไทยๆทีไร ก็มีแต่ลอกๆกันมาทุกตัวอักษร ไม่เชื่อลองไปเสริชคำว่า "ดุสิตมหาปราสาท วิหารสมเด็จ บรรยงค์รัตนาสน์" ก็ได้ เหมือนกันเดี๊ยะๆ แต่จะมีใครทำอะไรใหม่ๆขึ้นมาบ้างก็หาไม่ แล้วอย่างนี้ใครมันจะอยากสนใจศึกษาต่อกันเล่า
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 30 เม.ย. 10, 21:47

เรื่องทำภาพ ใครที่ไหนจะเหมาะเท่ากับพี่กุ กับ พี่ทอมมี่ กันล่ะครับ  ยิงฟันยิ้ม

นั่นสิครับพี่กุข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ในอินเตอร์เน็ตมีจำกัด หาข้อมูลจากในหนังสือก็จำกัดทางความคิด
เพราะถ้าไม่มีหลักฐานอ้างอิงผู้เขียนอาจจะ ยังไม่กล้าที่จะใส่จินตนาการเข้าไปให้กว้างขึ้นอีกได้ มีพี่ท่านหนึ่ง
อ่านหนังสือห้าเดือนฯ ของอาจารย์น. แล้วบอกว่า เห็นการกระทำในบันทึกของอาจารย์แล้ว รู้เลยว่าคนคนนี้มีความรัก
ในงานศิลปะไทยมากมาย แม้บทความหลายเรื่องของอาจารย์ จะไม่ได้รับการยอมรับเชื่อถือในแง่ประวัติศาสตร์ศิลป์
เท่าไร แต่เป็นงานเขียนที่ความคิดแบบอาจารย์ลงไป แสดงรายละเอียดในแง่ของในเวลานั้นข้อมูล การเก็บหลักฐาน
ไปจนถึงความรักที่มีต่องานศิลปะไทย เหล่านั้นก็นับว่าสร้างคุณประโยชน์ได้มากแล้ว

อย่างไรก็ดีก็ต้องขอบคุณเรือนไทย ที่มีเนื้อที่ไว้ให้สนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ และแนวคิดกัน
ขอบคุณพี่กุด้วยนะที่พูดเรื่องความสุข ให้คิดซะจนเห็นภาพนัก ว่างๆคงต้องไปเยี่ยมเยือนหอไตรมีชื่อนั่นอีกสักที
พูดถึงแล้ว ก็นึกถึงระฆังที่ขุดได้จากวัดระฆัง ที่ปัจจุบันอยู่บนหอระฆังวัดพระแก้ว เล่าว่าเป็นระฆังโบราณเสียงเพราะนัก
ไม่แน่นะว่า จะมีอะไรน่าสนใจ หุหุ

อ้าว ..เรื่องพระที่นั่งอมรินทราภิเษกฯ .... ฮืม
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 30 เม.ย. 10, 23:26

อาจารย์ น. ณ ปากน้ำถือเป็นผู้มีคุณูปการอย่างยิ่งยวดในวงการศิลปะไทยเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม ห้าเดือนของท่านในอยุธยาก็คือการตามรอยอาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ที่ทำการสำรวจไว้ก่อนแล้วนั่นเอง ข้อมูลการสำรวจในขณะนั้นก็ใช้ของอาจารย์เฟื้อเป็นส่วนใหญ่

ศิลปินส่วนมากทำงานเพื่อความสุขทั้งนั้น ทำอย่างไม่สนใจใครด้วย ความสุขของช่างไม่เกี่ยงปัจจัยหรือเรียกร้องความสนใจ แต่ถ่ายทอดลงไปในชิ้นงาน ที่ผ่านไปนานแสนนานจนชื่อของช่างก็ไม่เหลือฝากไว้ มีแต่ร่องรอยในตัวงานที่บอกให้ผู้ชมรับรู้ว่า คนที่ทำมันขึ้นมาจะต้องมีความสุขแน่ๆ

บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 01 พ.ค. 10, 09:15

สวัสดีมวลหมู่สมาชิกทุกท่าน ตกลงได้ไปวังปลายเนินกันหรือไม่ ไม่เห็นมาเล่ากันบ้าง สำหรับเรื่องอาจารย์ น.ณ ปากน้ำกับท่านอาจารย์เฟื้อนั้นถ์อเป็นปูชนียบุคคลที่ควรยกย่อง ซึ่งมวลหมู่สมาชิกเราควรเอาเป็นแบบอย่าง อีกท่านึงที่ผมอยากกล่าวถึงคือ ท่านอาจารย์ ประกิต(จิตร)บัวบุศย์ ท่านผู้นี้เป็นอดีตผู้อำนวยการ ร.ร.เพาะช่าง อดีตราชบัณฑิต(ภายหลังลาออก)ปัจจุบันท่านชราภาพมากแล้วเกือบ100ปีแต่ความจำท่านยังดีมาก ท่าเป็นผู้หนึ่งที่บุกเบิกศิลปไทยมาแต่ครั้งท่านหนุ่มๆไม่แพ้อาจาย์เฟื้อ ทฤษฎีของท่านครั้งนึงเคยแพร่หลายแต่เพราะสังคมไม่ตอบสนองเพราะมีแนวความคิดใหม่ๆมาเบียดบังแบบมั่วซั่วยัดเยียด  จึงทำให้ท่านถอดใจและไปทำงานของท่าอย่างเงียบๆผลงานการศึกษาศิลปะไทยของท่านส่วนนึงเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ที่เพาะช่าง โดยฉพาะพิมพ์ลวดลายไทยที่ถอดแบบมาจากลวดลายปูชนียสถานทั่วประเทศตั้งแต่สมัยที่สถานที่เหล่านั้นยังเป็นป่ารกป่าพงอยู่ ผมได้มีโอกาสเรียนวิชาสุนทรียศาสตร์กับท่าน ท่านเคยเล่าให้ฟังว่า ที่วัดพระศรีสรรเพชญ์เมื่อปี2500นั้นยังตัเเศยรพระขายกันแบบโจ๋งครึ่ม แต่ท่านก็อะไรไม่ได้เพราะเป็นแค่นักวิชาการตัวเล็ก จะไปสู่รบปรบมือยังไงได้ ได้เพียงแค่เเจ้งเบาะแส แต่ก็หามีผู้สนใจไม่ นี่แหละที่พูดกันว่า พม่าไม่ได้ทำลายกรุงศรีอยุธยามากเท่าคนไทยหรอก ปัจุบัน ชมรมของเรานี่แหละ ถ้ามีความพร้อมเมื่อไหร่จะเป็นตัวกระตุ้นสังคมให้สนใจศิลปะไทยให้ได้(หวังไว้ลึกๆ)


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 01 พ.ค. 10, 09:19

อาจารย์จิตร บัวบุศย์ นี่ถือว่าท่านเป็นศิลปินตลอดชีวิตจริงๆครับ ท่านอายุเรือนร้อยแล้ว เห็นโลกมานักต่อนัก จะวางมือพักผ่อนก็ได้ กลายเป็นยังทำงานอยู่ จะเรียกว่าทำงานด้วยความรัก ด้วยความสุขก็คงไม่พอเสียแล้ว
บันทึกการเข้า
sittisak
มัจฉานุ
**
ตอบ: 66


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 01 พ.ค. 10, 09:37

ขอบคุณมากมายเลยเจ้าเน...และน้องกุลุ  เสียดายไม่ได่ไปวังปลายเนิน เพราะต้องเช็คสถานการณ์ร้านพี่ ซึ่งอยู่ใจกลางความเจ็บปวดว่าจะเกิดไรไหม....เครียดครับ....ขอบคุณสำหรับข้อมมูลอย่างสูง ได้คับ เดี่ยวจะลองขึ้นดู ตามข้อมูลที่ได้มา  ว่าแต่คำว่า พระปรัศว์ซ้ายและขวาคืออะไร มีหน้าที่อะไรหรอครับน้องๆๆ บอกพี่ที ...
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 01 พ.ค. 10, 09:59

    พระ ปรัศว์    คือเรือน หรือตัวตำหนักที่สร้างขนานกับตัวเรือนที่อยู่ ถ้าอยู่ทางซ้ายเรียกพระปรัศว์ซ้าย ถ้าอยู่ทางขวาเรียก พระปรัศว์ขวา

http://www1.mod.go.th/heritage/king/grdpalace/index14.htm

อินเตอร์เนตนี่มันสะดวกสบายจริงๆ แต่ใช้มากๆคงเสียนิสัยไม่ยอมอ่านหนังสือ ได้แต่้ข้อมูลตื้นๆ
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 01 พ.ค. 10, 10:39

เอาภาพมาฝากซะเลยดีกว่า เพื่อความ  เจ๋ง หุหุ

ที่วงไว้ทางฝั่งพระที่นั่งดุสิตฯ คือพระปรัศว์ซ้าย ตามข้อมูลที่พี่กุเอามาลงไว้
ส่วนที่หมู่พระมหามณเฑียร เป็นพระปรัศว์ขวา(เทพสถานพิลาส) และ พระปรัศว์ซ้าย(เทพอาสน์พิไล)
ผมไม่แน่ใจว่าตรงไหน ตอนแรกเข้าใจว่าเป็น ตรงที่วงสีน้ำเงินแต่พออ่านความหมายจากที่พี่กุนำมาให้ดู
มันเลยคิดว่าอาจเป็นสีแดง ฮืม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
VesinaH
อสุรผัด
*
ตอบ: 18


L'vesinah va tire


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 01 พ.ค. 10, 15:23

ตรงที่บอกว่าเป็นคันทวยรับเรือนยอดแทนครุฑรับเรือนยอด

น่าจะหมายถึง ตำแหน่งครุฑรับไขราพระมหาปราสาทเดี๋ยวนี้

รึเปล่าครับ เทียบกันกับรูปพระที่นั่งจักรีฯ ใช้คันทวยรับไขรา


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 01 พ.ค. 10, 15:33

กระทู้นี้ดูรวมมิตรยังไงก็ไม่รู้ งงๆ เหมือนพร้อมจะออกทะเลตลอดเวลา เอิ๊กๆ

พาออกทะเลบ้างครับ ไม่ค่อยว่าง แต่อยากทำ พระที่นั่งบรรยงค์รัตนาสน์ ออกมาทำไมคล้ายๆดุสิตมหาปราสาทก็ไม่รู้ คงเพราะผังคล้ายๆกันแน่ๆ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 01 พ.ค. 10, 15:35

ิอีกมุมครับ องค์จริงจะตั้งอยู่กลางสระ มีพระที่นั่งน้อยๆล้อมรอบสี่ทิศ เป็นสัดเป็นส่วน มีตะำพานเชื่อมเข้ามาทั้งสี่ทิศ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 01 พ.ค. 10, 15:40

มีอีกชื่อว่าพระที่นั่งโปรยข้าวตอก พระเจ้าท้ายสระโปรดประทับมาก ทรงโรยข้าวตอกเลี้ยงปลาต่างๆ เช่นปลากะโห้ ปลาหน้าคน ปลาๆๆๆๆๆ

น้ำในสระก็ใสหนองแหนงเพราะมีท่อน้อยเชื่อมต่อกับคลองฉะไกร มีประตูน้ำเปิดปิดกักน้ำกักขยะไม่ให้เข้ามาในสระแก้ว


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 19 คำสั่ง